< Return to Video

The Internet: IP Addresses and DNS

  • 0:02 - 0:09
    อินเทอร์เน็ต: ที่อยู่ IP และ DNS
  • 0:10 - 0:14
    สวัสดีค่ะ ฉันพอลล่า
    วิศวกรซอฟต์แวร์ที่ไมโครซอฟต์ค่ะ
  • 0:15 - 0:17
    เรามาพูดถึงการทำงานของอินเทอร์เน็ตกัน
  • 0:18 - 0:22
    งานของฉัน
    ต้องพึ่งพาเครือข่ายที่ทำให้คุยกันได้
  • 0:22 - 0:26
    แต่ในยุค 1970 ไม่มีวิธีมาตรฐาน
    สำหรับเรื่องนี้ค่ะ
  • 0:27 - 0:30
    ต้องใช้ผลงานของวินต์ เซิร์ฟและบ็อบคาห์น
  • 0:30 - 0:34
    ในการสร้างโพรโตคอลโครงข่าย
    เพื่อให้สื่อสารกันได้
  • 0:35 - 0:39
    สิ่งประดิษฐ์นี้ปูพรมให้สิ่งที่
    เราเรียกทุกวันนี้ว่าอินเทอร์เน็ต
  • 0:40 - 0:42
    อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายมากมาย
  • 0:42 - 0:46
    ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์
    หลายพันล้านเครื่องทั่วโลก
  • 0:46 - 0:51
    เช่นคุณใช้แลปท็อปหรือมือถือต่อ Wi-Fi
  • 0:51 - 0:56
    แล้ว Wi-Fi ก็ต่อกับ
    ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)
  • 0:56 - 1:00
    ISP นี้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์
    หลายพันล้านเครื่องทั่วโลก
  • 1:01 - 1:04
    ผ่านหลายแสนเครือข่ายที่เชื่อมถึงกันหมด
  • 1:06 - 1:08
    สิ่งหนึ่งที่คนส่วนมากมักมองข้ามคือ
  • 1:09 - 1:16
    ที่จริงอินเทอร์เน็ตคือปรัชญาการออกแบบ
    และสถาปัตยกรรมที่แสดงผ่านโพรโตคอลมากมาย
  • 1:17 - 1:21
    โพรโตคอลคือกฎและมาตรฐานที่
    หากทุกฝ่ายตกลงจะใช้แล้ว
  • 1:22 - 1:24
    จะทำให้สื่อสารกันได้โดยไม่เกิดปัญหา
  • 1:25 - 1:31
    วิธีทำงานของอินเทอร์เน็ตทางกายภาพ
    ไม่สำคัญเท่าการที่ปรัชญาการออกแบบนี้
  • 1:32 - 1:36
    อนุญาตให้อินเทอร์เน็ตปรับใช้
    และซึมซับเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ ๆ
  • 1:36 - 1:41
    เพราะหากจะให้
    เทคโนโลยีใหม่ใช้อินเทอร์เน็ต
  • 1:41 - 1:44
    มันต้องรู้ว่าต้องใช้โพรโตคอลไหน
  • 1:44 - 1:48
    อุปกรณ์แต่ละชนิด
    ในอินเทอร์เน็ตมีที่อยู่ที่ต่างกัน
  • 1:49 - 1:54
    ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตเป็นแค่ตัวเลข
    คล้ายเบอร์โทรหรือบ้านเลขที่
  • 1:54 - 1:58
    ที่คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์
    แต่ละเครื่องมีที่ปลายสายเครือข่าย
  • 1:59 - 2:03
    คล้ายการที่บ้านหรือที่ทำงานส่วนใหญ่
    มีที่อยู่รับจดหมายนั่นเอง
  • 2:03 - 2:06
    เราไม่จำเป็นต้องรู้จักผู้รับ
