-
[เสียงอุปกรณ์ถูกลับ]
-
["แจ็ก วิตเท็น: ชีวิตศิลปิน"]
-
ตอนนี้ผมพบว่าผมวาดภาพในแบบที่ไม่ต้องใช้มือ
-
เจ้านี่เป็นจานสีรุ่นดัดแปลง
-
โอเค
-
เกือบจะพร้อมแล้ว
-
มีเรื่องราวในงานแต่ละชิ้น...
-
หลอมรวมอยู่ข้างใน...
-
เพราะมันมีอะไรมากมายเกี่ยวข้อง
กับสิ่งที่เกิดขึ้นในเทคโนโลยีสมัยใหม่
-
เช่นหน่วยความจำของข้อมูล ในชิ้นส่วนเล็กๆ
-
อะไรแบบนั้น
-
ผมสร้างทุกอย่างที่ผมอยากสร้างได้
-
ผมไม่ใช่นักวาดภาพอธิบายเรื่องราว
-
ผมไม่สื่อแนวคิด
หรือวาดภาพที่จะสื่อถึงแนวคิด
-
ผมไม่ทำแบบนั้น
-
มันเป็นเรื่องของภาพวาดที่มีความเป็นวัตถุ
-
ผมโตมาในเมืองเบสเซเมอร์ แอละแบมา
-
มีการแบ่งแยกทุกอย่าง ทั้งการคมนาคม รถเมล์
-
อย่างที่ผมเรียกว่าระบอบเหยียดผิวในอเมริกา
-
ผมทำงานศิลป์มาตลอด วาดภาพมาตั้งแต่ยังเด็ก
-
แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน
-
โดยทฤษฎีก็คือ จะวาดเป็นงานอดิเรกก็ดี
แต่มันทำเงินไม่ได้
-
ผมยังโชคดีที่เรียนมาได้เกรดไม่แย่
-
ผมไปทัสเคจี
-
ด้วยความคิดที่ว่าจะเป็นแพทย์
และนักบิน ในกองทัพอากาศสหรัฐฯ
-
แต่มีความคิดฝังหัวผมอยู่ตลอด
ว่าผมเป็นศิลปิน
-
เป็นสิ่งที่ผมอยากจะทำ ผมอยากทำงานศิลป์
-
ทัสเคจีไม่มีศิลปะให้เรียน
-
ผมเลยออกจากทัสเคจี
ไปเรียนศิลปะที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์น
-
มันก็เป็นไปได้ดีอยู่ช่วงหนึ่ง
-
แต่ผมไปมีส่วนร่วมในการประท้วงทางการเมือง
-
เราจัดเดินขบวนสิทธิพลเมืองครั้งใหญ่
-
เริ่มจากตัวเมืองบาตองรูจ
ไปจนถึงอาคารสำนักงานรัฐ
-
สิ่งที่ผมได้จากการเดินขบวนครั้งนั้น
ทำให้ผมก้าวออกจากชีวิตทางใต้
-
หลังการเดินขบวนครั้งนั้น
ซึ่งมันจบด้วยความรุนแรงและโหดร้าย
-
เรื่องการเมืองนั้นเปลี่ยนตัวตนผมอย่างภาวร
-
ฤดูใบไม้ร่วงปี 1960
ผมนั่งเกรย์ฮาวด์บัสไปนิวออร์ลีนส์
-
ไปสอบเข้าวิทยาลัยคูเปอร์ยูเนียน
-
แล้วก็เข้าได้
-
ผมเรียนวาดภาพศิลป์
-
ซึ่งเป็นเรื่องดี แถมไม่มีค่าใช้จ่าย
-
พอผมมาที่นิวยอร์ก คนแรกๆ ที่ผมเจอคือ
-
โรมารี แบร์เดน
-
นอร์แมน ลิวอิส
-
และเจคอบ ลอว์เรนซ์
-
และในนิวยอร์กซิตี้ปี 1960
วงการศิลปะกำลังเปิดกว้าง
-
ขนาด บิล เดอ โกนิง ยังมาคุยกับคุณ!
-
ผมมีบทสนทนา ที่ผมเรียกว่า
ด้านทั้งสองของเส้นกั้น
-
ผมไม่สร้างความต่างระหว่างขาวกับดำ
หรืออะไรก็ตาม
-
ผมไม่ทำแบบนั้น
-
ถ้าหากว่ามีข้อมูล และสัญชาตญาณผมมันบอก
-
"ไอ้หนู นายต้องไปเจอคนคนนั้น"
-
"ต้องไปดูว่าเขาทำอะไร"
"นายต้องเข้าใจสิ่งเหล่านี้"...
