แดฟนี่ โคลเลอร์: เราเรียนรู้อะไรจากห้องเรียนออนไลน์
-
0:01 - 0:04เช่นเดียวกับคุณหลายคน ฉันเป็นคนหนึ่งที่โชคดี
-
0:04 - 0:07ฉันเกิดในครอบครัวที่การศึกษา แทรกซึมอยู่ในชีวิต
-
0:07 - 0:11ฉันเป็นรุ่นที่สามของครอบครับที่ได้ PhD
เป็นลูกสาวของนักวิชาการสองคน -
0:11 - 0:15ในวัยเด็ก ฉันวิ่งเล่นในห้องแล็บที่มหาวิทยาลัยของพ่อ
-
0:15 - 0:19เลยเป็นเรื่องปกติ ที่ฉันได้เข้ามหาวิทยาลัยชั้นดีเลิศ
-
0:19 - 0:23ซึ่งก็ช่วยเปิดประตูสู่โอกาสอีกมากมาย
-
0:23 - 0:27แต่น่าเสียดาย คนส่วนใหญ่ในโลกไม่ได้โชคดีอย่างนี้
-
0:27 - 0:30ในบางมุมของโลก ตัวอย่างเช่น ประเทศแอฟริกาใต้
-
0:30 - 0:33การศึกษาไม่ได้แค่เข้าถึงยาก
-
0:33 - 0:36ในประเทศแอฟริกาใต้ การศึกษาถูกออกแบบในยุคที่
-
0:36 - 0:39การกีดกันทางสีผิวเอื้อประโยชน์
ให้คนผิวขาวส่วนน้อย -
0:39 - 0:41และผลก็คือ ทุกวันนี้ ไม่มีที่ว่างมากพอ
-
0:41 - 0:45สำหรับคนจำนวนมากที่ต้องการ
และสมควรจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ -
0:45 - 0:49ความขาดแคลนนั้นนำมาสู่จลาจลในเดือนมกราคมต้นปีนี้
-
0:49 - 0:51ที่มหาวิทยาลัยแห่งโจฮันเนสเบิร์ก
-
0:51 - 0:53ที่ว่างสำหรับเข้าเรียนเหลืออยู่แค่หยิบมือ
-
0:53 - 0:56จากการคัดเลือกรอบปกติ และคืนก่อนหน้านั้น
-
0:56 - 0:59มหาวิทยาลัยจะเปิดให้คนมาสมัคร
-
0:59 - 1:03คนหลายพันเข้าแถวนอกรั้วยาวเป็นไมล์
-
1:03 - 1:07หวังว่าจะเป็นคนแรกสุดที่จะได้ที่นั่งนั้นมา
-
1:07 - 1:09ตอนที่ประตูเปิด เกิดเหตุโกลาหล
-
1:09 - 1:13คน 20 คนได้รับบาดเจ็บ และผู้หญิงหนึ่งคนเสียชีวิต
-
1:13 - 1:14เธอเป็นแม่ที่สละชีวิตของเธอ
-
1:14 - 1:19ขณะพยายามที่จะคว้าโอกาสเพื่อชีวิตที่ดีกว่ามาให้ลูกชาย
-
1:19 - 1:22แม้แต่ในอีกมุมของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา
-
1:22 - 1:26ที่การศึกษามีอยู่พร้อม แต่ก็ยังเกินเอื้อมสำหรับบางคน
-
1:26 - 1:29เป็นที่ถกเถียงอย่างมากใน 2-3 ปีที่ผ่านมานี้
-
1:29 - 1:31เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่สูงขึ้น
-
1:31 - 1:33แต่อีกอย่างที่อาจไม่เด่นชัดในสายตาของคน
-
1:33 - 1:37คือ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น
ค่าใช้จ่ายในการเรียนมหาวิทยาลัย -
1:37 - 1:40เพิ่มสูงขึ้นเป็นสองเท่าของอัตรานั้นเสียอีก
-
1:40 - 1:44คิดเป็นร้อยละ 559 เมื่อเทียบกับปี 1985
-
1:44 - 1:49นี่ทำให้การศึกษาแพงเกินไปสำหรับคนจำนวนมาก
-
1:49 - 1:52สุดท้าย แม้แต่คนที่หาทางเรียนจบมหาวิทยาลัยมาได้
-
1:52 - 1:55ประตูสู่โอกาสก็ยังไม่เปิดให้พวกเขา
-
1:55 - 1:58นักศึกษาจบใหม่ในสหรัฐอเมริกา
-
1:58 - 2:01จำนวนเกินครึ่งมานิดเดียว
-
2:01 - 2:04ที่ได้งานที่ต้องการระดับการศึกษาอย่างพวกเขา
-
2:04 - 2:06แน่นอนว่ามันไม่จริงสำหรับนักเรียน
