Return to Video

เงินตราทำให้คุณโหดร้าย จริงหรือ?

  • 0:01 - 0:03
    ผมอยากให้คุณลองจินตนาการ
  • 0:03 - 0:07
    ดูสักครู่ ว่าคุณกำลังเล่นเกมเศรษฐีอยู่
  • 0:07 - 0:09
    แต่ว่าในเกมนี้
  • 0:09 - 0:12
    ไม่ว่าทักษะ พรสวรรค์ หรือโชค
  • 0:12 - 0:15
    ที่จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในเกม
    ดังเช่นในชีวิตจริง
  • 0:15 - 0:16
    จะไร้ผลโดยสิ้นเชิง
  • 0:16 - 0:19
    เพราะเกมนี้ตั้งกติกาไว้ไม่ยุติธรรม
  • 0:19 - 0:21
    และคุณเป็นฝ่ายได้เปรียบ
  • 0:21 - 0:22
    คุณมีเงินมากกว่า
  • 0:22 - 0:25
    มีโอกาสเดินไปรอบๆ กระดาน ได้มากกว่า
  • 0:25 - 0:27
    และเข้าถึงทรัพยากรได้มากกว่า
  • 0:27 - 0:29
    และเมื่อคุณคิดถึงประสบการณ์นั้น
  • 0:29 - 0:31
    ผมอยากให้คุณลองถามตัวเอง
  • 0:31 - 0:33
    ว่าประสบการณ์ที่ได้
  • 0:33 - 0:36
    จากการเป็นผู้เล่นอภิสิทธิ์
    ในเกมที่ไม่ยุติธรรมนี้
  • 0:36 - 0:39
    เปลี่ยนวิธีที่คุณคิดเกี่ยวกับตัวเอง
  • 0:39 - 0:43
    และผู้เล่นคนอื่นๆ ไปอย่างไร
  • 0:43 - 0:46
    เราจึงได้เริ่มการศึกษาหนึ่ง
    ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
  • 0:46 - 0:48
    เพื่อศึกษาคำถามนี้โดยเฉพาะ
  • 0:48 - 0:50
    เราพาผู้เล่น ซึ่งเป็นคนแปลกหน้า
  • 0:50 - 0:53
    กว่า 100 คู่ เข้ามาในห้องทดลอง
  • 0:53 - 0:54
    และใช้การโยนเหรียญ
  • 0:54 - 0:56
    เพื่อสุ่มให้ผู้เล่นหนึ่งในสองคนนั้น
  • 0:56 - 0:59
    เป็นผู้เล่นที่รวยกว่าในเกมที่ไม่ยุติธรรมนี้
  • 0:59 - 1:01
    พวกเขาได้เงินมากกว่าเป็นสองเท่า
  • 1:01 - 1:03
    เมื่อพวกเขาเดินครบรอบ
  • 1:03 - 1:05
    เขาได้เงินเดือนเป็นสองเท่า
  • 1:05 - 1:07
    และพวกเขาได้ทอยลูกเต๋าสองลูก
    แทนที่จะได้ทอยเพียงลูกเดียว
  • 1:07 - 1:09
    ดังนั้นพวกเขาจะเดินไปรอบๆ กระดานได้มากกว่า
  • 1:09 - 1:12
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:12 - 1:14
    และตลอดเวลา 15 นาที
  • 1:14 - 1:17
    เราเฝ้าดูผ่านกล้องที่ซ่อนไว้ ว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 1:17 - 1:19
    และสิ่งที่ผมอยากทำวันนี้ เป็นครั้งแรก
  • 1:19 - 1:21
    คือแสดงให้พวกคุณเห็นถึงสิ่งที่เราเห็น
  • 1:21 - 1:23
    แต่คุณต้องยอมทนกับคุณภาพของเสียงที่ไม่ค่อยดีนัก
  • 1:23 - 1:26
    ในบางกรณี
  • 1:26 - 1:28
    ดังนั้นเราจึงให้คำบรรยายใต้ภาพ
  • 1:28 - 1:29
    ผู้เล่นรวย: คุณมีแบงค์ 500 กี่ใบ
  • 1:29 - 1:30
    ผู้เล่นจน: แค่ใบเดียว
  • 1:30 - 1:32
    ผู้เล่นรวย: พูดจริงเหรอ
    ผู้เล่นจน: ใช่
  • 1:32 - 1:33
    ผู้เล่นรวย: ผมมีตั้ง 3 ใบแน่ะ (หัวเราะ)
  • 1:33 - 1:35
