Return to Video

เหล่าหนังสือเก่าเกิดใหม่ในแบบอาร์ตๆ

  • 0:01 - 0:03
    ผมเป็นศิลปิน และผมก็ตัดหนังสือ
  • 0:03 - 0:04
    นี่คือผลงานจากหนังสือเล่มแรกๆ ของผม
  • 0:04 - 0:06
    ชื่อว่า "ทางสลับซับซ้อนสู่ความรู้"
  • 0:06 - 0:10
    ผมอยากสร้างกองหนังสือเพื่อ
    ให้คนเข้ามาดูในหอศิลป์
  • 0:10 - 0:13
    แล้วคิดว่าได้เห็นกอง
    หนังสือธรรมดาๆ
  • 0:13 - 0:16
    แต่เมื่อพวกเขาเข้ามาดูใกล้ๆ
    ก็จะเป็นหลุมที่ขุดหยาบๆ
  • 0:16 - 0:18
    ภายในแล้วสงสัยว่า เกิดอะไรขึ้น
    และทำไมกัน
  • 0:18 - 0:20
    และคิดถึงส่วนประกอบของหนังสือ
  • 0:20 - 0:23
    ผมเลยมุ่งสนใจที่พื้นผิว
  • 0:23 - 0:27
    แต่ผมสนตัวหนังสือและรูปภาพ
    ในหนังสือมากกว่า
  • 0:28 - 0:32
    งานส่วนใหญ่ของผม มักจะเคลือบ
    ขอบของหนังสือด้วยน้ำมันเงาหนาๆ
  • 0:32 - 0:34
    เพื่อให้เหมือนผิวหนังด้านนอก
    ของหนังสือ
  • 0:34 - 0:38
    จนกลายเป็นของแข็งๆ
    แต่ภายในแต่ละหน้ายังเหมือนเดิม
  • 0:38 - 0:40
    จากนั้นผมก็แกะจากผิวของหนังสือ
  • 0:40 - 0:43
    และไม่ได้เคลื่อนย้ายหรือเพิ่มเติมอะไร
  • 0:43 - 0:46
    ผมก็แค่แกะไปเรื่อยๆ
    ในสิ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจ
  • 0:46 - 0:48
    ดังนั้นทุกสิ่งที่คุณเห็น
    ในผลงานที่เสร็จสิ้นนั้น
  • 0:48 - 0:51
    อยู่ในที่เดิมของมัน
    ตั้งแต่เริ่มแรก
  • 0:53 - 0:55
    ผมคิดว่างานผมค่อนข้าง
    ผสมผสาน
  • 0:55 - 0:57
    เพราะผมทำงานบนงาน
    ของคนอื่น
  • 0:57 - 1:01
    ในแบบเดียวกับ ดีเจที่
    ทำงานกับดนตรีของคนอื่น
  • 1:01 - 1:05
    นี่คือหนังสือภาพวาดของ
    ราฟาเอล ศิลปินยุคเรอเนสซอง
  • 1:05 - 1:09
    ผมเอางานของเขามา
    ผสมผสนาน แกะสลัก
  • 1:09 - 1:13
    ผมทำให้มันดูใหม่ ดูร่วมสมัยกว่าเดิม
  • 1:14 - 1:18
    ผมค่อนข้างคิดนอกกรอบจาก
    หนังสือแบบเดิมๆ
  • 1:18 - 1:20
    ผลักดันจากเส้นของรูปแบบตัวมัน
  • 1:20 - 1:24
    พยายามจากโครงสร้าง
    ตัวหนังสือเอง
  • 1:24 - 1:26
    เพื่อให้หนังสือกลายเป็น
    ประติมากรรมโดยสมบูรณ์
  • 1:29 - 1:33
    ผมใช้คีบ เชื่อก และอื่นๆ
  • 1:33 - 1:36
    เพื่อยึดให้ได้รูป ก่อนจะ
    เคลือบด้วยน้ำมันเงา
  • 1:36 - 1:39
    จะได้ทำให้เป็นรูปทรงก่อนจะเริ่ม
  • 1:39 - 1:43
    แล้วทำให้รูปร่างแบบนี้
    กลายเป็นแบบนี้
  • 1:43 - 1:46
    หมดนี่ทำจากพจนานุกรม
    เล่มเดียว
  • 1:46 - 1:52
    หรืออะไรแบบนี้ ให้กลายเป็น
    แบบนี้
  • 1:55 - 1:56
    แบบอย่างนี้
  • 1:56 - 2:00
    ซึ่งใครจะไปรู้ว่ามันจะเป็นอะไร
    และมันมาอยู่ในสตูดิโอผมได้ไง
  • 2:00 - 2:04
    ให้ออกมาเป็นแบบนี้
  • 2:05 - 2:09
    ผมคิดว่าหนึ่งในเหตุผลที่แบ่งปัน
    โดยการทำงานหนังสือ
  • 2:09 - 2:10
    คือคนไม่ต้องการฉีกมัน
  • 2:10 - 2:12
    ไม่มีใครอยากทิ้งมันจริงๆ
  • 2:12 - 2:15
    เหมือนกับที่เราคิดว่าหนังสือ
    มีชีวิตจริงๆ
  • 2:15 - 2:16
