Return to Video

ใช้รูปธรรมนามธรรมเป็นอารมณ์กรรมฐาน :: หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 14 ม.ค. 2567

  • 0:04 - 0:14
    รู้สึกตัวไว้ จิตไปข้างนอก
  • 0:14 - 0:20
    เราจะทำกรรมฐานอยากให้พัฒนาเร็วๆ
  • 0:20 - 0:25
    ก็ต้องดูสภาวธรรมให้ออก
  • 0:25 - 0:32
    ไม่ใช่ปฏิบัติธรรมตามยถากรรม
  • 0:32 - 0:37
    ได้ยินว่าคนอื่นเขาหายใจ ก็หายใจ
  • 0:37 - 0:41
    ได้ยินว่าเขาพุทโธ เราก็พุทโธ
  • 0:41 - 0:46
    เห็นคนอื่นเขาดูพองยุบ ก็เอากับเขาด้วย
  • 0:46 - 0:51
    หรือทำจังหวะ ขยับไม้ขยับมือ
  • 0:51 - 0:54
    อันนั้นมันแค่เปลือก
  • 0:54 - 1:00
    รูปแบบของการปฏิบัติ
  • 1:00 - 1:04
    อย่างเราท่องพุทโธๆ
  • 1:04 - 1:06
    พุทโธเป็นอารมณ์บัญญัติ
  • 1:06 - 1:08
    เป็นเรื่องที่เราคิดขึ้นเอง
  • 1:08 - 1:10
    ไปท่องอย่างอื่นก็ได้
  • 1:10 - 1:14
    ก. เอ๋ย ก. ไก่ อะไรก็ได้
  • 1:14 - 1:18
    ฉะนั้นลำพังทำกรรมฐาน
  • 1:18 - 1:22
    ถ้าเราไม่เห็นตัวสภาวธรรมจริงๆ
  • 1:22 - 1:24
    มันจะพัฒนายาก
  • 1:24 - 1:30
    อย่างมากก็ได้แค่ความสงบ
  • 1:30 - 1:35
    อารมณ์กรรมฐานมีทั้งหมด
  • 1:35 - 1:37
    อารมณ์ ไม่ใช่อารมณ์กรรมฐาน
  • 1:37 - 1:40
    อารมณ์ทั้งหมดมันมี 4 ชนิด
  • 1:40 - 1:45
    อารมณ์แปลว่าสิ่งที่ถูกรู้
  • 1:45 - 1:47
    อันที่หนึ่ง เรียกอารมณ์บัญญัติ
  • 1:47 - 1:52
    คือเรื่องราวที่เราปรุง เราคิดขึ้นเอง
  • 1:52 - 1:55
    เราคิดเรื่องราวต่างๆ ขึ้น
  • 1:55 - 1:59
    คือความคิดทั้งหลาย
  • 1:59 - 2:03
    ตัวความคิดทั้งหลายมันไม่ใช่ของจริง
  • 2:03 - 2:09
    เราเป็นผู้หญิง เราคิดว่าเราจะเป็นชายงาม
  • 2:09 - 2:13
    หรือว่าเป็นผู้ชายอยากเป็นนางงามจักรวาล
  • 2:13 - 2:17
    คิดได้ไหม คิดได้
  • 2:17 - 2:22
    แต่มันไม่ใช่ความจริง
  • 2:22 - 2:26
    เพราะฉะนั้นเวลาเราจะภาวนา
  • 2:26 - 2:30
    ในขั้นของการเจริญปัญญา
  • 2:30 - 2:34
    เราต้องพ้นออกจากโลกของความคิดความฝัน
  • 2:34 - 2:38
    พ้นจากการจินตนาการ
  • 2:38 - 2:44
    มารู้อารมณ์ที่เป็นสภาวะจริงๆ
  • 2:44 - 2:49
    อารมณ์บัญญัติไม่มี ไม่เป็นสภาวธรรม
  • 2:49 - 2:53
    ไม่มีไตรลักษณ์
  • 2:53 - 2:55
    อย่างร่างกายจิตใจเราเป็นไตรลักษณ์
  • 2:55 - 2:58
    เป็นอนัตตา เราสั่งไม่ได้
  • 2:58 - 3:02
    สั่งว่าอย่าแก่ อย่าเจ็บ อย่าตาย สั่งไม่ได้
  • 3:02 - 3:04
    สั่งจิตใจว่าจงมีแต่ความสุขอะไรอย่างนี้
  • 3:04 - 3:07
    สั่งไม่ได้
  • 3:07 - 3:09
    แต่อารมณ์บัญญัติ
  • 3:09 - 3:11
    นึกว่าเรามีความสุขอย่างไรก็นึกได้
  • 3:11 - 3:15
    มันไม่ใช่ของจริง
  • 3:15 - 3:18
    การเจริญปัญญา เราต้องเห็น
  • 3:18 - 3:24
    อารมณ์ที่เป็นของจริง คือเป็นสภาวะจริงๆ
  • 3:24 - 3:26
    อารมณ์ที่เป็นสภาวะ
  • 3:26 - 3:30
    ที่จะใช้เจริญปัญญามี 2 อย่าง
  • 3:30 - 3:36
    คือรูปธรรมกับนามธรรม
  • 3:36 - 3:41
    รูปธรรมเป็นสภาวะที่มีอยู่
  • 3:41 - 3:45
    ไม่ใช่เรื่องที่คิดฝัน
  • 3:45 - 3:48
    นามธรรมก็เป็นของที่มีอยู่
  • 3:48 - 3:50
    เช่น ความรู้สึกสุขทุกข์
  • 3:50 - 3:53
    ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์
  • 3:53 - 3:56
    ความจำได้หมายรู้
  • 3:56 - 3:58
    ความปรุงดีปรุงชั่วอะไรนี่
  • 3:58 - 4:06
    นี่เป็นสภาวะที่เป็นนามธรรม
  • 4:06 - 4:12
    การเจริญปัญญาต้องใช้อารมณ์ที่ถูกต้อง
  • 4:12 - 4:16
    คือรูปธรรมนามธรรม
  • 4:16 - 4:22
    อารมณ์ชนิดที่สี่คืออารมณ์นิพพาน
  • 4:22 - 4:25
    เอามาทำวิปัสสนาไม่ได้
  • 4:25 - 4:30
    นิพพานเที่ยง นิพพานเป็นบรมสุข
  • 4:30 - 4:36
    แต่นิพพานมีลักษณะสำคัญคือเป็นอนัตตา
  • 4:36 - 4:40
    ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
  • 4:40 - 4:42
    พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว
  • 4:42 - 4:47
    นิพพานก็ยังอยู่ ไม่หาย
  • 4:47 - 4:52
    ฉะนั้นเวลาเราจะภาวนา เราต้องดูสภาวะจริงๆ
  • 4:52 - 4:56
    นิพพานเราไม่เคยเห็น
  • 4:56 - 4:58
    ปุถุชนไม่เคยเห็นนิพพาน
  • 4:58 - 5:01
    คนที่เห็นพระนิพพานครั้งแรก
  • 5:01 - 5:04
    ตอนที่ได้โสดาปัตติมรรค
  • 5:04 - 5:10
    เป็นชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้นเอง
  • 5:10 - 5:13
    ฉะนั้นเราไม่เคยเห็นนิพพาน
  • 5:13 - 5:18
    เราไม่เอานิพพานมาเป็นเครื่องมือ
  • 5:18 - 5:20
    เป็นเครื่องถูกรู้
  • 5:20 - 5:26
    ในการทำวิปัสสนากรรมฐาน ในการเจริญปัญญา
  • 5:26 - 5:31
    คนจำนวนมากไม่รู้หลักตัวนี้
  • 5:31 - 5:36
    ว่าเราเจริญปัญญาต้องใช้
    รูปธรรมนามธรรมเป็นอารมณ์
  • 5:36 - 5:39
    ของถูกรู้ถูกดู
  • 5:39 - 5:43
    ก็ไปนั่งบังคับจิตให้
    นิ่งๆ ว่างๆ อะไรอย่างนี้
  • 5:43 - 5:46
    ไปแต่งจิต
  • 5:46 - 5:51
    คิดว่าทำความสงบมากๆ แล้วจะเกิดปัญญา
  • 5:51 - 5:55
    ทำความสงบมันก็ได้ความสงบ
  • 5:55 - 5:58
    เจริญปัญญามันถึงจะได้ปัญญา
  • 5:58 - 6:00
    มันคนละเรื่องกัน
  • 6:00 - 6:02
    แต่การเจริญปัญญา
  • 6:02 - 6:06
    ถ้าจิตไม่สงบ ไม่มีเรี่ยวมีแรง ก็ทำไม่ได้
  • 6:06 - 6:10
    เพราะฉะนั้นความสงบของจิต
  • 6:10 - 6:15
    เป็นตัวสนับสนุนการเจริญปัญญา
  • 6:15 - 6:19
    การที่จะฝึกจิตให้สงบ มีเรี่ยวมีแรง
  • 6:19 - 6:21
    ตั้งมั่น เด่นดวง
  • 6:21 - 6:24
    เรียกว่าการทำสมถกรรมฐาน
  • 6:24 - 6:27
    เป็นงานสนับสนุน
  • 6:27 - 6:31
    การทำวิปัสสนากรรมฐาน คือการเจริญปัญญา
  • 6:31 - 6:34
    เป็นตัวเนื้องานที่แท้จริง
  • 6:34 - 6:39
    จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ต้องทำวิปัสสนา
  • 6:39 - 6:40
    พระพุทธเจ้าบอก
  • 6:40 - 6:44
    “บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา”
  • 6:44 - 6:48
    ปัญญาตัวนี้เป็นวิปัสสนาปัญญา
  • 6:48 - 6:51
    ฉะนั้นถ้าไม่ได้เจริญวิปัสสนา
  • 6:51 - 6:53
    ไม่ได้เจริญปัญญา
  • 6:53 - 6:57
    เห็นความจริงของรูปธรรมนามธรรม
  • 6:57 - 7:01
    จะไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพานหรอก
  • 7:01 - 7:04
    ไปนั่งสมาธิ นั่งปุ๊บจิตสงบปั๊บ
  • 7:04 - 7:09
    ก็สงบอยู่อย่างนั้นล่ะ ไปไหนไม่ได้
  • 7:09 - 7:13
    มีคนปฏิบัติจำนวนมาก
  • 7:13 - 7:16
    ที่ไม่รู้หลักตัวนี้
  • 7:16 - 7:20
    ก็ไปทำความสงบและก็ไปอยู่กับความสงบ
  • 7:20 - 7:24
    อยู่ไปกี่ปีๆ มันก็อยู่อย่างนั้นล่ะ
  • 7:24 - 7:28
    หลวงพ่อเคยเจอคุณยายคนหนึ่ง
  • 7:28 - 7:33
    อยู่กับความสงบมาตั้งเกือบ 70 ปี
  • 7:33 - 7:36
    แล้วก็สงบอยู่อย่างนั้น
  • 7:36 - 7:41
    เวลากระทบอารมณ์อะไรที่ไม่ถูกใจ
  • 7:41 - 7:43
    ไม่สบายใจ
  • 7:43 - 7:45
    กำหนดจิตปุ๊บ
  • 7:45 - 7:49
    โลกธาตุหายไปเลย ร่างกายก็หายไป
  • 7:49 - 7:52
    เหลือจิตดวงเดียวสงบนิ่ง สว่างไสว
  • 7:52 - 7:58
    มีแต่ความสุขอยู่อย่างนั้น
  • 7:58 - 8:01
    คนนี้แกมาขอให้หลวงพ่อแก้ให้
  • 8:01 - 8:05
    แกรู้ว่าไม่ใช่ทาง
  • 8:05 - 8:09
    มาขอให้หลวงพ่อแก้ให้ หลวงพ่อแก้ไม่ไหวคนนี้
  • 8:09 - 8:15
    เพราะว่าติดสงบมาเกือบ 70 ปี
  • 8:15 - 8:18
    ถ้าหลุดออกจากตรงนี้มันจะฟุ้ง
  • 8:18 - 8:20
    ไม่รู้จะฟุ้งขนาดไหนเลย
  • 8:20 - 8:24
    แล้วอายุมากแก้ไขไม่ทันแล้ว
  • 8:24 - 8:29
    ถ้าตายไปด้วยจิตที่ฟุ้งซ่านก็จะไปอบาย
  • 8:29 - 8:35
