< Return to Video

รูปถ่ายของคุณฟื้นฟูประวัติศาสตร์ที่เสียไปได้อย่างไร

  • 0:01 - 0:05
    ทำไมคนเราต้องจงใจ
    ทำลายมรดกทางวัฒนธรรม
  • 0:06 - 0:08
    การกระทำนั้น
  • 0:08 - 0:11
    พวกเขาเชื่อจริง ๆ หรือ
    ว่าจะลบประวัติศาสตร์
  • 0:11 - 0:13
    หรือความทรงจำทางวัฒนธรรมของเราได้
  • 0:15 - 0:19
    ก็จริงที่เรากำลังสูญเสีย
    มรดกโลกทางวัฒนธรรมให้กับการสึกกร่อน
  • 0:19 - 0:21
    และภัยธรรมชาติ
  • 0:21 - 0:24
    แต่นั่นเป็นสิ่งที่
    รู้อยู่ว่าหลีกเลี่ยงได้ยาก
  • 0:25 - 0:29
    ผมมาในวันนี้ เพื่อจะแสดงให้พวกคุณ
    เห็นวิธีใช้รูปถ่าย
  • 0:29 - 0:31
    ภาพถ่ายของพวกคุณ
  • 0:31 - 0:34
    ในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ที่กำลังเสียไป
  • 0:34 - 0:36
    ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม
  • 0:36 - 0:38
    และความทุ่มเทของเหล่าอาสาสมัคร
  • 0:40 - 0:42
    ในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ
  • 0:42 - 0:46
    นักโบราณคดีค้นพบ
    รูปปั้นและศิลปะวัตถุหลายร้อยชิ้น
  • 0:46 - 0:48
    ที่เมืองโบราณฮาตรา
  • 0:48 - 0:49
    ทางตอนเหนือของอิรัก
  • 0:50 - 0:54
    รูปปั้นแบบเดียวกับรูปนี้
    ถูกพบแตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
  • 0:54 - 0:57
    บางรูป เศียรหรือไม่ก็แขนหายไป
  • 0:57 - 0:59
    แต่กระนั้นเสื้อผ้าที่พวกมันสวมใส่
  • 0:59 - 1:01
    และท่าทางของพวกมัน
  • 1:01 - 1:03
    ยังคงบอกเรื่องราวของมันกับเราได้
  • 1:04 - 1:05
    ยกตัวอย่างเช่น
  • 1:05 - 1:09
    เราเชื่อว่าด้วยการสวม
    เสื้อคลุมยาวครึ่งเข่า
  • 1:09 - 1:11
    และเปิดเท้าเปลือยเปล่า
  • 1:11 - 1:13
    นี่เป็นตัวแทนของนักบวช
  • 1:14 - 1:18
    อย่างไรก็ตาม ถ้าลองดู
    ตรงเฉพาะส่วนนี้ให้ดี ๆ
  • 1:18 - 1:22
    เราจะเห็นว่าเสื้อคลุมยาวที่สวมอยู่
    ได้รับการประดับประดาอย่างวิจิตร
  • 1:22 - 1:25
    ซึ่งชี้นำให้นักค้นคว้าหลายคนเชื่อว่า
  • 1:25 - 1:29
    ที่จริงแล้วนี่เป็นรูปปั้นของกษัตริย์
    กำลังทำพิธีกรรมทางศาสนาต่างหาก
  • 1:31 - 1:37
    เมื่อพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมโมซุล
    เปิดในปี 1952 ทางเหนือของอิรัก
  • 1:37 - 1:39
    รูปปั้นนี้ เช่นเดียวกับสิ่งอื่น ๆ
  • 1:39 - 1:43
    ถูกจัดแสดงไว้ที่นั่นเพื่ออนุรักษ์พวกมัน
    ไว้ให้กับลูกหลานในอนาคต
  • 1:44 - 1:48
    หลังจากการบุกเข้าไปในอิรัก
