< Return to Video

การเจริญสติในชีวิตประจำวัน :: หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 24 พ.ย. 2567

  • 0:05 - 0:11
    เจริญพร
  • 0:11 - 0:16
    เช้าๆ วันอาทิตย์มาฟังธรรมก็ดี
  • 0:16 - 0:29
    ได้มีแรงเอาไว้สู้กิเลสอีกหลายวัน
  • 0:29 - 0:35
    ธรรมะเป็นของร่มเย็น โลกมันเร่าร้อน
  • 0:35 - 0:39
    เราฝึกปฏิบัติกันไป
  • 0:39 - 0:43
    จิตใจเราร่มเย็นเป็นสุข
  • 0:43 - 0:46
    โลกข้างนอกเราแก้มันไม่ได้
  • 0:46 - 0:51
    มันวุ่นวายอย่างนี้ ธรรมดาของโลก
  • 0:51 - 0:56
    เรามาฝึกจิตใจของเราเอง ให้อยู่กับโลกได้
  • 0:56 - 1:03
    โดยที่เราไม่ร้อนตามมันไปด้วย
  • 1:03 - 1:07
    ธรรมะเป็นของร่มเย็น
  • 1:07 - 1:14
    เสียดายชาวพุทธเราส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจธรรมะ
  • 1:14 - 1:17
    เป็นพุทธแต่ชื่อ
  • 1:17 - 1:24
    ไม่เคยลิ้มรสเลยว่า
    รสของธรรมะนั้นวิเศษแค่ไหน
  • 1:24 - 1:28
    เราไปตามวัดตามอะไรอย่างนี้ เห็น
  • 1:28 - 1:36
    พากันไหว้พวกเทวรูปพวก
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกพระพุทธศาสนา
  • 1:36 - 1:38
    ไหว้ต้นตะเคียนไหว้อะไรอย่างนี้
  • 1:38 - 1:43
    ตามวัด เยอะแยะ
  • 1:43 - 1:47
    วัดที่สอนกรรมฐานจริงๆ คนก็ไม่ค่อยเข้า
  • 1:47 - 1:51
    คนก็ชอบเข้าวัดแบบนั้น มันพอดีกัน
  • 1:51 - 1:55
    พอดีกับสภาพจิตใจ
  • 1:55 - 1:59
    คนที่จะสนใจธรรมะก็ต้องมีบุญมีบารมี
  • 1:59 - 2:01
    สะสมมามากพอ
  • 2:01 - 2:04
    คนส่วนใหญ่อินทรีย์ก็ยังอ่อน
  • 2:04 - 2:08
    เขาก็ต้องการที่พึ่งแบบโลกๆ ไป
  • 2:08 - 2:13
    ทำแล้วเฮง ทำแล้วรวย
  • 2:13 - 2:16
    ทำแล้วได้ผลประโยชน์
  • 2:16 - 2:19
    มุ่งไปที่ตรงนั้น
  • 2:19 - 2:25
    ถามว่ามันมีประโยชน์ไหม มันก็มีนะ
  • 2:25 - 2:30
    แต่ประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่สูงสุด
  • 2:30 - 2:32
    ที่พระพุทธศาสนาจะให้ได้
  • 2:32 - 2:39
    คนกลับไม่ค่อยเข้าใจไม่ค่อยสนใจ
  • 2:39 - 2:44
    ฉะนั้นเราต้องลงมือศึกษาปฏิบัติให้จริงจัง
  • 2:44 - 2:47
    อย่าทำเป็นเล่น
  • 2:47 - 2:51
    เวลาของแต่ละคนมีไม่มาก
  • 2:51 - 2:55
    เวลาของเราหมดไปทุกวันๆ
  • 2:55 - 3:00
    ครูบาอาจารย์ก็ร่อยหรอลงทุกทีแล้ว
  • 3:00 - 3:03
    เมื่อ 40 กว่าปี 50 ปีก่อน
  • 3:03 - 3:07
    สมัยหลวงพ่อออกศึกษาธรรมะ
  • 3:07 - 3:12
    ครูบาอาจารย์ที่ดีๆ ยังมีเยอะ
  • 3:12 - 3:16
    ยิ่งทางอีสาน
  • 3:16 - 3:19
    มีครูบาอาจารย์ดีๆ เต็มไปหมดเลย
  • 3:19 - 3:23
    ถนนสายเดียวนี่วิ่งไปสักพักหนึ่งก็เจอ
  • 3:23 - 3:28
    วัดนี้องค์นี้อยู่ วัดนี้องค์นี้อยู่
  • 3:28 - 3:32
    เดี๋ยวนี้พอผ่านไป วัดนี้องค์นี้เคยอยู่
  • 3:32 - 3:35
    ที่วัดนี้องค์นี้ก็เคยอยู่
  • 3:35 - 3:37
    มีแต่คำว่าเคยอยู่
  • 3:37 - 3:41
    ท่านไม่ได้อยู่ด้วยแล้ว
  • 3:41 - 3:45
    สมัยก่อนหลวงพ่อเลยชอบวันหยุด
  • 3:45 - 3:48
    จะออกไปทางอีสานหรือไม่ก็ขึ้นไปทางเหนือ
  • 3:48 - 3:53
    ไปหาครูบาอาจารย์ทางเชียงใหม่เชียงราย
  • 3:53 - 3:57
    ส่วนใหญ่จะไปทางอีสานครูบาอาจารย์เยอะ
  • 3:57 - 4:01
    ไปแล้วมันมีความสุข
  • 4:01 - 4:02
    ไปกินข้าววัด
  • 4:02 - 4:08
    ไปภาวนาอยู่ในวัด ไปนอนอยู่ในวัด
  • 4:08 - 4:12
    อาหารที่กินก็อาหารชาวบ้านธรรมดา
  • 4:12 - 4:16
    น้ำพริกกับผักอะไรอย่างนี้
  • 4:16 - 4:19
    กินอาหารอย่างนั้นจริงๆ เราไม่ค่อยคุ้นเคย
  • 4:19 - 4:21
    เราคนเมือง
  • 4:21 - 4:24
    แต่เราไปอยู่อย่างนั้นเรารู้สึก
  • 4:24 - 4:31
    มันไม่มีภาระทางใจ ใจมันสบาย
  • 4:31 - 4:34
    นอนมีกุฏิก็นอน
  • 4:34 - 4:40
    ไม่มีก็ไปผูกกลดอยู่ใต้ต้นไม้
  • 4:40 - 4:43
    ผ่านเวลากลางคืน
  • 4:43 - 4:48
    ออกมาเดินจงกรมใต้แสงเดือนแสงดาว
  • 4:48 - 4:52
    สงบวิเวก มีป่ามีเขา
  • 4:52 - 4:57
    กลางคืนก็มีสัตว์ร้อง มีนกมีแมลงร้อง
  • 4:57 - 5:00
    มันไม่ยั่วกิเลสเรา
  • 5:00 - 5:04
    เราก็ภาวนาร่มเย็นเป็นสุข
  • 5:04 - 5:06
    นี่ฝึกตัวเองมาทุกวัน
  • 5:06 - 5:10
    อยู่ง่าย กินง่าย นอนง่าย
  • 5:10 - 5:14
    แล้วเวลาส่วนใหญ่เอาไว้เจริญสติ
  • 5:14 - 5:17
    ถึงเวลาก็นั่งสมาธิเดินจงกรม
  • 5:17 - 5:20
    ไหว้พระสวดมนต์
  • 5:20 - 5:27
    เวลาที่เหลือเจริญสติในชีวิตประจำวัน
  • 5:27 - 5:29
    การเจริญสติในชีวิตประจำวัน
  • 5:29 - 5:33
    เป็นเรื่องสำคัญมากเลย
  • 5:33 - 5:38
    หลวงปู่มั่นท่านเคยสอน หลวงพ่อไม่ทันท่าน
  • 5:38 - 5:41
    แต่ว่าครูบาอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ท่าน
  • 5:41 - 5:44
    เคยเล่าให้ฟัง
  • 5:44 - 5:51
    อย่างท่านสอนบอกว่าทำสมาธิมากเนิ่นช้า
  • 5:51 - 5:54
    คิดพิจารณามากฟุ้งซ่าน
  • 5:54 - 5:57
    หัวใจสำคัญของการปฏิบัติ
  • 5:57 - 6:01
    คือการเจริญสติในชีวิตประจำวัน
  • 6:01 - 6:05
    หัวใจอยู่ตรงนี้
  • 6:05 - 6:08
    เก่งเฉพาะตอนนั่งสมาธิตอนเดินจงกรม
  • 6:08 - 6:10
    ไม่ได้กินหรอก
  • 6:10 - 6:13
    วันหนึ่งจะนั่งเท่าไรจะเดินเท่าไร
  • 6:13 - 6:17
    เวลาส่วนใหญ่ถ้าภาวนาไม่เป็น
  • 6:17 - 6:22
    โอกาสจะได้มรรคผลนิพพานยากเหลือเกิน
  • 6:22 - 6:27
    หลวงพ่อภาวนาเจริญสติเป็นหลักเลย
  • 6:27 - 6:30
    บางช่วงยังพลาดพลั้ง
  • 6:30 - 6:33
    ไม่ยอมทำสมาธิ รู้สึกเสียเวลา
  • 6:33 - 6:36
    ขี้เกียจทำสมาธิ
  • 6:36 - 6:39
    พอหลายๆ วันเข้ากำลังสมาธิไม่พอ
  • 6:39 - 6:42
    เดินปัญญาไม่ได้จริง
  • 6:42 - 6:45
    เพราะฉะนั้นสมาธิก็ต้องทำ
  • 6:45 - 6:51
    เวลาส่วนใหญ่ของหลวงพ่อ
    ใช้การเจริญสติในชีวิตประจำวัน
  • 6:51 - 6:54
    เพราะหลวงปู่ดูลย์ท่านสอนหลวงพ่อมา
  • 6:54 - 6:57
    ให้อ่านจิตตนเอง
  • 6:57 - 6:59
    การเจริญสติในชีวิตประจำวัน
  • 6:59 - 7:02
    กับการอ่านจิตตนเอง
  • 7:02 - 7:06
    มันมารวมเข้าด้วยกันได้
  • 7:06 - 7:11
    เราสามารถปฏิบัติในชีวิตธรรมดานี่ล่ะ
  • 7:11 - 7:14
    เมื่อตาเห็นรูป
  • 7:14 - 7:18
    เกิดความรู้สึกแปลกปลอมขึ้นในใจเรา
  • 7:18 - 7:20
    ทีแรกใจเราเฉยๆ
  • 7:20 - 7:24
    พอตาเราเห็นดอกไม้สวยงาม
  • 7:24 - 7:26
    ใจเราเกิดความชอบขึ้นมา
  • 7:26 - 7:28
    ใจเรามีความเปลี่ยนแปลงแล้ว
  • 7:28 - 7:34
    เรามีสติรู้ทันความ
    เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในใจเรา
  • 7:34 - 7:37
    เวลาหูเราได้ยินเสียง
  • 7:37 - 7:39
    เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในใจเรา
  • 7:39 - 7:44
    อย่างมีเสียงคนมาด่าเรา
  • 7:44 - 7:49
    จิตใจเราเกิดโทสะขึ้นมา เรามีสติรู้ทัน
  • 7:49 - 7:52
    จมูกได้กลิ่น
  • 7:52 - 7:55
    ได้กลิ่นหอมใจเราชอบ
  • 7:55 - 7:59
    หรือบางทีได้กลิ่นหอมแล้วใจเราเกิดสงสัย
  • 7:59 - 8:03
    นี่กลิ่นอะไร กลิ่นดอกไม้อะไร
  • 8:03 - 8:07
    พอความสงสัยเกิดขึ้น
    หลวงพ่อไม่ได้ไปดูดอกไม้
  • 8:07 - 8:12
    หลวงพ่อดูลงไปที่จิตใจตัวเอง จิตสงสัย
  • 8:12 - 8:16
    เราก็เห็นความสงสัย
    เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป
  • 8:16 - 8:20
    บางทีได้กลิ่นอย่างนี้เหม็น
  • 8:20 - 8:23
    ใจรำคาญ ใจไม่ชอบ
  • 8:23 - 8:26
    รู้ลงไปที่ใจที่ไม่ชอบ
  • 8:26 - 8:30
    การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
  • 8:30 - 8:34
    หลักการง่ายๆ มีตาก็ดู มีหูก็ฟัง
  • 8:34 - 8:37
    มีจมูกก็ดมกลิ่น มีลิ้นก็รู้รส
  • 8:37 - 8:39
    มีกายก็กระทบสัมผัส
  • 8:39 - 8:42
    มีใจก็คิดนึกไปตามธรรมชาติธรรมดา
  • 8:42 - 8:45
    ไม่ห้าม
  • 8:45 - 8:48
    ใจเราจะคิดดีคิดร้ายอะไร ห้ามได้ที่ไหน
  • 8:48 - 8:50
    จิตมันเป็นอนัตตา
  • 8:50 - 8:52
    บางทีเราอยากคิดแต่เรื่องดีๆ
  • 8:52 - 8:55
    อ้าว มันกลายไปคิดเรื่องชั่วๆ
  • 8:55 - 8:58
    คิดเรื่องกิเลสตัณหาอะไร
  • 8:58 - 9:02
    ทีนี้พอใจมันคิดไปในทางไม่ดี
  • 9:02 - 9:04
    อกุศลเกิด