    ที่ภาวนามาหลายสิบปี เกือบ 70 ปีเลย
  • 8:35 - 8:37
    ก็ล้มเหลวแล้ว
  • 8:37 - 8:41
    กลายเป็นภาวนาแล้วก็ตกนรกไปได้
  • 8:41 - 8:47
    นี่โทษของการปฏิบัติที่ไม่รู้หลัก
  • 8:47 - 8:49
    ไปทำแต่ความสงบอย่างเดียว
  • 8:49 - 8:53
    เมื่อ 2 - 3 วันนี้ก็มี
  • 8:53 - 8:58
    โยมผู้ชายคนหนึ่งมาวัด
  • 8:58 - 9:01
    ไปฝึกกรรมฐานอะไรมาก็ไม่รู้
  • 9:01 - 9:06
    เพ่งแน่นๆ อึดอัด รุนแรง
  • 9:06 - 9:09
    เหมือนหน้าอกจะแตก
  • 9:09 - 9:13
    มาตอนที่พระกำลังฉันข้าว
  • 9:13 - 9:17
    จะมาพบหลวงพ่อ
  • 9:17 - 9:20
    พระที่ข้างนอกนี้ท่านก็บอก
  • 9:20 - 9:23
    หลวงพ่อฉันข้าวอยู่ ไม่ว่างหรอก
  • 9:23 - 9:30
    ไม่ใช่เวลาที่จะพบ
  • 9:30 - 9:33
    เขาเครียดจัด สุดท้ายร้องกรี๊ดขึ้นมา
  • 9:33 - 9:35
    ผู้ชาย แต่ร้องกรี๊ด
  • 9:35 - 9:39
    เสียงดังสนั่นหวั่นไหวเลย
  • 9:39 - 9:43
    พอร้องกรี๊ด โล่งแล้ว สบายใจแล้ว
  • 9:43 - 9:47
    กลับบ้านได้
  • 9:47 - 9:52
    ภาวนา กดตัวเอง ข่มๆ ข่มๆ
  • 9:52 - 9:53
    ข่มจนทนไม่ไหว
  • 9:53 - 9:57
    นี่ยังฉลาดไปร้องกรี๊ดๆ
  • 9:57 - 10:02
    ถ้าไม่มีทางออกมันจะเป็นบ้าไป
  • 10:02 - 10:03
    เพราะฉะนั้นภาวนา
  • 10:03 - 10:09
    ถ้าไม่รู้หลักว่าเราจะต้องเรียนรู้สภาวะ
  • 10:09 - 10:12
    ดูสภาวะอย่างที่สภาวะมันเป็น
  • 10:12 - 10:15
    นี่คืองานหลัก
  • 10:15 - 10:18
    ก็ไปทำสมาธิที่ไม่ถูก
  • 10:18 - 10:21
    ถ้าสมาธิที่ถูกดี
  • 10:21 - 10:23
    คือจิตจะสงบ จิตจะตั้งมั่น
  • 10:23 - 10:24
    มีความสุข มีความสงบ
  • 10:24 - 10:28
    มีเรี่ยวมีแรง สดชื่น
  • 10:28 - 10:29
    ทำสมาธิก็ยังทำไม่เป็น
  • 10:29 - 10:34
    ไปกดไปข่มจิตเอาไว้
  • 10:34 - 10:40
    ไม่บ้าก็บุญแล้วล่ะ ยังบุญรักษา
  • 10:40 - 10:45
    เพราะฉะนั้นเราจะปฏิบัติ
    ธรรมเราต้องรู้หลักให้ดี
  • 10:45 - 10:47
    งานที่เราจะทำ งานหลัก
  • 10:47 - 10:51
    คือการทำวิปัสสนากรรมฐาน
  • 10:51 - 10:55
    อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานคือรูปธรรมนามธรรม
  • 10:55 - 10:58
    อย่างร่างกายเราเป็นรูปธรรม
  • 10:58 - 11:00
    ความรู้สึกนึกคิด
  • 11:00 - 11:05
    ความรับรู้ทั้งหลายเป็นนามธรรม
  • 11:05 - 11:08
    ร่างกายเป็นตัวรูปธรรม
  • 11:08 - 11:12
    เจริญปัญญานี้ก็ต้องรู้รูปธรรมรู้นามธรรม
  • 11:12 - 11:17
    ทีแรกรู้ถึงความมีอยู่ของรูปธรรม
  • 11:17 - 11:18
    ถัดจากนั้น
  • 11:18 - 11:24
    รู้ถึงความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของรูปธรรม
  • 11:24 - 11:30
    หรือเบื้องต้นรู้ความมีอยู่ของนามธรรม
  • 11:30 - 11:35
    ถัดจากนั้นก็รู้ความเคลื่อนไหว
    เปลี่ยนแปลงของนามธรรม
  • 11:35 - 11:39
    ทีแรกรู้ถึงความมีอยู่ของกายของใจ
  • 11:39 - 11:41
    แล้วต่อไปก็เห็น
  • 11:41 - 11:44
    ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของกายของใจ
  • 11:44 - 11:47
    ร่างกายนี้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป
  • 11:47 - 11:49
    ถูกความทุกข์บีบคั้น
  • 11:49 - 11:53
    เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เปลี่ยนอิริยาบถไปเรื่อยๆ
  • 11:53 - 11:58
    จิตใจมีแต่ความไม่เที่ยง แปรปรวนตลอดเวลา
  • 11:58 - 12:01
    แล้วก็บังคับไม่ได้ ควบคุมไม่ได้
  • 12:01 - 12:03
    เห็นความจริงของร่างกาย
  • 12:03 - 12:06
    เห็นความจริงของจิตใจไป
  • 12:06 - 12:10
    อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าการเจริญปัญญา
  • 12:10 - 12:13
    ส่วนการทำสมถกรรมฐาน
  • 12:13 - 12:15
    จะให้จิตสงบ ตั้งมั่น เด่นดวงขึ้นมา
  • 12:15 - 12:19
    ก็ต้องรู้หลัก
  • 12:19 - 12:24
    ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้
  • 12:24 - 12:28
    ในชมพูทวีป
  • 12:28 - 12:31
    คนทำสมาธิเยอะแยะเลย
  • 12:31 - 12:34
    ฤๅษีชีไพรเยอะแยะ มีฤทธิ์มีเดช
  • 12:34 - 12:37
    ทำอะไรได้แปลกๆ
  • 12:37 - 12:41
    ก็นั่งสมาธิเข้าฌานกัน
  • 12:41 - 12:43
    พระพุทธเจ้า
  • 12:43 - 12:46
    เจ้าชายสิทธัตถะออกจากวัง
  • 12:46 - 12:50
    ก็ไปเรียนกรรมฐานกับฤๅษี
  • 12:50 - 12:52
    มันเป็นธรรมชาติ
  • 12:52 - 12:55
    อย่างพวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติ
  • 12:55 - 12:57
    เราคิดถึงการนั่งสมาธิก่อนล่ะ
  • 12:57 - 13:00
    เจ้าชายสิทธัตถะก็คิดอย่างนั้นล่ะ
  • 13:00 - 13:03
    ออกจากวังมา อยากปฏิบัติธรรม
  • 13:03 - 13:06
    ก็ต้องไปเรียนนั่งสมาธิ
  • 13:06 - 13:10
    นั่งสมาธิแบบฤๅษี สงบ
  • 13:10 - 13:13
    สงบอยู่เฉยๆ
  • 13:13 - 13:16
    ออกจากความสงบมากิเลสเหมือนเดิม
  • 13:16 - 13:18
    ความทุกข์เหมือนเดิม
  • 13:18 - 13:19
    ถ้าไปอยู่ในความสงบนานๆ
  • 13:19 - 13:22
    กิเลสจะแรงกว่าเก่าอีก
  • 13:22 - 13:23
    ทุกข์รุนแรง
  • 13:23 - 13:29
    กระทบโลกปุ๊บ โลกเป็นฟืนเป็นไฟ ทนไม่ไหวเลย
  • 13:29 - 13:32
    เจ้าชายสิทธัตถะบุญบารมีท่านมาก
  • 13:32 - 13:36
    ท่านรู้ว่าสมาธิอย่างนี้ไม่มีประโยชน์อะไร
  • 13:36 - 13:40
    เหมือนปวดหัวก็กินพาราเซตตามอล
  • 13:40 - 13:43
    หายปวดไป เดี๋ยวก็ปวดอีก กินอีก
  • 13:43 - 13:45
    วนเวียนอยู่แค่นั้นล่ะ
  • 13:45 - 13:48
    จิตใจไม่มีความสุขก็ไปเข้าสมาธิ
  • 13:48 - 13:51
    ออกจากสมาธิก็กลับมาไม่มีความสุข
  • 13:51 - 13:54
    ไม่เห็นมีประโยชน์ตรงไหนเลย
  • 13:54 - 13:57
    มันหนี ทุกข์ไปวันๆ หนึ่ง
  • 13:57 - 14:01
    ท่านก็เลยปฏิบัติสมาธิอีกแบบหนึ่ง
  • 14:01 - 14:04
    เป็นสมาธิที่มีสติกำกับ
  • 14:04 - 14:07
    ไม่ได้มุ่งไปที่สงบแล้ว
  • 14:07 - 14:11
    ทำไปเพื่อมีความมีสติ
  • 14:11 - 14:16
    สมาธิอันนี้เคยเกิดกับท่านตอนท่านเด็กเล็กๆ
  • 14:16 - 14:21
    เป็นบุญบารมีที่ท่านเคยสะสมมา
  • 14:21 - 14:26
    จิตได้สมาธิตัวนี้ขึ้นมาโดยที่ไม่มีใครสอน
  • 14:26 - 14:29
    เป็นเอง
  • 14:29 - 14:33
    ไปนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ตามลำพัง
  • 14:33 - 14:35
    ท่านทำอานาปานสติ
  • 14:35 - 14:38
    หายใจออกยาว รู้ว่าหายใจออกยาว
  • 14:38 - 14:39
    รู้
  • 14:39 - 14:45
    หายใจเข้ายาว รู้ว่าหายใจเข้ายาว
  • 14:45 - 14:49
    ไม่ใช่หายใจออกยาวก็น้อมใจให้เพลินๆ
  • 14:49 - 14:53
    หายใจเข้ายาว น้อมใจให้เพลินๆ
  • 14:53 - 14:59
    จุดสำคัญที่สมาธิของท่านต่างกับสมาธิฤๅษี
  • 14:59 - 15:01
    มีคำว่า รู้ อยู่ด้วย
  • 15:01 - 15:04
    หายใจออกยาว รู้ว่าหายใจออกยาว
  • 15:04 - 15:08
    หายใจเข้ายาว รู้ว่าหายใจเข้ายาว
  • 15:08 - 15:12
    หายใจไปจนลมหายใจสงบลงไป
  • 15:12 - 15:16
    จิตมีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่งขึ้นมา
  • 15:16 - 15:18
    ตอนเด็กๆ ท่านมาถึงตรงนี้
  • 15:18 - 15:23
    มีสติรู้ตลอดสาย
  • 15:23 - 15:25
    ตอนที่ท่านออกภาวนาเอง
  • 15:25 - 15:35
    ท่านก็ทำสมาธิอีก ที่ถูกมีตัวรู้อยู่
  • 15:35 - 15:41
    พอมีวิตกวิจารท่านก็วางวิตกวิจาร
  • 15:41 - 15:44
    เข้าสู่ฌานที่สอง
  • 15:44 - 15:47
    วางปีติ เข้าสู่ฌานที่สาม
  • 15:47 - 15:49
    วางความสุข เข้าสู่ฌานที่สี่
  • 15:49 - 15:55
    จิตเป็นอุเบกขา ตั้งมั่นเป็นอุเบกขา มีสติ
  • 15:55 - 15:58
    สมาธิของพระพุทธเจ้า
  • 15:58 - 16:01
    จิตมันเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
  • 16:01 - 16:05
    หลุดออกจากโลกของความคิด ความเห็น
  • 16:05 - 16:09
    ถ้าสมาธิอย่างเป็นมิจฉา
  • 16:09 - 16:12
    นั่งแล้วก็เคลิ้ม ฝันๆ ไปเรื่อยๆ
  • 16:12 - 16:16
    ก็เห็นโน่นเห็นนี่ นึกว่ามีฤทธิ์มีเดชมากมาย
  • 16:16 - 16:20
    เห็นอดีต เห็นอนาคต เห็นผี เห็นเทวดา
  • 16:20 - 16:24
    เห็นชาติก่อน เห็นชาติหน้า
  • 16:24 - 16:27
    รู้ว่าคนนี้คิดอะไร
  • 16:27 - 16:31
    รู้สารพัดจะรู้เลย ไม่รู้ตัว
  • 16:31 - 16:34
    สิ่งเดียวที่ไม่รู้คือไม่รู้ตัวเอง
  • 16:34 - 16:36
    ฉะนั้นสมาธิของพระพุทธเจ้า
  • 16:36 - 16:40
    เป็นสมาธิที่ฝึกแล้วมีความรู้สึกตัวเอง
  • 16:40 - 16:43
    ไม่หลง ไม่ลืม ไม่เผลอไป
  • 16:43 - 16:47
    เพราะฉะนั้นเราจะฝึกให้จิตสงบ จิตตั้งมั่น
  • 16:47 - 16:50
    อย่าทิ้งรู้
  • 16:50 - 16:54
    หายใจออกก็รู้ หายใจเข้าก็รู้
  • 16:54 - 16:56
    ไม่ใช่หายใจออกก็เพ่งลมหายใจ
  • 16:56 - 16:58
    หายใจเข้าก็เพ่งลมหายใจ
  • 16:58 - 17:00
    แค่รู้
  • 17:00 - 17:01
    รู้อะไร
  • 17:01 - 17:03
    รู้ว่าร่างกายหายใจออก
  • 17:03 - 17:06
    รู้ว่าร่างกายหายใจเข้า
  • 17:06 - 17:09
    หรือถ้าใช้อิริยาบถก็รู้ว่าร่างกายยืน
  • 17:09 - 17:13
    รู้ว่าร่างกายเดิน นั่ง นอน รู้เอา
  • 17:13 - 17:17
    พอจิตสงบ จิตรวมลงไป มันจะมีรู้อยู่
  • 17:17 - 17:22
    ไม่เคลิ้ม ลืมเนื้อลืมตัว
  • 17:22 - 17:25
    มันสงบได้ถึงอรูปฌานเลย
  • 17:25 - 17:27
    ดับโลกธาตุหมดเลย
  • 17:27 - 17:29
    ตัวรู้ยังอยู่
  • 17:29 - 17:33
    ถ้าถึงฌานที่แปด ตัวรู้เหลือนิดเดียว
  • 17:33 - 17:35
    เหลือแผ่วๆ นิดเดียว
  • 17:35 - 17:37
    เพราะสัญญานี้มันเกือบจะดับ
  • 17:37 - 17:41
    ถ้าสัญญาดับเมื่อไรจิตก็ดับเมื่อนั้น
  • 17:41 - 17:46
    ถ้าจิตดับก็เป็นพรหมลูกฟักทันทีเลย
  • 17:46 - 17:47
    ฉะนั้นต้องมีสติ
  • 17:47 - 17:50
    มีความรับรู้อยู่ตลอดเวลา
  • 17:50 - 17:52
    ค่อยฝึก
  • 17:52 - 17:55
    พอจิตเราตั้งมั่น มีเรี่ยวมีแรง
  • 17:55 - 17:59
    ก็มาถึงเวลาที่เจริญปัญญา
  • 17:59 - 18:01
    เจริญปัญญาทำอย่างไร
  • 18:01 - 18:06
    เจริญปัญญาขั้นที่หนึ่ง ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา
  • 18:06 - 18:08
    เป็นปัญญาขั้นต้น
  • 18:08 - 18:11
    แยกรูปแยกนามให้ได้
  • 18:11 - 18:14
    อย่างเวลาพวกเราฟังหลวงพ่อเทศน์
  • 18:14 - 18:18
    พวกเราจะเกิดสมาธิอัตโนมัติ
  • 18:18 - 18:21
    เพราะเวลาเข้าใกล้หลวงพ่อ
  • 18:21 - 18:23
    จิตมันจะตั้งมั่นเองล่ะ
  • 18:23 - 18:29
    มันกลัวหลวงพ่อ ไม่กล้าซ่า ใจมันก็ตั้ง
  • 18:29 - 18:31
    ตอนนี้ใจของเราตั้งมั่นอยู่
  • 18:31 - 18:35
    รู้สักไหมร่างกายมันนั่งอยู่
  • 18:35 - 18:40
    เห็นไหม ร่างกายมันนั่งอยู่
  • 18:40 - 18:46
    ร่างกายที่นั่งอยู่เป็นแค่
    ของที่ถูกรู้ถูกดูเท่านั้นเอง
  • 18:46 - 18:51
    นี่เราใช้รูปธรรมเป็นอารมณ์กรรมฐาน
  • 18:51 - 18:54
    ทีแรกเรารู้ถึงความมีอยู่ของร่างกาย
  • 18:54 - 18:57
    ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา
  • 18:57 - 19:00
    เรารู้ว่ามีร่างกาย เราไม่ลืม ไม่หลง
  • 19:00 - 19:03
    ไม่ให้มันหายไป
  • 19:03 - 19:07
    แล้วก็เห็นร่างกายเป็นของถูกรู้ถูกดู
  • 19:07 - 19:12
    ตรงนี้มันจะเห็น เออ ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา
  • 19:12 - 19:15
    เป็นแค่ของที่ถูกรู้
  • 19:15 - 19:19
    ตรงนี้เป็นการเห็นที่ยังเจือด้วยการคิดอยู่
  • 19:19 - 19:23
    ยังไม่ขึ้นวิปัสสนาจริง
  • 19:23 - 19:28
    ถ้าเราเห็นร่างกายเรื่อยๆ แล้วเราจะเห็น
  • 19:28 - 19:34
    ร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา
  • 19:34 - 19:38
    นั่งสบายๆ เดี๋ยวเดียวก็ปวดก็เมื่อย
  • 19:38 - 19:41
    หรือนั่งอยู่เดี๋ยวก็คัน
  • 19:41 - 19:45
    ร่างกายมันถูกความทุกข์เบียดเบียน
  • 19:45 - 19:49
    พอมันเมื่อยมากๆ เราก็ต้องขยับตัว
  • 19:49 - 19:53
    ทำไมต้องขยับตัว หนีทุกข์
  • 19:53 - 19:58
    เราจะเห็นร่างกายมันมีแต่ตัวทุกข์
  • 19:58 - 20:00
    ทุกข์มากกับทุกข์น้อย
  • 20:00 - 20:03
    เราเริ่มมีวิปัสสนาปัญญาแล้ว
  • 20:03 - 20:07
    เราเห็นเอา ไม่ใช่คิดเอา
  • 20:07 - 20:09
    ฉะนั้นเวลาจะนั่งดูกาย
  • 20:09 - 20:13
    นั่งใจเย็นๆ ไม่ต้องดูอะไรมาก
  • 20:13 - 20:17
    คอยดูร่างกายมันถูกความทุกข์บีบคั้นไป
  • 20:17 - 20:22
    สังเกตไปเรื่อยๆ สั่งได้ไหม
  • 20:22 - 20:25
    นั่งแล้วจงสบายอย่างเดียว อย่าทุกข์
  • 20:25 - 20:30
    ดูของจริง จะพบว่าทำไม่ได้
  • 20:30 - 20:34
    ร่างกายถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด
  • 20:34 - 20:38
    ถ้าสติสมาธิเราดีพอ
  • 20:38 - 20:41
    ไม่ต้องรอดูร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอนหรอก
  • 20:41 - 20:44
    ช้าไป
  • 20:44 - 20:47
    เราดูร่างกายที่หายใจเข้า
  • 20:47 - 20:56
    ลองหายใจเข้ายาวๆ ยาวที่สุดเลยสิ
  • 20:56 - 21:01
    สุขหรือทุกข์ ทุกข์
  • 21:01 - 21:06
    หายใจเข้าก็ทุกข์ใช่ไหม ก็ต้องหายใจออก
  • 21:06 - 21:08
    ตอนที่หายใจออกทีแรกก็รู้สึกสบาย
  • 21:08 - 21:12
    แก้ทุกข์จากการที่เราหายใจเข้า
  • 21:12 - 21:15
    หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตายเลย
  • 21:15 - 21:17
    มันทุกข์ขนาดนั้น
  • 21:17 - 21:19
    พอหายใจเข้าแล้วทุกข์
  • 21:19 - 21:22
    เราก็หายใจออก
  • 21:22 - 21:26
    เพื่อแก้ทุกข์ของการหายใจเข้า
  • 21:26 - 21:30
    หายใจออกนานๆ ทุกข์อีกแล้ว
  • 21:30 - 21:35
    ต้องหายใจเข้าเพื่อแก้ทุกข์ของการหายใจออก
  • 21:35 - 21:37
    คอยสังเกตไป
  • 21:37 - 21:39
    เราจะรู้เลยร่างกายนี้
  • 21:39 - 21:44
    มีความทุกข์บีบคั้นอยู่ทุกลมหายใจ
  • 21:44 - 21:48
    อันนี้ใจต้องมีกำลังสมาธิมากพอ
  • 21:48 - 21:53
    ถ้ากำลังไม่พอก็นั่งดูอิริยาบถไป
  • 21:53 - 21:55
    นั่งนานๆ ก็ทุกข์ ยืนนานๆ ก็ทุกข์
  • 21:55 - 22:00
    เดินนานๆ ก็ทุกข์ นอนนานๆ ก็ทุกข์
  • 22:00 - 22:03
    อย่างตอนเราตื่นนอน
  • 22:03 - 22:07
    ตื่นนอนปุ๊บ อย่าเพิ่งบิดขี้เกียจ
  • 22:07 - 22:09
    รู้สึกร่างกายก่อน
  • 22:09 - 22:11
    โอ้ มันทุกข์ มันปวดมันเมื่อย
  • 22:11 - 22:15
    ทั้งๆ ที่นอนมาหลายชั่วโมง
  • 22:15 - 22:17
    พอเห็นมันทุกข์เราก็บิดขี้เกียจ
  • 22:17 - 22:20
    เพื่ออะไร เพื่อแก้ทุกข์
  • 22:20 - 22:26
    พอลุกขึ้นมา ไปอาบน้ำ ไปล้างหน้า
  • 22:26 - 22:29
    ทำไมต้องอาบน้ำ ต้องล้างหน้า
  • 22:29 - 22:32
    ร่างกายนี้มีแต่ปฏิกูลอสุภะ
  • 22:32 - 22:37
    ไม่คอยบำบัดเยียวยาก็สกปรกโสโครก
  • 22:37 - 22:39
    ตัวเองยังทนตัวเองไม่ได้เลย
  • 22:39 - 22:42
    เหม็นสาบตัวเอง
  • 22:42 - 22:46
    พอถึงเวลาต้องไปอึอีกแล้ว
  • 22:46 - 22:48
    อาหารที่กินเข้าไปก็ดีๆ
  • 22:48 - 22:51
    อึออกมาไม่เห็นจะดีเลย
  • 22:51 - 22:55
    ร่างกายนี้เหมือนโรงงานชั้นเลว
  • 22:55 - 22:58
    เอาวัตถุดิบที่ดีใส่เข้าไป
  • 22:58 - 23:02
    ผลผลิตที่ออกมาเลวเลย
  • 23:02 - 23:04
    ทนดูไม่ได้
  • 23:04 - 23:06
    แค่กลิ่นก็ไม่ไหวแล้ว
  • 23:06 - 23:09
    ร่างกายนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ
  • 23:09 - 23:12
    คอยรู้ไปอย่างนี้
  • 23:12 - 23:14
    เราเห็นร่างกาย
  • 23:14 - 23:16
    ตรงนี้ยังไม่เป็นวิปัสสนา
  • 23:16 - 23:18
    ตรงนี้จะทำให้จิตสงบ
  • 23:18 - 23:21
    ตรงที่เราเห็นร่างกายเป็นปฏิกูลอสุภะ
  • 23:21 - 23:26
    จิตจะสงบ ได้สมาธิอีกแบบหนึ่ง
  • 23:26 - 23:31
    แล้วถ้าจิตมันตั้งมั่นอยู่ ใช้ได้เลย
  • 23:31 - 23:33
    ดูร่างกายไปเรื่อยๆ
  • 23:33 - 23:37
    เราจะเห็นร่างกายถูก
    ความทุกข์บีบคั้นตลอดเวลา
  • 23:37 - 23:41
    หรือบางคนก็เห็นร่างกายเป็นธาตุ
  • 23:41 - 23:44
    มีธาตุไหลเข้า มีธาตุไหลออก
  • 23:44 - 23:46
    กินอาหารเข้าไปแล้วก็ขับถ่ายออก
  • 23:46 - 23:50
    มีธาตุเข้าไปแล้วก็มีธาตุไหลออกไป
  • 23:50 - 23:52
    ดื่มน้ำแล้วก็ขับถ่ายออกไป
  • 23:52 - 23:54
    ธาตุมันหมุนเวียน
  • 23:54 - 23:56
    หายใจเข้าแล้วก็หายใจออก
  • 23:56 - 23:58
    ธาตุมันหมุนเวียนอยู่
  • 23:58 - 24:01
    ร่างกายนี้ไม่ใช่อะไรเลย
  • 24:01 - 24:04
    ร่างกายเป็นที่ประชุมของธาตุ
  • 24:04 - 24:07
    ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
  • 24:07 - 24:11
    มารวมกันอยู่ด้วยกำลังของกรรม
  • 24:11 - 24:15
    กรรมที่ทำให้ตัวนี้มารวมกันเรียกว่าชนกกรรม
  • 24:15 - 24:19
    ทำให้เราเกิดมามีร่างกายอย่างนี้
  • 24:19 - 24:21
    พอมีร่างกายอย่างนี้
  • 24:21 - 24:23
    ก็คิดว่าเป็นตัวเป็นตนที่แท้จริง
  • 24:23 - 24:26
    แต่พอมาทำวิปัสสนาเราจะเห็น
  • 24:26 - 24:30
    ร่างกายมันเป็นแค่ก้อนธาตุ
  • 24:30 - 24:33
    มีธาตุไหลเข้า มีธาตุไหลออก
  • 24:33 - 24:35
    เฝ้ารู้เฝ้าดูไป
  • 24:35 - 24:38
    สุดท้ายมันก็ถอดถอนความเห็นผิด
  • 24:38 - 24:40
    ว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเรา
  • 24:40 - 24:42
    เป็นแค่วัตถุ เป็นก้อนธาตุ
  • 24:42 - 24:45
    แล้วตัวของร่างกายเองก็เป็นตัวทุกข์
  • 24:45 - 24:47
    มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย
  • 24:47 - 24:48
    ไม่ใช่ของดีของวิเศษ
  • 24:48 - 24:51
    ที่ควรรักควรหวงแหนอีกต่อไป
  • 24:51 - 24:54
    พอเราเห็นความจริงของร่างกาย
  • 24:54 - 24:56
    ไม่ใช่ของดีแล้วล่ะ
  • 24:56 - 24:58
    จิตก็เบื่อหน่าย คลายความยึดถือ
  • 24:58 - 25:02
    ถึงจุดหนึ่งจิตจะปล่อยวางร่างกาย
  • 25:02 - 25:05
    ตรงที่จิตปล่อยวางร่างกายได้จริงๆ
  • 25:05 - 25:10
    เป็นภูมิจิตภูมิธรรมระดับพระอนาคามี
  • 25:10 - 25:12
    เราก็ภาวนาต่อไป
  • 25:12 - 25:17
    เรียนรู้กายจบแล้ว เรียนรู้จิตใจไป
  • 25:17 - 25:19
    ถ้าเรียนไปตามลำดับ
  • 25:19 - 25:21
    เรียนจากกายแล้วมาเห็นเวทนา
  • 25:21 - 25:25
    ร่างกายนี้มันเจ็บปวด
  • 25:25 - 25:27
    ถัดจากนั้นก็เรียนรู้เข้ามาถึงจิต
  • 25:27 - 25:31
    นี่เรียนลำดับ กาย เวทนา จิต ธรรม
  • 25:31 - 25:35
    แต่ลีลาการปฏิบัติจริงไม่เป็นอย่างนี้หรอก
  • 25:35 - 25:37
    จะเริ่มต้นจากกายเลยก็ได้
  • 25:37 - 25:38
    จะเริ่มจากเวทนาก็ได้
  • 25:38 - 25:40
    จะเริ่มจากจิตเลยก็ได้
  • 25:40 - 25:43
    จะเริ่มจากธัมมานุปัสสนาเลยก็ยังได้
  • 25:43 - 25:49
    ถ้าปัญญาแก่กล้าพอ
  • 25:49 - 25:53
    แต่ถ้าจะพูดให้เต็มรูปแบบ รู้สึกกายไป
  • 25:53 - 25:55
    เห็นความจริงของกาย
  • 25:55 - 25:57
    ในกายมีอะไรอยู่
  • 25:57 - 26:00
    ในกายมีเวทนาอยู่
  • 26:00 - 26:02
    ร่างกายก็ไม่ใช่เรา
  • 26:02 - 26:04
    เป็นวัตถุ เป็นก้อนธาตุ
  • 26:04 - 26:09
    มีเวทนาคือความทุกข์บีบคั้นอยู่ทุกข์ขณะ
  • 26:09 - 26:12
    ความทุกข์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น
    ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป
  • 26:12 - 26:14
    ไม่เที่ยงหรอก
  • 26:14 - 26:16
    เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ไม่ทุกข์ในร่างกายนี้
  • 26:16 - 26:18
    เดี๋ยวทุกข์ตรงนั้น เดี๋ยวทุกข์ตรงนี้
  • 26:18 - 26:21
    เปลี่ยนไปเรื่อยๆ
  • 26:21 - 26:24
    แต่ว่าเราบังคับไม่ได้
  • 26:24 - 26:26
    สั่งว่าอย่าทุกข์ อย่าปวด อย่าเมื่อย
  • 26:26 - 26:29
    อย่าหิว อย่าหนาว อย่าร้อน อย่ากระหายน้ำ
  • 26:29 - 26:35
    อย่าปวดอึปวดฉี่ สั่งไม่ได้ เป็นอนัตตา
  • 26:35 - 26:37
    เราดูตัวเวทนา
  • 26:37 - 26:41
    เราก็จะเห็นกายนี้เราก็สั่งไม่ได้
  • 26:41 - 26:42
    เวทนาเราก็สั่งไม่ได้
  • 26:42 - 26:45
    อย่าปวดอย่าเมื่อย สั่งไม่ได้
  • 26:45 - 26:48
    อย่าคัน สั่งไม่ได้
  • 26:48 - 26:52
    แล้วถัดจากนั้นถ้าดูไปตามลำดับ
  • 26:52 - 26:56
    เราจะเห็นว่าเวลาเวทนาเกิดขึ้น
  • 26:56 - 26:59
    พอมีความสุขเกิดขึ้น
  • 26:59 - 27:02
    ใจมันจะยินดีพอใจ
  • 27:02 - 27:05
    เราดูเข้ามาที่จิตตานุปัสสนาแล้ว
  • 27:05 - 27:07
    เราเห็นราคะเกิดขึ้น
  • 27:07 - 27:10
    เรายินดีพอใจ
  • 27:10 - 27:13
    เวลาความทุกข์เกิดขึ้น
  • 27:13 - 27:15
    โทสะก็แทรกเข้ามา
  • 27:15 - 27:17
    ตรงที่เราเห็นโทสะ
  • 27:17 - 27:22
    เป็นการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
  • 27:22 - 27:27
    กายานุปัสสนามีกายเป็นอารมณ์
  • 27:27 - 27:30
    เวทนานุปัสสนาดูเวทนา
  • 27:30 - 27:33
    ความรู้สึกสุขทุกข์ทางกาย
  • 27:33 - 27:36
    ความรู้สึกสุขทุกข์ ความเฉยๆ
  • 27:36 - 27:39
    ไม่สุขไม่ทุกข์ทางใจ
  • 27:39 - 27:42
    พอก้าวมาสู่จิตตานุปัสสนา
  • 27:42 - 27:46
    เราจะเห็นเวลามีความสุขเกิดขึ้น
  • 27:46 - 27:49
    จิตก็มักจะปรุงราคะขึ้นมา
  • 27:49 - 27:51
    ยินดีพอใจ
  • 27:51 - 27:53
    เวลามีความทุกข์เกิดขึ้น
  • 27:53 - 27:57
    จิตก็ปรุงโทสะ ไม่พอใจ หงุดหงิด
  • 27:57 - 28:00
    เวลาไม่สุขไม่ทุกข์
  • 28:00 - 28:03
    อุเบกขาเวทนา
  • 28:03 - 28:05
    จิตมักจะเผลอๆ เพลินๆ
  • 28:05 - 28:09
    โมหะเอาไปกินเสียส่วนใหญ่
  • 28:09 - 28:15
    เราสังเกต เราดูเข้ามาได้ถึงกิเลสตัวเองแล้ว
  • 28:15 - 28:20
    ร่างกายเป็นของที่นอกที่สุด
  • 28:20 - 28:23
    เวทนาก็ลึกเข้ามาอีกชั้นหนึ่ง
  • 28:23 - 28:26
    พอถึงจิตตานุปัสสนา
  • 28:26 - 28:28
    รู้ทันจิตที่เป็นกุศลอกุศล
  • 28:28 - 28:32
    เป็นปฏิกิริยาต่อเวทนา
  • 28:32 - 28:35
    ตัวนี้เข้าใกล้จิตมากขึ้นแล้ว
  • 28:35 - 28:39
    เรียกว่าจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
  • 28:39 - 28:42
    ถ้าเราเห็นถึง เช่น
  • 28:42 - 28:44
    กระทบอารมณ์ไม่ดี โทสะเกิด
  • 28:44 - 28:46
    เราเห็นโทสะ
  • 28:46 - 28:50
    โทสะเป็นของถูกรู้ถูกดูเหมือนกัน
  • 28:50 - 28:54
    โทสะยังไม่ใช่จิตหรอก
  • 28:54 - 28:58
    เราจะสามารถแยกโทสะกับจิตออกจากกันได้
  • 28:58 - 29:00
    จิตจะตั้งมั่นเป็นคนดู
  • 29:00 - 29:03
    โทสะเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา
  • 29:03 - 29:05
    แล้วก็ผ่านไป
  • 29:05 - 29:10
    ราคะเกิดขึ้นมา ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป
  • 29:10 - 29:13
    เฉยๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป
  • 29:13 - 29:18
    จิตเป็นแค่คนเห็น เป็นแค่ผู้รู้ผู้เห็น
  • 29:18 - 29:21
    แล้วเราจะรู้เลยว่า
  • 29:21 - 29:23
    ความปรุงดีปรุงชั่วทั้งหลาย
  • 29:23 - 29:27
    เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปทั้งสิ้น
