ประสบการณ์ในช่วงแรกของชีวิตถูกบันทึกในดีเอ็นเอได้อย่างไร
-
0:01 - 0:03ทุกอย่างถือกำเนิดขึ้นมา
-
0:03 - 0:05ในบาร์มืด ๆ ในกรุงมาดริด
-
0:05 - 0:09ผมพบกับเพื่อนร่วมงานของผม
ไมเคิล มีนี จากแมคกิล -
0:09 - 0:12เราก็ดื่มเบียร์กันไปนิดหน่อย
-
0:12 - 0:14และเหมือนกับที่นักวิทยาศาสตร์ทำ ๆ กัน
-
0:14 - 0:16เขาเล่าเรื่องงานให้ผมฟัง
-
0:16 - 0:23และเขาบอกผมว่า เขาสนใจว่า
แม่หนูเลียลูกเล็ก ๆ ของมัน -
0:23 - 0:26หลังจากที่พวกมันเกิดอย่างไร
-
0:26 - 0:28และผมก็นั่งอยู่ตรงนั้นและพูดว่า
-
0:28 - 0:31"ภาษีของผมถูกผลาญไปกับเรื่อง --
-
0:31 - 0:32(เสียงหัวเราะ)
-
0:32 - 0:36สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาอะไรเนี่ยนะ"
-
0:36 - 0:38และเขาก็เริ่มบอกผมว่า
-
0:38 - 0:42หนู ก็เหมือนกับมนุษย์
-
0:42 - 0:44พวกมันเลียขนลูก ๆ ในแบบที่แตกต่างกัน
-
0:44 - 0:47แม่บางตัวเลียขนลูกมาก
-
0:47 - 0:49บางตัวก็เลียน้อย
-
0:49 - 0:52และส่วนใหญ่ก็เลียแบบกลางๆ
-
0:52 - 0:54แต่ที่น่าสนใจก็คือ
-
0:54 - 0:59เมื่อเขาติดตามลูกหนูพวกนี้
ตอนที่มันโตเต็มวัย -
0:59 - 1:03เทียบได้กับหลายปีต่อมาในช่วงชีวิตมนุษย์
นานหลังจากที่แม่ของพวกมันตายไปแล้ว -
1:03 - 1:05พวกมันกลายเป็นสัตว์ที่ไม่เหมือนเดิมเลย
-
1:05 - 1:09หนูที่ถูกแม่เลียขนและดูแลอย่างมาก
-
1:09 - 1:12การเลียขนและดูแลอย่างมากนั้น
-
1:12 - 1:14ทำให้พวกมันไม่เครียด
-
1:14 - 1:16พวกมันมีพฤติกรรมทางเพศที่ต่างออกไป
-
1:16 - 1:19พวกมันมีรูปแบบการดำเนินชีวิต
ที่แตกต่างออกไป -
1:19 - 1:26จากพวกหนู
ที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างมากจากแม่ของมัน -
1:26 - 1:29แล้วผมก็มาคิดดู
-
1:29 - 1:31นี่มันเวทย์มนต์หรือเปล่า
-
1:31 - 1:32มันเกิดขึ้นได้อย่างไร
-
1:32 - 1:35นักพันธุศาสตร์อยากให้คุณคิดว่า
-
1:35 - 1:39บางทีแม่อาจมียีน "แม่แย่ ๆ "
-
1:39 - 1:43ที่ทำให้ลูกของพวกมันมีความเครียด
-
1:43 - 1:46และจากนั้น มันก็ส่งต่อ
จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่น -
1:46 - 1:48ทั้งหมดนี้ถูกกำหนดโดยพันธุกรรม
-
1:48 - 1:52หรือมันเป็นไปได้ว่ามีอะไรอย่างอื่นเกิดขึ้น
-
1:52 - 1:55ในหนู เราสามารถตั้งคำถามนี้
และหาคำตอบได้ -
1:55 - 1:59สิ่งที่เราทำก็คือ
ทำการทดสอบการเลี้ยงดูแบบไขว้ -
1:59 - 2:04เราแยกเจ้าลูกหนูพวกนี้
ตั้งแต่ตอนที่มันเกิด -
2:04 - 2:06ไปให้แม่บุญธรรมสองกลุ่ม
-
2:06 - 2:09ไม่ใช่แม่จริง ๆ
แต่เป็นแม่ที่จะเลี้ยงดูพวกมัน -
2:09 - 2:11แม่ที่เลียขนลูกมาก
และแม่ที่เลียขนลูกน้อย -
2:11 - 2:16และคุณก็ทำในแบบตรงข้ามกัน
กับลูกหนูที่ถูกเลียน้อย -
2:16 - 2:18คำตอบที่น่าทึ่งก็คือ
-
