< Return to Video

ของดีวัดประยุรฯ วัดที่ไหว้เสร็จแล้วต้องคลาน | Point of View On Tour EP.34

  • 0:00 - 0:02
    สวัสดีค่า วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
  • 0:02 - 0:05
    วันนี้ วิวพาทุกคนออกมาอยู่นอกสถานที่นะคะ เพราะว่าตอนนี้วิวอยู่ที่
  • 0:05 - 0:09
    วัดประยุรวงศาวาส นะคะ ที่ฝั่งธนฯ กรุงเทพมหานครค่ะ
  • 0:09 - 0:12
    จะบอกว่าที่พามาที่นี่ ไม่ได้ตั้งใจจะพามาเล่าถึงประวัติศาสตร์วัด
  • 0:12 - 0:15
    หรืออะไรนะคะ แต่จะบอกว่า ในวัดแต่ละแห่งเนี่ย
  • 0:15 - 0:18
    มันมีศิลปะต่างๆ ซ่อนอยู่เยอะมาก! แล้วแต่ละอย่างเนี่ยนะคะ
  • 0:18 - 0:21
    เขาสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์อะไรบางอย่างที่น่าสนใจมากๆ
  • 0:21 - 0:24
    เพราะว่าศิลปะแต่ละอย่างของไทย นอกจาก
  • 0:24 - 0:27
    จะดูให้สวยงามแล้ว หลายๆ ครั้ง มันยัง
  • 0:27 - 0:30
    ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเราในด้านต่างๆ ด้วยนะคะ โดยเฉพาะ
  • 0:30 - 0:33
    ศิลปะในวัดเนี่ย ที่เขาบอกว่าสมัยโบราณ ศิลปะ
  • 0:33 - 0:36
    เจริญก้าวหน้าที่สุดมักจะอยู่แค่ในวัดกับในวังเท่านั้น
  • 0:36 - 0:39
    ที่นี่ก็เช่นกันค่ะ เดี๋ยววิวจะพาไปดูนะคะว่านอกจาก
  • 0:39 - 0:42
    ที่เขาสร้างขึ้นมาเพื่อความสวยงามแล้วเนี่ย แต่ละอย่างเขาสร้างขึ้นมา
  • 0:42 - 0:46
    เพื่ออะไร และเขาต้องการแฝงแนวคิดอะไรไว้ค่ะ
  • 0:46 - 0:49
    ดังนั้น ถ้าทุกคนพร้อมจะฟังเรื่องราวที่ทั้งสนุกและมีสาระแล้วล่ะก็
  • 0:50 - 0:51
    ไปฟังกันเลยค่ะ
  • 0:56 - 0:58
    วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
  • 0:58 - 1:01
    เป็นพระอารามหลวงชั้นโท สร้างขึ้นในสมัย
  • 1:01 - 1:04
    รัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์
  • 1:04 - 1:08
    หรือเรียกอีกชื่อนึงว่า ดิศ บุนนาค นะคะ
  • 1:08 - 1:11
    ถ้าใครแม่นประวัติศาสตร์ไทยหน่อยก็จะรู้ว่าตระกูลบุนนาคเนี่ย
  • 1:11 - 1:13
    เป็นตระกูลสำคัญของไทย โดยเฉพาะสมัย
  • 1:13 - 1:16
    ต้นรัตนโกสินทร์นะคะ
  • 1:16 - 1:19
    อย่างสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ผู้สร้างวัดนี่ ดำรงตำแหน่ง
  • 1:19 - 1:22
    เป็นถึงเจ้าพระยาพระคลัง ดูแลกรมท่า
  • 1:22 - 1:25
    แปลว่านอกจากดูแลกระทรวงการคลังปัจจุบันแล้ว
  • 1:25 - 1:28
    ยังดูแลกระทรวงต่างประเทศด้วยนะ เพราะกรมท่านี่