    ผมไม่รู้ว่าทำไมเขาให้ผมมาเยอะแบบนี้
  • 1:35 - 1:37
    พอล พิฟ: เอาล่ะ มันเริ่มปรากฏชัดต่อผู้เล่น
    ในเวลาอันรวดเร็ว
  • 1:37 - 1:38
    ว่ามีบางอย่างผิดปกติ
  • 1:38 - 1:41
    ชัดเจนว่าผู้เล่นคนหนึ่งมีเงินมากกว่า
  • 1:41 - 1:43
    ผู้เล่นอีกคนหนึ่ง
  • 1:43 - 1:45
    และเมื่อเกมดำเนินไป
  • 1:45 - 1:47
    เราเริ่มพบความแตกต่าง
  • 1:47 - 1:49
    ความแตกต่างที่ชัดเจนเริ่มปรากฏ
  • 1:49 - 1:51
    ระหว่างผู้เล่นทั้งสอง
  • 1:51 - 1:53
    ผู้เล่นที่รวยกว่า
  • 1:53 - 1:56
    เริ่มจะเดินหมากไปรอบกระดานด้วยเสียงดังขึ้น
  • 1:56 - 1:57
    แทบจะกระแทกกระดานด้วยตัวหมากเลย
  • 1:57 - 2:00
    เมื่อเขาเดินไปรอบๆ กระดาน
  • 2:00 - 2:03
    เราเริ่มเห็นสัญญาณแห่งการข่ม
  • 2:03 - 2:05
    และการแสดงออกถึงอำนาจ
  • 2:05 - 2:07
    ในทางอวัจนภาษา
  • 2:07 - 2:11
    และการเฉลิมฉลองในกลุ่มผู้เล่นรวย
  • 2:11 - 2:14
    เรามีชามใส่เพรทเซลวางอยู่ด้านข้างโต๊ะ
  • 2:14 - 2:16
    มีอยู่ตรงมุมขวาล่างนั่น
  • 2:16 - 2:19
    นี่ทำให้เราสามารถสังเกตพฤติกรรม
    การบริโภคของผู้เล่นได้
  • 2:19 - 2:24
    เรานับจำนวนเพรทเซลที่ผู้เล่นแต่ละคนกิน
  • 2:24 - 2:26
    ผู้เล่นรวย: เพรทเซลพวกนี้มันเป็นกลลวงหรือเปล่า?
  • 2:26 - 2:27
    ผู้เล่นจน: ไม่รู้สิ
  • 2:27 - 2:31
    พอล: เอาล่ะ ไม่น่าแปลกใจเลย ผู้เล่นเหล่านั้นสงสัยเรา
  • 2:31 - 2:32
    พวกเขาสงสัยว่าชามเพรทเซล
  • 2:32 - 2:34
    ถูกวางไว้ตรงนั้นทำไม
  • 2:34 - 2:36
    คนหนึ่งถึงกับถามขึ้น ดังเช่นที่คุณเห็น
  • 2:36 - 2:39
    ว่าชามเพรทเซลที่วางอยู่ตรงนั้นเป็นกลลวงหรือไม่
  • 2:39 - 2:42
    แม้กระนั้น ด้วยอำนาจของสถานการณ์
  • 2:42 - 2:44
    ที่ส่งให้เกิดการข่มอย่างเลี่ยงไม่ได้
  • 2:44 - 2:48
    ผู้เล่นที่รวยกว่าก็เริ่มกินเพรทเซลมากขึ้น
  • 2:52 - 2:54
    ผู้เล่นรวย: ฉันชอบเพรทเซลจริงๆ
  • 2:54 - 2:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:58 - 3:00
    พอล: และเมื่อเกมดำเนินต่อไป
  • 3:00 - 3:02
    พฤติกรรมรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ
  • 3:02 - 3:06
    ก็เริ่มปรากฏขึ้น
  • 3:06 - 3:07
    นั่นคือ ผู้เล่นที่รวยกว่า
  • 3:07 - 3:11
    เริ่มทำตัวหยาบคายขึ้นกับอีกคนหนึ่ง
  • 3:11 - 3:13
    สนใจต่อสถานการณ์อันยากลำบาก
  • 3:13 - 3:14
    ของผู้เล่นที่จนกว่า
  • 3:14 - 3:17
    และเริ่มแสดง
  • 3:17 - 3:19
    ถึงความสำเร็จเชิงวัตถุของพวกเขามากขึ้น
  • 3:19 - 3:22
    คล้ายกับการอวดว่าพวกเขาเก่งแค่ไหน
  • 3:24 - 3:28
    ผู้เล่นรวย: ฉันมีเงินพอจะซื้อทุกอย่างเลย
  • 3:28 - 3:29
    ผู้เล่นจน: เท่าไหร่หรือ?
