< Return to Video

ประวัติศาสตร์ใบชา โดย ซูห์หนาน เถิง (Shunan Teng)

  • 0:07 - 0:11
    ระหว่างท่องไปในป่าตลอดทั้งวัน
    เพื่อเสาะหาสมุนไพรและธัญพืชที่กินได้
  • 0:11 - 0:17
    "เฉินหนง" เทพแห่งการเพาะปลูก
    เผลอถูกพิษเข้าโดยบังเอิญถึง 72 ครั้ง
  • 0:17 - 0:19
    แต่ก่อนที่เขาจะจบชีวิตลงเพราะพิษ
  • 0:19 - 0:22
    ใบไม้ใบหนึ่งก็ร่วงหล่นเข้าปากเขาพอดี
  • 0:22 - 0:24
    เขาเคี้ยวใบนั้น แล้วร่างกายก็ฟื้นตัวขึ้น
  • 0:24 - 0:27
    และนี่ก็คือที่มาของการค้นพบใบชา
  • 0:27 - 0:30
    หรืออย่างน้อย ตำนานก็ว่าไว้อย่างนั้น
  • 0:30 - 0:31
    อันที่จริง ใบชาไม่ได้ถอนพิษแต่อย่างใด
  • 0:31 - 0:33
    ทว่า เรื่องราวของเฉินหนง
  • 0:33 - 0:36
    ชาวจีนในตำนานผู้คิดค้นการกสิกรรม
  • 0:36 - 0:39
    เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของชา
    ที่มีต่อจีนยุคโบราณ
  • 0:39 - 0:42
    หลักฐานทางโบราณคดียืนยันว่า
    มีการปลูกต้นชาไว้ที่จีนเป็นแห่งแรก
  • 0:42 - 0:44
    ย้อนไปเมื่อราว 6,000 ปีก่อน
  • 0:44 - 0:49
    หรือประมาณ 1,500 ปีก่อนที่
    ฟาโรห์จะสร้างมหาพีระมิดแห่งกีซา
  • 0:49 - 0:50
    ต้นชาจีนที่ปลูกไว้แต่เดิมนั้น
  • 0:50 - 0:53
    เป็นชนิดเดียวกับที่ปลูกกันทั่วทุกมุมโลก
    ในทุกวันนี้
  • 0:53 - 0:56
    ทั้งวิถีการดื่มชาตามแบบต้นตำรับนั้นยัง
    ต่างออกไป
  • 0:56 - 0:59
    มีวิถีการกินแบบผัก หรือนำไปต้มรวมกับ
    โจ๊กธัญพืช
  • 0:59 - 1:03
    ชาเพิ่งผันแปรจากอาหารมาเป็นเครื่องดื่ม
    ใน 1,500 ปีที่ผ่านมา
  • 1:03 - 1:06
    เมื่อมีการค้นพบว่าส่วนผสมระหว่าง
    ความร้อนและความชื้น
  • 1:06 - 1:11
    สามารถเสกสรรค์นานารสชาติอันลุ่มลึก
    จากใบไม้สีเขียวสดนี้
  • 1:11 - 1:14
    จากหลากหลายรูปแบบการปรุงมาช้านาน
    สู่กรรมวิธีการผลิตชา
  • 1:14 - 1:16
    ตามมาตรฐานก็คือ การใช้ความร้อน,
  • 1:16 - 1:18
    การอัดชาขึ้นรูปให้เป็นก้อน,
  • 1:18 - 1:20
    หรือบดใบชาให้เป็นผง
  • 1:20 - 1:21
    แล้วนำไปชงกับน้ำร้อน
  • 1:21 - 1:26
    กลายเป็นเครื่องดื่มที่เรียกว่า
    "โหม่ฉา (Mǒchá)" หรือมัทฉะ
  • 1:26 - 1:30
    มัทฉะได้รับความนิยมอย่างมาก
    เมื่อเอกลักษณ์วัฒนธรรมชาจีนเริ่มเป็นที่รู้จัก
  • 1:30 - 1:32
    ชา กลายเป็นหัวข้อสำคัญในหนังสือ
    และบทกลอน
  • 1:32 - 1:34
    เป็นเครื่องดื่มที่จักรพรรดิทรงโปรด
  • 1:34 - 1:36
    และเป็นสื่อกลางให้ศิลปิน
  • 1:36 - 1:39
    วาดภาพวิจิตรบรรจงบนฟองชา
  • 1:39 - 1:43
    เป็นการลงลวดลายอย่างที่วาดบนฟองนม
    ของกาแฟเอสเปรสโซ่ในร้านกาแฟทุกวันนี้
  • 1:43 - 1:45
    เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในสมัยราชวงศ์ถัง
  • 1:45 - 1:49
    พระชาวญี่ปุ่นรูปหนึ่ง เป็นผู้นำชาต้นแรก
    มายังประเทศญี่ปุ่น
  • 1:49 - 1:53
    ชาวญี่ปุ่นก็พัฒนาธรรมเนียมการชงชา
    ในแบบของตนเองได้ในที่สุด
  • 1:53 - 1:56
    นำมาซึ่งการกำเนิดพิธีชงชาแบบญี่ปุ่น