    เราคิดว่ามันมีร่างกาย
  • 2:16 - 2:19
    พวกมันสร้างขึ้นมาคล้ายกับ
    รูปร่างของเรา
  • 2:19 - 2:22
    แต่มันสามารถเติบโตต่อได้
  • 2:22 - 2:24
    และกลายเป็นสิ่งใหม่ๆ
  • 2:24 - 2:26
    ดังนั้นหนังสือมีชีวิตจริงๆ
  • 2:26 - 2:29
    ผมเลยคิดว่าหนังสือเหมือนรูปร่าง
  • 2:29 - 2:32
    และคิดว่ามันเป็นเทคโนโลยี
  • 2:32 - 2:34
    เป็นอุปกรณ์
  • 2:36 - 2:40
    และก็คิดว่ามันเป็นเครื่องจักรด้วย
  • 2:40 - 2:43
    แล้วผมก็คิดว่าหนังสือเหมือนทิวทัศน์
  • 2:43 - 2:47
    นี่คือสารานุกรมเซ็ตสมบูรณ์ที่
    เชื่อมและถมเข้าด้วยกัน
  • 2:47 - 2:49
    จากที่ผมแกะไปเรื่อยๆ
  • 2:49 - 2:51
    ผมก็ตัดสินใจเลือก
  • 2:51 - 2:54
    ความจริงผมสามารถเลือก
    ทำอะไรกับสารานุกรมก็ได้
  • 2:54 - 2:57
    แต่ผมเจาะจงเลือกภาพทิวทัศน์
  • 2:58 - 3:01
    และด้วยตัวอุปกรณ์แล้ว
    ผมเลือกใช้กระดาษทราย
  • 3:01 - 3:05
    แล้วก็โรยทรายตามขอบ
    ไม่ใช่แค่ให้ภาพสื่อทิวทัศน์
  • 3:05 - 3:07
    แต่ส่วนประกอบก็ช่วย
    เสริมเข้าไปด้วย
  • 3:09 - 3:13
    สิ่งหนึ่งที่ผมทำในขณะที่ผม
    แกะสลักหนังสือ
  • 3:13 - 3:17
    คือคิดภาพ แต่ก็คิดถึง
    ตัวหนังสือด้วย
  • 3:17 - 3:19
    ผมคิดในแบบคล้ายๆ กัน
  • 3:19 - 3:22
    เพราะ สิ่งที่น่าสนใจคือ
    ขณะที่เราอ่านตัวหนังสือ
  • 3:22 - 3:23
    บนหนังสือ
  • 3:23 - 3:25
    มันสร้างภาพต่างๆ ในหัว
  • 3:25 - 3:27
    เหมือนกับเราเติมส่วนนั้นเข้าไป
  • 3:27 - 3:30
    เราก็เหมือนกับสร้างภาพต่างๆ
    ในขณะอ่านตัวหนังสือ
  • 3:30 - 3:33
    และเมื่อเรามองภาพ
    เราก็ใช้ภาษา
  • 3:33 - 3:36
    เพื่อเข้าใจในสิ่งที่
    พวกเรามองอยู่ด้วย
  • 3:36 - 3:38
    ดังนั้นก็เหมือนกับ
    หยิน หยาง
  • 3:38 - 3:39
    เกิดสลับไปมา
  • 3:39 - 3:45
    ผมเลยสร้างสิ่งที่คนเห็น
    เติมเต็มได้ด้วยตัวเอง
  • 3:45 - 3:49
    ผมคิดว่างานผมเกือบจะ
    เหมือนกับโบราณคดี
  • 3:49 - 3:52
    ที่ผมขุด พยายาม
    เปิดเผยมัน
  • 3:52 - 3:54
    และค้นให้มากที่สุดเท่าที่ผมทำได้
  • 3:54 - 3:57
    และเปิดเผยมันในผลงานผม
  • 3:58 - 4:00
    แต่ในขณะเดียวกัน
  • 4:00 - 4:02
    ผมคิดถึงการลบ
  • 4:02 - 4:06
    อะไรที่เกิดขึ้นที่ข้อมูลที่
  • 4:06 - 4:09
    ยากเกินเข้าใจ
  • 4:09 - 4:14
    และไอเดียที่ไม่ใช่แค่สิ่ง
    คลาดเคลื่อนจากข้อมูลคอม
  • 4:14 - 4:16
    แต่เป็นข้อมูลของตัวมัน
  • 4:16 - 4:18
    ปัจจุบันเราไม่มีหลักฐานสนับสนุน
  • 4:18 - 4:24
    จึงต้องอัพเดท เพื่อไม่ให้สูญหาย
  • 4:24 - 4:27
    ผมมีพจนานุกรมมากมาย
    ในสตูดิโอ
  • 4:27 - 4:29
    และผมก็ใช้คอมทุกวัน
  • 4:29 - 4:32
    ถ้าผมอยากหาคำไหน
    ผมจะหาในคอม
  • 4:32 - 4:35
    เพราะผมสามารถทำได้เลย
    ดูได้ทันที
  • 4:35 - 4:37
    นี่เป็นสิ่งที่ผมว่าหนังสือ
  • 4:37 - 4:40
    ไม่ตอบรับกับ ข้อมูลโดยตรง
  • 4:40 - 4:42
