หุ่นยนต์จะมาแย่งงานเราหมดหรือเปล่า?
-
0:01 - 0:03ปรากฎว่าในขณะที่คนหลายล้านคน
-
0:03 - 0:06ว่างงาน หรือ มีงานทำ
-
0:06 - 0:10ก็เกิดข้อสงสัยว่า
เทคโนโลยีจะมีผลอย่างไรกับสภาวะแรงงานในตลาด -
0:10 - 0:12ผมเห็นหลายๆคน ถกเถียงกัน
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมคิดว่า -
0:12 - 0:15พวกเขาเลือกหัวข้อในการสนทนา
ได้ถูกต้อง -
0:15 - 0:18แต่ในขณะเดียวกัน การถกเถียงเหล่านั้น
มักจะหลุดประเด็นสำคัญๆไป -
0:18 - 0:21หัวข้อที่มักเป็นที่ถกเถียงกันก็คือ
-
0:21 - 0:25เทคโนโลยีรอบๆตัวเราจะส่งผลต่อมนุษย์
-
0:25 - 0:28ในด้านการหาเลี้ยงชีพ หรือไม่?
หรือ ถามให้ง่ายขึ้นก็คือ -
0:28 - 0:30หุ่นยนต์จะมาทำงานแทนเราทั้งหมดหรือปล่าว?
-
0:30 - 0:32แล้วก็มีหลักฐานจริงๆว่ามันเกิดขึ้นอยู่
-
0:32 - 0:37ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้หยุด
เมื่อ GDP ของ อเมริกา -
0:37 - 0:40เริ่มค่อยๆสูงขึ้น
-
0:40 - 0:43และ ตัวชี้วัดเศรษฐกิจอื่นๆ ก็เริ่มดีขึ้น
-
0:43 - 0:46และโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
กำไรจากบริษัทต่างๆ -
0:46 - 0:49ก็เริ่มดีขึ้น ซึ่งถ้าคุณรวมกำไรจากธนาคารด้วย
-
0:49 - 0:51จะพบว่ามันดีขึ้นกว่าที่เคยมีมาก่อน
-
0:51 - 0:55ธุรกิจต่างๆเกี่ยวกับ เครื่องมือ อุปกรณ์
-
0:55 - 0:58ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ ต่างๆ
ก็ดีที่สุดตั้งแต่ที่เคยมีมา -
0:58 - 1:01พูดง่ายๆคือธุรกิจต่างๆเริ่มมีแต่กำไร
-
1:01 - 1:03แต่สิ่งที่ไม่ได้เกิดมากขึ้น คือ การจ้างงาน
-
1:03 - 1:07กราฟเส้นสีแดงที่เห็น คือ อัตราการจ้างงาน
-
1:07 - 1:10หรือ เปอร์เซนต์ของคนวัยทำงาน
-
1:10 - 1:12ในอเมริกาที่มีงานทำ
-
1:12 - 1:16เห็นได้ชัดเจนว่าอัตราการมีงานทำ
ยังตกต่ำหลังจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ -
1:16 - 1:19และยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นเลย
-
1:19 - 1:21แต่ผมไม่ได้จะพูดเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำ
-
1:21 - 1:24ช่วงทศวรรตที่ผ่านมา
เรามีอัตราการจ้างงาน -
1:24 - 1:28ที่ต่ำมากเมื่อเราเปรียบเทียบ
-
1:28 - 1:31กับช่วงทศวรรตก่อนหน้านั้น
ในช่วงปี 2000 นี้ -
1:31 - 1:33เป็นช่วงเวลาเดียวที่เราพบว่า
-
1:33 - 1:36มีจำนวนคนมีงานทำปลายทศวรรต
-
1:36 - 1:39น้อยกว่าช่วงต้นทศวรรต
ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่อยากได้ยิน -
1:39 - 1:43หากคุณเอาจำนวนคนที่สามารถทำงานได้ทั้งหมด
-
1:43 - 1:46มาเปรียบเทียบกับจำนวนงานในประเทศ
