Return to Video

ไซมอน ซิเน็ค: ผู้นำที่ยิ่งใหญ่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ตามได้อย่างไร

  • 0:01 - 0:03
    คุณจะอธิบายยังไง
  • 0:03 - 0:05
    เวลาสิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปตามคาด?
  • 0:05 - 0:08
    หรือเอางี้ดีกว่า คุณจะอธิบายยังไง
  • 0:08 - 0:10
    เวลาคนอื่นเขาทำอะไรบางอย่างสำเร็จ
  • 0:10 - 0:12
    ทั้งที่มันที่ผิดไปจากทุกอย่างที่คุณคาดไว้?
  • 0:12 - 0:14
    ตัวอย่างเช่น
  • 0:14 - 0:16
    ทำไมแอปเปิลถึงสร้างสรรค์นวัตกรรมได้มากนัก
  • 0:16 - 0:18
    ปีแล้วปีเล่า
  • 0:18 - 0:21
    ก็ยิ่งมีนวัตกรรมมากกว่าคู่แข่งทุกราย
  • 0:21 - 0:23
    ทั้งที่แอปเปิลก็เป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ธรรมดาๆ
  • 0:23 - 0:25
    เหมือนชาวบ้านเขา
  • 0:25 - 0:27
    มีคนเก่งๆ มาทำงานเหมือนๆ กับบริษัทอื่นๆ
  • 0:27 - 0:30
    ใช้เอเจนซี ที่ปรึกษา และสื่อแบบเดียวกัน
  • 0:30 - 0:32
    แล้วทำไม
  • 0:32 - 0:35
    แอปเปิลถึงแตกต่างจากคนอื่น
  • 0:35 - 0:37
    ทำไมมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ถึงนำการเคลื่อนไหว
  • 0:37 - 0:39
    เรียกร้องสิทธิพลเมืองของคนผิวดำได้สำเร็จ?
  • 0:39 - 0:41
    เขาไม่ใช่คนคนเดียว
  • 0:41 - 0:43
    ที่ได้รับผลกระทบของการขาดสิทธิพลเมืองในอเมริกายุคนั้น
  • 0:43 - 0:45
    และเขาก็ไม่ใช่นักพูดที่มีโวหารเป็นยอดคนเดียวในยุคนั้น
  • 0:45 - 0:47
    แล้วทำไมถึงเป็นเขาล่ะ?
  • 0:47 - 0:50
    แล้วทำไมพี่น้องตระกูลไรท์
  • 0:50 - 0:53
    ถึงคิดสร้างเครื่องบินมีคนขับได้
  • 0:53 - 0:55
    ในเมื่อก็มีทีมนักประดิษฐ์อื่นๆ
  • 0:55 - 0:58
    ที่เก่งกว่า มีเงินทุนมากกว่า
  • 0:58 - 1:01
    แต่ทำไม่สำเร็จ
  • 1:01 - 1:03
    ปล่อยให้พี่น้องตระกูลไรท์เอาชนะไปได้
  • 1:03 - 1:06
    มันมีอะไรบางอย่างที่เข้ามามีบทบาทตรงนี้ล่ะ
  • 1:06 - 1:08
    เมื่อสามปีครึ่งที่ผ่านมา
  • 1:08 - 1:10
    ผมค้นพบอะไรอย่างหนึ่ง
  • 1:10 - 1:13
    ซึ่งเปลี่ยนมุมมองของผม
  • 1:13 - 1:16
    ว่าสิ่งต่างๆ ในโลกมันทำงานยังไง
  • 1:16 - 1:18
    และยังเปลี่ยนท่าทีของผม
  • 1:18 - 1:20
    เวลาเข้าไปทำงานเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ด้วย
  • 1:22 - 1:25
    สิ่งที่ผมพบ คือแบบแผนอย่างหนึ่ง
  • 1:25 - 1:27
    ที่ผู้นำและองค์กรที่เป็นนักสร้างแรงบันดาลใจ
  • 1:27 - 1:29
    ที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลายในโลกนี้
  • 1:29 - 1:32
    ไม่ว่าจะเป็นแอปเปิล มาร์ติน ลูเธอร์ คิง และพี่น้องตระกูลไรท์
  • 1:32 - 1:34
    ล้วนคิด ทำ และสื่อสาร
  • 1:34 - 1:36
    ในรูปแบบเดียวกันนี้
  • 1:36 - 1:38
    ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง
  • 1:38 - 1:40
    กับสิ่งที่คนอื่นทำ
  • 1:40 - 1:42
    ผมแค่มาถอดรหัสพวกนี้
  • 1:42 - 1:44
    มันอาจจะเป็นความคิด
  • 1:44 - 1:46
    ที่เรียบง่ายที่สุดในโลก
  • 1:46 - 1:48
    ผมเรียกมันว่าวงกลมทองคำ
  • 1:56 - 1:59
    ทำไม? อย่างไร? และ อะไร?
  • 1:59 - 2:01
    ความคิดเล็กๆ นี่ล่ะ สามารถอธิบายได้
  • 2:01 - 2:03
    ว่าทำไมบางองค์กร และผู้นำบางคน
  • 2:03 - 2:05
    ถึงสร้างแรงบันดาลใจได้ ในขณะที่คนอื่นทำไม่ได้
  • 2:05 - 2:07
    ผมขอให้นิยามคำพวกนี้นิดหนึ่ง
  • 2:07 - 2:10
    คนทุกคน และองค์กรทุกองค์กรในโลกนี้
  • 2:10 - 2:12
    รู้ว่าตัวเองทำอะไร
  • 2:12 - 2:14
    ร้อยเปอร์เซ็นต์
  • 2:14 - 2:16
    บางคนหรือบางองค์กรรู้ว่าจะทำสิ่งนั้นอย่างไร
  • 2:16 - 2:18
    คุณอาจจะเรียกมันว่าการเสนอคุณค่าที่แตกต่าง
  • 2:18 - 2:21
    หรือกระบวนการผลิตเฉพาะ หรือจุดขายที่แตกต่าง
  • 2:21 - 2:24
    แต่มีคนหรือองค์กรจำนวนน้อยมากๆ
  • 2:24 - 2:26
    ที่รู้ว่าเขาทำสิ่งที่เขาทำอยู่ไปทำไม
  • 2:26 - 2:28
    คำว่า "ทำไม" ในที่นี้ผมไม่ได้หมายถึง "การทำกำไร"
  • 2:28 - 2:30
    นั่นเป็นผลลัพธ์ มันเป็นแค่ผลลัพธ์
  • 2:30 - 2:32
    คำว่า "ทำไม" ในที่นี้ ผมหมายถึง
  • 2:32 - 2:34
    อะไรคือเจตนารมณ์ จุดมุ่งหมาย ความเชื่อของคุณ
  • 2:35 - 2:38
    องค์กรของคุณตั้งขึ้นมาทำไม?
