สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการปรับแต่งจีโนม CRISPR
-
0:01 - 0:03มีใครเคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่อง CRISPR บ้างคะ
-
0:04 - 0:06ฉันคงจะตกใจถ้าคุณไม่เคยได้ยินมาก่อน
-
0:07 - 0:10มันเป็นเทคโนโลยี
มันมีไว้สำหรับการปรับแต่งจีโนม -
0:10 - 0:13และมันยังมีประโยชน์ที่หลากหลาย
และยังทำให้เกิดความโต้แย้งมากมาย -
0:13 - 0:16และมันก่อให้เกิด
การสนทนาที่น่าสนใจทั้งหลาย -
0:17 - 0:19เราควรที่จะนำแมมมอธขนดกกลับมาหรือไม่
-
0:19 - 0:22เราควรที่จะปรับแต่ง
ตัวอ่อนของมนุษย์หรือเปล่า -
0:22 - 0:24และที่ส่วนตัวฉันชอบก็คือ
-
0:25 - 0:29เราจะตัดสินใจกำจัดสายพันธุ์
-
0:29 - 0:31ที่เราคิดว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์
ให้หมดไปจากโลกของเรา -
0:31 - 0:32ได้อย่างไร
-
0:32 - 0:34โดยใช้เทคโนโลยีนี้
-
0:35 - 0:38นี่เป็นประเภทของวิทยาศาสตร์
ที่กำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว -
0:38 - 0:41ไปเร็วเสียยิ่งกว่ากลไกที่ใช้ควบคุมมัน
-
0:41 - 0:43และดังนั้น ในหกปีที่ผ่านมา
-
0:43 - 0:45ฉันได้ปฏิบัติภาระกิจ
-
0:46 - 0:49ในการสร้างความมั่นใจว่า
จะทำให้ผู้คนมากที่สุด -
0:49 - 0:52เข้าใจเทคโนโลยีประเภทนี้
และการนำมันไปประยุกต์ใช้ -
0:52 - 0:57ทีนี้ CRISPR ได้เป็นประเด็น
ในการโฆษณาทางสื่อมากมาย -
0:57 - 1:01และคำที่ถูกใช้บ่อยที่สุดก็คือ
"ถูก" และ "ง่าย" -
1:02 - 1:05ฉะนั้น สิ่งที่ฉันอยากทำก็คือ
เจาะลึกลงไปสักหน่อยในประเด็นนี้ -
1:06 - 1:10และพิจารณาเรื่องลือเหล่านี้
และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ CRISPR -
1:11 - 1:13ถ้าคุณพยายามใช้เทคนิค CRISPR กับจีโนม
-
1:14 - 1:16สิ่งแรกเลยที่คุณจะต้องทำก็คือ
ทำลายดีเอ็นเอ -
1:17 - 1:20ความเสียหายนั้น มาในรูปแบบ
ของการแยกสายคู่ -
1:20 - 1:22ของเกลียวคู่ของดีเอ็นเอ
-
1:22 - 1:25และจากนั้น กระบวนการซ่อมแซมระดับเซลล์
ก็จะเข้ามา -
1:25 - 1:28และจากนั้น เราก็จะหวังว่า
กระบวนการซ่อมแซมเหล่านั้น -
1:28 - 1:30ก็ทำการแก้ไขในแบบที่เราต้องการ
-
1:30 - 1:32ไม่ใช่การปรับแต่งตามธรรมชาติ
-
1:32 - 1:33และนั่นก็คือการทำงานของมัน
-
1:34 - 1:36มันเป็นระบบที่มีอยู่สองส่วน
-
1:36 - 1:39คุณมีโปรตีน Cas9
และสิ่งที่เรียกว่าอาร์เอ็นเอตัวนำ (Guide RNA) -
1:39 - 1:42ฉันอยากใหัคุณจินตนาการว่า
มันเป็นเหมือนจรวดนำวิถี -
1:42 - 1:44ฉะนั้น Cas9 --
ฉันชอบที่จะเปรียบเปรยนะคะ -