2:18 - 2:22ไม่สำคัญเลยว่า
ยีนใดที่คุณได้มาจากแม่ -
2:22 - 2:28ไม่ใช่แม่แท้ ๆ หรอก
ที่เป็นตัวกำหนดคุณสมบัตินี้ในลูกหนู -
2:28 - 2:33แต่เป็นแม่ที่เลี้ยงดูพวกลูกหนูต่างหาก
-
2:33 - 2:36แล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร
-
2:37 - 2:39ผมเป็นนักอีพีเจเนติกส์
-
2:39 - 2:42ผมสนใจว่ายีนพวกนี้ถูกทำเครื่องหมาย
-
2:42 - 2:44โดยการใช้เครื่องหมายทางเคมีได้อย่างไร
-
2:44 - 2:49ระหว่างการพัฒนาเป็นตัวอ่อน (Embryogenesis)
ในช่วงที่พวกเราอยู่ในครรภ์มารดา -
2:49 - 2:51และตัดสินว่ายีนใดจะถูกแสดงออก
-
2:52 - 2:53ในเนื้อเยื่อใด
-
2:53 - 2:58ยีนที่แตกต่างกันถูกแสดงออกในสมอง
แทนที่จะถูกแสดงออกในตับและตา -
2:58 - 3:01และเราก็คิดว่า มันจะเป็นไปได้ไหม
-
3:01 - 3:08ที่แม่วางกฏเกณฑ์ใหม่ให้กับยีนของลูก
ในทางใดทางหนึ่ง -
3:08 - 3:09ผ่านพฤติกรรมของมัน
-
3:09 - 3:11เราใช้เวลา 10 ปี
-
3:11 - 3:15แล้วก็พบว่ามีเหตุการณ์ทางเคมีชีวภาพ
ที่ส่งต่อกันเป็นทอด ๆ -
3:15 - 3:18ซึ่งการเลียและการตกแต่งขน
การดูแลของแม่ -
3:18 - 3:21ถูกแปลเป็นสัญญาณเคมีชีวภาพ
-
3:21 - 3:24ที่จะเข้าไปยังนิวเคลียสและดีเอ็นเอ
-
3:24 - 3:26และกำหนดเกณฑ์มันให้แตกต่างออกไป
-
3:26 - 3:31เพื่อให้สัตว์พวกนี้เตรียมพร้อมสำหรับการใช้ชีวิต
-
3:31 - 3:34ชีวิตจะแร้นแค้นหรือเปล่า
-
3:34 - 3:36หรือว่าจะมีอาหารอุดมสมบูรณ์
-
3:36 - 3:38จะมีแมวและงูอยู่มากไหม
-
3:38 - 3:40หรือฉันจะอยู่ในเขตชุมชนชั้นสูง
-
3:40 - 3:43ที่ฉันก็แค่ทำตัวให้เหมาะสมดูดี
-
3:43 - 3:47แล้วฉันก็จะได้รับการยอมรับนับหน้าถือตา
-
3:47 - 3:53ตอนนี้คงนึกกันออกแล้วนะครับว่า
กระบวนการนี้มีความสำคัญขนาดไหน -
3:53 - 3:54สำหรับชีวิตของเรา
-
3:54 - 3:57เราได้รับดีเอ็นเอตกทอดมาจากบรรพบุรุษ
-
3:57 - 3:59ดีเอ็นเอนั่นเก่าแก่
-
3:59 - 4:02มันเจริญขึ้นตามวิวัฒนาการ
-
4:02 - 4:06แต่มันไม่ได้บอกเรา
ว่าหากเราเกิดในกรุงสต๊อกโฮล์ม -
4:06 - 4:10ที่ที่กลางวันยาวนานในฤดูร้อน
และสั้นในฤดูหนาว -
4:10 - 4:11หรือในเอกวาดอร์
-
4:11 - 4:15ที่ที่จำนวนชั่วโมงในตอนกลางวัน
และกลางคืนเท่ากันตลอดทั้งปี -
4:15 - 4:19และนั่นก็มีผลกระทบอย่างมาก
ต่อสรีรวิทยาของเรา -
4:19 - 4:24ฉะนั้น เราจึงเสนอว่า
บางที อะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงแรกของชีวิต -
4:24 - 4:26สัญญาณเหล่านั้นที่ส่งผ่านมาจากแม่
-
4:26 - 4:30บอกกับเด็กว่า สังคมแบบไหน
ที่พวกเขากำลังจะอาศัยอยู่ -
4:30 - 4:34มันจะแร้นแค้น
และคุณควรจะตื่นตัวและเครียด -
4:34 - 4:37หรือมันจะเป็นโลกที่เรียบง่าย
และคุณจะต้องทำตัวให้แตกต่าง -
4:37 - 4:40จะเป็นโลกที่มีแสงมากหรือน้อย
-
