ทำไมคนเราต้องจงใจ
ทำลายมรดกทางวัฒนธรรม
การกระทำนั้น
พวกเขาเชื่อจริง ๆ หรือ
ว่าจะลบประวัติศาสตร์
หรือความทรงจำทางวัฒนธรรมของเราได้
ก็จริงที่เรากำลังสูญเสีย
มรดกโลกทางวัฒนธรรมให้กับการสึกกร่อน
และภัยธรรมชาติ
แต่นั่นเป็นสิ่งที่
รู้อยู่ว่าหลีกเลี่ยงได้ยาก
ผมมาในวันนี้ เพื่อจะแสดงให้พวกคุณ
เห็นวิธีใช้รูปถ่าย
ภาพถ่ายของพวกคุณ
ในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ที่กำลังเสียไป
ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม
และความทุ่มเทของเหล่าอาสาสมัคร
ในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ
นักโบราณคดีค้นพบ
รูปปั้นและศิลปะวัตถุหลายร้อยชิ้น
ที่เมืองโบราณฮาตรา
ทางตอนเหนือของอิรัก
รูปปั้นแบบเดียวกับรูปนี้
ถูกพบแตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
บางรูป เศียรหรือไม่ก็แขนหายไป
แต่กระนั้นเสื้อผ้าที่พวกมันสวมใส่
และท่าทางของพวกมัน
ยังคงบอกเรื่องราวของมันกับเราได้
ยกตัวอย่างเช่น
เราเชื่อว่าด้วยการสวม
เสื้อคลุมยาวครึ่งเข่า
และเปิดเท้าเปลือยเปล่า
นี่เป็นตัวแทนของนักบวช
อย่างไรก็ตาม ถ้าลองดู
ตรงเฉพาะส่วนนี้ให้ดี ๆ
เราจะเห็นว่าเสื้อคลุมยาวที่สวมอยู่
ได้รับการประดับประดาอย่างวิจิตร
ซึ่งชี้นำให้นักค้นคว้าหลายคนเชื่อว่า
ที่จริงแล้วนี่เป็นรูปปั้นของกษัตริย์
กำลังทำพิธีกรรมทางศาสนาต่างหาก
เมื่อพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมโมซุล
เปิดในปี 1952 ทางเหนือของอิรัก
รูปปั้นนี้ เช่นเดียวกับสิ่งอื่น ๆ
ถูกจัดแสดงไว้ที่นั่นเพื่ออนุรักษ์พวกมัน
ไว้ให้กับลูกหลานในอนาคต
หลังจากการบุกเข้าไปในอิรัก
ของกองทัพสหรัฐในปี 2003
รูปปั้นและศิลปะวัตถุบางชิ้น
ถูกย้ายไปยังกรุงแบกแดด
แต่รูปปั้นรูปนี้ยังคงตั้งอยู่ที่นั่น
จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว
มีวิดีโอถูกปล่อยออกมา
และมันแพร่กระจายออกไปราวกับไฟป่า
บางทีพวกคุณบางคน อาจจำได้ว่าเคยเห็นมัน
นี่เป็นคลิปสั้น ๆ
(วิดีโอ)(เสียงร้องเพลงภาษาอารบิก)
(เพลงจบลง)
ไม่ใช่ภาพที่น่าดูสักเท่าไหร่เลย
ใช่ไหมครับ
คุณสังเกตเห็นอะไร
คุ้น ๆ ในวิดีโอนี้ไหมครับ
ตรงนั้นไง
มีรูปปั้นรูปนั้นเอง
ตอนที่มันโค่นลงมา
แตกกระจายเป็นชิ้น ๆ
เมื่อแมทธิว วินเซนต์และผมได้เห็นวิดีโอนี้
เราตกใจมาก
เพราะเราเป็นนักโบราณคดี
ที่ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม
ในการอนุรักษ์แบบดิจิตอล
ก็เลยเกิดแนวคิดหนึ่งขึ้นมา
บางทีเราอาจรวบรวมภาพจากผู้คน
ที่ถ่ายรูปศิลปะวัตถุชิ้นนี้ไว้
ก่อนที่พวกมันจะโดนทำลาย
เพื่อทำการบูรณะปฏิสังขรณ์แบบดิจิตอลได้
ถ้าเราทำได้
บางที เราอาจจัดวางมัน
ในพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
เพื่อเล่าเรื่องที่เกิดขึ้น
