เราจะทำอย่างไรเมื่อยาปฏิชีวนะไม่ได้ผลอีกแล้ว
-
0:01 - 0:03นี่คือคุณลุงทวดของฉัน
-
0:03 - 0:06ซึ่งก็คือ น้องชายของคุณพ่อของคุณพ่อของฉัน
-
0:06 - 0:08ชื่อของเขาคือ โจ แม็คเคนนา
-
0:08 - 0:13เขาเป็นสามีหนุ่ม และนักเล่นบาสเกตบอลกึ่งอาชีพ
-
0:13 - 0:16และนักผจญเพลิงในนิวยอร์คซิตตี้
-
0:17 - 0:20ประวัติครอบครัวบอกว่า
เขาชอบอาชีพนักผจญเพลิง -
0:20 - 0:24และในปี ค.ศ. 1935 ในวันหยุดวันหนึ่งของเขา
-
0:24 - 0:26เขาเลือกที่จะไปเที่ยวที่สถานีดับเพลิง
-
0:27 - 0:31เพื่อทำตัวเองให้เป็นประโยชน์ในวันนั้น
เขาเริ่มที่จะขัดทองเหลืองทั้งหมด -
0:31 - 0:35ทั้งราวบนรถดับเพลิง และที่จับบนผนัง
-
0:35 - 0:37และหัวฉีดสายยางหัวหนึ่ง
-
0:37 - 0:39ที่เป็นโลหะน้ำหนักมาก ขนาดใหญ่
-
0:39 - 0:43ได้ตกลงมาจากหิ้งและกระแทกเขา
-
0:44 - 0:47ไม่กี่วันต่อมา
เขาเริ่มปวดไหล่ -
0:47 - 0:51สองวันหลังจากนั้น เขามีไข้
-
0:51 - 0:53และไข้ก็สูงขึ้น และสูงขึ้น
-
0:53 - 0:55ภรรยาของเขาได้ดูแลเขา
-
0:55 - 0:59แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้มากนัก
และเมื่อพวกเขาให้คุณหมอในพื้นที่มาตรวจ -
0:59 - 1:02คุณหมอก็ทำอะไรไม่ได้มากเช่นกัน
-
1:02 - 1:05พวกเขาโบกรถแท็กซี่
แล้วพาเขาไปโรงพยาบาล -
1:06 - 1:10บรรดาพยาบาลที่นั่นรู้ได้โดยทันที
ว่าเขาติดเชื้อ -
1:10 - 1:14ที่ในยุคนั้นเรียกว่า "เป็นพิษในกระแสโลหิต"
-
1:14 - 1:16และถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้พูด
-
1:16 - 1:18พวกเขาคงจะรู้ได้ในทันที
-
1:18 - 1:21ว่าพวกเขาทำอะไรไม่ได้อีกแล้ว
-
1:22 - 1:25ไม่มีอะไรอีกแล้วที่พวกเขาจะช่วยได้
เพราะว่าสิ่งที่เราใช้ในตอนนี้ -
1:25 - 1:27ในการรักษาการติดเชื้อ ยังไม่มีอยู่ในตอนนั้น
-
1:28 - 1:31การทดสอบครั้งแรกของเพนิซิลลิน
ยาปฏิชีวนะชนิดแรก -
1:31 - 1:34ยังอยู่อีกสามปีในอนาคต
-
1:34 - 1:39คนที่ติดเชื้ออาจหาย ถ้าเขาโชคดี
-
1:39 - 1:40หรือเสียชีวิต
-
1:40 - 1:42ลุงทวดของฉันไม่ได้โชคดี
-
1:42 - 1:46เขาอยู่ในโรงพยาบาลหนึ่งสัปดาห์
ตัวสั่นด้วยความหนาว -
1:46 - 1:48เสียน้ำ และคุมสติไม่ได้
-
1:48 - 1:50ตกเข้าสู่ภาวะโคม่าเมื่ออวัยวะล้มเหลว
-
1:50 - 1:53อาการของเขาน่าเป็นห่วงขึ้นเรื่อยๆ
-
1:53 - 1:57จนคนจากสถานีดับเพลิง
เข้าแถวกันมาถ่ายเลือดให้เขา -
1:57 - 2:01โดยหวังว่ามันจะช่วยเจือจางการติดเชื้อ
ที่เพิ่มขึ้นในกระแสโลหิต -
2:01 - 2:05ไม่มีอะไรที่ได้ผล เขาเสียชีวิต
-
2:05 - 2:08เขามีอายุได้ 30 ปี
-
2:08 - 2:10ถ้าคุณมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์
-
2:10 - 2:13คนส่วนใหญ่เสียชีวิตในแบบเดียวกับลุงทวดของฉัน
-