-
2:06 - 2:08ที่เรียนจบมาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ
-
2:08 - 2:11แต่มีคนอื่นจำนวนมาก ที่ไม่ได้รับผลตอบแทน
-
2:11 - 2:14สำหรับเวลาและความพยายามของพวกเขา
-
2:14 - 2:17ทอม ฟรีดแมน เขียนบทความใน นสพ.นิวยอร์กไทม์ เร็วๆนี้
-
2:17 - 2:21พูดถึงจิตวิญญาณเบื้องหลังความพยายามของเรา
ซึ่งไม่มีใครพูดได้ดีไปกว่าเขา -
2:21 - 2:25เขาบอกว่าการค้นพบที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อ
-
2:25 - 2:28สิ่งที่เพิ่งเป็นไปได้มาพบกับสิ่งที่จำเป็นอย่างสูงสุด
-
2:28 - 2:31ฉันได้พูดเกี่ยวกับสิ่งที่จำเป็นอย่างสูงสุดไปแล้ว
-
2:31 - 2:34เรามาพูดถึงสิ่งที่เพิ่งจะเป็นไปได้กันบ้าง
-
2:34 - 2:37สิ่งที่เพิ่งจะเป็นไปได้นั้นสาธิตโดย
-
2:37 - 2:38ชั้นเรียนขนาดใหญ่ 3 ห้องที่แสตนฟอร์ด
-
2:38 - 2:42แต่ละห้องมีนักเรียน 100,000 คน หรือมากกว่านั้น
-
2:42 - 2:46เพื่อจะเข้าใจสิ่งนี้ เรามาดูหนึ่งในชั้นเรียนเหล่านั้นกัน
-
2:46 - 2:47วิชาการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning)
-
2:47 - 2:49สอนโดยเพื่อนร่วมงาน
และผู้ร่วมก่อตั้งของฉัน แอนดรูว์ อิ้ง -
2:49 - 2:52แอนดรูสอนในห้องเรียนขนาดใหญ่ที่แสตนฟอร์ด
-
2:52 - 2:53นั่นก็คือ วิชาการเรียนรู้ของเครื่องจักร
(Machine Learning) -
2:53 - 2:56ซึ่งมีนักเรียน 400 คน ในทุกๆครั้งที่เปิดสอน
-
2:56 - 3:00เวลาที่แอนดรูว์เปิดสอนวิชานี้ให้กับคนทั่วไป
-
3:00 - 3:02มีคน 100,000 คน ลงทะเบียนเรียน
-
3:02 - 3:04ถ้าจะทำให้เห็นภาพตัวเลขนั้นมากขึ้น
-
3:04 - 3:06ถ้าแอนดรูว์จะสอนให้ได้นักเรียนจำนวนเท่ากัน
-
3:06 - 3:08โดยการสอนชั้นเรียนที่แสตนฟอร์ด
-
3:08 - 3:12เขาต้องทำอย่างนั้นไป 250 ปี
-
3:12 - 3:16แน่นอน เขาคงจะเบื่อมาก
-
3:16 - 3:18ดังนั้น เราได้เห็นผลของสิ่งนี้แล้ว
-
3:18 - 3:22แอนดรูว์กับฉันตัดสินใจว่า
เราต้องพยายามขยายสิ่งนี้ -
3:22 - 3:26เพื่อนำการศึกษาคุณภาพสูงไปสู่คนจำนวนมาก
ให้ได้เท่าที่จะทำได้ -
3:26 - 3:27เราเลยก่อตั้ง คอร์เซอร์รา (Coursera)
-
3:27 - 3:30ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำวิชาเรียนที่ดีที่สุด
-
3:30 - 3:34จากผู้สอนที่มีคุณภาพที่สุด
ในสถาบันที่มีคุณภาพที่สุด -
3:34 - 3:38ไปให้ทุกคนรอบโลกได้เรียนฟรีๆ
-
3:38 - 3:40ตอนนี้เรามี 43 วิชาอยู่ในโครงการ
-
3:40 - 3:43จากมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ในสาขาวิชาหลากหลาย
-
3:43 - 3:45และฉันขอเปิดให้ดูนิดนึง เป็นภาพคร่าวๆ
-
3:45 - 3:49ว่าหน้าตาสิ่งนี้เป็นอย่างไร
-
3:49 - 3:50(วิดีโอ) โรเบิร์ต กริสต์: ยินดีต้อนรับสู่แคลคูลัส
-
3:50 - 3:52เอสเซเกียล อีมานูเอล: คน 50 ล้านคนไม่มีประกันชีวิต
-