    หากต้องการส่งจดหมายให้
  • 2:06 - 2:10
    แต่อย่างน้อยต้องรู้ที่อยู่
    และวิธีเขียนที่อยู่ให้ถูกต้อง
  • 2:11 - 2:14
    เพื่อให้จดหมายเข้าระบบไปถึงปลายทางได้
  • 2:14 - 2:18
    ระบบที่อยู่สำหรับคอมพิวเตอร์
    ในอินเทอร์เน็ตคล้ายกัน
  • 2:18 - 2:23
    จนก่อเป็นโพรโตคอลที่สำคัญที่สุดอันหนึ่ง
    ในการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต
  • 2:23 - 2:26
    เรียกว่าอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลหรือ IP
  • 2:27 - 2:30
    ที่อยู่ของคอมพิวเตอร์
    จึงเรียกว่าที่อยู่ IP
  • 2:30 - 2:35
    การเข้าชมเว็บไซต์คือการที่คอมพิวเตอร์คุณ
    ขอข้อมูลจากคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง
  • 2:36 - 2:39
    คอมพิวเตอร์ของคุณส่งข้อความไป
    ยังที่อยู่ IP ของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
  • 2:39 - 2:41
    ส่งไปพร้อมที่อยู่ของมันเองด้วย
  • 2:42 - 2:44
    คอมพิวเตอร์อีกเครื่องจะได้รู้
    ว่าควรส่งกลับทางไหน
  • 2:45 - 2:49
    คุณอาจเคยเห็นที่อยู่ IP
    ซึ่งก็เป็นแค่ตัวเลข
  • 2:50 - 2:53
    ตัวเลขเหล่านี้มีการจัดระเบียน
    ตามลำดับใหญ่ไปเล็ก
  • 2:54 - 2:59
    เหมือนที่อยู่บ้านเรามีประเทศ
    เมือง ชื่อถนน บ้านเลขที่นั่นเอง
  • 2:59 - 3:03
    ที่อยู่ IP ก็มีหลายส่วน
    เหมือนข้อมูลดิจิทัลอื่น
  • 3:04 - 3:06
    ที่ตัวเลขแต่ละตัวอยู่ในรูปของบิท
  • 3:07 - 3:13
    ที่อยู่ IP แบบดั้งเดิมมีความยาว 32 บิท
    แต่ละส่วนของที่อยู่มี 8 บิท
  • 3:14 - 3:18
    เลขตัวแรก ๆ มีไว้ระบุประเทศ
    และภูมิภาคเครือข่ายของอุปกรณ์
  • 3:19 - 3:24
    ต่อด้วยเครือข่ายย่อย
    และที่อยู่ที่จำเพาะของอุปกรณ์
  • 3:25 - 3:28
    ที่อยู่ IP เวอร์ชั่นนี้เรียกว่า IPv4
  • 3:29 - 3:34
    ออกแบบขึ้นในปี 1973
    และมีการนำไปใช้ในช่วงต้นยุค 80
  • 3:34 - 3:39
    มีที่อยู่สำหรับอุปกรณ์กว่า
    4 พันล้านที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต
  • 3:40 - 3:45
    แต่อินเทอร์เน็ตมันเป็นที่นิยมขึ้น
    มากกว่าที่วินซ์ เซิร์ฟคาด
  • 3:45 - 3:49
    จน 4 พันล้านที่อยู่นั้นจะไม่พอแล้ว
  • 3:49 - 3:54
    ตอนนี้เราอยู่ในยุคที่
    กำลังถ่ายโอนให้มีที่อยู่ IP ที่ยาวขึ้น
  • 3:54 - 4:00
    เรียกว่า IPv6 ซึ่งใช้ 128 บิทต่อที่อยู่
  • 4:00 - 4:05
    ทำให้ได้ที่อยู่กว่า 340 *1 ล้าน
    ตามด้วยเลข 36 หน่วย
  • 4:06 - 4:11
    เป็นที่อยู่ไอพีที่
    มากกว่าจำนวนเม็ดทรายบนโลกอีก