2:13 - 2:16คนส่วนใหญ่ไม่ได้เสียชีวิตจากมะเร็งหรือโรคหัวใจ
-
2:16 - 2:20โรคที่ได้รับอิทธิพลจากความเป็นอยู่
ที่ส่งผลต่อพวกเราในตะวันตกทุกวันนี้ -
2:20 - 2:24พวกเขาไม่ได้เสียชีวิตจากโรคเหล่านั้น
เพราะว่าพวกเขาไม่ได้มีชีวิตยืนยาวพอ -
2:24 - 2:26ที่จะพัฒนาไปจนมีอาการเหล่านั้น
-
2:26 - 2:28พวกเขาเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ
-
2:28 - 2:31ถูกวัวขวิด
-
2:31 - 2:33ถูกยิงในสนามรบ
-
2:33 - 2:36ถูกกระแทกในโรงงานในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม --
-
2:36 - 2:40และส่วนใหญ่ ก็เป็นจากการติดเชื้อ
-
2:40 - 2:43ที่มาปิดท้ายอาการบาดเจ็บเหล่านั้น
-
2:44 - 2:48ทุกอย่างเปลี่ยนไปเมื่อยาปฏิชีวนะมาถึง
-
2:49 - 2:52การติดเชื้อที่เคยเป็นเหมือนประกาศิตสั่งตาย
-
2:52 - 2:56ก็กลายเป็นอะไรบางอย่างที่คนหายกันได้
ในเวลาไม่กี่วัน -
2:56 - 2:59มันราวกับปาฏิหาริย์
-
2:59 - 3:05และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เราก็อยู่ในยุคทอง
ของยามหัศจรรย์ -
3:05 - 3:09และตอนนี้ พวกเรากำลังมาถึงจุดจบของมัน
-
3:09 - 3:14ลุงทวดของฉันเสียชีวิตในวันท้ายๆ
ของยุคก่อนยาปฏิชีวนะ -
3:14 - 3:19เรายืนอยู่ในวันนี้ บนเส้นแบ่ง
ของยุคหลังยาปฏิชีวนะ -
3:19 - 3:23ซึ่งเป็นช่วงแรกของช่วงเวลา
ที่การติดเชื้อธรรมดา -
3:23 - 3:28เช่นอย่างที่โจเป็น จะกลับมาฆ่าคนอีกครั้ง
-
3:29 - 3:32อันที่จริง พวกมันได้เริ่มทำสิ่งนี้แล้ว
-
3:33 - 3:36คนกำลังเสียชีวิตจากการติดเชื้อ
อีกครั้งหนึ่ง เพราะว่าเหตุการณ์ -
3:36 - 3:38ที่เรียกว่า การดื้อยาปฏิชีวนะ
-
3:38 - 3:40สั้นๆ คือมันมีกลไกดังนี้
-
3:40 - 3:45แบคทีเรียแข่งขันกันและกัน
เพื่อทรัพยากร เพื่ออาหาร -
3:45 - 3:50โดยการสร้างสารประกอบที่เป็นพิษถึงตาย
ที่พวกมันสาดใส่กันและกัน -
3:50 - 3:52เพื่อเป็นการป้องกันตัว แบคทีเรียอื่น
-
3:52 - 3:55ก็จะพัฒนาการป้องกันตัว
จากการโจมตีทางเคมีนี้ -
3:55 - 3:58เมื่อเราสร้างยาปฏิชีวนะเป็นครั้งแรก
-
3:58 - 4:02เรานำสารประกอบนั้นเข้าห้องทดลอง
แล้วสร้างแบบของเราเองออกมา -
4:02 - 4:06และแบคทีเรียก็ตอบโต้การโจมตีของเรา
ในแบบที่พวกมันทำเสมอ -
4:08 - 4:10นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากนั้น
-
4:10 - 4:13เพนิซิลลินเริ่มแพร่หลายในปี ค.ศ. 1943
-
4:13 - 4:19และการดื้อยาเพนิซิลลินก็เริ่มแพร่หลาย
ในปี ค.ศ.1945 -
4:19 - 4:22แวนโคไมซิน เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1972
-
4:22 - 4:25การดื้อยาแวนโคไมซินเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1988
-
4:25 - 4:27อิมิเพเนม ในปี ค.ศ. 1985
-
