< Return to Video

ภาพหลอนเผยให้เห็นอะไรภายในจิตของเรา

  • 0:00 - 0:03
    เรามองด้วยตา
  • 0:03 - 0:06
    แต่ก็ต้องอาศัยสมองด้วยเช่นกัน
  • 0:06 - 0:10
    สิ่งที่มองเห็นด้วยสมอง
    มักเรียกกันว่า 'จินตนาการ'
  • 0:10 - 0:15
    ซึ่งเราต่างคุ้นเคยกับภาพในจินตนาการเรา
  • 0:15 - 0:19
    ในทัศนะของเราเอง
    เพราะอยู่กับมันมาตลอดชีวิต
  • 0:19 - 0:23
    แต่มันก็มีสิ่งที่เรียกว่า'ภาพหลอน'ด้วย
  • 0:23 - 0:26
    และภาพหลอนนี่ต่างจากจินตนาการสุดขั้วเลย
  • 0:26 - 0:28
    มันไม่ใช่อะไรที่เราสร้างข้ึน
  • 0:28 - 0:30
    มันอยู่นอกเหนือการควบคุม
  • 0:30 - 0:32
    มันเกิดจากอะไรภายนอก
  • 0:32 - 0:35
    มาเลียนแบบการรับรู้ของเรา
  • 0:35 - 0:39
    ผมเลยว่าจะพูดถึงเรื่องภาพหลอน
  • 0:39 - 0:43
    เป็นภาพหลอนชนิดพิเศษชนิดหนึ่ง
  • 0:43 - 0:48
    ที่ผมเจอกับคนไข้ของผมเอง
  • 0:48 - 0:52
    ไม่กี่เดือนก่อน มีสายโทรมาหาผม
  • 0:52 - 0:54
    จากบ้านพักคนชราซึ่งผมทำงานอยู่
  • 0:54 - 0:59
    เขาบอกผมว่า ผู้อาศัยท่านหนึ่ง
    สุภาพสตรีอายุประมาณ 90 ปี
  • 0:59 - 1:01
    มองเห็นนู่นเห็นนี่
  • 1:01 - 1:04
    เขาสงสัยกันว่าเธอบ๊องส์ไปแล้วรึเปล่า
  • 1:04 - 1:06
    ไม่ก็คงเพราะอายุเยอะ ไม่งั้นก็
  • 1:06 - 1:09
    หลอดเลือดสมองอาจจะตีบ ไม่ก็อัลไซเมอร์
  • 1:09 - 1:14
    เลยถามผมว่าช่วยมาดูโรซาลีหน่อยได้ไหม
  • 1:14 - 1:16
    หญิงชราท่านนั้นน่ะครับ
  • 1:16 - 1:18
    ผมก็ไปครับ
  • 1:18 - 1:20
    สิ่งที่ชัดเจนเลยก็คือ
  • 1:20 - 1:23
    สติเธอยังดี
  • 1:23 - 1:26
    รู้เรื่องรู้ตัวดี แถมยังฉลาดด้วย
  • 1:26 - 1:30
    แต่เธอกำลังตกใจ และก็กำลังงง
  • 1:30 - 1:33
    ว่าทำไมเธอเห็นนู่นเห็นนี่เต็มไปหมด
  • 1:33 - 1:36
    เธอบอกผม
  • 1:36 - 1:38
    ในสิ่งซึ่งพยาบาลไม่ทันได้บอกผม
  • 1:38 - 1:40
    คือ เธอตาบอด
  • 1:40 - 1:45
    ตาเธอบอดสนิท
    จากใจกลางจอประสาทตาเสื่อมมาได้ห้าปีแล้ว
  • 1:45 - 1:48
    แต่สองสามวันมานี้ เธอเกิดเห็นนู่นนี่ขึ้นมา
  • 1:48 - 1:51
    ผมเลยถาม "คุณเห็นอะไรเหรอครับ"
  • 1:51 - 1:54
    เธอบอก "ฉันเห็นคนแต่งตัวห่มผ้าแบบชาวตะวันออก
  • 1:54 - 1:58
    เดินขึ้นๆ ลงๆ บันไดค่ะ
  • 1:58 - 2:01
    แล้วชายคนหนึ่งหันมายิ้มให้ฉัน
  • 2:01 - 2:05
    ฟันข้างหนึ่งของเขาใหญ่มากๆ
  • 2:05 - 2:07
    แล้วก็มีสัตว์ด้วยค่ะ
  • 2:07 - 2:10
    เห็นตึกสีขาว หิมะนุ่มๆโปรยปราย
  • 2:10 - 2:15
    ฉันเห็นม้าติดเทียม กำลังลากหิมะ
  • 2:15 - 2:19
    แล้วคืนนึง ฉากก็เปลี่ยนไป
  • 2:19 - 2:21
    ทีนี้ฉันเห็นแมวหมาเดินเข้ามาหา
  • 2:21 - 2:24
    มันเดินมาถึงจุดนึง แล้วก็หยุด
  • 2:24 - 2:26
    แล้วก็เปลี่ยนอีกละ
  • 2:26 - 2:29
    คราวนี้เห็นเป็นเด็กๆ มากมาย
    กำลังเดินขึ้นลงบันได
  • 2:29 - 2:32
    พวกเขาใส่ชุดสีสด สีชมพูกุหลาบ และสีฟ้า
  • 2:32 - 2:35
    แบบชุดทางตะวันออก
  • 2:35 - 2:38
    บางที เธอว่า ก่อนพวกคนจะโผล่มา
  • 2:38 - 2:42
    เธอเห็นสี่เหลี่ยมจตุรัสสีชมพู สีฟ้าบนพื้น
  • 2:42 - 2:45
    ทอดขึ้นไปจนถึงเพดาน
  • 2:45 - 2:49
    อืม ผมเลยถามว่า "คล้ายๆ กับฝันไปไหมครับ?"
  • 2:49 - 2:52
    เธอบอก "ไม่ค่ะๆ ไม่เหมือนฝันๆ
    เหมือนดูหนังมากกว่า"
  • 2:52 - 2:55
    เธอบอกมันมีสีสัน มันเคลื่อนไปเคลื่อนมา
  • 2:55 - 2:59
    แต่มันเงียบฉี่เลย เหมือนหนังใบ้
  • 2:59 - 3:01
    เธอบอก "แต่เป็นหนังที่น่าเบื๊อน่าเบื่อนะ"
  • 3:01 - 3:04
    เธอบอก "มีแค่คนแต่งตัวแบบชาวตะวันออก
  • 3:04 - 3:09
    เดินขึ้นเดินลง ซ้ำไปซ้ำมา อยู่แค่นั้นน่ะ"
  • 3:09 - 3:11
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:11 - 3:13
    แล้วเธอเป็นคนมีอารมณ์ขัน
  • 3:13 - 3:15
    เธอรู้ว่ามันเป็นแค่ภาพหลอน
  • 3:15 - 3:17
    แต่เธอก็กลัว อยู่มาจนอายุ 95 ปีแล้ว
  • 3:17 - 3:20
    ไม่เคยเห็นภาพหลอนมาก่อนเลย
  • 3:20 - 3:23
    แล้วเธอบอก ภาพหลอนนี่ก็ไม่ปะติดปะต่อเลย
  • 3:23 - 3:27
    ไม่เกี่ยวว่ากำลังคิดอะไร รู้สึกยังไงทำอะไร
  • 3:27 - 3:31
    บทจะมา มันก็มาของมันเอง บทจะไปก็ไป
  • 3:31 - 3:33
    เธอควบคุมอะไรไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว
  • 3:33 - 3:35
    แล้วเธอก็ไม่รู้จัก
  • 3:35 - 3:37
    คน หรือสถานที่ต่างๆ
  • 3:37 - 3:39
    ที่เห็นในภาพหลอนเลยสักนิด
  • 3:39 - 3:41
    จะคนหรือสัตว์อะไรก็ตาม
  • 3:41 - 3:45
    เธอก็ไม่รู้มันโผล่มาจากไหน ได้ยังไง
  • 3:45 - 3:47
    แล้วเธอก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 3:47 - 3:49
    เธอสงสัยว่าเธอคงจะเป็นบ้า
  • 3:49 - 3:51
    คงเสียสติไปแล้ว
  • 3:51 - 3:53
    ผมตรวจเธออย่างละเอียด
  • 3:53 - 3:55
    เธอเป็นหญิงชราที่ทั้งฉลาด
  • 3:55 - 3:59
    และสติสมประกอบทุกอย่าง
    ไม่มีโรคประจำตัวอะไร
  • 3:59 - 4:03
    ไม่ได้ใช้ยาอะไรที่อาจจะทำให้เกิดภาพหลอน
  • 4:03 - 4:05
    มีแค่ว่า เธอตาบอด
  • 4:05 - 4:07
    ผมบอกเธอว่า
  • 4:07 - 4:09
    "ผมว่าผมรู้ครับว่าคุณเป็นอะไร"
  • 4:09 - 4:13
    ผมว่า "นี่เป็นภาวะภาพหลอนแบบชนิดพิเศษ
  • 4:13 - 4:17
    ที่พบในคนที่การมองเห็นแย่ลงหรือตาบอด
  • 4:17 - 4:20
    ซึ่งมีคนพูดถึงภาวะนี้ครั้งแรก
  • 4:20 - 4:22
    ไว้ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 18
  • 4:22 - 4:25
    โดยคนที่ชื่อชาร์ลส์ บอนเน (Charles Bonnet)
  • 4:25 - 4:28
    และคุณเป็น Charles Bonnet syndrome ครับ
  • 4:28 - 4:30
    ไม่มีอะไรผิดปกติทางสมอง
    ไม่มีอะไรผิดปกติทางจิตด้วย
  • 4:30 - 4:33
    คุณเป็น Charles Bonnet syndrome
  • 4:33 - 4:36
    ซึ่งทำให้เธอสบายใจขึ้นมาก
  • 4:36 - 4:40
    ว่าไม่มีปัญหาร้ายแรงอะไรทั้งนั้น
  • 4:40 - 4:43
    แต่เธอออกจะอยากรู้
  • 4:43 - 4:45
    เธอว่า "เออ แล้วใครคือชาร์ลส์ บอนเน"
  • 4:45 - 4:48
    เธอว่า "เขาเป็นเองด้วยรึเปล่า?"
  • 4:48 - 4:51
    เธอบอก "ไปบอกพวกพยาบาลด้วยนะ"
  • 4:51 - 4:54
    "ว่าฉันเป็น Charles Bonnet Syndrome"
  • 4:54 - 4:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:56 - 5:00
    "ฉันไม่ได้บ้า สมองฉันไม่ได้เสื่อม
    ฉันเป็น Charles Bonnet Syndrome"
  • 5:00 - 5:02
    ผมก็เลยบอกพยาบาลไปตามนั้น
  • 5:02 - 5:05
    ซึ่งผมเจอเรื่องแบบนี้อยู่บ่อยๆ ครับ
  • 5:05 - 5:07
    ส่วนมากผมทำงานที่บ้านคนชรา
  • 5:07 - 5:09
    ผมเจอคนชราหลายคน
  • 5:09 - 5:13
    ที่มีปัญหาเรื่องการได้ยิน ไม่ก็การมองเห็น
  • 5:13 - 5:15
    ประมาณ 10% ของคนที่มีปัญหาด้านการได้ยิน
  • 5:15 - 5:18
    ได้ยินเสียงเพลงทั้งที่ไม่มีอยู่จริง
  • 5:18 - 5:21
    และประมาณ 10% ของคนที่มีปัญหาการมองเห็น
  • 5:21 - 5:23
    มองเห็นอะไรที่ไม่มีอยู่จริง
  • 5:23 - 5:25
    ไม่ต้องถึงขั้นตาบอดสนิท
  • 5:25 - 5:27
    แค่ผิดปกติประมาณหนึ่งก็พบได้
  • 5:27 - 5:31
    ตามคำบรรยายแรกที่บันทึกไว้ช่วงศตวรรษที่ 18
  • 5:31 - 5:33
    ชาร์ลส์ บอนเนไม่ได้เป็นเองครับ
  • 5:33 - 5:36
    ปู่ของเขาเป็นคนเห็นภาพหลอนพวกนี้
  • 5:36 - 5:39
    ปู่ของเขาเป็นประมาณผู้พิพากษา อายุเยอะแล้ว
  • 5:39 - 5:42
    เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก
  • 5:42 - 5:44
    การมองเห็นไม่ค่อยจะดีนัก
  • 5:44 - 5:49
    ในปี 1759 เขาเล่าให้หลานชายฟัง
  • 5:49 - 5:51
    ถึงอะไรนู่นนี่ที่เขามองเห็น
  • 5:51 - 5:53
    อย่างแรกเขาว่าเขาเห็น
  • 5:53 - 5:55
    ผ้าเช็ดหน้าลอยอยู่กลางอากาศ
  • 5:55 - 5:57
    ผ้าเช็ดหน้าผืนใหญ่สีฟ้า
  • 5:57 - 5:59
    และวงกลมๆ สีส้มๆ สี่วง
  • 5:59 - 6:02
    แล้วเขาก็รู้ว่ามันเป็นภาพหลอน
  • 6:02 - 6:04
    เป็นไปได้ไง ผ้าเช็ดหน้าลอยกลางอากาศ
  • 6:04 - 6:08
    จากนั้นเขาก็เห็นล้อยักษ์ลอยกลางอากาศ
  • 6:08 - 6:13
    แต่บางที เขาไม่แน่ใจว่า
    นี่มันใช่ภาพหลอนหรือไม่ใช่กันแน่
  • 6:13 - 6:15
    เพราะบางทีมันก็เข้ากับ
  • 6:15 - 6:17
    บริบทอะไรอื่นๆ ที่เห็น
  • 6:17 - 6:20
    มีอยู่คราวนึง ตอนที่หลานสาวมาเยี่ยมเขา
  • 6:20 - 6:25
    เขาถาม"พ่อหนุ่มรูปหล่อที่มาด้วยกันเป็นใคร"
  • 6:25 - 6:29
    หลานก็บอก "โธ่ คุณปู่คะ
    มีหนุ่มรูปหล่อซะที่ไหนกัน"
  • 6:29 - 6:33
    แล้วพ่อหนุ่มรูปหล่อก็อันตรธานไป
  • 6:33 - 6:36
    มันเป็นเรื่องปกติที่ภาพหลอน
  • 6:36 - 6:39
    จะมาแบบแว่บมาแล้วก็แว่บหายไป
  • 6:39 - 6:41
    มักไม่เป็นแบบค่อยๆ มาค่อยๆ ไป
  • 6:41 - 6:44
    ออกจะค่อนข้างฉับพลัน แล้วก็เปลี่ยนปุปปับด้วย
  • 6:44 - 6:47
    คุณปู่ชาร์ลส์ ลูแลนด์ (Charles Louland)
  • 6:47 - 6:50
    เห็นนั่นนี่ต่างๆ ไป เป็นร้อยๆ ชิ้น
  • 6:50 - 6:52
    ภาพสถานที่ต่างๆ ทุกรูปแบบ
  • 6:52 - 6:56
    มีคราวหนึ่ง
    เขาเห็นชายนุ่งผ้าอาบน้ำ สูบไปป์
  • 6:56 - 6:59
    แล้วก็นึกได้ว่าเป็นตัวเขาเอง
  • 6:59 - 7:02
    นั่นเป็นภาพหลอนหนึ่งเดียวที่เขารู้จัก
  • 7:02 - 7:06
    มีอีกคราวหนึ่ง
    เขากำลังเดินอยู่บนถนนที่ปารีส
  • 7:06 - 7:09
    เขาเห็นนั่งร้าน ซึ่งอันนี้เห็นจริงๆ
  • 7:09 - 7:12
    พอกลับถึงบ้าน เขาเห็นนั่งร้านแบบจิ๋ว
  • 7:12 - 7:16
    สูงประมาณ 6 นิ้ว อยู่บนโต๊ะทำงานเขา
  • 7:16 - 7:19
    การเห็นภาพซ้ำเช่นนี้
  • 7:19 - 7:21
    บางทีเราเรียกว่าพาลินอพเซีย (Palinopsia)
  • 7:21 - 7:26
    ในกรณีชาร์ลส์ และโรซาลี
  • 7:26 - 7:28
    สิ่งที่เกิดขึ้น
  • 7:28 - 7:30
    สิ่งที่โรซาลีถามว่า "มันเกิดอะไรขึ้น?"
  • 7:30 - 7:33
    ผมอธิบายว่า
    เพราะดวงตาของคุณเสียการมองเห็นไป
  • 7:33 - 7:36
    สมองส่วนการมองเห็น
    เลยไม่ได้รับสัญญาณใดๆ เข้าไป
  • 7:36 - 7:39
    สมองเลยเกิดทำงานมากขึ้น มันตื่นตัวขึ้น
  • 7:39 - 7:41
    แล้วก็เริ่มจะส่งสัญญาณขึ้นมาเอง
  • 7:41 - 7:44
    ทำให้เกิดเห็นเป็นภาพขึ้นมา
  • 7:44 - 7:47
    สิ่งที่เห็นอาจจะเป็นอะไรที่ซับซ้อนมากๆ
  • 7:47 - 7:51
    เช่นคนไข้ของผมอีกคนหนึ่ง
  • 7:51 - 7:53
    ซึ่งก็มีปัญหาการมองเห็นเช่นกัน
  • 7:53 - 7:57
    สิ่งที่เธอเห็น ค่อนข้างจะรบกวนใจเธอ
  • 7:57 - 8:00
    มีอยู่ครั้งหนึ่ง เธอว่า
  • 8:00 - 8:03
    เธอเห็นชายใส่เสื้อลายทางอยู่ในภัตตาคาร
  • 8:03 - 8:05
    แล้วเขาก็หันมา
  • 8:05 - 8:08
    แล้วก็แยกร่างออกเป็นหกร่าง
  • 8:08 - 8:11
    แล้วก็เดินรี่เข้ามาหาเธอ ฟิ้วฟิ้วฟิ้ว
  • 8:11 - 8:14
    แล้วหกส่วนก็เข้ามารวมร่างกันใหม่
  • 8:14 - 8:16
    มีครั้งหนึ่ง เธอกำลังขับรถ
  • 8:16 - 8:18
    จริงๆ คือ สามีเธอกำลังขับรถอยู่
  • 8:18 - 8:20
    อยู่ดีๆ ถนนก็แยกเป็นสี่แฉก
  • 8:20 - 8:24
    แล้วเหมือนเธอกำลังวิ่งอยู่บนสี่ถนนพร้อมๆ กัน
  • 8:24 - 8:29
    ภาพหลอนของเธอค่อนข้างเป็นแบบเคลื่อนไหวได้
  • 8:29 - 8:32
    ส่วนมากมักจะไปเกี่ยวอะไรสักอย่างกับรถ
  • 8:32 - 8:34
    บางทีเธอจะเห็นเด็กหนุ่ม
  • 8:34 - 8:37
    นั่งอยู่บนกระโปรงหน้ารถ
  • 8:37 - 8:39
    ท่าทางเอาเรื่อง
    และเอนตัวตามรถได้อย่างเนียนเลย
  • 8:39 - 8:41
    เวลารถเลี้ยว
  • 8:41 - 8:44
    แล้วพอหยุดรถ
  • 8:44 - 8:47
    เด็กนั่นก็กระโดดพุ่งขึ้นฟ้าสูงเป็นร้อยฟุต
  • 8:47 - 8:50
    แล้วก็หายไปเลย
  • 8:50 - 8:55
    คนไข้ผมอีกคนมีภาพหลอนแบบอื่น
  • 8:55 - 8:58
    คนนี้ไม่มีปัญหาที่ตา
  • 8:58 - 9:00
    แต่เป็นที่สมองส่วนการมองเห็น
  • 9:00 - 9:03
    มีเนื้องอกอยู่ตรงนั้น
  • 9:03 - 9:08
    เรื่องก็คือ เธอเห็นภาพการ์ตูน
  • 9:08 - 9:13
    แล้วภาพการ์ตูนเนี่ยมันโปร่งใส
  • 9:13 - 9:16
    อยู่แค่ครึ่งเดียวของลานสายตา
    เหมือนเป็นจอ
  • 9:16 - 9:22
    โดยเฉพาะ กบเขียวเคอร์มิต (Kermit) นี่
    เห็นบ่อยเลย
  • 9:22 - 9:23
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:23 - 9:26
    ทีนี้ ผมไม่เคยดู Sesame Street
  • 9:26 - 9:29
    แต่เธอพูดประเด็นน่าสนใจ
  • 9:29 - 9:33
    "ทำไมต้องเป็นกบเขียวนี่?" เธอบอก
    "กบนั่นไม่ได้มีความหมายอะไรเลยกับฉัน"
  • 9:33 - 9:36
    ผมกำลังคิดอยู่ว่า มันอธิบายด้วย
    ทฤษฎีของฟรอยด์ (Freud) ได้ไหมนะ
  • 9:36 - 9:38
    ทำไม ทำไมต้องกบเขียว
  • 9:38 - 9:40
    "กบเขียวนี่ไม่ได้สลักสำคัญอะไรกับฉันเลย"
  • 9:40 - 9:42
    เธอไม่ได้สนใจอะไรกับการ์ตูนมากนัก
  • 9:42 - 9:46
    แต่ที่ทำให้เธอรำคาญใจคือ ภาพที่เห็นซ้ำๆ
  • 9:46 - 9:49
    คือภาพหลอนของใบหน้า
  • 9:49 - 9:52
    เหมือนกรณีของโรซาลี
    หน้าที่เห็นมักจะบิดเบี้ยว
  • 9:52 - 9:56
    ฟันใหญ่เกินไปบ้าง ตาใหญ่เกินไปบ้าง
  • 9:56 - 9:59
    ไอ้นี่แหละที่ทำให้เธอกลัว
  • 9:59 - 10:03
    ทีนี้ มันเกิดอะไรขึ้นกับคนเหล่านี้
  • 10:03 - 10:06
    ในฐานะแพทย์
    ผมต้องพยายามอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 10:06 - 10:08
    และทำให้พวกเขาสบายใจ
  • 10:08 - 10:12
    โดยเฉพาะให้ความมั่นใจว่า เขาไม่ได้เป็นบ้า
  • 10:12 - 10:15
    อย่างที่ผมบอก ประมาณ 10%
  • 10:15 - 10:18
    ของผู้มีปัญหาด้านการมองเห็นจะพบภาวะนี้
  • 10:18 - 10:22
    แต่มีไม่ถึง 1% ยอมเล่าให้คนอื่นฟัง
  • 10:22 - 10:25
    เพราะกลัวว่าคนจะหาว่าเป็นบ้าหรืออะไร
  • 10:25 - 10:27
    พอเขาตัดสินใจเล่าให้หมอฟัง
  • 10:27 - 10:30
    เขาก็ถูกวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นไปอีก
  • 10:30 - 10:32
    โดยเฉพาะ เมื่อคุณเห็นนั่นนี่
  • 10:32 - 10:35
    ได้ยินนู่นนี่ เขาก็จะคิดว่าคุณกำลังเป็นบ้า
  • 10:35 - 10:38
    แต่อาการหลอนที่เกิดในโรคทางจิตเวช
    จะแตกต่างไป
  • 10:38 - 10:41
    อาการหลอนจากโรคทางจิตเวช จะภาพหรือเสียง
  • 10:41 - 10:43
    มันจะสื่อสารโดยตรง จะมาว่าร้ายคุณ
  • 10:43 - 10:45
    หลอกล่อคุณ มันจะมาทำให้รู้สึกอับอาย
  • 10:45 - 10:48
    จะมาทำโวยวายใส่
  • 10:48 - 10:50
    แล้วคุณก็จะมีปฏิกริยาตอบสนองมัน
  • 10:50 - 10:53
    แต่เราจะไม่พบลักษณะที่ว่าไปเหล่านี้
  • 10:53 - 10:56
    ในภาพหลอนแบบ Charles Bonnet syndrome
  • 10:56 - 11:00
    มันจะเป็นเหมือนหนัง คุณแค่เข้าไปดูหนัง
    ที่ไม่เกี่ยวอะไรกับคุณ
  • 11:00 - 11:03
    เหมือนคนทั่วไปที่ดูหนังคิดอย่างนั้น
  • 11:03 - 11:07
    อีกโรคคือโรคลมชักจากสมองส่วน temporal
  • 11:07 - 11:10
    ซึ่งหาได้ยาก บางครั้งใครที่เป็นโรคนี้
  • 11:10 - 11:12
    อาจจะรู้สึกคล้ายกับตัวเองย้อนกลับไป
  • 11:12 - 11:15
    ในเวลาหรือสถานที่ในอดีต
  • 11:15 - 11:17
    อาจจะเป็นทางแยกสักแห่งในอดีต
  • 11:17 - 11:19
    อาจจะได้กลิ่นคั่วเกาลัด
  • 11:19 - 11:22
    ได้ยินเสียงรถราจราจร
    กระทบไปหมดทุกประสาทสัมผัส
  • 11:22 - 11:24
    คุณอาจจะรู้สึกเหมือนกำลังรอแฟน
  • 11:24 - 11:28
    ในเย็นวันอังคารวันหนึ่งของปี 1982
  • 11:28 - 11:30
    อาการหลอนที่เกิดจากสมองส่วน temporal นี้
  • 11:30 - 11:32
    จะเกิดกับทุกประสาทสัมผัส
  • 11:32 - 11:35
    เปี่ยมไปด้วยความรู้สึก
    เปี่ยมไปด้วยความคุ้นเคย
  • 11:35 - 11:37
    ในช่วงเวลาและสถานที่ ณ จุดใดจุดหนึ่ง
  • 11:37 - 11:39
    เชื่อมโยงเป็นเรื่องเป็นราว
    ชัดเจนราวกับเป็นจริง
  • 11:39 - 11:42
    แต่กรณี Charles Bonnet ไม่ได้เป็นแบบนั้น
  • 11:42 - 11:46
    ภาพหลอนแบบ Charles Bonnet
  • 11:46 - 11:48
    อาจจะเป็นได้หลายระดับ
  • 11:48 - 11:50
    ตั้งแต่เห็นเป็นแค่รูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน
  • 11:50 - 11:53
    เช่น สี่เหลื่ยมจัตุรัสสีชมพู สีน้ำเงิน
    แบบที่หญิงชราเห็น
  • 11:53 - 11:57
    ไปจนถึงแบบที่มีรายละเอียด
  • 11:57 - 12:00
    เป็นตัวเป็นตน โดยเฉพาะกับส่วนใบหน้า
  • 12:00 - 12:03
    ใบหน้า ซึ่งบางทีเป็นแบบบิดเบี้ยวด้วย
  • 12:03 - 12:06
    เป็นอย่างเดียวที่คนไข้มักเห็นเหมือนๆ กัน
  • 12:06 - 12:08
    ในภาพหลอนชนิดนี้
  • 12:08 - 12:11
    ส่วนอันดับรองลงมาคือ ภาพการ์ตูน
  • 12:11 - 12:14
    แล้วจะอธิบายยังไง?
  • 12:14 - 12:16
    น่าสนใจว่า ในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
  • 12:16 - 12:20
    เราสามารถถ่ายภาพการทำงานของสมอง
  • 12:20 - 12:24
    ด้วยการทำ fMRI คนเหล่านั้น
    ขณะที่กำลังเห็นภาพหลอน
  • 12:24 - 12:28
    แล้วพบว่าสมองส่วนต่างๆ
  • 12:28 - 12:31
    ที่ใช้ในการมองเห็น
  • 12:31 - 12:33
    ถูกกระตุ้นขณะที่เห็นภาพหลอน
  • 12:33 - 12:36
    เช่นในคนที่เห็นเป็นแค่รูปทรงพื้นฐาน
  • 12:36 - 12:40
    ก็พบว่าสมองส่วนด้านหลังสุดถูกกระตุ้น
  • 12:40 - 12:43
    ส่วนที่เวลาปกติมันจะตอบสนอง
    ตอนเราเห็นขอบมุมหรือลักษณะของพื้นผิว
  • 12:43 - 12:47
    คุณยังไม่ได้สร้างภาพเป็นรูปร่าง
    ที่สมองส่วนการมองเห็นขั้นต้นนี้
  • 12:47 - 12:50
    แต่จะไปประกอบกัน
  • 12:50 - 12:52
    ที่สมองส่วนการมองเห็นในลำดับขั้นสูงต่อๆ ไป
  • 12:52 - 12:54
    คือ สมองส่วน temporal
  • 12:54 - 12:59
    โดยเฉพาะบริเวณเฉพาะแห่งหนึ่ง
  • 12:59 - 13:01
    ที่เรียกว่า fusiform gyrus
  • 13:01 - 13:05
    เป็นที่ทราบกันว่า ถ้าสมองบริเวณนี้เสียหาย
  • 13:05 - 13:09
    เวลาเห็นหน้าแล้วก็จะจำไม่ได้ว่าเป็นใคร
  • 13:09 - 13:13
    พอ fusiform gyrus เกิดทำงานแบบผิดปกติ
  • 13:13 - 13:15
    อาจจะทำให้เห็นภาพหลอนเป็นใบหน้า
  • 13:15 - 13:18
    ซึ่งเราก็พบว่าเป็นแบบนั้นจริงๆ ในบางราย
  • 13:18 - 13:22
    ส่วนด้านหน้าของ gyrus นี้ คือบริเวณที่
  • 13:22 - 13:27
    ประมวลผลภาพของฟันและดวงตา
  • 13:27 - 13:30
    ซึ่งพบว่า บริเวณนี้ทำงานมากเป็นพิเศษ
  • 13:30 - 13:34
    ในตอนที่คนเห็นภาพหลอนเป็นหน้าบิดเบี้ยว
  • 13:34 - 13:36
    นอกจากนี้ก็ยังมีส่วนของสมอง
  • 13:36 - 13:38
    ที่ทำงานมากเป็นพิเศษ
  • 13:38 - 13:40
    เวลาเราดูการ์ตูน
  • 13:40 - 13:43
    หรือตอนที่เราเห็นการ์ตูนแล้วจำได้
  • 13:43 - 13:47
    หรือตอนที่วาดการ์ตูน
    และเห็นภาพหลอนเป็นการ์ตูน
  • 13:47 - 13:50
    น่าสนใจว่า มันจะจำเพาะอะไรขนาดนั้น
  • 13:50 - 13:53
    ยังมีสมองบางส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษ
  • 13:53 - 13:55
    กับการจำได้หรือการเห็นภาพหลอน
  • 13:55 - 13:58
    ของตึกรามบ้านช่องและภาพวิวทิวทัศน์
  • 13:58 - 14:01
    ในปี 1970 เราพบว่า ไม่ได้มีแค่
    สมองบางส่วนเท่านั้นที่ทำหน้าที่เฉพาะ
  • 14:01 - 14:03
    แต่จะมีกลุ่มเซลล์ที่ประมวลผลเฉพาะบางอย่าง
  • 14:03 - 14:08
    เซลล์จำเพาะกับใบหน้า พบราวปี 1970
  • 14:08 - 14:10
    แล้วตอนนี้
  • 14:10 - 14:12
    เราพบว่ามีเซลล์เฉพาะทางอีกเป็นร้อยๆ ชนิด
  • 14:12 - 14:14
    ซึ่งอาจจะจำเพาะมากๆๆๆ
  • 14:14 - 14:16
    เช่นว่า เราอาจจะไม่ได้มีแค่
  • 14:16 - 14:18
    เซลล์จำเพาะต่อรถยนต์
  • 14:18 - 14:21
    แต่มีเซลล์สำหรับรับรู้รถ Aston Martin
  • 14:21 - 14:23
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:23 - 14:25
    นี่ผมเห็น Aston Martin เมื่อเช้านี้
  • 14:25 - 14:27
    เลยต้องพูดถึงซะหน่อย
  • 14:27 - 14:30
    ตอนนี้เลยถูกเก็บไว้ในนี้ละ ที่ไหนสักแห่ง
  • 14:30 - 14:33