คุณจะเห็นช่องว่าง -
1:46 - 1:50ค่อยๆ ห่างขึ้น เรื่อยๆ และ
-
1:50 - 1:52ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
ช่องว่างยิ่งห่างมากกว่าเดิม -
1:52 - 1:57ผมลองคำนวณคร่าวๆ
ถ้าผมเอาอัตราการเติบโต GDP รอบ 20 ปีที่ผ่านมา -
1:57 - 2:00และ อัตราการเพิ่มของคนที่มีงานทำ
-
2:00 - 2:03เอามาคำนวณ แบบตรงไปตรงมาเพื่อหาว่า
-
2:03 - 2:06จะต้องมีการจ้างงานเท่าไหร่
เศรษฐกิจถึงจะเดินต่อได้ -
2:06 - 2:09นี่คือเส้นที่ผมได้มาจากการคำนวณ
-
2:09 - 2:13ดีหรือไม่ดีครับ? และ
อีกเส้นนึงคือเส้นที่รัฐบาลประมาณการณ์ไว้ -
2:13 - 2:16สำหรับจำนวนคนทำงานในตลาดทั้งหมด
-
2:16 - 2:21ถ้าการประมาณการณ์ถูกต้อง
ช่องว่างนี้จะไม่มีวันหายไป -
2:21 - 2:25แต่ ผมไม่คิดว่าการประมาณการณ์นี้ถูกต้อง
-
2:25 - 2:28ผมคิดว่าการประมาณการณ์เหล่านี้
มองโลกในแง่ดีเกินไป -
2:28 - 2:31เพราะการประมาณการณ์
มีการคาดการณ์ว่าอนาคต -
2:31 - 2:34จะค่าต่างๆเติบโตเหมือนในอดีต
-
2:34 - 2:37แต่จริงๆแล้วผมไม่เชื่อว่าอย่างนั้น
-
2:37 - 2:41เพราะเมื่อลองดูจริงๆ
เรายังแทบไม่เห็นภาพในอนาคตเลย -
2:41 - 2:44ว่าเทคโนโลยีจะกระทบกับ
ตลาดแรงงานอย่างไร? -
2:44 - 2:48คุณแค่ลองดู 2-3 ปีที่ผ่านมาสิ
คุณจะเห็นว่ามีเครื่องมือดิจิตอลเยอะแยะ -
2:48 - 2:53ทำงานได้หลากหลายแบบที่เราไม่เคยเจอมาก่อน
-
2:53 - 2:56แล้วก็แทบจะมาแทน
การทำงานของคนได้เลย -
2:56 - 3:00ผมลองยกตัวอย่าง 2-3 ตัวอย่าง
-
3:00 - 3:02ในอดีตที่ผ่านมา
ถ้าคุณต้องการ -
3:02 - 3:05ที่จะแปลภาษาจากภาษาใดภาษาหนึ่ง
-
3:05 - 3:06คุณจะต้องเอาคนมาเกี่ยวข้องตลอด
-
3:06 - 3:10แต่ตอนนี้เรามีเครื่องแปลภาษา
-
3:10 - 3:14ที่แปลได้หลายภาษา รวดเร็ว และ ฟรี
-
3:14 - 3:17ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมถึง
Smart Phone -
3:17 - 3:20ถ้าคุณเคยใช้ คุณจะพอรู้ว่า
-
3:20 - 3:23มันไม่ได้ดีที่สุด แต่มันก็ดีในระดับนึง
-
3:23 - 3:26... ในประวัติศาสตร์ ถ้าคุณต้องเขียนรายงาน
-
3:26 - 3:30หรือ บทความ คุณต้องใช้คนทำ
-
3:30 - 3:32แต่ไม่จำเป็นอีกแล้ว
-
3:32 - 3:35บทความ Forbes Online ที่ผ่านมาเกี่ยวกับ
กำไรของบริษัท Apple -
3:35 - 3:38ถูกเขียนโดย โปรแกรม
-
3:38 - 3:41บทความนั้นไม่ได้แค่ดี
แต่มันสมบูรณ์แบบเลยละ -
3:41 - 3:44... หลายคนมองว่า
-
3:44 - 3:46มันยังเป็นแค่บทความที่เฉพาะทางมากเกิน
-
3:46 - 3:49และ คนที่ทำงานด้านความรู้ต่างๆ
มักมีความรู้ที่กว้างขวาง -
3:49 - 3:51และพวกเขาเหล่านั้นก็ทำงานบน
กรอบของงานที่กว้าง -
3:51 - 3:54และใช้ความรู้ที่พวกเขามี