3:52 - 3:55สก๊อต เพจ: แบบจำลองช่วยให้เราออกแบบหน่วยงานและนโยบายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
-
3:55 - 3:57เราได้การแบ่งแยกเชื้อชาติที่ไม่น่าเชื่อ
-
3:57 - 3:59สก๊อต เคลมเมอร์: บุชจินตนาการว่าในอนาคต
-
3:59 - 4:02เราจะใส่กล้องถ่ายรูปไว้ที่กลางหัวของเรา
-
4:02 - 4:06มิทเชล ดันเนียน: มิลส์ต้องการนักเรียนสาขาสังคมวิทยาเพื่อพัฒนาคุณภาพความคิด
-
4:06 - 4:09โรเบิร์ต กริสต์: สายไฟห้อยเป็นรูปร่างเหมือน
ไฮเปอร์โบลิคโคไซน์ (hyperbolic cosine) -
4:09 - 4:13นิก พาเรียนเท: สำหรับแต่ละพิกเซลในภาพ ตั้งค่าสีแดงเป็นศูนย์
-
4:13 - 4:16พอล ออฟฟิต: วัคซีนทำให้เราสามารถกำจัดไวรัสปอลิโอ
-
4:16 - 4:19แดน จูราฟสกี้: ลูฟแทนซ่าบริการอาหารเช้า
และ แซน โจสด้วยเหรอ? อืม นั่นฟังดูตลกดี -
4:19 - 4:23แดฟนี่ โคลเลอร์: แล้วเราจะเลือกเหรียญไหนดี
และนี่เป็นการโยนสองครั้ง -
4:23 - 4:26แอนดรู อิ้ง: ดังนั้น ในการเรียนรู้ของเครื่องระดับกว้าง
เราต้องการหาวิธีคำนวณ... -
4:26 - 4:32(เสียงปรบมือ)
-
4:32 - 4:34แดฟนี่ โคลเลอร์: ปรากฏว่า อาจจะไม่น่าแปลกใจนัก
-
4:34 - 4:37ว่านักเรียนได้รับเนื้อหาที่ดีที่สุด
-
4:37 - 4:39จากมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดฟรีๆ
-
4:39 - 4:42ตั้งแต่เราเปิดเว็ปไซต์ในเดือนกุมภาพันธ์
-
4:42 - 4:46ตอนนี้ เรามีนักเรียน 640,000 คน จาก 190 ประเทศ
-
4:46 - 4:48มีการลงทะเบียนเรียน 1.5 ล้านครั้ง
-
4:48 - 4:51มีนักเรียนทำแบบทดสอบ 6 ล้านชุด
ใน 15 ชั้นเรียนที่เราเปิดสอน -
4:51 - 4:56มีการดูวิดีโอถึง 14 ล้านครั้ง
-
4:56 - 4:59แต่เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของตัวเลข
-
4:59 - 5:00แต่เป็นเรื่องของผู้คนด้วยเช่นกัน
-
5:00 - 5:03ไม่ว่าจะเป็นอะคาชที่มาจากเมืองเล็กๆในอินเดีย
-
5:03 - 5:06ที่ไม่เคยมีโอกาสได้เข้าถึง
-
5:06 - 5:07ชั้นเรียนคุณภาพอย่างของแสตนฟอร์ด
-
5:07 - 5:10และไม่มีทางที่จะจ่ายค่าเรียนได้
-
5:10 - 5:12หรือเจนนี่ แม่ตัวคนเดียวที่เลี้ยงลูกสองคน
-
5:12 - 5:14ที่ต้องการเคาะสนิมทักษะต่างๆ
-
5:14 - 5:17เพื่อจะได้กลับไปเรียนปริญญาโทให้จบ
-
5:17 - 5:20หรือไรอัน ที่ไม่สามารถไปมหาวิทยาลัยได้
-
5:20 - 5:22เพราะลูกสาวที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
-
5:22 - 5:25ไม่สามารถเสี่ยงที่จะอยู่กับเชื้อโรคในบ้านได้
-
5:25 - 5:27ทำให้เขาออกจากบ้านไม่ได้
-
5:27 - 5:29ฉันดีใจมากที่จะบอกว่า --
-
5:29 - 5:31ไม่นานมานี้ เราติดต่อกับไรอัน --
-
5:31 - 5:33และพบว่าเรื่องนี้จบลงด้วยดี
-
5:33 - 5:35ทารกแชนนอน ที่อยู้ซ้ายมือนี้
-
5:35 - 5:36อาการดีขึ้นมากแล้วตอนนี้
-
5:36 - 5:40และไรอันได้งานเพราะได้ลงเรียนบางวิชาของเราไป
-
5:40 - 5:42แล้วอะไรที่ทำให้วิชาเรียนเหล่านี้แตกต่าง?
