< Return to Video

คริส จอร์แดน กับภาพถ่ายแสดงสถิติที่จะทำให้คุณอึ้ง

  • 0:00 - 0:05
    งานถ่ายภาพของผมก็จะเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เราทุกคนทำโดยไม่รู้ตัว
  • 0:05 - 0:07
    ในระดับสังคมโดยรวม
  • 0:07 - 0:09
    ผมหมายความว่า มันเป็นพฤติกรรม
  • 0:09 - 0:10
    ที่เราปฏิเสธไม่รับรู้
  • 0:10 - 0:16
    และเกิดขึ้นใต้ระดับการรู้ตัวของเรา
  • 0:17 - 0:20
    ในระดับบุคคล เราทำสิ่งเหล่านี้ตลอดเวลา ทุกวัน
  • 0:20 - 0:22
    เหมือนเวลาที่คุณร้ายใส่ภรรยาของคุณ
  • 0:23 - 0:24
    เพราะคุณหงุดหงิดคนอื่นมา
  • 0:25 - 0:28
    หรืออย่างเวลาที่คุณดื่มมากเกินไปตอนอยู่ในงานปาร์ตี้เพราะว่าคุณประหม่า
  • 0:28 - 0:33
    หรือเวลาที่คุณกินมากผิดปกติเพราะถูกทำร้ายความรู้สึกมา อะไรทำนองนั้น
  • 0:34 - 0:36
    และเมื่อเราทำพฤติกรรมเหล่านี้
  • 0:36 - 0:40
    เมื่อคนสามร้อยล้านคนทำพฤติกรรมเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว
  • 0:40 - 0:43
    มันก็บวกทบกันจนนำไปสู่หายนะ
  • 0:43 - 0:45
    ที่ไม่มีใครต้องการ ไม่มีใครตั้งใจให้เกิด
  • 0:45 - 0:48
    นั่นคือสิ่งที่ผมต้องการสื่อในงานภาพถ่ายของผม
  • 0:48 - 0:52
    นี่เป็นภาพล่าสุดภาพหนึ่งที่ผมเพิ่งทำเสร็จ
  • 0:52 - 0:53
    ถ้าคุณยืนมองไกลๆ
  • 0:53 - 0:56
    มันจะดูเหมือนภาพลายเส้นแบบนีโอโกธิค
  • 0:56 - 0:59
    เป็นรูปโรงงานที่กำลังปล่อยมลภาวะออกมา
  • 0:59 - 1:01
    ถ้าคุณขยับเข้ามาใกล้อีกหน่อย
  • 1:02 - 1:06
    มันจะเริ่มดูเหมือนกับท่อมากมาย คล้ายๆ กับโรงงานสารเคมี
  • 1:06 - 1:09
    หรือโรงกลั่น หรือถนนฟรีเวย์ที่ตัดพันกันยุ่งเหยิง
  • 1:10 - 1:11
    ถ้าคุณเข้ามามองใกล้ๆ เลย
  • 1:11 - 1:15
    คุณจะเห็นว่าที่จริงมันคือแก้วน้ำพลาสติกจำนวนมากมายมหาศาล
  • 1:16 - 1:18
    จริงๆ มันคือแก้วพลาสติกหนึ่งล้านใบ
  • 1:18 - 1:22
    ซึ่งเป็นจำนวนของแก้วพลาสติกที่ใช้ในเที่ยวบิน
  • 1:23 - 1:24
    ในสหรัฐอเมริกา ในทุกๆ หกชั่วโมง
  • 1:24 - 1:28
    เราใช้แก้วพลาสติกบนเที่ยวบินทั้งหมดวันละสี่ล้านใบ
  • 1:29 - 1:31
    และทั้งหมดนี้ไม่มีการนำกลับมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิลเลย
  • 1:31 - 1:33
    ในอุตสาหกรรมการบินเขาไม่ทำกัน
  • 1:34 - 1:36
    ตัวเลขนี้มันจิ๊บจ๊อยไปเลย
  • 1:36 - 1:38
    ถ้าเทียบกับจำนวนแก้วกระดาษที่เราใช้กันทุกวัน
  • 1:39 - 1:42
    นั่นคือ 40 ล้านใบต่อวัน สำหรับเครื่องดื่มร้อน
  • 1:42 - 1:43
    ซึ่งส่วนมากคือกาแฟ
  • 1:43 - 1:46
    ผมไม่สามารถถ่ายภาพแก้ว 40 ล้านใบลงบนผืนผ้าใบได้
  • 1:46 - 1:50