    ของกองทัพสหรัฐในปี 2003
  • 1:48 - 1:52
    รูปปั้นและศิลปะวัตถุบางชิ้น
    ถูกย้ายไปยังกรุงแบกแดด
  • 1:52 - 1:54
    แต่รูปปั้นรูปนี้ยังคงตั้งอยู่ที่นั่น
  • 1:55 - 1:59
    จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว
    มีวิดีโอถูกปล่อยออกมา
  • 1:59 - 2:02
    และมันแพร่กระจายออกไปราวกับไฟป่า
  • 2:02 - 2:04
    บางทีพวกคุณบางคน อาจจำได้ว่าเคยเห็นมัน
  • 2:04 - 2:06
    นี่เป็นคลิปสั้น ๆ
  • 2:06 - 2:13
    (วิดีโอ)(เสียงร้องเพลงภาษาอารบิก)
  • 2:32 - 2:33
    (เพลงจบลง)
  • 2:34 - 2:36
    ไม่ใช่ภาพที่น่าดูสักเท่าไหร่เลย
    ใช่ไหมครับ
  • 2:38 - 2:40
    คุณสังเกตเห็นอะไร
    คุ้น ๆ ในวิดีโอนี้ไหมครับ
  • 2:42 - 2:43
    ตรงนั้นไง
  • 2:43 - 2:46
    มีรูปปั้นรูปนั้นเอง
  • 2:46 - 2:48
    ตอนที่มันโค่นลงมา
  • 2:48 - 2:49
    แตกกระจายเป็นชิ้น ๆ
  • 2:50 - 2:53
    เมื่อแมทธิว วินเซนต์และผมได้เห็นวิดีโอนี้
  • 2:53 - 2:54
    เราตกใจมาก
  • 2:55 - 2:58
    เพราะเราเป็นนักโบราณคดี
    ที่ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม
  • 2:59 - 3:00
    ในการอนุรักษ์แบบดิจิตอล
  • 3:00 - 3:02
    ก็เลยเกิดแนวคิดหนึ่งขึ้นมา
  • 3:03 - 3:07
    บางทีเราอาจรวบรวมภาพจากผู้คน
    ที่ถ่ายรูปศิลปะวัตถุชิ้นนี้ไว้
  • 3:07 - 3:09
    ก่อนที่พวกมันจะโดนทำลาย
  • 3:09 - 3:11
    เพื่อทำการบูรณะปฏิสังขรณ์แบบดิจิตอลได้
  • 3:12 - 3:13
    ถ้าเราทำได้
  • 3:13 - 3:15
    บางที เราอาจจัดวางมัน
    ในพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
  • 3:15 - 3:17
    เพื่อเล่าเรื่องที่เกิดขึ้น
  • 3:20 - 3:24
    และหลังจากสองสัปดาห์ที่เราได้เห็นวิดีโอนี้
  • 3:24 - 3:27
    เราะเริ่มโครงการ
    ที่มีชื่อว่าโครงการโมซุลขึ้น
  • 3:28 - 3:31
    จำภาพรูปปั้นที่ผมให้ดู
    ก่อนหน้านี้ได้ไหมครับ
  • 3:31 - 3:36
    ที่จริงนี่เป็นการบูรณะมันขึ้นมาใหม่
    โดยระดมภาพถ่ายมาจากมวลชน
  • 3:36 - 3:37
    ก่อนที่มันจะโดนทำลาย
  • 3:39 - 3:41
    ตอนนี้ หลายคนคงกำลังงง
  • 3:41 - 3:43
    ว่าแล้วมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
  • 3:43 - 3:46
    กุญแจสำคัญของเทคโนโลยีนี้
    มีชื่อว่า โฟโตแกรมเมทรี
  • 3:46 - 3:49
    และมันถูกคิดค้นขึ้นที่นี่ ในเยอรมัน
  • 3:50 - 3:53
    เทคโนโลยีนี้เปิดโอกาสให้เรา
    ใช้ภาพสองมิติ
  • 3:53 - 3:56
    ที่ถ่ายจากวัตถุชิ้นเดียวกัน
    ในมุมต่าง ๆ
