Return to Video

The Internet: How Search Works

  • 0:06 - 0:11
    สวัสดีครับ ผมจอห์นผมนำทีมการค้นหา
    และการเรียนรู้ด้วยเครื่องที่ Google
  • 0:12 - 0:18
    ผมว่าการที่คนทั่วโลกเข้าหาเสิร์ชเอนจิ้น
    เพื่อถามคำถามต่าง ๆ
  • 0:18 - 0:21
    สร้างแรงบันดาลใจได้อย่างมาก
  • 0:21 - 0:25
    เราจึงมีความรับผิดชอบในการ
    หาคำตอบที่ดีที่สุดให้พวกเขา
  • 0:27 - 0:31
    สวัสดีค่ะ ฉันอัคชายา
    ทำงานกับทีมค้นหาของ Bing
  • 0:31 - 0:36
    หลายครั้งที่เราทำงานกับปัญญาประดิษฐ์
    และการเรียนรู้ของเครื่อง
  • 0:36 - 0:39
    แต่เราต้องแจ้งว่าผู้ใช้งานจะใช้ยังไง
  • 0:39 - 0:42
    เพราะเราต้องการก่อให้เกิดผลต่อสังคม
  • 0:44 - 0:46
    มาลองถามคำถามง่าย ๆ กัน
  • 0:46 - 0:48
    เดินทางไปดาวอังคาร ใช้เวลาเท่าไหร่
  • 0:50 - 0:51
    ผลลัพธ์พวกนี้มาจากไหน
  • 0:51 - 0:55
    แล้วทำไมอันนี้ปรากฎขึ้นก่อนอันอื่น
  • 0:56 - 1:00
    มาดูกันครับว่าเสิร์ชเอนจิ้นเปลี่ยนคำถาม
    ให้กลายเป็นผลลัพธ์อย่างไร
  • 1:01 - 1:03
    ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า เวลาค้นหา
  • 1:04 - 1:08
    เสิร์ชเอนจิ้นไม่ได้เข้า WWW
    เพื่อรันการค้นหาตามเวลาจริง
  • 1:08 - 1:11
    เพราะในอินเทอร์เน็ต
    มีมากกว่าพันล้านเว็บไซต์
  • 1:12 - 1:14
    และยังเกิดขึ้นอีกนาทีละหลายร้อยเว็บไซต์
  • 1:14 - 1:18
    หากเสิร์ชเอนจิ้นต้องค้นทุกเว็บไซต์
    และหาอันที่คุณต้องการ
  • 1:19 - 1:20
    ก็คงไม่มีวันหาครบ
  • 1:20 - 1:25
    การค้นหาให้เร็วขึ้นนั้น
    เสิร์ชเอนจิ้นจะสแกนเว็บล่วงหน้าให้
  • 1:25 - 1:28
    และบันทึกข้อมูลที่อาจช่วยคุณค้นหาภายหลัง
  • 1:29 - 1:31
    ทีนี้ พอเราหาข้อมูลการเดินทางไปดาวอังคาร
  • 1:32 - 1:36
    เสิร์ชเอนจิ้นจึงมีคำตอบให้แล้ว
    และตอบคุณได้แบบเรียลไทม์
  • 1:36 - 1:38
    คืออย่างนี้ค่ะ
  • 1:38 - 1:42
    อินเทอร์เน็ตคือหน้าเว็บต่าง ๆ
    ที่เชื่อมต่อกันด้วยไฮเปอร์ลิงก์
  • 1:42 - 1:46
    เสิร์ชเอนจิ้นรันโปรแกรมเรียกว่าสไปเดอร์
  • 1:46 - 1:49
    ที่คอยข้ามหน้าเว็บเพื่อเก็บข้อมูล
  • 1:50 - 1:52
    พอมันเจอไฮเปอร์ลิงก์แต่ละครั้ง
  • 1:52 - 1:57
    ก็จะตามไปจนเยี่ยมชมทุกเพจ
    ที่มันหาเจอทั่วทั้งอินเทอร์เน็ต
  • 1:57 - 2:01
    พอเจ้าสไปเดอร์เยี่ยมแต่ละเพจ
    ก็จะบันทึกข้อมูล
  • 2:01 - 2:03
    ที่อาจต้องการใช้ค้นหา
  • 2:03 - 2:06
    ด้วยการเพิ่มเข้าฐานข้อมูลพิเศษ
    เรียกว่า ดัชนีการค้นหา
  • 2:08 - 2:10
    กลับไปดูการค้นหาก่อนหน้านี้กัน
  • 2:10 - 2:13
    และดูว่าเสิร์ชเอนจิ้นหาผลลัพธ์พบได้ยังไง
  • 2:14 - 2:17
    พอถามว่า ไปดาวอังคารใช้เวลาเท่าไร
  • 2:17 - 2:20
    เสิร์ชเอนจิ้นจะหาแต่ละคำในดัชนีการค้นหา
  • 2:20 - 2:25
    และลิสต์เพจทั้งหมดในอินเทอร์เน็ต
    ที่มีคำเหล่านั้น
  • 2:25 - 2:29
    แต่ถ้าหาทีละคำ อาจได้หลายล้านเพจ
  • 2:29 - 2:33
    เสิร์ชเอนจิ้นจึงต้องตัดสินใจ
    เพจที่มีการเข้าคู่กันที่สุดให้คุณดูก่อน
  • 2:34 - 2:38
    มันยากตรงนี้ครับ เพราะเสิร์ชเอนจิ้น
    อาจต้องเดาว่าคุณกำลังหาอะไร
  • 2:39 - 2:42
    เสิร์ชเอนจิ้นแต่ละตัว
    ใช้อัลกอริธึมของตัวเอง
  • 2:42 - 2:45
    ในการจัดลำดับเพจ
    จากสิ่งที่มันคิดว่าคุณต้องการ
  • 2:45 - 2:51
    อัลกอริธึมการจัดลำดับเพจอาจดูว่า