-
3:54 - 3:57ตอบสนองความต้องการที่เข้ามา
ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆได้ -
3:57 - 4:00ซึ่ง ยากมากที่จะให้หุ่นยนต์มาทำแทน
-
4:00 - 4:02... มีคนที่ทำงานด้านความรู้คนหนึ่ง
-
4:02 - 4:04ชื่อ Ken Jennings
-
4:04 - 4:09เขาชนะเกมโชว์ชื่อ "Jeopardy"
ถึง 74 ครั้งติดต่อกัน -
4:09 - 4:12ได้เงินกลับบ้านไปกว่า 3 ล้านเหรียญ
-
4:12 - 4:16คนนั้นคือ Ken ... คนที่อยู่ขวามือ
ซึ่งพ่ายแพ้ 1-3 ให้กับ -
4:16 - 4:20Watson เครื่อง Super Computer จาก IBM
ที่มาเล่นเกมโชว์นี้ -
4:20 - 4:22...ถ้าเรามองว่าเทคโนโลยีทำอะไรบ้าง
-
4:22 - 4:25ถ้าเทียบกับคนงานองค์ความรู้ต่างๆ
ผมก็เริ่มคิดได้ว่า -
4:25 - 4:28อาจจะมีบางอย่างที่พิเศษสำหรับความคิดของ
-
4:28 - 4:31คนที่มีความรู้กว้างขวาง โดยเฉพาะเวลาที่เรา
ทำหลายๆอย่าง -
4:31 - 4:35เช่น ใช้ Siri (Application บน iPhone)
หรือ Watson และให้เทคโนโลยี -
4:35 - 4:36มาเข้าใจว่าพวกเราพูดอะไรกัน
-
4:36 - 4:39แล้วให้พูดคำพูดเหล่านั้นกลับมาหาเรา
-
4:39 - 4:41ตอนนี้ Siri ยังไม่พัฒนาเต็มที่
แล้ว เราก็ยังล้อเลียน -
4:41 - 4:44ข้อบกพร่องต่างๆ
แต่ขอให้เราคิดเสมอว่า -
4:44 - 4:47ถ้าเทคโนโลยีอย่าง Siri และ Watson
ถูกพัฒนา -
4:47 - 4:51ในอัตราที่เร็วเหมือนทฤษฎีของ Moore
ซึ่งน่าจะเป็นจริง -
4:51 - 4:53ภายใน 6 ปี เทคโนโลยีเหล่านี้
จะไม่ใช่แค่ดีขึ้น 2 เท่า -
4:53 - 4:58หรือ 4 เท่า
แต่จะดีกว่าตอนนี้ 16 เท่าเลยทีเดียว -
4:58 - 5:02...ผมก็เลยคิดว่า งานที่เกี่ยวข้องกับ
องค์ความรู้ต่างๆ จะต้องถูกกระทบแน่นอน -
5:02 - 5:05และ เทคโนโลยี จะไม่ได้กระทบ
แค่งานที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ต่างๆ -
5:05 - 5:09แต่จะกระทบกับงานที่ใช้แรงงานด้วยเช่นกัน
-
5:09 - 5:12... ผมมีโอกาสที่จะได้ขับรถของ Google
-
5:12 - 5:17ที่ขับด้วยตัวเองได้
ซึ่งมันเจ๋งเหมือนคุณคิดนั่นหละ (หัวเราะ) -
5:17 - 5:20และ ผมยืนยันได้ว่า มันทำงานได้ดีใน
ท่ามกลางรถติด -
5:20 - 5:23บนถนน U.S. 101 ได้อย่างดี
-
5:23 - 5:25... มีคนประมาณ 3.5 ล้านคน
-
5:25 - 5:28ที่ขับรถบรรทุกเป็นอาชีพในอเมริกา
-
5:28 - 5:30ผมคิดว่าต้องมีบางคนได้รับผลกระทบ
จากเทคโนโลยีนี้ -
5:30 - 5:33ตอนนี้ หุ่นยนต์เสมือนคนในตลาด
-
5:33 - 5:36ยังไม่พัฒนาเท่าไหร่ ยังทำอะไรไม่ได้มาก
-
5:36 - 5:39แต่ พวกมันก็ดีขึ้นเรื่อยๆอย่างรวดเร็ว
-
5:39 - 5:42DARPA หรือ หน่วยงานในกระทรวงกลาโหม
-
5:42 - 5:44พยายามเร่งการพัฒนาหุ่นยนต์อย่างมาก
-
5:44 - 5:49... พูดง่ายๆคือ ใช่ ...