และหลังจากสองสัปดาห์ที่เราได้เห็นวิดีโอนี้
เราะเริ่มโครงการ
ที่มีชื่อว่าโครงการโมซุลขึ้น
จำภาพรูปปั้นที่ผมให้ดู
ก่อนหน้านี้ได้ไหมครับ
ที่จริงนี่เป็นการบูรณะมันขึ้นมาใหม่
โดยระดมภาพถ่ายมาจากมวลชน
ก่อนที่มันจะโดนทำลาย
ตอนนี้ หลายคนคงกำลังงง
ว่าแล้วมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
กุญแจสำคัญของเทคโนโลยีนี้
มีชื่อว่า โฟโตแกรมเมทรี
และมันถูกคิดค้นขึ้นที่นี่ ในเยอรมัน
เทคโนโลยีนี้เปิดโอกาสให้เรา
ใช้ภาพสองมิติ
ที่ถ่ายจากวัตถุชิ้นเดียวกัน
ในมุมต่าง ๆ
แล้วสร้างรูปทรงสามมิติขึ้นมา
ผมรู้คุณคงคิดว่า
นี่มันเวทย์มนตร์ชัด ๆ แต่ เปล่าเลย
ผมจะให้คุณดูว่ามันทำงานอย่างไร
นี่เป็นภาพจากการระดมมวลชนสองภาพ
ของรูปปั้นรูปเดียวกัน
สิ่งที่คอมพิวเตอร์ทำได้
ก็คือมันตรวจจับเค้าโครงที่คล้ายกัน
ระหว่างทั้งสองภาพ
รูปพรรณสัณฐานที่คล้ายกันของวัตถุ
จากนั้น ด้วยการใช้ภาพจำนวนมาก
ในกรณีนี้ มันสามารถเริ่ม
สร้างวัตถุขึ้นมาใหม่เป็นภาพสามมิติได้
ในกรณีนี้
คุณมีตำแหน่งของกล้อง
ตอนที่แต่ละภาพถูกถ่ายไว้
แสดงให้เห็นเป็นสีน้ำเงิน
นี่เป็นการสร้างขึ้นใหม่แค่บางส่วน
ผมยอมรับ
แต่ทำไมผมต้องบอกว่าแค่บางส่วนล่ะ
นั่นก็เพราะรูปปั้น
ถูกจัดวางไว้ชิดกำแพง
เราไม่มีภาพถ่ายของมัน
ที่ถ่ายจากด้านหลัง
ถ้าผมอยากจะทำการบูรณะปฏิสังขรณ์
แบบดิจิตอลของรูปปั้นรูปนี้ให้สมบูรณ์
ผมจะต้องได้กล้องที่เหมาะสม
ขาตั้งกล้อง การจัดแสงที่พอดี
แต่เราไม่สามารถทำแบบนั้นได้
ด้วยภาพที่ระดมมาจากมวลชน
ลองนึกดูสิครับ
จะมีสักกี่คนกัน ที่เมื่อไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์
แล้วถ่ายรูป
ของรูปปั้นมาทุกส่วน
แม้กระทั่งด้านหลังด้วยหรือ
อืม บางทีพวกคุณบางคนอาจจะรู้สึกว่า
รูปปั้นเดวิดของมิเกลันเจโลน่าสนใจ
ผมเดาเอาอะนะ
(เสียงหัวเราะ)
แต่ประเด็นก็คือว่า
ถ้าเราหารูปของวัตถุชิ้นนี้ได้มากขึ้น
เราก็สามารถปรับปรุงรูปสามมิติได้
เมื่อเราเริ่มทำโครงการนี้
เราเริ่มมันด้วยการมีภาพ
พิพิธภัณฑ์โมซุลอยู่ในใจ
เราคิดว่าน่าจะได้ภาพสักสองสามภาพ
อาจจะมีบางคนสนใจ
ที่จะทำการบูรณะเสมือนสักชิ้นสองชิ้น
แต่เราไม่รู้เลยว่าเราได้จุดประกาย
บางอย่างที่จะลุกลามไปอย่างรวดเร็ว
ก่อนที่จะทันรู้ตัว
เราก็รู้สึกว่าเห็นได้ชัดว่า
เราสามารถเอาแนวคิดเดียวกันนี้
ไปใช้กับมรดกที่สูญหายไปที่ไหนก็ได้
ดังนั้น เราเลยตัดสินใจว่าจะเปลี่ยน
ชื่อโครงการเป็นเร็กครีย์
จากนั้น เมื่อฤดูร้อนปี่ที่แล้ว
ห้องปฏิบัิติการสื่อของนิตยสาร
"เดอะอิโคโนมิสต์" ก็มาหาเรา
พวกเขาถามเราว่า
"เฮ้ คุณอยากให้เรา
สร้างพิพิธภัณฑ์เสมือน
เพื่อเอาสิ่งที่บูรณะใส่กลับเข้าไปในนั้น
เพื่อบอกเล่าเรื่องราวไหม"
คุณคงนึกภาพเราปฏิเสธไม่ออก ใช่ไหมล่ะ
แน่นอนว่าเราไม่ปฏิเสธ
เราบอกว่า ได้เลย!