  • 1:28 - 1:31
    ดูแลเรื่องการค้าขายกับต่างประเทศค่ะ
  • 1:31 - 1:34
    ตำแหน่งเดียวนี่คิดว่าใหญ่แล้วใช่มั้ย จริงๆ แล้วท่านควบอีกตำแหน่งนึงด้วยนะคะ
  • 1:34 - 1:37
    นั่นก็คือ สมุหพระกลาโหม
  • 1:37 - 1:39
    ดูแลกระทรวงกลาโหมด้วยเลยทีเดียว
  • 1:39 - 1:42
    เรียกได้ว่า ใหญ่สุดๆ เลยค่ะ นอกจากนี้นะ
  • 1:42 - 1:45
    ลูกชายท่านก็ดังใช่ย่อย หลายๆ คนน่าจะรู้จัก
  • 1:45 - 1:48
    สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
  • 1:48 - 1:51
    หรือที่เรียกชื่ออีกชื่อนึงว่า ช่วง บุนนาค
  • 1:51 - 1:54
    คนที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนในช่วงต้นรัชกาลที่ 5 นั่นแหละ
  • 1:54 - 1:57
    ลูกชายท่านเลยนะ
  • 1:57 - 2:00
    นอกเรื่องไปไกลนะคะ กลับเข้าเรื่องวัดดีกว่า
  • 2:00 - 2:03
    หลังจากที่ท่านสร้างวัดนี้ขึ้นมานะคะ ท่านก็ถวายให้เป็นพระอารามหลวง
  • 2:03 - 2:06
    รัชกาลที่ 3 ก็เลยพระราชทานชื่อวัดค่ะว่า
  • 2:06 - 2:09
    วัดประยุรวงศาวาส ตามราชทินนาม
  • 2:09 - 2:10
    ของคนสร้างวัดนั่นเองนะ
  • 2:10 - 2:13
    แต่ชาวบ้านน่ะ เขาไม่เรียกวัดประยุรกันหรอก สมัยนั้น
  • 2:13 - 2:16
    ชื่อมันหรูหราไฮโซไป เขาจะเรียกว่า
  • 2:16 - 2:19
    วัดรั้วเหล็ก เพราะว่ารั้วของวัดนี้เป็นเหล็ก
  • 2:19 - 2:22
    ทำมาจากรูปอาวุธต่างๆ นะคะ ถ้าใครไปเที่ยวก็จะเห็นรูปหอก
  • 2:22 - 2:25
    รูปอะไรเต็มไปหมดเลย ซึ่ง
  • 2:25 - 2:28
    รั้วเนี้ย สมเด็จเจ้าพระยาท่านสั่งนำเข้ามาจากอังกฤษเลยทีเดียวนะคะ
  • 2:28 - 2:31
    วัดนี้นะคะ ได้รับการยกย่องให้เป็น
  • 2:31 - 2:33
    สถานที่ที่ได้รับรางวัล Award of Excellence
  • 2:34 - 2:37
    ด้านการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  • 2:37 - 2:39
    ของยูเนสโกด้วยนะคะ ที่สำคัญในวัดนี้
  • 2:39 - 2:42
    ในวัดนี้มีอะไรน่าสนใจเยอะมากๆ เลยให้เราไปชมกัน
  • 2:42 - 2:45
    ก็เรียกว่าถ้ารู้จักทุกจุดอย่างละเอียด
  • 2:45 - 2:48
    ชอบดูรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทางประวัติศาสตร์แล้วเนี่ยนะคะ
  • 2:48 - 2:51
    วันเดียวเที่ยวไม่หมดแน่ๆ ดังนั้น วันนี้
  • 2:51 - 2:55
    วิวไม่ขอพาไปทุกที่ในวัดนะคะ มันอาจจะเยอะเกินไปนิดนึง
  • 2:55 - 2:58
    วันนี้ขอพาไปแค่ สองจุดก็พอ เบาๆ เบาะๆ
  • 2:58 - 3:02
    จุดแรกนะคะ เราไปเริ่มที่ พระบรมธาตุเจดีย์กันเลยดีกว่าค่ะ
  • 3:03 - 3:06
    เดินเข้ามา ทางเข้าของพระบรมธาตุเจดีย์นะคะ ก็จะเจอ
  • 3:06 - 3:09
    พิพิธภัณฑ์ก่อนเลย พิพิธภัณฑ์นี้นะคะตั้งอยู่ใน
  • 3:09 - 3:12
    พรินทรปริยัติธรรมศาลานะคะ
  • 3:12 - 3:15
    เป็นศาลาสไตล์ยุโรป ที่ลูกชายคนเล็กของสมเด็จเจ้าพระยา
  • 3:15 - 3:18
    ที่สร้างวัดเนี่ย สร้างถวาย เพื่ออุทิศ
  • 3:18 - 3:20
    ส่วนกุศลให้พ่อแล้วก็แม่ของตัวเองนี่แหละ
  • 3:20 - 3:24
    ตอนแรกนะคะ ตั้งใจให้เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมต่างๆ
  • 3:24 - 3:28
    ต่อมากระทรวงธรรมการ หรือว่าปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนชื่อ
  • 3:28 - 3:31
    เป็นกระทรวงศึกษาธิการเนี่ย ใช้ศาลานี้เป็นห้อง
  • 3:31 - 3:33
    อ่านหนังสือของประชาชนในวัดนะคะ ก็เลยถือว่า
  • 3:33 - 3:36
    ที่นี่เป็นห้องอ่านหนังสือของประชาชนที่อยู่ในวัด
  • 3:36 - 3:39
    แห่งแรกของประเทศไทยค่ะ อยากรู้มั้ยทำไมอยู่ดีๆ
  • 3:39 - 3:42
    อาคารนี้ถึงกลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์ได้
  • 3:42 - 3:45
    คือจริงๆ แล้ว ตอนแรกเนี่ยนะคะ พระบรมธาตุเจดีย์เนี่ย
  • 3:45 - 3:48
    เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาต่างๆ ค่ะ เขาก็เลยคิดว่า
  • 3:48 - 3:50
    จะบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์กัน
  • 3:50 - 3:53
    แต่ว่าพอจะบูรณะ เขาก็คิดว่า เออ ไหนๆ ก็ไหนๆ
  • 3:53 - 3:56
    ไปเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากศรีลังกา
  • 3:56 - 3:59
    มาแล้วประดิษฐานไว้ด้านบนดีกว่า ทีนี้
  • 3:59 - 4:02
    พอจะประดิษฐานองค์ใหม่ใช่ปะ ก็ต้องเปิดเจดีย์องค์เก่า
  • 4:02 - 4:04
    เข้าไป เปิดเข้าไปถึง อู้หู
  • 4:04 - 4:07
    กรุพระเก่าเต็มเลยนะคะ นอกจากนี้ ยังมี
  • 4:07 - 4:10
    พระบรมสารีริกธาตุองค์เดิมบรรจุอยู่แล้วด้วยค่ะ
  • 4:10 - 4:13
    เขาก็เลยตัดสินใจว่า เอ้า ของที่มันมีอยู่แล้ว เราก็ไว้
  • 4:13 - 4:16
    ที่เดิมแล้วกัน ดังนั้นก็เลยเอาพระบรมสารีริกธาตุ
  • 4:16 - 4:19
    องค์เดิมไว้ที่เดิม ส่วนพระต่างๆ ที่เจอจากกรุ
  • 4:19 - 4:22
    ก็เอามาไว้ที่อาคารนี้แหละค่ะ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์เลย
  • 4:22 - 4:24
    แล้วก็เอาพระบรมสารีริกธาตุจากศรีลังกา
  • 4:24 - 4:28
    ที่อัญเชิญมา ตั้งใจจะไว้ข้างบนเนี่ย มาไว้ที่นี่ด้วยค่ะ
  • 4:28 - 4:31
    นี่ยังเดินไปไม่ถึงตัวพระบรมธาตุเจดีย์เลยนะคะ
  • 4:31 - 4:33
    เวิ่นขนาดนี้แล้ว เดี๋ยวเข้าไปดูข้างในกันดีกว่าค่ะ
  • 4:36 - 4:38
    สิ่งนึงที่หลายๆ คนมาแล้วชอบเดินมั่วคือ
  • 4:38 - 4:41
    ชอบคิดว่าแบบ พอมันมีบันได ขึ้นทางไหนก็ได้ จะบอกว่าที่นี่
  • 4:41 - 4:44
    ทางขึ้นกับทางลงมันเป็นคนละด้านกัน แล้วก็มันมีเหมือนแบบ
  • 4:44 - 4:47
    กุศโลบายบางอย่าง แทรกอยู่ในทางขึ้นกับทางลง
  • 4:47 - 4:50
    เราไปดูกันว่าทำไมเราถึงควรเดินตามที่เขาบอกว่า
  • 4:50 - 4:52
    ทางขึ้นคือทางนี้ ทางลงเดินทางนี้ นะคะ
  • 4:55 - 4:57
    พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่นะคะ
  • 4:57 - 5:00
    สร้างขึ้นโดยสมเด็จเจ้าพระยา เหมือนกับวัดเลย แต่ว่า
  • 5:00 - 5:03
    สร้างไม่ทันเสร็จ สมเด็จเจ้าพระยาก็ถึงพิราลัยก่อน
  • 5:03 - 5:06
    ลูกชาย หรือว่าสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์
  • 5:06 - 5:10
    หรือว่าช่วง บุนนาค ก็เลยสร้างต่อจนเสร็จค่ะ
  • 5:10 - 5:13
    ซึ่งถือกันว่า พระบรมธาตุเจดีย์ วัดประยุรวงศาวาสเนี่ยนะคะ
  • 5:13 - 5:16
    เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่และสูง
  • 5:16 - 5:18
    ที่สุดในกรุงเทพมหานครค่ะ
  • 5:19 - 5:22
    ขึ้นมาข้างบน พระอาทิตย์ตกดินพอดีเลย สิ่งที่เราทำได้คืออะไรคะ
  • 5:23 - 5:26
    ไม่ใช่ถ่ายรูปค่ะ ชมวิวนั่นเอง!
  • 5:29 - 5:30
    ชมสิคะ
  • 5:39 - 5:41
    เวลาเดินข้างใน ต้องมีสติ ไม่งั้นจะชน
  • 5:42 - 5:45
    เข้าไปด้านในนะคะ จะเห็นเสาแกนกลาง
  • 5:45 - 5:47
    ขององค์เจดีย์ค่ะ หรือที่เราเรียกว่า เสาคูน นั่นเอง
  • 5:47 - 5:50
    เป็นเสาขนาดใหญ่นะคะ
  • 5:50 - 5:53
    กว้างด้านละ 2 เมตร สูงถึง 18 เมตรเลยทีเดียว นอกจากนี้
  • 5:53 - 5:56
    หนักถึง 144 ตันนะคะ ตัวเสาเนี่ย
  • 5:56 - 5:58
    ก่อด้วยอิฐโบราณ ส่อด้วยปูน
  • 5:58 - 6:01
    ซึ่งปูนสมัยก่อนก็คือเป็นปูนหมักน้ำอ้อย
  • 6:01 - 6:03
    แล้วก็ใช้กาวหนังนะคะ
  • 6:03 - 6:06
    เสานี้ ใช้เป็นศูนย์กลางขององค์เจดีย์
  • 6:06 - 6:09
    เลยนะคะ แล้วก็ใช้สำหรับวางพวกไม้นั่งร้าน
  • 6:09 - 6:11
    ต่างๆ ตอนที่ก่อสร้างองค์เจดีย์
  • 6:11 - 6:13
    นอกจากนี้ ถือว่าเป็นเสาค้ำบัลลังก์
  • 6:13 - 6:15
    ปลียอดเจดีย์ด้วยค่ะ
  • 6:15 - 6:18
    ปลียอดเจดีย์เนี่ยนะคะ ก็คือตรงที่อยู่เหนือตรงที่มัน