    เป็นสาเหตุให้เรามักดูอ้างอิงในหนังสือ
  • 4:42 - 4:46
    ที่กลายเป็นสิ่งแรกที่จะสูญหาย
  • 4:50 - 4:53
    ผมไม่คิดว่าหนังสือจะตายจริงๆ
  • 4:53 - 4:57
    คนส่วนใหญ่คิดว่าเรามีดิจิตอล
    เทคโนโลยี
  • 4:57 - 4:58
    แล้วหนังสือก็จะค่อยๆ ตาย
  • 4:58 - 5:01
    และพวกเราได้เห็นสิ่งต่างๆ ปรับ
    สิ่งต่างๆ พัฒนาขึ้น
  • 5:01 - 5:04
    ผมคิดว่าหนังสือจะพัฒนา
  • 5:04 - 5:07
    และเหมือนกับที่คนพูดกันว่า
    ภาพวาดอาจตาย
  • 5:07 - 5:11
    เมื่อรูปถ่าย และเครื่องปริ๊นท์
    กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
  • 5:11 - 5:13
    แต่สิ่งที่ทำให้ภาพวาด
  • 5:13 - 5:16
    เป็นคือให้เราหลุดจาก
    งานประจำ
  • 5:16 - 5:22
    มันเป็นสิ่งที่ไม่เหมือนกับการเล่า
    แบบเดิมๆ ในชีวิต
  • 5:22 - 5:25
    และภาพวาดก็กลายเป็น
    การปล่อยและเล่าเรื่องในแบบของตนเอง
  • 5:25 - 5:28
    และเมื่อเราได้เห็นยุคโมเดินเกิดขึ้น
  • 5:28 - 5:30
    เราก็ได้เห็นภาพที่มีความ
    แตกต่าง หลายแขนง
  • 5:30 - 5:32
    และผมก็คิดว่ามันเกิดขึ้น
    กับหนังสือในปัจจุบัน
  • 5:32 - 5:35
    ทุกวันนี้ เทคโนโลยีส่วนใหญ่
    ข้อมูลโดยส่วนมาก
  • 5:35 - 5:39
    จำนวนมากของวัฒนธรรมและ
    เรื่องส่วนตัว ถูกบันทึกในแบบดิจิตอล
  • 5:39 - 5:42
    ผมคิดว่า มันทำให้หนังสือ
    สามารถเปลี่ยนเป็นอะไรใหม่ๆ
  • 5:42 - 5:45
    ดังนั้น ผมจึงคิดว่ามันน่าตื่นเต้น
    สำหรับศิลปินอย่างผม
  • 5:45 - 5:48
    และน่าตื่นเต้นที่จะได้เห็นว่าจะ
    เกิดอะไรขึ้นบ้างกับหนังสือในอนาคต
  • 5:48 - 5:50
    ขอบคุณครับ
  • 5:50 - 5:54
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เหล่าหนังสือเก่าเกิดใหม่ในแบบอาร์ตๆ
Speaker:
ไบรอัน เด็ตเมอร์ (Brian Dettmer)
Description:

คุณจะทำอย่างไรกับสารานุกรมเล่มเก่าล้าสมัย? ด้วยมีด X-Acto ประกอบกับสายตาแหลมคม ทำให้ศิลปินอย่าง ไบรอัน เด็ตเมอร์ สร้างสรรค์งานประติมากรรมที่สวยงาม ชุบชีวิตให้หนังสือเก่ากลับมามีชีวิตอีกครั้ง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
06:06
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Old books reborn as intricate art
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Old books reborn as intricate art
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Old books reborn as intricate art
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Old books reborn as intricate art
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Old books reborn as intricate art
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Old books reborn as intricate art
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Old books reborn as intricate art
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Old books reborn as intricate art
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions