Return to Video

บียอร์น ลอมบอร์ค จัดลำดับปัญหาสำคัญของโลก

  • 0:00 - 0:04
    ผมอยากจะพูดเกี่ยวกับปัญหาที่มีความสำคัญที่สุดในโลกของเรา
  • 0:04 - 0:06
    ผมไม่ได้กำลังจะพูดเกี่ยวกับ "นักสิ่งแวดล้อมจอมตั้งแง่"
  • 0:06 - 0:08
    ซึ่งนั่นอาจเป็นตัวเลือกที่ดี
  • 0:08 - 0:09
    (หัวเราะ)
  • 0:09 - 0:12
    แต่ผมกำลังจะพูดเกี่ยวกับเรื่อง อะไรคือปัญหาสำคัญในโลกใบนี้?
  • 0:12 - 0:15
    และก่อนที่ผมจะพูดต่อไป ผมขอให้ทุกท่าน
  • 0:15 - 0:17
    หยิบปากกาและกระดาษออกมา
  • 0:17 - 0:20
    เพราะผมจะขอให้ทุกท่านช่วยผมคิดว่า พวกเราควรจะมองมันอย่างไร
  • 0:20 - 0:22
    หยิบกระดาษกับปากกาออกมาเลยครับ
  • 0:22 - 0:24
    อย่าลืมว่า มีปัญหามากมายในโลกใบนี้
  • 0:24 - 0:26
    ผมจะกล่าวถึงบางปัญหา
  • 0:26 - 0:28
    มี 800 ล้านคนบนโลกที่อดยาก
  • 0:28 - 0:30
    มีคนเป็น พันล้านคนที่ไม่มีน้ำดื่มสะอาดบริโภค
  • 0:30 - 0:32
    2,000 ล้านคนไม่มีระบบสุขาภิบาล
  • 0:32 - 0:35
    และมีอีกหลายล้านคนที่กำลังจะตายด้วย เอชไอวีและเอดส์
  • 0:35 - 0:37
    รายการปัญหายังมีต่อครับ
  • 0:37 - 0:42
    มีผู้คนอีกกว่า 2,000 ล้านคนที่กำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น
  • 0:42 - 0:44
    ปัญหามีจำนวนมากจริงๆ
  • 0:44 - 0:48
    ถ้าเป็นไปได้ เราคงอยากแก้ไขปัญหาเหล่านี้ทั้งหมด แต่เราทำไม่ได้
  • 0:48 - 0:50
    จริงๆ แล้ว เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาทุกปัญหาได้
  • 0:50 - 0:54
    และถ้าเราไม่สามารถทำได้ คำถามที่ผมคิดว่าเราควรต้องถามตัวเอง
  • 0:54 - 0:57
    และก็เป็นเหตุผลว่าทำไมมันจึงเป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์ -- ก็คือ
  • 0:57 - 1:00
    ถ้าเราไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง เราควรต้องเริ่มถามตัวเองอย่างจริงจังว่า
  • 1:00 - 1:02
    แล้วปัญหาอะไรล่ะที่เราควรแก้ไขเป็นอย่างแรก
  • 1:02 - 1:04
    และนั่นก็เป็นคำถามที่ผมอยากถามคุณ
  • 1:04 - 1:09
    ถ้าเรามีเงินสัก 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับใช้ใน 4 ปีข้างหน้า
  • 1:09 - 1:12
    เพื่อทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อโลกของเรา เราควรใช้เพื่อแก้ปัญหาใด
  • 1:12 - 1:15
    พวกเรายก 10 ปัญหาที่ท้าทายที่สุดของโลกขึ้นมา
  • 1:15 - 1:17
    ผมจะอ่านสั้นๆ
  • 1:17 - 1:19
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, โรคติดต่อ, ความข้ดแย้ง, การศึกษา
  • 1:19 - 1:21
    ความไม่มั่นคงทางการเงิน, ธรรมาภิบาลและการคอร์รัปชั่น
  • 1:21 - 1:24
    การขาดแคลนอาหารและผู้อดยาก, การย้ายถิ่น
  • 1:24 - 1:27
    สุขาภิบาลและน้ำ, การอุดหนุนและกำแพงทางการค้า
  • 1:27 - 1:29
    พวกเราเชื่อว่าปัญหาเหล่านี้
  • 1:29 - 1:31
    เป็นปัญหาที่มีความสำคัญที่สุดในโลก
  • 1:31 - 1:33
    คำถามสำคัญที่ควรต้องถาม ก็คือ
  • 1:33 - 1:35
    พวกคุณคิดว่า ปัญหาอะไรสำคัญที่สุด?
  • 1:35 - 1:38
    เราควรเริ่มต้นที่ไหนในการแก้ไขปัญหา?
  • 1:38 - 1:40
    แต่ นั่นเป็นการถามปัญหาที่ผิด
  • 1:40 - 1:43
    และเป็นปัญหาจริงๆ ที่ถูกถาม เมื่อครั้งประชุมที่ดาโวส ในเดือนมกราคม
  • 1:43 - 1:46
    แต่ปัญหาเกิดขึ้นแน่นอน ถ้าเราถามผู้เข้าร่วมประชุมให้พิจารณาที่ตัวปัญหา
  • 1:46 - 1:49
    เพราะเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
  • 1:49 - 1:52
    แน่นอนว่า ปัญหาที่มีความสำคัญที่สุดที่เรามี ก็คือ เราทุกคนต้องตาย
  • 1:52 - 1:54
    แต่เราไม่มีเทคโนโลยีที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว จริงไหมครับ?