  • 9:04 - 9:06
    จิตเรามีน้ำหนักขึ้นมา
  • 9:06 - 9:09
    จิตเราเศร้าหมองอึดอัดขัดข้อง
  • 9:09 - 9:12
    เรามีสติรู้ทันจิต
  • 9:12 - 9:15
    โอ้ ตอนนี้จิตเราเศร้าหมองแล้ว
  • 9:15 - 9:16
    หรือเวลาที่จิตเราเป็นกุศล
  • 9:16 - 9:19
    เรามีสติรู้ลงไป
  • 9:19 - 9:21
    อย่างเวลาเห็นครูบาอาจารย์
  • 9:21 - 9:24
    บางทีจิตเรามีปีติ
  • 9:24 - 9:28
    ดีใจได้เห็นครูบาอาจารย์มีปีติ
  • 9:28 - 9:30
    เราแทนที่จะไปดูแค่ครูบาอาจารย์
  • 9:30 - 9:34
    เราก็เห็นจิตใจมีปีติขึ้นมา
  • 9:34 - 9:39
    จิตใจฟังธรรมไป จิตใจเรามีความสุข
  • 9:39 - 9:42
    ไม่ได้มัวแต่นั่งฟังเพลินๆ ไป
  • 9:42 - 9:45
    จิตใจเรามีความสุข รู้ว่ามีความสุข
  • 9:45 - 9:50
    นี่การปฏิบัติจริงๆ สำคัญมากเลยนะตรงนี้
  • 9:50 - 9:54
    แล้วส่วนใหญ่ก็ละเลยกัน ไม่สนใจ
  • 9:54 - 9:58
    แล้วกำหนดอะไรต่ออะไรสอนอะไรกันแปลกๆ ไป
  • 9:58 - 10:02
    ละเลยการเจริญสติในชีวิตประจำวัน
  • 10:02 - 10:06
    ซึ่งหลวงปู่มั่นบอกหัวใจของการปฏิบัติเลย
  • 10:06 - 10:09
    การมีสติในชีวิตประจำวัน
  • 10:09 - 10:12
    ฉะนั้นถ้าเราอยากมีสติในชีวิตประจำวัน
  • 10:12 - 10:14
    เราต้องฝึกตัวเอง
  • 10:14 - 10:17
    หัดอ่านใจตัวเองให้ออก
  • 10:17 - 10:21
    ตาเราเห็นรูปเกิดความเปลี่ยนแปลงที่จิตใจ
  • 10:21 - 10:23
    อย่างเกิดสุข เกิดทุกข์
  • 10:23 - 10:25
    เกิดกุศล เกิดอกุศล
  • 10:25 - 10:27
    ให้เรามีสติรู้
  • 10:27 - 10:30
    อย่างเราเห็นผู้หญิงสวยๆ
  • 10:30 - 10:34
    จิตเรามีราคะขึ้นมา ให้มีสติรู้
  • 10:34 - 10:37
    ไม่ใช่จำเป็นว่าต้องทำเฉยๆ
  • 10:37 - 10:41
    เห็นผู้หญิงสวยๆ ก็กดจิตไว้
  • 10:41 - 10:45
    เพ่งๆๆ ลงไป ไม่ให้มีความรู้สึกขึ้นมา
  • 10:45 - 10:48
    นั่นไม่ใช่การเจริญสติในชีวิตประจำวัน
  • 10:48 - 10:51
    แต่เป็นการเพ่ง
  • 10:51 - 10:54
    เพ่งอยู่ในชีวิตจริงๆ เลย เพ่งมากๆ
  • 10:54 - 10:56
    ใจก็จะแข็งทื่อๆ ไป
  • 10:56 - 10:59
    เหมือนอย่างพระองค์นี้
  • 10:59 - 11:04
    ใจก็ทื่อๆ ไป ไปเพ่งเอา
  • 11:04 - 11:09
    ฉะนั้นเราต้องฝึกหัดอ่านความรู้สึกตัวเอง
  • 11:09 - 11:11
    ตากระทบรูป
  • 11:11 - 11:13
    เกิดสุข เกิดทุกข์
  • 11:13 - 11:17
    เกิดกุศล เกิดอกุศล ให้มีสติรู้ทัน
  • 11:17 - 11:19
    หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น
  • 11:19 - 11:22
    ลิ้นกระทบรส กายกระทบสัมผัส
  • 11:22 - 11:24
    เกิดสุข เกิดทุกข์ เกิดกุศล อกุศล
  • 11:24 - 11:25
    ให้มีสติรู้ทัน
  • 11:25 - 11:28
    เกิดที่ไหน เกิดที่ใจเรา
  • 11:28 - 11:31
    ถ้าจิตเราคิด
  • 11:31 - 11:33
    เราเกิดสุข เกิดทุกข์ เกิดกุศลอกุศล
  • 11:33 - 11:36
    ให้มีสติรู้ทัน
  • 11:36 - 11:38
    มันยากไหมที่จะรู้
  • 11:38 - 11:41
    ไม่ยาก แต่ละเลยที่จะรู้
  • 11:41 - 11:44
    อย่างเราขับรถอยู่คนมาปาดหน้าเรา
  • 11:44 - 11:47
    ขับรถปาดหน้าเรา เราโกรธ
  • 11:47 - 11:51
    คนที่ไม่ได้ปฏิบัติจะไปมองรถที่ปาดเรา
  • 11:51 - 11:53
    เดี๋ยวจะไปเอาคืน
  • 11:53 - 11:58
    ส่วนเรานักปฏิบัติเจริญสติในชีวิตประจำวัน
  • 11:58 - 12:00
    คนเขาขับรถปาดหน้าเรา เราโกรธ
  • 12:00 - 12:04
    เราเห็นความโกรธเกิดขึ้นที่จิตใจเรา
  • 12:04 - 12:07
    นี่อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าใช้ได้
  • 12:07 - 12:12
    ลำพังคนปาดหน้าเราแล้วเราก็ไปมองเขา
  • 12:12 - 12:16
    เรียกว่าหลง หลงไปดู
  • 12:16 - 12:18
    เกิดพยาบาทวิตก
  • 12:18 - 12:22
    คิดจะเอาคืน นี่พยาบาทวิตก
  • 12:22 - 12:29
    ฉะนั้นการภาวนาจะว่ายาก มันไม่ยากเลย
  • 12:29 - 12:32
    เราไม่ได้บังคับตัวเอง กดข่มตัวเอง
  • 12:32 - 12:34
    จิตใจเราเป็นอย่างไร เราก็คอยรู้ไป
  • 12:34 - 12:39
    อย่างที่มันเป็น ไม่เห็นจะยากตรงไหนเลย
  • 12:39 - 12:42
    แต่จะว่าง่ายมันก็ไม่ง่าย
  • 12:42 - 12:46
    เพราะเราไม่เคยชินที่จะรู้ใจตัวเอง
  • 12:46 - 12:48
    มันยากเพราะเราไม่เคยชินที่จะรู้
  • 12:48 - 12:50
    เท่านั้นล่ะ
  • 12:50 - 12:54
    ถ้าหัดฝึกจนเคยชินที่จะรู้
  • 12:54 - 12:55
    การจะอ่านใจตัวเอง
  • 12:55 - 12:59
    ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปเลย
  • 12:59 - 13:02
    หลวงพ่อไม่ได้ฝึกอะไรมากมาย
  • 13:02 - 13:06
    ตอนเด็กๆ ก็ทำสมาธิก็ได้แต่ความสงบ
  • 13:06 - 13:09
    ก็ออกรู้โน้นรู้นี้ไปเรื่อยๆ
  • 13:09 - 13:12
    หาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้
  • 13:12 - 13:16
    มาเจอหลวงปู่ดูลย์ท่านบอกให้อ่านจิตตัวเอง
  • 13:16 - 13:18
    หลวงพ่อก็ตามรู้ตามเห็นจิตใจ
  • 13:18 - 13:20
    นี่วิธีอ่านจิตตัวเอง
  • 13:20 - 13:23
    ทำอย่างที่หลวงพ่อบอก
  • 13:23 - 13:26
    ไม่ใช่ไปนั่งจ้องอยู่ที่จิต
  • 13:26 - 13:28
    นั่งเฝ้าจิตดูว่าเมื่อไร
  • 13:28 - 13:30
    จะมีอะไรเกิดขึ้นในจิตใจเรา
  • 13:30 - 13:32
    นั่งเฝ้าอยู่อย่างนี้
  • 13:32 - 13:36
    อันนั้นไม่ใช่ ใช้ไม่ได้เลย
  • 13:36 - 13:39
    เมื่อไรเราจงใจไปนั่งเฝ้าเอา
  • 13:39 - 13:42
    จิตจะนิ่งๆ ทื่อๆ แข็งๆ ไป
  • 13:42 - 13:44
    ไม่มีอะไรให้ดูหรอก
  • 13:44 - 13:46
    ฉะนั้นอย่าไปดักดู
  • 13:46 - 13:48
    ให้ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์
  • 13:48 - 13:51
    แล้วก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาก่อน
  • 13:51 - 13:54
    แล้วค่อยรู้ว่าตอนนี้รู้สึกอย่างไร
  • 13:54 - 13:57
    อย่าไปดักดูไว้ก่อน
  • 13:57 - 14:00
    ถ้าไปดักดูไปรอดู
  • 14:00 - 14:02
    มันจะนิ่งๆ ไม่มีอะไรให้ดูหรอก
  • 14:02 - 14:05
    อันนั้นไม่ใช่การอ่านจิตตนเองแล้ว
  • 14:05 - 14:11
    แต่เป็นการบังคับจิตตนเองให้มันนิ่งๆ ไป
  • 14:11 - 14:14
    ต้องฝึกนะต้องฝึก
  • 14:14 - 14:16
    ถ้าอ่านจิตตัวเองจนชำนาญ
  • 14:16 - 14:20
    เราจะรู้เลยการปฏิบัติ
    ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว
  • 14:20 - 14:22
    เพราะเราได้สิ่งที่สำคัญที่สุด
  • 14:22 - 14:24
    สำหรับการปฏิบัติแล้ว
  • 14:24 - 14:28
    คือเรารู้จักจิตตัวเอง
  • 14:28 - 14:32
    การปฏิบัติธรรมจริงๆ
    ก็คือการฝึกจิตนั่นล่ะ
  • 14:32 - 14:34
    ไม่ได้ฝึกกาย
  • 14:34 - 14:35
    อย่างจะเดินจงกรม
  • 14:35 - 14:40
    บางคนฝึกกายต้องเดินท่านั้นต้องเดินท่านี้
  • 14:40 - 14:42
    แล้วจริงๆ แล้วมันไม่ใช่หรอก
  • 14:42 - 14:45
    เราไม่ได้ฝึกโยธวาทิต
  • 14:45 - 14:47
    จะเดินอย่างนั้นอย่างนี้ให้สวยงาม
  • 14:47 - 14:48
    ไม่จำเป็นหรอก
  • 14:48 - 14:51
    เคยเดินท่าไหนก็เดินท่านั้นล่ะ
  • 14:51 - 14:56
    แต่ว่าจุดสำคัญหัวใจจริงๆ
    คือจิตของเรานั่นเอง
  • 14:56 - 14:59
    พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มั่นท่านก็สอน
  • 14:59 - 15:02
    ได้จิตก็ได้ธรรมะ
  • 15:02 - 15:04
    ไม่ได้จิตไม่ได้ธรรมะหรอก
  • 15:04 - 15:07
    ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น
  • 15:07 - 15:10
    ธรรมะเกิดที่จิต
  • 15:10 - 15:12
    ธรรมะมีอะไรบ้าง
  • 15:12 - 15:15
    อกุศลธรรม รู้จักเคยได้ยินไหม
  • 15:15 - 15:17
    เกิดที่ไหน
  • 15:17 - 15:19
    เกิดที่มือที่เท้าที่ท้องหรือเปล่า
  • 15:19 - 15:23
    ไม่ได้เกิด อกุศลธรรมเกิดที่จิต
  • 15:23 - 15:26
    กุศลธรรมล่ะเกิดที่ไหน
  • 15:26 - 15:29
    ไม่ได้เกิดที่มือที่เท้าที่ท้อง
  • 15:29 - 15:33
    ไม่ได้เกิดที่ลมหายใจ เกิดที่จิต
  • 15:33 - 15:37
    มรรคผลล่ะ มรรคผลก็เกิดที่จิต
  • 15:37 - 15:39
    มรรคผลไม่ได้ไปเกิด
  • 15:39 - 15:43
    ที่ต้นไม้ที่ภูเขาที่แม่น้ำ
  • 15:43 - 15:45
    หรือที่ร่างกาย
  • 15:45 - 15:48
    มรรคผลก็เกิดขึ้นที่จิต
  • 15:48 - 15:52
    ถ้าเราเฝ้ารู้เฝ้าดูไป รักษาจิต
  • 15:52 - 15:56
    มีสติรักษาจิต ดูจิตไป ดูแลจิตไป
  • 15:56 - 15:58