เราตื่นเต้นกันมาก
มันเป็นไปตามความฝันแต่เดิม
ของโครงการนี้เป๊ะ
และในตอนนี้
พวกคุณทุกคนสามารถเข้าไปดู
รีคัฟเวอร์โมซุลได้จากในโทรศัพท์ของคุณ
โดยใช้แว่นกระดาษแข็งกูเกิ้ล
หรือแท็บเล็ต หรือแม้กระทั่งยูทูบ 360
นี่เป็นภาพตัวอย่าง
จากพิพิธภัณฑ์เสมือนที่ว่า
และตรงนี้มี
การบูรณะปฏิสังขรณ์ส่วนหนึ่งของรูปปั้น
เช่นเดียวกันกับราชสีห์แห่งโมซุล
การบูรณะชิ้นแรกที่เสร็จสมบูรณ์
ในโครงการของเรา
ถึงแม้ว่าวิดีโอจะไม่ได้แสดงให้เห็นชัด ๆ
ตอนที่ราชสีห์แห่งโมซุลโดนทำลาย
แต่เรามีตัวอย่างของศิลปะวัตถุ
ขนาดใหญ่อื่น ๆ อีกมากที่ถูกทำลาย
เพียงเพราะว่ามันใหญ่เกินไปที่จะโจรกรรม
ยกตัวอย่างเช่น
ประตูเมืองนิมรุด ในอิรักตอนเหนือ
นี่เป็นการบูรณะทางดิจิตอล
จากก่อนหน้านี้
และนี่เป็นภาพในช่วง
ตอนที่มันโดนทำลายจริง ๆ
หรือราชสีห์แห่งอัล-ลัต
ในเมืองแพลไมรา ประเทศซีเรีย
ก่อน
และหลัง
ถึงแม้ว่าการบูรณะเสมือน
โดยพื้นฐานจะเป็นเจตนาหลัก
ของโครงการเรา
มีบางคนตั้งคำถาม
เราจะ พิมพ์มัน ออกมาเป็นสามมิติได้ไหม?
เราเชื่อว่าการพิมพ์สามมิติ
ไม่ได้ให้ทางออกที่ตรงไปตรงมานัก
กับมรดกโลกที่เสียไป
เมื่อวัตถุถูกทำลาย
มันก็เสียไปแล้ว
แต่การพิมพ์สามมิติจะมอบ
สิ่งที่เสริมในการเล่าเรื่องราวนั้นได้
ยกตัวอย่างเช่น ผมให้คุณดูตรงนี้ได้
นี่เป็นรูปปั้นจากฮาตรา
และราชสีห์แห่งโมซุล
(เสียงปรบมือ)
ขอบคุณครับ
ทีนี ถ้าคุณลองมองให้ดี ๆ
คุณจะสังเกตเห็นว่า
มีบางส่วนที่พิมพ์เป็นสี
และบางส่วนที่เป็นสีขาวหรือสีเทา
ส่วนนี้เติมเข้ามา
เพียงเพื่อจะพยุงรูปปั้นให้ตั้งขึ้น
เป็นวิธีเดียวกัน
ถ้าคุณไปพิพิธภัณฑ์
และรูปปั้นถูกพบแตกหัก
มันได้รับการประกอบเข้าด้วยกัน
เพื่อให้คนดูมันได้
เข้าท่าใช่ไหมครับ
อย่างไรก็ตาม เราสนใจมากกว่า
กับสิ่งที่ความเป็นจริงเสมือน
จะทำให้กับมรดกโลกที่เสียไปได้
นี่เป็นตัวอย่าง
ของหนึ่งในหอคอยสุสาน
ซึ่งถูกทำลายในแพลไมรา
ด้วยการใช้โปรแกรม
ดูภาพออนไลน์สเก็ตช์แฟ็บ
เราแสดงให้เห็นได้ว่า เราได้บูรณะ
ภายนอกสุสานไปแล้วสามส่วน
แต่เรายังมีภาพภายในอีกจำนวนหนึ่ง
ดังนั้นเราจึงเริ่มทำการบูรณะผนัง
และเพดาน
นักโบราณคดีทำงานที่นั่น
เป็นเวลาหลาย หลายปี
ดังนั้นเราจึงมีแผนผังภาพวาดทาง
สถาปัตยกรรมของมรดกโลกที่เสียไปนี้อีกด้วย
โชคร้าย ที่เราไม่เพียงสูญเสีย
มรดกทางวัฒนธรรมให้กับพื้นที่ขัดแย้ง
และสงคราม
เรายังสูญเสียมันไปกับภัยธรรมชาติอีกด้วย
นี่เป็นรูปสามมิติของ
จตุรัสดูร์บาร์ในเมืองกาฐมาณฑุ