  • 1:54 - 1:57
    ดังนั้น ประเด็นจึงไม่ใช่การจัดลำดับปัญหา
  • 1:57 - 2:01
    แต่ควรเป็นการจัดลำดับทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
  • 2:01 - 2:04
    แน่นอน นั่นย่อมทำให้อะไรๆยุ่งยากขึ้นอีกเล็กน้อย
  • 2:04 - 2:06
    สำหรับการเปลี่ยนแปลงภาวะโลกร้อน การแก้ไขก็อาจจะเป็น เกียวโตโปรโตคอล
  • 2:06 - 2:09
    สำหรับโรคติดต่อ ก็อาจจะแก้โดยการเพิ่มคลินิคสุขภาพ หรือ มุ้งกันยุง
  • 2:09 - 2:12
    สำหรับความขัดแย้ง, อาจใช้กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ เป็นต้น
  • 2:12 - 2:17
    สิ่งที่ผมอยากจะขอให้คุณลองทำ
  • 2:17 - 2:20
    คือภายในเวลา 30 วินาที - และผมรู้ว่านี่เป็นสิ่งที่จะทำให้คุณรู้สึกว่า
  • 2:20 - 2:22
    เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ -- ขอให้เขียนสิ่งที่คุณคิด
  • 2:22 - 2:24
    อาจเป็นบางอย่างที่มีความสำคัญมาก
  • 2:24 - 2:27
    และแน่นอนว่า นี่คือจุดที่ทำให้หลักเศรษฐศาสตร์กลายเป็นเหมือนสิ่งที่ชั่วร้าย
  • 2:27 - 2:30
    เขียนดูครับว่าอะไรคือปัญหาที่เราไม่ควรแก้เป็นอันดับแรก
  • 2:30 - 2:32
    อะไรควรจะจัดเป็นปัญหาลำดับสุดท้ายของรายการ
  • 2:32 - 2:35
    โปรดใช้เวลา 30 วินาที คุณลองคุยกับเพื่อนข้างๆ ก็ได้
  • 2:35 - 2:37
    และเขียนลงไปครับว่า ปัญหาใดควรอยู่ในลำดับบนของรายการ
  • 2:37 - 2:39
    และทางออกของปัญหาที่จัดอยู่ลำดับท้ายๆของรายการ
  • 2:39 - 2:41
    ของปัญหาสำคัญๆ ของโลกหลายปัญหา
  • 2:41 - 2:44
    ส่วนที่น่าประหลาดใจของกระบวรการนี้ ซึ่งแน่นอน ผมหมายถึง
  • 2:44 - 2:46
    ถ้าเป็นไปได้ผมก็อยาก (จะให้เวลาคุณอีกนิด) -- แต่ผมมีเพียง 18 นาทีเท่านั้น
  • 2:46 - 2:48
    ผมได้ให้เวลาที่สำคัญของผมสำหรับทุกท่านแล้ว ใช่ไหมครับ?
  • 2:48 - 2:52
    ผมจะไปต่อนะครับ และชวนคุณให้คิดเกี่ยวกับกระบวนการนี้
  • 2:52 - 2:54
    และจริงๆ นั่นคือสิ่งที่เราได้ทำกันแล้ว
  • 2:54 - 2:56
    และผมยังสนับสนุนคุณเต็มที่
  • 2:56 - 2:58
    ผมมั่นใจว่า เราจะได้อภิปรายกันต่อหลังจากนี้
  • 2:58 - 3:00
    ว่า พวกเราจะจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเหล่านี้จริงๆได้อย่างไร?
  • 3:00 - 3:02
    แน่นอน คุณต้องถามตัวเองว่า
  • 3:02 - 3:04
    ทำไมที่ผ่านมาการจัดลำดับความสำคัญแบบนี้ถึงไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน?
  • 3:04 - 3:09
    เหตุผลข้อหนึ่งก็คือ การจัดลำดับความสำคัญเป็นเรื่องที่น่าอึดอัดอย่างไม่น่าเชื่อ
  • 3:09 - 3:11
    ไม่มีใครอยากทำ
  • 3:11 - 3:14
    เพราะแน่นอนว่า ทุกองค์กรหวังที่จะขึ้นไปอยู่ลำดับต้นๆ ของรายการ
  • 3:14 - 3:17
    และ ทุกองค์กรก็ไม่ชอบถ้าตัวเองจะไม่ได้ขึ้นอยู่ในลำดับต้นๆเช่นกัน
  • 3:17 - 3:21
    และเนื่องจาก หลายๆปัญหาจะไม่ได้ขึ้นไปนั่งแท่นเบอร์หนึ่งของรายการปัญหานี้
  • 3:21 - 3:24
    มากกว่าจำนวนปัญหาที่จะถูกจัดเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งทำให้ตรรกกะนี้ถูกต้อง
  • 3:24 - 3:26
    ว่าเราจะไม่อยากจัดลับดับรายการขึ้นมา
  • 3:26 - 3:28
    เรามีสหประชาชาติมากว่า 60 ปีแล้ว
  • 3:28 - 3:31
    แต่เราไม่เคยทำรายการพื้นฐาน
  • 3:31 - 3:33
    เกี่ยวกับสิ่งสำคัญที่เราสามารถทำให้แก่โลกใบนี้
  • 3:33 - 3:36
    และบอกว่าอะไร คือสิ่งที่เราควรทำเป็นอันดับแรก
  • 3:36 - 3:39
    ซึ่งนั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ได้กำลังจัดลำดับ
  • 3:39 - 3:43
    การตัดสินใจใดๆ คือ การลำดับความสำคัญ ซึ่งแน่นอนว่า เรายังคงลำดับความสำคัญอยู่
  • 3:43 - 3:46
    แต่เป็นการจัดลำดับโดยนัย ซึ่งก็ไม่น่าจะดีเท่ากัย
  • 3:46 - 3:48
    ถ้าเราได้จัดลำดับความสำคัญจริงๆจังๆ
  • 3:48 - 3:50
    เข้าไปถึงแก่นและถกถึงมันจริงๆ
  • 3:50 - 3:52
    ดังนั้น สิ่งที่ผมกำลังเสนอจริงๆ ก็คือการบอกว่า
  • 3:52 - 3:56
    เราอยู่ในสถานการณ์ที่เรามีเมนูทางเลือกมานาน
  • 3:56 - 3:58
    เห็นๆได้ว่า มีหลายๆอย่างที่พวกเราสามารถทำได้
  • 3:58 - 4:01
    แต่เราไม่ได้ตีทั้งมูลค่าและขนาดของประโยชน์
  • 4:01 - 4:03
    พวกเราไม่ได้มีความคิดอย่างนั้น
  • 4:03 - 4:06
    ลองคิดดูว่าถ้าคุณไปร้านอาหารและได้รับรายการอาหารละลานตา
  • 4:06 - 4:08
    แต่คุณยังคงนึกไม่ออกว่า มันราคาเท่าไร
  • 4:08 - 4:10
    เหมือนกับ คุณต้องการพิชซ่า แต่ไม่รู้ว่าราคาเท่าไร
  • 4:10 - 4:12
    มันอาจจะแค่ 1 ดอลล่าร์ หรือ 1,000 ดอลล่าร์
  • 4:12 - 4:14
    มันอาจเป็นพิชซ่าขนาดครอบครัว
  • 4:14 - 4:16
    หรืออาจเป็นขนาดที่ทานคนเดียว ใช่ไหมครับ?