  • 2:38 - 2:40
    ทำไมคุณถึงต้องลุกขึ้นจากเตียงทุกเช้า?
  • 2:40 - 2:43
    แล้วทำไมคนอื่นจึงควรจะสนใจในสิ่งที่คุณทำ?
  • 2:43 - 2:45
    ทีนี้ วิธีคิด การกระทำ และการสื่อสารของเรา
  • 2:45 - 2:47
    มักเริ่มจากข้างนอกเข้ามาข้างใน
  • 2:47 - 2:50
    เห็นได้ชัดเลยว่า เราเริ่มจากสิ่งที่ชัดเจนที่สุดไปหาสิ่งที่คลุมเครือที่สุด
  • 2:50 - 2:52
    แต่ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน
  • 2:52 - 2:54
    และองค์กรที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ
  • 2:54 - 2:57
    ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะอยู่ในธุรกิจอะไร
  • 2:57 - 2:59
    ล้วนคิด ทำ และสื่อสาร
  • 2:59 - 3:01
    จากข้างในออกมาข้างนอก
  • 3:02 - 3:04
    ผมขอยกตัวอย่างให้ฟังเรื่องหนึ่ง
  • 3:04 - 3:07
    ผมจะยกตัวอย่างแอปเปิลเพราะมันเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน
  • 3:07 - 3:10
    ถ้าแอปเปิลเป็นเหมือนบริษัทอื่นๆ
  • 3:10 - 3:13
    ข้อความสื่อสารการตลาดคงจะออกมาแบบนี้
  • 3:13 - 3:16
    "เราทำคอมพิวเตอร์ที่สุดยอด
  • 3:16 - 3:18
    การออกแบบสวยงาม ใช้ง่าย
  • 3:18 - 3:20
    และเป็นมิตรกับผู้ใช้
  • 3:20 - 3:23
    อยากซื้อสักเครื่องไหมครับ" ไม่มีทาง
  • 3:23 - 3:25
    แต่นั่นล่ะ เราส่วนใหญ่สื่อสารกันแบบนี้
  • 3:25 - 3:27
    การตลาดก็ทำแบบนี้ การขายก็ทำแบบนี้
  • 3:27 - 3:29
    เวลาสื่อสารกับผู้คน เราก็ทำแบบนี้
  • 3:29 - 3:32
    เราบอกว่าเราทำอะไร เราต่างอย่างไร หรือดีกว่าอย่างไร
  • 3:32 - 3:34
    แล้วก็คาดหวังพฤติกรรมบางอย่างจากผู้บริโภค
  • 3:34 - 3:36
    เช่น อยากให้เขามาซื้อของ มาลงคะแนนเสียงให้
  • 3:36 - 3:38
    นี่คือบริษัทกฎหมายใหม่ของเรา
  • 3:38 - 3:40
    เรามีทนายความที่ดีที่สุด ลูกค้ารายใหญ่ที่สุด
  • 3:40 - 3:42
    และเราทำงานเต็มที่ให้ลูกค้าของเรา
  • 3:42 - 3:44
    นี่คือรถรุ่นใหม่ของเรา
  • 3:44 - 3:47
    ประหยัดน้ำมันสุดๆ เบาะหนังด้วย ซื้อรถเรานะ
  • 3:47 - 3:49
    แต่มันไม่สร้างแรงบันดาลใจ
  • 3:49 - 3:52
    นี่ครับ แอปเปิลเขาสื่อสารแบบนี้
  • 3:53 - 3:55
    "ทุกอย่างที่เราทำ
  • 3:55 - 3:58
    เราทำเพราะเราเชื่อในการท้าทายสิ่งเก่าๆ
  • 3:58 - 4:01
    เราเชื่อในการคิดต่าง
  • 4:01 - 4:03
    และเพื่อท้าทายระบบเก่าๆ นั้น
  • 4:03 - 4:06
    เราสร้างผลิตภัณฑ์ของเราให้มีดีไซน์สวยงาม
  • 4:06 - 4:08
    ใช้งานง่าย และเป็นมิตรกับผู้ใช้
  • 4:08 - 4:11
    และเราก็เลยสร้างคอมพิวเตอร์ที่ยอดเยี่ยมขึ้นมา
  • 4:11 - 4:13
    อยากซื้อสักเครื่องไหมครับ?"