  • 1:56 - 1:59
    ครั้นสมัยราชวงศ์หมิง ในศตวรรษที่ 14
  • 1:59 - 2:01
    จักรพรรดิจีนได้ทรงเปลี่ยนมาตรฐาน
  • 2:01 - 2:05
    จากการอัดใบชาขึ้นรูป
    หันมาใช้ตูมชาแห้งโดยไม่มีการอัด
  • 2:05 - 2:09
    ขณะนั้น จีนยังเป็นผู้ผูกขาดเสมือน
    การปลูกชาเพียงรายเดียวของโลก
  • 2:09 - 2:12
    ทำให้ใบชาเป็นหนึ่งในสาม
    สินค้าส่งออกหลักของจีน
  • 2:12 - 2:15
    นอกจากเครื่องลายครามและแพรไหม
  • 2:15 - 2:18
    การผูกขาดนี้ทำให้จีนทรงอิทธิพล
    และมีอำนาจทางเศรษฐกิจคับฟ้า
  • 2:18 - 2:21
    เมื่อการดื่มชาแพร่หลายไปทั่วโลก
  • 2:21 - 2:24
    การแผ่ขยายนั้นเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง
    ประมาณต้นทศวรรษที่ 1600
  • 2:24 - 2:27
    เมื่อพ่อค้าชาวดัตช์นำใบชา
    กลับยุโรปไปเป็นจำนวนมาก
  • 2:27 - 2:31
    ต้องยกความชอบให้แคเธอรีนแห่งบรากันซา
    ราชินีอังกฤษ หรืออดีตเจ้าหญิงโปรตุเกส
  • 2:31 - 2:34
    เนื่องในฐานะผู้ทำให้การดื่มชา
    เป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงชาวอังกฤษ
  • 2:34 - 2:38
    เมื่อพระนางอภิเษกกับพระเจ้าชาร์ลส์ที่สอง
    ในปี ค.ศ. 1661
  • 2:38 - 2:42
    ณ ขณะนั้น อังกฤษกำลังอยู่ในช่วงระหว่าง
    การขยายแสนยานุภาพทางอาณานิคม
  • 2:42 - 2:45
    และก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจใหม่ของโลก
  • 2:45 - 2:49
    เมื่ออังกฤษผงาดขึ้นมามีอำนาจแล้ว
    ความสนใจในใบชาก็แพร่สะพัดไปทั่วโลก
  • 2:49 - 2:53
    เมื่อเปิดศักราชที่ 1700 มูลค่าการซื้อขาย
    ของใบชาก็สูงกว่าการซื้อขายกาแฟเป็นสิบเท่า
  • 2:53 - 2:56
    ทั้ง ๆ ที่ต้นชายังปลูก
    อยู่แต่ในเมืองจีนเพียงแห่งเดียว
  • 2:56 - 2:58
    การค้าใบชาทำกำไรได้มหาศาล
  • 2:58 - 3:01
    และเรือกำปั่นที่แล่นเร็วที่สุดในโลก
    อย่าง "เรือคลิปเปอร์"
  • 3:01 - 3:05
    ก็เกิดจากการแข่งขันอันดุเดือด
    ในหมู่บริษัทการค้าของชาวตะวันตก
  • 3:05 - 3:07
    ที่แข่งกันส่งใบชา
    ให้มาถึงยุโรปก่อนเจ้าอื่น ๆ
  • 3:07 - 3:10
    เพื่อให้ทำกำไรได้มากที่สุด
  • 3:10 - 3:14
    ในตอนแรก อังกฤษจ่ายค่าชาจีน
    ด้วยเหรียญเงิน
  • 3:14 - 3:15
    แต่เมื่อการค้ามีมูลค่าสูงเกินไป
  • 3:15 - 3:20
    พวกเขาจึงเสนอให้แลกใบชา
    กับสินค้าฝิ่น
  • 3:20 - 3:22
    ตัวการที่ก่อให้เกิดปัญหา
    สาธารณสุขครั้งใหญ่ของจีน
  • 3:22 - 3:25
    เพราะผู้คนเสพติดยาฝิ่นกันไปทั่ว
  • 3:25 - 3:28
    ในปี ค.ศ. 1839 ทางการจีน
    จึงสั่งให้เจ้าหน้าที่
  • 3:28 - 3:31
    ทำลายฝิ่นขนานใหญ่
    ซึ่งเป็นสินค้าที่จัดส่งมาในเรืออังกฤษ
  • 3:31 - 3:34
    เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้าน
    อิทธิพลของอังกฤษที่อยู่เหนือจีน
  • 3:34 - 3:38
    การกระทำดังกล่าวจุดชนวนให้เกิด
    สงครามฝิ่นครั้งที่ 1 ระหว่างทั้งสองชาติ
  • 3:38 - 3:41
    การรบรุกคืบไปตามชายฝั่งทะเลของจีน
    จนกระทั่งปี ค.ศ. 1842
  • 3:41 - 3:45