4:40 - 4:44จะเป็นโลกที่มีอาหารมากหรือน้อย
-
4:44 - 4:46หรือถ้าไม่มีอาหารอยู่ใกล้ ๆ
-
4:46 - 4:50คุณก็ควรที่จะพัฒนาสมอง
ให้สั่งให้กินเยอะๆ เมื่อเห็นอาหาร -
4:50 - 4:56หรือเก็บอาหารทุกหยาดหยด
ที่กินเข้าไปในรูปของไขมัน -
4:57 - 4:58นี่เป็นสิ่งที่ดี
-
4:58 - 5:00วิวัฒนาการเลือกสิ่งนี้
-
5:00 - 5:05เพื่อทำให้ดีเอ็นเอที่ไม่ยืดหยุ่นและเก่าแก่ของเรา
ทำหน้าที่แบบยืดหยุ่นได้ -
5:05 - 5:07ในสิ่งแวดล้อมใหม่
-
5:07 - 5:10แต่ในบางครั้ง บางอย่างก็เกิดผิดพลาด
-
5:11 - 5:15ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าคุณเกิดมาในครอบครัวยากจน -
5:15 - 5:18และสัญญาณบอกคุณว่า "คุณจะต้องกินไม่ยั้ง
-
5:18 - 5:21กินอาหารที่เจอเข้าไปให้เกลี้ยง"
-
5:21 - 5:23แต่ตอนนี้ มนุษย์เราและสมองของเรา
ได้มีวิวัฒนาการ -
5:23 - 5:25ได้เปลี่ยนให้วิวัฒนาการเร็วขึ้นกว่าเก่า
-
5:25 - 5:29ตอนนี้คุณใช้เงินแค่หนึ่งดอลลาร์
ก็ซื้อเบอร์เกอร์ได้ -
5:29 - 5:35ดังนั้น การเตรียมตัว
ที่เราได้มาจากแม่ของเรา -
5:35 - 5:38กลับกลายเป็นการปรับตัวที่ไม่เหมาะสม
-
5:38 - 5:43การเตรียมตัวแบบเดียวกันนี้
ที่ควรช่วยปกป้องเราจากความหิวโหยและอดอยาก -
5:43 - 5:45กำลังจะทำให้เราเป็นโรคอ้วน
-
5:45 - 5:49มีปัญหาหลอดเลือดหัวใจ
และโรคที่เกี่ยวข้องกับเมตาบอลิซึม -
5:49 - 5:52เพราะฉะนั้น แนวคิดที่ว่า
ยีนอาจถูกติดฉลากโดยประสบการณ์ของเรา -
5:52 - 5:54โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ประสบการณ์ช่วงแรก ๆ ของชีวิต -
5:54 - 5:57ทำให้ได้คำอธิบาย
ที่ทั้งเรื่องสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บ -
5:57 - 6:01สามารถใช้ร่วมกันได้
-
6:01 - 6:03แต่มันเป็นจริงแค่กับหนูหรือเปล่า
-
6:03 - 6:06ปัญหาก็คือ เราไม่สามารถ
ทำการทดสอบในมนุษย์ได้ -
6:06 - 6:10เพราะตามจริยธรรมแล้ว
เราไม่สามารถสุ่มเลือกเคราะห์กรรมให้เด็กแต่ละคนได้ -
6:10 - 6:13หากเด็กยากจนพัฒนาคุณลักษณะบางอย่าง
-
6:13 - 6:17เราไม่อาจรู้ว่ามันเกิดขึ้นเพราะความอดอยาก
-
6:17 - 6:20หรือเกิดขึ้น
เพราะคนจนมียีนที่ไม่ดีหรือเปล่า -
6:20 - 6:23ฉะนั้น นักพันธุศาสตร์
จะพยายามบอกคุณว่า คนจนนั้นจน -
6:23 - 6:25เพราะว่ายีนของพวกเขาทำให้พวกเขาจน
-
6:25 - 6:27นักอีพิเจเนติกส์จะบอกคุณว่า
-
6:27 - 6:31คนจนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี
หรือสิ่งแวดล้อมที่ยากจน -
6:31 - 6:36ซึ่งสร้างให้เกิดลักษณะปรากฏ (Phenotype)
ของความยากจนและเกิดคุณลักษณะยากจนนั้น -
6:36 - 6:42เราจึงลองไปศึกษากัน
ในญาติของเรา ซึ่งก็คือลิง -
6:42 - 6:46เพื่อนร่วมงานของผม
สตีเฟน ซุโอมี่ ได้เลี้ยงดูลิง -
6:46 - 6:47ด้วยสองวิธีการที่แตกต่างกัน