-
ผมก็จะไป
-
ศิลปินวัยรุ่นควรต้องมีอะไรมากระตุ้น
-
แรงจูงใจแรกของผมก็คือ อาร์ชิลี กอร์กี
-
ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด
-
นั่นเป็นแรงจูงใจแรกของผม
-
ศิลปะเหนือจริงในยุคแรกๆ
-
ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม
-
จนกระทั่งปลายยุค 60
ที่ผมสร้างความต่างอย่างสิ้นเชิง
-
ไปทางศิลปะเชิงแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับ
ภาพวาดที่มีความเป็นวัตถุ
-
ผมเลิกใช้สีสันต่างๆ
-
เปลี่ยนไปใช้สีอะคริลิก
-
เปลี่ยนโครงสร้างสตูดิโอ
-
ปรับโครงสร้างความคิดเรื่องการวาดภาพ
-
ผมสร้างอุปกรณ์
-
ที่ผมเรียกว่า "ตัวพัฒนา"
-
ด้วยอุปกรณ์นั้น
-
ผมสามารถลากสีอะคริลิกปริมาณมาก บนผ้าใบได้
-
ผมเรียกการวาดแบบนี้ว่า "Slab"
เอส-แอล-เอ-บี
-
มันกลายเป็นแผ่นหนาๆ
-
ผมอยากสร้างภาพเป็นโครงร่างเดียว
-
แสดงออกเพียงอย่างเดียว สามวินาที
-
ผมถึงได้สร้างอุปกรณ์ใหญ่ๆ นั้น
-
ผมใช้เวลาสิบปีบนกระดานวาดภาพอันนั้น
-
ก้มๆ เงยๆ อยู่สิบปี
-
ไม่เอาแล้ว
-
ถึงเวลาที่ร่างกายมันไม่รับการทารุณแบบนั้น
-
มันเป็นการทารุณกรรม
-
"Slab" เป็นสิ่งที่ทำให้ผมได้รู้จักเทสซาแร
-
เป็นชิ้นอะคริลิกที่ถูกตัด
ออกจากแผ่นอะคริลิกแผ่นหนา
-
แน่นอน สิ่งที่ผมสนใจคือ
จะทำให้มันหักเหแสงยังไง
-
ด้วยพื้นผิวพวกนี้
ขึ้นอยู่กับว่าผมวางมันแบบไหน
-
ผมก็หักเหแสงได้
-
เห็นไหมว่ามันเปลี่ยนแปลงยังไง
-
ภาพวาดนั้นเกิดจากความเจ็บปวดแสนสาหัส
-
ผมเริ่มวาดภาพนั้น จากนั้นก็ป่วยหนัก
-
ผมต้องเข้าโรงพยาบาลอยู่เดือนหนึ่ง
-
มันทำผมล้มทั้งยืน
-
และภาพนั้นเหมือนเป็นการโต้กลับของผม
-
[หัวเราะ]
-
ผมไม่มีวันให้เรื่องนี้มาทำให้ถอดใจ
เข้าใจไหม
-
มันเป็นหนึ่งในงาน "Black Monolith"
-
ชื่อว่า
"Six Kinky Strings: For Chuck Berry"
-
ชื่อนั้นมาจากความที่ว่า
-
ชัค เบอร์รี ชอบทำอะไรประหลาดๆ
ใครก็ตามที่รู้จักบุคลิกของเขาจะเข้าใจ
-
ส่วน "Black Monolith"
เป็นชุดของภาพวาดที่ผมทำมาหลายปี
-
เริ่มที่ต้นยุค 80
-
มีคนผิวดำคนหนึ่ง ที่ทำอะไรเพื่อสังคมมากมาย
-
ผมเลยสร้างงานของผม
เพื่อเป็นการระลึกถึงคนเหล่านั้น
-
และผมพบว่าในแต่ละงาน
ผมต้องใส่ความเป็นแต่ละคนเข้าไป
-
คนคนนั้นกลายเป็นสัญลักษณ์
-
ซึ่งผมนำมาสร้างเป็นภาพวาด
-
ผมอยากเป็นที่จดจำในฐานะคนธรรมดา
-
ที่มีชีวิตอยู่กับตัวเองซะส่วนใหญ่
-
[หัวเราะ]
-
เป็นคนทำงานที่อุทิศตน แต่ยิ่งไปกว่านั้น...
-
ครั้งนึง เคาท์ เบซี ก็โดนถามแบบนั้น
-
เขาบอกว่า "เขาอยาก
เป็นเหมือนเด็กชายคนหนึ่ง"
-
มันมีความถ่อมตัวอยู่ในนั้น
ซึ่งผมนับถือมาตลอด
-
ไม่มีอะไรใหญ่โต ก็แค่เด็กผู้ชายคนหนึ่ง
-
ผมชอบนะ
-
["Quantum Wall, VIII (แด่ อาร์ชิลี กอร์กี,
รักแรกของผมกับภาพวาด)"]
-
[ด้วยความระลึกถึง
แจ็ก วิตเท็น (1939–2018)]