-
5:42 - 5:46จะว่าไป การเรียนออนไลน์
ก็เป็นสื่อที่แพร่หลายมานาน -
5:46 - 5:50แต่สิ่งที่ต่างคือประสบการณ์การเรียนที่เหมือนจริง
-
5:50 - 5:52เราเริ่มต้นในวันที่กำหนด
-
5:52 - 5:55แล้วนักเรียนจะดูวิดีโอทุกอาทิตย์
-
5:55 - 5:57และทำการบ้าน
-
5:57 - 5:59และนี่เป็นการบ้านจริงๆ
-
5:59 - 6:02เพื่อเกรดจริงๆ มีกำหนดส่งจริงๆ
-
6:02 - 6:04คุณลองดูกราฟวันกำหนดส่งกับปริมาณการใช้สิ
-
6:04 - 6:06ยอดแหลมๆนี้ชี้ว่า
-
6:06 - 6:10การผลัดวันประกันพรุ่ง
เป็นปรากฏการณ์เกิดขึ้นทั่วโลก -
6:10 - 6:13(เสียงหัวเราะ)
-
6:13 - 6:14หลังจากจบวิชาเรียนแล้ว
-
6:14 - 6:16นักเรียนจะได้รับประกาศนียบัตร
-
6:16 - 6:18พวกเขาสามารถแสดงใบประกาศนี้
-
6:18 - 6:21ต่อนายจ้างในอนาคตและหางานที่ดีขึ้น
-
6:21 - 6:23และเรารู้ว่านักเรียนจำนวนมากทำอย่างนั้น
-
6:23 - 6:25นักเรียนบางคนเอาใบประกาศไป
-
6:25 - 6:28แสดงต่อสถาบันการศึกษาที่เข้าเรียน
-
6:28 - 6:29เพื่อหน่วยกิตในมหาวิทยาลัย
-
6:29 - 6:32นักเรียนเหล่านี้ได้รับอะไรที่มีความหมาย
-
6:32 - 6:35กับการลงทุนเวลาและความพยายามจริงๆ
-
6:35 - 6:37มาพูดถึงองค์ประกอบต่างๆ
-
6:37 - 6:39ที่เกี่ยวกับวิชาเหล่านี้กันสักหน่อย
-
6:39 - 6:42องค์ประกอบแรกคือ เมื่อเราหลบออกจาก
-
6:42 - 6:44ข้อจำกัดของห้องเรียนที่เป็นกายภาพ
-
6:44 - 6:47และออกแบบบทเรียนเพื่อนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
-
6:47 - 6:49คุณสามารถแหวกออกจากตัวอย่างเช่น
-
6:49 - 6:52เลกเชอร์ความยาวหนึ่งชั่วโมงรวด
-
6:52 - 6:53เราสามารถแบ่งเนื้อหา
-
6:53 - 6:57ออกเป็นช่วงสั้นๆ เป็นหน่วยย่อยความยาว 8-12 นาที
-
6:57 - 7:00แต่ละอันนำเสนอชุดความคิดที่เชื่อมโยงกัน
-
7:00 - 7:02นักเรียนสามารถเดินทางผ่านเนื้อหาเหล่านี้ได้หลายทาง
-
7:02 - 7:06ขึ้นอยู่กับภูมิหลัง ทักษะ และความสนใจ
-
7:06 - 7:09ตัวอย่างเช่น นักเรียนบางคนอาจจะได้ประโยชน์
-
7:09 - 7:11จากเนื้อหาพื้นฐานเพื่อเตรียมพร้อม
-
7:11 - 7:13ที่นักเรียนคนอื่นอาจจะรู้อยู่แล้ว
-
7:13 - 7:16ส่วนคนอื่นอาจจะสนใจเนื้อหาเสริมเฉพาะเรื่อง
-
7:16 - 7:19ที่นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามใจชอบ
-
7:19 - 7:22ดังนั้น รูปแบบนี้จึงช่วยให้เราแหวกออกจาก
-
7:22 - 7:25รูปแบบการศึกษาแบบไซส์เดียวฟิตทุกคน
-
7:25 - 7:29และช่วยให้นักเรียนสามารถ
เลือกหลักสูตรที่เหมาะกับตัวเองได้ -