-
6:47 - 6:50สุ่มแยกลิงจากแม่
-
6:50 - 6:53เลี้ยงดูพวกมันด้วยพยาบาล
-
6:53 - 6:55และสภาวะที่ใช้แม่เทียม
-
6:55 - 6:58ฉะนั้น ลิงเหล่านี้จึงไม่มีแม่ลิง
พวกมันมีแต่พยาบาล -
6:58 - 7:03ส่วนลิงอีกพวกหนึ่งถูกเลี้ยงดู
โดยแม่ตามปกติธรรมชาติ -
7:03 - 7:08เมื่อพวกมันมีอายุมากขึ้น
มันกลายเป็นสัตว์ที่ไม่เหมือนเดิมเลย -
7:08 - 7:11ลิงที่มีแม่ ไม่ดื่มเหล้า
-
7:11 - 7:12พวกมันไม่มีพฤติกรรมทางเพศที่รุนแรง
-
7:12 - 7:16ลิงที่ไม่มีแม่นั้นก้าวร้าวและเครียด
-
7:16 - 7:18และติดเหล้า
-
7:18 - 7:24เราศึกษาดีเอ็นเอของพวกมัน
หลังจากพวกมันเพิ่งเกิด เพื่อดูว่า -
7:24 - 7:27เป็นไปได้หรือไม่
ที่แม่จะเป็นผู้ทำเครื่องหมาย -
7:27 - 7:32มีลักษณะเฉพาะตัวของแม่
ในดีเอ็นเอของลูกหรือเปล่า -
7:32 - 7:34นี่คือลิงอายุ 14 วัน
-
7:34 - 7:39และที่คุณเห็นอยู่ตรงนี้
คือวิธีการใหม่ในการศึกษาอีพีเจเนติกส์ -
7:39 - 7:43ตอนนี้เราสามารถระบุตำแหน่งเครื่องหมายเชิงเคมี
ซึ่งเราเรียกมันว่า เครื่องหมายเมทิเลชัน -
7:43 - 7:46ทำบนดีเอ็นเอที่ความคมชัดหนึ่งนิวคลีโอไทด์
-
7:46 - 7:48เราสามารถระบุตำแหน่งได้ทั้งจีโนม
-
7:48 - 7:51เราสามารถเปรียบเทียบ
ลิงที่มีแม่หรือไม่มีได้ -
7:51 - 7:53และนี่คือการนำเสนอด้วยภาพ
ของกระบวนการนี้ -
7:53 - 7:58ที่คุณกำลังดูอยู่นี้คือยีน
ที่ถูกเมทิเลตมากกว่า เป็นสีแดง -
7:58 - 8:01ยีนที่ถูกเมทิเลตน้อยกว่า จะเป็นสีเขียว
-
8:01 - 8:04คุณจะเห็นว่ายีนมากมายกำลังเปลี่ยนแปลง
-
8:04 - 8:06เพราะว่าการไม่มีแม่
ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องเล็กน้อย -
8:07 - 8:08มันส่งผลกับทุกอย่าง
-
8:08 - 8:12มันส่งสัญญาณเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่าง
ว่าโลกของคุณจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร -
8:12 - 8:13เมื่อคุณกลายเป็นผู้ใหญ่
-
8:13 - 8:16และคุณจะเห็นว่า ลิงสองกลุ่มนี้
-
8:16 - 8:19ได้แยกออกจากกันอย่างชัดเจน
-
8:19 - 8:22มันเกิดขึ้นเร็วแค่ไหนหรือ
-
8:22 - 8:24ลิงพวกนี้ไม่มีแม่มาก่อน
-
8:24 - 8:26จากนั้นพวกมันจึงมีประสบการณ์ทางสังคม
-
8:26 - 8:31เราสัมผัสได้ถึงสถานะทางสังคม
ตั้งแต่ตอนที่เราเกิดเลยหรือเปล่า -
8:31 - 8:35ในการทดลองนี้ เราจึงนำรกของลิง
-
8:35 - 8:38ที่มีสถานะทางสังคมแตกต่างกันมา
-
8:38 - 8:43สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับระดับชั้นทางสังคม
ก็คือในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหมด -
8:43 - 8:46พวกมันจะจัดตำแหน่งตัวเอง
ในแบบที่ลดหลั่นกันมา -
8:46 - 8:49ลิงหมายเลขหนึ่ง คือหัวหน้า
-
8:49 - 8:51ลิงหมายเลขสี่ คือผู้รับใช้
-
8:51 - 8:53เรานำลิงทั้งสี่มาใส่ในกรง