  • 4:16 - 4:18
    พวกเราอยากรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้
  • 4:18 - 4:20
    และนั่นเป็นสิ่งที่ที่การประชุมประชามติที่โคเปนเฮเกนพยายามจะทำกัน
  • 4:20 - 4:23
    พยายามที่จะระบุต้นทุนของเรื่องต่างๆ
  • 4:23 - 4:26
    พูดง่ายๆว่า ในที่ประชุมประชามติที่โคเปนเฮเกน
  • 4:26 - 4:30
    พวกเรามีนักเศรษฐศาสตร์สุดยอดของโลก 30 คน สาขาละ 3 คน
  • 4:30 - 4:33
    ดังนั้น พวกเราจึงมีนักเศรษฐศาสตร์ระดับโลก 3 คน ที่เขียนเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน
  • 4:33 - 4:36
    เราสามารถทำอะไรได้บ้าง? อะไรคือต้นทุน?
  • 4:36 - 4:37
    และอะไรคือประโยชน์ที่จะได้?
  • 4:37 - 4:39
    เข่นเดียวกัน สำหรับโรคติดต่อ
  • 4:39 - 4:42
    เราก็ได้ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ช่วยระบุว่า เราสามารถทำอะไรได้บ้าง?
  • 4:42 - 4:43
    และราคาที่มากับการแก้ปัญหาคือเท่าไร?
  • 4:43 - 4:46
    เราควรทำอะไรเกี่ยวกับมัน ผลลัพธ์จะเป็นอะไร?
  • 4:46 - 4:47
    เป็นต้น
  • 4:47 - 4:49
    แล้วเราก็เคยมีนักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกบางท่าน
  • 4:49 - 4:53
    นักเศรษฐศาสตร์ระดับโลก 8 ท่าน รวม 3 ท่านที่เคยได้รับรางวัลโนเบิล
  • 4:53 - 4:56
    มาประชุมร่วมกันที่โคเปนเฮเกน ในเดือนเมษายน ปี'47
  • 4:56 - 4:58
    เราเรียกพวกเขาว่า ทีมในฝัน
  • 4:58 - 5:01
    เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเคมบริจจ์ เรียกพวกเขาว่า
  • 5:01 - 5:03
    รีล เมดริทแห่งเศรษฐศาสตร์
  • 5:03 - 5:05
    ซึ่งฟังดูเข้าท่าที่ยุโรป แต่อาจจะใช้ไม่ได้ในที่นี่
  • 5:05 - 5:09
    สิ่งที่พวกเขาทำโดยคือ เขาจัดลำดับรายการความสำคัญ
  • 5:09 - 5:11
    ซึ่งอาจทำให้คุณถามว่าทำไมถึงใช้นักเศรษฐศาสตร์?
  • 5:11 - 5:13
    แน่นอนว่า ผมดีใจมากที่จะตอบคำถามนี้ (หัวเราะ)
  • 5:13 - 5:15
    เพราะมันเป็นคำถามที่ดีมาก
  • 5:15 - 5:18
    ประเด็นคือ แน่นอน ถ้าคุณต้องการรู้เกี่ยวกับมาลาเรีย
  • 5:18 - 5:20
    คุณต้องถามผู้เชี่ยวชาญด้านมาลาเรีย
  • 5:20 - 5:22
    ถ้าคุณต้องการรู้เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ คุณต้องถามผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศ
  • 5:22 - 5:25
    แต่ ถ้าคุณต้องการรู้ว่าสองอย่างนี้ คุณควรจัดการกับเรื่องใดก่อน
  • 5:25 - 5:28
    คุณไม่สามารถถามผู้เชี่ยวชาญทั้งสองคนได้ เพราะนั่นไม่ใช่สิ่งที่เขาทำ
  • 5:28 - 5:30
    นั่นเป็นสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ทำ
  • 5:30 - 5:31
    เขาจัดลำดับความสำคัญ
  • 5:31 - 5:36
    เขาทำในสิ่งที่จะเรียกว่าน่ารังเกียจก็ว่าได้ เพื่อที่จะบอกเราว่า เราควรทำสิ่งใดก่อน
  • 5:36 - 5:38
    และควรทำสิ่งใดในภายหลัง
  • 5:38 - 5:41
    นี่คือบัญชีรายการ ซึ่งคือสิ่งที่ผมอยากแชร์กับคุณ
  • 5:41 - 5:43
    แน่นอน คุณสามารถเห็นสิ่งเหล่านี้ทางเว็บไซท์
  • 5:43 - 5:46
    และผมมั่นใจว่าพวกเราจะได้พูดถึงมันมากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป
  • 5:46 - 5:48
    ง่ายๆคือ พวกเขาได้จัดทำบัญชีรายการขึ้นมา ซึ่งพวกเขาจำแนกประเภท
  • 5:48 - 5:51
    โครงการที่ไม่ได้เรื่อง ซึ่งเรียกว่า เป็นโครงการ
  • 5:51 - 5:54
    ที่ถ้าคุณลงทุนลงไปหนึ่งดอลล่าร์ คุณจะได้เงินกลับคืนมาน้อยกว่าหนึ่งดอลล่าร์
  • 5:54 - 5:58
    และมีโครงการที่พอใช้ได้ โครงการที่ดี และโครงการที่ดีมาก
  • 5:58 - 6:00
    และแน่นอน โครงการที่ดีมากควรเป็นโครงการที่เราเริ่มทำก่อน
  • 6:00 - 6:02
    ผมจะเริ่มไล่จากหลังไปหน้า
  • 6:02 - 6:04
    เพื่อที่เราจะได้จบลงด้วยโครงการที่ดีที่สุด
  • 6:04 - 6:06
    ส่วนโครงการที่ไม่ดี
  • 6:06 - 6:10
    คุณอาจเห็นที่บรรทัดล่างๆ ของรายการ ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
  • 6:10 - 6:14
    ซึ่่งอาจขัดความรู้สึกของคนจำนวนมาก และ นั่นอาจเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้
  • 6:14 - 6:16
    หลายคนกล่าวว่า ผมไม่ควรกลับมา
  • 6:16 - 6:18
    และผมอยากจะกล่าวถึงเรื่องนั้น เพราะว่ามันเป็นเรื่องน่าแปลกจริงๆ
  • 6:18 - 6:20
    ทำไมมันถึงถูกจัดลำดับรายการเช่นนี้?