7:29 - 7:31แน่นอน ในฐานะนักการศึกษา เรารู้ว่า
-
7:31 - 7:35นักเรียนไม่ได้เรียนรู้จากการนั่งนิ่งๆดูวิดีโอ
-
7:35 - 7:38บางทีองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด
ของความพยายามนี้ -
7:38 - 7:40คือเราต้องให้นักเรียน
-
7:40 - 7:43ฝึกฝนเนื้อหาบทเรียน
-
7:43 - 7:46เพื่อให้เข้าใจจริงๆ
-
7:46 - 7:49ที่ผ่านมามีงานวิจัยมากมาย
ที่ชี้ถึงความสำคัญของสิ่งนี้ -
7:49 - 7:52อันหนึ่งที่ลงในนิตยสาร Science ปีที่แล้ว เป็นตัวอย่าง
-
7:52 - 7:54ชี้ให้เห็นว่าแม้แต่แบบฝึกหัด
ทบทวนความจำแบบพื้นฐาน -
7:54 - 7:57ที่นักเรียนแค่ต้องพูดซ้ำ
-
7:57 - 7:59สิ่งที่เพิ่งเรียนไป
-
7:59 - 8:01ทำให้นักเรียนทำคะแนนได้ดีกว่ามาก
-
8:01 - 8:03ในการทดสอบมาตรฐานหลายๆอย่างหลังจากนั้น
-
8:03 - 8:07ให้ผลมากกว่าการแทรกแซงอื่นๆ
-
8:07 - 8:10เราได้ลองสร้างแบบฝึกหัดทบทวนความจำเข้าไปในนี้
-
8:10 - 8:12รวมไปถึงแบบทดสอบรูปแบบอื่นๆด้วย
-
8:12 - 8:16ตัวอย่างเช่น แม้แต่วิดีโอของเราไม่ได้เป็นแค่วิดีโอ
-
8:16 - 8:19ทุก 2-3 นาที วิดีโอจะหยุด
-
8:19 - 8:21และนักเรียนจะต้องตอบคำถาม
-
8:21 - 8:23(วิดีโอ) สก๊อต เพจ: ... สี่สิ่งนี้ Prospect Theory, hyperbolic discounting,
-
8:23 - 8:26status quo bias, base rate bias มีการศึกษาสนับสนุนมาก
-
8:26 - 8:29ทั้งสี่อย่างเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนจากความเป็นเหตุเป็นผล
ที่ได้รับการสนับสนุน -
8:29 - 8:30แดฟนี่ โคลเลอร์: แล้วตอนนี้วิดีโอก็จะหยุด
-
8:30 - 8:33และนักเรียนพิมพ์คำตอบเข้าไปในกล่อง
-
8:33 - 8:36และกดส่ง อย่างที่เห็น พวกเขาไม่ได้ตั้งใจฟังอยู่
-
8:36 - 8:37(เสียงหัวเราะ)
-
8:37 - 8:39พวกเขาเลยต้องลองอีกครั้ง
-
8:39 - 8:41และครั้งนี้พวกเขาตอบถูก
-
8:41 - 8:43มีตัวเลือกให้เปิดดูคำอธิบาย ถ้านักเรียนต้องการ
-
8:43 - 8:48และทีนี้วิดีโอเลื่อนไปเลกเชอร์ในส่วนต่อไป
-
8:48 - 8:50นี่เป็นคำถามประเภทพื้นฐาน
-
8:50 - 8:52ประเภทที่ฉันถามเวลาฉันสอนในชั้นเรียนจริง
-
8:52 - 8:54แต่เวลาที่ฉันถามคำถามอย่างนั้นในชั้นเรียน
-
8:54 - 8:56ร้อยละ 80 ของนักเรียน
-
8:56 - 8:57ยังจดสิ่งที่ฉันเพิ่งพูดจบไป ยิกๆ
-
8:57 - 9:01ร้อยละ 15 ใจลอยไปกับ Facebook
-
9:01 - 9:03และก็ มีเด็กแถวหน้าที่รู้ทุกอย่าง
-
9:03 - 9:05ที่ตะโกนคำตอบออกมา
-
9:05 - 9:07ก่อนที่คนอื่นๆในห้อง้รียนมีโอกาสที่จะคิดสักหน่อย
-
9:07 - 9:10และฉันในฐานะคนสอนก็ดีใจล้นเหลือ