4:27 - 4:30และการดื้อยาดังกล่าวเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1998
-
4:30 - 4:34แด็ปโตไมซิน หนึ่งในยาที่ทันสมัยมากที่สุด
เริ่มในปี ค.ศ. 2003 -
4:34 - 4:38และการดื้อยาดังกล่าวก็เกิดขึ้น
เพียงหนึ่งปีให้หลังในปี ค.ศ. 2004 -
4:39 - 4:42เป็นเวลา 70 ปี ที่เราเล่น
เกมส์ก้าวกระโดด -- -
4:42 - 4:45ยาของเราและการดื้อยา
-
4:45 - 4:49และจากนั้นก็ยาอื่น
และจากนั้นก็การดื้อยาก็มาอีก -- -
4:49 - 4:51และตอนนี้เกมส์กำลังจะจบแล้ว
-
4:51 - 4:55แบคทีเรียพัฒนาการต้านยาได้อย่างรวดเร็ว
และบริษัทยา -
4:55 - 5:00ได้ตัดสินใจว่าการสร้างยาปฏิชีวนะ
ไม่ใด้ผลประโยชน์ที่ดีที่สุด -
5:00 - 5:03ฉะนั้น มันจึงมี
การติดเชื้อที่แพร่กระจายไปทั่วโลก -
5:03 - 5:06ที่ยาปฏิชีวนะมากกว่า 100 ขนาน
-
5:06 - 5:08ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด
-
5:08 - 5:12อาจเหลือยาสองตัวที่ได้ผล แต่มีผลข้างเคียง
-
5:12 - 5:14หรือยาตัวเดียว
-
5:14 - 5:16หรือไม่มีเลย
-
5:16 - 5:18มันมีหน้าตาประมาณนี้ค่ะ
-
5:18 - 5:22ในปี ค.ศ. 2000 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค
หรือ ซีดีซี (CDC) -
5:22 - 5:25รายงานกรณีหนึ่ง
-
5:25 - 5:27ในโรงพยาบาลในรัฐนอร์ทแคโรไลนา
-
5:27 - 5:30ถึงการดื้อยาทุกอย่างยกเว้นยาสองตัว
-
5:31 - 5:35วันนี้ การติดเชื้อดังกล่าว
เป็นที่รู้จักกันว่า เคพีซี (KPC) -
5:35 - 5:38ได้กระจายไปทุกรัฐ ยกเว้นสามรัฐ
-
5:38 - 5:40และอเมริกาใต้ ยุโรป
-
5:40 - 5:42และตะวันออกกลาง
-
5:43 - 5:45ในปี ค.ศ. 2008 หมอในสวีเดน
-
5:45 - 5:48พบว่าชายจากอินเดียมีการติดเชื้อที่แตกต่าง
-
5:48 - 5:52ซึ่งมันดื้อต่อยาทุกอย่าง
ยกเว้นยาตัวเดียวในเวลานั้น -
5:52 - 5:54ยีนที่สร้างความดื้อยา
-
5:54 - 6:00รู้จักกันในนาม NDM ได้แพร่กระจาย
จากอินเดียไปสู่จีน เอเชีย แอฟริกา -
6:00 - 6:05ยุโรป และแคนาดา และสหรัฐอเมริกา
-
6:05 - 6:08มันเป็นธรรมดาที่จะหวัง
-
6:08 - 6:11ว่าการติดเชื้อเหล่านี้เป็นกรณีที่ไม่ปกติ
-
6:11 - 6:13แต่อันที่จริงแล้ว
-
6:13 - 6:16ในสหรัฐอเมริกา และยุโรป
-
6:16 - 6:18คน 50,000 รายต่อปี
-
6:18 - 6:22เสียชีวิตจากการติดเชื้อ ซึ่งไม่มียาใดช่วยได้
-
6:23 - 6:26โครงการที่ได้รับอนุญาตโดยรัฐบาลอังกฤษ
-
6:26 - 6:30ที่รู้จักกันในนาม เดอะ รีวิว ออน
แอนไทไมโครไบโอติก รีซิสแทนท์ -
6:30 - 6:37คาดว่าถึงตอนนี้การสูญเสียชีวิตทั่วโลก
คิดเป็น 700,000 รายต่อปี -
6:38 - 6:43จำนวนผู้เสียชีวิตนั่นมันเยอะมาก
-
6:43 - 6:46แต่ว่า มันเป็นไปได้สูง
ที่คุณจะว่าคุณไม่มีความเสี่ยง -
6:46 - 6:49ที่คุณจะคิดว่าคนเหล่านั้น
คือคนที่อยู่ในโรงพยาบาล -