1:44 - 1:47ฉะนั้น Cas9 จะเหมือนกับแพ็ก-แมน (Pac-Man)
-
1:47 - 1:49ที่อยากจะกินดีเอ็นเอ
-
1:49 - 1:53และอาร์เอ็นเอตัวนำก็เป็นแส้
ที่ค่อยไล่มันออกไปจากจีโนม -
1:53 - 1:56จนกระทั่งมันพบกับจุดจำเพาะ
ที่เข้ากันได้ -
1:57 - 2:00และการรวมกันของสองสิ่งนี้
เรียกว่า CRISPR -
2:00 - 2:01มันเป็นระบบที่เราขโมย
-
2:01 - 2:04มาจากระบบภูมิคุ้มกันโบร่ำโบราณ
ของแบคทีเรีย -
2:05 - 2:09ส่วนที่ทำให้มันน่าสนใจก็คือ
อาร์เอ็นเอตัวนำนั้น -
2:10 - 2:12มีตัวอักษรเพียง 20 ตัว
-
2:12 - 2:14และนั่นก็เป็นเป้าหมายของระบบ
-
2:15 - 2:17มันถูกออกแบบได้ง่ายมาก
-
2:17 - 2:19และยังซื้อมาได้ในราคาที่ไม่แพงอีกด้วย
-
2:19 - 2:23ฉะนั้น นั้นเป็นส่วนที่เป็นตัวควบคุม
ในระบบนี้ -
2:23 - 2:25สิ่งอื่น ๆ นอกจากนี้จะคงเดิม
-
2:25 - 2:29นั่นทำให้มันเป็นระบบที่ช่างง่ายดาย
และทรงพลังอย่างยิ่ง -
2:30 - 2:34อาร์เอ็นเอตัวนำและ Cas9
โปรตีนประกอบเข้าด้วยกัน -
2:34 - 2:36กระโดดด้วยกันไปตามจีโนม
-
2:36 - 2:40และเมื่อมันพบกับจุดที่เข้ากันได้
กับอาร์เอ็นเอตัวนำ -
2:40 - 2:43มันก็จะสอดเข้าไประหว่าง
สองสายเกลียวคู่ของดีเอ็นเอ -
2:43 - 2:44และแยกมันออกจากกัน
-
2:45 - 2:47นั่นกระตุ้นให้โปรตีน Cas9 ตัด
-
2:48 - 2:49และทันใดนั้นเอง
-
2:50 - 2:52คุณก็จะได้เซลล์ที่ตกอกตกใจสุดขีด
-
2:52 - 2:54เพราะว่าตอนนี้ดีเอ็นเอของมันขาด
-
2:55 - 2:56จะทำอย่างไรกันดีล่ะนี่
-
2:56 - 2:59มันเรียกผู้ตอบสนองแรกของมันมา
-
2:59 - 3:02มันมีวิถีการซ่อมแซมอยู่สองวิธีหลัก
-
3:02 - 3:07แบบแรกคือการนำดีเอ็นเอมา
และปะมันกลับเข้าไปอยู่ด้วยกันอย่างเดิม -
3:07 - 3:09ระบบนี้ไม่ค่อยจะมีประสิทธิภาพเท่าไร
-
3:09 - 3:12เพราะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
บางครั้ง มีเบสที่ขาดหายไป -
3:12 - 3:13หรือมีเบสที่ถูกเติมเข้ามา
-
3:13 - 3:17มันเป็นวิธีทีใช้ได้ดี
ตัวอย่างเช่น กับการน๊อคเอ้าท์ยีน -
3:17 - 3:20แต่มันไม่ใช่วิธีที่เราต้องการจริง ๆ
-
3:20 - 3:23แบบที่สองของวิถีการซ่อมแซมนั้น
น่าสนใจมากกว่ามาก -
3:23 - 3:25ในวิถีการซ่อมแซมนี้
-
3:25 - 3:27มันใช้ชิ้นส่วนของดีเอ็นเอ
ที่เป็นโฮโมโลกัสกัน -
3:27 - 3:30และในสิ่งมีชีวิตรูปแบบดิพลอย
อย่างเช่นมนุษย์ -
3:30 - 3:34เรามีจีโนมอยู่หนึ่งชุดจากพ่อ
และอีกชุดหนึ่งจากแม่ -
3:34 - 3:36ฉะนั้น ถ้าชุดหนึ่งได้รับความเสียหาย
-
3:36 - 3:38มันสามารถใช้โครโมโซมอีกอันหนึ่ง
ในการซ่อมแซมมัน -
3:38 - 3:40ฉะนั้น นี่เป็นที่มาของมัน