    เมื่อราชวงศ์ชิงที่พ่ายแพ้ ยอมมอบ
    ท่าเรือฮ่องกงแก่อังกฤษ
  • 3:45 - 3:48
    และทำการค้ากับอังกฤษต่อไป
    ตามเงื่อนไขสนธิสัญญาอันเสียเปรียบ
  • 3:48 - 3:52
    สงครามนี้ทำให้สถานะจีนในเวทีโลก
    อ่อนแอลงเป็นเวลากว่าร้อยปี
  • 3:52 - 3:57
    อีกทั้งบริษัทอีสต์อินเดียของอังกฤษ
    ก็มีความต้องการที่จะปลูกต้นชาเอง
  • 3:57 - 3:59
    เพื่อขยายการควบคุมตลาดใบชา
  • 3:59 - 4:01
    พวกเขาจึงว่าจ้างนักพฤกษศาสตร์
    "โรเบิร์ต ฟอร์จูน"
  • 4:01 - 4:05
    ให้ขโมยเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าชาจากจีน
    ในภารกิจลับ
  • 4:05 - 4:07
    เขาจึงปลอมตัวและออกเดินทางผจญภัย
  • 4:07 - 4:09
    มาเขตภูเขาสูงของจีนที่เป็นแหล่งปลูกชา
  • 4:09 - 4:12
    จากนั้นก็ลักลอบเอาต้นกล้า, เมล็ด
    และคนงานผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่ง
  • 4:12 - 4:15
    ข้ามมายังเมืองดาร์จีลิ่ง ในอินเดียจนได้
  • 4:15 - 4:17
    นับแต่นั้น ก็ได้มีการเพาะพันธุ์ใบชาต่อไป
  • 4:17 - 4:21
    และช่วยให้การดื่มชาเติบโตอย่างรวดเร็ว
    กลายมาเป็นเครื่องดื่มในชีวิตประจำวัน
  • 4:21 - 4:26
    ทุกวันนี้ ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีการบริโภค
    มากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากน้ำเปล่า
  • 4:26 - 4:27
    ตั้งแต่ชาริเซอ รสหวานละมุนจากตุรกี
  • 4:27 - 4:29
    ไปจนถึงชาเนยรสเค็มตำรับทิเบต
  • 4:29 - 4:32
    เรามีหลากหลายวิธีในการชงชา
    มากพอ ๆ กับ
  • 4:32 - 4:34
    นานาวัฒนธรรมบนโลกใบนี้เลยล่ะค่ะ
Title:
ประวัติศาสตร์ใบชา โดย ซูห์หนาน เถิง (Shunan Teng)
Speaker:
Shunan Teng
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/the-history-of-tea-shunan-teng

ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากน้ำเปล่า มีตั้งแต่ชาริเซอ (Rize) รสหวานละมุนแบบฉบับตุรกี ไปจนถึงชาเนยรสเค็มตำรับทิเบต มีหลากหลายกรรมวิธีในการชงชาเฉกเช่นเดียวกับนานาวัฒนธรรมบนโลก ทว่าเครื่องดื่มชนิดนี้มีแหล่งกำเนิดมาจากถิ่นไหน และเหตุใดจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายนัก ซูห์หนาน เถิง (Shunan Teng) จะมาเจาะลึกถึงรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาอันยาวนานของใบชา

บทเรียนโดย Shunan Teng แอนิเมชันโดย Steff Lee

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:58
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The history of Tea
Retired user edited Thai subtitles for The history of Tea
Retired user declined Thai subtitles for The history of Tea
Retired user edited Thai subtitles for The history of Tea
Retired user edited Thai subtitles for The history of Tea
Retired user edited Thai subtitles for The history of Tea
Retired user edited Thai subtitles for The history of Tea
Retired user edited Thai subtitles for The history of Tea
Show all

Thai subtitles

Revisions