  • 6:20 - 6:22
    และผมจะพยายามย้อนกลับไปยังรายการ
  • 6:22 - 6:24
    เพราะว่า บางทีมันอาจเป็นอย่างหนึ่ง
  • 6:24 - 6:26
    ที่พวกเราไม่เห็นด้วยเมื่อเทียบกับรายการที่คุณลำดับเอาไว้
  • 6:26 - 6:29
    เหตุผลที่ว่าทำไม พวกเขาจึงได้กล่าวว่า เกียวโตโปรโตคอล
  • 6:29 - 6:31
    หรือการทำบางอย่างที่มากกว่าเกียวโตโปรโตคอล ไม่คุ้มนั้น
  • 6:31 - 6:33
    เหตุผลง่ายๆ คือเพราะมันไม่มีประสิทธิภาพ
  • 6:33 - 6:35
    นี่ไม่ได้หมายความว่า ภาวะโลกร้อนไม่ได้กำลังเกิดขึ้น
  • 6:35 - 6:37
    หรือไม่ได้หมายความว่า มันไม่ใช่ปัญหาขนาดใหญ่
  • 6:37 - 6:39
    แต่มันกำลังบอกเราว่า สิ่งที่เราสามารถแก้ไขได้ในตอนนี้
  • 6:39 - 6:42
    นั้นน้อยมาก แต่ต้องใช้ต้นทุนที่สูงมาก
  • 6:42 - 6:46
    สิ่งที่เขาพยายามจะอธิบายกับพวกเรา จริงๆแล้วคือค่าเฉลี่ยของโมเดลเศรษฐศาสตร์มหภาค
  • 6:46 - 6:51
    ของเกียวโตโปรโตคอล ซึ่งถ้าทุกคนเห็นด้วย ต้องลงทุนประมาณ 1 แสน 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
  • 6:51 - 6:53
    นั่นคือจำนวนเงินมหาศาล
  • 6:53 - 6:55
    มากกว่าเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาถึง 2-3เท่า
  • 6:55 - 6:57
    ที่พวกเราให้แก่ประเทศโลกที่สามในแต่ละปี
  • 6:57 - 6:59
    แต่จะทำประโยชน์ได้เพียงเล็กน้อย
  • 6:59 - 7:03
    ทุกโมเดลชี้ว่า จะสามารถเลื่อนผลกระทบจากโลกร้อนออกไปได้อีก 6 ปี นับจากปี 2643
  • 7:03 - 7:07
    ดังนั้นชาวบังคลาเทศที่จะถูกน้ำท่วมในปี 2643 สามารถรอได้ถึงปี 2649
  • 7:07 - 7:09
    ซึ่งมีประโยชน์ แต่ไม่ได้ให้ประโยชน์มาก
  • 7:09 - 7:14
    ดังนั้นสิ่งที่ความคิดนี้กำลังบอกกับเราก็คือ เราต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อทำสิ่งที่ให้ประโยชน์เล็กน้อย
  • 7:14 - 7:16
    และเพื่อให้คุณได้เปรียบเทียบ
  • 7:16 - 7:18
    ว่าสหประชาชาติประมาณไว้ว่า ด้วยเพียงครึ่งเดียวของจำนวนเงินข้างต้น
  • 7:18 - 7:20
    คือประมาณ 7 หมื่น 5 พันล้านเหรีญสหรัฐต่อปี
  • 7:20 - 7:23
    พวกเราจะสามารถแก้ไขปัญหาหลักขั้นพื้นฐานในโลกนี้ได้ทั้งหมด
  • 7:23 - 7:26
    เราจะสามารถจัดหาน้ำดื่มที่สะอาดได้ ระบบสุขาภิบาล และอนามัยพื้นฐาน
  • 7:26 - 7:29
    และให้ศึกษาแก่มนุษย์ทุกคนบนโลกนี้
  • 7:29 - 7:33
    เพราะฉะนั้นเราต้องถามตัวเองว่า เราต้องการใช้เงินเพิ่มเป็น 2 เท่า
  • 7:33 - 7:34
    เพื่อทำสิ่งที่ได้ประโยชน์เล็กน้อยหรือ?