-
3:41 - 3:42การซ่อมแซมเกิดขึ้น
-
3:42 - 3:44และตอนนี้ จีโนมก็ปลอดภัยอีกครั้ง
-
3:45 - 3:46วิธีการที่เราจะสามารถฉวยมาใช้ได้
-
3:46 - 3:50ก็คือ เราสามารถป้อนชิ้นส่วนปลอม ๆ
ของดีเอ็นเอให้กับมัน -
3:50 - 3:52ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่เป็นโฮโมโลกัสกัน
ในทั้งสองปลาย -
3:52 - 3:54แต่แตกต่างกันในส่วนตรงกลาง
-
3:54 - 3:57ฉะนั้นตอนนี้ คุณสามารถนำเอา
สิ่งใดก็ตามที่คุณต้องการ มาไว้ที่ตรงกลาง -
3:57 - 3:58และเซลล์ก็จะถูกหลอก
-
3:58 - 4:00ฉะนั้น คุณจึงสามารถเปลี่ยนตัวอักษร
-
4:00 - 4:02คุณสามารถที่จะนำมันออกก็ได้
-
4:02 - 4:05แต่ที่สำคัญทีสุด
คุณสามารถยัดดีเอ็นเอใหม่เข้าไปได้ -
4:05 - 4:06เหมือนกับม้าไม้เมืองทรอย
-
4:07 - 4:09CRISPR จะต้องเจ๋งอย่างแน่นอน
-
4:09 - 4:13ในเรื่องของความก้าวหน้า
ทางวิทยาศาสตร์มากมาย -
4:13 - 4:15ที่มันจะทำให้เกิดขึ้น
-
4:15 - 4:18สิ่งที่พิเศษสำหรับมันก็คือ
ระบบการควบคุมเป้าหมายนี้ -
4:18 - 4:22ฉันหมายถึง เราได้ปะดีเอ็นเอเข้าไป
ในสิ่งมีชีวิตมาตั้งนานแล้ว ใช่ไหมคะ -
4:22 - 4:24แต่เพราะว่าระบบเป้าหมายการควบคุม
-
4:24 - 4:26เราสามารถนำมันเข้าไปได้
ในจุดที่เราต้องการจริง ๆ -
4:27 - 4:33ประเด็นก็คือ มีการพูดคุยกันมาก
ว่ามันมีราคาถูก -
4:33 - 4:35และทำได้ง่ายดาย
-
4:35 - 4:38และฉันเป็นผู้ดูแลสมาคมห้องทดลอง
-
4:38 - 4:42ฉันก็เริ่มที่จะได้อีเมลจากผู้คน
ที่บอกกับเราว่า -
4:42 - 4:44"นี่ ๆ ขอฉันไปงานเปิดบ้านคืนนี้ได้ไหม
-
4:44 - 4:48และแบบว่า ขอยืมใช้ CRISPR
เพื่อวิศวกรรมจีโนมฉันสักหน่อยสิ" -
4:48 - 4:49(เสียงหัวเราะ)
-
4:49 - 4:51คือ เอาจริง ๆ นะ
-
4:51 - 4:53ฉันแบบว่า "ไม่ได้ ทำแบบนั้นไม่ได้ค่ะ"
-
4:53 - 4:54(เสียงหัวเราะ)
-
4:54 - 4:57"แต่ฉันได้ยินมาว่ามันถูกนี่นา
แล้วก็ได้ยินมาว่ามันง่ายด้วย" -
4:57 - 4:59เราลองจะมาสำรวจ
เรื่องนี้กันสักหน่อย -
4:59 - 5:01มันถูกแค่ไหนกันนะ
-
5:01 - 5:03ค่ะ มันถูกเมื่อเราเปรียบเทียบ
มันกับอย่างอื่น -
5:04 - 5:07ค่าใช้จ่ายสำหรับวัสดุในการทดลอง
ก็อยู่ที่ระดับมาตราฐาน -
5:07 - 5:10ประมาณหลักร้อยดอลลาร์
ถึงหลักพันดอลลาร์ -
5:10 - 5:12และมันก็ช่วยประหยัดเวลามากเช่นกัน
-
5:12 - 5:14มันสามารถประหยัดเวลาหลายสัปดาห์
ลดลงมาอยู่ที่ไม่กี่วัน -
5:14 - 5:16นั่นมันก็ดีค่ะ
-
5:16 - 5:18คุณยุ่งต้องการผู้เชี่ยวชาญในห้องทดลอง
ในการทำงานนี้ -
5:18 - 5:22คุณคงจะทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้
