มาทำความสะอาดขยะอวกาศที่โคจรอยู่รอบโลกกันเหอะ
-
0:01 - 0:02ชีวิตของพวกเราขึ้นอยู่กับ
-
0:02 - 0:04สิ่งที่เรามองไม่เห็น
-
0:05 - 0:07ถ้าคุณลองนึกถึงสัปดาห์ที่ผ่านมา
-
0:07 - 0:10คุณได้ดูทีวี ใช้ GPS
-
0:10 - 0:13เปิดดูพยากรณ์อากาศ
หรือแม้แต่กินข้าวหรือเปล่าคะ -
0:14 - 0:16สิ่งเหล่านี้ในชีวิตประจำวันของเรา
-
0:16 - 0:19ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
-
0:19 - 0:21ต้องพึ่งพาดาวเทียม
-
0:21 - 0:23และในขณะที่เราไม่ได้ตระหนัก
-
0:23 - 0:26ถึงบริการต่าง ๆ จากดาวเทียม
-
0:26 - 0:28มันควรได้รับความสนใจจากเรา
-
0:28 - 0:30เพราะมันกำลังทิ้งร่องรอย
ที่จะคงอยู่อย่างยาวนาน -
0:30 - 0:32ในอวกาศที่พวกมันจับจองที่อยู่
-
0:33 - 0:36ผู้คนทั่วโลกพึ่งพาปัจจัยพื้นฐาน
จากดาวเทียมทุกวัน -
0:36 - 0:40เพื่อหาข้อมูล เพื่อความบันเทิง
และเพื่อการสื่อสาร -
0:40 - 0:43มีการสังเกตการณ์ทางเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม
-
0:43 - 0:46การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบนำทาง
-
0:46 - 0:48ระบบดาวเทียมยังมีบทบาทสำคัญ
-
0:48 - 0:52ในการจัดการการเงินของเราและตลาดพลังงาน
-
0:52 - 0:54แต่ดาวเทียมที่พวกเราใช้กันอยู่
-
0:54 - 0:56ทุก ๆ วันนี้
-
0:56 - 0:57มีอายุการใช้งานที่จำกัด
-
0:57 - 0:59เชื้อเพลิงของพวกมันอาจจะหมด
-
0:59 - 1:01พวกมันอาจเสียหาย
-
1:01 - 1:05หรือไม่ก็ถึงแก่เวลา
ที่พวกมันจะถูกปลดประจำการ -
1:05 - 1:09นับจากจุดนี้ ดาวเทียมพวกนี้
จะกลายเป็นขยะอวกาศ -
1:09 - 1:11ที่เกะกะอยู่ในวงโคจร
-
1:12 - 1:15ฉันอยากให้คุณจิตนาการว่าคุณกำลังขับรถ
บนทางด่วน ในวันที่อากาศดีมาก ๆ -
1:15 - 1:17เพื่อจะไปทำธุระ
-
1:17 - 1:19คุณกำลังฟังเพลง
-
1:19 - 1:20เปิดกระจก
-
1:20 - 1:23รับลมเย็น ๆ ที่พัดผ่านผมของคุณ
-
1:23 - 1:24รู้สึกดีใช่ไหมคะ
-
1:25 - 1:27ทุกอย่างกำลังเป็นไปได้สวย
-
1:27 - 1:30จนอยู่ ๆ รถคุณก็ดับและหยุดนิ่ง
-
1:30 - 1:32อยู่กลางทางด่วน
-
1:32 - 1:35คุณไม่มีทางเลือก
นอกจากจะทิ้งรถของคุณไว้ตรงนั้น -
1:35 - 1:37บนทางด่วน
-
1:38 - 1:40บางทีคุณอาจจะโชคดีพอ
-
1:40 - 1:42ที่จะสามารถนำรถออกจากถนน
และไปจอดไว้บนไหล่ทาง -
1:42 - 1:45เพื่อที่มันจะได้ไม่กีดขวางทางจราจร
-
1:45 - 1:46เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่แล้ว
-
1:46 - 1:50รถของคุณยังมีประโยชน์
และสามารถพึ่งพามันได้ในชีวิตประจำวัน -
1:51 - 1:54ตอนนี้ มันเป็นแค่เศษเหล็กไร้ประโยชน์
-
1:54 - 1:57ที่กีดขวางเส้นทางการจราจร
-
1:58 - 2:02คุณลองนึกภาพทางด่วน