    จิตเป็นอย่างไรก็ช่างมันเถอะ
  • 15:58 - 16:01
    แต่รู้อย่างที่มันเป็นให้ได้เท่านั้นล่ะ
  • 16:01 - 16:03
    แล้วเราจะพบว่า
  • 16:03 - 16:08
    ความรู้สึกของเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเลย
  • 16:08 - 16:11
    เวลาตาเราเห็นรูปความรู้สึกก็เปลี่ยน
  • 16:11 - 16:14
    หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นกระทบรส
  • 16:14 - 16:19
    กายกระทบสัมผัส ใจกระทบความคิด
  • 16:19 - 16:22
    ความรู้สึกก็เปลี่ยนในจิตใจนี้
  • 16:22 - 16:27
    สังเกตไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าต้องดี
  • 16:27 - 16:31
    ชั่วหรือดี
  • 16:31 - 16:35
    ครูบาอาจารย์องค์หนึ่งท่านเคยพูด
  • 16:35 - 16:38
    ชั่วหรือดีก็อัปรีย์พอกัน
  • 16:38 - 16:41
    อัปรีย์ไม่ใช่คำหยาบคาย
  • 16:41 - 16:44
    อัปรีย์ตัวนี้เป็นภาษาบาลี “อัปปิยะ”
  • 16:44 - 16:46
    คือไม่น่ารัก ไม่น่าหวงแหน
  • 16:46 - 16:48
    เหมือนๆ กันล่ะ
  • 16:48 - 16:51
    ความชั่วเกิดขึ้นก็อย่าไปรักมัน
  • 16:51 - 16:54
    ความดีเกิดขึ้นก็อย่าไปหลงมัน
  • 16:54 - 16:56
    นี่ท่านสอนถึงขนาดนี้นะ
  • 16:56 - 17:00
    แต่ว่าอันนี้เป็นคำสอนในขั้นการเจริญปัญญา
  • 17:00 - 17:05
    ในขั้นจริยธรรมชั่วกับดีไม่เท่ากัน
  • 17:05 - 17:07
    ชั่วนะอัปรีย์จริง ดีไม่อัปรีย์
  • 17:07 - 17:11
    ดีๆ ดีก็ปิยะ น่ารัก
  • 17:11 - 17:16
    แต่ในขั้นเจริญปัญญาเราไม่ได้ภาวนาเอาดี
  • 17:16 - 17:18
    เพราะดีก็ไม่เที่ยง
  • 17:18 - 17:22
    เราไม่ได้ภาวนาเอาความสุข
    เพราะความสุขก็ไม่เที่ยง
  • 17:22 - 17:26
    เราไม่ได้ภาวนาเอาความสงบ
    เพราะความสงบไม่เที่ยง
  • 17:26 - 17:29
    เราภาวนาให้เห็นความจริงว่า
  • 17:29 - 17:32
    จิตใจของเรานี่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  • 17:32 - 17:36
    เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์
    เดี๋ยวเป็นกุศล เดี๋ยวเป็นอกุศล
  • 17:36 - 17:41
    ตกอยู่ใต้คำว่าไตรลักษณ์ตลอดเวลา
  • 17:41 - 17:44
    เวลาเราดูจิตดูใจนี่
  • 17:44 - 17:50
    สามัญลักษณะคือลักษณะร่วมของ
    สิ่งที่เป็นความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวง
  • 17:50 - 17:51
    หรือเรียกว่าไตรลักษณ์นี่
  • 17:51 - 17:55
    จริงๆ ชื่อจริงๆ ของมันคือสามัญลักษณะ
  • 17:55 - 17:59
    ลักษณะร่วมของสิ่งที่เป็น
    ความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวง
  • 17:59 - 18:02
    ทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรม
  • 18:02 - 18:05
    มี 3 อย่าง ไม่เที่ยง
  • 18:05 - 18:08
    ไม่เที่ยงก็คือของเคยมีแล้วมันไม่มี
  • 18:08 - 18:12
    ของไม่มีแล้วมันก็มี มันไม่เที่ยง
  • 18:12 - 18:15
    มันเป็นทุกข์ คือมันถูกบีบคั้น
    ให้แตกสลายอยู่ตลอดเวลา
  • 18:15 - 18:17
    อย่างความสุขเกิดขึ้น
  • 18:17 - 18:20
    ความสุขก็ถูกบีบคั้นให้แตกสลาย
  • 18:20 - 18:24
    บางทีหลายคนเจอหลวงพ่อ คุยกับหลวงพ่อเลย
  • 18:24 - 18:29
    เกิดปีติ ปีติถ้าเรามีสติรู้ลงไป
  • 18:29 - 18:33
    เราก็เห็นปีติถูกบีบคั้นให้แตกสลาย
  • 18:33 - 18:36
    ค่อยๆ กร่อนๆๆ ลงไปแล้วก็หายไป
  • 18:36 - 18:39
    แล้วมันก็เป็นอนัตตา
  • 18:39 - 18:42
    จิตเราจะสุขหรือจะทุกข์ จะดีหรือจะชั่ว
  • 18:42 - 18:44
    เราสั่งไม่ได้ เลือกไม่ได้
  • 18:44 - 18:46
    นี่คือความจริง
  • 18:46 - 18:47
    สามัญลักษณะ
  • 18:47 - 18:51
    ลักษณะร่วมของสิ่งที่เป็นสังขารทั้งหลาย
  • 18:51 - 18:54
    ก็คือรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย
  • 18:54 - 18:57
    ล้วนแต่ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ทั้งหมด
  • 18:57 - 19:02
    มีสิ่งเดียวที่พ้นจาก
    ไตรลักษณ์ไปคือพระนิพพาน
  • 19:02 - 19:04
    นิพพานไม่มีความเกิด
  • 19:04 - 19:06
    เมื่อนิพพานไม่มีความเกิด
  • 19:06 - 19:09
    นิพพานก็ไม่มีความเก่า
  • 19:09 - 19:13
    ไม่มีความตาย ไม่มีความดับ
  • 19:13 - 19:16
    ของนอกนั้นจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม
  • 19:16 - 19:21
    จะเป็นกุศลหรืออกุศล เกิดแล้วดับทั้งสิ้น
  • 19:21 - 19:23
    เรามีสติตามอ่านความเป็นจริง
  • 19:23 - 19:27
    ในจิตในใจของเราเรื่อยๆ ไป
  • 19:27 - 19:29
    แล้ววันหนึ่งเราก็จะเข้าใจ
  • 19:29 - 19:34
    ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่าน
    เข้ามาสู่ความรับรู้ของเรา
  • 19:34 - 19:37
    อยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับสลายไป
  • 19:37 - 19:40
    นี่ดูไปเรื่อยๆ
  • 19:40 - 19:43
    หลวงพ่อใช้เวลาตรงนี้
  • 19:43 - 19:46
    หลวงปู่ดูลย์บอกให้อ่านจิตตนเอง
  • 19:46 - 19:49
    หลวงพ่อใช้เวลา 7 เดือนในการอ่านจิตตนเอง
  • 19:49 - 19:53
    แต่ 7 เดือนนี้อ่านผิดไป 3 เดือน
  • 19:53 - 19:57
    อ่านผิดอย่างไร ก็พยายามบังคับจิตให้นิ่ง
  • 19:57 - 20:00
    ไม่ให้จิตคิดนึกปรุงแต่ง
  • 20:00 - 20:03
    ทำได้ไหม ก็ทำได้ ทำสมาธิไป
  • 20:03 - 20:07
    จิตก็ว่างๆ นิ่งๆ สบาย
  • 20:07 - 20:11
    แล้วไปหาหลวงปู่บอกผมดูจิตได้แล้ว
  • 20:11 - 20:13
    หลวงปู่ถามจิตเป็นอย่างไร
  • 20:13 - 20:15
    บอก โอ้ย จิตมันวิจิตรพิสดาร
  • 20:15 - 20:17
    มันปรุงแต่งได้สารพัดเลย
  • 20:17 - 20:20
    แต่ผมสามารถทำให้มันสงบไม่ปรุงแต่ง
  • 20:20 - 20:22
    ว่างๆ อยู่อย่างนั้น
  • 20:22 - 20:24
    หลวงปู่บอกว่าให้ไปอ่านจิต
  • 20:24 - 20:27
    ไม่ใช่ให้ไปปรุงแต่งจิต
  • 20:27 - 20:31
    ทำผิดแล้ว ไปทำใหม่ นี่ท่านสอนอย่างนี้
  • 20:31 - 20:33
    หลวงพ่อก็เลยมาทำใหม่
  • 20:33 - 20:36
    ก็คือมาอ่านจิตตนเองจริงๆ
  • 20:36 - 20:39
    อ่านอย่างไร
    ก็อ่านอย่างที่เล่าให้ฟังนี่ล่ะ
  • 20:39 - 20:42
    ไม่ได้อ่านแบบพิสดารอะไรทั้งสิ้นเลย
  • 20:42 - 20:46
    อ่านซื่อๆ อ่านสบายๆ นี่ล่ะ
  • 20:46 - 20:50
    อย่างขณะนี้พวกเราฟังหลวงพ่อเทศน์
  • 20:50 - 20:54
    ลองนึกซิใจเราสุขหรือทุกข์ รู้ไหม
  • 20:54 - 20:58
    รู้ได้ไหมว่าตอนนี้ใจสุขหรือทุกข์
  • 20:58 - 21:01
    ไม่เห็นจะยากตรงไหนเลย
  • 21:01 - 21:04
    หรืออย่างร่างกายถ้าบางคนดูกาย
  • 21:04 - 21:06
    รู้ไหมร่างกายกำลังนั่งอยู่
  • 21:06 - 21:09
    ยากไหมที่จะรู้ร่างกายกำลังนั่งอยู่
  • 21:09 - 21:13
    ถ้ายากก็เพี้ยนแล้ว ไปหาจิตแพทย์ได้เลย
  • 21:13 - 21:14
    นี่ธรรมะจริงๆ
  • 21:14 - 21:18
    เปิดเผยเรียบง่ายตรงไปตรงมาที่สุดเลย
  • 21:18 - 21:23
    ร่างกายหายใจออกร่างกายหายใจเข้ารู้ได้ไหม
  • 21:23 - 21:26
    ต้องทำจิตให้นิ่งก่อนแล้วถึงจะรู้ไหม
  • 21:26 - 21:30
    ไม่ต้อง รู้เฉยๆ
  • 21:30 - 21:33
    การรู้จิตรู้ใจก็รู้แบบเดียวกัน
  • 21:33 - 21:36
    รู้เหมือนที่รู้ร่างกายมันยืนเดินนั่งนอน
  • 21:36 - 21:39
    ร่างกายหายใจออกหายใจเข้านี่ล่ะ
  • 21:39 - 21:42
    รู้เฉยๆ รู้อย่างที่มันเป็น
  • 21:42 - 21:47
    ตอนนี้ใจเราสุขหรือทุกข์รู้ได้ไหม
  • 21:47 - 21:51
    ตอนนี้ใจเรางงไหม บางคนงง
  • 21:51 - 21:54
    เอะ มันสุขหรือมันทุกข์
  • 21:54 - 21:56
    หลายคนนะ
  • 21:56 - 22:00
    บางคนบอกไม่งง แต่ว่าอ่านใจไม่ออก
  • 22:00 - 22:04
    ขณะที่บอกไม่งงเลย กำลังหลงอยู่
  • 22:04 - 22:08
    หลงไปที่อื่นแล้ว ไม่ได้อ่านใจตัวเองแล้ว
  • 22:08 - 22:11
    จิตใจเป็นของละเอียด
  • 22:11 - 22:13
    เป็นของที่ว่องไวที่สุดเลย
  • 22:13 - 22:16
    เราต้องพัฒนาสติของเราให้ไวขึ้นมา
  • 22:16 - 22:18
    เพื่อจะอ่านมันให้ทัน
  • 22:18 - 22:22
    ไม่ใช่ไปหน่วงความรู้สึกทางใจให้ช้าลง
  • 22:22 - 22:25
    เพื่อสติที่ช้าๆ จะได้อ่านทัน
  • 22:25 - 22:28
    อย่าไปดัดแปลงมัน เหมือนอย่างบางคน
  • 22:28 - 22:33
    เดินจงกรมเดินให้ช้าๆ สติจะได้ตามทัน
  • 22:33 - 22:36
    เดินช้าๆ
  • 22:36 - 22:38
    จิตหนีไปสร้างภพสร้างชาติสร้างทุกข์
  • 22:38 - 22:40
    ไม่รู้กี่ร้อยรอบแล้ว
  • 22:40 - 22:44
    กว่าจะเดินได้แถวตลอดแนวนี่
  • 22:44 - 22:46
    เพราะฉะนั้นกิเลสมันไม่ช้าด้วยหรอก
  • 22:46 - 22:50
    ถึงเราแกล้งเดินให้ช้ากิเลสมันไม่ช้าด้วย
  • 22:50 - 22:51
    จิตนี้ก็เหมือนกัน
  • 22:51 - 22:56
    ไม่ต้องไปแกล้งทำให้ช้าๆ เอ๋อๆ นิ่งๆ
  • 22:56 - 22:58
    เงียบๆ อะไรอย่างนี้
  • 22:58 - 23:01
    กิเลสมันไม่ช้าด้วย
  • 23:01 - 23:05
    เพราะฉะนั้นมันเป็นอย่างไร
    รู้อย่างที่มันเป็นให้ได้
  • 23:05 - 23:09
    หลวงพ่อฝึกดูอ่านจิตตัวเองได้จริงๆ
  • 23:09 - 23:11
    4 เดือนเท่านั้น
  • 23:11 - 23:14
    หลวงพ่อก็เข้าใจจิตแล้ว
  • 23:14 - 23:17
    จิตมีธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
  • 23:17 - 23:20
    ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา
  • 23:20 - 23:23
    เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของมันไป
  • 23:23 - 23:25
    คราวนี้ไปส่งการบ้านกับหลวงปู่
  • 23:25 - 23:28
    หลวงปู่บอกว่าอย่างนี้ช่วยตัวเองได้แล้ว
  • 23:28 - 23:32
    ไม่จำเป็นต้องเรียนที่ไหนแล้ว
  • 23:32 - 23:36
    เรียนที่จิตใจตัวเองนี่ไปได้เอาตัวรอดแล้ว
  • 23:36 - 23:38
    ท่านสอน
  • 23:38 - 23:41
    มีพระมาถามหลวงพ่อ
  • 23:41 - 23:45
    อันนี้อีกวัดหนึ่งอยู่กับ
    ครูบาอาจารย์เหมือนกัน
  • 23:45 - 23:47
    พระอุปัฏฐากท่าน
  • 23:47 - 23:52
    ได้ยินหลวงพ่อส่งการบ้าน
    กับหลวงปู่ครูบาอาจารย์
  • 23:52 - 23:55
    แล้วหลวงพ่อออกจากหลวงปู่มา
  • 23:55 - 23:57
    หลวงปู่ก็ชมหลวงพ่อใหญ่
  • 23:57 - 23:59
    พระอุปัฏฐากท่านก็ฟัง
  • 23:59 - 24:01
    ตอนเย็นไปเจอท่าน
  • 24:01 - 24:03
    ท่านก็มาถามหลวงพ่อว่า
  • 24:03 - 24:08
    โยมๆ เป็นฆราวาสแท้ๆ เลย โยมภาวนาอย่างไร
  • 24:08 - 24:11
    โยมทำปีหนึ่ง พระทำ 10 ปี 20 ปี
  • 24:11 - 24:13
    ยังไม่ได้อย่างนี้เลย
  • 24:13 - 24:16
    ท่านถามซื่อๆ เลย
  • 24:16 - 24:21
    บอกพระทำ 10 ปี 20 ปี
    ยังไม่ได้อย่างที่โยมทำปีหนึ่ง
  • 24:21 - 24:25
    หลวงพ่อก็บอกท่านผมทำทั้งวัน
  • 24:25 - 24:29
    ท่านก็งง ทำทั้งวันแล้วไม่ทำมาหากินหรือ
  • 24:29 - 24:32
    ตอนนั้นรับราชการ
  • 24:32 - 24:34
    แล้วทำอย่างไรทำทั้งวัน
  • 24:34 - 24:39
    เจริญสติในชีวิตประจำวันนั่นล่ะ
  • 24:39 - 24:42
    เวลาเรามีหน้าที่การงานเราต้องทำงาน
  • 24:42 - 24:44
    สติจดจ่ออยู่กับงาน
  • 24:44 - 24:48
    สมาธิจดจ่ออยู่กับงาน ปัญญาคิดเรื่องงาน
  • 24:48 - 24:50
    อันนั้นไม่ใช่เวลาปฏิบัติ
  • 24:50 - 24:52
    แต่เป็นเวลาทำงาน
  • 24:52 - 24:55
    เวลานอกเหนือจากเวลาที่ทำงาน
  • 24:55 - 24:58
    กับเวลาทำงานที่ใช้ความคิด
  • 24:58 - 25:02
    แต่ถ้าทำงานที่ใช้ร่างกาย
    ปฏิบัติได้ตลอดเลย
  • 25:02 - 25:07
    อย่างที่สุรินทร์เมื่อก่อน
    เห็นมีสามล้อถีบเยอะเลย
  • 25:07 - 25:10
    คนถีบสามล้อเข้าใจธรรมะก็มี
  • 25:10 - 25:13
    เขาเก่ง
  • 25:13 - 25:14
    เขาถีบสามล้อไป
  • 25:14 - 25:18
    เขาก็อ่านจิตใจตัวเองไป
  • 25:18 - 25:21
    อ่านร่างกายตัวเองไปเรื่อยๆ
  • 25:21 - 25:26
    แม่ค้าขายผักอยู่ในตลาดก็ภาวนาดี
  • 25:26 - 25:31
    หน้าใสปิ๊งเลย สว่างสดใส รู้เนื้อรู้ตัว
  • 25:31 - 25:34
    จิตใจกิเลสเบาบาง
  • 25:34 - 25:36
    นี่เขาภาวนาได้อย่างไร
  • 25:36 - 25:41
    เขาไม่มีเวลามานั่งสมาธิทั้งวันหรอก
  • 25:41 - 25:44
    ไม่มีเวลามาเดินจงกรม นั่งขายผัก
  • 25:44 - 25:47
    เขาทำด้วยการเจริญสติ
  • 25:47 - 25:51
    มีสติรู้สึกกายมีสติรู้สึกใจตัวเองไป
  • 25:51 - 25:58
    นั่งขายผักคนมาซื้อ ดีใจรู้ว่าดีใจ
  • 25:58 - 26:01
    ขายตั้งนานแล้วไม่มีใครมาซื้อเลย
    ผักชักจะเหี่ยวแล้ว
  • 26:01 - 26:04
    เมืองสุรินทร์หน้าร้อนๆ ร้อนจัดเลย
  • 26:04 - 26:08
    ผักนี้ชักจะเหี่ยวพอๆ กับคนขายแล้ว
  • 26:08 - 26:12
    คนขายแก่งั่ก แต่คนขายผ่องใส
  • 26:12 - 26:17
    ผักก็เหี่ยวไปแต่คนขายผักผ่องใส
  • 26:17 - 26:21
    เขาก็เห็นผักมันเหี่ยวก็เรื่องธรรมชาติ
  • 26:21 - 26:24
    ใจของเขากังวลว่าขาย
    ไม่ออกเดี๋ยววันนี้ขาดทุน
  • 26:24 - 26:27
    เขาเห็นว่าใจกังวล
  • 26:27 - 26:32
    ใจของเขาก็ได้ทรัพย์สมบัติที่วิเศษไป
  • 26:32 - 26:36
    ได้อริยทรัพย์
  • 26:36 - 26:38
    ทรัพย์ทางโลกไม่ค่อยมี
  • 26:38 - 26:43
    อย่างคนสุรินทร์ยุคก่อน
    สมัยหลายสิบปีก่อนจนมาก
  • 26:43 - 26:47
    จนแต่เขามีอริยทรัพย์กัน
  • 26:47 - 26:51
    เขามีทาน เขามีศีล เขามีสติ เขามีสมาธิ
  • 26:51 - 26:54
    เขาขยันศึกษาทางธรรม
  • 26:54 - 26:57
    สงสัยเขาไต่ถามครูบาอาจารย์
  • 26:57 - 27:01
    ชีวิตเขาวนเวียนอยู่อย่างนี้ เขาภาวนาดี
  • 27:01 - 27:04
    แต่รุ่นหลังนี่หมดแล้ว ไปดู
  • 27:04 - 27:06
    ก็กลายเป็นเหมือนคนกรุงเทพฯหมดแล้ว
  • 27:06 - 27:09
    พวกหลงโลกทั้งนั้นล่ะ
  • 27:09 - 27:11
    ไปไหนก็เจอแต่พวกหลงโลก
  • 27:11 - 27:15
    หลวงพ่อภาวนาก็ทำอย่างนี้ล่ะ
  • 27:15 - 27:18
    ตกเย็นตกค่ำก็นั่งสมาธินิดหน่อย
  • 27:18 - 27:21
    เดินจงกรมไม่ค่อยได้เดิน
  • 27:21 - 27:24
    เพราะที่บ้านเป็นบ้านโบราณบ้านไม้
  • 27:24 - 27:26
    เวลาเดินดังเอี๊ยดๆๆ
  • 27:26 - 27:31
    หนวกหูคนที่อยู่ในบ้านเดียวกัน เขารำคาญ
  • 27:31 - 27:33
    หลวงพ่อก็ใช้วิธีนั่งเอา
  • 27:33 - 27:35
    ฝึกตัวเอง
  • 27:35 - 27:41
    ที่จะฝึกอ่านใจตัวเอง
    ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • 27:41 - 27:45
    ก่อนจะนอนก็กินน้ำเยอะๆ
  • 27:45 - 27:47
    กินน้ำมากๆ เพื่ออะไร
  • 27:47 - 27:50
    ปวดฉี่จะได้ตื่น
  • 27:50 - 27:54
    พอตื่นมา มาฉี่เสร็จแล้วก็กินน้ำอีกละ
  • 27:54 - 27:57
    แล้วก็ไปนั่งสมาธิ
  • 27:57 - 28:02
    ถ้าจิตยังมืดมัวอยู่จะไม่นอน
  • 28:02 - 28:06
    ถ้านั่งแล้วจิตไม่ผ่องใสมัวๆ
  • 28:06 - 28:09
    ถูกโมหะครอบ จะไม่นอนต่อ
  • 28:09 - 28:14
    ฝึกตัวเองเข้มงวด
  • 28:14 - 28:19
    ฝึกไปๆ จนกระทั่งกิเลสมันก็ฉลาด
  • 28:19 - 28:24
    พอเราตื่นปุ๊บ สว่าง ใจเราสว่างผ่องใส
  • 28:24 - 28:26
    อ้าว นอนได้แล้ว
  • 28:26 - 28:28
    กิเลสมันเก่งนะ
  • 28:28 - 28:31
    แหม่มันหลอกเราได้สารพัด กว่าจะรู้ทันมัน
  • 28:31 - 28:35
    เออ สว่างก็ดีแล้วนี่ นั่งต่อเลย
  • 28:35 - 28:39
    นี่ฝึกตัวเองอย่างนี้ ฝึกไป
  • 28:39 - 28:42
    อยากได้ของดีก็ต้องอดทน
  • 28:42 - 28:44
    แต่ต้องอดทนให้ถูกทางถูกหลัก
  • 28:44 - 28:47
    อดทนไม่ถูกหลักก็เหนื่อยเปล่า
  • 28:47 - 28:52
    นักปฏิบัติที่ทำผิดมี 2 อัน
  • 28:52 - 28:56
    กามสุขัลลิกานุโยคกับอัตตกิลมถานุโยค
  • 28:56 - 29:01
    กามสุขัลลิกานุโยคก็หลง หลงตามกิเลสไป
  • 29:01 - 29:04
    อัตตกิลมถานุโยคก็คือทำตัวเองให้ลำบาก
  • 29:04 - 29:07
    บังคับกายบังคับใจตัวเอง
  • 29:07 - 29:10
    เหมือนอย่างพระองค์นี้ท่านสงสัย
  • 29:10 - 29:12
    ท่านจะมาถามหลวงพ่อ
  • 29:12 - 29:14
    อยากถามหลวงพ่อภาวนาตั้งนาน
  • 29:14 - 29:16
    ทำไมไม่เจริญ
  • 29:16 - 29:19
    ท่านติดเพ่งอยู่ ให้ใจนิ่งๆ
  • 29:19 - 29:22
    แต่ตอนนี้ใจท่าน
    ไม่เหมือนอย่างเมื่อกี้แล้ว
  • 29:22 - 29:26
    ตอนนั่งฟังใหม่ๆ ใจท่านแน่นอึ้ด
  • 29:26 - 29:27
    แต่ตอนนี้ใจท่านคลายออกแล้ว
  • 29:27 - 29:31
    รู้เนื้อรู้ตัวขึ้นมา อย่างนี้ถึงจะภาวนาได้
  • 29:31 - 29:34
    ถ้านั่งเพ่งอยู่ กี่ปีมันก็อยู่แค่นั้นล่ะ
  • 29:34 - 29:37
    ไม่มีความเจริญหรอก
  • 29:37 - 29:40
    ฉะนั้นหัดอ่านใจตัวเองบ่อยๆ
  • 29:40 - 29:47
    แล้วเราจะได้ๆ ของดี ของดีก็คือธรรมะนั่นล่ะ
  • 29:47 - 29:52
    ถ้าเราเข้าใจธรรมะเราจะไม่ตีกับใคร
  • 29:52 - 29:53
    เราจะไม่ทะเลาะกับใคร
  • 29:53 - 29:56
    เอาธรรมะไปเถียงกันอะไรอย่างนี้
  • 29:56 - 29:58
    ไม่ทำหรอก
  • 29:58 - 30:00
    ธรรมะเป็นของสูงเป็นของร่มเย็น
  • 30:00 - 30:03