  • 3:56 - 3:58
    แล้วสร้างรูปทรงสามมิติขึ้นมา
  • 3:59 - 4:03
    ผมรู้คุณคงคิดว่า
    นี่มันเวทย์มนตร์ชัด ๆ แต่ เปล่าเลย
  • 4:03 - 4:05
    ผมจะให้คุณดูว่ามันทำงานอย่างไร
  • 4:05 - 4:08
    นี่เป็นภาพจากการระดมมวลชนสองภาพ
    ของรูปปั้นรูปเดียวกัน
  • 4:09 - 4:10
    สิ่งที่คอมพิวเตอร์ทำได้
  • 4:10 - 4:15
    ก็คือมันตรวจจับเค้าโครงที่คล้ายกัน
    ระหว่างทั้งสองภาพ
  • 4:15 - 4:17
    รูปพรรณสัณฐานที่คล้ายกันของวัตถุ
  • 4:18 - 4:21
    จากนั้น ด้วยการใช้ภาพจำนวนมาก
  • 4:21 - 4:24
    ในกรณีนี้ มันสามารถเริ่ม
    สร้างวัตถุขึ้นมาใหม่เป็นภาพสามมิติได้
  • 4:25 - 4:26
    ในกรณีนี้
  • 4:26 - 4:29
    คุณมีตำแหน่งของกล้อง
    ตอนที่แต่ละภาพถูกถ่ายไว้
  • 4:29 - 4:31
    แสดงให้เห็นเป็นสีน้ำเงิน
  • 4:32 - 4:36
    นี่เป็นการสร้างขึ้นใหม่แค่บางส่วน
    ผมยอมรับ
  • 4:36 - 4:37
    แต่ทำไมผมต้องบอกว่าแค่บางส่วนล่ะ
  • 4:38 - 4:42
    นั่นก็เพราะรูปปั้น
    ถูกจัดวางไว้ชิดกำแพง
  • 4:43 - 4:45
    เราไม่มีภาพถ่ายของมัน
    ที่ถ่ายจากด้านหลัง
  • 4:46 - 4:51
    ถ้าผมอยากจะทำการบูรณะปฏิสังขรณ์
    แบบดิจิตอลของรูปปั้นรูปนี้ให้สมบูรณ์
  • 4:51 - 4:53
    ผมจะต้องได้กล้องที่เหมาะสม
  • 4:53 - 4:55
    ขาตั้งกล้อง การจัดแสงที่พอดี
  • 4:55 - 4:57
    แต่เราไม่สามารถทำแบบนั้นได้
    ด้วยภาพที่ระดมมาจากมวลชน
  • 4:58 - 4:59
    ลองนึกดูสิครับ
  • 4:59 - 5:02
    จะมีสักกี่คนกัน ที่เมื่อไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์
  • 5:02 - 5:04
    แล้วถ่ายรูป
    ของรูปปั้นมาทุกส่วน
  • 5:04 - 5:05
    แม้กระทั่งด้านหลังด้วยหรือ
  • 5:06 - 5:10
    อืม บางทีพวกคุณบางคนอาจจะรู้สึกว่า
    รูปปั้นเดวิดของมิเกลันเจโลน่าสนใจ
  • 5:10 - 5:11
    ผมเดาเอาอะนะ
  • 5:11 - 5:13
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:13 - 5:15
    แต่ประเด็นก็คือว่า
  • 5:15 - 5:18
    ถ้าเราหารูปของวัตถุชิ้นนี้ได้มากขึ้น
  • 5:18 - 5:19
    เราก็สามารถปรับปรุงรูปสามมิติได้
  • 5:21 - 5:23
    เมื่อเราเริ่มทำโครงการนี้
  • 5:23 - 5:26
    เราเริ่มมันด้วยการมีภาพ
    พิพิธภัณฑ์โมซุลอยู่ในใจ
  • 5:26 - 5:27
    เราคิดว่าน่าจะได้ภาพสักสองสามภาพ
  • 5:27 - 5:28
    อาจจะมีบางคนสนใจ
  • 5:28 - 5:31
    ที่จะทำการบูรณะเสมือนสักชิ้นสองชิ้น
  • 5:31 - 5:36
    แต่เราไม่รู้เลยว่าเราได้จุดประกาย
    บางอย่างที่จะลุกลามไปอย่างรวดเร็ว