ที่มีรถเสียจอดอยู่เต็มไปหมด -
2:02 - 2:05ที่กีดขวางทางของรถคันอื่นดูสิ
-
2:05 - 2:08และนึกถึงเศษชิ้นส่วนเล็ก ๆ
ที่กระจายอยู่เต็มไปหมด -
2:08 - 2:10ถ้าเกิดการชนกันขึ้นมา
-
2:10 - 2:13เศษเล็กเศษน้อยเป็นพัน ๆ
-
2:13 - 2:15ก็จะกลายมาเป็นสิ่งกัดขวางอีก
-
2:16 - 2:19และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในธุรกิจดาวเทียม
-
2:19 - 2:21ดาวเทียมที่ไม่สามารถทำงานได้แล้ว
-
2:21 - 2:25มักจะถูกทิ้งไว้ในอวกาศเป็นเวลานาน
-
2:25 - 2:29หรือไม่ก็ถูกบังคับ
ให้ขยับไปที่อื่นเป็นการชั่วคราว -
2:29 - 2:31และยังไม่มีกฎหมายสากลในอวกาศ
-
2:31 - 2:34ที่จะมาบังคับให้พวกเรา
จัดระเบียบทำความสะอาดสิ่งเหล่านี้ -
2:35 - 2:37ดาวเทียมดวงแรกของโลก สปุตนิก 1
-
2:37 - 2:39ถูกส่งขึ้นไปอวกาศในปี ค.ศ.1957
-
2:39 - 2:43ในปีนั้น มีการพยายามส่งดาวเทียมขึ้นไป
เพียงแค่สามครั้งเท่านั้น -
2:44 - 2:47หลายปีต่อมา ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
-
2:47 - 2:50ส่งดาวเทียมหลายพันดวงขึ้นไปยังวงโคจร
-
2:50 - 2:54และความถี่ของการปล่อยดาวเทียม
ก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ในอนาคต -
2:54 - 2:57โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ถ้าคุณลองนึกถึงความเป็นไปได้ -
2:57 - 3:00ที่จะมีการปล่อยกลุ่มดาวเทียม
900 กว่าดวง ขึ้นไปพร้อม ๆ กัน -
3:02 - 3:04ทีนี้ เราปล่อยดาวเทียม
ไปยังวงโคจรที่ต่างกัน -
3:04 - 3:06ขึ้นอยู่ว่าเราต้องการใช้งานมันเพื่ออะไร
-
3:06 - 3:08หนึ่งในวงโคจรที่มีดาวเทียมมากที่สุด
-
3:08 - 3:10คือวงโคจรต่ำของโลก
-
3:10 - 3:12อาจเพื่อถ่ายภาพพื้นผิวของโลก
-
3:12 - 3:14จากความสูงประมาณ 2,000 กิโลเมตร
-
3:15 - 3:18โดยปกติแล้วดาวเทียมในวงโคจรนี้
ปะทะกับชั้นบรรยากาศตลอดเวลา -
3:18 - 3:20ทำให้วงโคจรของมันลดต่ำลงเรื่อย ๆ
-
3:20 - 3:22จนดาวเทียมนั้น
ถูกเผาไหม้หมดไปในที่สุด -
3:22 - 3:24ภายในเวลาประมาณสองทศวรรษ
-
3:24 - 3:27อีกวงโคจรที่เรานิยมส่งดาวเทียมไป
-
3:27 - 3:28คือวงโคจรค้างฟ้า
-
3:28 - 3:31ที่อยู่สูงประมาณ 35,000 กิโลเมตรจากพื้นโลก
-
3:31 - 3:35ดาวเทียมในวงโคจรนี้จะอยู่ในตำแหน่งเดิม
เหนือพื้นโลกในขณะที่โลกหมุน -
3:36 - 3:40ซึ่งทำให้เราสามารถใช้มันเพื่อการสื่อสาร
หรือส่งสัญญาณโทรทัศน์ได้ -
3:40 - 3:45ดาวเทียมในวงโคจรสูงเช่นนี้
อยู่ในตำแหน่งเดิมได้นานนับศตวรรษ -
3:46 - 3:49และมันก็มีวงโคจรที่เรียกว่า "สุสาน"
-
3:49 - 3:52ซึ่งก็คือวงโคจรสำหรับขยะอวกาศ
-
3:52 - 3:55ที่ซึ่งดาวเทียมจะถูกส่งไป
-
