Return to Video

ครีมกันแดดแบบไหนที่คุณควรจะเลือก? - แมรี่ พัฟเฟนรอธ (Mary Poffenroth)

  • 0:07 - 0:10
    ครีมกันแดดนั้นมีอยู่หลากหลายแบบ
  • 0:10 - 0:13
    ซึ่งต่างก็มีผลต่อร่างกายและ
    สิ่งแวดล้อมที่ต่างกันตามแบบของมัน
  • 0:13 - 0:15
    ด้วยตัวเลือกที่มากมายเหล่านี้
  • 0:15 - 0:18
    คุณจะสามารถเลือกครีมกันแดด
    ที่ดีที่สุดต่อคุณได้อย่างไร
  • 0:18 - 0:19
    การจะตอบคำถามนี้
  • 0:19 - 0:22
    อันดับแรกเราจะต้องเข้าใจก่อนว่า
    ครีมกันแดดมีการทำงานอย่างไร
  • 0:22 - 0:26
    แสงแดดประกอบไปด้วย
    คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • 0:26 - 0:29
    และเป็นแหล่งปฐมภูมิของ
    รังสีอัลตราไวโอเลต
  • 0:29 - 0:34
    ที่มีลักษณะเป็นคลื่นที่สั้นกว่า
    แสงที่ตามองเห็นและนำพาพลังงานที่มากกว่า
  • 0:34 - 0:35
    ทั้ง UVA
  • 0:35 - 0:36
    UVB
  • 0:36 - 0:40
    และ UVC ที่ถูกแบ่งประเภทตาม
    ความยาวของคลื่นแต่ละชนิด
  • 0:40 - 0:45
    ความยาวคลื่นช่วงสั้น UVC
    นั้นไม่สามารถส่องมาถึงพื้นผิวโลกได้
  • 0:45 - 0:48
    แต่ UVB กับ UVA นั้นสามารถทำได้
  • 0:48 - 0:52
    ความยาวคลื่นช่วงกลาง รังสี UVB
    สามารถเข้าสู่ผิวหนังชั้นนอกได้
  • 0:52 - 0:57
    และความยาวคลื่นช่วงกลาง รังสี UVA
    สามารถทะลุผ่านเข้าสู่ผิวหนังชั้นที่ลึกกว่า
  • 0:57 - 1:01
    อันที่จริงแล้ว UVB จำนวนน้อยๆ
    ช่วยให้เราสร้างวิตามิน D
  • 1:01 - 1:05
    ซึ่งทำให้ร่างกายนำมาสร้าง
    และรักษากระดูกให้แข็งแรง
  • 1:05 - 1:09
    อย่างไรก็ดี การเผชิญกับรังสี UVA และ
    UVB เป็นระยะเวลานานจะไปทำลาย DNA
  • 1:09 - 1:11
    ทำให้ผิวของคุณแก่ลง
  • 1:11 - 1:14
    และสามารถส่งผลให้มีการพัฒนาต่อ
    ไปเป็นมะเร็งผิวหนังที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
  • 1:14 - 1:19
    ครีมกันแดดสามารถปกป้องผิวหนัง
    ทั้งแบบกายภาพโดยการช่วยเบนรังสี UV ออกไป
  • 1:19 - 1:23
    ด้วยสารป้องกันแดดอนินทรีย์ เช่น
    ซิงค์ออกไซด์ หรือไทเทเนียมไดออกไซด์
  • 1:23 - 1:28
    หรือแบบเคมีโดยใช้ส่วนประกอบหลัก
    ที่เป็นคาร์บอนในการดูดซับโฟตอนของ UV
  • 1:28 - 1:31
    ช่วยให้อุณหภูมิความร้อนกระจายออกไป
    โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย
  • 1:31 - 1:35
    เช่นนั้น จะแยกความแตกต่างของ
    ครีมกันแดดได้อย่างไร
  • 1:35 - 1:36
    เมื่อเราเลือกครีมกันแดด
  • 1:36 - 1:39
    เราสามารถเปรียบเทียบวิธีการใช้งาน
  • 1:39 - 1:40
    ค่า SPF
  • 1:40 - 1:41
    และสารออกฤทธิ์
  • 1:41 - 1:44