-
8:53 - 8:57มันจะมีหัวหน้าและผู้รับใช้เสมอ
-
8:57 - 9:01และสิ่งที่น่าสนใจก็คือ
ลิงหมายเลขหนึ่ง -
9:01 - 9:05มีสุขภาพที่ดีกว่าลิงหมายเลขสี่
-
9:05 - 9:07และถ้าคุณเอาพวกมันใส่ในกรง
-
9:07 - 9:11ลิงหมายเลขหนึ่งจะไม่กินอะไรมาก
-
9:11 - 9:14ลิงหมายเลขสี่จะกินเยอะเลย
-
9:14 - 9:18และที่คุณเห็นอยู่นี่
การระบุตำแหน่งเมทิเลชัน -
9:18 - 9:21คือการแบ่งแยกอย่างมากตั้งแต่เกิด
-
9:21 - 9:24ระหว่างสัตว์ที่มีสถานะทางสังคมสูง
-
9:24 - 9:27กับสัตว์ที่ไม่ได้มีสถานะทางสังคมที่สูง
-
9:27 - 9:32ฉะนั้น เมื่อเราเกิดมา
เราก็ได้รับรู้ถึงข้อมูลทางสังคมแล้ว -
9:32 - 9:35และข้อมูลทางสังคมนั้น
ก็ไม่ได้ดีหรือร้าย -
9:35 - 9:36มันแค่เตรียมเราให้พร้อมสำหรับชีวิต
-
9:36 - 9:40เพราะว่าเราจะต้องกำหนดเกณฑ์
ทางชีววิทยาของเราให้แตกต่างกันออกไป -
9:40 - 9:44ถ้าเราอยู่ในสถานะทางสังคมที่สูงหรือต่ำ
-
9:44 - 9:47แต่เราจะศึกษาสิ่งนี้ในมนุษย์ได้อย่างไร
-
9:47 - 9:50เราไม่สามารถทำการทดลองได้
เราไม่สามารถกำหนดชะตากรรมให้มนุษย์ได้ -
9:50 - 9:53แต่พระเจ้าได้ทำการทดลองกับมนุษย์
-
9:53 - 9:55และมันมีชื่อว่า ภัยธรรมชาติ
-
9:55 - 9:59หนึ่งในภัยทางธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุด
ในประวัติศาสตร์ของแคนาดา -
9:59 - 10:02เกิดขึ้นในแคว้นควิเบคที่ผมอาศัยอยู่
-
10:02 - 10:04ซึ่งนั่นก็คือ พายุหิมะในปี ค.ศ. 1998
-
10:04 - 10:08เราถูกตัดขาดจากระบบการจ่ายไฟฟ้าทั้งหมด
เพราะพายุน้ำแข็ง -
10:08 - 10:11และนั่นเป็นตอนที่อุณหภูมิ
อยู่ในช่วงที่หนาวที่สุดของฤดูหนาว -
10:11 - 10:13ก็คือ ลบ 20 ถึง ลบ 30 องศา
-
10:13 - 10:16และตอนนั้นก็มีผู้หญิงท้อง
-
10:16 - 10:22เพื่อนร่วมงานของผม
ซูซาน คิง ได้ติดตามลูกของคุณแม่กลุ่มนี้ -
10:22 - 10:25เป็นเวลา 15 ปี
-
10:25 - 10:29และสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
เมื่อความเครียดเพิ่มขึ้น -- -
10:29 - 10:31เรามีเครื่องมือวัดความเครียด
ที่ไม่อิงความรู้สึก -
10:31 - 10:36คุณอยู่โดยไม่มีไฟฟ้านานแค่ไหน
คุณไปอยู่ที่ไหน -
10:36 - 10:41คุณอยู่ที่บ้านของแม่สามี
หรือในบ้านต่างจังหวัดที่หรูหรา -
10:41 - 10:44ทั้งหมดนั้นถูกรวบรวม
เป็นระดับความเครียดทางสังคม -
10:44 - 10:45ทำให้คุณสามารถตั้งคำถามได้ว่า
-
10:45 - 10:48เด็กจะเป็นอย่างไร
-
10:48 - 10:51และปรากฏว่า เมื่อความเครียดเพิ่มขึ้น
-
10:51 - 10:53เด็กเป็นโรคออทิสติกมากขึ้น
-
10:53 - 10:55พวกเขาเป็นโรคที่เกี่ยวข้อง
กับเมตาบอลิซีมมากขึ้น -
10:55 - 10:59และเป็นโรคแพ้ภูมิ (Autoimmune disease)
กันมากขึ้น -
10:59 - 11:01เราสามารถที่จะระบุตำแหน่งสถานะเมทิเลชันได้