    คำที่ใช้ค้นหาอยู่ในชื่อเพจไหม
  • 2:51 - 2:54
    ดูว่าแต่ละคำปรากฎติด ๆ กันเลยไหม
  • 2:54 - 2:59
    หรือมีตัวเลขอื่นให้คำนวณ
    เพื่อให้มันตัดสินใจได้ดีขึ้นว่า
  • 2:59 - 3:02
    เพจไหนที่คุณอยากเห็น
    และเพจไหนที่คุณไม่อยากเห็น
  • 3:03 - 3:05
    Google สร้างอัลกอริธึม
    ที่มีชื่อเสียงที่สุด
  • 3:05 - 3:09
    ในการเลือกผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้อง
    เพื่อการค้นหา ด้วยการดูว่า
  • 3:09 - 3:12
    มีเว็บเพจอื่นกี่เพจที่ลิงก์กับเพจนั้น
  • 3:12 - 3:16
    ไอเดียคือถ้าหลายเว็บไซต์คิดว่า
    เว็บเพจนั้นน่าสนใจ
  • 3:16 - 3:18
    ก็น่าจะเป็นสิ่งที่คุณตามหา
  • 3:18 - 3:22
    อัลกอริธึมนี้เรียกว่า page rank
    ไม่ใช่เพราะมันจัดการเว็บเพจ
  • 3:23 - 3:25
    แต่เพราะตั้งชื่อตามผู้คิดค้น
    ชื่อแลร์รี่ เพจ
  • 3:26 - 3:28
    หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Google ครับ
  • 3:28 - 3:31
    เว็บไซต์มักทำเงิน
    จากการที่คุณเข้าเยี่ยมชม
  • 3:31 - 3:35
    พวกสแปมเมอร์จึงมักพยายามหาทาง
    ทำให้อัลกอริธึมผิดเพี้ยน
  • 3:35 - 3:38
    ให้เพจของตนปรากฎเป็นอันดับแรก ๆ
    ในการค้นหา
  • 3:38 - 3:41
    เสิร์ชเอนจิ้นมักอัปเดตอัลกอริธึม
  • 3:41 - 3:44
    เพื่อป้องกันไซต์ปลอมหรือไม่น่าเชื่อถือ
  • 3:45 - 3:47
    ทั้งนี้คุณเอง
    ก็ยังต้องระวังเพจที่ไม่น่าไว้ใจ
  • 3:50 - 3:53
    ด้วยการดูที่อยู่เว็บ
    ว่าเป็นแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่
  • 3:54 - 3:57
    โปรแกรมการค้นหาพัฒนาเสมอ
    เพื่อปรับปรุงอัลกอริธึม
  • 3:57 - 4:01
    ให้แสดงผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
    เร็วขึ้นกว่าคู่แข่ง
  • 4:01 - 4:05
    เสิร์ชเอนจิ้นในปัจจุบัน
    สามารถแสดงข้อมูลที่คุณยังไม่ทันได้ให้
  • 4:05 - 4:07
    เพื่อทำให้การค้นหาเจาะจงขึ้น
  • 4:07 - 4:10
    เช่น ถ้าเราจะหาสวนสาธารณะสุนัข
  • 4:11 - 4:14
    เสิร์ชเอนจิ้นหลายเจ้าจะแสดงผลลัพธ์
    สวนสาธารณะสุนัขใกล้คุณ
  • 4:14 - 4:17
    โดยที่คุณไม่ต้องพิมพ์ตำแหน่งลงไปเลย
  • 4:18 - 4:22
    เสิร์ชเอนจิ้นยุคใหม่เข้าใจไม่เพียง
    แค่คำบนหน้าเพจ
  • 4:22 - 4:27
    แต่ยังเข้าใจความหมายเพื่อหาเพจ
    ที่เข้ากับสิ่งที่คุณค้นหามากที่สุด
  • 4:27 - 4:30
    เช่นถ้าคุณหาพิทเชอร์มือไว
  • 4:31 - 4:32
    มันรู้เลยว่าคุณหานักกีฬา
  • 4:33 - 4:37
    แต่ถ้าคุณหาพิทเชอร์ (เหยือกน้ำ) ขนาดใหญ่
    มันจะหาอุปกรณ์ในครัวมาให้แทน
  • 4:39 - 4:42
    เราใช้การเรียนรู้ของเครื่อง
    เพื่อให้เข้าใจคำต่าง ๆ ดีขึ้น
  • 4:42 - 4:44
    เป็นปัญญาประดิษฐ์ประเภทหนึ่ง
  • 4:44 - 4:48
    ช่วยให้อัลกอริธึมค้นหา
    เข้าถึงมากกว่าตัวอักษรและคำในเพจ
  • 4:49 - 4:52
    แต่ให้เข้าใจความหมายในคำด้วย
  • 4:54 - 4:56
    อินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างมาก
  • 4:56 - 5:00
    แต่หากทีมที่ออกแบบเสิร์ชเอนจิ้น
    ทำหน้าที่ได้ดี
  • 5:00 - 5:05
    ข้อมูลที่คุณต้องการ
    ก็อยู่ห่างออกไปแค่ปลายนิ้วค่ะ
Title:
The Internet: How Search Works
Description:

more » « less
Video Language:
English
Team:
Code.org
Project:
How Internet Works
Duration:
05:13

Thai subtitles

Revisions Compare revisions