หุ่นยนต์กำลังมาทำงานแทนเรา -
5:49 - 5:52ในระยะสั้นนี้ เราสามารถเพิ่มงาน
-
5:52 - 5:55ในตลาดได้โดยส่งเสริมให้เกิด
ธุรกิจใหม่ๆ และ ลงทุนใน -
5:55 - 5:58โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
เพราะหุ่นยนต์ยังไม่สามารถ -
5:58 - 6:00ซ่อมสะพานได้ดีเท่าไหร่
-
6:00 - 6:04แต่ไม่นานหรอก
ผมคิดว่าในช่วงชีวิตของเรานี่แหละ -
6:04 - 6:07คนส่วนใหญ่ในห้องนี้ จะได้เห็น
-
6:07 - 6:10เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่
-
6:10 - 6:13ไม่จำเป็นต้องการแรงงานที่เป็นมนุษย์
-
6:13 - 6:14... การบริหารการเปลี่ยนแปลงนี้
-
6:14 - 6:17จะเป็นความท้าทายใหญ่หลวงของมนุษย์
-
6:17 - 6:20นักปรัชญาชื่อ Voltaire เคยสรุปไว้ว่า
-
6:20 - 6:25"งานเป็นสิ่งที่ช่วยเราจากปีศาจ 3 ตัวคือ
ความเบื่อหน่าย ข้อบกพร่อง ความต้องการ" -
6:25 - 6:28...ถึงแม้จะมีความท้าทายเหล่านี้
-
6:28 - 6:31ผมยังมองว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดี
-
6:31 - 6:34และผมเชื่อมั่นอย่างมากว่าเทคโนโลยี
ยุคดิจิตอลที่เรากำลังพัฒนา -
6:34 - 6:38จะพาเราไปสู่อนาคตที่สดใส
-
6:38 - 6:41ไม่ใช่อนาคตที่มืดมน
ก่อนอธิบายว่าทำไม -
6:41 - 6:43ผมขอตั้งคำถามกว้างๆคำถามนึงว่า
-
6:43 - 6:45อะไรเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา
-
6:45 - 6:48ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์มากที่สุด?
-
6:48 - 6:50ผมจะแชร์คำตอบที่ได้มาให้คุณฟัง
-
6:50 - 6:53คำถามนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจมาก
-
6:53 - 6:55เพราะเมื่อถามแล้ว
จะมีข้อถกเถียงกันไม่รู้จบ -
6:55 - 6:57..หลายคนจะเอาปรัชญาต่างๆ
-
6:57 - 7:01จากทั้งทางตะวันตก และ ตะวันออก
-
7:01 - 7:04ที่เปลี่ยนความคิดของคนหลายคนต่อโลกของเรา
-
7:04 - 7:07และ หลายคนก็บอกว่า
ไม่จริง ทุกๆเรื่อง -
7:07 - 7:09พื้นฐานต่างๆบนโลกเกิดจาก
ศาสนาหลักที่เรามี -
7:09 - 7:12ที่เป็นตัวทำให้เกิดความเจริญ
-
7:12 - 7:15และเปลี่ยนความคิดของคนนับไม่ถ้วน
-
7:15 - 7:18ในการดำรงชีวิตแต่ละวัน
และบางคนก็บอกว่า -
7:18 - 7:21จริงๆแล้วสิ่งที่ผลักดันให้เกิดความเจริญ
-
7:21 - 7:24และเปลี่ยนชีวิตของคนมากมาย
-
7:24 - 7:28คือ จักรพรรดิในอดีต
เพราะสิ่งต่างๆที่พัฒนามาได้ -
7:28 - 7:30เพราะ การต่อสู้ และ สงคราม
-
7:30 - 7:33และ บางคนที่ไอเดียบรรเจิด ก็อาจจะบอกว่า
-
7:33 - 7:39อย่าลืมเรื่องกาฬโรคด้วย