  • 5:36 - 5:38
    ก่อนที่จะทันรู้ตัว
  • 5:38 - 5:40
    เราก็รู้สึกว่าเห็นได้ชัดว่า
  • 5:40 - 5:44
    เราสามารถเอาแนวคิดเดียวกันนี้
    ไปใช้กับมรดกที่สูญหายไปที่ไหนก็ได้
  • 5:45 - 5:49
    ดังนั้น เราเลยตัดสินใจว่าจะเปลี่ยน
    ชื่อโครงการเป็นเร็กครีย์
  • 5:50 - 5:53
    จากนั้น เมื่อฤดูร้อนปี่ที่แล้ว
  • 5:53 - 5:56
    ห้องปฏิบัิติการสื่อของนิตยสาร
    "เดอะอิโคโนมิสต์" ก็มาหาเรา
  • 5:57 - 5:58
    พวกเขาถามเราว่า
  • 5:58 - 6:01
    "เฮ้ คุณอยากให้เรา
    สร้างพิพิธภัณฑ์เสมือน
  • 6:01 - 6:03
    เพื่อเอาสิ่งที่บูรณะใส่กลับเข้าไปในนั้น
  • 6:03 - 6:04
    เพื่อบอกเล่าเรื่องราวไหม"
  • 6:04 - 6:06
    คุณคงนึกภาพเราปฏิเสธไม่ออก ใช่ไหมล่ะ
  • 6:06 - 6:07
    แน่นอนว่าเราไม่ปฏิเสธ
  • 6:07 - 6:08
    เราบอกว่า ได้เลย!
  • 6:08 - 6:10
    เราตื่นเต้นกันมาก
  • 6:10 - 6:13
    มันเป็นไปตามความฝันแต่เดิม
    ของโครงการนี้เป๊ะ
  • 6:14 - 6:15
    และในตอนนี้
  • 6:15 - 6:18
    พวกคุณทุกคนสามารถเข้าไปดู
    รีคัฟเวอร์โมซุลได้จากในโทรศัพท์ของคุณ
  • 6:19 - 6:20
    โดยใช้แว่นกระดาษแข็งกูเกิ้ล
  • 6:20 - 6:22
    หรือแท็บเล็ต หรือแม้กระทั่งยูทูบ 360
  • 6:23 - 6:26
    นี่เป็นภาพตัวอย่าง
    จากพิพิธภัณฑ์เสมือนที่ว่า
  • 6:27 - 6:28
    และตรงนี้มี
  • 6:28 - 6:31
    การบูรณะปฏิสังขรณ์ส่วนหนึ่งของรูปปั้น
  • 6:31 - 6:34
    เช่นเดียวกันกับราชสีห์แห่งโมซุล
  • 6:34 - 6:36
    การบูรณะชิ้นแรกที่เสร็จสมบูรณ์
    ในโครงการของเรา
  • 6:38 - 6:42
    ถึงแม้ว่าวิดีโอจะไม่ได้แสดงให้เห็นชัด ๆ
    ตอนที่ราชสีห์แห่งโมซุลโดนทำลาย
  • 6:42 - 6:46
    แต่เรามีตัวอย่างของศิลปะวัตถุ
    ขนาดใหญ่อื่น ๆ อีกมากที่ถูกทำลาย
  • 6:47 - 6:50
    เพียงเพราะว่ามันใหญ่เกินไปที่จะโจรกรรม
  • 6:50 - 6:52
    ยกตัวอย่างเช่น
  • 6:52 - 6:54
    ประตูเมืองนิมรุด ในอิรักตอนเหนือ
  • 6:55 - 6:58
    นี่เป็นการบูรณะทางดิจิตอล
    จากก่อนหน้านี้
  • 6:58 - 7:01
    และนี่เป็นภาพในช่วง
    ตอนที่มันโดนทำลายจริง ๆ
  • 7:01 - 7:05
    หรือราชสีห์แห่งอัล-ลัต
    ในเมืองแพลไมรา ประเทศซีเรีย
  • 7:05 - 7:06
    ก่อน
  • 7:07 - 7:08
    และหลัง
  • 7:10 - 7:13
    ถึงแม้ว่าการบูรณะเสมือน
    โดยพื้นฐานจะเป็นเจตนาหลัก
  • 7:13 - 7:14
    ของโครงการเรา
  • 7:14 - 7:16
    มีบางคนตั้งคำถาม
  • 7:17 - 7:20
    เราจะ พิมพ์มัน ออกมาเป็นสามมิติได้ไหม?