6:49 - 6:51ในหน่วยที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
-
6:51 - 6:55หรือเป็นผู้ที่อยู่ในสถานพยาบาล
ที่ใกล้จะถึงวาระสุดท้ายของชีวิตแล้ว -
6:55 - 6:58คนที่ได้รับการติดเชื้อ ซึ่งห่างไกลจากเรา
-
6:58 - 7:01ในสถานการณ์ที่พวกเราไม่เกี่ยวข้อง
-
7:02 - 7:06แต่สิ่งที่คุณไม่ได้คิด
และที่ทุกคนไม่ได้คิด -
7:06 - 7:11คือยาปฏิชีวนะนั้นสนับสนุนชีวิต
ยุคปัจจุบันของพวกเรา เกือบโดยสิ้นเชิง -
7:12 - 7:14ถ้าเราขาดยาปฏิชีวนะไป
-
7:14 - 7:15นี่คือสิ่งที่เราอาจสูญเสีย
-
7:16 - 7:20อย่างแรก การป้องกันใดๆ ก็ตาม
สำหรับคนที่มีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง -
7:20 - 7:23ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยโรคเอดส์
-
7:23 - 7:28ผู้ที่รับการปลูกถ่ายเนื้อเยื่ออวัยวะ
เด็กทารกที่เกิดก่อนกำหนด -
7:28 - 7:32ต่อมาก็คือ การรักษาใดๆ ที่ต้องมีการ
นำสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย -
7:32 - 7:36การใส่ลวดถ่างขยายหลอดเลือดที่ตีบ
การปั๊มไหลเวียนสำหรับคนที่เป็นเบาหวาน -
7:36 - 7:40การฟอกไต การเปลี่ยนข้อต่อ
-
7:40 - 7:44มีนักกีฬาที่เกิดในยุคเบบี้บูมตั้งกี่คน
ที่ต้องเปลี่ยนสะโพกและเข่าใหม่ -
7:44 - 7:47การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้คาดว่า
เมื่อปราศจากยาปฏิชีวนะ -
7:47 - 7:50หนึ่งในหกคนจะเสียชีวิต
-
7:51 - 7:54ต่อจากนั้น เราอาจจะสูญเสียการผ่าตัด
-
7:54 - 7:56การผ่าตัดหลายอย่าง
ต้องมีการให้ยาปฏิชีวนะก่อน -
7:56 - 7:59ในปริมาณที่ใช้ป้องกันโรค
-
7:59 - 8:01เมื่อปราศจากการป้องกันดังกล่าวแล้ว
-
8:01 - 8:05เราก็จะสูญเสียความสามารถ
ที่จะเปิดส่วนที่ซ่อนอยู่ในร่างกายได้ -
8:05 - 8:08ฉะนั้น มันจะไม่มีการผ่าตัดหัวใจ
-
8:08 - 8:11ไม่มีการตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากไปตรวจ
-
8:11 - 8:13ไม่มีการผ่าคลอด
-
8:14 - 8:18เราจะต้องเรียนรู้ที่จะกลัวการติดเชื้อ
ที่ตอนนี้มันอาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย -
8:19 - 8:23เชื้อสเตรปในลำคอ
เคยก่อให้เกิดอาการหัวใจล้มเหลว -
8:23 - 8:25การติดเชื้อที่ผิวหนังนำไปสู่การตัดแขนขา
-
8:26 - 8:29การให้กำเนิด แม้ในโรงพยาบาลที่สะอาดที่สุด
-
8:29 - 8:31อาจทำให้ผู้หญิงหนึ่งในทุกๆ 100 คนเสียชีวิต
-
8:32 - 8:37โรคปอดบวมจะคร่าชีวิตเด็กสามคน
จากทุก ๆ 10 คน -
8:37 - 8:39และมากกว่าอะไรทั้งหมด
-
8:39 - 8:44เราจะสูญเสียความมั่นใจ
ในการใช้ชีวิตปกติ -
8:45 - 8:49ถ้าคุณรู้ว่าการบาดเจ็บใดๆ สามารถฆ่าคุณได้
-
8:49 - 8:52คุณจะขี่จักรยานยนต์ไหม
-
8:52 - 8:56แล่นรีบไถลลงมาตามทางลาดสกีไหม
-