    ผมใส่ลงไปได้แค่ 410,000 ใบ แก้ว 410,000 ใบมันหน้าตาเป็นอย่างนี้ครับ
  • 1:51 - 1:52
    นั่นคือแก้วที่เราใช้ภายในสิบห้านาที
  • 1:52 - 1:56
    และถ้าในชีวิตจริงคุณสามารถเอาแก้วทั้งหมดนี้เรียงต่อกันขึ้นไป
  • 1:56 - 1:57
    มันจะมีขนาดเท่านี้ครับ
  • 1:57 - 1:59
    และนี่ก็เป็นแก้วที่เราใช้ในหนึ่งชั่วโมง
  • 2:00 - 2:01
    นี่คือแก้วที่เราใช้ในหนึ่งวัน
  • 2:01 - 2:03
    คุณจะเห็นคนตัวเล็กๆ อยู่ข้างล่างนั่น
  • 2:03 - 2:05
    แก้วพวกนี้เรียงต่อกันสูงเท่าตึก 42 ชั้นครับ
  • 2:05 - 2:09
    ผมเอารูปเทพีเสรีภาพมาวางเทียบให้เห็นสัดส่วนว่ามันใหญ่แค่ไหน
  • 2:11 - 2:14
    พูดถึงความยุติธรรม ตอนนี้ก็มีปรากฏการณ์อันหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นในวัฒนธรรมของเรา
  • 2:14 - 2:17
    ซึ่งผมรู้สึกว่าน่าเป็นห่วงมาก นั่นคือ ประเทศอเมริกาในขณะนี้
  • 2:17 - 2:20
    มีจำนวนประชากรถูกคุมขังคิดเป็นเปอร์เซ็นต์มากที่สุด
  • 2:20 - 2:22
    ยิ่งกว่าประเทศใดๆ ในโลกนี้
  • 2:23 - 2:26
    หนึ่งในสี่ของคนที่ติดคุกในโลกนี้
  • 2:26 - 2:30
    คือคนอเมริกันที่ถูกขังอยู่ในประเทศของเรานี่เอง
  • 2:31 - 2:32
    ผมอยากแสดงตัวเลขที่ว่าให้ดู
  • 2:32 - 2:36
    ตัวเลขนั้นคือ ในปี 2005 มีคนอเมริกัน 2.3 ล้านคนถูกจองจำ
  • 2:36 - 2:38
    และจำนวนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับจากนั้น แต่เรายังไม่มีตัวเลขที่ใหม่กว่านี้
  • 2:38 - 2:41
    ดังนั้น ผมก็เลยจะแสดงภาพชุดนักโทษ 2.3 ล้านชุด
  • 2:42 - 2:45
    ในภาพจริงที่พิมพ์ออกมา
  • 2:45 - 2:48
    เครื่องแบบนักโทษแต่ละชุดมีขนาดเท่าด้านข้างของเหรียญ 5 เซนต์
  • 2:48 - 2:51
    มันเล็กมากจนมองแยกกันเป็นชิ้นๆ แทบไม่ออก
  • 2:51 - 2:54
    และการที่จะแสดงภาพทั้งหมด 2.3 ล้านชุด ต้องใช้ผืนผ้าใบ
  • 2:55 - 2:57
    ที่ใหญ่กว่าพรินท์เตอร์เครื่องใดๆ ในโลกนี้จะสามารถพิมพ์ออกมาได้
  • 2:57 - 2:59
    ผมก็เลยต้องแบ่งมันออกเป็นส่วนๆ
  • 2:59 - 3:01
    แต่ละส่วนมีขนาด 10 คูณ 25 ฟุต
  • 3:01 - 3:05
    นี่คืองานชิ้นดังกล่าวที่จัดแสดงในหอศิลป์ที่นิวยอร์ค
  • 3:06 - 3:08
    สองคนที่กำลังดูรูปอยู่นั่นคือพ่อกับแม่ผม
  • 3:08 - 3:10
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:11 - 3:12
    ทุกครั้งที่ผมมองงานชิ้นนี้
  • 3:12 - 3:14
    ผมคิดในใจว่า แม่ผมคงจะกระซิบกับพ่อว่า
  • 3:14 - 3:16
    "ในที่สุดลูกเราก็รู้จักพับเสื้อผ้าเสียที"
  • 3:16 - 3:17
    (เสียงห้วเราะ)
  • 3:19 - 3:21
    ผมอยากให้คุณดูงานที่เกี่ยวกับการใช้สารเสพติดบ้าง
  • 3:21 - 3:25
    งานชิ้นนี้เกี่ยวกับการติดบุหรี่