  • 7:21 - 7:25
    เราเชื่อว่าการพิมพ์สามมิติ
    ไม่ได้ให้ทางออกที่ตรงไปตรงมานัก
  • 7:25 - 7:26
    กับมรดกโลกที่เสียไป
  • 7:26 - 7:28
    เมื่อวัตถุถูกทำลาย
  • 7:28 - 7:29
    มันก็เสียไปแล้ว
  • 7:30 - 7:35
    แต่การพิมพ์สามมิติจะมอบ
    สิ่งที่เสริมในการเล่าเรื่องราวนั้นได้
  • 7:36 - 7:38
    ยกตัวอย่างเช่น ผมให้คุณดูตรงนี้ได้
  • 7:42 - 7:45
    นี่เป็นรูปปั้นจากฮาตรา
  • 7:45 - 7:46
    และราชสีห์แห่งโมซุล
  • 7:46 - 7:53
    (เสียงปรบมือ)
  • 7:54 - 7:55
    ขอบคุณครับ
  • 7:55 - 7:57
    ทีนี ถ้าคุณลองมองให้ดี ๆ
  • 7:57 - 8:01
    คุณจะสังเกตเห็นว่า
    มีบางส่วนที่พิมพ์เป็นสี
  • 8:01 - 8:04
    และบางส่วนที่เป็นสีขาวหรือสีเทา
  • 8:05 - 8:09
    ส่วนนี้เติมเข้ามา
    เพียงเพื่อจะพยุงรูปปั้นให้ตั้งขึ้น
  • 8:09 - 8:11
    เป็นวิธีเดียวกัน
    ถ้าคุณไปพิพิธภัณฑ์
  • 8:11 - 8:14
    และรูปปั้นถูกพบแตกหัก
  • 8:14 - 8:16
    มันได้รับการประกอบเข้าด้วยกัน
    เพื่อให้คนดูมันได้
  • 8:16 - 8:17
    เข้าท่าใช่ไหมครับ
  • 8:19 - 8:20
    อย่างไรก็ตาม เราสนใจมากกว่า
  • 8:20 - 8:24
    กับสิ่งที่ความเป็นจริงเสมือน
    จะทำให้กับมรดกโลกที่เสียไปได้
  • 8:24 - 8:27
    นี่เป็นตัวอย่าง
    ของหนึ่งในหอคอยสุสาน
  • 8:27 - 8:29
    ซึ่งถูกทำลายในแพลไมรา
  • 8:29 - 8:31
    ด้วยการใช้โปรแกรม
    ดูภาพออนไลน์สเก็ตช์แฟ็บ
  • 8:31 - 8:36
    เราแสดงให้เห็นได้ว่า เราได้บูรณะ
    ภายนอกสุสานไปแล้วสามส่วน
  • 8:37 - 8:38
    แต่เรายังมีภาพภายในอีกจำนวนหนึ่ง
  • 8:38 - 8:41
    ดังนั้นเราจึงเริ่มทำการบูรณะผนัง
  • 8:41 - 8:42
    และเพดาน
  • 8:43 - 8:46
    นักโบราณคดีทำงานที่นั่น
    เป็นเวลาหลาย หลายปี
  • 8:46 - 8:51
    ดังนั้นเราจึงมีแผนผังภาพวาดทาง
    สถาปัตยกรรมของมรดกโลกที่เสียไปนี้อีกด้วย
  • 8:52 - 8:59
    โชคร้าย ที่เราไม่เพียงสูญเสีย
    มรดกทางวัฒนธรรมให้กับพื้นที่ขัดแย้ง
  • 8:59 - 9:00
    และสงคราม
  • 9:00 - 9:02
    เรายังสูญเสียมันไปกับภัยธรรมชาติอีกด้วย
  • 9:03 - 9:07
    นี่เป็นรูปสามมิติของ
    จตุรัสดูร์บาร์ในเมืองกาฐมาณฑุ
  • 9:07 - 9:09
    ก่อนแผ่นดินไหว
    ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว
  • 9:10 - 9:12
    และนี่คือหลังจากนั้น
  • 9:13 - 9:14
    ที่นี้ คุณอาจกำลังคิดว่า
  • 9:14 - 9:18
    คุณไม่ได้สร้างภาพสามมิติเหล่านี้ออกมาได้
    โดยใช้แค่ภาพของนักท่องเที่ยวหรอก
  • 9:18 - 9:19
    และนั่นก็จริง
  • 9:19 - 9:21
    แต่เรื่องที่สิ่งนี้แสดงให้เห็น
  • 9:21 - 9:25
    ก็คือความสามารถที่จะนำองค์กรสาธารณะ
    ขนาดใหญ่ และอุตสาหกรรมเอกชน
  • 9:25 - 9:28
    เข้ามาร่วมมือกันเพื่อสนับสนุน
    ความคิดสร้างสรรค์ เช่น โครงการเรา เป็นต้น
  • 9:30 - 9:33
    และหนึ่งในความท้าทายหลัก
    ของโครงการเราที่จริงก็คือ
  • 9:33 - 9:37
    การหาภาพที่ถูกถ่าย
    ก่อนที่บางอย่างจะเกิดขึ้น ใช่ไหมครับ?
  • 9:38 - 9:44
    อินเทอร์เน็ตโดยพื้นฐานเป็นฐานข้อมูล
    ที่มีภาพเป็นล้าน ๆ ภาพ ใช่ไหมครับ
  • 9:44 - 9:45
    แบบนั้นเลย
  • 9:45 - 9:48
    เราจึงเริ่มพัฒนาเครื่องมือ
  • 9:49 - 9:52
    ที่อนุญาตให้เราคัดภาพออกมา
    จากเว็บไซต์ เช่น ฟลิ๊กเกอร์ เป็นต้น
  • 9:52 - 9:54
    ตามจีโอแท็กของพวกมัน
  • 9:54 - 9:56
    เพื่อเติมการบูรณะให้สมบูรณ์
  • 9:56 - 10:03
    เพราะไม่เพียงสูญเสียมรดกทางวัฒนธรรม
    ไปกับภัยธรรมชาติและสงครามเท่านั้น
  • 10:03 - 10:06
    แต่เรายังสูญเสียมัน
    ไปกับอย่างอื่นอีกด้วย
  • 10:08 - 10:10
    นึกอะไรออกไหมครับ
    ถ้าให้คุณดูแค่สองภาพนี้
  • 10:12 - 10:14
    บางที มันอาจจะจำยากสักหน่อย
  • 10:14 - 10:17
    แต่แค่เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน
  • 10:17 - 10:21
    นี่เป็นตัวอย่างของการทำลายมนุษย์
    จากความโง่เง่าของมนุษย์ด้วยกัน
  • 10:22 - 10:27
    เพราะนักท่องเที่ยวในกรุงลิสบอน
    ต้องการปีนขึ้นไปบนรูปปั้นนี้
  • 10:27 - 10:29
    และถ่ายรูปตัวเองคู่กับมัน
  • 10:29 - 10:30
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:30 - 10:31
    แล้วก็เลยดึงมันลงมาด้วยกัน
  • 10:32 - 10:34
    แต่เราได้หาภาพถ่ายเอาไว้ก่อนหน้านี้
  • 10:34 - 10:36
    เพื่อที่จะทำให้การบูรณะ
    ทางดิจิตอลของสิ่งนี้สมบูรณ์
  • 10:37 - 10:38
    เราต้องจำให้ได้
  • 10:38 - 10:43