3:55 - 3:56เมื่อหมดอายุการใช้งาน
-
3:56 - 4:00เพื่อไม่ให้พวกมันรบกวน
วงโคจรอื่น ๆ ที่กำลังถูกใช้งาน -
4:01 - 4:05จากดาวเทียมทั้งหมด 7,000 ดวง
ที่ถูกปล่อยขึ้นไปตั้งแต่ช่วง ค.ศ.1950 -
4:05 - 4:09มีเพียงหนึ่งในเจ็ดเท่านั้น
ที่ตอนนี้ยังสามารถใช้งานได้ -
4:09 - 4:12นอกจากดาวเทียมที่ใช่ไม่ได้แล้ว
-
4:12 - 4:16ยังมีชิ้นส่วนขนาดเท่าลูกแก้วอีกหลายแสนชิ้น
-
4:16 - 4:18และชิ้นส่วนเล็ก ๆ อีกหลายล้านชิ้น
-
4:18 - 4:20ที่โคจรอยู่รอบโลกเช่นกัน
-
4:21 - 4:24ขยะอวกาศเป็นความเสี่ยงต่อภารกิจทางอวกาศ
-
4:24 - 4:28และต่อดาวเทียมที่เราใช้อยู่ทุก ๆ วัน
-
4:29 - 4:32เนื่องจากจำนวนขยะอวกาศเพิ่มขึ้นจนน่ากังวล
-
4:32 - 4:35จึงมีความพยายามทั้งในระดับชาติ
และในระดับนานาชาติ -
4:35 - 4:36ที่จะตั้งมาตรฐานทางเทคนิค
-
4:36 - 4:39เพื่อช่วยให้เราจำกัด
การเพิ่มจำนวนของขยะในอนาคต -
4:39 - 4:42ยกตัวอย่างเช่น มีคำแนะนำ
-
4:42 - 4:44สำหรับดาวเทียมที่ในวงโคจรต่ำ
-
4:44 - 4:47ว่าจะต้องถูกทำให้ออกจากวงโคจรภายใน 25 ปี
-
4:47 - 4:49แต่นั่นก็ยังเป็นระยะเวลาที่นานมาก
-
4:49 - 4:53โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับดาวเทียม
ที่ไม่ได้ใช้งานมาแล้วหลายปี -
4:53 - 4:56ยังมีคำสั่งสำหรับดาวเทียม
ในวงโคจรค้างฟ้าที่หมดอายุการใช้งานแล้ว -
4:56 - 4:59ให้ถูกย้ายไปยังวงโคจรสุสาน
-
4:59 - 5:03แต่คำแนะนำพวกนี้ไม่มีผลทางกฎหมายนานาชาติ
-
5:03 - 5:08และเป็นเพียงความเข้าใจว่า
มันจะถูกนำไปใช้ผ่านกลไกระดับชาติ -
5:08 - 5:10คำแนะนำพวกนี้ไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะยาว
-
5:10 - 5:12ไม่ได้มีการนำไปใช้ตลอดเวลา
-
5:12 - 5:15และไม่ได้มีผลกับชิ้นส่วนที่อยู่บนวงโคจรแล้ว
-
5:15 - 5:19มันมีเอาไว้เพื่อจำกัดเศษซาก
ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตเท่านั้น -
5:20 - 5:23ขยะอวกาศไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของใคร
-
5:24 - 5:27ทีนี้ อันที่จริงภูเขาเอเวอเรสต์
เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบที่น่าสนใจ -
5:27 - 5:30ถึงวิธีการใหม่ในการเข้าถึงธรรมชาติของพวกเรา
-
5:30 - 5:32ในฐานะที่มันมักจะได้รับเกียรติอันน่าฉงน
-
5:32 - 5:35ว่าเป็นกองขยะที่สูงที่สุดในโลก
-
5:36 - 5:39หลายศตวรรษหลังจากการพิชิตยอดเขา
ที่สูงที่สุดในโลกเป็นครั้งแรก -
5:39 - 5:42ขยะมากมายที่ถูกทิ้งเอาไว้โดยนักปีนเขา
-
5:42 - 5:44ก็เริ่มสร้างความหนักใจ
-
5:44 - 5:46และคุณอาจเคยอ่านข่าวว่ามีการคาดการว่า
-
5:46 - 5:48เนปาลจะลงมือปราบปรามนักปีนเขา
-