(หัวเราะ) -
7:39 - 7:42หรือ หลายคนก็อาจจะตอบว่า
-
7:42 - 7:43ช่วงที่มีการสำรวจโลกเป็นช่วงที่
-
7:43 - 7:45เปิดโลกทัศน์ของคนมากมาย
-
7:45 - 7:48หลายๆคนก็อาจจะพูดเกี่ยวกับ
ความรู้ใหม่ต่างๆ -
7:48 - 7:50เช่น ความรู้เชิงคณิตศาสตร์ที่ทำให้เรา
-
7:50 - 7:53จัดการกับเรื่องบนโลกได้ดีขึ้น และ
หลายๆคนก็จะพูดถึง -
7:53 - 7:55ช่วงเวลาที่ ศิลปะ และ วิทยาศาสตร์
-
7:55 - 7:59เติบโต ฉะนั้นการโต้เถียงเลยไม่จบไม่สิ้น
-
7:59 - 8:01และ ไม่มีข้อสรุปใดๆ
-
8:01 - 8:05ไม่มีคำตอบใดคำตอบนึงสมบูรณ์
แต่ถ้าคุณเป็นพวกชอบตัวเลขเหมือนผม -
8:05 - 8:08คุณคงอดถามไม่ได้ว่า
"แล้วตัวเลขบอกว่าอย่างไร?" -
8:08 - 8:10แล้วคุณก็จะมาเริ่มทำ กราฟ ต่างๆ
-
8:10 - 8:14ที่เราคิดว่าน่าสนใจ เช่น จำนวนประชากรโลก
-
8:14 - 8:17หรือ ตัวแปรวัดความเจริญทางสังคม
-
8:17 - 8:20หรือ ความก้าวหน้าของสังคม
-
8:20 - 8:23และถ้าคุณลองมาดูที่ตัวเลข
-
8:23 - 8:26จะพบว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ
ของมนุษยชาติ -
8:26 - 8:29คือ สิ่งที่เปลี่ยนกราฟมากที่สุด
-
8:29 - 8:31... ถ้าคุณลองพลอตข้อมูล
-
8:31 - 8:34คุณจะได้ข้อสรุปที่ประหลาดออกมา
-
8:34 - 8:37คุณจะสรุปว่า สิ่งที่คนเถียงกันทั้งหมด
-
8:37 - 8:42ไม่ได้มีอะไรเลยที่สำคัญมากมาย (หัวเราะ)
-
8:42 - 8:46สิ่งพูดกันมาไม่ได้เปลี่ยนกราฟ
หรือ ตัวเลขมากเลย (หัวเราะ) -
8:46 - 8:49แต่มีเรื่องเดียว สิ่งเดียว
-
8:49 - 8:52ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่เปลี่ยนกราฟ
-
8:52 - 8:5690 องศาเลย สิ่งนั้นคือ เทคโนโลยีนั่นเอง
-
8:56 - 8:59เครื่องจักรไอน้ำ และ
เทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง -
8:59 - 9:02ในยุคอุตสาหกรรมต่างหาก
ที่เปลี่ยนโลกนี้ -
9:02 - 9:04และ เปลี่ยนประวัติศาสตร์มนุษยํอย่างมากมาย
-
9:04 - 9:06หากมองในมุมนักประวัติศาสตร์ Ian Morris
-
9:06 - 9:10เทคโนโลยีทำให้สิ่งอื่นๆก่อนหน้า
ดูเล็กไปเลย -
9:10 - 9:13... สิ่งที่เทคโนโลยีทำคือ การทำให้
-
9:13 - 9:16เราสามารถทำงานที่ออกแรงมากกว่า
ขีดจำกัดกล้ามเนื้อมนุษย์หลายเท่า -
9:16 - 9:19และปัจจุบัน เราก็อยู่ในช่วงที่
-
9:19 - 9:22เราก็พยายามเอาชนะงานที่
ใช้ความคิดเกินขีดจำกัดของสมอง -
9:22 - 9:25ให้มากกว่าที่เคยมีมาหลายเท่าเช่นกัน
-
9:25 - 9:29...แต่เรื่องเอาชนะขีดจำกัดของสมอง
ทำไมไม่ได้สำคัญเท่าการเอาชนะ -
9:29 - 9:31ขีดจำกัดของกล้ามเนื้อละ ?