  • 3:25 - 3:28
    ผมอยากสร้างงานที่แสดงจำนวนคนอเมริกัน
  • 3:28 - 3:30
    ที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่
  • 3:30 - 3:33
    ทุกๆ ปี จะมีคนอเมริกันเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่
  • 3:33 - 3:35
    มากกว่า 400,000 คน
  • 3:35 - 3:39
    งานชิ้นนี้ประกอบขึ้นจากกล่องบุหรี่มากมายมหาศาล
  • 3:39 - 3:40
    และ ถ้าคุณค่อยๆ ถอยหลังออกไป
  • 3:40 - 3:44
    คุณจะเห็นว่ามันเป็นภาพวาดของแวน โก๊ะ ที่ชื่อ "หัวกะโหลกกับบุหรี่" (Skull with Cigarette)
  • 3:44 - 3:48
    น่าแปลกนะครับ เมื่อเรานึกถึงเหตุการณ์ 9/11
  • 3:48 - 3:50
    ตอนที่โศกนาฎกรรมนั้นเกิดขึ้น คนอเมริกันเสียชีวิตไป 3,000 คน
  • 3:50 - 3:52
    แล้วคุณจำปฏิกิริยาตอบสนองที่เกิดขึ้นได้ไหม
  • 3:53 - 3:55
    มันสะเทือนไปทั่วโลก
  • 3:55 - 3:58
    และจะยังคงส่งแรงสั่นสะเทือนต่อไปไม่หยุด
  • 3:58 - 4:01
    อีก 100 ปีข้างหน้าเราก็จะยังพูดถึงเรื่องนี้
  • 4:01 - 4:06
    แต่ในวันเดียวกันนั้น คนอเมริกัน 1,100 คนเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่
  • 4:06 - 4:09
    วันรุ่งขึ้น คนอเมริกันอีก 1,100 คนก็เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่
  • 4:09 - 4:12
    และทุกๆ วันนับจากนั้น มีคนอเมริกันเสียชีวิตเพราะบุหรี่ 1,100 คน
  • 4:13 - 4:15
    วันนี้ก็มีคนอเมริกันอีก 1,100 คนกำลังจะเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่
  • 4:15 - 4:19
    แต่เราไม่พูดถึงเรื่องนี้ เราไม่ใส่ใจมันเลย
  • 4:20 - 4:22
    การล็อบบี้ของพวกบริษัทบุหรี่มันมีพลังมากเกินไป
  • 4:22 - 4:24
    เราก็เลยปัดมันพ้นไปจากจิตสำนึก
  • 4:26 - 4:32
    แล้วทั้งๆ ที่เราก็รู้ว่าบุหรี่มันอันตราย
  • 4:32 - 4:36
    เราก็ยังยอมให้ลูกหลานของเรา
  • 4:36 - 4:39
    ตกอยู่ท่ามกลางอิทธิพลต่างๆ นานาที่กระตุ้นให้เขาเริ่มลองสูบบุหรี่
  • 4:39 - 4:41
    และงานชิ้นต่อมาของผมก็สื่อเรื่องนี้
  • 4:42 - 4:45
    นี่คือบุหรี่จำนวน 65,000 มวน
  • 4:45 - 4:47
    ซึ่งเท่ากับจำนวนของวัยรุ่นในสหรัฐอเมริกา
  • 4:48 - 4:51
    ที่เริ่มสูบบุหรี่ภายในเดือนนี้ และทุกๆ เดือน
  • 4:51 - 4:55
    ทุกๆ ปี เด็กๆ อายุ 18 และต่ำกว่า 18 จำนวนมากกว่า 700,000 คน
  • 4:55 - 4:57
    ในสหรัฐอเมริกา เริ่มสูบบุหรี่
  • 4:57 - 5:02
    โรคระบาดที่ประหลาดอีกอย่างหนึ่งในสหรัฐอเมริกา
  • 5:03 - 5:05
    ที่ผมอยากนำเสนอให้คุณรู้ไว้
  • 5:05 - 5:10
    คือปรากฏการณ์การใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ผิดวิธี
  • 5:11 - 5:15