  • 3:29 - 3:33
    ผู้เล่นรวย: คุณเป็นหนี้ฉัน 24 ดอลลาร์
  • 3:33 - 3:36
    คุณจะหมดตัวในไม่ช้านี้แน่ๆ
  • 3:36 - 3:38
    ฉันจะซื้อมัน ฉันมีเงินเยอะเหลือเกิน
  • 3:38 - 3:40
    ฉันมีเงินมากจนใช้ไม่หมดเลย
  • 3:40 - 3:42
    ผู้เล่นรวยคนที่ 2: ฉันจะซื้อทุกอย่างในกระดานนี้เลย
  • 3:42 - 3:44
    ผู้เล่นรวยคนที่ 3: คุณจะต้องหมดตัวในไม่ช้านี้แน่ๆ
  • 3:44 - 3:47
    ตอนนี้ไม่มีใครสู้ฉันได้แล้ว
  • 3:47 - 3:49
    พอล: และนี่คือสิ่งที่ผมคิด
  • 3:49 - 3:51
    ว่ามันช่างน่าสนใจจริงๆ
  • 3:51 - 3:54
    นั่นคือ หลังจาก 15 นาทีของการเล่นเกม
  • 3:54 - 3:58
    เราให้ผู้เล่นแต่ละคนบรรยายถึง
    ประสบการณ์ของพวกเขาระหว่างเกม
  • 3:58 - 4:01
    และเมื่อผู้เล่นที่รวยกว่า พูดถึงเหตุผล
  • 4:01 - 4:02
    ว่าทำไมพวกเขาถึงชนะอย่างเลี่ยงไม่ได้
  • 4:02 - 4:04
    ในเกมเศรษฐีที่ไม่ยุติธรรมนี้
  • 4:04 - 4:09
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:09 - 4:13
    พวกเขาพูดถึงสิ่งที่เขาทำ
  • 4:13 - 4:16
    เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่างๆ
  • 4:16 - 4:18
    และได้รับความสำเร็จในเกม
  • 4:18 - 4:21
    พวกเขาแทบไม่ได้นึกถึง
  • 4:21 - 4:24
    ความแตกต่างของสถานการณ์
  • 4:24 - 4:26
    รวมถึงการโยนเหรียญในตอนแรก
  • 4:26 - 4:29
    ที่ให้โอกาสพวกเขา
  • 4:29 - 4:32
    ให้มาอยู่ในตำแหน่งที่มีสิทธิพิเศษตั้งแต่แรก
  • 4:32 - 4:34
    และนั่นคือมุมมองที่ไม่น่าเชื่อ
  • 4:34 - 4:40
    ว่าจิตใจคนเรา หาเหตุผลให้กับความได้เปรียบอย่างไร
  • 4:40 - 4:42
    เกมเศรษฐีนี้ สามารถใช้
  • 4:42 - 4:45
    อุปมาไดักับการพยามเข้าใจสภาพสังคม
  • 4:45 - 4:48
    และโครงสร้างทางสังคม ที่ซึ่งบางคน
  • 4:48 - 4:51
    มีความร่ำรวย และมีฐานะดีมาก
  • 4:51 - 4:52
    และอีกหลายๆคน ไม่เป็นเช่นนั้น
  • 4:52 - 4:55
    พวกเขาไม่ร่ำรวย ไม่มีฐานะ
  • 4:55 - 4:58
    และแทบไม่มีทางเข้าถึงทรัพยากรอันมีค่า
  • 4:58 - 5:01
    และสิ่งที่ผมและเพื่อนร่วมงานได้ศึกษามาตลอด
  • 5:01 - 5:05
    7 ปีที่ผ่านมา คือผลกระทบของโครงสร้างลักษณะนี้
  • 5:05 - 5:09
    สิ่งที่เราพบในหลายๆ งานวิจัย
  • 5:09 - 5:12
    และผู้เข้าร่วมวิจัยกว่าพันคนทั่วประเทศนี้
  • 5:12 - 5:17
    คือเมื่อความร่ำรวยของคนคนหนึ่งเพิ่มขึ้น
  • 5:17 - 5:23
    ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจกลับลดลง
  • 5:23 - 5:27
    และความรู้สึกถึงผลประโยชน์ สิ่งที่เขาควรได้รับ
  • 5:27 - 5:31
    และความคิดเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว กลับเพิ่มขึ้น
  • 5:31 - 5:33
    ในการสำรวจ เราพบว่าจริงๆ แล้ว
  • 5:33 - 5:35
    คนที่ร่ำรวยกว่า
  • 5:35 - 5:38
    มักจะรับได้กับความคิดที่ว่า ความโลภเป็นสิ่งดี
  • 5:38 - 5:40
    ชื่นชอบการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน
  • 5:40 - 5:43
    และมองว่าถูกศีลธรรม
  • 5:43 - 5:45
    สิ่งที่ผมอยากพูดวันนี้
  • 5:45 - 5:49
    คือนัยของแนวความคิดเรื่องผลประโยชน์ส่วนตน
  • 5:49 - 5:52
    พูดเกี่ยวกับว่าทำไมเราควรสนใจความหมายของมัน
  • 5:52 - 5:55
    และจบด้วยสิ่งที่ควรต้องทำ
  • 5:55 - 5:58
    ในการศึกษาแรกๆ ที่เราได้ทำในด้านนี้
  • 5:58 - 5:59
    คือการศึกษาด้านพฤติกรรมการช่วยเหลือ
  • 5:59 - 6:01
    นักจิตวิทยาสังคมเรียกมันว่า
  • 6:01 - 6:03
    พฤติกรรมสนับสนุนสังคม