  • 4:13 - 4:16
    แตกต่างสุดๆ เลยใช่ไหมครับ? คุณอยากซื้อคอมพิวเตอร์จากผมแล้ว
  • 4:16 - 4:18
    ผมแค่สลับลำดับการนำเสนอข้อมูลเท่านั้นเอง
  • 4:18 - 4:21
    สิ่งที่ผมค้นพบก็คือ คนเขาไม่ได้ซื้อสิ่งที่คุณทำ
  • 4:21 - 4:23
    เขาซื้อเพราะเหตุผลที่คุณทำมัน
  • 4:23 - 4:25
    คนเขาไม่ได้ซื้อสิ่งที่คุณทำ เขาซื้อเหตุผลที่คุณทำ
  • 4:25 - 4:27
    นี่เป็นคำอธิบายว่า
  • 4:27 - 4:29
    ทำไมทุกคนในห้องนี้
  • 4:29 - 4:32
    รู้สึกดีที่จะซื้อคอมพิวเตอร์จากแอปเปิล
  • 4:32 - 4:34
    แต่นอกจากนั้น เรายังยินดีที่จะซื้อ
  • 4:34 - 4:37
    เครื่องเล่นเอ็มพีสามจากแอปเปิล โทรศัพท์จากแอปเปิล
  • 4:37 - 4:39
    หรือเครื่องบันทึกดีวีดีจากแอปเปิล
  • 4:39 - 4:41
    แต่อย่างที่ผมบอก แอปเปิลก็เป็นแค่บริษัทคอมพิวเตอร์
  • 4:41 - 4:43
    ไม่มีความแตกต่างเชิงโครงสร้าง
  • 4:43 - 4:45
    จากคู่แข่งรายใดเลย
  • 4:45 - 4:48
    คู่แข่งของแอปเปิลล้วนมีศักยภาพที่จะผลิตสินค้าแบบเดียวกันได้หมด
  • 4:48 - 4:50
    และที่จริงก็พยายามแล้วด้วย
  • 4:50 - 4:53
    ไม่กี่ปีก่อน บริษัทเกทเวย์ผลิตทีวีจอแบนออกมา
  • 4:53 - 4:55
    บริษัทนี้มีศักยภาพสูงมากในการผลิตทีวีจอแบน
  • 4:55 - 4:58
    แล้วก็ผลิตมาเรื่อย ตั้งหลายปี
  • 4:58 - 5:00
    แต่ไม่มีใครซื้อเลย
  • 5:05 - 5:08
    เดลผลิตเครื่องเล่นเอ็มพีสามและพีดีเอออกมา
  • 5:08 - 5:10
    ล้วนแล้วแต่เป็นสินค้าคุณภาพสูง
  • 5:10 - 5:13
    พร้อมการออกแบบที่สมบูรณ์แบบ
  • 5:13 - 5:15
    แต่ก็ไม่มีใครซื้อ
  • 5:15 - 5:17
    ที่จริง ให้นึกตอนนี้ เราก็จินตนาการตัวเราเอง
  • 5:17 - 5:19
    ซื้อเครื่องเล่นเอ็มพีสามจากเดลไม่ออกแล้ว
  • 5:19 - 5:21
    ทำไมเราต้องซื้อเครื่องเล่นเอ็มพีสามจากบริษัทคอมพิวเตอร์?
  • 5:21 - 5:23
    แต่เราก็ซื้อแล้วใช่ไหมครับ
  • 5:23 - 5:25
    คนเขาไม่ได้ซื้อสิ่งที่คุณทำ เขาซื้อเหตุผลที่คุณทำมัน
  • 5:25 - 5:27
    เป้าหมายไม่ใช่การทำธุรกิจ
  • 5:27 - 5:30
    กับใครก็ได้ ที่อยากได้สิ่งที่คุณมี
  • 5:31 - 5:33
    เป้าหมายอยู่ที่การทำธุรกิจ
  • 5:33 - 5:36
    กับคนที่เขาเชื่อในสิ่งที่คุณเชื่อ
  • 5:36 - 5:38
    ที่เด็ดที่สุดเลยก็คือ
  • 5:38 - 5:40
    สิ่งที่ผมพูดมาไม่ใช่ความคิดเห็นของผมคนเดียวนะ
  • 5:40 - 5:43
    มันมีรากฐานอยู่ในหลักการของชีววิทยา
  • 5:43 - 5:45
    ไม่ใช่จิตวิทยานะ ชีววิทยาเลย
  • 5:45 - 5:48
    ถ้าคุณดูภาพตัดขวางของสมองมนุษย์ มองจากด้านบนลงไป
  • 5:48 - 5:50
    คุณจะเห็นว่าสมองมนุษย์
  • 5:50 - 5:52
    แบ่งเป็นสามส่วนหลักๆ
  • 5:52 - 5:55
    ที่สอดคล้องกับวงกลมทองคำนี้เลย
  • 5:55 - 5:58
    สมองส่วนใหม่ของเรา ของมนุษย์โฮโมเซเปียน
  • 5:58 - 6:00
    สมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์
  • 6:00 - 6:02
    คือส่วนที่ตอบคำถามว่า "อะไร"
  • 6:02 - 6:04
    สมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์ทำหน้าที่เกี่ยวกับ
  • 6:04 - 6:06
    เหตุผลและการคิดวิเคราะห์
  • 6:06 - 6:08
    และภาษา
  • 6:08 - 6:11
    สมองส่วนกลางสองส่วนเรียกว่าลิมบิก
  • 6:11 - 6:14
    สมองส่วนลิมบิกของเราทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึก
  • 6:14 - 6:17
    เช่นความไว้วางใจและจงรักภักดี
  • 6:17 - 6:19
    และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์
  • 6:19 - 6:21
    และการตัดสินใจทั้งหมด
  • 6:21 - 6:24
    และมันไม่มีศักยภาพด้านภาษา
  • 6:24 - 6:27
    นั่นหมายความว่า เวลาเราสื่อสารจากข้างนอกเข้าไปข้างใน
  • 6:27 - 6:30
    ใช่ คนเราเข้าใจข้อมูลที่ซับซ้อนได้เยอะมาก
  • 6:30 - 6:33
    เช่นคุณสมบัติ ประโยชน์ ข้อเท็จจริง และตัวเลข
  • 6:33 - 6:35
    แต่มันไม่สามารถขับเคลื่อนพฤติกรรมได้
  • 6:35 - 6:37
    ถ้าเราสามารถสื่อสารจากข้างในออกมาข้างนอกได้
  • 6:37 - 6:39
    เรากำลังสื่อสารโดยตรงกับสมอง
  • 6:39 - 6:41
    ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรม
  • 6:41 - 6:43
    แล้วเราก็ให้ผู้ฟังหาเหตุผลมาสนันสนุน
  • 6:43 - 6:45
    โดยใช้ข้อมูลที่เป็นรูปธรรมจากสิ่งที่เราพูดและทำ
  • 6:45 - 6:47
    นี่แหละที่มาของการตัดสินใจด้วยสัญชาตญาณ
  • 6:47 - 6:49
    คุณอาจจะให้ข้อมูลและตัวเลขมากมาย
  • 6:49 - 6:51
    กับใครบางคน
  • 6:51 - 6:53
    แล้วเขาก็ตอบกลับมาว่า "ผมรู้ข้อมูลและรายละเอียดพวกนี้แล้ว
  • 6:53 - 6:55
    แต่ก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่อยู่ดี"
  • 6:55 - 6:58
    ทำไมเราถึงใช้คำว่า "รู้สึก" ว่ามันไม่ใช่?