8:56 - 8:59ปีนบันไดขึ้นไปแขวนไฟต้นคริสต์มาสไหม
-
8:59 - 9:03ปล่อยให้ลูกของคุณ
วิ่งเสียบเข้าโฮมเบส หรือไม่ -
9:04 - 9:07เพราะที่จริงแล้ว คนแรกที่ได้รับเพนิซิลิน
-
9:07 - 9:11เป็นตำรวจชาวอังกฤษที่มีนามว่า
อัลเบิร์ต อเล็กซานเดอร์ -
9:11 - 9:15ผู้ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากการติดเชื้อ
จนหนังศีรษะมีหนองไหลซึมออกมา -
9:15 - 9:18และหมอจำเป็นต้องควักตาเขาออกข้างหนึ่ง
-
9:18 - 9:21เขาติดเชื้อเพราะทำอะไรที่ธรรมดามาก
-
9:22 - 9:27เขาเดินอยู่ในสวน
และหน้าเขาไปโดนหนามจนถลอก -
9:29 - 9:32โครงการของอังกฤษที่ฉันพูดถึง
ได้คาดเดาความเสียหายที่เกิดขึ้นทั่วโลก -
9:32 - 9:36ว่าตอนนี้ มีผู้เสียชีวิต 700,000 รายต่อปี
-
9:36 - 9:43และยังประมาณไว้ว่า ถ้าเราไม่สามารถ
ที่จะควบคุมมันได้ภายในปี ค.ศ. 2050 -
9:43 - 9:50ไม่นาน ความเสียหายทั่วโลกจะกลายเป็น
10 ล้านรายต่อปี -
9:50 - 9:53เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
-
9:53 - 9:55ที่ซึ่งเราจะต้องเผชิญ
-
9:55 - 9:58กับตัวเลขที่น่ากลัวนี้
-
9:58 - 10:03คำตอบที่ยากคือ เราทำตัวเราเอง
-
10:03 - 10:06การดื้อยาเป็นกระบวนการทางชีววิทยา
ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ -
10:06 - 10:10แต่เราต้องแบกรับความรับผิดชอบ
ที่ทำให้มันเกิดเร็วขึ้น -
10:10 - 10:14เราทำให้มันเกิดขึ้น
โดยใช้ยาปฏิชีวนะอย่างฟุ่มเฟือย -
10:14 - 10:18ด้วยความประมาทเลินเล่อ
ที่ตอนนี้ดูน่าตกใจ -
10:19 - 10:23เพนิซิลลินมีขายตามร้านยา
มาตั้งแต่ยุค 1950 -
10:23 - 10:27ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่
ยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ยังหาซื้อได้แบบนั้น -
10:27 - 10:31ในสหรัฐอเมริกา 50 เปอร์เซ็นต์
-
10:31 - 10:35ของยาปฏิชีวนะที่ให้ในโรงพยาบาล
ไม่ได้จำเป็นเลย -
10:35 - 10:39สี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์ของใบสั่งจ่ายยา
ที่เขียนในห้องตรวจของหมอ -
10:39 - 10:43เป็นใบสั่งสำหรับอาการ
ที่ยาปฏิชีวนะไม่สามารถช่วยได้ -
10:45 - 10:47และนั่นแค่ในระบบสาธารณสุข
-
10:47 - 10:52ในส่วนใหญ่ของโลก สัตว์ที่เลี้ยงเอาเนื้อ
ได้รับยาปฏิชีวนะทุกวันตลอดชีวิต -
10:52 - 10:54ไม่ใช่เพื่อรักษาอาการป่วย
-
10:54 - 10:58แต่เพื่อทำให้พวกมันอ้วนขึ้น
และป้องกันพวกมัน -
10:58 - 11:02จากสภาวะโรงงานการเกษตร
ที่พวกมันได้รับการเลี้ยงดู -
11:02 - 11:05ในสหรัฐอเมริกา ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์
-
11:05 - 11:12ของยาปฏิชีวนะที่ขายทุกปี
นำไปใช้กับปศุสัตว์ ไม่ใช่คน -
11:12 - 11:15ทำให้เกิดแบคทีเรียดื้อยา ที่ย้ายจากไร่นา