    ไม่ได้เรียนเอาไว้ทะเลาะกัน
  • 30:03 - 30:05
    อันนั้นเรียนแล้วกิเลสแรงกว่าเก่า
  • 30:05 - 30:07
    อย่างน้อยเรียนแล้วกูเก่ง
  • 30:07 - 30:09
    กูรู้เยอะกว่าคนอื่นอะไรอย่างนี้
  • 30:09 - 30:11
    นี่กิเลสทั้งนั้นเลย
  • 30:11 - 30:13
    แล้วพูดธรรมะฉอดๆๆๆ
  • 30:13 - 30:16
    แต่ไม่เห็นกิเลส ใช้ไม่ได้หรอก
  • 30:16 - 30:18
    อ่านจิตตัวเองไม่ออก
  • 30:18 - 30:21
    ฉะนั้นพวกเราหัดอ่านจิตตัวเอง
  • 30:21 - 30:29
    ไม่ใช่เรื่องยากหรอก มันละเลยที่จะอ่าน
  • 30:29 - 30:33
    วันนี้เทศน์ไปเทศน์มา
  • 30:33 - 30:39
    เนื้อหาสาระที่ควรจะบอกๆ หมดแล้ว
  • 30:39 - 30:42
    เอาไปทำเอานะ
  • 30:42 - 30:46
    สังเกตไหมพอหลวงพ่อบอกว่าเทศน์เสร็จแล้ว
  • 30:46 - 30:49
    ใจของเราเปลี่ยนทันทีเลย รู้สึกไหม
  • 30:49 - 30:54
    เฮ้อ แหม มันออกหน้าออกตามากไป
  • 30:54 - 30:59
    ไม่รู้จักเกรงใจเลย
  • 30:59 - 31:02
    นี่รู้สึกไหมใจขำ เห็นไหม
  • 31:02 - 31:04
    ความรู้สึกขำเกิดขึ้น
  • 31:04 - 31:07
    รู้สึกนี่ขำแล้วเอิ๊กๆ อ๊ากๆ
  • 31:07 - 31:11
    เหมือนเด็กทารก เหมือนพระพุทธเจ้าบอกนะ
  • 31:11 - 31:12
    อย่างหัวเราะเอิ๊กอ๊ากๆ
  • 31:12 - 31:15
    มันอาการของเด็กทารก
  • 31:15 - 31:19
    ไม่รู้เรื่องไม่มีสติ
  • 31:19 - 31:23
    อย่างที่วัดหลวงพ่อคอยดูพระเรื่อยๆ
  • 31:23 - 31:26
    คุยกันเสียงดังหลวงพ่อยังดุเลย
  • 31:26 - 31:28
    อย่างหัวเราะก๊ากๆ นี่โดนทันทีเลย
  • 31:28 - 31:32
    ถ้าคุยเสียงดัง
    เดี๋ยวว่างๆ แล้วจะเรียกมาดุ
  • 31:32 - 31:36
    แต่ถ้าหัวเราะก๊ากๆ นี่โดนทันทีเลย
  • 31:36 - 31:39
    เพราะว่านักปฏิบัติไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น
  • 31:39 - 31:41
    ต้องมีสติ
  • 31:41 - 31:43
    สนุกได้ไหม
  • 31:43 - 31:47
    ความรู้สึกสนุกเกิดขึ้นได้ไหม ได้
  • 31:47 - 31:50
    แต่อย่าให้ขาดสติ
  • 31:50 - 31:53
    มีความสุขได้ไหม มีความสุขได้
  • 31:53 - 31:57
    ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าบอกให้รู้ทุกข์
  • 31:57 - 31:59
    ฉะนั้นกูต้องทุกข์อย่างเดียว
  • 31:59 - 32:01
    อันนั้นไม่ใช่นะ
  • 32:01 - 32:02
    คำว่ารู้ทุกข์ก็คือ
  • 32:02 - 32:05
    รู้รูปรู้นามรู้กายรู้ใจ
  • 32:05 - 32:08
    ความสุขก็อยู่ในกองทุกข์
  • 32:08 - 32:11
    ความสุขก็เป็นตัวทุกข์ชนิดหนึ่ง
  • 32:11 - 32:15
    ตัวเวทนาเป็นตัวทุกข์อย่างหนึ่ง
  • 32:15 - 32:21
    ตามรู้ตามเห็น ไม่อยากหรอก
  • 32:21 - 32:27
    ธรรมะก็ประณีตเป็นลำดับๆ ไป
  • 32:27 - 32:31
    เบื้องต้นนี่อ่านใจตัวเองให้ออก
  • 32:31 - 32:34
    หลวงปู่ดูลย์ท่านสอนธรรมะสอนสั้นๆ
  • 32:34 -
    ไม่สอนยาวอย่างหลวงพ่อหรอก
  • Not Synced
    ถ้าหลวงพ่อเอาอย่างหลวงปู่ดูลย์สอนสั้นๆ
  • Not Synced
    พวกเราไม่รู้เรื่อง
  • Not Synced
    เพราะอินทรีย์พวกเราอ่อน ขี้เกียจด้วย
  • Not Synced
    ใครยังรู้สึกตัวว่าขี้เกียจบ้าง
  • Not Synced
    ไม่ต้องยกๆ ของมันเห็นๆ กันอยู่
  • Not Synced
    ไม่ต้องยกหรอก
  • Not Synced
    ถ้ายังมีการเว้นวรรค
  • Not Synced
    การปฏิบัติของเรายังประมาทเกินไป
  • Not Synced
    ตอนนี้ขอเล่นเกมสัก
    ชั่วโมงหนึ่งก่อนอะไรอย่างนี้
  • Not Synced
    นี่ประมาทนะ
  • Not Synced
    ระหว่างเล่นเกมอาจจะช็อกตายก็ได้
  • Not Synced
    ดีใจชนะเกม นี่ประมาท
  • Not Synced
    ฉะนั้นอย่าให้มีช่องโหว่
  • Not Synced
    ช่องโหว่เล็กนิดเดียวกิเลสลุยทันที
  • Not Synced
    กิเลสมันเก่งนะไม่ใช่มันไม่เก่ง
  • Not Synced
    ต้องฝึก
  • Not Synced
    หลวงปู่ดูลย์ท่านสอนสั้นๆ
  • Not Synced
    อย่างถ้าท่านจะสอนให้
    จิตเรามีสมาธิตั้งมั่นนี่
  • Not Synced
    ท่านพูดประโยคเดียว “อย่าส่งจิตออกนอก”
  • Not Synced
    จิตออกนอกคือจิตไหลไป
  • Not Synced
    ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ
  • Not Synced
    บอกอย่าส่งไป
  • Not Synced
    แต่ถ้าจิตมันส่งไปเอง ห้ามมันไม่ได้นะ
  • Not Synced
    แต่เราอย่าส่งไป
  • Not Synced
    ส่งไปก็คืออุ้ยสนุกจังเลย
  • Not Synced
    ดูละครสัตว์นี่สนุกจังเลย ส่งจิตไปดู
  • Not Synced
    ไปดูหมูเด้ง
  • Not Synced
    มันเด้งบ้างไม่เด้งบ้าง ส่วนใหญ่มันนอน
  • Not Synced
    ก็อุตส่าห์ไปดูกัน ไปดู
  • Not Synced
    เวลาไปดูหมูเด้ง เห็นไหมใจไปอยู่ที่หมูเด้ง
  • Not Synced
    ถ้าตายไปเราจะต้องแย่งกันไปเป็นฮิปโป
  • Not Synced
    แล้วคราวนี้คนอื่นเขาจะมาดูเราเด้งบ้างแล้ว
  • Not Synced
    นี่ใจมันไหลออกไป
  • Not Synced
    อย่าส่งจิตออกนอกก็คืออย่ามีโลภะเจตนา
  • Not Synced
    เที่ยวแสวงหากามคุณอารมณ์
  • Not Synced
    คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะทั้งหลาย
  • Not Synced
    แต่ธรรมชาติของจิตย่อมส่งออกนอก
  • Not Synced
    เห็นไหมจิตมันโดยตัวมันชอบส่งออกนอก
  • Not Synced
    ไม่ห้าม
  • Not Synced
    ถ้าจิตส่งออกนอกแล้วให้มีสติรู้ทัน
  • Not Synced
    ตรงนี้สำคัญนะ
  • Not Synced
    นี่คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ประโยคเดียว
  • Not Synced
    แต่พอกระจายออกมา
  • Not Synced
    โห มันเป็นหลักการปฏิบัติที่เยอะแยะไปหมดเลย
  • Not Synced
    ถ้าจิตเราไม่ส่งออกนอก จิตเราจะเป็นอย่างไร
  • Not Synced
    จิตเราจะตั้งมั่น
  • Not Synced
    จิตเราจะตั้งมั่น
    เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน
  • Not Synced
    หลวงพ่อฝึกได้จิตที่
    ตั้งมั่นมาตั้งแต่ 10 ขวบ
  • Not Synced
    ฉะนั้นเวลาหลวงปู่สอน
  • Not Synced
    หลวงปู่ไม่มาบอกหลวงพ่อว่าอย่าส่งจิตออกนอก
  • Not Synced
    หลวงปู่ต่อยอดให้เลย
  • Not Synced
    “จงทำญาณเห็นจิตให้เหมือนตาเห็นรูป”
  • Not Synced
    ท่านสอนตรงนี้
  • Not Synced
    จงทำญาณเห็นจิตให้เหมือนตาเห็นรูป
  • Not Synced
    เวลาตาเราเห็นรูปเราจงใจเห็นไหม
  • Not Synced
    หลับตาซิ ทุกคนหลับตา
  • Not Synced
    แล้วลองหันหน้าไปให้มันเปลี่ยนทิศทาง
  • Not Synced
    แล้วลืมตา
  • Not Synced
    เราเจตนาเห็นไหม ไม่ได้เจตนา
  • Not Synced
    จงทำญาณเห็นจิตให้เหมือนตาเห็นรูป
  • Not Synced
    อันแรกเลยไม่ได้เจตนา
  • Not Synced
    มีรูปอย่างไรก็เห็นมันไปอย่างนั้น
  • Not Synced
    หันไปแล้วไปเจอสาวสวยก็รู้ รู้รูป
  • Not Synced
    หันไปแล้วไปเจอหมาขี้เรือนวิ่งเข้ามาหรือ
  • Not Synced
    เสือกำลังวิ่งเข้ามาก็รู้ รู้ทัน
  • Not Synced
    เหมือนตาเห็นรูป เราไม่เลือกนี่
  • Not Synced
    เราเลือกได้ไหมว่าจะเห็นรูปอะไร
  • Not Synced
    เราเลือกไม่ได้
  • Not Synced
    ตาจะเห็นรูปที่ดีหรือรูปที่ไม่ดี
  • Not Synced
    ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ เราเลือกไม่ได้
  • Not Synced
    การดูจิตเขาบอก
  • Not Synced
    จงทำญาณเห็นจิตให้เหมือนตาเห็นรูป
  • Not Synced
    เราไม่เลือกอารมณ์ของจิต
  • Not Synced
    อย่างตาก็ไม่เลือกอารมณ์ของตา
  • Not Synced
    มีรูปอะไรก็เห็นไปอย่างนั้น
  • Not Synced
    จิตนี่เราก็ไม่เลือกอารมณ์
  • Not Synced
    อารมณ์ที่ดีมาเราก็รู้
    อารมณ์ที่ไม่ดีมาเราก็รู้
  • Not Synced
    ตามรู้อย่างที่มันมีอย่างที่มันเป็นไป
  • Not Synced
    มีญาณเห็น
  • Not Synced
    ญาณแปลว่าความหยั่งรู้
  • Not Synced
    เป็นลักษณะของปัญญา
  • Not Synced
    ฉะนั้นไม่ใช่รู้โง่ๆ
  • Not Synced
    ไม่ใช่รู้เอ๋อๆ น้ำลายยืดๆ รู้
  • Not Synced
    ไม่ใช่ รู้ต้องมีปัญญา
  • Not Synced
    มีใจที่ตั้งมั่นปัญญาถึงเกิด
  • Not Synced
    มันผ่านบทเรียนที่ชื่อว่า
    อย่าส่งจิตออกนอกมาแล้ว
  • Not Synced
    ใจมันตั้งมั่นแล้ว
  • Not Synced
    พอใจมันตั้งมั่นแล้ว
  • Not Synced
    มันถึงจะมีญาณเห็นจิตได้
  • Not Synced
    ญาณเป็นปัญญา
  • Not Synced
    ปัญญามีสัมมาสมาธิคือ
    ความตั้งมั่นเป็นเหตุใกล้ให้เกิด
  • Not Synced