-
11:01 - 11:07และอีกครั้ง คุณจะเห็นยีนสีเขียว
กลายเป็นสีแดง เมื่อความเครียดเพิ่มขึ้น -
11:07 - 11:10ยีนสีแดงกลายเป็นสีเขียว
เมื่อความเครียดเพิ่มขึ้น -
11:10 - 11:17เป็นการจัดเรียงจีโนมใหม่ทั้งหมด
เพื่อตอบสนองต่อความเครียด -
11:17 - 11:21ถ้าเราวางกฏเกณฑ์ยีนได้
-
11:21 - 11:25ถ้าเราไม่ได้เป็นเพียงแค่ทาส
ของประวัติศาสตร์ของยีนของเรา -
11:25 - 11:28ถ้ายีนได้ถูกวางกฏเกณฑ์ไว้แล้ว
เราจะล้างกฎเกณฑ์นั้นได้ไหม -
11:28 - 11:34เพราะว่าอีพิเจเนติกคือต้นเหตุ
ที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็ง -
11:34 - 11:35โรคที่เกี่ยวข้องกับเมตาบอลิซึม
-
11:35 - 11:38และโรคทางจิตเวช
-
11:38 - 11:42ลองมาคุยถึงเรื่องการติดโคเคนกัน
-
11:42 - 11:45การติดโคเคนเป็นภาวะที่แย่มาก
-
11:45 - 11:50ที่นำไปสู่ความตาย
และสูญสิ้นชีวิตมนุษย์ -
11:50 - 11:52เราตั้งคำถามว่า
-
11:52 - 11:55เราจะสามารถวางกฏเกณฑ์ใหม่
ให้กับสมองที่เสพติดได้ไหม -
11:55 - 12:00เพื่อให้สัตว์ทดลองนั้นไม่เสพติดอีก
-
12:00 - 12:05เราใช้แบบจำลองการเสพติดโคเคน
-
12:05 - 12:07ที่จำลองกระบวนการที่เกิดขึ้นจริงในมนุษย์
-
12:07 - 12:09ในมนุษย์ คุณกำลังเป็นเด็กมัธยม
-
12:09 - 12:12เพื่อนบางคนชวนให้คุณลองเสพโคเคน
-
12:12 - 12:13คุณก็ลองเสพดู
ไม่เห็นจะมีอะไรเกิดขึ้นเลย -
12:13 - 12:18หลายเดือนผ่านไป บางสิ่งย้ำเตือนคุณ
เกี่ยวกับการลองเสพยาครั้งแรก -
12:18 - 12:19หลอดยาที่ดันโคเคนเข้าไป
-
12:19 - 12:22คุณเสพติดมัน
และชีวิตของคุณก็เปลี่ยนไป -
12:22 - 12:24ในหนู เราทำอย่างเดียวกัน
-
12:24 - 12:25เพื่อนร่วมงานของผม แกล ยาดิด
-
12:25 - 12:28เขาฝึกให้สัตว์ทดลองคุ้นเคยกับโคเคน
-
12:28 - 12:32จากนั้นไม่ให้โคเคน เป็นเวลาหนึ่งเดือน
-
12:32 - 12:35ต่อมา เขาทำให้พวกมันนึกถึงงานเลี้ยง
ที่ได้เห็นโคเคนเป็นครั้งแรก -
12:35 - 12:38โดยใช้สีของกรงเป็นนัยบอก
ถึงตอนที่พวกมันเห็นโคเคน -
12:38 - 12:40แล้วพวกมันก็เกิดบ้าคลั่ง
-
12:40 - 12:42พวกมันจะกดคันโยกที่เปิดช่องให้อาหาร
เพื่อให้ได้โคเคน -
12:42 - 12:44จนมันตาย
-
12:44 - 12:48ตอนแรกพวกเรามั่นใจว่า
ความแตกต่างระหว่างสัตว์เหล่านี้ -
12:48 - 12:51คือในช่วงเวลาที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
-
12:51 - 12:53ตอนที่ไม่มีการให้โคเคน
-
12:53 - 12:55อีพีจีโนมของพวกมันถูกจัดเรียงใหม่
-
12:55 - 12:58ยีนของพวกมันถูกทำเครื่องหมายใหม่
ในแบบที่ต่างออกไป -
12:58 - 13:02และเมื่อมีอะไรที่เตือนความจำ
จีโนมของพวกมันก็พร้อม -
13:02 - 13:05ที่จะพัฒนาลักษณะปรากฏ
ที่เกี่ยวกับการเสพติดนี้ -
13:05 - 13:11ฉะนั้น เราให้ยากับสัตว์ทดลอง