-
11:15 - 11:18ไปยังน้ำ ฝุ่น
-
11:18 - 11:21และเนื้อที่เป็นของสัตว์
-
11:21 - 11:24การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำก็พึ่งพายาปฏิชีวนะเช่นกัน
-
11:24 - 11:26โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย
-
11:26 - 11:29และการปลูกผลไม้ก็ต้องพึ่งพายาปฏิชีวนะ
-
11:29 - 11:34เพื่อป้องกันแอปเปิ้ล แพร
ผลไม้พวกส้มมะนาว จากโรค -
11:34 - 11:40และเพราะว่าแบคทีเรียสามารถส่งต่อ
ดีเอ็นเอของมันให้กันและกันได้ -
11:40 - 11:45เหมือนกับผู้เดินทาง
ส่งต่อกระเป๋าเดินทางให้กันที่สนามบิน -
11:45 - 11:49เมื่อเราสนับสนุนให้เกิดการดื้อยาขึ้น
-
11:49 - 11:52เราไม่อาจรู้ได้เลยว่ามันจะกระจายไปทางไหน
-
11:54 - 11:55เหตุการณ์นี้รู้ได้ล่วงหน้า
-
11:56 - 11:59อันที่จริง ได้มีการคาดเดาไว้
-
11:59 - 12:03โดยอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง
ชายผู้ค้นพบเพนิซิลลิน -
12:03 - 12:07เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1945
เพื่อเป็นเกียรติ -
12:07 - 12:11และในการให้สัมภาษณ์ไม่นานหลังจากนั้น
นี่คือสิ่งที่เขากล่าว -
12:11 - 12:16"คนไม่รู้จักคิด
ที่เล่นกับการรักษาที่ใช้เพนิซิลลิน -
12:16 - 12:19มีส่วนรับผิดชอบทางจริยธรรม
ต่อการเสียชีวิตของคน -
12:19 - 12:21ผู้ที่พ่ายต่อการติดเชื้อ
-
12:21 - 12:24ที่ดื้อต่อยาเพนิซิลิน"
-
12:24 - 12:28เขาได้เพิ่มเติมอีกว่า "ผมหวังว่า
ความชั่วร้ายนี้จะถูกป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น" -
12:29 - 12:32เราจะป้องกันมันได้หรือไม่
-
12:32 - 12:36มีบริษัทที่กำลังพยายามวิจัยยาปฏิชีวนะใหม่
-
12:36 - 12:39ซึ่งเป็นสิ่งที่เชื้อร้ายไม่เคยพบมาก่อน
-
12:39 - 12:42เราต้องการยาพวกนั้นเป็นอย่างยิ่ง
-
12:42 - 12:44และเราต้องการสิ่งจูงใจ เช่น
-
12:44 - 12:47ทุนสนับสนุนการค้นพบ การยืดอายุสิทธิบัตร
-
12:47 - 12:53รางวัล เพื่อที่จะล่อให้บริษัทอื่นๆ
เข้ามาผลิตยาปฏิชีวนะอีกครั้ง -
12:53 - 12:56แต่นั่นคงจะไม่เพียงพอ
-
12:56 - 13:00นี่เป็นเหตุว่าทำไม วิวัฒนาการย่อมชนะเสมอ
-
13:01 - 13:05แบคทีเรียให้กำเนิดเชื้อรุ่นใหม่
ทุกๆ 20 นาที -
13:05 - 13:09เคมีเภสัชกรรมต้องใช้เวลาถึง 10 ปี
ในการพัฒนายา -
13:09 - 13:12ทุกครั้งที่เราใช้ยาปฏิชีวนะ
-
13:12 - 13:16เราให้โอกาสกับแบคทีเรียเป็นพันล้าน
-
13:16 - 13:17ในการถอดรหัส
-
13:17 - 13:20ที่เป็นปราการที่เราได้สร้างเอาไว้
-
13:20 - 13:23ยังไม่เคยมียาใด
-
13:23 - 13:25ที่พวกมันเอาชนะไม่ได้
-
13:25 - 13:29นี่เป็นการสงครามที่ไม่ยุติธรรม
-
13:29 - 13:33แต่เราสามารถเปลี่ยนผลลัพธ์ได้
-
