Return to Video

การเมืองทำให้เราไร้เหตุผลหรือไม่ - เจย์ แวน เบเวล

  • 0:07 - 0:12
    ในปี 2013
    ทีมนักวิจัยจัดการสอบคณิตศาสตร์ขึ้น
  • 0:12 - 0:16
    การสอบมีชาวอเมริกันวัยทำงาน
    เข้าร่วมกว่า 1,100 คน
  • 0:16 - 0:22
    และข้อสอบถูกออกแบบขึ้นมา
    เพื่อวัดความสามารถในการประเมินค่าชุดข้อมูล
  • 0:22 - 0:27
    สิ่งที่ซ่อนอยู่ในโจทย์มี 2 คำถามที่คล้ายกัน
  • 0:27 - 0:30
    ทั้ง 2 ข้อใช้ชุดข้อมูลที่มีความยากเท่ากัน
  • 0:30 - 0:34
    แต่ละข้อมีคำตอบที่ถูกเพียง 1 คำตอบ
  • 0:34 - 0:39
    คำถามเเรกถามถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
    รอยผื่นกับครีมทาผิวชนิดใหม่
  • 0:39 - 0:42
    คำถามที่สองถามถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
    อัตราการเกิดอาชญากรรม
  • 0:42 - 0:45
    กับการออกกฎหมายควบคุมอาวุธปืน
  • 0:45 - 0:47
    อาสาสมัคร
    ที่มีความชำนาญทางคณิตศาสตร์
  • 0:47 - 0:52
    มีแนวโน้มตอบคำถามข้อแรกถูก
  • 0:52 - 0:55
    แม้ว่าจะมีความชำนาญทางคณิตศาสตร์
  • 0:55 - 0:59
    ความถูกต้องของคำตอบข้อสอง
    แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
  • 0:59 - 1:02
    นั่นหมายความว่าทักษะทางคณิตศาสตร์
    ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ดีที่สุด
  • 1:02 - 1:05
    ที่จะชี้ว่าอาสาสมัครคนไหน
    ตอบคำถามถูกต้อง
  • 1:05 - 1:10
    ในทางกลับกัน นักวิจัยยังค้นพบว่า
    มีอีกหนึ่งปัจจัยเข้ามามีบทบาทสำคัญ
  • 1:10 - 1:13
    อัตลักษณ์ทางการเมือง (Political Identity)
  • 1:13 - 1:15
    อาสาสมัครที่มีความเชื่อทางการเมือง
  • 1:15 - 1:17
    ตรงกับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้อง
  • 1:17 - 1:21
    มีแนวโน้มที่จะตอบคำถามถูกต้อง
  • 1:21 - 1:23
    แม้แต่ในนักคณิตศาสตร์
    ระดับหัวกะทิ
  • 1:23 - 1:28
    มีแนวโน้มจะตอบคำถามผิดถึง 45%
  • 1:28 - 1:32
    เมื่อคำตอบที่ถูกต้อง
    ไม่ตรงกับจุดยืนทางการเมือง
  • 1:32 - 1:38
    อะไรในการเมือง
    ที่ทำให้เกิดความผิดพลาดอันไม่สมเหตุผลนี้
  • 1:38 - 1:42
    อัตลักษณ์ทางการเมือง
    ส่งผลต่อ
  • 1:42 - 1:44
    ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้หรือไม่
  • 1:44 - 1:46
    คำตอบนั้นตั้งอยู่บนปรากฏการณ์ทางการรับรู้
  • 1:46 - 1:52
    ที่เราสามารถพบเจอในชีวิตประจำวัน :
    การแบ่งพรรคแบ่งพวก (Partisanship)
  • 1:52 - 1:55
    แม้จะพบมากในบริบททางการเมือง
  • 1:55 - 2:00
    การแบ่งพรรคแบ่งพวก
    ยังรวมถึงการชื่นชอบหรือมีอคติ
  • 2:00 - 2:03
    ต่อแนวคิดหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
  • 2:03 - 2:07
    การเมือง ชาติพันธุ์ ศาสนา
    และอัตลักษณ์ประจำชาติของเรา
  • 2:07 - 2:10
    คือรูปแบบหนึ่งของการแบ่งพรรคแบ่งพวก
  • 2:10 - 2:13
    แน่นอนว่า การมีอัตลักษณ์ร่วมกับผู้อื่น
  • 2:13 - 2:17
    เป็นสิ่งสำคัญและเป็นส่วนดีในชีวิตมนุษย์
  • 2:17 - 2:21
    ความรู้สึกมีตัวตน ไม่ได้ถูกกำหนด
    โดยตัวเราในฐานะปัจเจกบุคคลเท่านั้น
  • 2:21 - 2:23
    แต่ยังรวมถึงกลุ่มที่เราอยู่ด้วย
  • 2:23 - 2:28
    ผลคือ เรามีแรงจูงใจ
    ในการปกป้องอัตลักษณ์ของกลุ่ม
  • 2:28 - 2:33
    ปกป้องความมีตัวตนของเราและของกลุ่มเรา
  • 2:33 - 2:35
    แต่นั่นจะก่อให้เกิดปัญหา
    เมื่อความเชื่อของกลุ่ม
  • 2:35 - 2:37
    ไม่ตรงกับความเป็นจริง
  • 2:37 - 2:41
    ลองนึกภาพว่าทีมกีฬาทีมโปรดของคุณ
    ทำผิดกติกาขั้นร้ายแรง
  • 2:41 - 2:43
    คุณรู้ว่ามันผิดกติกา
  • 2:43 - 2:47
    แต่คนอื่น ๆ ที่เชียร์ทีมเดียวกับคุณ
    คิดว่ามันเป็นสิ่งที่รับได้