  • 7:34 - 7:37
    หรือจะใช้เงินแค่ครึ่งหนึ่ง เพื่อทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์มากมายมหาศาล
  • 7:37 - 7:40
    และนั่น คือ เหตุผลจริงๆ ว่าทำไมมันถึงเป็นโครงการที่ไม่ดี
  • 7:40 - 7:43
    ซึ่งผมไม่ได้จะบอกว่า ถ้าพวกเรามีเงินทั้งหมดในโลกนี้ เราจะไม่ทำอะไร
  • 7:43 - 7:47
    แต่ผมกำลังบอกว่า เพราะเราไม่มีเงินทั้งหมดในโลก การแก้ปัญหาโปรเจ็คที่ไม่คุ้มค่าต่อต้นเงินที่ลงไปจึงไม่สมควรจัดอยู่เป็นลำดับต้นๆ
  • 7:47 - 7:50
    โครงการที่พอใช้้ -- สังเกตว่าผมจะไม่ได้พูดถึงโปรเจคทั้งหมด
  • 7:50 - 7:54
    แต่อย่างเรื่องโรคติดต่อ, ขนาดของการบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน ติดเข้ามาอย่างเฉียดฉิว
  • 7:54 - 7:57
    เพราะสเกลของการบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง
  • 7:57 - 8:00
    มันจะให้ประโยชน์อย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้ต้นทุนสูง
  • 8:00 - 8:02
    ผมขอย้ำอีกครั้งว่า สิ่งที่รายการความสำคัญบอกกับเราทันทีคือ
  • 8:02 - 8:04
    เราต้องเริ่มคิดถึง ปัจจัยทั้งสองข้างของสมการ
  • 8:04 - 8:08
    ถ้าเรามองโครงการที่ดี เราก็จะได้โครงการเกี่ยวกับระบบสุขาภิบาลและน้ำสะอาด
  • 8:08 - 8:10
    ผมขอย้ำว่า สุขาภิบาลและน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก
  • 8:10 - 8:13
    แต่ ต้นทุนของมันเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานอย่างมาก
  • 8:13 - 8:15
    เพราะฉะนั้นผมจะแสดงให้เห็นถึงสิ่งสำคัญ 4 อันดับแรก
  • 8:15 - 8:18
    ซึ่งอย่างน้อยควรเป็นสิ่งแรกๆ ที่เราจะจัดการแก้ไข
  • 8:18 - 8:21
    เมื่อเวลาที่เราพูดว่า เราควรจัดการอย่างไรกับปัญหาทั้งหลายในโลกใบนี้
  • 8:21 - 8:25
    ปัญหาสำคัญลำดับที่ 4 คือ มาลาเรีย -- วิธีจัดการกับมาลาเรีย
  • 8:25 - 8:29
    คนกว่า 2 ล้านคนติดเชื้อมาลาเรียทุกปี
  • 8:29 - 8:33
    มันอาจใช้เงินมากถึง 1% ของ GDP
  • 8:33 - 8:35
    ของประเทศที่ได้รับผลกระทบในแต่ละปี
  • 8:35 - 8:39
    ถ้าเราลงทุนประมาณ 1 หมื่น 3 พันล้านเหรียญสหรัฐใน 4 ปีข้างหน้า
  • 8:39 - 8:41
    เราสามารถลดอัตราการติดเชื้อของโรคลงถึงครึ่งหนึ่ง
  • 8:41 - 8:44
    เราสามารถหลีกเลี่ยงมิให้ผู้คน 500,000 คนต้องตายไป
  • 8:44 - 8:47
    แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้น คือเราสามารถป้องกันไม่ให้คน 1 พันล้านคน
  • 8:47 - 8:48
    ต้องติดเชื้อในทุกๆ ปี
  • 8:48 - 8:50
    เราจะสามารถเพิ่มความสามารถของเขาให้มากขึ้น
  • 8:50 - 8:53
    เพื่อจัดการกับปัญหาอื่นๆ ที่พวกเขาต้องเผชิญ
  • 8:53 - 8:56
    แน่นอนว่า ในระยะยาวพวกเขาก็ต้องผจญกับภาวะโลกร้อน
  • 8:57 - 9:00
    สิ่งสำคัญอันดับสาม คือ การค้าเสรี
  • 9:00 - 9:03
    โดยพื้นฐานแล้ว โมเดลแสดงให้เห็นว่า ถ้าเราเปิดการค้าเสรี
  • 9:03 - 9:06
    โดยเฉพาะการตัดการอุดหนุนในสหรัฐอเมริกาและในยุโรป
  • 9:06 - 9:10
    เราสามารถทำให้เศรษฐกิจโลกคึกคักมีชีวิตชีวา
  • 9:10 - 9:14
    อย่างน่าประหลาดใจเป็นจำนวนเงินถึง 2 ล้าน 4 แสนล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐต่อปี
  • 9:14 - 9:16
    ครึ่งของเงินจำนวนนี้จะตกกับโลกที่สาม
  • 9:16 - 9:19
    ผมย้ำอีกครั้งว่า ประเด็นคือ เราสามารถช่วยเหลือคน
  • 9:19 - 9:22
    2-300 ล้านคนให้หลุดพ้นจากความยากจน
  • 9:22 - 9:25
    อย่างรวดเร็ว ภายใน 2-5 ปี
  • 9:25 - 9:27
    นั่นคือสิ่งสำคัญลำดับที่สามที่เราควรทำ
  • 9:27 - 9:31
    สิ่งสำคัญอันดับที่สอง คือ เรื่องภาวะขาดแคลนอาหาร
  • 9:31 - 9:34
    ไม่ใช่ภาวะขาดแคลนอาหารโดยทั่วไป แต่มีแนวทางที่ถูกมากๆ
  • 9:34 - 9:37
    ในการจัดการกับปัญหานี้ กล่าวคือ การขาดแร่ธาตุอาหาร
  • 9:37 - 9:40
    โดยคร่าวๆ ครึ่งหนึ่งของประชากรโลกกำลังขาด
  • 9:40 - 9:42
    ธาตุเหล็ก สังกะสี ไอโอดีน และวิตามิน เอ
  • 9:42 - 9:44
    ถ้าเราลงทุนประมาณ 1 หมื่น 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
  • 9:44 - 9:47
    เราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างจริงจัง
  • 9:47 - 9:50
    นั่นคือสิ่งสำคัญสิ่งที่สองที่เราควรสามารถลงทุนได้
  • 9:50 - 9:55
    และโครงการที่ดีที่สุด คือ เรื่องเอชไอวี/เอดส์