5:48 - 5:52ด้วยการบังคับใช้บทลงโทษ
และพันธะสัญญาที่เข้มงวดมากขึ้น -
5:53 - 5:55แน่นอนล่ะ เป้าหมายก็เพื่อจูงใจนักปีนเขา
-
5:55 - 5:57ให้เก็บกวาดสิ่งที่ตัวเองทำเอาไว้
-
5:57 - 6:02บางทีองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรท้องถิ่น
จะจ่ายนักปีนเขาให้เก็บขยะลงมา -
6:02 - 6:06หรือกลุ่มผู้สำรวจอาจจัดทริปอาสาทำความสะอาด
-
6:06 - 6:08แต่นั่นก็ยังทำให้นักปีนเขาหลาย ๆ คนรู้สึกว่า
-
6:08 - 6:12กลุ่มอิสระที่ทำหน้าที่เหล่านั้นควรจะเป็นตำรวจ
-
6:12 - 6:15มันไม่มีทางออกที่ง่ายและตรงไปตรงมา
-
6:15 - 6:18และแม้แต่ความพยายามที่มีจุดประสงค์ดี
ในการอนุรักษ์ -
6:18 - 6:20ก็มักจะพบกับปัญหา
-
6:20 - 6:23แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า
เราไม่ควรที่จะพยายามทำทุกวิถีทาง -
6:23 - 6:27ในการปกป้องสิ่งแวดล้อมของเรา
ที่เราต้องพึ่งพาอาศัย -
6:27 - 6:31และเช่นเดียวกับเอเวอเรสต์ สถานที่ที่ห่างไกล
และโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ -
6:31 - 6:33ของสิ่งแวดล้อมในวงโคจร
-
6:33 - 6:35ทำให้การทิ้งขยะเป็นปัญหาที่ท้าทาย
-
6:36 - 6:38แต่เราไม่สามารถที่จะทำให้มากไปกว่านี้ได้
-
6:38 - 6:42และยังทำให้กองขยะที่อยู่นอกโลกนั้น
-
6:42 - 6:44ใหญ่ขึ้นมากกว่าเดิม
-
6:45 - 6:46มันเป็นเรื่องจริงที่ว่า ในอวกาศนั้น
-
6:47 - 6:49ถ้ามีส่วนประกอบของดาวเทียมหลุดออกมา
-
6:49 - 6:52ก็เป็นการยากที่จะมีโอกาสได้รับการซ่อมแซม
-
6:52 - 6:54และมันก็ต้องใช้เงินมากด้วย
-
6:55 - 6:58แต่ถ้าเราสามารถ
ออกแบบดาวเทียมได้ชาญฉลาดกว่านี้ล่ะ -
6:58 - 7:00จะเป็นอย่างไรถ้าหากดาวเทียม
-
7:00 - 7:02ไม่ว่ามันจะถูกสร้างในประเทศใดก็ตาม
-
7:02 - 7:04จะต้องอยู่ภายใต้มาตราฐานในแนวทางเดียวกัน
-
7:04 - 7:06ในการนำกลับมาผลิตซ้ำ ซ่อมบำรุง
-
7:06 - 7:08หรือการนำออกจากวงโคจร
-
7:09 - 7:12จะเป็นอย่างไรถ้ามีกฎหมายนานาชาติ
ที่มีเขี้ยวเล็บ -
7:12 - 7:15ที่จะสามารถบังคับให้กำจัดดาวเทียม
เมื่อมันสิ้นอายุการใช้งาน -
7:15 - 7:17แทนที่จะเคลื่อนมันออกไปให้พ้นทาง
-
7:17 - 7:19ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบชั่วคราว
-
7:20 - 7:22หรือบางทีผู้ผลิตดาวเทียม
อาจต้องจ่ายเงินมัดจำ -
7:23 - 7:25เพื่อที่จะส่งดาวเทียมไปยังวงโคจร
-
7:25 - 7:27และเงินมัดจำนั้นจะได้คืนก็ต่อเมื่อ
-
7:27 - 7:30ดาวเทียมนั้นถูกกำจัดอย่างเหมาะสม
-
7:30 - 7:33หรือถ้าพวกเขาล้างโควต้าบางส่วน
ของขยะอวกาศได้ -
7:33 - 7:36หรือบางทีดาวเทียมอาจต้องมีเทคโนโลยีบนนั้น
-
7:36 - 7:38เพื่อช่วยในการเคลื่อนออกจากวงโคจร