ก่อนแผ่นดินไหว
ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว
และนี่คือหลังจากนั้น
ที่นี้ คุณอาจกำลังคิดว่า
คุณไม่ได้สร้างภาพสามมิติเหล่านี้ออกมาได้
โดยใช้แค่ภาพของนักท่องเที่ยวหรอก
และนั่นก็จริง
แต่เรื่องที่สิ่งนี้แสดงให้เห็น
ก็คือความสามารถที่จะนำองค์กรสาธารณะ
ขนาดใหญ่ และอุตสาหกรรมเอกชน
เข้ามาร่วมมือกันเพื่อสนับสนุน
ความคิดสร้างสรรค์ เช่น โครงการเรา เป็นต้น
และหนึ่งในความท้าทายหลัก
ของโครงการเราที่จริงก็คือ
การหาภาพที่ถูกถ่าย
ก่อนที่บางอย่างจะเกิดขึ้น ใช่ไหมครับ?
อินเทอร์เน็ตโดยพื้นฐานเป็นฐานข้อมูล
ที่มีภาพเป็นล้าน ๆ ภาพ ใช่ไหมครับ
แบบนั้นเลย
เราจึงเริ่มพัฒนาเครื่องมือ
ที่อนุญาตให้เราคัดภาพออกมา
จากเว็บไซต์ เช่น ฟลิ๊กเกอร์ เป็นต้น
ตามจีโอแท็กของพวกมัน
เพื่อเติมการบูรณะให้สมบูรณ์
เพราะไม่เพียงสูญเสียมรดกทางวัฒนธรรม
ไปกับภัยธรรมชาติและสงครามเท่านั้น
แต่เรายังสูญเสียมัน
ไปกับอย่างอื่นอีกด้วย
นึกอะไรออกไหมครับ
ถ้าให้คุณดูแค่สองภาพนี้
บางที มันอาจจะจำยากสักหน่อย
แต่แค่เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน
นี่เป็นตัวอย่างของการทำลายมนุษย์
จากความโง่เง่าของมนุษย์ด้วยกัน
เพราะนักท่องเที่ยวในกรุงลิสบอน
ต้องการปีนขึ้นไปบนรูปปั้นนี้
และถ่ายรูปตัวเองคู่กับมัน
(เสียงหัวเราะ)
แล้วก็เลยดึงมันลงมาด้วยกัน
แต่เราได้หาภาพถ่ายเอาไว้ก่อนหน้านี้
เพื่อที่จะทำให้การบูรณะ
ทางดิจิตอลของสิ่งนี้สมบูรณ์
เราต้องจำให้ได้
ว่าการทำลายมรดกทางวัฒนธรรม
ไม่ได้เป็นแค่ปรากฎการณ์ที่เพิ่งเกิด
ในศตวรรษที่ 16
พระและนักสำรวจชาวยุโรปเผาหนังสือ
อารยธรรมมายาหลายพันเล่มในอเมริกา
ซึ่งเหลือรอดถึงเราแค่หยิบมือเท่านั้น
เร่งความเร็วมาที่ปี 2001
เมื่อพวกฏอลิบานระเบิด
พระพุทธรูปแห่งบามียานในอัฟกานิสถานทิ้ง
เห็นไหมครับ
มรดกทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องของ
ประวัติศาสตร์โลกร่วมกันของพวกเรา
มันช่วยให้เราได้เชื่อมต่อ
กับบรรพบุรุษและเรื่องราวของพวกเขา
แต่เรากำลังสูญเสียหลายส่วนไป
ทุก ๆ วันกับภัยธรรมชาติ
และในพื้นที่ขัดแย้ง
แน่นอนว่า การสูญเสียชีวิตคน
เป็นความสูญเสียที่น่าใจหายที่สุด
แต่มรดกทางวัฒนธรรมมอบโอกาสให้เรา
ได้อนุรักษ์ความทรงจำของผู้คน
เพื่อคนรุ่นต่อไปในอนาคต
เราต้องการความช่วยเหลือของคุณ
ในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ที่เสียไปนี้
คุณจะร่วมมือกับเราไหมครับ
(เสียงปรบมือ)