    นี่เป็นภาพที่ผมสร้างจากภาพยาไวโคดินจำนวนมาก
  • 5:15 - 5:17
    อ่อ ที่จริงผมมียาไวโคดินเม็ดเดียวแหละครับ
  • 5:17 - 5:19
    แต่ผมสแกนมันซ้ำหลายๆ รอบ
  • 5:19 - 5:20
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:20 - 5:23
    ถ้าคุณยืนห่างออกไป คุณจะเห็นยาไวโคดิน 213,000 เม็ด
  • 5:23 - 5:26
    ซึ่งเท่ากับจำนวนผู้ป่วยที่ถูกส่งเข้าห้องฉุกเฉิน
  • 5:27 - 5:28
    ในสหรัฐอเมริกาในแต่ละปี
  • 5:28 - 5:33
    โดยมีสาเหตุมาจากการใช้ยาแก้ปวด และยาระงับความวิตกกังวล
  • 5:33 - 5:34
    ผิดวิธี หรือเกินขนาด
  • 5:34 - 5:38
    หนึ่งในสามของผู้ป่วยที่ใช้ยาเกินขนาดในสหรัฐอเมริกา
  • 5:38 - 5:41
    ซึ่งนั่นรวมทั้งโคเคน เฮโรอีน แอลกอฮอล์ ทุกอย่าง
  • 5:41 - 5:45
    หนึ่งในสามของกรณีการใช้ยาเกินขนาด เป็นยาตามใบสั่งแพทย์
  • 5:46 - 5:47
    เป็นปรากฏการณ์ที่แปลกมาก
  • 5:47 - 5:51
    นี่เป็นงานชิ้นใหม่ที่ผมเพิ่งทำเสร็จ
  • 5:51 - 5:54
    มันเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เป็นโศกนาฏกรรม และปรากฏการณ์นี้
  • 5:54 - 5:58
    คือความคลั่งไคล้ในการทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกที่กำลังเพิ่มมากขึ้น
  • 6:00 - 6:04
    ปีที่แล้ว ผู้หญิงอเมริกัน 384,000 คน
  • 6:04 - 6:08
    ไปทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก
  • 6:09 - 6:13
    มันกำลังกลายเป็นของขวัญวันเรียนจบไฮสคูลที่เป็นที่นิยมที่สุด
  • 6:13 - 6:17
    สำหรับมอบให้เด็กสาวที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย
  • 6:19 - 6:22
    ผมจึงสร้างภาพนี้ขึ้นจากรูปตุ๊กตาบาร์บี้
  • 6:22 - 6:27
    ถ้าคุณถอยออกไป คุณจะเห็นเหมือนภาพลายดอกไม้
  • 6:27 - 6:31
    ถ้าถอยไปไกลสุดๆ คุณจะเห็นตุ๊กตาบาร์บี้ 32,000 ตัว
  • 6:31 - 6:34
    ซึ่งเท่ากับจำนวนการทำศัลกรรมเสริมหน้าอก
  • 6:34 - 6:36
    ที่เกิดขึ้นในอเมริกาในแต่ละเดือน
  • 6:36 - 6:41
    คนที่เข้ารับการผ่าตัดส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงอายุต่ำกว่า 21 ปี
  • 6:42 - 6:44
    ที่ประหลาดกว่านั้น การทำศัลยกรรมอย่างเดียว
  • 6:44 - 6:48
    ที่มีคนทำมากกว่าการเสริมหน้าอก คือการดูดไขมัน
  • 6:48 - 6:50
    ซึ่งคนที่ไปทำส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย
  • 6:50 - 6:54
    ทีนี้ ผมอยากเน้นว่านี่เป็นแค่ตัวอย่าง
  • 6:54 - 6:57
    ผมไม่ได้บอกว่าประเด็นพวกนี้เป็นเรื่องใหญ่หรือสำคัญที่สุด
  • 6:57 - 6:59
    มันเป็นแค่ตัวอย่างส่วนหนึ่ง
  • 7:00 - 7:04
    เหตุผลที่ผมทำงานพวกนี้ เพราะผมรู้สึกว่ามันน่ากลัว
  • 7:04 - 7:07