13:34 - 13:40เราสามารถสร้างระบบที่จะเก็บเกี่ยวข้อมูล
ที่จะบอกเราได้อย่างอัตโนมัติและเจาะจง -
13:40 - 13:43ว่ายาปฏิชีวนะกำลังถูกใช้อย่างไร
-
13:43 - 13:46เราสามารถสร้างผู้ป้องกันประตู
ในระบบการสั่งยา -
13:46 - 13:50เพื่อที่ว่า ทุกๆ ใบสั่งจ่ายยา
จะได้รับการตรวจสอบ -
13:50 - 13:56เราสามารถขอให้ภาคการเกษตร
ยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะ -
13:56 - 13:59เราสามารถสร้างระบบตรวจตรา
-
13:59 - 14:04ที่จะบอกเราว่าการดื้อยาต่อไปจะเกิดขึ้นที่ไหน
-
14:04 - 14:06นั่นเป็นการแก้ปัญหาโดยเทคนิค
-
14:06 - 14:09พวกมันอาจจะยังไม่เพียงพอ
-
14:09 - 14:12เว้นเสียแต่ว่าเราจะช่วย
-
14:16 - 14:18การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นนิสัย
-
14:18 - 14:22เรารู้ว่ามันยากแค่ไหน
ที่จะเปลี่ยนนิสัย -
14:22 - 14:26แต่ในฐานะที่อยู่ในสังคม
เราเคยทำได้มาแล้วในอดีต -
14:26 - 14:30เราเคยทิ้งขยะลงบนถนน
-
14:30 - 14:32เคยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
-
14:32 - 14:36เคยสูบบุหรี่ในที่อาคารสาธารณะ
-
14:36 - 14:39เราไม่ได้ทำอย่างนั้นอีกแล้ว
-
14:39 - 14:41เราไม่ได้ทิ้งขยะเกลื่อน
-
14:41 - 14:45หรือเสี่ยงก่ออุบัติเหตุที่เสียหาย
-
14:45 - 14:48หรือทำให้คนอื่นๆ
เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง -
14:48 - 14:51เพราะว่าเราตัดสินใจว่า
สิ่งเหล่านั้นมีผลกระทบราคาแพง -
14:51 - 14:55เป็นอันตราย และไม่ได้เป็นไป
เพื่อประโยชน์สูงสุดของเรา -
14:56 - 14:59เราได้เปลี่ยนความเคยชินของสังคม
-
14:59 - 15:03เราก็อาจจะเปลี่ยนความเคยชินของสังคม
ในเรื่องยาปฏิชีวนะได้เช่นกัน -
15:05 - 15:08ฉันรู้ว่าระดับปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ
-
15:08 - 15:10เหมือนจะท่วมท้น
-
15:10 - 15:13แต่ถ้าคุณเคยที่จะซื้อหลอดไฟฟลูออเรสเซนท์
-
15:13 - 15:16เพราะว่าคุณตระหนักถึง
การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ -
15:16 - 15:19หรืออ่านฉลากบนกล่องของขนมปังกรอบ
-
15:19 - 15:23เพราะว่าคุณคำนึงถึงการตัดไม้ทำลายป่า
เพื่อที่จะได้มาซึ่งน้ำมันปาล์ม -
15:23 - 15:26คุณรู้แล้วว่ามันรู้สึกอย่างไร
-
15:26 - 15:31ที่จะทำสิ่งเล็กๆ เพื่อที่จะจัดการ
กับปัญหาที่ยิ่งใหญ่ -
15:32 - 15:36คุณอาจทำสิ่งที่เป็นก้าวเล็กๆ แบบนี้
กับยาปฏิชีวนะได้เช่นกัน -
15:36 - 15:44เราสามารถที่จะงดให้ยาปฏิชีวนะ
ถ้าเราไม่มั่นใจว่าเป็นยาที่ถูกต้อง -
15:44 - 15:51เราสามารถที่จะหยุดยืนกรานเอาใบสั่งยา
สำหรับยาแก้การติดเชื้อในหูสำหรับลูกเรา -
15:51 - 15:52ก่อนที่เราจะแน่ใจว่ามันเกิดจากอะไร
-
15:54 - 15:57เราสามารถที่จะถามร้านอาหารทุกร้าน