    สเปรย์สามารถใช้งานได้ง่าย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่คุณเปียก
  • 1:44 - 1:48
    แต่จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่า
    คนส่วนใหญ่ฉีดไม่หนาพอ
  • 1:48 - 1:49
    เพื่อที่ได้รับการป้องกันอย่างเต็มที่
  • 1:49 - 1:53
    และอาจเกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพโดย
    การสูดสารประกอบครีมกันแดดจากสเปรย์
  • 1:53 - 1:57
    ด้วยเหตุนี้อาจทำให้คุณพิจารณา
    เลือกใช้ขวดโลชั่นแทน
  • 1:57 - 2:02
    เลือกครีมกันแดดจาก SPF
    ที่อย่างน้อย 15 แม้ว่า 30 จะดีกว่า
  • 2:02 - 2:07
    ซึ่ง SPF เป็นมาตรวัดที่ไม่ได้เป็นเส้นตรง
    ของปริมาณรังสี UVB ที่จำเป็น
  • 2:07 - 2:09
    ในการป้องกันผิวไหม้
  • 2:09 - 2:14
    SPF 15 นั้นถือว่าดีใน
    การป้องกันรังสี UVB ได้ 93%
  • 2:14 - 2:17
    คุณจะถูกป้องกันเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
    เมื่อค่า SPF สูงขึ้น
  • 2:17 - 2:19
    ถ้า SPF 30 การป้องกันจะเป็น 97%
  • 2:19 - 2:22
    และถ้า 50 ก็ป้องกัน 98%
  • 2:22 - 2:25
    ค่า SPF ขึ้นอยู่กับปริมาณแสงแดดที่เราเผชิญ
  • 2:25 - 2:27
    ดังนั้นคุณมีเวลาเท่าไร
    ก่อนที่ผิวของคุณจะเริ่มไหม้
  • 2:27 - 2:30
    จริง ๆ แล้วขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมาย
  • 2:30 - 2:31
    รวมถึงยีนของคุณด้วย
  • 2:31 - 2:35
    และคุณใช้เวลากับพระอาทิตย์
    ตอนไหน ที่ใด และอย่างไร
  • 2:35 - 2:39
    แม้ว่าครีมกันแดดในตลาดอเมริกา
    ได้รับรองความปลอดภัยจากองค์การอาหารและยา
  • 2:39 - 2:42
    นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงค้นคว้าวิจัย
    ถึงผลกระทบของสารออกฤทธิ์
  • 2:42 - 2:44
    ที่มีต่อร่างกายมนุษย์
  • 2:44 - 2:46
    ถ้าหากคุณกังวลว่าจะระคายเคือง
  • 2:46 - 2:51
    ให้หาสูตรที่เป็นแร่ธาตุทางธรรมชาติ
    ที่มีซิงค์ออกไซด์หรือไทเทเนียมไดออกไซด์
  • 2:51 - 2:54
    แม้ว่าคุณอาจจะรู้สึกเหนียวในตอนแรก ๆ
  • 2:54 - 2:58
    แต่มันก็ยังมีการระคายเคืองน้อยกว่า
    ครีมกันแดดที่ประกอบด้วยคาร์บอน
  • 2:58 - 3:02
    ครีมกันแดดที่มีแร่ธาตุทางธรรมชาติเหล่านี้
    นั้นก็ดีต่อธรรมชาติด้วยเช่นกัน
  • 3:02 - 3:05
    ถ้าหากคุณวางแผนที่จะเล่นน้ำในแม่น้ำ
    หรือมหาสมุทรที่ต้องสัมผัสกับรังสี
  • 3:05 - 3:07
    พึงตระหนักว่าครีมกันแดด
    ที่มีสารประกอบของคาร์บอน
  • 3:07 - 3:10
    สามารถทำร้ายสัตว์น้ำ
  • 3:10 - 3:12
    ตัวอย่างเช่น แนวประการัง
  • 3:12 - 3:16
    แม้ว่าคุณจะอยู่ในน้ำน้อยกว่า
    1% จากพื้นผิวน้ำ
  • 3:16 - 3:20
