Return to Video

ประวัติศาสตร์ด้านมืดของแบบวัดเชาว์ปัญญา (IQ Test)

  • 0:07 - 0:12
    ในปี ​1905 นักจิตวิทยาสองคน
    อัลเฟรด บิเนต์ และธีโอดอร์ ซิโมน
  • 0:12 - 0:17
    ได้ออกแบบแบบทดสอบสำหรับเด็ก
    ที่ประสบปัญหาในโรงเรียนในฝรั่งเศส
  • 0:17 - 0:21
    เพื่อบอกว่าเด็กคนไหน
    ต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ
  • 0:21 - 0:26
    วิธีการของพวกเขากลายเป็นพื้นฐาน
    ของแบบวัดเชาว์ปัญญา (IQ)
  • 0:26 - 0:28
    เริ่มต้นช่วงปลายศตวรรษที่ 19
  • 0:28 - 0:33
    นักวิจัยตั้งสมมติฐานว่า
    ความสามารถทางการรู้คิด เช่น การใช้ภาษา
  • 0:33 - 0:35
    ความจำเพื่อใช้งาน และทักษะด้านมิติสัมพันธ์
  • 0:35 - 0:41
    สะท้อนให้เห็นถึงความฉลาดทั่วไปที่ซ่อนอยู่
    หรือ ปัจจัย g
  • 0:41 - 0:46
    ซิโมนและบิเนต์ออกแบบชุดทดสอบ
    ที่วัดความสามารถเหล่านี้
  • 0:46 - 0:49
    และรวมผลลัพธ์ออกมาเป็นคะแนน
  • 0:49 - 0:52
    คำถามถูกปรับให้เหมาะกับ
    กลุ่มคนช่วงอายุต่าง ๆ
  • 0:52 - 0:57
    คะแนนของเด็กสะท้อนว่าพวกเขา
    เป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับเด็กอายุเท่ากัน
  • 0:57 - 1:02
    หารคะแนนด้วยอายุและคูณด้วย 100
  • 1:02 - 1:06
    เราก็จะได้ความฉลาดทางเชาว์ปัญญา หรือ IQ
  • 1:06 - 1:12
    ทุกวันนี้ คะแนน 100 คือค่าเฉลี่ย
    ของกลุ่มประชากรตัวอย่าง
  • 1:12 - 1:17
    ร้อยละ 68 ของประชากรมี IQ อยู่ที่ระหว่าง
    15 ถึง 100 คะแนน
  • 1:17 - 1:20
    ซิโมนและบิเนต์คิดว่า
    ทักษะที่เครื่องมือของพวกเขาประเมิน
  • 1:20 - 1:23
    จะสะท้อนความฉลาดทั่วไป
  • 1:23 - 1:25
    แต่ตอนนั้นและตอนนี้
  • 1:25 - 1:29
    ก็ยังมีความเห็นต่างกันในเรื่องนิยาม
    ของการความฉลาดทั่วไป
  • 1:29 - 1:33
    และนั้นเปิดช่องให้คนใช้แบบประเมินนี้
  • 1:33 - 1:38
    ในแบบที่พวกเขาเชื่อเกี่ยวกับความฉลาด
  • 1:38 - 1:42
    สิ่งที่เริ่มจากการหาวิธีเพื่อระบุว่า
    ใครต้องการความช่วยเหลือทางด้านการเรียน
  • 1:42 - 1:46
    กลายเป็นการจัดกลุ่มคนในอีกมุมอย่างรวดเร็ว
  • 1:46 - 1:50
    ส่วนใหญ่ตามความเชื่อที่บกพร่องอย่างมาก
  • 1:50 - 1:53
    หนึ่งในการนำไปใช้ในวงกว้าง
  • 1:53 - 1:58
    เกิดขึ้นที่สหรัฐในช่วงสงครามโลก
    ครั้งที่ 1 เมื่อกองทัพใช้การวัด IQ
  • 1:58 - 2:02
    เพื่อจัดกลุ่มทหารใหม่และ
    คัดเลือกเข้าหลักสูตร
  • 2:02 - 2:05
    ในตอนนั้นหลายคนเชื่อเรื่องพันธุกรรม
  • 2:05 - 2:09
    หรือแนวคิดที่ว่าคุณลักษณะทางพันธุกรรม
    ที่พึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์
  • 2:09 - 2:15
    สามารถและควรที่จะถูกควบคุม
    ผ่านการคัดเลือกพันธุ์
  • 2:15 - 2:17
    แต่ภายใต้แนวคิดนี้มีปัญหาหลายประการ
  • 2:17 - 2:21
    หนึ่งในนั้นคือความคิดที่ว่าความฉลาด
    ไม่เพียงแค่ถูกกำหนดและส่งผ่านทางพันธุกรรม
  • 2:21 - 2:24
    แต่ยังเกี่ยวข้องกับเชื้อชาติ
  • 2:24 - 2:26
    ด้วยอิทธิพลของพันธุกรรม
  • 2:26 - 2:29
    นักวิทยาศาสตร์ใช้ผลลัพธ์
    จากกระบวนการของกองทัพ
  • 2:29 - 2:33
    มาสรุปแบบผิด ๆ ว่า
    บางเชื้อชาติ
  • 2:33 - 2:36
    มีความฉลาดมากกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ
  • 2:36 - 2:39
    โดยที่ไม่คำนึงถึงความจริง
    ว่าทหารใหม่ที่ผ่านการวัดหลายคน
  • 2:39 - 2:41
    เป็นผู้ที่เพิ่งอพยพมาสหรัฐ
  • 2:41 - 2:45
    และไม่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการ
    หรือไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษ
  • 2:45 - 2:50
    พวกเขาจัดอันดับชาติพันธุ์
    ตามความฉลาดอย่างผิด ๆ
  • 2:50 - 2:55
    อิทธิพลของการวัด IQ และพันธุกรรม
    ไม่จำกัดอยู่แค่วิทยาศาสตร์
  • 2:55 - 2:58
    แต่ในระดับนโยบายด้วย
  • 2:58 - 3:01
    ในปี 1924 รัฐเวอร์จิเนีย
    ได้ออกนโยบาย
  • 3:01 - 3:07