  • 6:58 - 7:00
    เพราะสมองส่วนที่ควบคุมการตัดสินใจ
  • 7:00 - 7:02
    ไม่ได้ทำงานด้านภาษา
  • 7:02 - 7:05
    อย่างดีที่สุดที่เราจะบรรยายออกมาได้คือ "ไม่รู้สิ แต่รู้สึกว่ามันไม่ใช่น่ะ"
  • 7:05 - 7:07
    คุณอาจจะพูดว่า คุณนำด้วยใจ
  • 7:07 - 7:09
    หรือนำด้วยจิตวิญญาณ
  • 7:09 - 7:11
    แต่ขอโทษทีครับ นั่นมันก็ไม่ใช่อวัยวะอีกส่วนหนึ่งของร่างกาย
  • 7:11 - 7:13
    ที่ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของคุณนะ
  • 7:13 - 7:15
    ทุกอย่างมันเกิดขึ้นในสมองส่วนลิมบิก
  • 7:15 - 7:18
    สมองส่วนที่ควบคุมการตัดสินใจ ไม่ใช่การใช้ภาษา
  • 7:18 - 7:21
    ถ้าคุณไม่รู้ว่าทำไมคุณจึงทำสิ่งที่คุณทำอยู่
  • 7:21 - 7:24
    ทั้งที่คนเขาตอบสนองต่อเหตุผลของสิ่งที่คุณทำ
  • 7:24 - 7:27
    แล้วมันจะเป็นไปได้ยังไง ที่คุณจะทำให้ผู้คน
  • 7:27 - 7:29
    โหวตให้คุณ หรือซื้อของจากคุณ
  • 7:29 - 7:31
    หรือที่สำคัญกว่านั้น ทำให้เขาจงรักภักดีต่อคุณ
  • 7:31 - 7:34
    และอยากมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งที่คุณทำ
  • 7:34 - 7:37
    นี่ไง เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่การขายของให้คนที่เขาต้องการสิ่งที่คุณมี
  • 7:37 - 7:40
    เป้าหมายคือการขายไอเดียให้คนเชื่อในสิ่งที่คุณเชื่อ
  • 7:40 - 7:42
    เป้าหมายไม่ใช่แค่จ้างคน
  • 7:42 - 7:44
    ที่ต้องการได้งาน
  • 7:44 - 7:47
    แต่เราต้องจ้างคนที่เชื่อในสิ่งที่เราเชื่อ
  • 7:47 - 7:50
    ผมพูดแบบนี้เสมอเลยครับ
  • 7:52 - 7:55
    ถ้าคุณจ้างคนเพียงเพราะเขาทำงานได้ เขาก็จะทำงานเพื่อเงินของคุณ
  • 7:55 - 7:57
    แต่ถ้าคุณจ้างคนที่เขาเชื่อในสิ่งที่คุณเชื่อ
  • 7:57 - 7:59
    เขาจะทำงานให้คุณชนิดถวายหัว
  • 7:59 - 8:01
    ไม่มีตัวอย่างไหนดีเท่ากับ
  • 8:01 - 8:03
    เรื่องของพี่น้องตระกูลไรท์อีกแล้ว
  • 8:03 - 8:06
    คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักแซมมวล เพียร์พอนท์ แลงค์ลีย์
  • 8:06 - 8:09
    ย้อนไปตอนต้นศตวรรษที่ 20
  • 8:09 - 8:12
    การคิดค้นเครื่องบินที่คนบังคับได้ก็เหมือนธุรกิจดอทคอมสมัยนี้
  • 8:12 - 8:14
    ใครๆ ก็พยายามคิดค้นวิธีสร้างเครื่องบิน
  • 8:14 - 8:17
    แซมมวล เพียร์พอนท์ แลงค์ลีย์
  • 8:17 - 8:20
    มีสิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นสูตรของความสำเร็จ
  • 8:20 - 8:22
    คือ แม้แต่ในปัจจุบันนี้ ถ้าคุณถามใครสักคนว่า
  • 8:22 - 8:24
    "ทำไมสินค้าหรือบริษัทของคุณจึงล้มเหลว?"
  • 8:24 - 8:26
    เขาก็จะให้เหตุผลหลากหลาย แต่สรุปได้ว่า
  • 8:26 - 8:28
    เป็นสามอย่างเดิมๆ เสมอ นั่นคือ
  • 8:28 - 8:31
    ทุนน้อย บุคลากรไม่เก่ง และภาวะตลาดไม่ดี
  • 8:31 - 8:34
    สามเรื่องนี้แหละ ตลอดเลย เอาละ ลองมาดูกัน
  • 8:34 - 8:36
    แซมมวล เพียร์พอนท์ แลงค์ลีย์
  • 8:36 - 8:39
    ได้เงิน 50,000 ดอลลาร์ จากกรมการสงคราม
  • 8:39 - 8:41
    ให้คิดเครื่องจักรกลที่บินได้
  • 8:41 - 8:43
    ดังนั้น เงินไม่ใช่ปัญหา
  • 8:43 - 8:45
    เขามีตำแหน่งที่ฮาร์วาร์ด
  • 8:45 - 8:48
    และทำงานที่สมิธโซเนียน และรู้จักคนกว้างขวาง
  • 8:48 - 8:50
    เขารู้จักคนเก่งๆ ทุกคนในยุคนั้น
  • 8:50 - 8:52
    เขาจ้างแต่คนระดับสุดยอดหัวกะทิ
  • 8:52 - 8:54
    ด้วยเงินที่มีอยู่
  • 8:54 - 8:56
    และสภาวะตลาดก็เยี่ยมมาก
  • 8:56 - 8:59
    หนังสือพิมพ์นิวยอร์ค ไทม์ติดตามเขาทุกฝีก้าว
  • 8:59 - 9:01
    ใครๆ ก็ติดตามแลงค์ลีย์
  • 9:01 - 9:04
    แล้วทำไมคุณถึงไม่รู้จักแซมมวล เพียร์พอนท์ แลงค์ลีย์ล่ะ
  • 9:04 - 9:07
    สองสามร้อยไมล์ห่างออกไปในเมืองเดย์ตัน รัฐโอไฮโอ
  • 9:07 - 9:09
    ออร์วิล กับวิลเบอร์ ไรท์
  • 9:09 - 9:11
    ไม่มีอะไรที่เราจะเรียกว่าเป็น
  • 9:11 - 9:13
    ส่วนผสมของความสำเร็จเลย
  • 9:13 - 9:15
    เขาไม่มีเงิน
  • 9:15 - 9:18
    เงินที่เอามาลงทุนกับความฝันของเขา คือกำไรที่ได้จากร้านจักรยานของเขา
  • 9:18 - 9:20
    ทุกคนในทีมของสองพี่น้องตระกูลไรท์
  • 9:20 - 9:22
    ไม่มีใครมีปริญญาสักคน