    (pro-social behavior)
  • 6:03 - 6:06
    และเราก็สนใจเป็นอย่างยิ่งว่าใครจะมีแนวโน้ม
  • 6:06 - 6:08
    ที่จะเสนอความช่วยเหลือให้กับบุคคลอื่น
  • 6:08 - 6:11
    คนรวย หรือคนจน
  • 6:11 - 6:16
    ในการศึกษาหนึ่ง เรานำสมาชิกจากชุมชนหนึ่ง
  • 6:16 - 6:18
    ทั้งรวยและจนมาในห้องทดลอง
  • 6:18 - 6:22
    และแต่ละคนจะได้รับเงิน 10 ดอลลาร์
  • 6:22 - 6:23
    เราบอกผู้เข้าทดลอง
  • 6:23 - 6:26
    ว่าเขาสามารถเก็บเงิน 10 ดอลลาร์นี้ไว้
  • 6:26 - 6:28
    หรือถ้าต้องการ พวกเขาอาจเลือกแบ่งเงินส่วนหนึ่ง
  • 6:28 - 6:30
    ให้กับคนแปลกหน้า
  • 6:30 - 6:31
    ที่ไม่เปิดเผยตัวตน
  • 6:31 - 6:34
    พวกเขาจะไม่มีวันได้เจอคนแปลกหน้า
    และคนแปลกหน้าจะไม่มีวันได้เจอพวกเขา
  • 6:34 - 6:37
    และเราก็เฝ้าสังเกตว่าคนเหล่านี้จะแบ่งเงินให้เท่าไหร่
  • 6:37 - 6:40
    คนที่มีรายได้ 25,000 ดอลลาร์
  • 6:40 - 6:42
    หรือบางทีก็ต่ำกว่า 15,000 ดอลลาร์ต่อปี
  • 6:42 - 6:44
    ให้เงินของพวกเขา ให้กับคนแปลกหน้า
  • 6:44 - 6:45
    คิดเป็น 44%
  • 6:45 - 6:48
    มากกว่ากลุ่มคนที่มีรายได้ 150,000
  • 6:48 - 6:51
    หรือ 200,000 ดอลลาร์ต่อปี
  • 6:51 - 6:54
    เราให้คนเหล่านี้เล่นเกม
  • 6:54 - 6:56
    เพื่อดูว่าใครจะมีแนวโน้มที่จะโกงมากกว่ากัน
  • 6:56 - 6:59
    เพื่อเพิ่มโอกาสในการชนะรางวัล
  • 6:59 - 7:01
    ในเกมหนึ่ง เราได้ตั้งคอมพิวเตอร์ไว้
  • 7:01 - 7:04
    เพื่อทำให้ลูกเต๋าไม่สามารถ
  • 7:04 - 7:05
    ถูกทอยออกมาได้เป็นแต้มบางแต้ม
  • 7:05 - 7:08
    ดังนั้น คุณจะไม่สามารถทอยได้เกิน 12 แต้มในเกมนี้
  • 7:08 - 7:11
    แต่กระนั้น เมื่อคุณรวยขึ้น
  • 7:11 - 7:13
    คุณยิ่งมีแนวโน้มที่จะโกงในเกมนี้
  • 7:13 - 7:17
    เพื่อเอารางวัลเงินสด 50 ดอลลาร์
  • 7:17 - 7:21
    บางครั้ง โอกาสนั้นอาจสูงถึง 3-4 เท่าเลยทีเดียว
  • 7:21 - 7:23
    เราทำการศึกษาอีกชิ้นหนึ่ง เพื่อดูว่า
  • 7:23 - 7:26
    ผู้คนมีแนวโน้มที่จะหยิบลูกอม
  • 7:26 - 7:29
    จากโหลที่เราบอกเอาไว้ชัดเจนว่า
  • 7:29 - 7:31
    ลูกอมเหล่านี้มีไว้ให้เด็กเท่านั้น
  • 7:31 - 7:34
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:34 - 7:36
    ผมไม่ได้พูดเล่นนะครับ
  • 7:36 - 7:39
    ผมรู้ มันอาจฟังดูเหมือนเรื่องตลก
  • 7:39 - 7:41
    เราบอกผู้เข้าทดลองอย่างชัดเจน
  • 7:41 - 7:43
    ว่าโหลลูกอมนั้น มีไว้ให้ผู้เข้าทดลองที่เป็นเด็ก
  • 7:43 - 7:46
    ในห้องวิจัยเรื่องพัฒนาการทีอยู่ติดกัน
  • 7:46 - 7:48
    พวกเด็กๆ กำลังอยู่ในห้องเรียน
    และลูกอมนี้มีไว้สำหรับเด็กๆ
  • 7:48 - 7:51
    และเราก็เฝ้าสังเกต
    ว่าผู้เข้าทดลองแต่ละคนหยิบลูกอมไปมากแค่ไหน
  • 7:51 - 7:53
    ผู้เข้าทดลองที่รู้สึกว่าตัวเองรวย
  • 7:53 - 7:54
    เอาลูกอมไป มากเป็นสองเท่า
  • 7:54 - 7:57
    เมื่อเทียบกับผู้เข้าทดลองที่รู้สึกว่าตัวเองจน
  • 7:57 - 8:00
    เราศึกษาแม้แต่รถยนต์
  • 8:00 - 8:02
    ไม่ใช่รถทั่วๆ ไป
  • 8:02 - 8:05
    แต่ศึกษาว่าคนขับรถประเภทไหน
  • 8:05 - 8:08
    มีแนวโน้มจะฝ่าฝืนกฎหมายมากกว่ากัน
  • 8:08 - 8:11
    ในการศึกษาหนึ่ง เราศึกษาว่า
  • 8:11 - 8:15
    คนขับจะหยุดให้คนเดินถนน
  • 8:15 - 8:18
    ที่ยืนรอข้ามถนนที่ทางม้าลายหรือไม่
  • 8:18 - 8:20
    อย่างที่ทุกคนรู้ ในแคลิฟอร์เนีย
  • 8:20 - 8:22
    เพราะผมมั่นใจว่าทุกคนก็ทำ
  • 8:22 - 8:26
    กฏหมายบอกให้รถต้องหยุดให้คนที่รอข้ามถนน
