วิธีลดการปล่อยคาร์บอนจากคอนกรีต
-
0:01 - 0:06คอนกรีตเป็นสารที่คนบนโลกใช้มากเป็นอันดับ 2
รองจากน้ำ -
0:06 - 0:07และด้วยเหตุนี้
-
0:07 - 0:10จึงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก
-
0:10 - 0:16ถ้าเป็นประเทศ คอนกรีตก็สร้างแก๊สเรือนกระจก
สูงเป็นอันดับ 3 รองจากจีน และสหรัฐอเมริกา -
0:16 - 0:20อันที่จริงแล้ว คอนกรีต
จัดเป็นวัสดุที่มีผลกระทบต่ำ -
0:20 - 0:24ปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
และพลังงานต่อตัน -
0:24 - 0:29น้อยกว่าวัสดุอื่น ๆ เช่นเหล็ก และเหล็กกล้า
หรือแม้กระทั่งก้อนอิฐ -
0:29 - 0:33แต่เป็นเพราะเราใช้คอนกรีต
ในปริมาณมหาศาล -
0:33 - 0:38โดยจึงสร้างประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์
ของคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่เกิดจากมนุษย์ -
0:38 - 0:40คอนกรีตเป็นวัสดุจำเป็น
-
0:40 - 0:42เราใช้คอนกรีตสร้างที่พักอาศัย
-
0:42 - 0:46สร้างถนน สะพาน และเขื่อน
-
0:46 - 0:48เราสร้างอะไรไม่ได้ หากไร้คอนกรีต
-
0:48 - 0:52แต่เราสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์
จากคอนกรีตได้มหาศาล -
0:52 - 0:54คอนกรีตจับตัวกันได้ด้วยซีเมนต์
-
0:54 - 0:58และซีเมนต์ที่เราใช้กันทุกวันนี้
เรียกว่าซีเมนต์พอร์ตแลนด์ -
0:58 - 1:03ผลิตขึ้นโดยให้ความร้อน
กับส่วนผสมของหินปูนและดินเหนียว -
1:03 - 1:08ณ อุณหภูมิ 1,450 องศาเซลเซียส
-
1:08 - 1:11แต่อันที่จริงการปล่อย
คาร์บอนไดออกไซด์ส่วนมาก -
1:11 - 1:13ไม่ได้มาจากการให้ความร้อน
-
1:13 - 1:17แต่เกิดจากการสลายตัวของหินปูน
ซึ่งก็คือแคลเซียมคาร์บอเนต -
1:17 - 1:22กลายเป็นแคลเซียมออกไซด์
กับคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ซีโอทู -
1:22 - 1:25ปัจจุบันเรายังไม่สามารถเลิกใช้
สารตั้งต้นนี้ได้เสียที -
1:25 - 1:29เพราะไม่มีสารอื่นที่มีประสิทธิภาพ
ยึดเหนี่ยววัตถุไว้ด้วยกันได้ดีเท่านี้แล้ว -
1:29 - 1:32แต่เราสามารถทดแทน
สารเดิมในสัดส่วนสูง -
1:32 - 1:36ด้วยวัสดุอื่น ๆ
ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า -
1:36 - 1:39เพื่อนร่วมงานหลายท่าน
กำลังเสาะหาวิธีแก้ปัญหา -
1:39 - 1:41และที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นี้
-
1:41 - 1:45พวกเราค้นพบว่าดินเหนียว
สามารถทำปฏิกิริยาได้ดีมาก -
1:45 - 1:47เมื่อผ่านความร้อน
-
1:47 - 1:50ด้วยอุณหูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียส
-
1:50 - 1:55ซึ่งต่ำกว่าอุณหภูมิ 1,450 องศาเซลเซียส
ที่ต้องใช้ในการผลิตซีเมนต์อย่างมาก -
1:55 - 1:59แต่ที่สำคัญคือ
ไม่เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ -
1:59 - 2:02จากการสลายตัวของหินปูน
-
2:02 - 2:05เรานำดินเหนียว ที่ผ่านความร้อนมาแล้ว
-
2:05 - 2:07มาเติมหินปูนลงไปเล็กน้อย
-
2:07 - 2:11แต่คราวนี้ หินปูนไม่ต้องผ่านความร้อนด้วย
จึงไม่เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ -
2:11 - 2:12แล้วจึงใส่ปูนซีเมนต์ไปอีกส่วน
-
2:12 - 2:19เรียกส่วนผสมของหินปูน
ดินเหนียวผ่านความร้อนและซีเมนต์นี้ว่า แอลซี 3 -
2:20 - 2:22เจ้า แอลซี 3 นี่
-
2:22 - 2:26มีสมบัติบางประการเหมือนกับ
ซีเมนต์พอร์ตแลนด์ -
2:26 - 2:30สามารถผลิตได้โดยใช้เครื่องมือ
และกระบวนการเดียวกัน -
2:30 - 2:32และนำไปใช้ได้เหมือนกัน
-
2:32 - 2:36แต่สร้างคาร์บอนไดออกไซด์
น้อยลงถึง 40 เปอร์เซนต์ -
2:36 - 2:42และเราสาธิตการใช้งานให้ชม ผ่านบ้าน