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:33 - 14:37
    พอมาถึงระดับนี้แล้ว
    ในสมองส่วน inferotemporal
  • 14:37 - 14:40
    จะเป็นระดับที่ประกอบกันขึ้นเป็นภาพแล้ว
  • 14:40 - 14:43
    หรือเป็นเศษเสี้ยว หรือ ชิ้นส่วนของภาพ
  • 14:43 - 14:46
    ต้องในระดับที่ซับซ้อนขึ้นนี้เท่านั้น
  • 14:46 - 14:48
    ที่ประสาทสัมผัสต่างๆ จะเริ่มมารวมกัน
  • 14:48 - 14:50
    แล้วเชื่อมต่อกับความทรงจำและอารมณ์
  • 14:50 - 14:53
    ซึ่งใน Charles Bonnet syndrome
  • 14:53 - 14:55
    จะไม่เชื่อมต่อไปไกลถึงระดับนั้น
  • 14:55 - 14:58
    จะอยู่เพียงระดับของสมองส่วน
    inferior visual cortex
  • 14:58 - 15:00
    ที่ซึ่งเต็มไปด้วยภาพหลายพันหลายหมื่น
  • 15:00 - 15:03
    หลายล้านภาพ
  • 15:03 - 15:05
    หรือส่วนย่อยของภาพ
    หรือเศษของส่วนย่อยของภาพ
  • 15:05 - 15:07
    ทั้งหมดถูกบันทึกอยู่
  • 15:07 - 15:11
    ในเซล์ หรือกลุ่มเซลล์สมองเล็กๆ
    เฉพาะด้านนั้นๆ
  • 15:11 - 15:14
    ปกติแล้ว ทุกๆ ส่วน คือส่วนหนึ่งของ
  • 15:14 - 15:18
    กระบวนการแบบองค์รวมเพื่อการรับรู้โลกภายนอก
    หรือจินตนาการโลกภายใน
  • 15:18 - 15:21
    ซึ่งเราไม่รู้สึกตัวหรอก
    ว่ามีกระบวนการนี้เกิดขึ้น
  • 15:21 - 15:25
    เว้นแต่ถ้าเกิดมีปัญหาด้านการมองเห็นขึ้น
  • 15:25 - 15:27
    เมื่อกระบวนการนั้นถูกรบกวน
  • 15:27 - 15:30
    แทนที่จะเกิดเป็นการรับรู้ตามปกติ
  • 15:30 - 15:32
    จะกลายเป็นความสับสนอลหม่าน
  • 15:32 - 15:35
    ควบคุมไม่ได้ เกิดการกระตุ้นหรือปลดปล่อย
  • 15:35 - 15:37
    ของกลุ่มเซลล์ด้านการมองเห็นเหล่านี้
  • 15:37 - 15:39
    ในสมองส่วน inferotemporal
  • 15:39 - 15:42
    อยู่ๆ ก็เห็นเป็นภาพหน้า อยู่ๆ ก็เป็นภาพรถ
  • 15:42 - 15:45
    อยู่ๆ ก็เห็นนู่น อยู่ๆ ก็เห็นนี่
  • 15:45 - 15:47
    สมองของเราก็จะพยายามจัดการกับข้อมูลเต็มที่
  • 15:47 - 15:50
    ให้สอดรับกับความเป็นไปได้
  • 15:50 - 15:52
    แต่สุดท้ายก็ไม่สำเร็จ
  • 15:52 - 15:54
    ในช่วงที่ค้นพบปรากฏการณ์นี้แรกๆ
  • 15:54 - 15:58
    คนคิดกันว่า
    มันอาจจะเป็นอะไรคล้ายๆ กับความฝัน
  • 15:58 - 16:00
    แต่เอาจริงๆ คนบอกว่า
  • 16:00 - 16:03
    "ฉันไม่รู้จักคนพวกนั้น
    ฉันไม่เห็นความเกี่ยวข้องอะไรเลย"
  • 16:03 - 16:06
    "กบเคอร์มิตไม่เห็นจะมีความหมายอะไรกับฉัน"
  • 16:06 - 16:11
    จะว่าเป็นความฝัน ก็คงเห็นจะไม่เข้าที
  • 16:11 - 16:16
    ผมว่าผมได้พูดสิ่งที่อยากจะบอก
    ตามที่ตั้งใจไว้แล้ว
  • 16:16 - 16:19
    ผมแค่จะขอย้ำว่า
  • 16:19 - 16:21
    นี่เป็นอะไรที่พบได้บ่อย
  • 16:21 - 16:23
    ลองนึกว่ามีคนที่มีปัญหาด้านสายตามากแค่ไหน
  • 16:23 - 16:25
    ผมว่าต้องมีถึงหลักแสนคน
  • 16:25 - 16:27
    ที่เห็นภาพหลอนนี้
  • 16:27 - 16:29
    แต่ไม่กล้าที่จะเอ่ยถึง
  • 16:29 - 16:32
    เรื่องนี้ก็เลยจำเป็นที่จะต้อง
  • 16:32 - 16:38
    นำมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อประโยชน์แก่คนไข้
    ให้คนเป็นหมอได้รู้ ให้คนทั่วไปได้ทราบ
  • 16:38 - 16:40
    ท้ายที่สุด ผมว่าเรื่องนี้