  • 4:11 - 4:15
    ผู้ใช้ส่วนมากไม่เห็นหรือสนใจ
    ที่อยู่อินเทอร์เน็ต
  • 4:15 - 4:18
    ระบบชื่อโดเมนหรือ DNS
  • 4:18 - 4:24
    อย่างชื่อ www.example.com
    ที่มีที่อยู่ที่สอดคล้องกัน
  • 4:24 - 4:29
    คอมพิวเตอร์ของคุณใช้ DNS
    เพื่อหาชื่อโดเมนก่อนจะได้ที่อยู่ไอพี
  • 4:30 - 4:33
    ซึ่งใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คุณ
    เข้ากับปลายทางในอินเทอร์เน็ต
  • 4:33 - 4:39
    - ก็จะเป็นอะไรแบบนี้
    - ไงเพื่อน ฉันอยากไปที่ www.code.org จ้ะ
  • 4:40 - 4:47
    อืม ฉันไม่รู้ที่อยู่ไอพี
    ของโดเมนนั้น เดี๋ยวถามเพื่อนให้นะ
  • 4:47 - 4:55
    - นี่ นายไป code.org เป็นไหม
    - เป็น นี่ไง
  • 4:55 - 5:00
    174.129.14.120
  • 5:01 - 5:05
    โอเค ขอบคุณมาก
    เดี๋ยวจดไว้เพื่อต้องใช้อีก
  • 5:05 - 5:09
    - นี่จ้ะ ที่อยู่ที่เธอขอ
    - เจ๋ง ขอบใจนะ
  • 5:14 - 5:18
    เราจะออกแบบระบบ
    สำหรับอุปกรณ์พันล้านเครื่อง
  • 5:18 - 5:21
    ให้เจอเว็บไซต์นับพันล้านได้ยังไง
  • 5:22 - 5:27
    ยังไง DNS เซิร์ฟเวอร์เดียวก็จัดการกับ
    คำขอจากทุกอุปกรณ์ไม่ไหว
  • 5:28 - 5:32
    คำตอบคือ DNS เซิร์ฟเวอร์เชื่อมต่อ
    กับลำดับขั้น
  • 5:32 - 5:34
    และถูกแบ่งเป็นโซนค่ะ
  • 5:34 - 5:41
    แยกความรับผิดชอบสำหรับโดเมนหลัก
    อย่าง .org, .com, .net, อะไรแบบนี้
  • 5:41 - 5:46
    ตอนแรก DNS ถูกสร้างเพื่อเป็นโพรโตคอล
    การสื่อสารสาธารณะ
  • 5:47 - 5:50
    ของรัฐบาล และสถาบันการศึกษา
  • 5:50 - 5:55
    ด้วยความเปิดกว้างทำให้ DNS
    อาจถูกจู่โจมทางไซเบอร์ได้ง่าย
  • 5:55 - 6:02
    ตัวอย่างเช่นการจู่โจม DNS Spoofing
    คือการที่แฮ็กเกอร์เข้าเซิร์ฟเวอร์ของ DNS
  • 6:02 - 6:06
    แล้วเปลี่ยนให้ตรงกับชื่อโดเมน
    ด้วยที่อยู่ IP ที่ไม่ตรง
  • 6:07 - 6:11
    วิธีนี้ทำให้ผู้จู่โจม
    ส่งผู้ใช้งานไปยังเว็บไซต์ที่แอบอ้าง
  • 6:12 - 6:16
    หากคุณเจอแบบนี้แปลว่า
    คุณอาจเจอปัญหาอีกมาก
  • 6:16 - 6:20
    เพราะคุณกำลังใช้เว็บไซต์ปลอม
    ราวกับว่ามันเป็นเว็บไซต์จริง
  • 6:22 - 6:25
    อินเทอร์เน็ตนั้นยิ่งใหญ่
    และเติบโตขึ้นทุกวัน
  • 6:26 - 6:30
    แต่ระบบชื่อโดเมนและโพรโตคอลอินเทอร์เน็ต
    ถูกออกแบบมาเพื่อปรับขนาด
  • 6:31 - 6:33
    ไม่ว่าอินเทอร์เน็ต
    จะเติบโตไปสักเพียงใดค่ะ
Title:
The Internet: IP Addresses and DNS
Description:

more » « less
Video Language:
English
Duration:
06:45

Thai subtitles

Revisions