  • 9:22 - 9:24
    รวมทั้งออร์วิลและวิลเบอร์เองด้วย
  • 9:24 - 9:27
    หนังสือพิมพ์นิวยอร์ค ไทม์ไม่ได้แยแสพี่น้องคู่นี้สักนิด
  • 9:27 - 9:29
    สิ่งที่แตกต่างคือ
  • 9:29 - 9:31
    ออร์วิลกับวิลเบอร์ทำไปด้วยแรงผลักดัน
  • 9:31 - 9:33
    จากเป้าหมายที่มีความหมาย ด้วยความเชื่อ
  • 9:33 - 9:35
    เขาเชื่อว่าถ้าเขาสามารถ
  • 9:35 - 9:37
    คิดค้นวิธีสร้างเครื่องบินขึ้นมาได้
  • 9:37 - 9:40
    มันจะเปลี่ยนโลกได้
  • 9:40 - 9:42
    แซมมวล เพียร์พอนท์ แลงค์ลีย์ไม่คิดอย่างนั้น
  • 9:42 - 9:45
    เขาอยากรวย อยากดัง
  • 9:45 - 9:47
    เขาไขว่คว้าหาผลลัพธ์อย่างอื่น
  • 9:47 - 9:49
    เขาแสวงหาเงินทอง ความร่ำรวย
  • 9:49 - 9:52
    แล้วดูสิครับ เกิดอะไรขึ้น
  • 9:52 - 9:54
    คนที่เชื่อในความฝันของสองพี่น้องตระกูลไรท์
  • 9:54 - 9:57
    ทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำร่วมกับเขา
  • 9:57 - 9:59
    ส่วนคนอีกกลุ่มหนึ่งทำงานเพื่อค่าจ้าง
  • 9:59 - 10:02
    แล้วพวกเขาก็มักจะเล่าว่า ทุกครั้งที่พี่น้องตระกูลไรท์ออกไปทดสอบเครื่องบิน
  • 10:02 - 10:04
    พวกเขาต้องเอาอะไหล่ไปด้วยห้าชุด
  • 10:04 - 10:06
    เพราะเขาจะทดลองแล้วทดลองอีก จนเครื่องพังถึงห้าครั้ง
  • 10:06 - 10:08
    แล้วถึงจะยอมกลับมากินข้าวมื้อเย็น
  • 10:09 - 10:12
    แล้วในที่สุด วันที่ 17 ธันวาคม 1903
  • 10:12 - 10:15
    พี่น้องตระกูลไรท์ก็ออกบินได้สำเร็จ
  • 10:15 - 10:17
    ไม่มีใครอยู่ร่วมรับรู้กับเขาเลยด้วยซ้ำ
  • 10:17 - 10:20
    กว่าโลกจะรู้ข่าวก็สองสามวันหลังจากนั้น
  • 10:21 - 10:23
    ข้อพิสูจน์อีกอย่างว่าแลงค์ลีย์
  • 10:23 - 10:25
    ทำงานด้วยแรงจูงใจที่ผิด
  • 10:25 - 10:28
    ก็คือ วันที่พี่น้องตระกูลไรท์ทำสำเร็จ เขาก็เลิกเลย
  • 10:28 - 10:30
    เขาน่าจะพูดว่า
  • 10:30 - 10:32
    "สิ่งที่คุณคิดค้นได้มันเจ๋งจริงๆ เลย
  • 10:32 - 10:35
    ผมจะพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีของคุณ" แต่เขาไม่พูดอย่างนั้น
  • 10:35 - 10:37
    เมื่อเขาไม่ได้เป็นคนแรก ไม่ได้เงินทอง
  • 10:37 - 10:39
    ไม่ได้ชื่อเสียง เขาก็เลิกเลย
  • 10:39 - 10:42
    นี่แหละครับ คนไม่ได้ซื้อของที่คุณทำ เขาซื้อเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง
  • 10:42 - 10:44
    ถ้าคุณพูดถึงสิ่งที่คุณเชื่อ
  • 10:44 - 10:47
    คุณจะดึงดูดคนที่เขาเชื่อในสิ่งเดียวกับคุณ
  • 10:47 - 10:50
    ทำไมการดึงดูดคนที่คิดเหมือนคุณจึงสำคัญล่ะครับ?
  • 10:52 - 10:54
    มันมีกฎที่เรียกว่ากฎการกระจายนวัตกรรม
  • 10:54 - 10:57
    ถึงคุณไม่รู้ว่ากฎที่ว่ามันเป็นยังไง แต่คุณก็รู้คำศัพท์พวกนี้ใช่ไหมครับ
  • 10:57 - 11:00
    กฎนี้มีอยู่ว่า 2.5% ของประชากรทั้งหมด
  • 11:00 - 11:02
    จะเป็นพวกนิยมนวัตกรรม
  • 11:02 - 11:05
    อีก 13.5% ของประชากร
  • 11:05 - 11:07
    จะเป็นพวกแรกๆ ที่รับเอานวัตกรรมมาใช้
  • 11:07 - 11:09
    อีก 34% ต่อมาจะเป็นคนอีกกลุ่มใหญ่ที่เริ่มใช้บ้าง
  • 11:09 - 11:12
    แล้วก็มีคนอีกกลุ่มใหญ่ที่ใช้ตามในเวลาต่อมา แล้วก็พวกล้าหลัง
  • 11:12 - 11:15
    เหตุผลที่พวกนี้ซื้อโทรศัพท์แบบกดปุ่มมาใช้
  • 11:15 - 11:17
    เพราะเขาหาซื้อแบบแป้นหมุนไม่ได้แล้ว
  • 11:17 - 11:19
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:19 - 11:22
    เราทุกคนต่างก็เคยอยู่ในกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ในต่างกรรมต่างวาระ
  • 11:22 - 11:25
    แต่ข้อคิดที่เราได้จากกฎการกระจายนวัตกรรมก็คือ
  • 11:25 - 11:28
    ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จในตลาดขนาดใหญ่
  • 11:28 - 11:30
    หรืออยากให้คนหมู่มากยอมรับความคิดของคุณ
  • 11:30 - 11:32
    คุณจะประสบความสำเร็จไปไม่ได้
  • 11:32 - 11:34
    จนกว่าคุณจะมาถึงจุดเปลี่ยน
  • 11:34 - 11:37
    ที่คุณเจาะตลาดได้ 15-18%
  • 11:37 - 11:40
    แล้วสินค้าก็จะเริ่มติดตลาด
  • 11:40 - 11:43
    ผมชอบถามคนทำธุรกิจว่า "อัตราความสำเร็จในการเสนอขายสินค้าใหม่ของคุณเป็นยังไง?"