  • 9:55 - 9:59
    โดยพื้นฐาน ถ้าเราจ่ายเงิน 2 หมื่น 7 พันล้านเหรียญดอล์ล่าร์สหรัฐ ใน 8 ปีข้างหน้า
  • 9:59 - 10:03
    เราจะสามารถป้องกันผู้ติดเชื้อรายเอชไอวี/เอดส์รายใหม่ได้ถึง 28 ล้านคน
  • 10:03 - 10:07
    ขอย้ำอีกครั้งว่า สิ่งที่การจัดลำดับความสำคัญทำคือ
  • 10:07 - 10:10
    เรามี 2 แนวทางที่แตกต่างกันมากที่เราจะสามารถใช้แก้ปัญหาเอชไอวี/เอดส์ได้
  • 10:10 - 10:13
    หนึ่ง คือ การรักษา และสอง คือ การป้องกัน
  • 10:13 - 10:16
    ย้ำอีกครั้งว่า ถ้าเป็นไปได้ เราอยากทำทั้ง 2 แนวทาง
  • 10:16 - 10:19
    แต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถทำได้ทั้ง 2 แนวทาง หรือ ไม่สามารถทำได้ดีทั้งคู่
  • 10:19 - 10:23
    เพราะฉะนั้น อย่างน้อยเราควรต้องถามตัวเองว่า เราควรลงทุนในแนวทางไหนก่อน
  • 10:23 - 10:26
    ซึ่งการลงทุนในด้านการรักษานั้น แพงกว่าการป้องกันมาก
  • 10:26 - 10:30
    ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า สิ่งที่เราให้ความสำคัญ คือ สิ่งที่เราสามารถทำได้มากกว่า
  • 10:30 - 10:32
    ซึ่งก็คือการลงทุนในการป้องกัน
  • 10:32 - 10:34
    สำหรับจำนวนเงินที่เราใช้
  • 10:34 - 10:37
    เราสามารถทำได้จำนวน X ที่เป็นประโยชน์ทางการรักษา
  • 10:37 - 10:40
    แต่ในการป้องกัน เราสามารถทำได้มากกว่า 10 เท่า
  • 10:40 - 10:43
    ดังนั้น เราจึงควรให้ความสำคัญกับการป้องกันมากกว่าการรักษา
  • 10:43 - 10:44
    ในขั้นแรก
  • 10:44 - 10:48
    นี่คือการทำให้เราเริ่มคิดจริงๆถึงการจัดลำดับความสำคัญ
  • 10:48 - 10:52
    ผมอยากให้ทุกคน มองไปที่รายการที่คุณจัดลำดับไว้และบอกว่า
  • 10:52 - 10:54
    คุณจัดได้ถูกต้องไหมครับ?
  • 10:54 - 10:56
    หรือใกล้เคียงกับที่เราทำด้วยกันไปเมื่อสักครู่รึเปล่า?
  • 10:56 - 11:00
    แน่นอนครับว่า ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นประเด็นยอดนิยม
  • 11:00 - 11:03
    ผมพบว่า มีคนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยว่าปัญหาภาวะโลกร้อนควรอยู่รั้งท้าย
  • 11:03 - 11:05
    พวกเราควรจัดให้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องสำคัญ
  • 11:05 - 11:08
    ถ้าไม่มีเหตุผลอื่นใด อย่างน้อยก็เพราะว่ามันเป็นปัญหาใหญ่ยักษ์
  • 11:08 - 11:11
    แต่แน่นอน ที่พวกเราไม่สามารถแก้ไขได้ทุกปัญหา
  • 11:11 - 11:13
    โลกเรามีปัญหามากมาย
  • 11:13 - 11:17
    และสิ่งที่ผมต้องการยำ้อีกครั้งก็คือ ถ้าพวกเราให้ความสนใจกับปัญหา
  • 11:17 - 11:19
    อย่าลืมคิดว่าเรากำลังให้ความสำคัญกับปัญหาที่ควรให้ความสำคัญหรือเปล่า
  • 11:19 - 11:22
    สิ่งหนึ่ง คือ เราทำสิ่งที่จะให้ประโยชน์อย่างมาก มากกว่า สิ่งที่เราทำประโยชน์ให้ได้น้อย
  • 11:22 - 11:25
    และผมคิดว่า -- โทมัส ชิลลิ่ง
  • 11:25 - 11:29
    หนึ่งในสมาชิกของทีมในฝัน เขาพูดไว้อย่างเยี่ยมยอด
  • 11:29 - 11:32
    สิ่งหนึ่งที่เรามักลืมไปคือใน100 ปี
  • 11:32 - 11:35
    ที่เราพูดถึงผลกระทบที่มากที่สุดที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • 11:35 - 11:37
    ประชาชนจะยิ่งรวยขึ้น
  • 11:37 - 11:41
    แม้แต่ ภาพอนาคตของผลกระทบที่เลวร้ายที่สุด จากงานของสหประชาชาติ
  • 11:41 - 11:44
    ประมาณไว้ว่า ในปี 2643 ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา
  • 11:44 - 11:46
    จะร่ำรวยมากขึ้นเท่าๆกับที่พวกเรามีในทุกวันนี้
  • 11:46 - 11:50
    และก็มีความเป็นไปได้สูงว่า พวกเขาจะรวยกว่าพวกเราในปัจจุบันถึง 2-4 เท่า
  • 11:50 - 11:52
    และแน่นอน พวกเราจะรวยยิ่งไปกว่านั้นอีก
  • 11:52 - 11:56
    แต่ประเด็นคือ เมื่อเราพูดถึงการรักษาชีวิตผู้คน
  • 11:56 - 11:59
    หรือการช่วยเหลือชาวบังคลาเทศในปี 2643
  • 11:59 - 12:01
    เราไม่ได้พูดกันถึงคนจนในบังคลาเทศ
  • 12:01 - 12:03
    จริงๆ แล้ว เรากำลังพูดถึงชาวดัชท์ที่อยู่ดีมีกิน
  • 12:03 - 12:05
    ดังนั้น แก่นของประเด็นนี้คือ
  • 12:05 - 12:09
    เราอยากจะใช้เงินจำนวนมากเพื่อช่วยเหลือคนจำนวนน้อย
  • 12:09 - 12:11
    เช่น ชาวดัชท์ที่มีฐานะ ในช่วง100ปีต่อจากนี้?
  • 12:11 - 12:16
    หรือ เราต้องช่วยเหลือคนจนจริงๆ ณ เวลานี้ ที่บังคลาเทศ?