    แต่ก็เป็นที่อยู่ของปลาเกือบ 25%
    จากสายพันธ์ุปลาทั้งหมด
  • 3:20 - 3:24
    ที่ก่อให้เกิดความหลากหลายและ
    ระบบสืบพันธ์ุในระบบนิเวศน์
  • 3:24 - 3:27
    งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารประกอบ
    ของครีมกันแดดที่เป็นคาร์บอน
  • 3:27 - 3:33
    เช่น ออกซิเบนโซน, บิวทิลพาราเบน,
    ออกทินอกเซท และโฟร์เอ็มบีซี
  • 3:33 - 3:37
    มีส่วนทำให้เกิดภาวะเครียดที่เรียกว่า
    ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวในแนวประการัง
  • 3:37 - 3:39
    ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต
  • 3:39 - 3:41
    การสัมผัสกับองค์ประกอบชีวภาพเหล่านี้
  • 3:41 - 3:45
    เป็นผลให้สาหร่ายที่อาศัยอยู่กับ
    ปะการังตายลง
  • 3:45 - 3:48
    นอกจากเป็นแหล่งอาหารที่ดีแล้ว
  • 3:48 - 3:51
    สาหร่ายเหล่านี้ทำให้ปะการังมีสีสันสดใส
  • 3:51 - 3:54
    ถ้าหากปราศจากพวกมัน
    ปะการังก็จะเปลี่ยนกลายเป็นซีดขาว
  • 3:54 - 3:57
    รวมถึงไวต่อเชื้อโรค และอาจตายได้
  • 3:57 - 3:58
    เมื่อปะการังตายลง
  • 3:58 - 4:02
    ระบบนิเวศน์แนวปะการังทั้งหมดนั้น
    ก็คงจะตามไปอีกไม่นาน
  • 4:02 - 4:06
    ตอนนี้คุณก็มีตัวเลือกสำหรับการตัดสินใจ
    เลือกซื้อครีมกันแดดในครั้งต่อไปแล้ว
  • 4:06 - 4:09
    SPF ที่เป็นป้ายที่ชัดเจนอยู่ด้านหน้า
  • 4:09 - 4:11
    ส่วนด้านหลังนั้นก็อยู่ใต้ "สารออกฤทธิ์"
  • 4:11 - 4:13
    คุณจะพบซิงค์ออกไซด์
  • 4:13 - 4:15
    ไทเทเนียมไดออกไซด์
  • 4:15 - 4:18
    และองค์ประกอบที่ทำร้ายปะการัง
    ปรากฎอยู่หรือไม่
  • 4:18 - 4:21
    หากใช้เวลาเพียงเล็กน้อย
    ตรวจสอบสักนิดจะก่อให้เกิดผลดี
  • 4:21 - 4:23
    ทั้งต่อตัวคุณและสภาพแวดล้อม
Title:
ครีมกันแดดแบบไหนที่คุณควรจะเลือก? - แมรี่ พัฟเฟนรอธ (Mary Poffenroth)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/which-sunscreen-should-you-choose-mary-poffenroth

ครีมกันแดดมีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีผลต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม ด้วยความที่มีตัวเลือกมากมายแล้วคุณจะเลือกครีมกันแดดที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้อย่างไร เพื่อตอบคำถามนี้ แมรี่ พัฟเฟนรอธ อธิบายการทำงานของครีมกันแดด และเปรียบเทียบวิธีการใช้งาน, ค่า SPF และสารออกฤทธิ์เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกซื้อสิ่งที่ดีที่สุด

บทเรียนโดย Mary Poffenroth, แอนิเมชันโดย Rob Kohr และ Travis Spangler

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:40

Thai subtitles

Revisions