-
9:31 - 9:34ผมขอย้ำอีกทีว่า ถ้ามอง
-
9:34 - 9:37สิ่งที่เกิดขึ้นในยุคดิจิตอลปัจจุบัน
-
9:37 - 9:40จะพบว่า เราไม่ได้ใกล้เคียงเลยที่จะ
สำเร็จจุดหมายนี้ -
9:40 - 9:43และเมื่อผมมองสิ่งที่เกิดขึ้นกับ
เศรษฐกิจของเรา -
9:43 - 9:45และ สังคมของเรา
ผมก็พอสรุปได้ว่า -
9:45 - 9:49เรายังไม่เห็นอะไรเลย
วันที่ดีที่สุดยังอยู่ไกลจากตอนนี้ -
9:49 - 9:51ผมขอยกตัวอย่าง 2-3 ตัวอย่าง
-
9:51 - 9:55เศรษฐกิจไม่ได้เดินได้ด้วยพลังงาน
ไม่ได้เดินได้ด้วยเงินทุน -
9:55 - 9:59เศรษฐกิจไม่ได้เดินด้วยแรงงาน
แต่ "เศรษฐกิจจะเดินได้จากไอเดีย" -
9:59 - 10:01เพราะฉะนั้นงานประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ
งานที่ก่อให้เกิด -
10:01 - 10:04ไอเดียใหม่ๆ คืองานที่มีพลังมากที่สุด
-
10:04 - 10:05และ เป็นงานพื้นฐานมนุษย์ทำได้
-
10:05 - 10:09ให้กับเศรษฐกิจ และ
ถ้าเราอยากได้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ -
10:09 - 10:13ให้เราหาคนที่มีหน้าตาคล้ายๆกัน
-
10:13 - 10:17(หัวเราะ)
-
10:17 - 10:19เอาพวกเขาออกจากสถาบันมีชื่อเสียงต่างๆ
แล้วเอามา -
10:19 - 10:22ใส่รวมในสถาบันใหม่
จากนั้นก็แค่รอสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆจากเขา -
10:22 - 10:26(หัวเราะ)
-
10:26 - 10:29ในฐานะที่ผมเป็นหนึ่งในคนที่ทำงานที่
มหาวิทยาลัย MIT -
10:29 - 10:35และ Harvard ผมไม่มีปัญหาเลยกับเรื่องนี้
(หัวเราะ) -
10:35 - 10:38แต่บางคนมีปัญหา
พวกเขามักจะชอบทำให้ทุกอย่างพัง และ -
10:38 - 10:40ไม่ก่อให้เกิด ภาวะเอื้อหนุน
ให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ -
10:40 - 10:41(หัวเราะ)
-
10:41 - 10:45นี่คือ ผู้ชนะจาก
การแข่งขันเขียนโปรแกรม Top Coder -
10:45 - 10:48ผมยืนยันได้เลยว่า ไม่มีใครสนใจว่า
-
10:48 - 10:51เด็กพวกนี้เกิดที่ไหน หรือ
เขาจบโรงเรียนอะไรมา -
10:51 - 10:54หรือ หน้าตาเขาเป็นยังไง
ทุกคนดูแค่อย่างเดียวคือ -
10:54 - 10:57ผลงาน และ ความคิดของพวกเขา
-
10:57 - 10:59และ จนแล้วจนเล่า เราก็เห็นว่ามันเกิดขึ้น
-
10:59 - 11:01ในโลกเทคโนโลยีตลอดเวลา
-
11:01 - 11:04งานที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ
เริ่มเปิดกว้าง -
11:04 - 11:07เริ่มโปร่งใส และ
ให้รางวัลตามผลงานของแต่ละคนมากขึ้น -
11:07 - 11:10ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่ได้สนใจเลยว่าใครจบ
MIT หรือ Harvard มา -
11:10 - 11:14หากมาลองคิดดู เป็นเรื่องน่ายินดีมาก
ที่แนวโน้มตลาดเป็นแบบนี้ -
11:14 - 11:16... ผมได้ยินหลายคนพูดว่า
"ผมเห็นด้วยนะ แต่ -
11:16 - 11:20เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือให้กับแค่คนรวย