-
15:57 - 15:59ถามซุปเปอร์มาร์เก็ตทุกแห่ง
-
15:59 - 16:00ว่าเนื้อที่ขายเอามาจากไหน
-
16:01 - 16:03เราอาจให้สัญญากันและกันได้
-
16:03 - 16:07ว่าจะไม่ซื้อไก่ หรือกุ้ง หรือผลไม้
-
16:07 - 16:10ที่ใช้ยาปฏิชีวนะในกระบวนการผลิตเป็นปกติ
-
16:10 - 16:12และถ้าเราทำสิ่งเหล่านี้
-
16:12 - 16:17เราก็จะสามารถชะลอการมาถึง
ของโลกหลังยุคยาปฏิชีวนะได้ -
16:18 - 16:22แต่เราต้องจัดการมันให้เร็วที่สุด
-
16:22 - 16:26เพนิซิลลิน เป็นจุดเริ่มต้นของยุคยาปฏิชีวนะ
ในปี ค.ศ. 1947 -
16:26 - 16:32ในเวลาเพียง 70 ปี
เราได้เดินขึ้นไปถึงขอบความหายนะ -
16:32 - 16:35เราคงไม่ได้มี 70 ปี
-
16:35 - 16:38เอาไว้เดินย้อนกลับไป
เพื่อหาทางออกให้ได้อีกครั้ง -
16:39 - 16:40ขอบคุณมากค่ะ
-
16:41 - 16:47(เสียงปรบมือ)
- Title:
- เราจะทำอย่างไรเมื่อยาปฏิชีวนะไม่ได้ผลอีกแล้ว
- Speaker:
- มาริน แม็คเคนนา (Maryn McKenna)
- Description:
-
เพนิซิลินเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่าง การติดเชื้อที่เมื่อก่อนเคยเป็นอันตรายถึงชีวิต ถูกรักษาให้หายได้อย่างรวดเร็ว แต่ในขณะที่มาริน แม็คเคนนาแบ่งปันเรื่องราวในการบรรยายที่จริงจังนี้ พวกเราได้ใช้คุณประโยชน์ที่เราได้รับจากเพนนิซิลินและยาปฏิชีวนะอื่นๆ ที่ค้นพบหลังจากนั้นกันอย่างสุรุ่ยสุร่าย เมื่อแบคทีเรียดื้อยา หมายถึงเรากำลังเข้าสู่โลกยุคหลังยาปฏิชีวนะ -- และมันคงเป็นโลกที่ไม่สวยแน่ อย่างไรก็ดี ยังมีบางสิ่งที่เราสามารถทำได้ ... ถ้าเราเริ่มต้นกันตอนนี้
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 16:59
![]() |
Thipnapa Huansuriya approved Thai subtitles for What do we do when antibiotics don't work any more? | |
![]() |
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for What do we do when antibiotics don't work any more? | |
![]() |
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for What do we do when antibiotics don't work any more? | |
![]() |
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for What do we do when antibiotics don't work any more? | |
![]() |
Retired user accepted Thai subtitles for What do we do when antibiotics don't work any more? | |
![]() |
Retired user edited Thai subtitles for What do we do when antibiotics don't work any more? | |
![]() |
Retired user edited Thai subtitles for What do we do when antibiotics don't work any more? | |
![]() |
Retired user edited Thai subtitles for What do we do when antibiotics don't work any more? |