  • 8:26 - 8:28
    นี่คือตัวอย่างการทดลองของเรา
  • 8:28 - 8:30
    หน้าม้าของเราอยู่ทางด้านซ้าย
  • 8:30 - 8:32
    ทำทีเป็นคนเดินถนน
  • 8:32 - 8:36
    เขาเดินเข้ามา ในขณะที่กระบะสีแดงหยุดทันเวลา
  • 8:36 - 8:38
    และในสไตล์คนแคลิฟอร์เนีย รถบัสที่ตามมา
  • 8:38 - 8:41
    ก็เบี่ยงแซง จนเกือบจะชนคนข้ามถนนของเรา
  • 8:41 - 8:42
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:42 - 8:44
    และนี่คือตัวอย่างของรถที่แพงขึ้นมาหน่อย
  • 8:44 - 8:46
    พรีอุส ขับผ่านไปเลย
  • 8:46 - 8:50
    รถ BMW ก็ทำเช่นกัน
  • 8:51 - 8:54
    เราศึกษารถหลายร้อยคัน
  • 8:54 - 8:56
    ใช้เวลาหลายวัน
  • 8:56 - 8:59
    เพื่อติดตามว่าใครหยุด และใครไม่หยุด
  • 9:00 - 9:03
    สิ่งที่เราพบคือ เมื่อความแพง
  • 9:03 - 9:07
    ของรถยนต์เพิ่มขึ้น
  • 9:07 - 9:09
    แนวโน้มของคนขับที่จะฝ่าฝืนกฎหมาย
  • 9:09 - 9:10
    ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
  • 9:10 - 9:13
    ไม่มีรถคันใดเลย ผมย้ำว่าไม่มีเลย
  • 9:13 - 9:16
    ในกลุ่มรถที่ราคาถูกที่สุด
  • 9:16 - 9:18
    ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
  • 9:18 - 9:20
    และเกือบ 50 เปอร์เซนต์ของรถยนต์
  • 9:20 - 9:22
    ในกลุ่มรถที่แพงที่สุด
  • 9:22 - 9:25
    ฝ่าฝืนกฎหมาย
  • 9:25 - 9:27
    เราทำการศึกษาอื่นๆ เพื่อศึกษาว่า
  • 9:27 - 9:31
    คนที่รวยกว่า จะมีแนวโน้มที่จะโกหกในการเจรจาต่อรอง
  • 9:31 - 9:33
    และจะส่งเสริมพฤติกรรมไร้จรรยาบรรณในที่ทำงาน
  • 9:33 - 9:35
    เช่นการขโมยเงินจากแคชเชียร์
  • 9:35 - 9:41
    รับสินบน โกหกลูกค้า
  • 9:41 - 9:42
    ผมไม่ได้ชี้นำว่า
  • 9:42 - 9:44
    ไม่ใช่เฉพาะคนรวย
  • 9:44 - 9:46
    ที่แสดงพฤติกรรมเหล่านี้
  • 9:46 - 9:48
    ไม่ใช่เลยครับ อันที่จริง ผมคิดว่า พวกเราทุกคน
  • 9:48 - 9:51
    ในชีวิตของเราทุกๆวัน ทุกๆ นาที
  • 9:51 - 9:54
    ต้องเผชิญกับความขัดแย้งในใจ
  • 9:54 - 9:58
    ว่าเมื่อไหร่ หรือควรหรือไม่ ที่จะเอาผลประโยชน์ส่วนตัว
  • 9:58 - 10:00
    อยู่เหนือผลประโยชน์ของคนอื่นๆ
  • 10:00 - 10:02
    และนั่นก็เป็นที่เข้าใจได้ เพราะ
  • 10:02 - 10:05
    ความฝันแบบอเมริกันนั้น
  • 10:05 - 10:08
    คือแนวคิดที่ว่าเราทุกคนมีโอกาสเท่ากัน
  • 10:08 - 10:10
    ในความสำเร็จและรุ่งเรือง
  • 10:10 - 10:13
    ตราบใดที่เราทุ่มเทกายใจ และทำงานหนัก
  • 10:13 - 10:15
    ในแง่หนึ่ง มันหมายถึงว่าในบางครั้ง
  • 10:15 - 10:18
    คุณต้องยกเอาผลประโยชน์ส่วนตน
  • 10:18 - 10:22
    ให้อยู่เหนือผลประโยชน์ และความเป็นอยู่
    ของคนอื่นๆ รอบๆ ตัวคุณ
  • 10:22 - 10:24
    แต่ที่สิ่งที่เราค้นพบ ก็คือ
  • 10:24 - 10:26
    เมื่อคุณร่ำรวยขึ้น คุณมีแนวโน้มที่
  • 10:26 - 10:29
    จะแสวงหาวิสัยทัศน์ของความสำเร็จส่วนตัว
  • 10:29 - 10:31
    และการทำงานบรรลุเป้าหมาย
  • 10:31 - 10:35
    จนเริ่มเป็นผลเสียต่อคนรอบข้างคุณ
  • 10:35 - 10:38
    ผมวาดกราฟแสดงค่าเฉลี่ยรายรับ
    ที่แต่ละครัวเรือนได้รับ
  • 10:38 - 10:41
    โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มรายได้
    และกลุ่ม 5% ของครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด
  • 10:41 - 10:43
    ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
  • 10:43 - 10:46
    ในปี 1993 ความแตกต่างระหว่าง
  • 10:46 - 10:49