  • 6:18 - 6:20
    ยึกๆๆ ด้านบนเจดีย์นั่นแหละค่ะ
  • 6:20 - 6:22
    ก็คือ ค้ำไว้ไม่ให้มันร่วงลงมานะคะ
  • 6:22 - 6:25
    ซึ่งเจดีย์ที่มีเสาอิฐเป็นแกนกลางแบบนี้นะคะ
  • 6:25 - 6:28
    ในยุครัตนโกสินทร์ มีที่นี่ที่เดียวค่ะ
  • 6:31 - 6:34
    นี่ล่ะค่ะที่บอกว่าเป็นกุศโลบาย ทางออกนี่แหละ
  • 6:34 - 6:37
    คือหลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องคลานออกมา อะไรยังไง
  • 6:37 - 6:40
    คือมันเป็นกุศโลบายให้เรารู้สึกว่าแบบ เราจะต้องมีสติ
  • 6:40 - 6:43
    หลังจากไหว้พระมาแล้ว หลายคนไหว้พระเสร็จแล้วก็เดินลั้นลาออกมา
  • 6:43 - 6:46
    ทิ้งสติไว้กับพระเรียบร้อยนะคะ แต่ว่าจริงๆ
  • 6:46 - 6:49
    ศาสนาพุทธพูดเรื่องสติค่อนข้างมากใช่มั้ย ดังนั้น
  • 6:49 - 6:52
    แม้ว่าเราจะไหว้พระ ไหว้พระธาตุเสร็จแล้ว ตอนที่เรา
  • 6:52 - 6:55
    จากไป อย่าลืมพกสติออกมาด้วย เพราะว่าถ้าใครลอดออกมาแบบไม่มีสติแล้วนั้น
  • 6:56 - 6:59
    ถามคุณภูเขาที่อยู่หลังกล้องได้นะคะว่าหัวโขกไปกี่รอบ
  • 6:59 - 7:03
    สมัยก่อนเขาชอบบอกว่าเวลาเข้าหาพระ เข้าหาเจ้า ต้องแสดงความลำบากนิดนึง
  • 7:03 - 7:07
    เหมือนญี่ปุ่นใช่มั้ย ญี่ปุ่นต้องปีนบันไดขึ้นไปสูงๆ ตั่งต่าง หน้าศาลเจ้า
  • 7:07 - 7:09
    เนี่ยล่ะค่ะ ไทยเราก็ไม่แพ้เลยนะ
  • 7:09 - 7:10
    ขึ้นว่ายากแล้ว
  • 7:10 - 7:13
    ลง อยากให้ทุกคนได้เห็นความชันนี้
  • 7:14 - 7:15
    คุณพระ
  • 7:15 - 7:18
    ใครมีร้านน่งร้านนวด สปอนเซอร์ได้นะคะ
  • 7:18 - 7:21
    เชื่อว่าเดินลงไปนี่เกร็งขาแบบ กล้ามเนื้อสั่นดิ๊กๆ แน่นอน
  • 7:23 - 7:24
    สงสารใครรู้มั้ย
  • 7:25 - 7:28
    สงสารคนที่อยู่หลังกล้องที่เดินตามถ่ายนี่แหละ
  • 7:28 - 7:28
    - โหย ชิวๆ
  • 7:28 - 7:29
    - โอ๊ย! ภูเขาาาา
  • 7:29 - 7:33
    - ชิวๆ (สะอื้น) ชิว ชิววว
    - ไปให้ถึงข้างล่างนะจ๊ะ!
  • 7:35 - 7:36
    หน้าตาของตากล้องเราวันนี้
  • 7:37 - 7:39
    อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจที่นี่นะคะ ก็คือ
  • 7:39 - 7:42
    เขามอนั่นเอง เคยได้ยินคำว่าเขามอกันมั้ย
  • 7:42 - 7:45
    ถ้าใครที่อ่านพวกสี่แผ่นดิน หรือว่าอ่านนิยายเก่าๆ
  • 7:45 - 7:48
    ช่วงต้นรัตนโกสินทร์นะคะ จะได้ยินคำว่าเขามอแน่นอน
  • 7:48 - 7:51
    เขามอเนี่ยคือของเล่นที่แบบ ยอดนิยมมากๆ ของผู้ดี
  • 7:51 - 7:53
    ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์นะคะ เพราะว่า
  • 7:53 - 7:56
    คือสมัยก่อนน่ะเวลาเราจะออกไปเที่ยวต่างจังหวัด มันไม่ได้ง่ายไง
  • 7:56 - 7:59
    ดังนั้น คนในกรุงเทพ โอกาสน้อยมากที่จะเห็นภูเขา
  • 7:59 - 8:02
    เพราะว่าเราอยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลางนะคะ เมื่อเขาอยากดูพวก
  • 8:02 - 8:05
    ทัศนียภาพอะไรสวยๆ ภูขงภูเขา เขาก็เลยย่อภูเขาทั้งลูก
  • 8:06 - 8:09
    ไม่ได้หมายถึงภูเขาที่อยู่หลังกล้อง หมายถึงภูเขาจริงๆ
  • 8:09 - 8:12
    มาเป็นภูเขาจำลอง แล้วก็ตกแต่งสวยงาม
  • 8:12 - 8:15
    ซึ่งเขามอตอนนี้หาดูได้ยากมากนะคะ ที่นึงที่เราสามารถ
  • 8:15 - 8:18
    หาดูได้ตอนนี้ แต่เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะไม่มีโอกาสได้เข้าไป
  • 8:19 - 8:22
    คือในพระบรมมหาราชวัง ตรงพระราชฐานชั้นในนะ
  • 8:22 - 8:24
    ซึ่งตรงนั้นก็เป็นอีกอย่างนึงเลย แต่ว่า
  • 8:24 - 8:28
    ที่ที่เราสามารถหาดูได้เนี่ย ที่นึงเลยคือที่นี่แหละค่ะ
  • 8:28 - 8:30
    ที่วัดประยุรวงศาวาส
  • 8:30 - 8:33
    ทีนี้ อยากรู้กันมั้ยว่าทำไมเขาถึงเรียกว่าเขามอ
  • 8:33 - 8:36
    คือคำว่ามอ มาจากคำว่า ทมอ ภาษาเขมรนะคะ ซึ่งมันแปลว่าหิน
  • 8:36 - 8:39
    ดังนั้นเขามอก็คือพูดตรงๆ เลยว่า
  • 8:39 - 8:40
    เขาหิน นั่นเองค่ะ
  • 8:40 - 8:43
    เห็นด้านหลังวิวนี้มั้ย ที่เป็นอะไรก็ไม่รู้ 3 ชิ้น
  • 8:43 - 8:46
    จะบอกว่าเป็นของที่บันทึกเหตุการณ์สำคัญมากๆ ในประวัติศาสตร์ไทย
  • 8:46 - 8:49
    นะคะ ไม่รู้กันล่ะสิว่ามันซ่อนอยู่
  • 8:49 - 8:52
    นี่คืออนุสาวรีย์ปืนใหญ่ 3 กระบอกนะคะ ที่สร้างขึ้น
  • 8:53 - 8:55
    เพื่อบันทึกเหตุการณ์ที่
  • 8:55 - 8:58
    ครั้งนึงในวัดประยุรวงศาวาสเนี่ย เคยมีเหตุการณ์
  • 8:58 - 9:00
    ปืนใหญ่ระเบิดแตกบึ้มขึ้นมา
  • 9:01 - 9:04
    เหตุการณ์ที่ว่านะคะ เกิดขึ้นตอนฉลองวัดประยุรวงศาวาสนี่แหละค่ะ
  • 9:04 - 9:06
    สร้างวัดเสร็จก็ต้องฉลองใช่มั้ย
  • 9:06 - 9:09
    ทีนี้ ตอนนั้นวัดนี้ถือเป็นวัดใหญ่มาก จะฉลองก็ต้อง
  • 9:09 - 9:12
    ฉลองให้แบบอลังการงานสร้ าง นึกออกปะ
  • 9:12 - 9:15
    อะไรจะอลังไปกว่าจุดพล้งจุดพลุดอกไม้ไฟอะไรอย่างนี้นะคะ
  • 9:15 - 9:18
    ซึ่งตอนนั้นน่ะ มีการเอาปืนใหญ่ฝังลงไปในดิน
  • 9:18 - 9:21
    เสร็จแล้วก็ ตั้งใจจะจุดให้เป็นพลุ อย่างนี้
  • 9:21 - 9:23
    ปรากฏว่า ปืนใหญ่ระเบิด!