  • 12:16 - 12:19
    จริงๆ แล้ว ใครคือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ และใครที่เราสามารถช่วยเหลือได้ในค่าใช้จ่ายราคาไม่มาก
  • 12:19 - 12:24
    หรือ เหมือนกับที่ชิงลิ่งเสนอไว้ว่า ลองนึกภาพว่า ถ้าคุณเป็นคนรวย
  • 12:24 - 12:29
    ไม่ว่าคุณจะเป็นเศรษฐีจีน เศรษฐีชาวโบลิเวีย หรือ เศรษฐีชาวคองโก ในปี2643
  • 12:29 - 12:35
    ให้คิดย้อนกลับไปปี2548 และพูดว่า มันแปลกแค่ไหนที่เขาได้รับความสนใจมากขนาดนี้
  • 12:35 - 12:39
    เพื่อช่วยเหลือฉันในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • 12:39 - 12:43
    และห่วงใยพอสมควรต่อการช่วยเหลือปู่ของฉัน
  • 12:43 - 12:46
    และ ทวดของฉัน ก็เป็นคนที่พวกเขาสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างมาก
  • 12:46 - 12:49
    ใครกันแน่ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างแท้จริง?
  • 12:49 - 12:52
    และผมคิดว่า มันจะบอกกับเราตรงๆว่าทำไมมันจึงเป็นอย่างนั้น
  • 12:52 - 12:54
    เราต้องจัดลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง
  • 12:54 - 12:57
    แม้ว่ามันจะไม่เป็นไปตามภาพปกติที่เรามองเห็นปัญหา
  • 12:57 - 13:02
    แน่นอน ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแสดงภาพที่ชัดเจน
  • 13:02 - 13:05
    อย่าง The Day After Tomorrow ที่เยี่ยมมาก ใช่ไหมครับ?
  • 13:05 - 13:08
    มันเป็นหนังที่ให้ภาพที่แจ่มชัด
  • 13:08 - 13:11
    แน่นอนว่าผมก็ต้องการดูเช่นกัน แต่อย่าหวังว่าเอ็มเมริช
  • 13:11 - 13:14
    จะเอาแบรด พิทท์มาเล่นหนังของเขาในเรื่องหน้า
  • 13:14 - 13:16
    ให้ขุดถังส้วมในแทนซาเนีย หรือทำอะไรประมาณนั้น (หัวเราะ)
  • 13:16 - 13:18
    มันไม่ให้อารมณ์พอที่จะสร้างเป็นหนัง
  • 13:18 - 13:20
    ดังนั้นในหลายๆทาง ผมคิดถึงการประชุมประชามติที่โคเปนเฮเกน
  • 13:20 - 13:22
    และการอภิปรายทั้งหมดเกี่ยวกับลำดับความสำคัญ
  • 13:22 - 13:25
    ว่าเป็นการป้องกันตัวเองของปัญหาที่น่าเบื่อ
  • 13:25 - 13:29
    เพื่อทำให้เรามั่นใจว่า สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ไม่ได้แค่ให้เรารู้สึกดี
  • 13:29 - 13:34
    มันไม่ใช่แค่การทำในสิ่งที่สื่อให้ความสำคัญเป็นส่วนใหญ่
  • 13:34 - 13:37
    แต่มันเป็นเรื่องของการที่เราสามารถประโยชน์อย่างมากที่สุด ในที่ๆต้องการเรามากที่สุด
  • 13:37 - 13:40
    สำหรับข้อโต้แย้งอื่นๆ ที่ผมคิดว่ามีความสำคัญที่จะต้องพูดถึง
  • 13:40 - 13:44
    ก็คือ ไม่ว่าจะผม หรือพวกเรา ต่างกำลังนำเสนอตัวเลือกที่ผิด
  • 13:44 - 13:46
    แน่นอน เราควรทำทุกๆ อย่าง
  • 13:46 - 13:48
    ในโลกในฝัน -- ซึ่งผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง
  • 13:48 - 13:50
    ผมคิดว่า พวกเราควรทำทุกอย่าง แต่พวกเราทำไม่ได้
  • 13:50 - 13:54
    ในปี2513 ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ตัดสินใจว่าเราควรต้องใช้เงิน
  • 13:54 - 14:00
    เป็น 2 เท่าของที่เรากำลังใช้จริงในปัจจุบันแก่ประเทศกำลังพัฒนา
  • 14:00 - 14:02
    นับตั้งแต่นั้นมาเงินช่วยเหลือของพวกเราก็ถูกแบ่งครึ่ง
  • 14:02 - 14:05
    ดังนั้น จริงๆแล้ว เราไม่ได้อยู่บนแนวทาง
  • 14:05 - 14:07
    ของการแก้ไขปัญหาใหญ่ๆทั้งหมดอย่างรวดเร็ว
  • 14:07 - 14:10
    ยิ่งไปกว่านั้น ผู้คนยังพูดว่า แล้วเรื่องสงครามอิรักล่ะ?
  • 14:10 - 14:12
    คุณรู้หรือเปล่า พวกเราใช้เงินไป 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
  • 14:12 - 14:14
    ทำไมเราจึงไม่เอาเงินจำนวนนี้ไปทำสิ่งที่เกิดประโยชน์ให้กับโลก?
  • 14:14 - 14:15
    นั่นเป็นคำถามที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง
  • 14:15 - 14:17
    ถ้ามีใครในที่นี้สามารถคุยกับบุชให้ทำสิ่งนี้ได้ จะเยี่ยมมาก
  • 14:17 - 14:19
    แต่แน่นอน ประเด็นที่ยังเป็นที่กล่าวถึงคือ
  • 14:19 - 14:21
    ถ้าคุณมีอีกสัก 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
  • 14:21 - 14:24
    เรายังต้องการใช้มันเพื่อทางเลือกที่ดีที่สุด ใช่หรือไม่?
  • 14:24 - 14:26
    ดังนั้นประเด็นที่แท้จริง คือ พวกเราต้องคิดใหม่
  • 14:26 - 14:28
    ว่าอะไรคือการลำดับความสำคัญที่ถูกต้อง
  • 14:28 - 14:32
    ผมควรถามอีกนิดว่า นี่คือ ลำดับที่เราพูดถึงนี้ มันถูกต้องจริงๆหรือเปล่า?