  • 29:27 - 29:30
    จะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องเลว
  • 29:30 - 29:34
    เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เสมอกัน
  • 29:34 - 29:37
    ไม่มีอะไรดีกว่าอะไร
  • 29:37 - 29:40
    ถึงตรงนี้เรารู้แล้วว่า
  • 29:40 - 29:43
    สังขาร หรือความปรุงดีปรุงชั่ว
  • 29:43 - 29:45
    กับจิตนี้คนละอันกัน
  • 29:45 - 29:48
    เราจะเข้ามาเห็นตัวจิต
  • 29:48 - 29:51
    ตัวจิตที่แท้จริง
  • 29:51 - 29:57
    แล้วคราวนี้เราก็จะเห็นการทำงานของจิต
  • 29:57 - 30:00
    จิตมันก็ออกไปกระทบอารมณ์
  • 30:00 - 30:03
    ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
  • 30:03 - 30:05
    พอมันกระทบอารมณ์แล้ว
  • 30:05 - 30:09
    มันก็เกิดกุศลบ้างเกิดอกุศลบ้าง
  • 30:09 - 30:13
    สั่งไม่ได้ ควบคุมอะไรไม่ได้
  • 30:13 - 30:15
    เฝ้ารู้เฝ้าดูไป
  • 30:15 - 30:21
    พอดูเราเห็นกิเลสที่ละเอียดขึ้น
  • 30:21 - 30:23
    จะเห็นกิเลสที่ละเอียด
  • 30:23 - 30:26
    ไม่ใช่แค่โลภ โกรธ หลงเกิดแล้วผ่านหรอก
  • 30:26 - 30:29
    เราเห็นกิเลสชั้นที่ละเอียดขึ้น
  • 30:29 - 30:33
    คือกิเลสชนิดที่เรียกว่านิวรณ์
  • 30:33 - 30:39
    นิวรณ์เป็นกิเลสที่ทำ
    หน้าที่ขวางกั้นคุณงามความดี
  • 30:39 - 30:45
    เช่น เวลาเราตั้งอกตั้งใจภาวนา
  • 30:45 - 30:48
    กามฉันทะนิวรณ์แทรกเข้ามาแล้ว
  • 30:48 - 30:53
    นั่งนานแล้ว นอนดีกว่า
  • 30:53 - 30:56
    ฝืนใจนั่งต่อไปเดี๋ยวเป็นอัตตกิลมถานุโยค
  • 30:56 - 30:58
    แหนะ มันสอนเก่งเว้ย
  • 30:58 - 31:01
    สอนฟังแล้วเป็นธรรมะ
  • 31:01 - 31:03
    จะเดินจงกรมไป
  • 31:03 - 31:04
    เดินไปๆ
  • 31:04 - 31:07
    ตัวขี้เกียจนี้แทรกเข้ามาแล้ว
  • 31:07 - 31:10
    ตัวพยาบาท
  • 31:10 - 31:14
    ใจโหยหาถึงเตียงนอน
  • 31:14 - 31:18
    เป็นกามฉันทะแทรกเข้ามา
  • 31:18 - 31:21
    บางทีมันฉลาดกิเลสนี่ โอ้โห
  • 31:21 - 31:24
    ใครที่คิดจะหลอกกิเลส ไม่ได้กินหรอก
  • 31:24 - 31:27
    นี่พูดแบบตรงไปตรงมาเลย
  • 31:27 - 31:28
    ไม่มีใครหลอกกิเลสได้หรอก
  • 31:28 - 31:31
    มีแต่ถูกกิเลสหลอก
  • 31:31 - 31:35
    บางทีกิเลสมันหลอกเราสาหัสสากรรจ์
  • 31:35 - 31:36
    เรานั่งสมาธิ
  • 31:36 - 31:39
    กะจะนั่ง 2 ชั่วโมง
  • 31:39 - 31:43
    พอนั่งไปชั่วโมงหนึ่ง เมื่อยเต็มทีแล้ว
  • 31:43 - 31:47
    ถ้านั่งต่อไปเดี๋ยวมันเป็นอัตตกิลมถานุโยค
  • 31:47 - 31:48
    ทรมานตนเอง
  • 31:48 - 31:51
    ไม่ใช่ทางสายกลาง นอนดีกว่าอะไรอย่างนี้
  • 31:51 - 31:55
    นี่มันหลอกๆ
  • 31:55 - 32:00
    หรือบางทีภาวนา
  • 32:00 - 32:05
    บางท่านภาวนาจะแตกหักข้ามภพข้ามชาติอยู่แล้ว
  • 32:05 - 32:09
    มันเห็นจิตนี้ใกล้จะระเบิดแล้ว
  • 32:09 - 32:11
    มันทนอยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว
  • 32:11 - 32:14
    จะแตกสลายแล้ว
  • 32:14 - 32:18
    ใจก็ห้าวหาญ ตายเป็นตาย ไม่กลัว
  • 32:18 - 32:22
    กิเลสก็หลอก เฮ้ย
  • 32:22 - 32:26
    ถ้าระเบิดแล้วตายไม่เป็นไร
  • 32:26 - 32:28
    คนอื่นไม่เดือดร้อน
  • 32:28 - 32:32
    แต่ว่าถ้าระเบิดแล้วบ้า เดือดร้อน
  • 32:32 - 32:36
    ใจสะเทือนเลย ใจอยากถอยเลย
  • 32:36 - 32:39
    เพราะฉะนั้นมันจะคอยหลอกเรา
  • 32:39 - 32:43
    เวลาที่เราจะสร้างคุณงามความดี
  • 32:43 - 32:46
    กิเลสมารพวกนี้มันจะหลอกเรา
  • 32:46 - 32:48
    อย่างเจ้าชายสิทธัตถะ
  • 32:48 - 32:50
    กำลังจะตรัสรู้แล้ว
  • 32:50 - 32:54
    มารก็มาไล่ที่
  • 32:54 - 32:57
    ท่านก็คิดถึงบุญบารมีที่สร้าง
  • 32:57 - 33:00
    ความตั้งใจ ความปรารถนา
  • 33:00 - 33:05
    ที่จะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า
    เพื่อจะช่วยสัตว์โลก
  • 33:05 - 33:08
    ถ้าจะตายก็ตาย ยอมตาย
  • 33:08 - 33:12
    พอท่านยอมตาย มารก็แพ้ไปเลย
  • 33:12 - 33:14
    ใจต้องเข้มแข็ง
  • 33:14 - 33:18
    ไม่อย่างนั้นใจสู้กิเลสไม่ได้
  • 33:18 - 33:23
    จิตตานุปัสสนากับธัมมานุปัสสนามันจะต่างกัน
  • 33:23 - 33:25
    จิตตานุปัสสนา เราเห็นตัวกิเลสตรงๆ
  • 33:25 - 33:29
    เห็นราคะ โทสะ โมหะอะไรเกิดดับๆ ไป
  • 33:29 - 33:32
    หรือกุศลเกิดแล้วดับไป
  • 33:32 - 33:36
    ในธัมมานุปัสสนาเราจะรู้
    ลงไปถึงเหตุถึงผลของมัน
  • 33:36 - 33:38
    ทำไมนิวรณ์เกิด
  • 33:38 - 33:42
    ทำไมกามฉันทะเกิด ทำไมพยาบาทเกิด
  • 33:42 - 33:46
    ทำไมอุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจเกิด
  • 33:46 - 33:48
    ทำไมความลังเลสงสัยเกิด
  • 33:48 - 33:51
    ทำไมความเซื่องซึมเกิด
  • 33:51 - 33:57
    จะรู้เหตุรู้ผลแล้วจิตก็ชนะ
  • 33:57 - 34:00
    หรือกุศลที่เกิด
  • 34:00 - 34:05
    ไม่ใช่อโลภะ อโทสะ อโมหะธรรมดา
  • 34:05 - 34:09
    กุศลในธัมมานุปัสสนาสูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
  • 34:09 - 34:13
    เป็นกุศลเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น
  • 34:13 - 34:15
    คือตัวโพชฌงค์ 7
  • 34:15 - 34:19
    เป็นองค์ธรรมที่จะตรัสรู้แล้ว
  • 34:19 - 34:20
    สติสัมโพชฌงค์
  • 34:20 - 34:24
    เป็นสติที่เป็นไปเพื่อการตรัสรู้
  • 34:24 - 34:29
    ไม่ใช่มีสติเพื่อจะให้เกิด
    ปัญญาอย่างที่เราทำกัน
  • 34:29 - 34:30
    คนละแบบกัน
  • 34:30 - 34:34
    แต่ละองค์ธรรมมันจะประณีตลึกซึ้งขึ้นไป
  • 34:34 - 34:37
    ฉะนั้นธัมมานุปัสสนาเล่นยาก
  • 34:37 - 34:43
    หรือถัดจากนั้นเราก็ดูเข้าไปเห็นขันธ์ๆ
  • 34:43 - 34:46
    เวลารู้กายนี่ 1 ขันธ์
  • 34:46 - 34:48
    รู้เวทนาอีกขันธ์หนึ่ง
  • 34:48 - 34:51
    จิตตานุปัสสนาอีกขันธ์หนึ่ง
  • 34:51 - 34:55
    มาถึงธัมมานุปัสสนารู้มัน 5 ขันธ์เลย
  • 34:55 - 34:58
    เห็นขันธ์ 5 ทำงาน
  • 34:58 - 35:00
    เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยง
  • 35:00 - 35:04
    การทำงานเป็นแท็คทีมของขันธ์
  • 35:04 - 35:10
    แล้วก็รู้มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
  • 35:10 - 35:13
    หรือเห็นธาตุ
  • 35:13 - 35:18
    เรียนรู้ประณีตลึกซึ้งมาก
  • 35:18 - 35:21
    อย่างเราเรียนกาย เรียนเวทนาอย่างนี้
  • 35:21 - 35:23
    เรียนจิตตานุปัสสนา
  • 35:23 - 35:26
    มันลงมาที่ธาตุ
  • 35:26 - 35:28
    ธาตุตั้ง 18 ธาตุ
  • 35:28 - 35:32
    คืออายตนะภายใน 6 อายตนะภายนอก 6
  • 35:32 - 35:34
    วิญญาณธาตุ
  • 35:34 - 35:38
    มีความรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอีก 6
  • 35:38 - 35:42
    การทำงานของธาตุ 18 ตัว ทำงานอย่างไร
  • 35:42 - 35:46
    ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีเรามีเขาเลยตรงนี้
  • 35:46 - 35:48
    มีแต่ธาตุ
  • 35:48 - 35:51
    ธาตุตัวนี้ไม่ใช่ธาตุแบบโลกๆ
  • 35:51 - 35:53
    คนละธาตุคนละชนิดกัน
  • 35:53 - 35:57
    ชื่อมันเหมือนกัน
  • 35:57 - 36:03
    สูงสุดในธัมมานุปัสสนา คือปฏิจจสมุปบาท
  • 36:03 - 36:06
    คืออริยสัจ
  • 36:06 - 36:11
    เจ้าชายสิทธัตถะบารมีท่านเต็ม
  • 36:11 - 36:15
    สูงกว่าพวกเราเทียบกันไม่ได้
  • 36:15 - 36:20
    ท่านทำความสงบของจิตด้วยอานาปานสติ
  • 36:20 - 36:23
    แล้วท่านเจริญวิปัสสนา
  • 36:23 - 36:26
    โดยใช้ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอันสุดท้ายเลย
  • 36:26 - 36:29