    แต่ละควอนไทล์ของประชากร ในแง่ของรายรับ
  • 10:49 - 10:52
    มันเลวร้ายทีเดียว
  • 10:52 - 10:54
    ไม่ยากเลยที่จะมองเห็นความแตกต่างนี้
  • 10:54 - 10:57
    แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ความแตกต่างที่เด่นชัดนั้น
  • 10:57 - 10:59
    ก็ยิ่งแตกต่างกันมากขึ้นไปอีก
  • 10:59 - 11:02
    ระหว่างกลุ่มคนรวย และคนอื่นๆ ที่เหลือ
  • 11:02 - 11:06
    อันที่จริง คนที่รายได้สูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์แรก
  • 11:06 - 11:09
    เป็นเจ้าของสินทรัพย์เกือบ 90 เปอร์เซนต์ของประเทศนี้
  • 11:09 - 11:11
    เราอยู่ในช่วงแห่งความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
  • 11:11 - 11:14
    ที่สูงแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
  • 11:16 - 11:18
    นั่นหมายความว่า ความมั่งคั่งไม่เพียงจะ
  • 11:18 - 11:22
    กระจุกตัวอยู่กับกลุ่มคนที่เล็กลง
  • 11:22 - 11:25
    แต่ความฝันแบบอเมริกัน
  • 11:25 - 11:27
    ก็ยังไกลเกินเอื้อมออกไปเรื่อยๆ
  • 11:27 - 11:30
    สำหรับคนส่วนใหญ่แบบพวกเรา
    ที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
  • 11:30 - 11:32
    และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ตามการศึกษาของเรา
  • 11:32 - 11:34
    ที่ว่า เมื่อคุณมั่งมีขึ้น
  • 11:34 - 11:37
    คุณจะรู้สึกว่าคุณสมควรได้รับความมั่งคั่งนั้น
  • 11:37 - 11:40
    และคุณจะมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญ
    กับผลประโยชน์ส่วนตัว
  • 11:40 - 11:42
    มากกว่าผลประโยชน์ของคนอื่นๆ
  • 11:42 - 11:45
    และยินยอมที่จะทำสิ่งเลวร้าย
    เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์นั้น
  • 11:45 - 11:47
    ดังนั้น ไม่มีเหตุผลเลย ที่จะคิดว่า
  • 11:47 - 11:49
    รูปแบบที่ว่านี้จะดีขึ้น
  • 11:49 - 11:51
    อันที่จริง มันแน่นอนที่ว่า
  • 11:51 - 11:52
    สถานการณ์จะเลวร้ายลงกว่านี้
  • 11:52 - 11:55
    และนี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม
  • 11:55 - 12:00
    ในอัตราเพิ่มที่คงที่ ในอนาคตอีก 20 ปี
  • 12:00 - 12:03
    ความเหลื่อมล้ำทางเศรฐกิจ
  • 12:03 - 12:05
    เป็นอะไรที่เราทุกคนควรกังวล
  • 12:05 - 12:07
    ไม่ใช่เพราะผู้คนที่อยู่ที่ข้างล่างสุด
  • 12:07 - 12:09
    ของโครงสร้างสังคม
  • 12:09 - 12:11
    แต่เป็นเพราะกลุ่มคน หรือสังคม
  • 12:11 - 12:16
    ที่มีความเหลือมล้ำทางเศรษกิจมากๆ นั้น
    แย่กว่าในหลายๆ แง่
  • 12:16 - 12:19
    ไม่ใช่แค่กับคนที่อยู่ด้านล่างสุด แต่กับทุกคน
  • 12:19 - 12:21
    มีงานวิจัยที่โดดเด่นหลายชิ้น
  • 12:21 - 12:24
    จากห้องวิจัยชั้นนำทั่วโลก
  • 12:24 - 12:27
    ที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งมากมาย
  • 12:27 - 12:28
    ที่คอยบ่อนทำลายสังคม
  • 12:28 - 12:31
    เมื่อความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น
  • 12:31 - 12:34
    ความยืดหยุ่นทางสังคม สิ่งที่เราใส่ใจ
  • 12:34 - 12:36
    สุขภาพ ความเชื่อใจกันในสังคม
  • 12:36 - 12:39
    ทุกอย่างลดลงเมื่อความเหลื่อมล้ำมีมากขึ้น
  • 12:39 - 12:41
    และเช่นเดียวกัน สิ่งเลวร้าย
  • 12:41 - 12:44
    ในสังคม
  • 12:44 - 12:46
    เช่น โรคอ้วน ความรุนแรง
  • 12:46 - 12:48
    จำนวนนักโทษ และการลงโทษ
  • 12:48 - 12:52
    นั้นกลับแย่ลง เมื่อความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
