Return to Video

Prime Factorization

  • 0:01 - 0:04
    จงเขียนการแยกตัวประกอบเฉพาะของ 75.
  • 0:04 - 0:07
    เขียนคำตอบของคุณโดยใช้เลขยกกำลัง.
  • 0:07 - 0:09
    เรามีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง.
  • 0:09 - 0:12
    การแยกตัวประกอบเฉพาะ แล้วก็
    สัญลักษณ์เลขยกกำลัง.
  • 0:12 - 0:15
    เราจะคิดถึงการใช้เลขยกกำลังทีหลัง.
  • 0:15 - 0:19
    อย่างแรกที่เราต้องคิดคือว่าจำนวน
  • 0:19 - 0:19
    เฉพาะคืออะไร?
  • 0:19 - 0:22
    เพื่อทบทวน จำนวนเฉพาะคือจำนวนที่
  • 0:22 - 0:26
    หารด้วยตัวเองหรือ 1 ลงตัวเท่านั้น ตัวอย่าง
  • 0:26 - 0:29
    จำนวนเฉพาะ -- ขอผมเขียนเลขลงไปนะ.
  • 0:29 - 0:35
    เฉพาะ. ไม่เฉพาะ. ไม่เฉพาะ.
  • 0:35 - 0:37
    2 เป็นจำนวนเฉพาะ.
  • 0:37 - 0:40
    มันหารด้วย 1 กับ 2 ลงตัวเท่านั้น.
  • 0:40 - 0:42
    3 เป็นจำนวนเฉพาะอีกตัว.
  • 0:42 - 0:47
    4 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะมัน
  • 0:47 - 0:50
    หารด้วย 1, 2 และ 4 ลงตัว.
  • 0:50 - 0:51
    เราก็ทำต่อไป.
  • 0:51 - 0:56
    5, ทีนี้, 5 หารด้วย 1 กับ 5 ลงตัวเท่านั้น
    5 จึงเป็นจำนวนเฉพาะ.
  • 0:56 - 1:00
    6 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ เพราะมัน
    หารด้วย 2 กับ 3 ลงตัว.
  • 1:00 - 1:02
    ผมว่าคุณคงเข้าใจแนวคิดทั่วไป.
  • 1:02 - 1:04
    คุณไปที่ 7, 7 เป็นจำนวนเฉพาะ.
  • 1:04 - 1:06
    มันหารด้วย 1 กับ 7 ลงตัวเท่านั้น.
  • 1:06 - 1:08
    8 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ.
  • 1:08 - 1:11
    9 คุณอาจบอกว่าเป็นจำนวนเฉพาะ แต่นึกดู
  • 1:11 - 1:15
    มันหารด้วย 3 ลงตัว, 9 จึงไม่ใช่จำนวนเฉพาะ.
  • 1:15 - 1:19
    จำนวนเฉพาะไม่เหมือนจำนวนคี่.
  • 1:19 - 1:21
    แล้วถ้าคุณไปที่ 10, 10 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ.
  • 1:21 - 1:24
    มันหารด้วย 2 กับ 5 ลงตัว.
  • 1:24 - 1:27
    11 มันหารด้วย 1 กับ 11 ลงตัวเท่านั้น
    11 จึงเป็น
  • 1:27 - 1:28
    จำนวนเฉพาะ.
  • 1:28 - 1:30
    เราก็ทำไปเรื่อยๆ แบบนี้.
  • 1:30 - 1:32
    คนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อหา
  • 1:32 - 1:33
    จำนวนเฉพาะที่มากที่สุด อะไรพวกนั้น.
  • 1:33 - 1:35
    ทีนี้ เรารู้ว่าจำนวนเฉพาะคืออะไรแล้ว
  • 1:35 - 1:39
    การแยกตัวประกอบเฉพาะ ก็คือ
    การแยกจำนวน อย่างเช่น 75 เป็น
  • 1:39 - 1:42
    ผลคูณของจำนวนเฉพาะ.
  • 1:42 - 1:43
    ลองทำดู.
  • 1:43 - 1:46
    เราจะเริ่มด้วย 75, แล้วผมจะใช้
  • 1:46 - 1:49
    สิ่งที่เราเรียกว่า ต้นไม้ตัวประกอบ.
  • 1:49 - 1:52
    อย่างแรก เราพยายามหาจำนวนเฉพาะ
    ที่น้อยที่สุด
  • 1:52 - 1:54
    ที่หาร 75 ลงตัว.