นอกห้องทดลองมืออาชีพ -
5:22 - 5:24ฉันหมายถึง อย่าไปเชื่อใครก็ตามที่บอกว่า
-
5:24 - 5:27คุณสามารถทำอะไรพวกนี้ได้
ในห้องครัวของตัวเอง -
5:27 - 5:32มันไม่ได้ง่ายดายขนาดนั้น
-
5:32 - 5:34นี่ยังไม่รวมถีง
เรื่องสงครามสิทธิบัตรที่ยังไม่จบอีก -
5:34 - 5:36ฉะนั้น แม้ว่าคุณจะประดิษฐ์อะไรขึ้นมาได้
-
5:36 - 5:43สถาบันบอร์ด และยูซี เบิร์คลีย์
กำลังสู้กันเรื่องสิทธิบัตรอยู่ -
5:43 - 5:45มันน่าสนใจมากที่เราเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นนี้
-
5:45 - 5:48เพราะว่าพวกเขากล่าวหากันและกัน
ในเรื่องการกล่าวอ้างที่หลอกลวง -
5:48 - 5:50และจากนั้น ก็มีคนออกมาบอกว่า
-
5:50 - 5:53"ก็ ฉันเซ็นต์ชื่อของฉันไว้
ในสมุดบันทึกตรงนั้นตรงนี้" -
5:53 - 5:55มันยังคงไม่จบสิ้นในเร็ว ๆ นี้
-
5:55 - 5:56และเมื่อมันเป็นเช่นนี้
-
5:56 - 6:00คุณรู้เลยว่า จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม
อนุญาตใช้สิทธิจำนวนมหาศาล -
6:00 - 6:01เพื่อที่จะได้ใช้สิ่งนี้
-
6:01 - 6:03ฉะนั้น มันถูกจริง ๆ หรือ
-
6:03 - 6:08ค่ะ มันถูก ถ้าคุณกำลังทำงานวิจัยพื้นฐาน
และคุณมีห้องทดลอง -
6:09 - 6:11แล้วความสะดวกง่ายดายล่ะ
ลองมาดูสิ่งที่เขากล่าวอ้างนี้กัน -
6:12 - 6:15ปิศาจซ่อนอยู่ในรายละเอียดค่ะ
-
6:16 - 6:19เราไม่รู้เรื่องเซลล์มากจริง ๆ
-
6:19 - 6:21พวกมันเป็นเหมือนกล่องปริศนา
-
6:21 - 6:26ยกตัวอย่างเช่น เราไม่รู้ว่า
ทำไมอาร์เอ็นเอตัวนำบางตัวถึงทำงานดี -
6:26 - 6:28และบางตัวทำงานไม่ดี
-
6:28 - 6:31เราไม่รู้ว่าทำไมบางเซลล์
ทำไมถึงใช้วิถีการซ่อมแซมแบบหนึ่ง -
6:31 - 6:34และบางเซลล์ก็ใช้วิธีอื่น
-
6:34 - 6:36นอกจากนั้น
-
6:36 - 6:38นั่นแหละคือปัญหา
ของการนำระบบเข้าไปในเซลล์ -
6:38 - 6:40ในตอนแรก
-
6:40 - 6:42ในจานทดลอง มันไม่ยากเท่าไรหรอก
-
6:42 - 6:44แต่ถ้าคุณพยายามใช้มันกับสิ่งมีชีวิต
-
6:44 - 6:46มันค่อนข้างที่จะซับซ้อน
-
6:46 - 6:49มันโอเคถ้าคุณใช้อะไรบางอย่าง
เช่น เลือด หรือไขกระดูก -
6:49 - 6:52สิ่งเหล่านี้เป็นเป้าหมาย
ของงานวิจัยมากมายในปัจจุบัน -
6:52 - 6:54มีเรื่องราวดี ๆ ของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง
-
6:54 - 6:56ที่ได้รับการรักษาจากโรคลิวคีเมีย
-
6:56 - 6:58โดยการนำเลือดออกมา แก้ไขมัน
และนำมันกลับไป -
6:58 - 7:00ด้วยสารตั้งต้นของ CRISPR
-
7:01 - 7:04และนี่เป็นแนวทางการวิจัย
ที่คนกำลังทำกัน -
7:04 - 7:06แต่ตอนนี้ ถ้าคุณอยากจะนำมันเข้าไปในร่างกาย
-