    ฉะนั้นที่หลวงพ่อจะจ้ำจี้จำไชพวกเรา เฮ้ย
  • Not Synced
    จิตต้องตั้งมั่นนะ จิตต้องถึงฐานนะ
  • Not Synced
    เพื่อจะเอาไว้เดินปัญญา
  • Not Synced
    ทำญาณเห็นจิตให้เหมือนตาเห็นรูป
  • Not Synced
    หมายถึงว่ามีอารมณ์อะไร
    เกิดขึ้นก็สักว่ารู้ว่าเห็นไป
  • Not Synced
    รู้เห็นอย่างที่มันมีอย่างที่มันเป็น
  • Not Synced
    แล้วไม่ได้รู้โง่ๆ รู้แบบมีปัญญา
  • Not Synced
    อันแรกเลยมีสติรู้ว่ามี
    อารมณ์อะไรเกิดขึ้นกับจิต
  • Not Synced
    เช่นความสุขความทุกข์
    กุศลอกุศลเกิดขึ้นกับจิต
  • Not Synced
    รู้ทัน
  • Not Synced
    อันที่สองมีปัญญาซ้ำลงไป
  • Not Synced
    ทุกสิ่งทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า
    ล้วนแต่ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์
  • Not Synced
    ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง
  • Not Synced
    กุศลอกุศลก็ไม่เที่ยง
  • Not Synced
    หัดดูอย่างนี้ คำว่า
  • Not Synced
    “จงทำญาณเห็นจิตให้เหมือนตาเห็นรูป”
  • Not Synced
    คืออย่างนี้
  • Not Synced
    ไม่ใช่นั่งจ้องอยู่ที่จิต
  • Not Synced
    ถ้าไปนั่งจ้องอยู่ที่จิต ไม่ใช่แล้ว
  • Not Synced
    มันก็คล้ายๆ เราเข้าห้องปิดประตู
  • Not Synced
    แล้วก็จุดเทียนไว้อันหนึ่ง
  • Not Synced
    แล้วก็มองอยู่ที่เทียน ไม่ให้มองอันอื่นเลย
  • Not Synced
    ตาก็ต้องเห็นแต่เทียนนี่ล่ะ
    เห็นอย่างอื่นไม่ได้
  • Not Synced
    ไม่ใช่นะ
  • Not Synced
    มีตาก็เห็นอย่างที่มันจะต้องเห็น
  • Not Synced
    จิตของเราจะมีความรู้สึกอะไรเกิดขึ้น
  • Not Synced
    ให้มันรู้สึกไปอย่างที่มันมีอย่างที่มันเป็น
  • Not Synced
    แล้วเราก็ตามเห็นไป
  • Not Synced
    ตอนนี้จิตสุข ตอนนี้จิตทุกข์
  • Not Synced
    ตอนนี้จิตเป็นกุศล ตอนนี้จิตเป็นอกุศล
  • Not Synced
    ตามรู้ตามเห็นไป
  • Not Synced
    พอตามรู้ตามเห็นไปมากพอ มันจะรู้
  • Not Synced
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
  • Not Synced
    สิ่งนั้นทั้งหมดดับเป็นธรรมดา
  • Not Synced
    ทำไม่ใช้คำว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  • Not Synced
    ทำไมไม่ใช้ว่าโลภโกรธหลงสุขทุกข์ดีชั่วอะไร
  • Not Synced
    ใช้คำว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    หมายถึง Everything ที่เกิด
  • Not Synced
    ทั้งหมดนั่นล่ะต้องดับ
  • Not Synced
    ฉะนั้นไม่ใช้คำว่าสุขเกิดแล้วสุขดับ
  • Not Synced
    ทุกข์เกิดแล้วทุกข์ดับ กุศลเกิดแล้วก็ดับ
  • Not Synced
    โลภโกรธหลงเกิดแล้วก็ดับ
  • Not Synced
    อย่างตอนที่เราหัดดูใหม่ๆ ใช่ไหม
  • Not Synced
    เราก็จะเห็นสุขเกิดแล้วดับ ทุกข์เกิดแล้วดับ
  • Not Synced
    กุศลเกิดแล้วดับ โลภโกรธหลงเกิดแล้วดับ
  • Not Synced
    เราดูแต่ละอันเกิดแล้วดับ
    แต่ละอันเกิดแล้วดับ
  • Not Synced
    ตรงที่ปัญญาแก่รอบเต็มที่แล้วนี่
  • Not Synced
    มันไม่มานั่งดูทีละอัน มันสรุปรวบยอด
  • Not Synced
    ปัญญาในอริยมรรคนี่มันสรุปรวบยอดเลยว่า
  • Not Synced
    สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นทั้งหมดดับเป็นธรรมดา
  • Not Synced
    Everything เกิดแล้วดับ
  • Not Synced
    ตรงนี้เราจะเข้าใจธรรมะ
  • Not Synced
    ก็ได้โสดาบันตรงนี้
  • Not Synced
    ถัดจากนั้นก็ภาวนาของเราแบบเดิมนั่นล่ะ
  • Not Synced
    แต่ศีลของเราเต็มที่อยู่แล้วล่ะ
  • Not Synced
    สมาธิก็จะแก่กล้าขึ้น
  • Not Synced
    แล้วก็เจริญปัญญาไป
  • Not Synced
    พระสกทาคาพระโสดาบันศีลบริบูรณ์
  • Not Synced
    สมาธิเล็กน้อย ปัญญาเล็กน้อย
  • Not Synced
    สมาธิเล็กน้อยคือใจเราวอกแวกๆ
  • Not Synced
    ไม่ได้ต่างกับชาวบ้านธรรมดาหรอก
  • Not Synced
    พระโสดาบันปัญญาเล็กน้อย
  • Not Synced
    เห็นไตรลักษณ์เป็นคราวๆ
    ไม่ได้เห็นได้ตลอดหรอก
  • Not Synced
    พระสกทาคามีศีลบริบูรณ์
  • Not Synced
    อันนี้บริบูรณ์ตั้งแต่โสดาบันแล้ว
  • Not Synced
    สมาธิปานกลาง
  • Not Synced
    ปัญญาเล็กน้อย
  • Not Synced
    ปัญญาเล็กน้อยก็ยังไม่ได้
    รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจอะไร
  • Not Synced
    ปัญญาเล็กน้อยก็แค่สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นก็ดับ
  • Not Synced
    แต่จิตมีกำลังตั้งมั่นมากขึ้น
  • Not Synced
    สมาธิปานกลาง
  • Not Synced
    สมาธิปานกลางก็คือถ้าจะหลง
  • Not Synced
    หลงแวบเดียว ฟุ้งไปก็ฟุ้งสั้นๆ ไม่ฟุ้งยาว
  • Not Synced
    ถ้าฟุ้งเป็นชั่วโมงไม่ใช่แล้วล่ะ
  • Not Synced
    แสดงว่าสมาธิอ่อนเหลือเกิน
  • Not Synced
    แล้วถ้าภาวนาต่อไป
  • Not Synced
    รู้แจ้งแทงตลอดในตัวร่างกายในรูปนี่
  • Not Synced
    ว่าไม่ใช่อย่างอื่นมีแต่ทุกข์
  • Not Synced
    รู้แจ้งแทงตลอดอย่างนี้จิตมันวางกาย
  • Not Synced
    พอมันวางร่างกาย
    มันก็จะวางตาหูจมูกลิ้นกายใจ
  • Not Synced
    มันก็จะพลอยวางรูปเสียง
    กลิ่นรสโผฏฐัพพะไปด้วย
  • Not Synced
    ตัวที่ทำให้จิตเราฟุ้งซ่านก็คือกามนั่นล่ะ
  • Not Synced
    พอเป็นพระอนาคามีมันวาง
  • Not Synced
    ตาหูจมูกลิ้นกายลงไปได้
  • Not Synced
    แล้วก็วางรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะไปด้วย
  • Not Synced
    ความยินดีพอใจในรูปไม่มี
  • Not Synced
    ความยินร้ายในรูปไม่มี
  • Not Synced
    ใจก็ไม่วิ่งแส่ส่ายออกไปทางตาหูจมูกลิ้นกาย
  • Not Synced
    นี่สมาธิมันบริบูรณ์เพราะเหตุนี้
  • Not Synced
    เพราะว่าจิตไม่ไหลตามกามออกไป
  • Not Synced
    ไม่ไหลไปทางตาหูจมูกลิ้นกาย
  • Not Synced
    มันตั้งมั่นเด่นดวงอยู่กับตัวเองนี่
  • Not Synced
    ถึงบอกพระอนาคามีมีสมาธิบริบูรณ์
  • Not Synced
    มีปัญญาปานกลาง
  • Not Synced
    โสดาบัน สกทาคามี
  • Not Synced
    เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น
  • Not Synced
    สิ่งนั้นก็ดับไป ไม่มีตัวเรา
  • Not Synced
    พระอนาคามีมีปัญญาปานกลาง
  • Not Synced
    คือเห็นว่ารูปทั้งหลายร่างกายนี่
    ไม่มีอย่างอื่นนอกจากทุกข์
  • Not Synced
    ไม่มีอย่างอื่นเลย
  • Not Synced
    เห็นมีแต่ทุกข์ล้วนๆ เลย
  • Not Synced
    นี่เป็นปัญญาปานกลาง
  • Not Synced
    แต่ทำไมปัญญานี้ยังไม่สิ้นสุด
  • Not Synced
    พระอนาคามียังหลงผิดอยู่
  • Not Synced
    ว่าตัวจิตที่ฝึกดีแล้วนี่มีความสุข
  • Not Synced
    ฉะนั้นจะมุ่งไปหาความสุขของสมาธิ
  • Not Synced
    จะไปติดในรูปราคะอรูปราคะ
  • Not Synced
    ทีนี้ภาวนาไปเรื่อยก็จะรู้เลย
  • Not Synced
    รูปราคะอรูปราคะ
  • Not Synced
    จิตเข้าไปติดไปยึดจิตก็ทุกข์อีก
  • Not Synced
    แล้วต่อไปปัญญาแก่รอบจริงๆ จะรู้ว่า
  • Not Synced
    จิตนั่นล่ะคือตัวทุกข์
  • Not Synced
    มันจะแตกหัก วัฏจักรจะล่มลงก็ตรงที่
  • Not Synced
    มันรู้แจ้งแทงตลอดว่าจิตคือตัวทุกข์
  • Not Synced
    ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้างอย่างที่เคยเห็นแล้ว
  • Not Synced
    ตัวนี้คือปัญญาขั้นสุดท้ายเลย
  • Not Synced
    ก็จะรู้แจ้งแทงตลอด
  • Not Synced
    ปฏิจจสมุปบาทล้างอวิชชา
  • Not Synced
    อวิชชาคืออะไร คือความไม่รู้ทุกข์
  • Not Synced
    ไม่สามารถรู้ทุกข์ได้ ไม่สามารถละสมุทัย
  • Not Synced
    ไม่สามารถแจ้งนิโรธ
    ไม่สามารถเจริญอริยมรรคได้
  • Not Synced
    แต่ตรงที่มันรู้แจ้งแทงตลอดว่า
  • Not Synced
    จิตนั้นล่ะคือตัวทุกข์
  • Not Synced
    นี่คือขันธ์ตัวสุดท้าย
  • Not Synced
    ที่เราจะสามารถเห็นได้ว่ามันคือตัวทุกข์
  • Not Synced
    ตัวกายดูง่ายว่าเป็นตัวทุกข์
  • Not Synced
    แต่พอถึงตัวจิตจะให้ดูว่า
  • Not Synced
    กระทั่งจิตที่ทรงฌานก็คือตัวทุกข์
  • Not Synced
    ไม่ใช่ง่าย
  • Not Synced
    อันนี้เลยเป็นปัญญาอย่างยิ่ง
  • Not Synced
    รู้แจ้งแทงตลอดในกองทุกข์
  • Not Synced
    ก็รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจนั่นล่ะ