  • 1:54 - 1:55
    จำนวนเฉพาะที่น้อยที่สุดคือ 2.
  • 1:55 - 1:57
    2 หาร 75 ลงตัวไหม?
  • 1:57 - 2:01
    75 เป็นจำนวนคี่ หรือเลขในหลักหน่วย
  • 2:01 - 2:02
    คือ 5 เป็นจำนวนคี่.
  • 2:02 - 2:07
    5 หารด้วย 2 ไม่ลงตัว
    2 จึงหาร 75 ไม่ลงตัว.
  • 2:07 - 2:08
    แล้วเราลอง 3 ได้.
  • 2:08 - 2:10
    3 หาร 75 ลงตัวไหม?
  • 2:10 - 2:12
    ตรงนี้, 7 บวก 5 ได้ 12.
  • 2:12 - 2:15
    12 หารด้วย 3 ลงตัว, 3 จึงหารได้.
  • 2:15 - 2:20
    75 ก็เท่ากับ 3 คูณสักค่า.
  • 2:20 - 2:23
    ถ้าคุณเคยรับเงินทอน คุณก็รู้ว่าถ้า
  • 2:23 - 2:26
    คุณมีเหรียญควอร์เตอร์ 3 เหรียญ
    คุณจะได้ 75 เซ็นต์ หรือถ้าคุณมี
  • 2:26 - 2:29
    3 คูณ 25, คุณจะได้ 75.
  • 2:29 - 2:32
    นี่ก็คือ 3 คูณ 25.
  • 2:32 - 2:34
    และคุณคูณออกมาได้
    ถ้าคุณไม่เชื่อผม.
  • 2:34 - 2:36
    คูณ 3 กับ 25 ออกมา.
  • 2:36 - 2:40
    ทีนี้ 25 หารด้วย --
  • 2:40 - 2:45
    75 หารด้วย 2 ไม่ลงตัว,
    25 หารด้วย 2 ไม่ลงตัว
  • 2:45 - 2:46
    เช่นกัน.
  • 2:46 - 2:49
    แต่ 25 อาจหารด้วย 3 ลงตัวก็ได้.
  • 2:49 - 2:52
    แล้วถ้าคุณเอาเลขในหลัก
    2 บวก 5, จะได้ 7.
  • 2:52 - 2:58
    7 หารด้วย 3 ไม่ลงตัว
    25 จึงหารด้วย 3 ไม่ลงตัว.
  • 2:58 - 2:59
    เราก็เลื่อนไปยัง 5.
  • 2:59 - 3:01
    25 หารด้วย 5 ลงตัวไหม?
  • 3:01 - 3:02
  • 3:02 - 3:04
    แน่นอน. 5 คูณ 5.
  • 3:04 - 3:08
    25 เท่ากับ 5 คูณ 5.
  • 3:08 - 3:12
    เราแยกตัวประกอบเฉพาะเสร็จแล้ว
  • 3:12 - 3:13
    เพราะเรามีจำนวนเฉพาะหมด.
  • 3:13 - 3:18
    เราจึงเขียน 75 นั่นว่าคือ
    3 คูณ 5 คูณ 5.
  • 3:18 - 3:26
    75 จึงเท่ากับ 3 คูณ 5 คูณ 5.
  • 3:26 - 3:27
    เราบอกได้ว่า มันคือ 3 คูณ 25.
  • 3:27 - 3:29
    25 คือ 5 คูณ 5.
  • 3:29 - 3:33
    3 คูณ 25, 25 คือ 5 คูณ 5.
  • 3:33 - 3:36
    นี่ก็คือการแยกตัวประกอบเฉพาะ
    แต่เขาอยากให้เรา
  • 3:36 - 3:42
    เขียนคำตอบของเราโดยใช้
    เลขยกกำลัง.
  • 3:42 - 3:45
    นั่นหมายความว่า ถ้าเรามี
    จำนวนเฉพาะซ้ำ เราก็เขียนมันเป็น
  • 3:45 - 3:46
    เลขยกกำลังได้.
  • 3:46 - 3:48
    5 คูณ 5 คืออะไร?
  • 3:48 - 3:52
    5 คูณ 5 คือ 5 คูณตัวเองสองครั้ง.
  • 3:52 - 3:56
    มันก็เหมือนกับ 5 ยกกำลังสอง.
  • 3:56 - 3:58
    ถ้าเราอยากเขียนคำตอบของเรา
    โดยใช้เลขยกกำลัง
  • 3:58 - 4:03
    เราก็บอกได้ว่า มันเท่ากับ 3 คูณ 5
  • 4:03 - 4:08
    ยกกำลังสอง ซึ่งเท่ากับ 5 คูณ 5.
Title:
Prime Factorization
Description:

more » « less
Video Language:
English
Duration:
04:09
Umnouy Ponsukcharoen edited Thai subtitles for Prime Factorization

Thai subtitles

Incomplete

Revisions