7:06 - 7:08คุณอาจต้องใช้ไวรัส
-
7:08 - 7:11ฉะนั้น คุณต้องนำไวรัสมา
นำ CRISPR เข้าไปในนั้น -
7:11 - 7:13และให้ไวรัสบุกเข้าไปในเซลล์
-
7:13 - 7:15แต่ตอนนี้ คุณมีไวรัสอยู่ข้างในนั้น
-
7:15 - 7:17และไม่รู้ว่าผลในระยะยาวจะเป็นเช่นไร
-
7:17 - 7:20นอกจากนั้น CRISPR
ยังมีผลนอกเป้าหมายอีกด้วย -
7:20 - 7:23ในระดับที่ต่ำมาก ๆ แต่มันก็ยังมี
-
7:23 - 7:26มันจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
-
7:26 - 7:28นี่ไม่ใช่คำถามเล็ก ๆ
-
7:28 - 7:31มีนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังพยายามหาคำตอบ
-
7:31 - 7:33และหวังว่าพวกเขาก็กำลังที่จะได้คำตอบ
-
7:33 - 7:37แต่มันไม่ใช่อะไรที่แกะซองแล้วใช้ได้เลย
-
7:37 - 7:39แล้วมันง่ายจริง ๆ หรือ
-
7:39 - 7:43ค่ะ ถ้าคุณใช้เวลาสองสามปี
ทำงานอยู่ในวงการนี้ล่ะก็ -
7:43 - 7:45ค่ะ มันไม่ยากหรอก
-
7:45 - 7:48ทีนี้ อีกอย่างก็คือ
-
7:48 - 7:54เราไม่รู้จริง ๆ ว่าจะทำสิ่งเหล่านั้น
ให้เกิดขึ้นจริง ๆ ได้อย่างไร -
7:54 - 7:57โดยการเปลี่ยนแค่บางจุดของจีโนม
-
7:57 - 7:59เรายังห่างจากการค้นพบ
-
7:59 - 8:02ว่าจะทำให้หมูมีปีกได้อย่างไร
-
8:02 - 8:05หรือแม้แต่จะทำให้มีขาเพิ่มขึ้นอีกข้าง
ฉันจะหยุดอยู่แค่นี้แล้วกัน -
8:05 - 8:07นั่นคงจะเจ๋งใช่ไหมคะ
-
8:07 - 8:08แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
-
8:08 - 8:13CRISPR กำลังถูกใช้
โดยนักวิทยาศาสตร์หลายพัน -
8:13 - 8:15เพื่อใช้ทำงานที่สำคัญมาก ๆ
-
8:15 - 8:21เช่นสร้างสัตว์ทดลองที่ดีขึ้นกว่าเดิม
-
8:21 - 8:26หรือการนำวิถีที่ผลิตสารเคมีที่มีประโยชน์
-
8:26 - 8:30ไปใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรม
ในถังหมัก -
8:30 - 8:33หรือแม้แต่ใช้ในงานวิจัยพื้นฐาน
ว่ายีนต่าง ๆ ทำงานอย่างไร -
8:34 - 8:37นี่คือเรื่องราวของ CRISPR
ที่เราควรจะเล่าต่อ -
8:37 - 8:40และฉันไม่ชอบเลย
ที่ความใหม่ของมัน -
8:40 - 8:42จะบดบังสำคัญเหล่านี้
-
8:42 - 8:47นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาวิจัย
เพื่อทำให้ CRISPR นำไปใช้งานได้จริง -
8:47 - 8:48และสิ่งที่ฉันสนใจก็คือ
-
8:48 - 8:53นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้
กำลังได้รับความช่วยเหลือจากสังคมของพวกเรา -
8:53 - 8:55ลองนึกดูสิคะ
-
8:55 - 8:59เรามีโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้คนบางส่วน
-
8:59 - 9:02สามารถใช้เวลาทั้งหมดของพวกเขา
ทำงานวิจัยได้ -
9:03 - 9:06นั่นทำให้พวกเราทุกคน คือผู้ประดิษฐ์ CRISPR