  • 9:24 - 9:28
    รอบนั้นก็เลยมีคนบาดเจ็บล้มตายเยอะมากเลยนะคะ
  • 9:28 - 9:31
    แล้วบังเอิญว่ารอบนั้นน่ะ มีพระรูปนึงบาดเจ็บสาหัสเลย
  • 9:31 - 9:33
    คือกระดูกแขนแตก
  • 9:33 - 9:36
    ซึ่งถ้าเป็นสมัยโบราณ กระดูกแตกนี่ก็คือ แป๊บเดียวก็ตายแล้วล่ะ
  • 9:36 - 9:38
    รักษาไม่ได้นะ จะไปรักษายังไงอะ
  • 9:38 - 9:40
    คนไทยโบราณทำได้ก็คือ ห้ามเลือดน่ะนะคะ
  • 9:41 - 9:44
    ปรากฏว่าโชคดี มีคนดังคนนึง บ้านอยู่ห่างวัดแค่
  • 9:44 - 9:46
    250 เมตร คนนั้นนะคะก็คือ
  • 9:46 - 9:49
    นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ นั่นเอง
  • 9:49 - 9:51
    จำหมอบรัดเลย์กันได้ มั้ยคะ
  • 9:51 - 9:54
    ที่วิวเคยพูดถึงไปตอนที่พูดเรื่องคำด่ากับ ซาร์ต Sunbeary นะคะ
  • 9:54 - 9:55
    ทีนี้ เข้าเรื่องค่ะ
  • 9:55 - 9:58
    พอมีคนไปตามหมอบรัดเลย์มาเนี่ย หมอบรัดเลย์ก็แบบว่า
  • 9:58 - 10:01
    อ้าว กระดูกแขนแตก ก็จะไปอะไรล่ะ
  • 10:01 - 10:02
    แขนแตกก็ตัดแขนทิ้งสิ
  • 10:02 - 10:05
    ดังนั้นนะคะ การผ่าตัดครั้งแรกของประเทศไทย
  • 10:05 - 10:07
    ก็เลยเกิดขึ้นในวันนั้นนั่นเองค่ะ
  • 10:08 - 10:11
    อีกอย่างที่ผู้ดีสมัยโบราณนิยมเล่นนอกจากเขามอนะคะ
  • 10:11 - 10:14
    ก็คือไม้ดัดนั่นเอง เราก็จะเห็นนะคะว่ารอบๆ
  • 10:14 - 10:17
    เขามอนี้มีไม้ดัดประดับอยู่เต็มไปหมดเลยค่ะ
  • 10:22 - 10:24
    เป็นไงกันบ้างคะ พาเที่ยววัดประยุรวงศาวาสวันนี้
  • 10:24 - 10:27
    เจออะไรดีๆ น่าสนใจกันเยอะแยะมากมายเลยใช่มั้ยคะ
  • 10:27 - 10:30
    จะบอกว่า สถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพมหานครเนี่ย
  • 10:30 - 10:33
    ไม่ว่าจะเป็นวัดหรือเป็นอะไรก็ตาม มันมีสิ่งที่
  • 10:33 - 10:36
    น่าสนใจ ซ่อนอยู่เยอะมาก แค่เรารู้จักประวัติของมัน
  • 10:36 - 10:39
    แล้วเราก็มองหามันเจอค่ะ ดังนั้น ถ้าใครอยากให้
  • 10:39 - 10:45
    วิวพาไปเที่ยวที่ไหนอีก ไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพ นอกกรุงเทพ ต่างประเทศ หรือในประเทศ สามารถคอมเมนต์บอกกันด้านล่างได้เลยนะคะ
  • 10:45 - 10:48
    แล้วถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้ อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังใจให้วิว
  • 10:48 - 10:51
    แล้วก็กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันค่ะ แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้านะคะ
  • 10:51 - 10:53
    บ๊ายบาย สวัสดีค่ะ
  • 10:54 - 10:57
    ก็ถ้าใครอยากให้ไปเที่ยวนะคะ โดยเฉพาะลูกค้าทั้งหลาย
  • 10:57 - 11:00
    สามารถสปอนเซอร์ให้ไปได้ ที่ไหนก็ได้ ยินดีมากๆ เลย
  • 11:00 - 11:03
    จะสามารถ หาเรื่องที่น่าสนใจในสถานที่ต่างๆ
  • 11:03 - 11:06
    ขึ้นมาเล่าได้ ใครอยากให้วิวไปเที่ยวแบบมีสาระก็
  • 11:06 - 11:08
    ติดต่อมานะคะ อีเมลอยู่ด้านล่าง
  • 11:08 - 11:10
    - ขายของเก่ง
  • 11:10 - 11:12
    - นี่ไง ขายของเก่ง จ้างได้ เชื่อยัง
Title:
ของดีวัดประยุรฯ วัดที่ไหว้เสร็จแล้วต้องคลาน | Point of View On Tour EP.34
Description:

more » « less
Duration:
11:15

Thai subtitles

Revisions