  • Not Synced
    กว่าจะถึงจุดนี้ก็ต้องสู้
  • Not Synced
    จุดเริ่มต้นของการสู้
    ทำอย่างที่หลวงพ่อบอกนั่นล่ะ
  • Not Synced
    ถือศีล 5 ไว้
  • Not Synced
    ทุกวันทำในรูปแบบไหว้พระ
    สวดมนต์นั่งสมาธิเดินจงกรม
  • Not Synced
    จิตจะได้มีกำลัง
  • Not Synced
    หัวใจของการปฏิบัตินั้นคือ
    การเจริญสติในชีวิตประจำวัน
  • Not Synced
    ถ้าเราทำอย่างนี้ได้มรรคผลไม่ใช่เรื่องไกล
  • Not Synced
    ถ้าเก่งเฉพาะตอนนั่งสมาธิยังอีกไกล
  • Not Synced
    เพราะอยู่ในชีวิตจริงเราล้มเหลว
  • Not Synced
    เพราะฉะนั้นฝึกนะที่หลวงพ่อบอกให้วันนี้
  • Not Synced
    เป็นแก่นสารสาระในการฝึกกรรมฐานเลย
  • Not Synced
    เหมือนที่หลวงปู่มั่นบอก
  • Not Synced
    ทำสมาธิมากเนิ่นช้า คิดพิจารณามากฟุ้งซ่าน
  • Not Synced
    หัวใจสำคัญของการปฏิบัติ
    คือการมีสติในชีวิตประจำวัน
  • Not Synced
    วันนี้เทศน์ให้ฟังเท่านี้
  • Not Synced
    ขอเบรกแป๊บหนึ่ง
  • Not Synced
    ปีนี้รู้สึกแก่ลงไปเยอะเลย
  • Not Synced
    เมื่อก่อนเทศน์สอนใหม่ๆ หลวงพ่อเคยสอน
  • Not Synced
    ตอนนั้นยังไม่บวช สอนเพื่อนๆ
  • Not Synced
    สอนโต้รุ่งเลย
  • Not Synced
    เนสัชชิกกันแล้วก็นั่งกัน
  • Not Synced
    มาบวชทีแรกก็สอน 7 วัน สอนทั้งวัน
  • Not Synced
    ต่อมาก็ลดลงเหลือสอน 4 วัน สอนครึ่งวัน
  • Not Synced
    เดี๋ยวนี้เหลือ 2 วัน
  • Not Synced
    แต่ว่าทุกวันคนไปที่วัดเยอะแยะ
  • Not Synced
    ก็สอนให้เหมือนกัน
  • Not Synced
    บางวันหมดแรงจริงๆ
  • Not Synced
    ก็ต้องพักเหมือนกัน แก่แล้ว
  • Not Synced
    เอาใครก่อนดี เบอร์ 1 เพ่งอยู่นะ
  • Not Synced
    เบอร์ 1: ภาวนาในรูปแบบโดยเดินจงกรมเช้าเย็น
  • Not Synced
    ในชีวิตประจำวันดูร่างกายที่เคลื่อนไหว
  • Not Synced
    ไม่ทราบว่าตอนนี้จิตตั้งมั่น
    พร้อมจะเดินปัญญาได้หรือยังครับ
  • Not Synced
    ตอนนี้เราบังคับจิตอยู่รู้สึกไหม
  • Not Synced
    มันบังคับอยู่นะขณะนี้
  • Not Synced
    ไหนมาเดินให้หลวงพ่อดูซิ
  • Not Synced
    นึกว่าตรงนี้เป็นแคทวอร์ค เดิน
  • Not Synced
    อย่าเสียชื่ออาจารย์นะ
  • Not Synced
    อาจารย์เก่งทางเดินจงกรม
  • Not Synced
    ใช้ได้ มานั่งได้แล้ว
  • Not Synced
    มันต้องมีสติอย่างนี้ล่ะ
  • Not Synced
    ขาดสติมันไม่ได้เรื่องเลย
  • Not Synced
    แต่ว่าเกร็งเพราะว่าจะคุยกับหลวงพ่อ
  • Not Synced
    จะส่งการบ้านเลยเกร็ง
  • Not Synced
    แล้วดูออกไหมจิตมันอยู่ข้างนอก
  • Not Synced
    จิตไปข้างนอก รู้ไหมตัวนี้เห็นไหม
  • Not Synced
    จิตไม่เข้าฐานตัวนี้เห็นไหม
  • Not Synced
    ลองหายใจซิ
  • Not Synced
    หายใจอย่าไปยุ่งกับจิต หายใจธรรมดา
  • Not Synced
    เห็นร่างกายหายใจด้วยใจธรรมดา
  • Not Synced
    หลงคิด
  • Not Synced
    หายใจไปด้วยใจธรรมดา แล้วจิตหลงคิดรู้ทัน
  • Not Synced
    หายใจไปอีก มันยังไม่เข้ามา
  • Not Synced
    เริ่มเข้ามาแล้ว รู้สึกไหมไม่เหมือนกัน
  • Not Synced
    อ้าวเบอร์ 2
  • Not Synced
    จิตต้องทรงสมาธิมันต้องอย่างนี้
  • Not Synced
    จิตไปว่างๆ อยู่ข้างนอก
  • Not Synced
    นิ่งๆ อยู่ข้างนอก ใช้ไม่ได้
  • Not Synced
    มันเพลินๆ ไป
  • Not Synced
    เบอร์ 2
  • Not Synced
    ภาวนาในรูปแบบเดินจงกรม
    วันละหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
  • Not Synced
    ในชีวิตประจำวันดูร่างกายที่เคลื่อนไหว
  • Not Synced
    ยังหลงนาน
  • Not Synced
    บางครั้งเห็นไหวๆ พุ่งที่กลางอก
  • Not Synced
    ใช่การเห็นเกิดดับไหมคะ
  • Not Synced
    ใช่ ที่มันไหวๆ เพราะมันไม่เที่ยง
  • Not Synced
    แล้วมันไหวได้เอง รู้สึกไหม
  • Not Synced
    เราไม่ได้สั่ง ดีแล้วไปทำต่อ
  • Not Synced
    เบอร์ 3
  • Not Synced
    ภาวนาในรูปแบบ
  • Not Synced
    นั่งสมาธิทุกวัน 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
  • Not Synced
    ในชีวิตประจำวันเคลื่อนไหวรู้สึก
  • Not Synced
    ดูร่างกายหายใจเข้าออก
  • Not Synced
    หายใจเข้าพุทออกโธเป็นวิหารธรรม
  • Not Synced
    อยากที่จะพ้นทุกข์ ทำให้รีบภาวนา
  • Not Synced
    ความอยากทำให้ลืมทุกอย่าง
  • Not Synced
    จนสุดท้ายจิตทนไม่ไหว และรู้ว่าไม่ใช่ทาง
  • Not Synced
    จิตวางลงได้ขณะหนึ่ง
  • Not Synced
    แต่วางได้สักพักจิตก็หยิบขึ้นมาอีก
  • Not Synced
    ขอหลวงพ่อแนะนำการปฏิบัติต่อค่ะ
  • Not Synced
    ก็ทำอย่างที่ทำนี่ล่ะ อาจารย์สอนมาดีแล้ว
  • Not Synced
    แต่ตรงนี้จิตออกนอก รู้สึกไหม
  • Not Synced
    ว่าจิตก็ยังไม่เข้าฐาน รู้สึกไหม
  • Not Synced
    ทำอย่างไรมันจะเข้า
  • Not Synced
    ทำไม่ได้เพราะจิตเป็นอนัตตา
  • Not Synced
    ถ้าเมื่อไรเรารู้ว่าจิตมันไหล
    มันจะเข้าฐานเอง
  • Not Synced
    แล้วในความเป็นจริง
  • Not Synced
    ถ้าเรามีสติรู้สภาวะที่กำลังมีกำลังเป็น
  • Not Synced
    จิตจะเข้าฐานเอง
  • Not Synced
    อย่างโกรธแล้วรู้ว่าโกรธ
  • Not Synced
    หลงไปคิดรู้ว่าหลงไปคิด
  • Not Synced
    ดูปุ๊บจิตจะเข้าที่เลย
  • Not Synced
    เพราะเมื่อไรมีสัมมาสติ
  • Not Synced
    รู้เท่าทันกายใจของตัวเอง
  • Not Synced
    สัมมาสมาธิจะเกิดร่วมด้วยเสมอ
  • Not Synced
    จิตจะตั้งมั่น ตรงนี้ไม่ใช่แล้ว
  • Not Synced
    นึกออกไหมมันแน่น
  • Not Synced
    ใช้ได้ เก่ง ไม่เสียชื่ออาจารย์
  • Not Synced
    เบอร์ 4 เลยกดดันมากเลย
  • Not Synced
    ไม่รู้จะเสียชื่ออาจารย์ไหม เลยกดดัน
  • Not Synced
    ไม่ต้องกลัว เก่ง ใช้ได้
  • Not Synced
    เบอร์ 4: ภาวนาในรูปแบบ
    สวดมนต์นั่งสมาธิ 15 นาที
  • Not Synced
    เดินจงกรม 30-45 นาที
  • Not Synced
    ในชีวิตประจำวันรู้กายเคลื่อนไหว รู้ใจทำงาน
  • Not Synced
    บางทีก็ดูร่างกายหายใจกับบริกรรมพุทโธ
  • Not Synced
    หลวงพ่อสอนให้ใช้พุทโธเป็นเครื่องอยู่
  • Not Synced
    ในชีวิตประจำวันยังหลงนาน
  • Not Synced
    ยังคงปฏิบัติในรูปแบบทุกวัน
  • Not Synced
    ทำอย่างไรการภาวนาในชีวิตประจำวัน
    จึงจะต่อเนื่องเข้มแข็งกว่านี้ค่ะ
  • Not Synced
    ถ้าไม่ชอบพุทโธก็ใช้กรรมฐานอื่นก็ได้
  • Not Synced
    อันไหนก็ได้ที่เราถนัด
  • Not Synced
    หลวงพ่อเรียนมาจากครูบาอาจารย์ท่านสอนพุทโธ
  • Not Synced
    เวลาพูดก็เลยพุทโธอยู่เรื่อยๆ
  • Not Synced
    จริงๆ ใช้อะไรก็ได้
  • Not Synced
    ถ้าจิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว
  • Not Synced
    อย่างต่อเนื่องโดยที่เราไม่ได้บังคับ
  • Not Synced
    สมาธิก็เกิด
  • Not Synced
    ทีนี้อารมณ์อะไรที่จิตจะอยู่
    อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องบังคับได้
  • Not Synced
    อารมณ์ที่อยู่แล้วมีความสุข
  • Not Synced
    ของหนูภาวนาดีนะ
  • Not Synced
    ดีมากๆ เลย ใช้ได้เลย
  • Not Synced
    นี่สงสัยเป็นตัวเก่ง
    อาจารย์เลยซ่อนไว้เบอร์ 4
  • Not Synced
    เบอร์ 1 ก็เก่งนะเสียแต่ว่าเพ่งมากไป
  • Not Synced
    เราจงใจปฏิบัติ เราอยากดี
  • Not Synced
    อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น
    อยากได้ อยากดีนี่
  • Not Synced
    ตัวนี้ถ่วงเรา
  • Not Synced
    มันทำให้จิตใจเราไม่เป็นธรรมชาติ
  • Not Synced
    เบอร์ 5
  • Not Synced
    แป๊บหนึ่ง เบอร์ 7
    ไม่ต้องตั้งท่ามาก ดีอยู่แล้ว
  • Not Synced
    ไม่ต้องจะตายขึ้นมานะหายใจ ไม่ได้
  • Not Synced
    ดีแล้วอยู่แล้วไม่ต้องกลัว
  • Not Synced
    ดีทั้งหมดล่ะ
  • Not Synced
    ทั้ง 4 คนที่เหลือใช้ได้ทั้งนั้น
  • Not Synced
    ไม่ต้องกังวล
  • Not Synced
    เบอร์ 5
  • Not Synced
    ภาวนาในรูปแบบเดินจงกรม
    และนั่งสมาธิวันละ 1-2 ชั่วโมง
  • Not Synced
    เช้าและก่อนนอน
  • Not Synced
    ใช้กายเป็นเครื่องอยู่
  • Not Synced
    ในชีวิตประจำวันดูกายและจิตที่เปลี่ยนแปลง
  • Not Synced
    ยังชอบบังคับแทรกแซง
  • Not Synced
    เห็นว่าโลกไม่มีอะไรให้ยึด แต่ก็หนีไปไม่ได้