  • 11:43 - 11:45
    เขามักจะตอบอย่างภาคภูมิใจว่า "โอ้ ประมาณ 10% ครับ"
  • 11:45 - 11:47
    แต่ว่า ถ้าคุณดึงดูดลูกค้าได้ 10%
  • 11:47 - 11:49
    เรามีคน 10% ที่เริ่ม "ซื้อ" ไอเดียของเรา
  • 11:49 - 11:51
    เราเรียกคนกลุ่มนี้อย่างนี้ใช่ไหมครับ
  • 11:51 - 11:53
    เหมือนมันมาจากความรู้สึกลึกๆ ว่า "โอ้ มีคนเข้าใจเราแล้ว"
  • 11:53 - 11:56
    ทีนี้ เราจะทำยังไงจึงจะหาคนที่เข้าใจเราเจอ
  • 11:56 - 11:59
    เพื่อทำธุรกิจกับคนพวกนี้ แทนที่จะไปเสียเวลากับคนที่ไม่เข้าใจ
  • 11:59 - 12:01
    มันมีช่องโหว่เล็กๆ ตรงนี้
  • 12:01 - 12:03
    ที่คุณต้องปิดให้ได้
  • 12:03 - 12:05
    เหมือนที่เจฟฟรีย์ มัวร์เรียกว่า "กระโดดข้ามเหว"
  • 12:05 - 12:07
    เพราะว่า คุณเห็นใช่ไหม คนกลุ่มใหญ่
  • 12:07 - 12:09
    จะไม่ลองใช้อะไร
  • 12:09 - 12:11
    จนกว่าจะเห็นคนอื่น
  • 12:11 - 12:13
    ลองไปก่อนแล้ว
  • 12:13 - 12:16
    และคนพวกนี้ พวกนิยมนวัตกรรมกับพวกชอบลองของใหม่
  • 12:16 - 12:18
    พวกนี้โอเคกับการตัดสินใจโดยใช้ความรู้สึก
  • 12:18 - 12:21
    กล้าตัดสินใจโดยใช้สัญชาตญาณ
  • 12:21 - 12:24
    ทำอะไรด้วยแรงผลักดันจากความเชื่อของตัวเอง
  • 12:25 - 12:27
    ไม่ใช่ว่ามีสินค้าอะไรให้ซื้อบ้าง
  • 12:27 - 12:29
    คนพวกนี้คือคนที่ยอมยืนต่อคิวหกชั่วโมง
  • 12:29 - 12:31
    เพื่อซื้อไอโฟนตอนที่มันออกมาครั้งแรก
  • 12:31 - 12:33
    ในขณะที่อีกหนึ่งอาทิตย์ต่อมาคุณสามารถเดินเข้าไปในร้าน
  • 12:33 - 12:35
    แล้วหยิบจากชั้นได้สบายๆ
  • 12:35 - 12:37
    คนเหล่านี้คือคนที่ยอมจ่าย 40,000 ดอลลาร์
  • 12:37 - 12:40
    ซื้อทีวีจอแบนตอนที่มันออกมาครั้งแรก
  • 12:40 - 12:43
    ทั้งที่เทคโนโลยีก็ยังไม่ได้มาตรฐาน
  • 12:43 - 12:45
    อ้อ ที่จริงเขาไม่ได้ซื้อเพราะว่า
  • 12:45 - 12:47
    เพราะว่าเทคโนโลยีมันดีนะ
  • 12:47 - 12:49
    เขาซื้อเพื่อตอบสนองความต้องการตัวเอง
  • 12:49 - 12:51
    เพราะว่าเขาอยากจะเป็นคนแรก
  • 12:51 - 12:53
    เขาไม่ได้ซื้อสิ่งที่คุณทำ เขาซื้อเพราะเหตุผลเบื้องหลังที่คุณทำมัน
  • 12:53 - 12:55
    สิ่งที่คุณทำมันเป็นแค่
  • 12:55 - 12:57
    หลักฐานที่พิสูจน์สิ่งที่คุณเชื่อ
  • 12:57 - 12:59
    และที่จริง คนเราก็จะทำอะไร
  • 12:59 - 13:01
    เพื่อพิสูจน์สิ่งที่ตัวเองเชื่อนั่นแหละ
  • 13:01 - 13:03
    เหตุผลที่คนซื้อไอโฟน
  • 13:03 - 13:06
    ภายในหกชั่วโมงแรก
  • 13:06 - 13:08
    ยอมยืนต่อแถวหกชั่วโมง
  • 13:08 - 13:10
    มันมาจากความเชื่อของเขาว่าเขาเชื่ออะไร
  • 13:10 - 13:12
    และอยากให้คนอื่นมองเขาอย่างไร
  • 13:12 - 13:14
    เขาอยากได้ชื่อว่าเป็นคนแรก
  • 13:14 - 13:16
    คนเขาไม่ได้ซื้อสิ่งที่คุณทำครับ เขาซื้อเหตุผลที่คุณทำมัน
  • 13:16 - 13:18
    ผมขอยกตัวอย่างที่โด่งดังอีกอันหนึ่ง
  • 13:18 - 13:20
    ความล้มเหลวและความสำเร็จที่โด่งดัง
  • 13:20 - 13:22
    ของกฎการกระจายนวัตกรรม
  • 13:22 - 13:24
    เรื่องแรก ความล้มเหลวที่โด่งดังไปทั่ว
  • 13:24 - 13:26