    ที่พวกเราทั้งวัฒนธรรมโดยรวม ไม่รู้สึกรู้สมกับเรื่องต่างๆ มากพอ
  • 7:08 - 7:11
    เหมือนมันมีภาวะไร้ความรู้สึกในอเมริกา ณ ขณะนี้
  • 7:11 - 7:19
    เราสูญเสียความรู้สึกเจ็บแค้น โกรธ และเศร้าโศก
  • 7:19 - 7:21
    เกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในวัฒนธรรมของเราในขณะนี้
  • 7:21 - 7:22
    นี่มันเกิดอะไรขึ้นในประเทศของเรา
  • 7:22 - 7:24
    รวมทั้งกับความโหดร้ายที่เกิดขึ้นทั่วโลกในนามของเรา
  • 7:24 - 7:27
    ความรู้สึกเหล่านี้มันหายไป
  • 7:28 - 7:31
    เรามองหาความปิติสุขของวัฒนธรรม ของประเทศเราไม่เจอเลย
  • 7:31 - 7:34
    และหนึ่งในสาเหตุของภาวะนี้ ผมคิดว่า
  • 7:35 - 7:39
    มันเป็นเพราะ ขณะที่เราแต่ละคนพยายามสร้างโลกทัศน์ใหม่ขึ้นมา
  • 7:39 - 7:43
    โลกทัศน์ใหม่ ภาพร่างสามมิติอันนี้
  • 7:43 - 7:45
    ที่เราทุกคนกำลังสร้างขึ้นในใจของเรา
  • 7:45 - 7:48
    เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของสรรพสิ่ง อย่างผลกระทบทางสภาพแวดล้อม
  • 7:48 - 7:51
    ต่อสิ่งที่อยู่ไกลออกไปอีก 1,000 ไมล์ จากสินค้าที่เราซื้อ
  • 7:51 - 7:53
    ผลกระทบทางสังคม ต่อที่ไกลออกไปอีก 10,000 ไมล์
  • 7:54 - 7:57
    ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจในแต่ละวันของเราในฐานะผู้บริโภค
  • 7:57 - 7:59
    ในขณะที่เราสร้างภาพเหล่านี้ขึ้นในใจ
  • 7:59 - 8:02
    และพยายามทำความเข้าใจกับความใหญ่โตมโหฬารของวัฒนธรรมของเรา
  • 8:02 - 8:07
    ข้อมูลที่เราต้องเอามาพิจารณานั้น คือตัวเลขมหึมาพวกนี้
  • 8:08 - 8:11
    ตัวเลขหลักหลายล้าน หลายร้อยล้าน
  • 8:11 - 8:13
    หลายพันล้าน และเดี๋ยวนี้มีถึงเป็นล้านล้าน
  • 8:14 - 8:16
    อย่างงบประมาณในสมัยรัฐบาลของบุชก็เป็นล้านล้าน
  • 8:16 - 8:19
    ตัวเลขพวกนี้ สมองของเราไม่สามารถเข้าใจได้
  • 8:20 - 8:24
    เราไม่สามารถทำความเข้าใจความหมายของสถิติที่มากมายมหาศาลเหล่านี้ได้
  • 8:24 - 8:27
    สิ่งที่ผมพยายามทำในงานของผม
  • 8:28 - 8:29
    คือเอาตัวเลขพวกนี้ สถิติพวกนี้
  • 8:29 - 8:34
    จากภาษาของข้อมูลดิบ มาแปลเป็น
  • 8:34 - 8:37
    ภาษาภาพที่เป็นสากล ที่คนเราสามารถรู้สึกได้ สัมผัสได้
  • 8:37 - 8:41
    เพราะความเชื่อของผมก็คือ ถ้าเรารู้สึกรู้สมกับประเด็นเหล่านี้
  • 8:41 - 8:43
    ถ้าเราสัมผัสมันได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น
  • 8:43 - 8:47
    มันก็จะมีความหมายกับเรามากขึ้นกว่าที่มันเป็นอยู่ตอนนี้
  • 8:48 - 8:49
    และถ้าเราค้นพบความหมายของมันได้
  • 8:49 - 8:53
    เราก็จะค้นพบ ข้างในใจเราแต่ละคน
  • 8:54 - 8:57