    ว่าการทำลายมรดกทางวัฒนธรรม
    ไม่ได้เป็นแค่ปรากฎการณ์ที่เพิ่งเกิด
  • 10:44 - 10:45
    ในศตวรรษที่ 16
  • 10:45 - 10:51
    พระและนักสำรวจชาวยุโรปเผาหนังสือ
    อารยธรรมมายาหลายพันเล่มในอเมริกา
  • 10:52 - 10:54
    ซึ่งเหลือรอดถึงเราแค่หยิบมือเท่านั้น
  • 10:55 - 10:57
    เร่งความเร็วมาที่ปี 2001
  • 10:57 - 11:01
    เมื่อพวกฏอลิบานระเบิด
    พระพุทธรูปแห่งบามียานในอัฟกานิสถานทิ้ง
  • 11:02 - 11:03
    เห็นไหมครับ
  • 11:04 - 11:08
    มรดกทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องของ
    ประวัติศาสตร์โลกร่วมกันของพวกเรา
  • 11:09 - 11:13
    มันช่วยให้เราได้เชื่อมต่อ
    กับบรรพบุรุษและเรื่องราวของพวกเขา
  • 11:13 - 11:17
    แต่เรากำลังสูญเสียหลายส่วนไป
    ทุก ๆ วันกับภัยธรรมชาติ
  • 11:17 - 11:19
    และในพื้นที่ขัดแย้ง
  • 11:20 - 11:25
    แน่นอนว่า การสูญเสียชีวิตคน
    เป็นความสูญเสียที่น่าใจหายที่สุด
  • 11:26 - 11:32
    แต่มรดกทางวัฒนธรรมมอบโอกาสให้เรา
    ได้อนุรักษ์ความทรงจำของผู้คน
  • 11:32 - 11:33
    เพื่อคนรุ่นต่อไปในอนาคต
  • 11:34 - 11:38
    เราต้องการความช่วยเหลือของคุณ
    ในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ที่เสียไปนี้
  • 11:39 - 11:41
    คุณจะร่วมมือกับเราไหมครับ
  • 11:41 - 11:44
    (เสียงปรบมือ)
Title:
รูปถ่ายของคุณฟื้นฟูประวัติศาสตร์ที่เสียไปได้อย่างไร
Speaker:
แชนซ์ คัฟเฟนอร์ (Chance Coughenour)
Description:

นักโบราณคดีดิจิตอล แชนซ์ คัฟเฟนอร์ กำลังใช้ภาพถ่าย -- ภาพถ่ายของคุณ -- ในการฟื้นฟูโบราณวัตถุที่สูญเสียไปกับความขัดแย้งและภัยพิบัติ หลังจากการระดมมวลชนเพื่อให้ได้ภาพถ่ายของอนุสาวรีย์ พิพิธภัณฑ์ และศิลปะวัตถุที่ถูกทำลายมา คัฟเฟนอร์ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่มีชื่อว่า โฟโตแกรมเมทรี ในการทำการบูรณะปฏิสังขรณ์แบบสามมิติ ซึ่งอนุรักษ์ความทรงจำของมรดกโลกของมนุษย์ ขอเชิญคุณหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่คุณจะช่วยป่าวประกาศ และปกป้องประวัติศาสตร์ที่กำลังเสียไปได้ในการบรรยายครั้งนี้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:57

Thai subtitles

Revisions