  • 2:47 - 2:50
    เมื่อความคิดทั้งสองนี้
    ไม่สอดคล้องกันมากขึ้น
  • 2:50 - 2:52
    ถูกเรียกว่า การไม่ลงรอยของการรู้คิด
    (Cognitive Dissonance)
  • 2:52 - 2:57
    และคนส่วนใหญ่พยายาม
    ล้มเลิกความอึดอัดทางความคิดนี้
  • 2:57 - 3:02
    คุณอาจจะเริ่มโทษกรรมการ
    เเละกล่าวหาว่าอีกฝั่งเริ่มก่อน
  • 3:02 - 3:06
    หรือแม้กระทั่งโน้มน้าวตัวเอง
    ว่ามันไม่ผิดกติกาตั้งแต่เเรก
  • 3:06 - 3:07
    ในกรณีเช่นนี้
  • 3:07 - 3:12
    คนในกลุ่มมีแรงจูงใจที่จะ
    รักษาความสัมพันธ์ที่ดี
  • 3:12 - 3:16
    กับคนในกลุ่ม
    มากกว่าจะมองโลกอย่างตรงไปตรงมา
  • 3:16 - 3:19
    พฤติกรรมแบบนี้
    อันตรายอย่างยิ่งในทางการเมือง
  • 3:19 - 3:21
    ในระดับตัวบุคคล
  • 3:21 - 3:25
    ผู้คนสร้างอัตลักษณ์ทางการเมือง
    ด้วยการภักดีต่อพรรคการเมือง
  • 3:25 - 3:28
    และสนับสนุนนโยบายที่พวกเขาเห็นด้วย
  • 3:28 - 3:32
    แต่การแบ่งพรรคแบ่งพวก
    สามารถชักนำผู้คนให้ปฏิเสธหลักฐาน
  • 3:32 - 3:37
    ที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางของพรรค
    หรือทำให้ผู้นำพรรคเสื่อมเสีย
  • 3:37 - 3:43
    เมื่อคนทั้งกลุ่มบิดเบือนข้อเท็จจริง
    เพื่อสนองความเชื่อของพวกพ้อง
  • 3:43 - 3:48
    มันจะส่งผลให้การเมือง
    ไม่อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงหรือเหตุผล
  • 3:48 - 3:50
    ปัญหานี้
    ไม่ใช่เรื่องใหม่
  • 3:50 - 3:52
    อัตลักษณ์ทางการเมือง
    มีมานานหลายศตวรรษ
  • 3:52 - 3:55
    จากการศึกษาพบว่าทิศทางของการเลือกข้าง
  • 3:55 - 3:58
    เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา
  • 3:58 - 4:01
    มีหนึ่งทฤษฎีที่อธิบายการเพิ่มขึ้นครั้งนี้
  • 4:01 - 4:06
    คือแนวโน้มของการอยู่ร่วมกัน
    ของคนในพื้นที่ที่มีความคิดคล้ายกัน
  • 4:06 - 4:09
    อีกหนึ่งคำอธิบายคือ
    การเชื่อข่าวสารที่เลือกข้าง
  • 4:09 - 4:12
    หรือการติดอยู่ในโลกของตัวเองในสื่อออนไลน์
  • 4:12 - 4:14
    สิ่งเหล่านี้คล้ายกับเสียงสะท้อนในห้องโถง
  • 4:14 - 4:19
    รับรู้ข่าวสารหรือแนวคิด
    จากคนที่มีความคิดคล้ายกัน
  • 4:19 - 4:23
    แต่ยังดีที่นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยวิธีการ
  • 4:23 - 4:26
    ในการต่อต้านการบิดเบือนนี้
  • 4:26 - 4:30
    อย่างแรกคือ ระลึกเสมอว่า
    เราอาจจะมีอคติมากกว่าที่เราคิด
  • 4:30 - 4:32
    ดังนั้น เมื่อเราเจอกับข้อมูลใหม่
  • 4:32 - 4:36
    จงใช้ความพยายามอย่างยิ่ง
    ในการก้าวข้ามสัญชาตญาณของคุณเอง
  • 4:36 - 4:38
    และประเมินค่าข้อมูลด้วยการวิเคราะห์
  • 4:38 - 4:43
    เมื่ออยู่ในกลุ่มของคุณ ลองสำรวจข้อเท็จจริง
    และตั้งข้อสงสัยในสมมติฐาน
  • 4:43 - 4:45
    ต่อส่วนของคุณค่าในวัฒนธรรมนั้น ๆ
  • 4:45 - 4:49
    เตือนคนอื่น ๆ ว่าพวกเขา
    อาจถูกนำเสนอด้วยข้อมูลที่คลาดเคลื่อน
  • 4:49 - 4:50
    สิ่งนี้สามารถช่วยคุณได้
  • 4:50 - 4:53
    และเมื่อคุณกำลังพยายามโน้มน้าวคนอื่นอยู่
  • 4:53 - 4:57
    การยอมรับคุณค่าของพวกเขา
    และคุยเกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้วยภาษาของเขา
  • 4:57 - 5:00
    สามารถช่วยให้ผู้คนเต็มใจรับฟังมากยิ่งขึ้น
  • 5:00 - 5:05
    ปัญหาในการแบ่งพรรคแบ่งพวก
    ยังต้องใช้เวลาแก้ไขอีกนาน
  • 5:05 - 5:08
    แต่หวังว่า เครื่องมือเหล่านี้
    สามารถช่วยให้เรารับข้อมูลข่าวสารได้ดีขึ้น
  • 5:08 - 5:13
    และสามารถตัดสินใจโดยใช้หลักฐาน
    เกี่ยวกับความจริงที่เรามีร่วมกัน
Title:
การเมืองทำให้เราไร้เหตุผลหรือไม่ - เจย์ แวน เบเวล
Speaker:
เจย์ แวน เบเวล
Description:

รับชมบทเรียนทั้งหมดได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/do-politics-make-us-irrational-jay-van-bavel

อัตลักษณ์ทางการเมืองสามารถส่งผลต่อความสามารถในการประมาลผลข้อมูลได้หรือไม่ คำตอบนั้นตั้งอยู่บนปรากฏการณ์ทางการรับรู้ที่เรียกว่า การแบ่งพรรคแบ่งพวก (Partisanship) แม้ว่าการมีอัตลักษณ์ร่วมกับกลุ่มคนในสังคมคือสิ่งสำคัญและเป็นส่วนดีต่อชีวิต แต่นั่นสามารถสร้างปัญหาเมื่อความเชื่อของกลุ่มไม่ตรงกับความจริง ดังนั้น เราจะสามารถรับรู้และต่อสู้กับการแบ่งพรรคแบ่งพวกได้อย่างไร เจย์ แวน เบเวล ได้แบ่งปันกลวิธีช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้

บทเรียนโดย เจย์ แวน เบเวล
กำกับโดย แพทริค สมิธ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:14
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for Do politics make us irrational?
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Do politics make us irrational?
Ajarn Jimmy Tangjaitrong accepted Thai subtitles for Do politics make us irrational?
Ajarn Jimmy Tangjaitrong edited Thai subtitles for Do politics make us irrational?
Supphasake SAPPHASORN edited Thai subtitles for Do politics make us irrational?
Supphasake SAPPHASORN edited Thai subtitles for Do politics make us irrational?
Supphasake SAPPHASORN edited Thai subtitles for Do politics make us irrational?
Supphasake SAPPHASORN edited Thai subtitles for Do politics make us irrational?
Show all

Thai subtitles

Revisions