ที่จะเพิ่มดีเอ็นเอเมทิเลชัน -
13:11 - 13:14ซึ่งเป็นเครื่องหมายอีพีเจเนติกส์ที่เราสนใจ
-
13:14 - 13:17หรือลดการทำเครื่องหมายอีพีเจเนติกส์
-
13:17 - 13:20และเราก็พบว่า
ถ้าเราเพิ่มเมทิเลชัน -
13:20 - 13:22สัตว์เหล่านี้บ้าคลั่งหนักกว่าเดิม
-
13:22 - 13:25พวกมันอยากโคเคนมากกว่าเดิม
-
13:25 - 13:28แต่ถ้าเราลดดีเอ็นเอเมทิเลชัน
-
13:28 - 13:30สัตว์เหล่านี้จะไม่เสพติดโคเคนอีก
-
13:30 - 13:32เราได้กำหนดกฎเกณฑ์ให้พวกมันใหม่
-
13:32 - 13:35และความแตกต่างพื้นฐาน
ระหว่างยาอีพีเจเนติกส์ -
13:35 - 13:37และยาชนิดอื่น
-
13:37 - 13:39ก็คือ ด้วยยาอีพีเจเนติกส์
-
13:39 - 13:43เราจะสามารถลบร่องรอย
ของประสบการณ์ออกไปได้ -
13:43 - 13:45และเมื่อพวกมันหายไปแล้ว
-
13:45 - 13:48พวกมันจะไม่กลับมาอีก
เว้นเสียแต่ว่าคุณจะได้รับประสบการณ์เดิม -
13:48 - 13:50ตอนนี้สัตว์ได้รับการกำหนดกฏเกณฑ์ใหม่
-
13:50 - 13:54และเมื่อเราเข้าไปเยี่ยมพวกมันอีก
ใน 30 วันและ 60 วันต่อมา -
13:54 - 13:57ซึ่งเทียบได้กับเวลาหลายปีในชีวิตมนุษย์
-
13:57 - 14:05พวกมันยังไม่กลับไปติดยาอีก หลังจากการรักษา
ด้วยยาอีพีเจเนติกส์เพียงครั้งเดียว -
14:05 - 14:08แล้วเราได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับดีเอ็นเอ
-
14:08 - 14:11ดีเอ็นเอไม่ได้เป็นเพียงลำดับตัวอักษร
-
14:11 - 14:13มันไม่ใช่แค่บทภาพยนต์
-
14:13 - 14:16ดีเอ็นเอเป็นภาพยนต์ที่เปลี่ยนแปลงได้
-
14:16 - 14:21ประสบการณ์ของเราถูกบันทึกในภาพยนต์นี้
ซึ่งมันโต้ตอบกับคนดูได้ -
14:21 - 14:25เหมือนกับการชมภาพยนต์
เกี่ยวกับชีวิตของด้วยคุณดีเอ็นเอ -
14:25 - 14:27โดยใช้รีโมทคอนโทรล
-
14:27 - 14:31คุณสามารถเอานักแสดงออก
หรือเพิ่มนักแสดงได้ -
14:31 - 14:37คุณสามารถควบคุมได้ว่ายีนของคุณ
จะมีหน้าตาอย่างไร -
14:37 - 14:40นอกจากการถูกกำหนดด้วยดีเอ็นเอ
ตามธรรมชาติ -
14:40 - 14:44และนี่เป็นข่าวดีมากๆ
-
14:44 - 14:47ว่าเราจะมีความสามารถใน
เผชิญกับโรคร้าย -
14:47 - 14:50อย่างเช่น โรคมะเร็ง, โรคทางจิตเวช
-
14:50 - 14:53ได้ด้วยแนวความคิดแบบใหม่
-
14:53 - 14:56ว่าพวกมันคือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เหมาะสม
-
14:56 - 14:59และถ้าเราสามารถแทรกแซง
กระบวนการอีพิเจเนติก -
14:59 - 15:02เราจะสามารถย้อนภาพยนต์นี้
ด้วยการเอานักแสดงออก -
15:02 - 15:06และจัดวางการดำเนินเรื่องใหม่
-
15:06 - 15:09ฉะนั้น สิ่งที่ผมบอกคุณในวันนี้
-
15:09 - 15:14ก็คือ ดีเอ็นเอของเรานั้น
ประกอบด้วยสองส่วน -
15:14 - 15:16ข้อมูลสองชั้น
-
15:16 - 15:20ชั้นหนึ่งของข้อมูลนั้นเก่าแก่
-
15:20 - 15:23มีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาหลายล้านปี
-