    สัจจบรรพ
  • 36:29 - 36:31
    ท่านเรียนรู้อริยสัจ 4
  • 36:31 - 36:38
    แจกแจงรายละเอียดของ
    อริยสัจ 4 ลงไปในปฏิจจสมุปบาท
  • 36:38 - 36:43
    ทุกข์มีอยู่เพราะอะไรมีอยู่ เพราะชาติมีอยู่
  • 36:43 - 36:45
    ชาติมี 2 ชนิด
  • 36:45 - 36:48
    ชาติโดยการเกิดอย่างพวกเราอย่างนี้
  • 36:48 - 36:53
    เกิดมา แล้วมันมีชาติอีกชนิด ชาติตัวจริงๆ
  • 36:53 - 36:56
    คือการที่จิตเข้าไปหยิบฉวย
  • 36:56 - 36:59
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขึ้นมาใช้งาน
  • 36:59 - 37:02
    นั่นล่ะคือตัวชาติที่แท้จริง
  • 37:02 - 37:05
    แต่ตัวนี้มันประณีต
  • 37:05 - 37:06
    พวกเรายังเรียนไม่ถึง
  • 37:06 - 37:10
    หลวงพ่อพูดคร่าวๆ ให้ฟังไว้
  • 37:10 - 37:14
    ชาตินี้มันมาจากภพ
  • 37:14 - 37:17
    ภพก็คือความปรุงแต่งของจิต
  • 37:17 - 37:21
    ความปรุงแต่งของจิต
    เป็นไปด้วยอำนาจของอุปาทาน
  • 37:21 - 37:24
    ความยึดมั่นถือมั่น
  • 37:24 - 37:30
    อุปาทานเป็นตัณหาที่มีกำลังแรงกล้า
  • 37:30 - 37:36
    ตัณหามันเกิดขึ้นมาเพราะกิเลส
  • 37:36 - 37:39
    กิเลสมันแทรกอยู่กับเวทนา
  • 37:39 - 37:43
    เวทนาคือความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ
  • 37:43 - 37:46
    เวทนาเกิดขึ้นจากผัสสะ
  • 37:46 - 37:48
    อยู่ๆ เวทนาไม่เกิด
  • 37:48 - 37:53
    ต้องมีการกระทบอารมณ์ทางตา หู
    จมูก ลิ้น กาย ใจก่อน เวทนาถึงจะเกิด
  • 37:53 - 37:57
    การกระทบอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
  • 37:57 - 37:58
    เรียกว่าผัสสะ
  • 37:58 - 38:00
    มีผัสสะได้เพราะอะไร
  • 38:00 - 38:05
    เพราะมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีอายตนะ
  • 38:05 - 38:10
    อายตนะมีได้เพราะมีรูปนามนี้ล่ะ
  • 38:10 - 38:14
    ตาเราเป็นรูปธรรม มีตาอย่างเดียว
  • 38:14 - 38:16
    ไม่มีนามธรรมไม่มีจิตไปรับรู้
  • 38:16 - 38:19
    ก็ทำให้เกิดผัสสะไม่ได้
  • 38:19 - 38:24
    ต้องมีตา มีรูป มีความรับรู้ทางตา
  • 38:24 - 38:26
    3 อันนี้รวมกัน
  • 38:26 - 38:28
    ทำงานร่วมกันถึงจะเกิดคำว่าผัสสะ
  • 38:28 - 38:30
    การกระทบอารมณ์
  • 38:30 - 38:32
    มีตาเฉยๆ แต่ใจไปคิดเรื่องอื่น
  • 38:32 - 38:36
    ลืมตาอยู่ คนเดินผ่านมา เราไม่รู้ว่าใครมา
  • 38:36 - 38:39
    เพราะใจเราไปทำงานอยู่ที่อื่น
  • 38:39 - 38:41
    มันต้องประชุมกัน
  • 38:41 - 38:46
    มีตา มีรูป มีจิตที่ไปรับรู้อารมณ์ทางตา
  • 38:46 - 38:47
    เห็นไหมตัวนี้
  • 38:47 - 38:52
    อายตนะมันจะทำงานได้ มีจิตอยู่ข้างหลัง
  • 38:52 - 39:00
    แล้วจิตตัวนี้อาศัยความปรุงแต่งเกิดขึ้นๆ
  • 39:00 - 39:03
    ตรงนี้ต้องค่อยเรียนค่อยภาวนา
  • 39:03 - 39:06
    เรียนไปฟังไปเล่นๆ
  • 39:06 - 39:11
    ยังไม่เห็นจริง ไม่มีทางเข้าใจหรอก
  • 39:11 - 39:14
    ความปรุงแต่งของจิตตัวนั้น
  • 39:14 - 39:17
    มันปรุงดีบ้างปรุงชั่วบ้าง
  • 39:17 - 39:21
    พยายามจะไม่ปรุงบ้าง มี 3 แบบ
  • 39:21 - 39:24
    ทั้งหมดนี้เกิดจากอวิชชา
  • 39:24 - 39:29
    ไม่รู้แจ้งเห็นจริงว่าขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์
  • 39:29 - 39:31
    มันก็เลยไปปรุงแต่ง
  • 39:31 - 39:34
    บางคนก็ปรุงบุญไป บางคนก็ปรุงบาปไป
  • 39:34 - 39:38
    บางคนพยายามไม่ปรุง
  • 39:38 - 39:41
    อวิชชาคือไม่รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ 4
  • 39:41 - 39:44
    ไม่รู้ว่าขันธ์ 5 คือตัวทุกข์
  • 39:44 - 39:46
    ก็เลยละสมุทัยไม่ได้
  • 39:46 - 39:48
    ก็เลยไม่แจ้งนิโรธ
  • 39:48 - 39:50
    ว่ามีตัณหาอยู่ มีสมุทัยอยู่
  • 39:50 - 39:53
    ก็จะไม่เห็นพระนิพพาน
  • 39:53 - 39:54
    ถ้าใจเราสิ้นตัณหาเมื่อไร
  • 39:54 - 39:59
    เราก็จะเห็นนิพพานเมื่อนั้นเลย
  • 39:59 - 40:03
    แล้วอะไรทำให้อวิชชาเกิด อาสวะ
  • 40:03 - 40:05
    อันนี้กิเลสละเอียดเลย
  • 40:05 - 40:08
    กิเลสที่หมักดอง
  • 40:08 - 40:12
    หมักหมมอยู่ในจิตสันดานของเรา
  • 40:12 - 40:15
    แต่มันไม่ใช่จิตหรอก
  • 40:15 - 40:19
    มันก็แค่สิ่งแปลกปลอมอีกอันหนึ่ง
  • 40:19 - 40:23
    เพียงแต่ว่ามันมีธรรมชาติที่ย้อมจิตอยู่
  • 40:23 - 40:25
    คล้ายๆ เราเป็นทาส
  • 40:25 - 40:28
    โดยที่ไม่รู้ว่าเรามีนายทาส
  • 40:28 - 40:32
    เราก็เลยไม่คิดจะปลดแอก
  • 40:32 - 40:35
    ถ้าสติปัญญาแก่กล้าพอ
  • 40:35 - 40:38
    เราจะพ้นจากอาสวะได้
  • 40:38 - 40:39
    ที่พ้นจากอาสวะได้
  • 40:39 - 40:42
    เพราะว่าเรารู้แจ้งอริยสัจ 4
  • 40:42 - 40:44
    ฉะนั้นเราไม่ต้องรู้อะไรมากหรอก
  • 40:44 - 40:46
    รู้เรื่องอริยสัจ 4
  • 40:46 - 40:49
    ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
  • 40:49 - 40:51
    อริยสัจ 4 เอาอันเดียวก็พอ
  • 40:51 - 40:53
    อันใดอันหนึ่งก็ได้
  • 40:53 - 40:59
    แต่โดยภูมิจิตภูมิธรรมของสาวก รู้ทุกข์ไป
  • 40:59 - 41:04
    อยู่ๆ จะไปรู้นิโรธ ทำไม่ได้
  • 41:04 - 41:08
    แล้วทันทีที่รู้นิโรธ ขณะนั้นรู้ทุกข์แล้ว
  • 41:08 - 41:10
    เข้าถึงนิโรธก็รู้ทุกข์แล้ว
  • 41:10 - 41:12
    ละสมุทัยเรียบร้อยแล้ว
  • 41:12 - 41:16
    เกิดอริยมรรคเรียบร้อยแล้ว
  • 41:16 - 41:20
    ให้รู้ทุกข์ อะไรคือทุกข์ ก็ขันธ์ 5 นั่นล่ะ
  • 41:20 - 41:23
    รูป นาม กาย ใจของเราคือตัวทุกข์
  • 41:23 - 41:27
    เพราะฉะนั้นรู้สึกกายรู้สึกใจไว้
  • 41:27 - 41:31
    ทีแรกรู้สึกถึงความมีอยู่ของกายของใจ
  • 41:31 - 41:35
    ถัดจากนั้นก็เห็นกายใจเป็นไตรลักษณ์
  • 41:35 - 41:37
    ถึงจุดหนึ่งจิตจะปล่อยวาง
  • 41:37 - 41:40
    ความยึดถือในกายในใจได้
  • 41:40 - 41:43
    อาสวกิเลสจะเข้ามาอีกไม่ได้
  • 41:43 - 41:45
    เพราะไม่มีอวิชชา
  • 41:45 - 41:48
    อาสวะมีอวิชชา
  • 41:48 - 41:51
    เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มันเกิดขึ้น
  • 41:51 - 41:54
    อวิชชาก็มีอาสวะเป็น
    เหตุเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น
  • 41:54 - 42:01
    ถ้าจิตไม่มีอวิชชา อาสวะเข้ามาย้อมไม่ได้
  • 42:01 - 42:03
    ฉะนั้นเราค่อยภาวนา
  • 42:03 - 42:06
    ตัวสำคัญที่เราต้องทำก็คือรู้ทุกข์
  • 42:06 - 42:10
    มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง
  • 42:10 - 42:13
    แต่จะรู้ได้ต้องมีกำลังสมาธิหนุนหลัง
  • 42:13 - 42:17
    จิตที่มีกำลังสมาธิหนุนหลัง
  • 42:17 - 42:21
    มันจะตั้งมั่นและก็เป็นกลาง
  • 42:21 - 42:22
    ฉะนั้นเราต้องฝึก
  • 42:22 - 42:25
    ทีแรกก็ฝึกให้มีเครื่องมือในการปฏิบัติ
  • 42:25 - 42:30
    เครื่องมือสำคัญ 2 ตัวคือสติกับสัมมาสมาธิ
  • 42:30 - 42:35
    สติเกิดจากการที่เรา
    หัดรู้สภาวะเนืองๆ หัดรู้บ่อยๆ
  • 42:35 - 42:39
    จิตจำสภาวะได้แล้วสติเกิดเอง
  • 42:39 - 42:42
    สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต
  • 42:42 - 42:45
    อาศัยสติทำกรรมฐานไป
  • 42:45 - 42:47
    อาศัยสติรู้เท่าทันจิตตัวเองไป
  • 42:47 - 42:49
    เรียกว่าจิตตสิกขา
  • 42:49 - 42:54
    แล้วจิตจะตั้งมั่นขึ้น โดยที่ไม่ได้เจตนา
  • 42:54 - 42:57
    พอจิตตั้งมั่นแล้วสติระลึกรู้อารมณ์
  • 42:57 - 43:01
    จิตก็ยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง ให้รู้ทัน
  • 43:01 - 43:05
    จิตก็จะเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยสติ
  • 43:05 - 43:06
    คราวนี้เราจะสามารถ
  • 43:06 - 43:12
    มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง
    ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางได้
  • 43:12 - 43:14
    ไม่มีอคติ ไม่มี bias
  • 43:14 - 43:17
    ก็จะเห็นความจริงของรูป นาม กาย ใจ
  • 43:17 - 43:19
    มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
  • 43:19 - 43:20
    พอเห็นความเป็นจริงก็เบื่อหน่าย
  • 43:20 - 43:23
    คลายความยึดถือแล้วก็หลุดพ้น
  • 43:23 - 43:27
    ตรงที่หลุดพ้นจากรูป นาม กาย ใจ สิ้นตัณหา
  • 43:27 - 43:29
    ตรงนั้นเป็นวิมุตติ
  • 43:29 - 43:33
    เป็นวิราคะ สิ้นความปรุงแต่ง
  • 43:33 - 43:37
    เป็นวิสังขาร ตรงนั้นเป็นพระนิพพาน
  • 43:37 - 43:42
    จะสัมผัสพระนิพพาน
  • 43:42 - 43:49
    สรุป ไปทำอย่างที่บอกนั่นล่ะ สรุปแล้ว
  • 43:49 - 43:55
    ส่งการบ้าน
  • 43:55 - 43:57
    เบอร์ 1
  • 43:57 - 43:59
    สวดมนต์ ภาวนาพุทโธ
  • 43:59 - 44:01
    สลับกับดูลมหายใจ
  • 44:01 - 44:06
    เห็นสิ่งต่างๆ ช้าลงและชัดเจนขึ้น
  • 44:06 - 44:09
    เมื่อเผลอเพ่งจะอึดอัด
  • 44:09 - 44:11
    หากใจลอยไปคิด
  • 44:11 - 44:15
    ใจไม่ชอบ จะรู้สึกเสียดที่ใจ
  • 44:15 - 44:19
    โดยรวมเห็นความเปลี่ยนแปลงและบีบคั้น
  • 44:19 - 44:20
    เห็นทุกข์มาก
  • 44:20 - 44:23
    แต่ใจไม่เป็นกลาง ไม่วาง
  • 44:23 - 44:26
    มีปกปิดแก้ไข
  • 44:26 - 44:29
    ขอหลวงปู่เมตตาชี้แนะด้วยค่ะ
  • 44:29 - 44:32
    ไม่ต้องพยายามวาง
  • 44:32 - 44:34
    การละการวางเป็นหน้าที่ของปัญญา
  • 44:34 - 44:38
    ไม่ใช่หน้าที่ของเรา
  • 44:38 - 44:39
    เรามีหน้าที่อบรมจิต
  • 44:39 - 44:43
    พาจิตเรียนรู้ความจริงของรูป นาม กาย ใจไป
  • 44:43 - 44:47
    พอปัญญาเกิดมันวางของมันเองล่ะ
  • 44:47 - 44:55
    ที่ภาวนาอยู่ดี ใช้ได้ ไปทำอีก
  • 44:55 - 45:00
    อย่าถลำลงไป ถอยขึ้นมา
  • 45:00 - 45:07
    เออ ถอยขึ้นมาอย่าจมลงไป
  • 45:07 - 45:10
    เวลาจิตมันจมแล้วก็หลง
    ไปในภพอันหนึ่งเท่านั้นล่ะ
  • 45:10 - 45:15
    เป็นภพของนักปฏิบัติ
  • 45:15 - 45:18
    ถอยออกมา เออ ดีแล้ว
  • 45:18 - 45:21
    แล้วคราวนี้ รู้กายอย่างที่กายเป็น
  • 45:21 - 45:24
    รู้ใจอย่างที่ใจเป็นด้วยจิตที่ตั้งมั่น
  • 45:24 - 45:26
    ไม่ถลำลงไป
  • 45:26 - 45:31
    จิตที่ถลำมันไม่ตั้งมั่นหรอก
  • 45:31 - 45:36
    เห็นไหมจิตมันจะไหลไปไหลมา
  • 45:36 - 45:40
    ก็เห็น ไหลก็รู้ กลับมาก็รู้ ไหลไปก็รู้
  • 45:40 - 45:42
    ดูเรื่อยๆ
  • 45:42 - 45:47
    ไปทำอีก ใช้ได้ ดี ขยันดี
  • 45:47 - 45:50
    เบอร์ 2 ดีมากๆ แล้ว จะส่งไหม
  • 45:50 - 45:56
    เบอร์ 2 ไม่ต้องทำ ไม่ต้องเก๊กท่า
  • 45:56 - 45:59
    มันดีอยู่แล้ว
  • 45:59 - 46:03
    ไม่ต้องไปดัดแปลง ดูสิ
    เลยไม่ดีแล้ว แข็งทื่อๆ ไปแล้ว
  • 46:03 - 46:08
    ถอยออกมา เออ อยู่ตรงนี้
  • 46:08 - 46:09
    เบอร์ 2
  • 46:09 - 46:11
    ยังมีโลภ โกรธ หลง
  • 46:11 - 46:13
    แต่ไม่หลงนานเหมือนก่อน
  • 46:13 - 46:14
    ดี
  • 46:14 - 46:16
    ชอบเทียบเขาเทียบเรา
  • 46:16 - 46:18
    เห็นกูเก่งได้อยู่บ่อยๆ
  • 46:18 - 46:21
    เออ นั่นล่ะดี
  • 46:21 - 46:27
    ยังติดเพ่งแต่เริ่มน้อยลง หลงอยู่บ่อยๆ
  • 46:27 - 46:30
    เริ่มทุกข์น้อยลงสั้นลง
  • 46:30 - 46:34
    เปลี่ยนเครื่องอยู่ไปเรื่อย
    เพราะยังบังคับอยู่
  • 46:34 - 46:38
    ภาวนาโดยนอนกับนั่งดูลมหายใจ
  • 46:38 - 46:40
    และพุทโธ แล้วรู้สึก
  • 46:40 - 46:45
    มันเข้าสมาธิดีขึ้น แต่ก็ยังรู้สึกว่าบังคับ
  • 46:45 - 46:47
    ขอคำแนะนำครับ
  • 46:47 - 46:52
    แรกๆ มันก็บังคับนิดหน่อย ไม่เป็นไร
  • 46:52 - 46:56
    แรกๆ จะให้พอดีเป๊ะมันจะหย่อน
  • 46:56 - 46:58
    ที่ทำอยู่ถูกแล้ว
  • 46:58 - 47:00
    อันนี้บังคับแรงไปแล้ว
  • 47:00 - 47:04
    อย่าบังคับแรงมากไป น่าเกลียด
  • 47:04 - 47:06
    บังคับพอดีๆ นิดๆ หน่อยๆ ไม่เป็นไร
  • 47:06 - 47:10
    เบอร์ 2 ภาวนาได้ดี ภาวนาเก่งมากๆ เลย
  • 47:10 - 47:16
    ใช้ได้เลย ไปทำต่อไป
  • 47:16 - 47:23
    เบอร์ 2 ตรงนี้ไม่ถูก ไปรวบจิตเข้ามาแล้ว
  • 47:23 - 47:27
    เบอร์ 3
  • 47:27 - 47:31
    หลวงพ่อให้มาดูสิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับ
  • 47:31 - 47:34
    เห็นชัดว่าจิตเป็นอนัตตา
  • 47:34 - 47:39
    เกิดขึ้นเองและก็ดับไป ทำงานของมันเอง
  • 47:39 - 47:43
    รู้สึกโลกห่างออกไปไม่มีสาระ
  • 47:43 - 47:46
    ร่างกายจะมีอาการป่วย
  • 47:46 - 47:48
    ปวดอักเสบโดยไม่มีสาเหตุ
  • 47:48 - 47:51
    ทำให้จิตเป็นทุกข์มาก
  • 47:51 - 47:55
    ใจดิ้นเพราะมีความอยากให้เป็นปกติ
  • 47:55 - 48:00
    ทั้งๆ ที่ก็รู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่เรา
  • 48:00 - 48:03
    แต่มันก็ยังยึดและทุกข์อยู่
  • 48:03 - 48:05
    ขอหลวงพ่อชี้แนะด้วยครับ
  • 48:05 - 48:07
    ก็ถูกแล้วล่ะ
  • 48:07 - 48:12
    เราเห็นว่ามันไม่ใช่เรา แต่มันยังยึดอยู่
  • 48:12 - 48:16
    ตอนที่เลิกยึดกายได้ ต้องพระอนาคามี
  • 48:16 - 48:19
    ฉะนั้นเรายึดอยู่นี่เรื่องปกติ
  • 48:19 - 48:21
    แล้วเวลาใจมันเศร้าหมอง
  • 48:21 - 48:25
    สังเกตไหมบางทีเจ็บป่วย
  • 48:25 - 48:29
    ใจมันเศร้าหมอง ไม่ต้องแก้
  • 48:29 - 48:31
    ใจเศร้าหมองเราก็เห็น
  • 48:31 - 48:35
    ความเศร้าหมองแปลกปลอมเข้ามาใจเป็นคนเห็น
  • 48:35 - 48:39
    ค่อยๆ ดูอย่างนี้ แยกๆ ไปเรื่อย
  • 48:39 - 48:43
    ดี ไปทำอีก ดีกว่าเก่าเยอะเลย
  • 48:43 - 48:48
    เบอร์ 4
  • 48:48 - 48:51
    5 เดือนก่อนเพิ่งรู้ตัวว่าเพ่ง
  • 48:51 - 48:55
    จิตแข็งและถลำไปดูความไหวกลางอก
  • 48:55 - 48:58
    เปลี่ยนกรรมฐานเป็นเดินจงกรม
  • 48:58 - 49:01
    จิตเพ่งน้อยลง
  • 49:01 - 49:06
    ปัจจุบันยังเห็นจิตเพ่งแข็งเกือบทั้งวัน
  • 49:06 - 49:10
    ในรูปแบบเพ่งมากกว่าชีวิตประจำวัน
  • 49:10 - 49:12
    ฝึกรู้สึกว่า
  • 49:12 - 49:15
    จิตมีความปรุงแต่งแข็งอยู่เนืองๆ
  • 49:15 - 49:20
    เห็นว่าจิตเพ่งเอง บังคับให้คลายไม่ได้
  • 49:20 - 49:25
    เห็นความคิด กิเลสความไหวอยู่เนืองๆ
  • 49:25 - 49:28
    ควรฝึกต่ออย่างไรครับ
  • 49:34 - 49:38
    ตรงแน่น มันก็มีเหตุคือการเพ่ง
  • 49:38 - 49:42
    การเพ่งก็มีเหตุคือโลภ
  • 49:42 - 49:45
    อยากดีอยากปฏิบัติ
  • 49:45 - 49:47
    ถ้ารู้ลงมาถึง ต้นตอของมัน
  • 49:47 - 49:49
    รู้ที่ตัวกิเลส ตัวโลภ
  • 49:49 - 49:54
    จิตไม่โลภก็ไม่มีการกระทำกรรมคือการเพ่ง
  • 49:54 - 49:57
    ก็ไม่มีวิบากคือทุกข์ คือแน่น
  • 49:57 - 50:01
    เพราะฉะนั้นเวลามันแน่นๆ ไม่ต้องแก้
  • 50:01 - 50:04
    แก้ไม่ได้ มันเป็นวิบาก
  • 50:04 - 50:10
    วิบากนี้เกิดจากการกระทำกรรมคือการเพ่ง
  • 50:10 - 50:15
    ตัวที่อยู่หลังการกระทำกรรมคือกิเลส ตัวโลภ
  • 50:15 - 50:17
    ดูเข้ามาให้เห็นตัวนี้
  • 50:17 - 50:19
    แล้วต่อไปมันเลิกเพ่งเองล่ะ
  • 50:19 - 50:21
    แล้วมาตัดต้นตอไป
  • 50:21 - 50:25
    ที่ฝึกอยู่ดี ไปทำอีก
  • 50:25 - 50:29
    เบอร์ 5 จุดอ่อนของเบอร์ 5 อย่างร้ายแรง
  • 50:29 - 50:32
    คิดมากเกินไป ฟุ้งซ่านในการคิด
  • 50:32 - 50:35
    ธรรมะเรียนไม่ได้ด้วยการคิดเอา
  • 50:35 - 50:40
    เบอร์ 5