  • 16:40 - 16:43
    น่าสนใจและมีความหมายอย่างยิ่ง
  • 16:43 - 16:47
    ในแง่ที่ช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของสมอง
  • 16:47 - 16:50
    ชาร์ลส์ บอนเนพูดไว้เมื่อ 250 ปีก่อน
  • 16:50 - 16:54
    เขาสงสัยว่าภาพเหล่านี้เกิดขึ้นได้ยังไง
  • 16:54 - 16:57
    สิ่งที่เขาเรียกว่า 'โรงมหรสพทางวิญญาณ'
  • 16:57 - 17:00
    ถูกสร้างขึ้นจากการทำงานของสมองได้อย่างไร
  • 17:00 - 17:03
    ณ ตอนนี้ 250 ปีให้หลัง
  • 17:03 - 17:06
    ผมว่าเราเริ่มที่จะเข้าใจนิดๆ แล้วว่า
    สมองทำได้ยังไง
  • 17:06 - 17:08
    ขอบคุณมากครับ
  • 17:08 - 17:11
    (เสียงปรบมือ)
  • 17:11 - 17:14
    คริส แอนเดอร์สัน : สุดยอดมากครับ ขอบคุณมาก
  • 17:14 - 17:16
    คุณเล่าเรื่องนี้ได้อย่างลึกซึ้งมากๆ
  • 17:16 - 17:19
    แล้วดูจะเข้าใจความรู้สึกคนไข้มากๆ
  • 17:19 - 17:24
    ตัวคุณเองเคยมีอาการนี้เองไหมครับ
  • 17:24 - 17:26
    โอลิเวอร์ แซคส์: ผมกำลังกลัวว่าคุณจะถามอยู่เลยครับ
  • 17:26 - 17:27
    (เสียงหัวเราะ)
  • 17:27 - 17:30
    ใช่ครับ เห็นหลายอย่างเหมือนกัน
  • 17:30 - 17:33
    จริงๆ ผมก็มีปัญหาการมองเห็นเล็กน้อยด้วย
  • 17:33 - 17:36
    ตาข้างหนึ่งผมบอด อีกข้างก็ไม่ค่อยจะดี
  • 17:36 - 17:40
    ผมเห็นภาพหลอนเป็นแบบรูปทรงพื้นฐาน
  • 17:40 - 17:42
    แต่ไม่มากไปกว่านั้น
  • 17:42 - 17:44
    คริส: แต่มันไม่รบกวนคุณใช่ไหมครับ
  • 17:44 - 17:46
    เพราะคุณก็เข้าใจว่ามันคืออะไร คงไม่กังวล
  • 17:46 - 17:50
    โอลิเวอร์: มันไม่ได้กวนผมมากไปกว่า
    เสียงในหูผมหรอกครับ
  • 17:50 - 17:53
    ซึ่งผมก็ช่างมัน
  • 17:53 - 17:55
    บางคราวมันก็น่าสนใจเหมือนกัน
  • 17:55 - 17:58
    แล้วผมก็มีรูปมันเยอะเลยในสมุดโน๊ตผม
  • 17:58 - 18:01
    ผมไปทำ fMRI ตัวเองมาด้วย
  • 18:01 - 18:04
    อยากรู้ว่าสมองส่วนมองเห็นผมทำอะไรอยู่
  • 18:04 - 18:08
    แล้วตอนที่ผมเห็นพวกรูปหกเหลี่ยม
  • 18:08 - 18:10
    และอะไรซับซ้อนๆ ซึ่งผมก็เห็นเหมือนกัน
  • 18:10 - 18:12
    ตอนเป็นไมเกรน
  • 18:12 - 18:14
    ผมอยากรู้ว่า
    คนอื่นเขาเห็นอย่างที่ผมเห็นไหม
  • 18:14 - 18:17
    และอาจจะเป็นได้ว่า
    พวกจิตรกรรมผนังถ้ำหรือเครื่องประดับ
  • 18:17 - 18:20
    อาจประยุกต์มาจากภาพพวกนี้หรือเปล่า
  • 18:20 - 18:22
    คริส: เป็นการพูดที่ช่างน่าประทับใจ
    สุดจะบรรยายจริงๆ ครับ
  • 18:22 - 18:24
    ขอบคุณที่มาร่วมแบ่งปันครับ
  • 18:24 - 18:26
    โอลิเวอร์: ขอบคุณครับ ขอบคุณครับ
  • 18:26 - 18:28
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ภาพหลอนเผยให้เห็นอะไรภายในจิตของเรา
Speaker:
โอลิเวอร์ แซคส์
Description:

โอลิเวอร์ แซคส์ ประสาทแพทย์และนักประพันธ์ พาเราไปรู้จัก Charles Bonnett syndrome -- เมื่อผู้มีปัญหาทางสายตามองเห็นภาพหลอนที่ชัดเจนประดุจภาพจริง คุณหมอได้บรรยายอาการของคนไข้ที่คุณหมอดูแลด้วยความใส่ใจไว้อย่างละเอียด และอธิบายถึงที่มาที่ไปของกลุ่มอาการที่ถูกมองข้ามนี้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
18:32

Thai subtitles

Revisions