-
11:20 - 11:23มันไม่ได้ช่วย
-
11:23 - 11:26กลุ่มคนที่มีภาวะยากจนที่สุดในสังคมเลย
-
11:26 - 11:29ผมบอกได้เลยว่าคำพูดพวกนี้
"ไม่สมเหตุสมผล" -
11:29 - 11:32คนยากจนจริงๆแล้วได้รับผลประโยชน์
จากเทคโนโลยีมหาศาล -
11:32 - 11:35นักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Robert Jensen
ได้ทำงานวิจัยงานหนึ่ง -
11:35 - 11:38ซึ่งทำการศึกษาอย่างละเอียด
-
11:38 - 11:41ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านชาวประมง
ชื่อ Kerela ประเทศอินเดีย -
11:41 - 11:44หลังจากได้มือถือใช้เป็นครั้งแรก
-
11:44 - 11:47ปกติเวลาคุณเขียนบทความใน
Quarterly Journal of Economics -
11:47 - 11:50บทความจะต้องเต็มไปด้วย
ศัพท์ที่น่าเบื่อ ไม่ชวนฟัง -
11:50 - 11:52แต่พอผมอ่านงานของเขา
ผมรู้สึกได้เลยว่า Jensen พยายาม -
11:52 - 11:55จะตะโกนบอกเรา บอกว่านี่เป็นเรื่องสำคัญมาก
-
11:55 - 11:59ราคาของต่างๆเริ่มนิ่ง
ผู้คนในหมู่บ้านวางแผนชีวิตง่ายขึ้น -
11:59 - 12:04ขยะต่างๆไม่ได้ลดลง
แต่หายไปหมด -
12:04 - 12:06ชีวิตของพ่อค้า และ ชาวบ้านของหมู่บ้าน
-
12:06 - 12:09ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
-
12:09 - 12:12... ผมไม่คิดว่า Jensen จะโชคดีมากขนาดที่
-
12:12 - 12:15จะเจอหมู่บ้านแค่หนึ่งหมู่บ้าน
-
12:15 - 12:17ที่เทคโนโลยีทำให้ชีวิตดีขึ้น
-
12:17 - 12:20สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เขากลับมาทำงานวิจัยต่อ
-
12:20 - 12:22แบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก กับสังคมใหม่
-
12:22 - 12:26ที่เทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่งเข้าไปครั้งแรก
-
12:26 - 12:30เขาก็พบเหมือนเดิมว่า
ความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้นอย่างมากทุกครั้ง -
12:30 - 12:32พอดูหลักฐานเหล่านี้ทำให้ผมคิดว่า
-
12:32 - 12:34ถ้ามองเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
-
12:34 - 12:37ผมควรจะมองเทคโนโลยีในแง่ดี
ทำให้ผมนึกถึงคำพูดหนึ่ง -
12:37 - 12:40ของนักฟิสิกส์ชื่อ Freeman Dyson ว่า
-
12:40 - 12:45มันไม่ได้เกินจริงหรอกนะ แต่เป็น
คำพูดที่ตรงกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นเลยละ -
12:45 - 12:47เทคโนโลยี อุปกรณ์ดิจิตอล
คือ ของขวัญชั้นเยี่ยม -
12:47 - 12:51และ ในตอนนี้เรามีอนาคตที่สดใสรออยู่
-
12:51 - 12:54อนาคตพวกเราอยู่ท่ามกลาง
ความเจริญของเทคโนโลยี -
12:54 - 12:56เมื่อมันกระจาย และ ฝัง
-
12:56 - 12:59และ มีความสำคัญยิ่งๆขึ้นกับคนทั่วโลก
-
12:59 - 13:02... มันถูกว่าหุ่นยนต์อาจจะเอางานเราไป