-
7:39 - 7:41มีสัญญาณในเชิงบวกอยู่บ้าง
-
7:41 - 7:46เช่น TechDemoSat-1ของ
สหราชอาณาจักรฯ ที่ปล่อยขึ้นไปในปี ค.ศ. 2014 -
7:46 - 7:48ถูกออกแบบมาเพื่อให้มันถูกทิ้งได้
เมื่อหมดอายุการใช้งาน -
7:48 - 7:50โดยใช้ที่ลากจูงอันเล็ก ๆ
-
7:50 - 7:52มันได้ผลเนื่องจากดาวเทียมมีขนาดเล็ก
-
7:52 - 7:56แต่ดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรที่สูงกว่า
หรือใหญ่กว่า -
7:56 - 7:59หรือมีขนาดใหญ่กว่าพอ ๆ กับรถโรงเรียน
-
7:59 - 8:01จะต้องการทางเลือกอื่นในการนำไปทิ้ง
-
8:01 - 8:04ฉะนั้น คุณอาจใช้เลเซอร์พลังงานสูง
-
8:04 - 8:06หรือใช้ตาข่ายหรือโซ่ดึงมันออกมา
-
8:06 - 8:08อาจฟังดูไม่ค่อยเข้าท่าในการแก้ปัญหาระยะสั้น
-
8:09 - 8:11และสิ่งหนึ่งที่น่าจะฟังดูเข้าท่า
-
8:11 - 8:14คือแนวคิดของรถลากในวงโคจรหรือจักรกลอวกาศ
-
8:15 - 8:16ลองนึกดูสิว่าจะเป็นอย่างไรถ้าแขนกล
-
8:16 - 8:18ที่ทำงานลากจูงในอวกาศ
-
8:18 - 8:21จะซ่อมส่วนประกอบที่เสียหายของดาวเทียม
-
8:21 - 8:23ทำให้พวกมันกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
-
8:23 - 8:25หรือจะเป็นอย่างไรถ้าหากแขนกลเดียวกันนี้
-
8:25 - 8:28จะช่วยเติมเชื้อเพลิง
ให้กับส่วนขับเคลื่อนของยานอวกาศ -
8:28 - 8:30ที่พึ่งพาการขับเคลื่อนจากพลังงานเคมี
-
8:30 - 8:33เช่นเดียวกันกับคุณ
หรือผมอาจเติมเชื้อเพลิงใหักับรถของผม -
8:34 - 8:35การซ่อมแซมและบำรุงรักษาโดยหุ่นยนต์
-
8:35 - 8:39อาจช่วยยืดอายุของดาวเทียมนับร้อย
ที่โคจรอยู่รอบโลก -
8:40 - 8:43ไม่ว่าตัวทางเลือกของการนำไปทิ้ง
หรือการทำความสะอาดจะเป็นแบบใด -
8:43 - 8:46นี่ไม่ใช่เพียงปัญหาทางเทคนิค
-
8:46 - 8:51มันยังมีกฎหมายอวกาศและ
การเมืองที่ซับซ้อนที่เราจะต้องจัดการ -
8:51 - 8:55สรุปง่าย ๆ ได้ว่า เรายังไม่พบวิธีการ
ที่จะใช้อวกาศได้อย่างยั่งยืน -
8:57 - 9:00การสำรวจ การพัฒนานวัตกรรม
เพื่อเปลี่ยนวิธีที่เราใช้ชีวิตและทำงาน -
9:00 - 9:02และสิ่งที่เราทำในฐานะมนุษย์
-
9:02 - 9:03และในการสำรวจอวกาศ
-
9:03 - 9:06เรากำลังเคลื่อนไป
ไกลเกินกว่าขอบเขตของโลก -
9:06 - 9:10แต่เมื่อเราเข้าสู่ขีดความสามารถใหม่
ในนามของการเรียนรู้และนวัตกรรม -
9:10 - 9:16เราต้องจำเอาไว้ว่าภาระความรับผิดชอบ
ของเราต่อสิ่งแวดล้อมไม่ได้หายไปไหน -
9:17 - 9:21ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันความแออัด
ในวงโคจรต่ำและวงโคจรค้างฟ้า -
9:21 - 9:23และเราไม่อาจที่จะปล่อยดาวเทียมใหม่ ๆ
-
9:23 - 9:25เพื่อแทนที่ดาวเทียมที่เสียหายไปแล้วได้
-
9:25 - 9:27โดยปราศจากการทำอะไรบางอย่างก่อน
-
9:27 - 9:30เหมือนกับที่เราไม่อาจทิ้งรถพัง ๆ
-
9:30 - 9:31เอาไว้กลางทางหลวงได้
-
9:32 - 9:33ครั้งหน้าเมื่อคุณใช้โทรศัพท์
-
9:33 - 9:36ตรวจดูพยากรณ์อากาศ หรือใช้ GPS
-
9:36 - 9:40ลองคิดถึงเทคโนโลยีดาวเทียม
ที่ทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ดูสิ -
9:40 - 9:42แต่นอกจากนี้ ลองนึกถึงผลกระทบ
-
9:42 - 9:45ที่ดาวเทียมมีต่อสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ โลก
-
9:45 - 9:50และช่วยส่งต่อข้อความ
ที่ว่าพวกเราจะต้องช่วยกันลดผลกระทบ -
9:50 - 9:53วงโคจรโลกนั้นงดงามเกินคำบรรยาย
-
9:53 - 9:55และเป็นช่องทางในการสำรวจของเรา
-
9:55 - 9:58มันขึ้นอยู่กับเราที่จะรักษามันเอาไว้
-
9:59 - 10:00ขอบคุณค่ะ
-
10:00 - 10:02(เสียงปรบมือ)
- Title:
- มาทำความสะอาดขยะอวกาศที่โคจรอยู่รอบโลกกันเหอะ
- Speaker:
- นาตาลี พาเนค (Natalie Panek)
- Description:
-
ชีวิตของเราต้องพึ่งพาสิ่งที่เราไม่ทันจะสังเกต ซึ่งนั่นก็คือโครงสร้างพื้นฐานของดาวเทียมที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันสำหรับข้อมูล, ความบันเทิล, การสื่อสาร และอะไรอีกมากมาย แต่วงโคจรของโลกมีอยู่อย่างจำกัด และปัญหาของเศษซากในอวกาศกำลังแย่ลงไปเรื่อย ๆ โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเราอย่างมีนัยสำคัญ นาตาลี พาเนค ท้าให้เราลองพิจารณาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของดาวเทียมที่เราใช้กันอยู่ สิ่งแวดล้อมของวงโคจรมีความงามที่เหนือคำบรรยายและเป็นช่องทางสู่การสำรวจของเรา เธอกล่าว มันขึ้นอยู่กับเราที่จะอนุรักษ์มันเอาไว้เฉกเช่นนั้น
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 10:15
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Let's clean up the space junk orbiting Earth | ||
Rawee Ma accepted Thai subtitles for Let's clean up the space junk orbiting Earth | ||
Rawee Ma edited Thai subtitles for Let's clean up the space junk orbiting Earth | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Let's clean up the space junk orbiting Earth | ||
Rawee Ma declined Thai subtitles for Let's clean up the space junk orbiting Earth | ||
Rawee Ma edited Thai subtitles for Let's clean up the space junk orbiting Earth | ||
Rawee Ma edited Thai subtitles for Let's clean up the space junk orbiting Earth | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Let's clean up the space junk orbiting Earth |