-
9:07 - 9:11และฉันควรที่จะบอกว่า
นั่นทำให้เราทุกคนเป็นผู้ชี้นำ CRISPR -
9:11 - 9:13เราทุกคนมีส่วนรับผิดชอบ
-
9:14 - 9:18ฉะนั้นฉันอยากจะเชิญชวนให้พวกคุณ
เรียนรู้จริง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีจำพวกนี้ -
9:18 - 9:20เพราะว่า จริง ๆ แล้ว นี่เป็นเพียงหนทางเดียว
-
9:20 - 9:25ที่เราจะสามารถชี้นำ
การพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ -
9:25 - 9:27การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้
-
9:27 - 9:31และมั่นใจได้ว่า ท้ายที่สุดแล้ว
มันจะให้ผลลัพธ์ในทางที่ดี -
9:31 - 9:34สำหรับทั้งโลกของเราและสำหรับเรา
-
9:35 - 9:36ขอบคุณค่ะ
-
9:36 - 9:40(เสียงปรบมือ)
- Title:
- สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการปรับแต่งจีโนม CRISPR
- Speaker:
- เอลเลน ยอร์เกนเซน (Ellen Jorgensen)
- Description:
-
เราควรที่จะนำแมมมอธขนดกกลับมาหรือเปล่า หรือปรับแต่งตัวอ่อนมนุษย์ หรือกำจัดสายพันธุ์ที่เราคิดว่าเป็นอันตรายออกไปเสียให้หมด เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมที่เรียกว่า CRISPR ได้ก่อให้เกิดคำถามที่ไม่ธรรมดาอย่างเช่น มันถูกตามธรรมนองคลองธรรมหรือเปล่า -- แล้วมันจะเป็นไปได้อย่างไรในทางปฏิบัติ นักวิทยาศาสตร์และผู้แทนสมาคมห้องทดลอง เอลเลน ยอร์เกนเซน กำลังทำภาระกิจในการอธิบายปริศนาและความจริงของ CRISPR แบบไร้ซึ่งการโฆษณาเชิญชวน ให้กับคนทั่วไปที่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์อย่างพวกเรา
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 09:53
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What you need to know about CRISPR | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for What you need to know about CRISPR | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What you need to know about CRISPR | |
![]() |
Chanchai Tasujai accepted Thai subtitles for What you need to know about CRISPR | |
![]() |
Chanchai Tasujai edited Thai subtitles for What you need to know about CRISPR | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What you need to know about CRISPR | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What you need to know about CRISPR | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What you need to know about CRISPR |