  • 50:40 - 50:42
    เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • 50:42 - 50:45
    เห็นร่างกายเคลื่อนไหวช่วยตัวเองได้
  • 50:45 - 50:50
    อีก 2 ครั้งเห็นกายแล้วรู้สึกถึงความมืด
  • 50:50 - 50:53
    ก่อนกลับมารู้กายอีกครั้ง
  • 50:53 - 50:56
    เวลามีอะไรมากระทบอารมณ์
  • 50:56 - 50:58
    บางทีก็รู้สึก
  • 50:58 - 51:02
    บางทีจิตก็วิ่งไปควานหาว่ารู้สึกอะไร
  • 51:02 - 51:04
    เห็นความคิดเกิดเยอะ
  • 51:04 - 51:09
    ไม่แน่ใจว่าฟุ้งซ่านหรือกำลังเดินปัญญา
  • 51:09 - 51:11
    คอยรู้กายรู้ใจ
  • 51:11 - 51:15
    ยังไม่เห็นไตรลักษณ์ ไม่เห็นเกิดดับ
  • 51:15 - 51:17
    ควรปรับอย่างไรคะ
  • 51:17 - 51:22
    ยังฟุ้งซ่านอยู่ มันยังคิดไม่เลิก
  • 51:22 - 51:27
    หาทางทำอย่างไรจะดี ทำอย่างไรจะถูก
  • 51:27 - 51:32
    ทำกรรมฐานแล้วคอยรู้ทันจิตของตัวเองไป
  • 51:32 - 51:35
    จะหายใจเข้าพุทออกโธหรืออะไรก็ได้
  • 51:35 - 51:38
    จิตหนีแล้วรู้ จิตไปเพ่งแล้วรู้
  • 51:38 - 51:41
    ฝึกอย่างนี้บ่อยๆ
  • 51:41 - 51:44
    ปัญญายังไม่ต้องรีบเดิน ใจยังฟุ้งอยู่
  • 51:44 - 51:46
    เดินปัญญาไม่ได้จริง จะไปคิดเอา
  • 51:46 - 51:50
    ที่หลวงพ่อบอกว่าปัญหา
    ใหญ่คือเรื่องมันคิดเอา
  • 51:50 - 51:54
    มันยังเจือคิดอยู่
  • 51:54 - 51:57
    ฉะนั้นทำกรรมฐานอย่ารีบร้อน
  • 51:57 - 52:01
    ทำกรรมฐานไป จิตเราหลงไป รู้ทัน
  • 52:01 - 52:05
    จิตถลำลงไปนอนนิ่งๆ อยู่ รู้ทัน
  • 52:05 - 52:06
    ฝึกอย่างนี้บ่อยๆ
  • 52:06 - 52:09
    จิตจะตั้งมั่น มีกำลัง
  • 52:09 - 52:11
    คราวนี้ไม่เจตนาเจริญปัญญา
  • 52:11 - 52:14
    มันจะเจริญได้เองแล้ว
  • 52:14 - 52:17
    เพราะจิตมันชอบเจริญปัญญาอยู่แล้ว
  • 52:17 - 52:21
    มิฉะนั้นมันจะคิดเอา
  • 52:21 - 52:24
    ไม่ต้องเสียใจ
  • 52:24 - 52:29
    เสียใจ ความรู้สึกเสียใจ
    ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา
  • 52:29 - 52:34
    เป็นของถูกรู้ถูกดู ดูอย่างนี้
  • 52:34 - 52:39
    ดีล่ะที่ขยันภาวนา
  • 52:39 - 52:46
    แต่ใจมันอยากได้ อยากได้ผล ใจมันเร่าร้อน
  • 52:46 - 52:51
    แล้วมันยังเคยชิน ที่จะคิดเอา
  • 52:51 - 52:55
    มันเจือการคิดเยอะ
  • 52:55 - 52:57
    เปลี่ยนจากการเรียนรู้ด้วยการคิด
  • 52:57 - 53:02
    มารู้สึกเอา
  • 53:02 - 53:08
    เห็นไหมร่างกายหายใจอยู่
  • 53:08 - 53:10
    รู้สึกด้วยใจปกติ
  • 53:10 - 53:13
    ร่างกายหายใจออก รู้สึกด้วยใจปกติ
  • 53:13 - 53:16
    ร่างกายหายใจเข้า รู้สึกด้วยใจปกติ
  • 53:16 - 53:19
    สงบก็ช่าง ไม่สงบก็ช่าง
  • 53:19 - 53:24
    หายใจไป รู้การหายใจไปด้วยจิตใจปกติ
  • 53:24 - 53:30
    จำตัวนี้ไว้ที่หลวงพ่อบอก แล้วทำตัวนี้บ่อยๆ
  • 53:30 - 53:33
    มีเวลาเมื่อไร ทำเมื่อนั้นเลย
  • 53:33 - 53:35
    เดี๋ยวจิตจะได้มีแรงขึ้นมา
  • 53:35 - 53:38
    หลุดออกจากความคิดได้
  • 53:38 - 53:42
    เบอร์ 6
  • 53:42 - 53:47
    ระหว่างวันฝึกร่างกายเคลื่อนไหว ใจเป็นคนดู
  • 53:47 - 53:51
    เห็นความคิดเกิดดับได้เองทั้งวัน
  • 53:51 - 53:53
    เห็นความชอบ ไม่ชอบ
  • 53:53 - 53:56
    จากการปรุงแต่งความคิดนั้น
  • 53:56 - 53:59
    นั่งสมาธิเห็นร่างกายหายใจ
  • 53:59 - 54:02
    เห็นเวทนาเกิดดับเอง ไม่เที่ยง
  • 54:02 - 54:05
    สงบบ้าง ไม่สงบบ้าง
  • 54:05 - 54:09
    พยายามตามรู้อย่างที่มันเป็น
  • 54:09 - 54:11
    อยู่กับความรู้สึกของร่างกาย
  • 54:11 - 54:14
    และจิตใจที่เปลี่ยนแปลงไป
  • 54:14 - 54:17
    ขอหลวงพ่อชี้แนะการปฏิบัติค่ะ
  • 54:17 - 54:21
    ใจมันยังดิ้นรนอยู่
  • 54:21 - 54:26
    มันยังอยากดีอยากอะไร ดูออกไหมตัวนี้
  • 54:26 - 54:31
    เราเลยไม่ยอม รู้ธรรมดาๆ มันมีลุ้นด้วย
  • 54:31 - 54:33
    รู้ไปเรื่อยๆ
  • 54:33 - 54:36
    ไม่ต้องลุ้นว่าจะได้อะไรอย่างไร เมื่อไร
  • 54:36 - 54:38
    จะดี ไม่ดี
  • 54:38 - 54:42
    เราไม่ได้ฝึกเอาดี เอาสุข เอาสงบอะไรหรอก
  • 54:42 - 54:46
    เราฝึกให้เห็นความจริง
    ของร่างกายของจิตใจตัวเอง
  • 54:46 - 54:49
    ดูไปธรรมดาๆ
  • 54:49 - 54:51
    ใจมันยัง alert อยู่
  • 54:51 - 54:53
    กระตืนรือร้น อยากปฏิบัติ
  • 54:53 - 55:00
    ให้รู้ทันตัวนี้ เดี๋ยวมันเกิน
  • 55:00 - 55:05
    เบอร์ 7
  • 55:05 - 55:08
    ใช้การเจริญปัญญาในฌาน
  • 55:08 - 55:10
    เข้าไปในอรูปฌาน
  • 55:10 - 55:14
    จากฌานลำดับล่างขึ้นบน
  • 55:14 - 55:16
    ถอยจากบนลงล่าง
  • 55:16 - 55:18
    วันละครึ่งชั่วโมง
  • 55:18 - 55:23
    ไม่กล้าทำนาน กลัวจิตจะทื่อและถลำ
  • 55:23 - 55:26
    เดินจงกรมในชีวิตประจำวัน
  • 55:26 - 55:31
    หมั่นรู้ทันการได้ยิน การเห็น การคิด
  • 55:31 - 55:34
    ชอบไม่ชอบ และความอยาก
  • 55:34 - 55:39
    บางครั้งม้างกาย เผากาย ดูธาตุ 6
  • 55:39 - 55:44
    พอทำมากๆ จะเหลือตัวรู้เด่นอยู่ตัวเดียว
  • 55:44 - 55:47
    มีความคิดอยากปลีกวิเวก
  • 55:47 - 55:50
    ขอหลวงพ่อแนะนำครับ
  • 55:50 - 55:53
    ทำฌานให้หลวงพ่อดูสิ เข้าฌาน
  • 55:53 - 56:05
    ดูสิได้วสีหรือยัง
  • 56:05 - 56:10
    เก่ง ถอยออกมา
  • 56:10 - 56:14
    มีโมหะติดมานิดหนึ่ง เห็นไหม
  • 56:14 - 56:18
    ฉะนั้นเวลาเข้าฌานอย่าทิ้งสติ
  • 56:18 - 56:21
    ทิ้งสติแล้วก็มันเคลิ้มๆ ไป
  • 56:21 - 56:25
    แล้วบางทีจิตมันถอยออกมานิดหนึ่ง
  • 56:25 - 56:28
    นิมิตมันเกิดได้
  • 56:28 - 56:30
    มีสติ สติสำคัญ
  • 56:30 - 56:36
    ที่ทำอยู่ใช้ได้แต่ว่ามีสติเอาไว้
  • 56:36 - 56:40
    อย่าให้มันเคลิ้ม ลืมตัวเอง
  • 56:40 - 56:42
    มันเคลิ้มอยู่นิดเดียวล่ะ
  • 56:42 - 56:46
    มันเลยมีโมหะนิดๆ
  • 56:46 - 56:50
    รู้สึกไหม ตอนที่เราออกจากสมาธิมา
  • 56:50 - 56:54
    มันมีโมหะแทรกอยู่หน่อย
  • 56:54 - 56:58
    ค่อยๆ ฝึก ที่ทำอยู่ดีแล้ว
  • 56:58 - 57:02
    ม้างกายได้เก่ง
  • 57:02 - 57:04
    ม้างกายออกไปหมดแยกออกไปหมด
  • 57:04 - 57:09
    ก็เหลือตัวรู้ตัวเดียว
  • 57:09 - 57:10
    แล้วดูต่อไป
  • 57:10 - 57:16
    รู้ก็ไม่เที่ยง รู้ก็ไม่ใช่ตัวเรา
  • 57:16 - 57:17
    ดูให้เห็นตัวนี้
  • 57:17 - 57:22
    รู้ก็ไม่เที่ยง รู้ก็ไม่ใช่ตัวเรา
  • 57:22 - 57:26
    เบอร์ 8
  • 57:26 - 57:28
    เดินจงกรมเป็นหลัก
  • 57:28 - 57:30
    เพิ่งจะเห็นตัวรู้
  • 57:30 - 57:33
    แยกออกมาดูสภาวะชัดครั้งแรก
  • 57:33 - 57:38
    หลังๆ พอหายใจจะรู้สึกโหวงๆ กลางอก
  • 57:38 - 57:41
    เหมือนเข้าสมาธิได้ไวขึ้น
  • 57:41 - 57:43
    ชอบอุทาน “อุ๊ย”
  • 57:43 - 57:46
    เวลาเกิดสภาวะใหม่ๆ
  • 57:46 - 57:49
    ยังรู้สภาวะไม่ค่อยทัน
  • 57:49 - 57:52
    เห็นตัวไม่ได้ดั่งใจบ่อย
  • 57:52 - 57:54
    การรู้ว่ากายใจไม่ใช่เรา
  • 57:54 - 57:57
    ยังอยู่ในระดับความคิด
  • 57:57 - 57:59
    กราบขอคำแนะนำค่ะ
  • 57:59 - 58:06
    ไปทำอีกไป ทำสม่ำเสมอ ก็จะดีขึ้นๆ ล่ะ
  • 58:06 - 58:11
    วันนี้เทศน์เท่านี้ เชิญกลับบ้าน
  • 58:11 - 58:15
    พระอาคันตุกะนิมนต์ว่องไวหน่อย
  • 58:15 - 58:16
    วันนี้หลวงพ่อมีธุระ
Title:
ใช้รูปธรรมนามธรรมเป็นอารมณ์กรรมฐาน :: หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 14 ม.ค. 2567
Description:

more » « less
Video Language:
Thai
Duration:
01:00:41

Thai subtitles

Incomplete

Revisions Compare revisions