  • 14:32 - 14:35
    อย่างที่คุณรู้ว่า เมื่อเราถามนักเศรษฐศาสตร์ที่ดีที่สุดในโลก
  • 14:35 - 14:38
    เราก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถามชายอเมริกันแก่ผิวขาว
  • 14:38 - 14:40
    และเขาก็ไม่จำเป็นว่าจะรู้จัก
  • 14:40 - 14:44
    วิธีมองเห็นโลกทั้่งใบในแง่ความเป็นจริง
  • 14:44 - 14:46
    ดังนั้น พวกเราจึงเชิญคนหนุ่มสาว80คนทั่วโลก
  • 14:46 - 14:48
    มาเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาเดียวกัน
  • 14:48 - 14:52
    ผู้ร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติเพียง 2 ประการ 1) คือ กำลังศึกษามหาวิทยาลัย
  • 14:52 - 14:54
    และ 2) พูดภาษาอังกฤษ
  • 14:54 - 14:57
    โดยส่วนใหญ่พวกเขามาจากประเทศกำลังพัฒนา
  • 14:57 - 14:59
    พวกเขาต่างมีสิ่งของแบบเดียวกัน แต่พวกเขาสามารถมีได้มากขึ้นไปอีก
  • 14:59 - 15:02
    นอกเหนือไปจากขอบเขตการอภิปราย และสิ่งที่พวกเขาได้ทำ
  • 15:02 - 15:04
    คือการออกแบบรายการความสำคัญของพวกเขาเอง
  • 15:04 - 15:06
    และที่น่าแปลกใจก็คือลำดับรายการมีความคล้ายคลึงอย่างมาก
  • 15:06 - 15:09
    สิ่งสำคัญในระดับต้นๆ คือ ภาวะขาดแคลนอาหารและโรคติดต่อต่างๆ
  • 15:09 - 15:11
    ส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นรั้งลำดับท้ายๆ
  • 15:11 - 15:12
    พวกเราได้ทำแบบนี้อยู่หลายครั้ง
  • 15:12 - 15:15
    ทั้งจากการสัมมนากับนักศึกษามหาวิทยาลัยและสัมมนากับกลุ่มต่างๆ
  • 15:15 - 15:18
    พวกเขาต่างจัดรายการที่เหมือนกันมากๆ
  • 15:18 - 15:22
    และนั่นทำให้ผมมีความหวังอย่างมาก จริงๆนะครับ ผมเชื่อว่า
  • 15:22 - 15:27
    มีหนทางเบื้องหน้าที่จะทำให้เราเริ่มคิดเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญ
  • 15:27 - 15:29
    และบอกว่า อะไร คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับโลกใบนี้?
  • 15:29 - 15:32
    ผมย้ำอีกทีว่า แน่นอนว่าเราอยากทำทุกๆเรื่อง
  • 15:32 - 15:36
    แต่ ถ้าพวกเราทำไม่ได้ เราควรเริ่มคิดว่าเราควรจะเริ่มจากเรื่องอะไร?
  • 15:36 - 15:38
    ผมมองการประชุมประชามติโคเปนเฮเกนว่าเป็นขั้นหนึ่ง
  • 15:38 - 15:40
    ที่เราทำในปี 2547
  • 15:40 - 15:41
    และพวกเราหวังว่าจะสามารถรวบรวมคนจำนวนมากขึ้นให้เข้าร่วม
  • 15:41 - 15:45
    ซึ่งจะทำให้เรามีข้อมูลที่ดีขึ้น สำหรับปี 2551 และ 2555
  • 15:45 - 15:47
    เพื่อชี้แนวทางที่ถูกต้องสำหรับโลกใบนี้
  • 15:47 - 15:50
    และเรายังต้องเริ่มคิดถึงเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองด้วย
  • 15:50 - 15:52
    เริ่มคิดที่จะพูดว่า
  • 15:52 - 15:55
    อย่าทำในเรื่องที่เราทำได้น้อย แต่มีต้นทุนสูง
  • 15:55 - 15:57
    อย่าทำในเรื่องที่เราไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร
  • 15:57 - 16:00
    แต่ลงมือทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ที่เราสามารถจะทำได้ประโยชน์อย่างมหาศาล
  • 16:00 - 16:04
    ในต้นทุนต่ำ เดี๋ยวนี้
  • 16:04 - 16:06
    สุดท้ายแล้ว คุณอาจไม่เห็นด้วย
  • 16:06 - 16:08
    กับการอภิปรายแนวทางการจัดลำดับความสำคัญนี้
  • 16:08 - 16:11
    แต่เราจะต้องซื่อสัตย์และพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า
  • 16:11 - 16:13
    ถ้ามีบางอย่างที่เราทำ ก็จะมีอีกหลายอย่างที่เราไม่ได้ทำ
  • 16:14 - 16:16
    ถ้าเราห่วงใยอย่างมากเกี่ยวกับบางอย่าง
  • 16:16 - 16:18
    เราจะเลิกกังวลในเรื่องอื่นๆ
  • 16:18 - 16:20
    ผมหวังว่าสิ่งที่ผมนำเสนอจะช่วยพวกเราจัดลำดับความสำคัญได้ดีขึ้น
  • 16:20 - 16:22
    และคิดว่าเราจะทำงานให้ดีขึ้นได้อย่างไรสำหรับโลกใบนี้
  • 16:22 - 16:23
    ขอบคุณครับ
Title:
บียอร์น ลอมบอร์ค จัดลำดับปัญหาสำคัญของโลก
Speaker:
Bjorn Lomborg
Description:

ถ้าคุณมีเงิน 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ คุณจะแก้ปัญหาใดก่อน เอดส์ หรือ โลกร้อน? ลอมบอร์ค นักรัฐศาสตร์ชาวเดนมาร์ก มีคำตอบที่น่าสนใจ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:24
weeraboon wisartsakul added a translation

Thai subtitles

Revisions