    เรื่องนี้มาจากแวดวงการตลาด
  • 13:26 - 13:28
    อย่างที่ผมพูดไปเมื่อกี้
  • 13:28 - 13:31
    สูตรสำเร็จซึ่งประกอบด้วยเงิน คนเก่ง และภาวะตลาดที่เหมาะสม
  • 13:31 - 13:33
    ถ้ามีครบคุณน่าจะประสบความสำเร็จใช่ไหมครับ
  • 13:33 - 13:35
    ลองมาดูกรณี TiVo
  • 13:35 - 13:37
    เมื่อตอน TiVo ออกมาใหม่ๆ แปดเก้าปีก่อน
  • 13:37 - 13:39
    จนกระทั่งวันนี้
  • 13:39 - 13:42
    มันก็ยังเป็นยี่ห้อเดียวที่คุณภาพดีที่สุดในตลาด
  • 13:42 - 13:45
    ไม่มีใครคัดค้าน
  • 13:45 - 13:47
    บริษัทที่ผลิต TiVo ก็ทุนหนา
  • 13:47 - 13:49
    ภาวะตลาดก็เยี่ยมมาก
  • 13:49 - 13:51
    คือ เราใช้คำว่า TiVo เป็นคำกิริยากันเลย
  • 13:51 - 13:54
    เช่น ฉัน TiVo ขยะในดีวีดีของไทม์วอร์เนอร์ตลอดเลย
  • 13:57 - 13:59
    แต่ TiVi ล้มเหลวในทางการตลาด
  • 13:59 - 14:01
    มันไม่ทำเงินเลย
  • 14:01 - 14:03
    พอบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์
  • 14:03 - 14:05
    เขาขายหุ้นได้ราคา 30-40 ดอลล่าร์เท่านั้นเอง
  • 14:05 - 14:07
    แล้วราคาก็ตกลง และไม่เคยซื้อขายกันสูงกว่า 10 ดอลลาร์อีกเลย
  • 14:07 - 14:10
    ที่จริง ผมว่ามันไม่เคยซื้อขายเกิน 6 ดอลลาร์ด้วยซ้ำ
  • 14:10 - 14:12
    ยกเว้นช่วงขาขึ้นสุดๆ ไม่กี่ครั้ง
  • 14:12 - 14:14
    เพราะอะไร คุณเห็นไหม ตอน TiVo ออกวางตลาด
  • 14:14 - 14:17
    เขาบอกเราว่าเขามีสินค้าอะไร
  • 14:17 - 14:20
    "เรามีอุปกรณ์ที่หยุดรายการทีวีที่กำลังถ่ายทอดสดได้
  • 14:20 - 14:23
    ข้ามโฆษณาได้ ย้อนกลับไปดูใหม่ก็ได้
  • 14:23 - 14:25
    แล้วก็บันทึกรายการโปรดของคุณไว้ให้
  • 14:25 - 14:28
    โดยที่คุณไม่ต้องสั่งเลย"
  • 14:28 - 14:30
    คนส่วนใหญ่ที่ขี้ระแวงบอกว่า
  • 14:30 - 14:32
    "เราไม่เชื่อหรอก
  • 14:32 - 14:34
    เราไม่อยากได้ เราไม่ชอบไอ้เครื่องนี้
  • 14:34 - 14:36
    น่ากลัวออก"
  • 14:36 - 14:38
    สมมุติถ้าบริษัทพูดว่า
  • 14:38 - 14:40
    "ถ้าคุณเป็นคนประเภทที่
  • 14:40 - 14:43
    ชอบมีอำนาจควบคุม
  • 14:43 - 14:46
    ทุกด้านในชีวิตของตัวเอง
  • 14:46 - 14:49
    เรามีสินค้าที่เหมาะกับคุณ
  • 14:49 - 14:51
    มันหยุดรายการทีวีได้ ข้ามโฆษณาได้
  • 14:51 - 14:54
    บันทึกรายการโปรดของคุณได้ และอื่นๆ อีกมากมาย"
  • 14:54 - 14:56
    คนเขาไม่ได้ซื้อสิ่งที่คุณทำครับ เขาซื้อเหตุผลเบื้องหลังสิ่งที่คุณทำ
  • 14:56 - 14:58
    สิ่งที่คุณทำมันแค่ทำหน้าที่
  • 14:58 - 15:00
    เป็นหลักฐานยืนยันสิ่งที่คุณเชื่อ
  • 15:00 - 15:03
    ทีนี้ ผมจะเล่าตัวอย่างอีกเรื่อง
  • 15:03 - 15:06
    เกี่ยวกับกฎการกระจายนวัตกรรม
  • 15:06 - 15:09
    ในฤดูร้อนปี 1963
  • 15:09 - 15:11
    คน 250,000 คนมารวมตัวกัน
  • 15:11 - 15:13
    ที่ย่านการค้าในเมืองวอชิงตัน
  • 15:13 - 15:15
    เพื่อฟัง ดร. มาร์ติน ลูเธอร์ คิง พูด
  • 15:16 - 15:19
    ไม่มีการส่งบัตรเชิญ
  • 15:19 - 15:22
    ไม่มีเว็บไซต์ให้เช็ควันเวลา
  • 15:22 - 15:24
    แล้วท่านทำได้อย่างไร?