  • 12:52 - 12:54
    และเช่นกัน ผลลัพธ์เหล่านี้ ไม่ได้เกิดขึ้น
  • 12:54 - 12:56
    ในสังคมเพียงไม่กี่แห่ง
  • 12:56 - 12:59
    แต่เกิดขึ้นในสังคมทุกรูปแบบ
  • 12:59 - 13:02
    แม้กระทั่งผู้คนที่อยู่บนยอดสุด ก็ได้รับผลลัพธ์เหล่านี้
  • 13:02 - 13:05
    แล้วเราจะทำอย่างไร
  • 13:05 - 13:09
    ผลกระทบในแง่ร้าย
  • 13:09 - 13:11
    ที่ค่อยๆ ลุกลามอย่างไม่หยุดนี้
  • 13:11 - 13:15
    อาจดูเหมือนบางสิ่งที่เกินจะควบคุมได้
  • 13:15 - 13:16
    และไม่มีทางที่เราจะสามารถหยุดมันได้
  • 13:16 - 13:19
    แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่เราในฐานะปัจเจกบุคคล
    สามารถช่วยได้
  • 13:19 - 13:23
    แต่อันที่จริง สิ่งที่เราค้นพบ
  • 13:23 - 13:26
    ในงานวิจัยจากห้องทดลองของเรา
  • 13:26 - 13:31
    ก็คือ การแทรกแซงด้านจิตวิทยาเพียงเล็กน้อย
  • 13:31 - 13:35
    การปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย ในเรื่องคุณค่าของผู้คน
  • 13:35 - 13:38
    การผลักดันเพียงเล็กน้อย ไปในบางทิศทาง
  • 13:38 - 13:41
    ก็สามารถฟื้นคืนสถานะของความเสมอภาค
    และความเห็นอกเห็นใจ
  • 13:41 - 13:44
    ยกตัวอย่างเช่น การย้ำเตือนผู้คน
  • 13:44 - 13:46
    ถึงผลประโยชน์ของการร่วมมือกัน
  • 13:46 - 13:49
    หรือประโยชน์ของชุมชน
  • 13:49 - 13:53
    จะทำให้คนที่ร่ำรวยกว่า เชื่อในหลักความเสมอภาค
  • 13:53 - 13:55
    ได้พอๆ กับคนจน
  • 13:55 - 13:59
    ในการศึกษาหนึ่ง เราให้ผู้คนดูวิดีโอสั้นๆ
  • 13:59 - 14:03
    ความยาวเพียง 46 วินาที เกี่ยวกับเด็กยากจน
  • 14:03 - 14:06
    เพื่อใช้เป็นเครื่องย้ำเตือนถึงความต้องการของคนอื่นๆ
  • 14:06 - 14:08
    ในโลกรอบๆ ตัวพวกเขา
  • 14:08 - 14:10
    และหลังจากดูวิดีโอนั้น
  • 14:10 - 14:12
    เราศึกษาว่า พวกเขาเต็มใจแค่ไหน
  • 14:12 - 14:15
    ที่จะใช้เวลากับคนแปลกหน้าที่กำลังลำบาก
  • 14:15 - 14:19
    ผู้ซึ่งถูกพามาพบเขาในห้องทดลอง
  • 14:19 - 14:22
    หนึ่งชั่วโมง หลังจากดูวิดีโอนี้
  • 14:22 - 14:24
    กลุ่มคนรวย ก็มีความเอื้อเฟื้อ
  • 14:24 - 14:26
    ในแง่การใช้เวลาเพื่อช่วยคนแปลกหน้าที่ว่า
  • 14:26 - 14:29
    พอๆ กับกลุ่มคนจน
  • 14:29 - 14:32
    นี่ชี้ว่า ความแตกต่างเหล่านี้
  • 14:32 - 14:33
    ไม่ได้ฝังแน่น หรือติดอยู่กับเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
  • 14:33 - 14:35
    แต่มันสามารถปรับเปลี่ยนได้
  • 14:35 - 14:37
    โดยใช้การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
    ในเรื่องคุณค่าของคน
  • 14:37 - 14:39
    เพิ่มความรักเพื่อนมนุษย์อีกเล็กน้อย
  • 14:39 - 14:41
    และความเห็นอกเห็นใจอีกนิดหน่อย
  • 14:41 - 14:43
    และนอกห้องทดลองของเรา
  • 14:43 - 14:47
    เราเริ่มที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ว่าในสังคมเราแล้ว
  • 14:47 - 14:50
    บิลล์ เกตส์ หนึ่งในผู้ที่มั่งคั่งที่สุดในประเทศของเรา
  • 14:50 - 14:52
    ในสุนทรพจน์ของเขา ในงานมอบประกาศนียบัตร
    มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  • 14:52 - 14:54
    เขาพูดเกี่ยวกับปัญหาที่สังคมเราเผชิญอยู่
  • 14:54 - 14:57
    เรื่องความไม่เท่าเทียม ว่าเป็นความท้าทายที่น่ากลัว
  • 14:57 - 15:00
    และพูดถึงว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อสู้กับมัน
  • 15:00 - 15:03