    ที่เปิดให้มีการบังคับทำหมัน
    ผู้ที่มีระดับ IQ ต่ำ --
  • 3:07 - 3:11
    นโยบายที่ศาลสูงสุดเห็นชอบ
  • 3:11 - 3:15
    รัฐบาลของนาซีเยอรมัน
    อนุญาตให้สังหารเด็ก
  • 3:15 - 3:17
    ที่มีระดับ IQ ต่ำ
  • 3:17 - 3:20
    หลังเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และ
    ขบวนการสิทธิพลเมือง
  • 3:20 - 3:23
    การแบ่งแยกคนด้วยระดับ IQ
  • 3:23 - 3:27
    ก็เป็นที่ถกเถียงทั้งเรื่องศีลธรรม
    และเรื่องความเป็นวิทยาศาสตร์
  • 3:27 - 3:32
    นักวิทยาศาสตร์เริ่มรวบรวมหลักฐาน
    ด้านผลของสภาพแวดล้อมต่อ IQ
  • 3:32 - 3:37
    เช่น แบบวัด IQ ได้รับการปรับปรุงเป็นระยะ
    ตลอดศตวรรษที่ 20
  • 3:37 - 3:42
    คนรุ่นใหม่ทำคะแนนได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
    เมื่อทำแบบวัดชุดเก่า
  • 3:42 - 3:44
    สูงกว่าคนรุ่นก่อน
  • 3:44 - 3:46
    เหตุการณ์นี้เรียกว่า การเพิ่มขึ้น
    ของระดับไอคิว (Flynn Effect)
  • 3:46 - 3:51
    ซึ่งเกิดเร็วเกินกว่าจะเป็นผลจาก
    วิวัฒนาการของพันธุกรรม
  • 3:51 - 3:55
    สาเหตุน่าจะเกิดจากสภาพแวดล้อมมากกว่า --
  • 3:55 - 4:00
    การศึกษา สาธารณสุข
    โภชนาการที่ดีขึ้น
  • 4:00 - 4:01
    ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20
  • 4:01 - 4:04
    นักจิตวิทยาพยายามใช้การวัด IQ
  • 4:04 - 4:08
    เพื่อประเมินสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจาก
    ความฉลาดโดยทั่วไป
  • 4:08 - 4:13
    อย่างโรคจิตเภท โรคซึมเศร้า
    และอาการทางจิตอื่น ๆ
  • 4:13 - 4:18
    การวินิจฉัยเหล่านี้ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ
    ความเห็นของผู้ประเมิน
  • 4:18 - 4:22
    และใช้องค์แบบประเมินย่อยในแบบวัด
    เพื่อระบุระดับ IQ --
  • 4:22 - 4:28
    วิธีการที่วิจัยแล้วพบว่า
    ไม่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์นัก
  • 4:28 - 4:33
    ทุกวันนี้ การวัด IQ ยังใช้องค์ประกอบ
    และรูปแบบคำถาม
  • 4:33 - 4:35
    เหมือนที่ใช้ในแบบวัดช่วงแรก ๆ
  • 4:35 - 4:39
    แต่เรามีวิธีที่ดีกว่าในการหา
    อคติที่อาจเกิดขึ้นในแบบวัด
  • 4:39 - 4:43
    มันไม่ถูกใช้ในการวินิจฉัยอาการทางจิต
  • 4:43 - 4:47
    แต่วิธีการที่ใช้แบบทดสอบย่อยซึ่งมีปัญหา
  • 4:47 - 4:51
    บางครั้งยังคงถูกใช้ในการวินิจฉัย
    ความบกพร่องในการเรียนรู้
  • 4:51 - 4:54
    แม้จะขัดกับคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน
  • 4:54 - 4:57
    นักจิตวิทยาทั่วโลกยังคงใช้การวัด IQ
  • 4:57 - 5:00
    เพื่อหาความบกพร่องทางสติปัญญา
  • 5:00 - 5:02
    ผลที่ได้มักใช้ในการกำหนด
  • 5:02 - 5:07
    การสนับสนุนด้านการเรียน การอบรม
    หรือการช่วยเหลือในการใช้ชีวิตที่เหมาะสม
  • 5:07 - 5:12
    ผลจากการวัด IQ เคยถูกใช้ในการกำหนด
    นโยบายที่เลวร้าย
  • 5:12 - 5:15
    และความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีหลักฐาน
  • 5:15 - 5:18
    นั่นไม่ได้แปลว่าแบบวัดนั้นไร้ค่า --
  • 5:18 - 5:22
    ความจริงมันมีประสิทธิภาพมากในการวัด
    ทักษะการคิดเชิงตรรกะและการแก้ปัญหา
  • 5:22 - 5:24
    ที่มันถูกออกแบบมาเพื่อวัด
  • 5:24 - 5:28
    แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องเดียวกับ
    การประเมินศักยภาพของคน
  • 5:28 - 5:32
    แม้ว่าจะมีประเด็นทางการเมือง
    ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์
  • 5:32 - 5:36
    และวัฒนธรรมที่รายล้อมรอบ ๆ
    การวัด IQ
  • 5:36 - 5:39
    นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
    ก็เห็นพ้องกันในเรื่องนี้
  • 5:39 - 5:43
    และปฏิเสธแนวคิดที่ว่า
    แต่ละคนสามารถถูกจัดกลุ่ม
  • 5:43 - 5:45
    ด้วยตัวเลขคะแนนเพียงตัวเดียว
Title:
ประวัติศาสตร์ด้านมืดของแบบวัดเชาว์ปัญญา (IQ Test)
Speaker:
สเตฟาน ซี ดอมโบรสกี
Description:

รับชมบทเรียนฉบับเต็มได้ที่ https://ed.ted.com/lessons/the-dark-history-of-iq-tests-stefan-c-dombrowski

ในปี 1905 นักจิตวิทยาสองคน อัลเฟรด บิเนต์ และธีโอดอร์ ซิโมน ได้ออกแบบแบบวัดสำหรับเด็กที่ประสบปัญหาในการเรียนที่โรงเรียนในฝรั่งเศส เครื่องมือที่พวกเขาออกแบบเพื่อระบุว่าเด็กคนไหนต้องการการช่วยเหลือกลายเป็นพื้นฐานของแบบวัด IQ ในทุกวันนี้ แล้วแบบวัด IQ ที่ว่าทำงานอย่างไร และมันสะท้อนความฉลาดจริงหรือไม่ สเตฟาน ซี ดอมโบรสกีจะค้นหาประวัติศาสตร์ของการใช้แบบวัด IQ

บทเรียนโดย สเตฟาน ซี ดอมโบรสกี กำกับโดย Kozmonot Animation Studios

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:46
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for The dark history of IQ tests
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for The dark history of IQ tests
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for The dark history of IQ tests
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for The dark history of IQ tests
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for The dark history of IQ tests
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for The dark history of IQ tests
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for The dark history of IQ tests
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for The dark history of IQ tests
Show all

Thai subtitles

Revisions