  • Not Synced
    ขอหลวงปู่ชี้แนะแนวทางครับ
  • Not Synced
    ที่ฝึกอยู่ใช้ได้ ดีแล้วล่ะ ทำอีก
  • Not Synced
    ส่วนที่เห็นว่าโลกไม่มีอะไรไม่น่ายึด
  • Not Synced
    อันนั้นยังไม่จริง
  • Not Synced
    มันก็ยังแอบยึดอยู่เรื่อยๆ แอบอยากอยู่
  • Not Synced
    เรียนรู้ไปจนกระทั่งมันเห็นทุกข์ถ่องแท้แล้ว
  • Not Synced
    มันก็ไม่เอาแล้ว
  • Not Synced
    โลกไม่มีอะไรจริงๆ
  • Not Synced
    โลกก็เอาไว้หลอกคนหลงเท่านั้น
  • Not Synced
    เก่ง แต่ตอนนี้จิตออกนอก
  • Not Synced
    เบอร์ 6
  • Not Synced
    ภาวนาในรูปแบบนั่งสมาธิวันละ 1 ชั่วโมง
  • Not Synced
    โดยใจอยู่กับลมหายใจเข้าออก
  • Not Synced
    ในชีวิตประจำวันอยู่กับลมหายใจเข้าออก
  • Not Synced
    มีสติเวลานั่งยืนเดิน
  • Not Synced
    สังเกตตัวเองได้ว่าชอบความสงบ
  • Not Synced
    หลังๆ เวลาเข้าสมาธิ
  • Not Synced
    ใจไม่อยากออกจากความสงบ
  • Not Synced
    มีราคะ มีเมตตา มีจิตฟุ้งซ่าน
  • Not Synced
    มาเจือปนตลอดเวลา แต่บังคับไม่ได้
  • Not Synced
    เพียงแต่รับรู้ไป
  • Not Synced
    แต่ละตัวที่กล่าวมาดับไปบังคับไม่ได้
  • Not Synced
    รู้สึกว่าสมาธิมีคุณภาพ
  • Not Synced
    เนื่องจากมันสงบโดยที่ใจไม่ได้บังคับ
  • Not Synced
    แบบนี้ถูกหรือไม่ครับ
  • Not Synced
    สมาธิดีแล้ว
  • Not Synced
    แต่ว่าจะต้องเจริญปัญญา
  • Not Synced
    สมาธิเอาไว้เจริญปัญญา ไม่ได้เอาไว้นอนเล่น
  • Not Synced
    ถ้าใจเราชอบ
  • Not Synced
    ให้รู้ลงไปตรงๆ เลยว่าใจเราชอบสมาธิอันนี้
  • Not Synced
    ดูเข้าไปแล้วเวลาเดินปัญญามัน
    ไม่สงบเหมือนตอนทำสมาธิหรอก
  • Not Synced
    คือเวลาที่เจริญปัญญาจิตมันจะทำงานขึ้นมา
  • Not Synced
    คล้ายๆ ฟุ้งซ่าน
  • Not Synced
    เพียงแต่มีสติกำกับอยู่
  • Not Synced
    ทีนี้คนที่ติดสมาธิพอใจในความสงบ
  • Not Synced
    จะไม่ยอมเดินปัญญา
  • Not Synced
    ก็เสียโอกาส คล้ายๆ
  • Not Synced
    อยากได้ของดีมากๆ เลย
  • Not Synced
    เราไปได้ของระดับรองแล้วเราพอใจแล้ว
  • Not Synced
    ทำสมาธิให้หลวงพ่อดูสิ
  • Not Synced
    ตรงนี้สังเกตเห็นไหมว่าจิตเรา
    เคลื่อนไปอยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน
  • Not Synced
    มองออกไหม ให้รู้ทันตัวนี้
  • Not Synced
    แล้วเราเดินปัญญาในสมาธิได้
  • Not Synced
    ชอบสมาธิก็เดินปัญญาในสมาธินี่ล่ะ
  • Not Synced
    ใครจะมาทำไม
  • Not Synced
    ทำใหม่ซิ
  • Not Synced
    ไม่ต้องตั้งใจแรง ตรงนี้ตั้งใจแรงไป
  • Not Synced
    ผ่อนคลายกว่านี้ จงใจแรงไปแล้ว
  • Not Synced
    ธรรมดาๆ
  • Not Synced
    ถอยออกมา
  • Not Synced
    มันไม่ได้อย่างเมื่อกี้ รู้สึกไหม
  • Not Synced
    เวลาที่จิตเดินปัญญามันไม่สงบเฉยๆ หรอก
  • Not Synced
    เมื่อกี้จิตมัน
  • Not Synced
    หลวงพ่อกระตุ้นให้มันเดินปัญญา
  • Not Synced
    ที่มันไหลไปที่อารมณ์กรรมฐาน พอเรารู้ทัน
  • Not Synced
    จิตก็ตั้งมั่นขึ้นมา
  • Not Synced
    คราวนี้มันจะออกไปคอยรู้แล้ว
  • Not Synced
    มันก็เลยส่ายไปส่ายมาอยู่ข้างใน
  • Not Synced
    ถ้ามันส่ายๆ อย่างนี้
  • Not Synced
    กลับมาทำความสงบเหมือนเดิม
  • Not Synced
    ให้สงบแน่วแน่ลงไป
  • Not Synced
    แล้วคลายออก
  • Not Synced
    แล้วดูการทำงานของจิตใจไป
  • Not Synced
    เราจะเห็นจิตเราไหลไปอยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน
  • Not Synced
    ให้รู้ทันเอา
  • Not Synced
    ตอนนี้จิตไหลไปอยู่ในความคิด รู้สึกไหม
  • Not Synced
    รู้ทันอย่างนี้
  • Not Synced
    เพราะฉะนั้นอยู่ในสมาธิเราก็เจริญปัญญาได้
  • Not Synced
    ออกมาข้างนอกก็ดูได้
  • Not Synced
    เพราะว่าเราสามารถเห็นจิตมันไหลไปคิด
  • Not Synced
    นี่เจริญสติในชีวิตประจำวัน
  • Not Synced
    ฉะนั้นตอนนั่งสมาธิแล้ว
    เราเห็นจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ
  • Not Synced
    อันนี้เราเดินปัญญาอยู่ภายใน
  • Not Synced
    เราเห็นจิตเป็นอนัตตา ไหลไปได้เอง
  • Not Synced
    ออกมาข้างนอกเราเห็นจิตมันไหลไปคิดได้เอง
  • Not Synced
    เพราะฉะนั้นฝึกให้มันเดินปัญญาต่อให้ได้
  • Not Synced
    แต่อย่าให้เสียสมาธิ มีสมาธิดีแล้วล่ะ
  • Not Synced
    เบอร์ 7
  • Not Synced
    ภาวนาในรูปแบบโดยการดูการเคลื่อนไหว
  • Not Synced
    ชอบนั่งสมาธิเพราะเบาสบาย
  • Not Synced
    กลัวติดเลยไม่นั่ง
  • Not Synced
    ในชีวิตประจำวันดูการเคลื่อนไหว
  • Not Synced
    แต่ดูได้ไม่ตลอด
  • Not Synced
    รู้สึกว่าสติไม่สามารถต่อเนื่องได้
  • Not Synced
    ดูการเคลื่อนไหวที่ทำอยู่ถูกต้องไหมคะ
  • Not Synced
    จงใจหายใจรู้ไหม
  • Not Synced
    รู้ทันนะ
  • Not Synced
    เราดูกายอย่างที่มันเป็น ไม่ต้องจงใจ
  • Not Synced
    ที่ฝึกอยู่ดีนะ
  • Not Synced
    ไปทำได้แล้ว ทำต่อไป ทำถูกแล้ว
  • Not Synced
    อ้าวคนสุดท้าย พักเสียหน่อยดีไหม
  • Not Synced
    อ้าวๆ ส่งเลยก็แล้วกัน
  • Not Synced
    เบอร์ 8: ภาวนาในรูปแบบ
  • Not Synced
    สวดมนต์ครึ่งชั่วโมง นั่งสมาธิครึ่งชั่วโมง
  • Not Synced
    ดูร่างกายหายใจ
  • Not Synced
    จิตเกิดความสว่าง มีจิตรู้ ใ
  • Not Synced
    นชีวิตประจำวันดูร่างกายเคลื่อนไหว
  • Not Synced
    จิตโกรธก็รู้ จิตโมโหรู้ หลงรู้
  • Not Synced
    มีความอยากก็รู้ บางครั้งก็ลืมตัว
  • Not Synced
    จิตเข้าถึงฐานและ
    แยกธาตุแยกขันธ์ได้หรือยังคะ
  • Not Synced
    ได้ แต่เบอร์ 8
  • Not Synced
    ยังชินที่จะบังคับจิตให้นิ่งอยู่
  • Not Synced
    ไม่ต้องน้อมให้มันนิ่ง
  • Not Synced
    ทำสมาธิก็ทำไป
  • Not Synced
    เวลามันจะนิ่งมันก็นิ่งของมันเอง
  • Not Synced
    อย่าพยายามทำมันให้นิ่ง
  • Not Synced
    ใจมันจะทื่อๆ ไป
  • Not Synced
    มันจะแน่นๆ รู้สึกไหมมันจะแน่นๆ
  • Not Synced
    ที่แน่นๆ เพราะเราจงใจ
  • Not Synced
    ฉะนั้นเรานั่งสมาธิอะไรก็ทำไปเถอะ
  • Not Synced
    สงบก็ช่างไม่สงบก็ช่าง ทำไปเถอะ
  • Not Synced
    แล้วมันสงบเอง อันนั้นถึงจะดี
  • Not Synced
    นี่เริ่มบังคับแล้วรู้สึกไหม ตรงจุดนี้
  • Not Synced
    ให้รู้ทันตรงนี้
  • Not Synced
    ตัวนี้ที่ทำให้เสียเวลา
  • Not Synced
    กลายเป็นว่าเราน้อมจิต
    บังคับจิตให้มันไปนิ่งๆ อยู่เฉยๆ
  • Not Synced
    ทำสมาธิไป
  • Not Synced
    แล้วจิตเป็นอย่างไร แอบไปทำอะไร เรารู้ทัน
  • Not Synced
    ตรงนี้สติอ่อนลงไปแล้ว โมหะแทรก
  • Not Synced
    ให้รู้ทัน
  • Not Synced
    เออ รู้สึกตัวให้แรงขึ้นนิดหนึ่ง
  • Not Synced
    รู้ไประดับนี้
  • Not Synced
    แล้วคอยดูไปเรื่อยๆ
  • Not Synced
    เกิดความเปลี่ยนแปลง
    อะไรขึ้นที่จิตก็คอยรู้ทันไป
  • Not Synced
    แล้วออกจากสมาธิให้พิจารณาร่างกายไปเลย
  • Not Synced
    ผมขนเล็บฟันหนังเนื้อเอ็นกระดูก
  • Not Synced
    เป็นปฏิกูล เป็นอสุภ
  • Not Synced
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
  • Not Synced
    ออกจากสมาธิมาพิจารณาตัวนี้เลย
  • Not Synced
    วันนี้เอาเท่านี้ก็แล้วกัน 10 โมงพอดี
  • Not Synced
    ของท่านอาจารย์ติดสมาธิ
  • Not Synced
    ไปน้อมจิตให้มันนิ่งๆ เฉยๆ
  • Not Synced
    คลายออกให้มันทำงาน
  • Not Synced
    รู้สึกร่างกายไป
  • Not Synced
    อาศัยร่างกายเป็นวิหารธรรม
  • Not Synced
    ขยับเขยื้อนไป
  • Not Synced
    กวาดวัดทำอะไรต่ออะไรไป
  • Not Synced
    เห็นร่างกายมันทำงานใจเราเป็นคนดู
  • Not Synced
    ดูอย่างนี้เรื่อยๆ
  • Not Synced
    ไม่อย่างนั้นมันจะไม่พัฒนา จะเฉยๆ
  • Not Synced
    กี่ปีมันก็อยู่อย่างนั้นล่ะ
  • Not Synced
    เพราะมันติดสมาธิเฉยๆ
Title:
การเจริญสติในชีวิตประจำวัน :: หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 24 พ.ย. 2567
Description:

more » « less
Video Language:
Thai
Duration:
01:03:54

Thai subtitles

Incomplete

Revisions Compare revisions