  • 15:24 - 15:26
    ดร. คิงไม่ใช่คนคนเดียวในอเมริกา
  • 15:26 - 15:28
    ที่เป็นนักปาฐกถาที่ยอดเยี่ยม
  • 15:28 - 15:30
    ท่านไม่ใช่คนเดียวในอเมริกาที่ได้รับผลกระทบ
  • 15:30 - 15:32
    จากสภาพสังคมอเมริกันก่อนที่สิทธิพลเมืองจะเบ่งบาน
  • 15:32 - 15:35
    ที่จริง ความคิดบางอย่างของท่านก็เป็นความคิดที่แย่
  • 15:35 - 15:37
    แต่ท่านมีพรสวรรค์
  • 15:37 - 15:40
    ท่านไม่ได้ไปคอยบอกชาวบ้านว่าเราต้องทำอะไรเพื่อเปลี่ยนอเมริกา
  • 15:40 - 15:42
    แต่ท่านออกไปพบปะและบอกกับผู้คนว่า
  • 15:42 - 15:44
    "ผมเชื่อ ผมเชื่อ ผมเชื่อ"
  • 15:44 - 15:46
    ท่านบอกประชาชนอย่างนั้น
  • 15:46 - 15:48
    และคนที่เชื่ออย่างเดียวกับท่าน
  • 15:48 - 15:50
    ก็เข้ามาร่วมวง และรู้สึกว่ามันเป็นเป้าหมายของตัวเอง
  • 15:50 - 15:52
    แล้วก็บอกต่อๆ กันไป
  • 15:52 - 15:54
    คนเหล่านี้ บางคนก็สร้างระบบ
  • 15:54 - 15:56
    สำหรับกระจายข่าวสารไปยังคนในวงกว้างขึ้นอีก
  • 15:56 - 15:58
    ไม่น่าเชื่อครับ
  • 15:58 - 16:00
    ปรากฏว่าคน 250,000 มาชุมนุมกัน
  • 16:00 - 16:03
    พร้อมเพรียงในวันและเวลาเดียวกัน
  • 16:03 - 16:05
    เพื่อฟัง ดร.คิงพูด
  • 16:05 - 16:08
    ในจำนวนนี้มีกี่คนครับ ที่มาเพื่อ ดร.คิง?
  • 16:09 - 16:11
    ไม่มีเลย
  • 16:11 - 16:13
    เขามาเพราะเหตุผลของเขาเอง
  • 16:13 - 16:15
    เพราะสิ่งที่เขาเชื่อเกี่ยวกับอเมริกา
  • 16:15 - 16:18
    ที่ทำให้เขากระโดดขึ้นรถโดยสาร เดินทางมาแปดชั่วโมง
  • 16:18 - 16:21
    เพื่อยืนตากแดดกลางเดือนสิงหาคมที่วอชิงตัน
  • 16:21 - 16:24
    เขามาเพื่อสิ่งที่เขาเชื่อ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของคนดำหรือคนขาวด้วย
  • 16:24 - 16:27
    25% ของคนที่มาวันนั้นเป็นคนขาว
  • 16:27 - 16:29
    ดร.คิงเชื่อว่า
  • 16:29 - 16:31
    โลกนี้มีกฎหมายอยู่สองประเภท
  • 16:31 - 16:33
    แบบที่เขียนโดยคนมีอำนาจ
  • 16:33 - 16:35
    กับแบบที่เขียนโดยประชาชน
  • 16:35 - 16:38
    เราต้องทำให้กฎหมายทุกอย่างที่เขียนด้วยประชาชน
  • 16:38 - 16:40
    กับกฎหมายที่เขียนโดยผู้มีอำนาจสอดคล้องกันเสียก่อน
  • 16:40 - 16:42
    เราถึงจะได้อยู่ในโลกที่ยุติธรรมอย่างแท้จริง
  • 16:42 - 16:44
    กลุ่มการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมือง
  • 16:44 - 16:47
    เป็นกลุ่มที่ช่วยสนับสนุน ดร.คิง
  • 16:47 - 16:49
    ในการทำความคิดนี้ให้เป็นจริง
  • 16:49 - 16:52
    เราเดินตามท่าน ไม่ใช่เพื่อตัวท่าน แต่เพื่อตัวเราเอง
  • 16:52 - 16:54
    อ้อ แล้วปาฐกถาที่ท่านพูดน่ะครับ ชื่อว่า "ผมมีความฝัน"
  • 16:54 - 16:56
    ไม่ใช่ "ผมมีแผน" นะครับ
  • 16:56 - 17:00
    (เสียงหัวเราะ)
  • 17:00 - 17:03
    ลองฟังนักการเมืองเดี๋ยวนี้พูดถึงแผน 12 ยุทธศาสตร์สิครับ
  • 17:03 - 17:05
    ไม่เห็นสร้างแรงบันดาลใจให้ใครได้เลย
  • 17:05 - 17:08
    โลกนี้มี "คนในตำแหน่งผู้นำ" กับ "คนที่เป็นผู้นำ"
  • 17:08 - 17:10
    คน "ในตำแหน่งผู้นำ" เขามีอำนาจ
  • 17:10 - 17:12
    ตามตำแหน่งหน้าที่
  • 17:12 - 17:15
    แต่คนที่ "เป็นผู้นำ" เขาสร้างแรงบันดาลใจให้เรา
  • 17:16 - 17:18
    ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือในองค์กร
  • 17:18 - 17:20
    เราเดินตามคนที่ "เป็นผู้นำ"
  • 17:20 - 17:22
    ไม่ใช่เพราะเราจำเป็นต้องทำ
  • 17:22 - 17:25
    แต่เพราะเราอยากทำ
  • 17:25 - 17:28
    เราเดินตามคนที่ "เป็นผู้นำ" ไม่ใช่เพื่อเขา
  • 17:28 - 17:30
    แต่เพื่อตัวเราเอง
  • 17:30 - 17:33
    คนที่เริ่มต้นด้วยคำถามว่า "ทำไม"
  • 17:33 - 17:35
    นั่นแหละคือคนที่มีความสามารถ
  • 17:35 - 17:37
    ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้คนรอบข้าง
  • 17:37 - 17:40
    หรือค้นพบคนที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเองได้
  • 17:40 - 17:42
    ขอบคุณมากครับ
  • 17:42 - 17:44
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ไซมอน ซิเน็ค: ผู้นำที่ยิ่งใหญ่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ตามได้อย่างไร
Speaker:
Simon Sinek
Description:

ไซมอน ซิเน็คเสนอโมเดลง่ายๆ แต่ทรงพลังสำหรับผู้นำนักสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งเริ่มจากหัวใจหลักคือคำถามว่า "ทำไม?" ไซมอนยกแอปเปิล มาร์ติน ลูเธอร์ คิง และพี่น้องตระกูลไรท์เป็นตัวอย่าง และเปรียบเทียบกับกรณี TiVo ซึ่งประสบปัญหาลุ่มๆ ดอนๆ ในการบริหาร (ก่อนหน้าที่จะชนะคดีซึ่งทำให้มูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นสามเท่าในภายหลัง)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:44
Thipnapa Huansuriya added a translation

Thai subtitles

Revisions