-
13:02 - 13:06แต่ นั่นเป็นการมองที่ผิดประเด็นสำคัญไปเลย
-
13:06 - 13:09สิ่งที่สำคัญคือ
เราจะมีเวลามากขึ้นเพื่อทำอย่างอื่น -
13:09 - 13:12และ ผมมั่นใจว่าสิ่งที่เราจะทำ
-
13:12 - 13:15จะเป็นสิ่งที่ลดความยากจน
งานที่น่าเบื่อต่างๆ -
13:15 - 13:18และ ความทุกข์ยาก ทั่วทุกมุมโลก
และ ผมก็มั่นใจว่า -
13:18 - 13:21เราจะเรียนรู้วิธีที่จะอยู่บนโลกใบนี้
อย่างมีความสุข -
13:21 - 13:24และ ผมมั่นใจเป็นอย่างมากว่า
สิ่งที่เรากำลังทำ -
13:24 - 13:27ในการพัฒนาให้เครื่องมือดิจิตอลต่างๆ
มีบทบาทมากขึ้น -
13:27 - 13:30และ มีประโยชน์มากขึ้น
จะทำให้ทุกอย่างดียิ่งขึ้น -
13:30 - 13:32แบบทำลายสถิติเดิม เหมือนที่ผ่านมา
-
13:32 - 13:34ผมขอฝากคำพูดสุดท้ายให้กับ
คนทุกคนที่อยู่แนวหน้า -
13:34 - 13:36ที่ช่วยกันพัฒนาเทคโนโลยี
-
13:36 - 13:39เพื่อนเก่าของเรา Ken Jennings
ซึ่งผมเห็นด้วยกับเขา -
13:39 - 13:40ผมขอฝากคำพูดของเขาไว้ว่า
-
13:40 - 13:44"ผม ในฐานะคนหนึ่งคน ขอต้อนรับคอมพิวเตอร์
มาเป็นเจ้านายของพวกเรา" (หัวเราะ) -
13:44 - 13:47ขอบคุณมากครับ (เสียงปรบมือ)
- Title:
- หุ่นยนต์จะมาแย่งงานเราหมดหรือเปล่า?
- Speaker:
- แอนดรูว์ แมคอะฟี่
- Description:
-
หุ่นยนต์ และ กระบวนการทำงานแบบออโตเมติกต่างๆ เริ่มทำงานในการสร้างรถยนต์ เขียนบทความ แปลบทความได้ ซึ่งงานเหล่านี้เดิมจะต้องใช้คนในการทำเท่านั้น แล้วจะเหลืออะไรให้มนุษย์ทุกบ้างหละ
คุณ แอนดรูว์ แมคอะฟี่ เล่าถึงข้อมูลแรงงานต่างๆ ที่จะชี้ให้เห็นว่าจริงๆ เรายังไม่ได้เห็นภาพอนาคตอะไรเลย ซึ่งคุณแอนดรูว์จะย้อนเหตุการณ์ต่างๆในอดีต ดูถึงว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และ ให้ข้อสรุปบางอย่างที่คุณอาจแปลกใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 14:07
![]() |
TED Translators admin approved Thai subtitles for Are droids taking our jobs? | |
![]() |
Suppadej Mahapokai accepted Thai subtitles for Are droids taking our jobs? | |
![]() |
Suppadej Mahapokai edited Thai subtitles for Are droids taking our jobs? | |
![]() |
Pootip Jongpiputvanich edited Thai subtitles for Are droids taking our jobs? | |
![]() |
Pootip Jongpiputvanich edited Thai subtitles for Are droids taking our jobs? | |
![]() |
Pootip Jongpiputvanich edited Thai subtitles for Are droids taking our jobs? | |
![]() |
Pootip Jongpiputvanich edited Thai subtitles for Are droids taking our jobs? | |
![]() |
Pootip Jongpiputvanich edited Thai subtitles for Are droids taking our jobs? |