15:23 - 15:27มันไม่ยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงยาก
-
15:27 - 15:31ข้อมูลอีกชั้นหนึ่งคือชั้นอีพีเจเนติกส์
-
15:31 - 15:35ซึ่งเปิดกว้างและยืดหยุ่น
-
15:35 - 15:40และสามารถสร้างการดำเนินเรื่องแบบใหม่
ที่โต้ตอบกับประสบการณ์ที่พบได้ -
15:40 - 15:48ทำให้เราสามารถควบคุม
ชะตากรรมส่วนใหญ่ของเรา -
15:48 - 15:51เพื่อช่วยกำหนดชะตากรรม
ของลูกหลานของเรา -
15:51 - 15:55และหวังว่ามันจะช่วยให้เรา
เอาชนะโรคร้าย -
15:55 - 16:00ความท้าทายเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพร้ายแรง
-
16:00 - 16:03ที่ก่อพิบัติภัยแก่มนุษยชาติมาแสนนาน
-
16:03 - 16:07ฉะนั้น แม้ว่าเราจะถูกกำหนด
-
16:07 - 16:09โดยยีนของเรา
-
16:09 - 16:12เราก็ยังพอมีอิสระ
-
16:12 - 16:16ที่จะสามารถจัดรูปแบบชีวิตของเรา
ให้เป็นชีวิตที่เราออกแบบเองได้ -
16:16 - 16:17ขอบคุณครับ
-
16:17 - 16:22(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ประสบการณ์ในช่วงแรกของชีวิตถูกบันทึกในดีเอ็นเอได้อย่างไร
- Speaker:
- โมเช ชิฟ (Moshe Szyf)
- Description:
-
โมเช ชิฟ เป็นผู้นำในสาขาอีพีเจเนติกส์ ซึ่งเป็นสาขาที่ศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตกำหนดกฏเกณฑ์ใหม่ให้จีโนมของพวกมัน เพื่อตอบสนองต่อปัจจัยต่าง ๆ เช่นความเครียด และการขาดอาหาร อย่างไร การวิจัยของเขาเสนอว่าสัญญาณทางชีวเคมีถูกส่งต่อจากแม่สู่ลูก บอกกับลูกว่าเขากำลังจะได้เผชิญกับโลกแบบไหน ซึ่งเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน "ดีเอ็นเอไม่ได้เป็นเพียงลำดับตัวอักษร มันไม่ใช่แค่บทภาพยนต์" สซิฟกล่าว "ดีเอ็นเอเป็นภาพยนต์ที่เปลี่ยนแปลงได้ซึ่งเป็นบันทึกประสบการณ์ของเรา"
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 16:35
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for How early life experience is written into DNA | ||
Ditt Thamma accepted Thai subtitles for How early life experience is written into DNA | ||
Ditt Thamma edited Thai subtitles for How early life experience is written into DNA | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How early life experience is written into DNA | ||
Ditt Thamma declined Thai subtitles for How early life experience is written into DNA | ||
Ditt Thamma edited Thai subtitles for How early life experience is written into DNA | ||
Ditt Thamma edited Thai subtitles for How early life experience is written into DNA | ||
Ditt Thamma edited Thai subtitles for How early life experience is written into DNA |