คอมพิวเตอร์แปลภาษามนุษย์ได้อย่างไร - ไอออนนิส ปาปาชิโมเนส (Ioannis Papachimonas)
-
0:07 - 0:11สิ่งมีชีวิตต่างกาแล็คซี่ในภาพยนต์และในโทรทัศน์
-
0:11 - 0:14พูดภาษาอังกฤษได้อย่างสมบูรณ์แบบได้อย่างไร
-
0:14 - 0:18คำตอบสั้น ๆ ก็คือ
ไม่มีใครอยากจะเห็นลูกเรือยานอวกาศ -
0:18 - 0:22ใช้เวลาหลายปีในการรวบรวมพจนานุกรมเอเลียน
-
0:22 - 0:23แต่เพื่อให้สิ่งต่าง ๆ คงเส้นคงวา
-
0:23 - 0:27ผู้สร้าง สตาร์ เทรค และนิยายวิทยาศาสตร์อื่น ๆ
-
0:27 - 0:31ได้นำแนวคิดของผู้แปลภาษาสากล
-
0:31 - 0:35อุปกรณ์พกพาที่สามารถแปลระหว่างภาษาใดก็ได้
ได้ในทันที -
0:35 - 0:39แล้วผู้แปลภาษาสากลนี้มีอยู่จริง ๆ หรือเปล่า
-
0:39 - 0:42เรามีโปรแกรมมากมาย
ที่อ้างว่าทำอย่างนั้นได้ -
0:42 - 0:46คือนำคำ ประโยค หรือหนังสือทั้งเล่ม
ที่เขียนด้วยภาษาหนึ่ง -
0:46 - 0:49และแปลมันออกมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง
-
0:49 - 0:52ไม่ว่ามันจะเป็นภาษาอังกฤษยุคใหม่
หรือภาษาสันสกฤตโบราณ -
0:52 - 0:56และถ้าการแปลเป็นเพียงแค่
การมองหาคำในพจนานุกรม -
0:56 - 1:00โปรแกรมเหล่านี้คงจะทำงานเป็นวงจร
ในแบบที่มนุษย์ทำ -
1:00 - 1:03อย่างไรก็ดี ในความจริง
มันซับซ้อนยิ่งกว่านั้น -
1:03 - 1:07โปรแกรมการแปล
ที่ขึ้นอยู่กับกฎการใช้ฐานข้อมูลศัพท์ -
1:07 - 1:10ซึ่งรวมถึงคำทั้งหมดที่คุณจะพบได้
ในพจนานุกรม -
1:10 - 1:13และรูปแบบไวยกรณ์ทั้งหมดที่พวกมันจะถูกใช้
-
1:13 - 1:19และชุดของกฎเพื่อจดจำ
ส่วนพื้นฐานทางภาษาของภาษาพื้นฐานที่ป้อนให้ -
1:19 - 1:22สำหรับประโยคง่าย ๆ อย่างเช่น
"เด็ก ๆ กินมัฟฟิน" -
1:22 - 1:27โปรแกรมจะชำแหละคำศัพท์
หรือโครงสร้างไวยกรณ์ -
1:27 - 1:30โดยบ่งชี้ว่า เด็ก ๆ เป็นประธาน
-
1:30 - 1:32และที่เหลือในประโยคนั้นเป็นภาคแสดง
-
1:32 - 1:34ที่ประกอบด้วย คำกริยา "กิน"
-
1:34 - 1:37และกรรมตรง "มัฟฟิน"
-
1:37 - 1:40จากนั้นมันต้องจดจำสัณฐานวิทยาของภาษาอังกฤษ
-
1:40 - 1:45หรือว่าภาษานั้นสามารถถูกแบ่งย่อยลงมา
เป็นส่วนเล็กที่สุดที่มีความหมายได้อย่างไร -
1:45 - 1:46อย่างเช่นคำว่า มัฟฟิน
-
1:46 - 1:50และส่วนต่อท้ายคำ "s"
ที่ใช้เพื่อบ่งบอกนามพหูพจน์ -
1:50 - 1:52ท้ายที่สุด มันต้องเข้าใจอรรถศาสตร์
-
1:52 - 1:56ว่าแต่ละส่วนของประโยชน์
มีความหมายจริง ๆ ว่าอย่างไร -
1:56 - 1:58เพื่อแปลประโยคนี้อย่างเหมาะสม
-
1:58 - 2:02โปรแกรมจะอ้างอิงถึงคำศัพท์และกฎต่าง ๆ
-
2:02 - 2:05สำหรับแต่ละส่วนของภาษาเป้าหมาย
-
2:05 - 2:07แต่นี่คือตอนที่มันซับซ้อน
-
2:07 - 2:12คำศัพท์ของบางภาษา
ยอมให้คำเรียงอยู่ในลำดับใดก็ได้ -
2:12 - 2:17ในขณะที่ในบางภาษา การทำเช่นนั้นอาจทำให้
มัฟฟินกินเด็ก -
2:17 - 2:20สัณฐานวิทยาของภาษายังสามารถก่อปัญหาได้
-
2:20 - 2:23ภาษาสโลวาเนียแยกระหว่าง
เด็กสองคน และสามคน หรือมากกว่า -
2:23 - 2:27โดยการใช้ส่วนเติมหน้าคำสองคำ
ที่ไม่มีในหลาย ๆ ภาษา -
2:27 - 2:31ในขณะที่ภาษารัสเซียที่ไม่มีคำนำหน้าที่แน่นอน
อาจทำให้คุณงงว่า -
2:31 - 2:34เด็กกำลังกินมัฟฟินจำเพาะเจาะจงอันไหนสักอัน
-
2:34 - 2:37หรือแค่กินมัฟฟินทั่ว ๆ ไป
-
2:37 - 2:40ท้ายที่สุด ถึงแม้ว่าอรรถศาสตร์ถูกต้องตามเทคนิค
-
2:40 - 2:43โปรแกรมอาจพลาดในจุดที่ละเอียด
-
2:43 - 2:46เช่น เมื่อใดที่เด็ก ๆ "แมนจิโน" มัฟฟิน
-
2:46 - 2:48หรือ "ดิโบราโน" พวกมัน
-
2:48 - 2:52อีกวิธีคือการใช้เครื่องแปลแบบสถิติ
-
2:52 - 2:56ซึ่งวิเคราะห์ฐานข้อมูลหนังสือ
บทความ และเอกสาร -
2:56 - 2:59ที่ได้ถูกแปลเอาไว้แล้วโดยมนุษย์
-
2:59 - 3:03โดยการหาสิ่งที่เหมือนกันระหว่างแหล่ง
กับข้อความที่ถูกแปล -
3:03 - 3:05ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นเพราะการสุ่มเดา
-
3:05 - 3:09โปรแกรมสามารถบ่งบอกได้
ถึงวลีและรูปแบบที่เกี่ยวข้อง -
3:09 - 3:12และใช้พวกมันสำหรับการแปลในอนาคต
-
3:12 - 3:15อย่าไรก็ดี คุณภาพของการแปลแบบนี้
-
3:15 - 3:18ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลภายใน
-
3:18 - 3:21และการปรากฎอยู่ของตัวอย่าง
ของภาษานั้นๆ -
3:21 - 3:23หรือรูปแบบของการเขียน
-
3:23 - 3:27อุปสรรค์ที่คอมพิวเตอร์มีต่อข้อยกเว้น
ความไม่แน่นอน -
3:27 - 3:31และระดับของความหมาย
ที่อาจทำให้มันแตกต่างสำหรับคนเรา -
3:31 - 3:35นำไปสู่งานวิจัยที่เชื่อว่า
ความเข้าในในภาษาของเรานั้น -
3:35 - 3:39เป็นผลลัพธ์ที่มีเอกลักษณ์
ของโครงสร้างทางชีวภาพของสมอง -
3:39 - 3:43อันที่จริง หนึ่งในนักแปลสากลในนิยาย
ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด -
3:43 - 3:46คือ ปลาบาเบล จาก
"เดอะ ฮิทช์ไฮเกอส์ ไกด์ ทู เดอะ กาแล็คซี" -
3:46 - 3:50ไม่ใช่เครื่องอะไรเลย แต่เป็นสัตว์เล็กๆ
-
3:50 - 3:54ที่เปลี่ยนคลื่นสมอง
และสัญญาณประสาทของสัตว์ที่มีชีวิตจิตใจ -
3:54 - 3:57ผ่านรูปแบบของการส่งกระแสจิต
-
3:57 - 4:00ตอนนี้ การเรียนภาษาแบบวิธีดั้งเดิม
-
4:00 - 4:05จะยังให้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพดีกว่า
เมื่อเทียบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีอยู่ -
4:05 - 4:07แต่นี่ไม่ใช่อะไรง่าย ๆ
-
4:07 - 4:09และจำนวนคร่าว ๆ ของภาษาในโลกนี้
-
4:09 - 4:13เช่นเดียวกันกับ การเพิ่มขึ้นของการมีปฏิสัมพันธ์
ระหว่างผู้ที่พูดภาษาเหล่านั้น -
4:13 - 4:18จะกระตุ้นความก้าวหน้าของการแปลอัตโนมัติ
ต่อไปอย่างต่อเนื่อง -
4:18 - 4:21บางที เมื่อถึงเวลา
ที่เราจะได้พบกับสิ่งมีชีวิตนอกโลก -
4:21 - 4:25เราจะสามารถสื่อสารกับพวกเขาผ่านอุปกรณ์เล็ก ๆ
-
4:25 - 4:29หรือที่สุดแล้ว เราอาจต้อง
เริ่มที่จะรวบรวมพจนานุกรมดังกล่าว
- Title:
- คอมพิวเตอร์แปลภาษามนุษย์ได้อย่างไร - ไอออนนิส ปาปาชิโมเนส (Ioannis Papachimonas)
- Speaker:
- Ioannis Papachimonas
- Description:
-
ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-computers-translate-human-language-ioannis-papachimonas
นักแปลสากลมีจริง ๆ หรือ เรามีโปรแกรมมากมายที่อ้างว่าสามารถนำเอาคำ, ประโยค หรือหนังสือทั้งเล่มในภาษาหนึ่งและแปลมันเป็นอีกภาษาหนึ่ง อย่างไรก็ดี ในความจริง มันซับซ้อนกว่านั้น ไอออนนิส ปาปาชิโมเนส แสดงว่าอุปกรณ์แปลภาษาเหล่านี้ทำงานอย่างไร และอธิบายว่าทำไมพวกมันมักจะสร้างความสับสน
บทเรียนโดย Ioannis Papachimonas, แอนิเมชันโดย NOWAY Video Club
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 04:45
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How computers translate human language | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How computers translate human language | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How computers translate human language | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How computers translate human language | |
![]() |
Rawee Ma accepted Thai subtitles for How computers translate human language | |
![]() |
Rawee Ma edited Thai subtitles for How computers translate human language | |
![]() |
Rawee Ma edited Thai subtitles for How computers translate human language | |
![]() |
Rawee Ma declined Thai subtitles for How computers translate human language |