    ว่าเราต้องทำอะไรเพื่อเผชิญหน้ากับคำถามสำคัญ
  • 8:57 - 8:59
    นั่นคือ เราจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
  • 9:00 - 9:05
    คำถามนี้ สำหรับผม เป็นคำถามสำคัญที่เราต้องตอบในฐานะที่เป็นประชากรคนหนึ่ง
  • 9:05 - 9:08
    เราจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เราจะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของเราได้อย่างไร
  • 9:09 - 9:13
    แล้วเราแต่ละคนจะต้องทำอะไร อย่างไร
  • 9:13 - 9:16
    กับส่วนหนึ่งของทางออกของปัญหา ที่เราแต่ละคนต้องรับผิดชอบ
  • 9:17 - 9:18
    นั่นก็คือพฤติกรรมของเราเอง
  • 9:18 - 9:27
    ในความคิดผมนะครับ คุณไม่ต้องทำให้ตัวเองรู้สึกแย่
  • 9:28 - 9:30
    เวลามองดูประเด็นพวกนี้
  • 9:30 - 9:34
    ผมไม่ได้มาชี้หน้าต่อว่าคนอเมริกัน
  • 9:34 - 9:36
    ผมแค่บอกว่า นี่แหละคือสิ่งที่เราเป็นอยู่ในขณะนี้
  • 9:36 - 9:38
    และถ้ามีอะไรที่เราเห็นแล้ว
  • 9:38 - 9:39
    เราไม่ชอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมของเรา
  • 9:39 - 9:41
    เราก็มีทางเลือก
  • 9:50 - 9:55
    ความจริงใจและมุ่งมั่นที่เราแต่ละคนแสดงออกมา
  • 9:55 - 10:00
    ในการจัดการกับปัญหานี้ คุณลักษณะที่อยู่ลึกๆ ในตัวเรา ที่เราสามารถดึงออกมาใช้
  • 10:02 - 10:05
    เมื่อเราลุกขึ้นมาจัดการกับปัญหาว่าเราจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
  • 10:05 - 10:11
    มันกำลังบ่งบอกความเป็นเรา ทั้งในระดับบุคคลและในระดับประเทศ
  • 10:13 - 10:16
    และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ในอนาคต
  • 10:16 - 10:23
    และมันก็จะส่งผลกระทบอันลึกซึ้งต่อความอยู่ดีมีสุข ต่อคุณภาพชีวิต
  • 10:23 - 10:24
    ของคนนับพันล้านคน
  • 10:24 - 10:29
    ที่จะมารับผลที่เกิดจากการตัดสินใจของเรา
  • 10:33 - 10:34
    ผมไม่ได้พูดเรื่องที่เป็นนามธรรม
  • 10:34 - 10:43
    นี่สิ่งที่เราทุกคนในห้องนี้กำลังเป็นอยู่
  • 10:44 - 10:46
    เดี๋ยวนี้ ณ วินาทีนี้
  • 10:46 - 10:50
    ขอบคุณ และสวัสดีครับ
  • 10:51 - 10:57
    (เสียงปรบมือ)
Title:
คริส จอร์แดน กับภาพถ่ายแสดงสถิติที่จะทำให้คุณอึ้ง
Speaker:
Chris Jordan
Description:

คริส จอร์แดน ศิลปินสาขาภาพถ่าย แสดงภาพโฉมหน้าของวัฒนธรรมตะวันตกที่ทำให้เราต้องตะลึง ภาพถ่ายขนาดใหญ่ยักษ์ของเขาสะท้อนสถิติบางอย่างที่เราแทบจินตนาการไม่ออก -- เช่น ถ้วยกระดาษจำนวนมากมายเหลือเชื่อที่เราใช้กันในแต่ละวัน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:57
Thipnapa Huansuriya added a translation

Thai subtitles

Revisions