ที่เราสร้างขึ้นใกล้เมืองจานซีในอินเดีย -
2:42 - 2:46ซึ่งเราลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
ไปได้กว่า 15 ตัน -
2:46 - 2:50เทียบเท่ากับ 30 ถึง 40 เปอร์เซนต์
ของวัสดุที่มีอยู่ในปัจจุบัน -
2:51 - 2:54แล้วทำไมทุก ๆ คนถึงยังไม่ใช้ แอลซี 3 ล่ะ
-
2:55 - 2:57อ๋อ นั่นเพราะซีเมนต์เป็นวัสดุท้องถิ่น
-
2:57 - 3:01สาเหตุที่ซีเมนต์พอร์ตแลนด์แพร่หลายมาก
-
3:01 - 3:05เป็นเพราะมันสร้างมาจากวัสดุ
ที่มีอยู่มากที่สุดในโลก -
3:05 - 3:07และสามารถผลิตได้ในประเทศอินเดีย
-
3:07 - 3:12ในสหรัฐอเมริกา ในเอธิโอเปีย
แทบจะทุกหนทุกแห่ง -
3:12 - 3:15และเราจะต้องร่วมมือกันชาวบ้านในพื้นที่
-
3:15 - 3:19เพื่อแสวงหาส่วนผสมที่ดีที่สุด
ในการผลิตปูนแอลซี 3 -
3:20 - 3:25พวกเราทำการทดลองเต็มรูปแบบแล้ว
ในอินเดีย และคิวบา -
3:25 - 3:28ในโคลัมเบีย
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้ -
3:28 - 3:30เพิ่งออกสู่ท้องตลาดเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
-
3:30 - 3:32และในไอวอรีโคสต์
-
3:32 - 3:36โรงงานเต็มรูปแบบ
กำลังเริ่มใช้ดินเหนียวผ่านความร้อน -
3:36 - 3:39และเหล่าบริษัทปูนซีเมนต์
ที่ใหญ่ที่สุดของโลกหลายแห่ง -
3:39 - 3:43กำลังหาทางเริ่มใช้ในโรงงาน
บางส่วนของตน เร็ว ๆ นี้ -
3:44 - 3:47ดังนั้น ความเป็นไปได้ที่จะทดแทน
ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ -
3:47 - 3:49ด้วยวัสดุที่แตกต่างออกไป
-
3:49 - 3:54แต่ยังคงสมบัติเดิมไว้
ผลิตด้วยกระบวนการเดิมได้ -
3:54 - 3:56และนำไปใช้ได้ในแบบเดียวกัน
-
3:56 - 3:58แต่สร้างคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่ามาก
-
3:58 - 4:02จึงมีความสำคัญอย่างมาก ต่อการเผชิญหน้า
กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ -
4:02 - 4:07เพราะสามารถทำได้เร็ว
และทำได้ในปริมาณมาก -
4:07 - 4:09พร้อมความเป็นไปได้ที่จะลด
-
4:09 - 4:14การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
ได้มากกว่า 400 ล้านตัน ทุก ๆ ปี -
4:15 - 4:18เราอยู่ไม่ได้ หากไร้คอนกรีต
-
4:18 - 4:22แต่เรามีทางใช้คอนกรีตโดยไม่ปล่อย
คาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลได้ -
4:23 - 4:24ขอบคุณค่ะ
- Title:
- วิธีลดการปล่อยคาร์บอนจากคอนกรีต
- Speaker:
- คาเรน สคริฟเนอร์
- Description:
-
คอนกรีตเป็นสารที่ถูกใช้บนโลกมากที่สุดเป็นอันดับ 2 (รองจากน้ำ) เป็นแหล่งคาร์บอนไดออกไซด์ 8 เปอร์เซนต์ของทั้งหมดในโลก นักวิจัยปูนซีเมนต์ คาเรน สคริฟเนอร์ เล่าถึงงานวิจัยเบื้องหลังปูนซีเมนต์ชนิดใหม่ที่รู้จักกันในนาม แอลซี 3 ซึ่งลดการปล่อยคาร์บอนจากวัสดุก่อสร้างแสนจำเป็นนี้ไปได้ถึง 40 เปอร์เซนต์ ถ้ามีคนเปลี่ยนไปใช้มากเพียงพอ
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 04:26
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for A concrete idea to reduce carbon emissions | |
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for A concrete idea to reduce carbon emissions | |
![]() |
Panitan Suvannaroj commented on Thai subtitles for A concrete idea to reduce carbon emissions | |
![]() |
Panitan Suvannaroj accepted Thai subtitles for A concrete idea to reduce carbon emissions | |
![]() |
Paul Kasemsap edited Thai subtitles for A concrete idea to reduce carbon emissions |
Panitan Suvannaroj
Very good translation.