    เขากล่าวว่า
    "ความก้าวหน้าที่ยิงใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ
  • 15:03 - 15:05
    ไม่ใช่การค้นพบ
  • 15:05 - 15:08
    แต่อยู่ที่วิธีที่การค้นพบเหล่านั้นถูกนำมาประยุกต์ใช้
  • 15:08 - 15:11
    เพื่อลดความไม่เท่าเทียม"
  • 15:11 - 15:13
    และมีกลุ่ม กิฟวิงเพล็ดจ์ (Giving Pledge)
  • 15:13 - 15:15
    ซึ่งเป็นกลุ่มของกว่า 100 ผู้ที่ร่ำรวยที่สุด
  • 15:15 - 15:18
    ของประเทศเรา
  • 15:18 - 15:22
    ที่สัญญาว่าจะมอบครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์ทั้งหมด
    เพื่อการกุศล
  • 15:22 - 15:23
    และตอนนี้ ก็เริ่มมีความเคลื่อนไหว
  • 15:23 - 15:27
    ในระดับรากหญ้า อีกมากมาย
  • 15:27 - 15:29
    อย่างเช่น กลุ่ม "เราคือหนึ่งเปอร์เซนต์"
    (We are the One Percent)
  • 15:29 - 15:31
    กลุ่ม รีซอร์ซ เจนเนเรชั่น (Resource Generation)
  • 15:31 - 15:33
    หรือกลุ่ม "เวล์ธ ฟอร์ คอมมอน กู้ด"
    (Wealth for Common Good)
  • 15:33 - 15:36
    ที่ซึ่งประชากร
  • 15:36 - 15:38
    กลุ่มที่มีอภิสิทธิ์สูงสุด
  • 15:38 - 15:40
    ที่อยู่ในกลุ่มหนึ่งเปอร์เซนต์สูงสุดของสังคม
  • 15:40 - 15:42
    ผู้คนที่ร่ำรวย
  • 15:42 - 15:46
    กำลังใช้ทรัพยากรทางเศรษกิจของพวกเขา
  • 15:46 - 15:50
    ที่ผมประทับใจ คือ ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก
  • 15:50 - 15:52
    หันมาใช้อภิสิทธิ์ของพวกเขา
  • 15:52 - 15:54
    ทรัพยากรทางเศรษกิจของพวกเขา
  • 15:54 - 15:57
    เพื่อต่อสู้กับความไม่เท่าเทียม
  • 15:57 - 16:00
    โดยสนับสนุนนโยบายทางสังคม
  • 16:00 - 16:02
    เปลี่ยนคุณค่าทางสังคม
  • 16:02 - 16:04
    และเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน
  • 16:04 - 16:07
    ให้สนใจผลประโยชน์ส่วนตัวน้อยลง
  • 16:07 - 16:11
    และนั่นอาจทำให้ฝันแบบอเมริกันกลับคืนมาได้ในที่สุด
  • 16:11 - 16:13
    ขอบคุณครับ
  • 16:13 - 16:17
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เงินตราทำให้คุณโหดร้าย จริงหรือ?
Speaker:
พอล พิฟ (Paul Piff)
Description:

เกมเศรษฐีที่ไม่ยุติธรรม ก็สามารถเปิดเผยถึง บางอย่างที่น่าทึ่งได้ ในการบรรยายที่สนุกแต่เคร่งขรึมนี้ นักจิตวิทยาสังคม พอล พิฟ แสดงบางส่วนของานวิจัย ที่แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีพฤติกรรมอย่างไรเมื่อพวกเรารู้สึกรวยขึ้น (บอกไว้ก่อน ว่าทำตัวแย่) แต่ถึงแม้ปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมนั้นจะซับซ้อน และน่ากลัว ขณะเดียวกันนั้นก็ยังมีข่าวดีอยู่ด้วยเหมือนกัน (บันทึกที่ TEDxMarin)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:35
Kanawat Senanan approved Thai subtitles for Does money make you mean?
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Does money make you mean?
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Does money make you mean?
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Does money make you mean?
Paravee Asava-Anan accepted Thai subtitles for Does money make you mean?
Paravee Asava-Anan edited Thai subtitles for Does money make you mean?
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Does money make you mean?
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Does money make you mean?
Show all

Thai subtitles

Revisions