-
9:10 - 9:11ที่บางคนรู้คำตอบ
-
9:11 - 9:14และการบรรยายดำเนินต่อไป ก่อนที่ ในความเป็นจริง
-
9:14 - 9:18นักเรียนสาวนใหญ่จะรู้ตัวว่ามีการถามคำถามเกิดขึ้น
-
9:18 - 9:20ที่นี่ นักเรียนทุกคน
-
9:20 - 9:23ต้องมีส่วนร่วมไปกับเนื้อหา
-
9:23 - 9:25และแน่นอนว่าคำถามทบทวนความจำพื้นฐานเหล่านี้
-
9:25 - 9:27ไม่ได้เป็นตอนจบของเรื่อง
-
9:27 - 9:30เราต้องเติมคำถามที่มีความหมายลึกซึ้งกว่านั้นเข้าไปด้วย
-
9:30 - 9:32และเราก็ต้องให้ผลตอบกลับกับนักเรียน
-
9:32 - 9:34ในคำถามเหล่านั้น
-
9:34 - 9:36ทีนี้ ทำอย่างไรเราจะตรวจการบ้านของนักเรียน 100,000 คนได้
-
9:36 - 9:40โดยที่ไม่ต้องมีผู้ช่วยสอน 10,000 คน?
-
9:40 - 9:42คำตอบคือ เราต้องใช้เทคโนโลยี
-
9:42 - 9:43ให้ทำงานให้เรา
-
9:43 - 9:46ทีนี้ โชคดีหน่อย ที่เทคโนโลยีพัฒนามาไกลแล้ว
-
9:46 - 9:49และตอนนี้เราสามารถตรวจการบ้านในรูปแบบที่น่าสนใจหลากหลายได้
-
9:49 - 9:51นอกเหนือไปจากแบบฝึกหัดแบบปรนัย
-
9:51 - 9:54และประเภทคำตอบสั้นๆ แบบที่คุณเห็นไปแล้วในวิดีโอ
-
9:54 - 9:57เราสามารถตรวจวิชาคณิตศาสตร์ สมการทางคณิตศาสตร์
-
9:57 - 9:59และการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ด้วย
-
9:59 - 10:02เราสามารถตรวจแบบจำลอง ไม่ว่าจะเป็น
-
10:02 - 10:04แบบจำลองทางการเงินในวิชาธุรกิจ
-
10:04 - 10:07หรือแบบจำลองทางกายภาพในวิชาวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรม
-
10:07 - 10:11และเราสามารถตรวจงานเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนได้
-
10:11 - 10:13ฉันจะให้คุณดูตัวอย่างหนึ่งที่เรียบง่ายมาก
-
10:13 - 10:14และเห็นภาพง่าย
-
10:14 - 10:17ตัวอย่างนี้มาจากชั้นเรียนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ 101
ของแสตนฟอร์ด -
10:17 - 10:18และนักเรียนต้องปรับสี
-
10:18 - 10:20ภาพสีแดงเบลอๆนั้น
-
10:20 - 10:22พวกเขาพิมพ์โปรแกรมเข้ามาในหน้าเว็บ
-
10:22 - 10:26และคุณจะเห็นว่าเขายังทำไม่ถูกนัก เทพีเสรีภาพยังเมาเรืออยู่
-
10:26 - 10:30นักเรียนเลยต้องลองอีกครั้ง และครั้งนี้พวกเขาทำได้ถูกต้อง
และเขารู้ว่าเขาทำถูก -
10:30 - 10:32และพวกเขาได้เลื่อนไปทำคำถามต่อไป
-
10:32 - 10:35ความสามารถที่จะได้มีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหา
-
10:35 - 10:37และได้รับรู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่ถูกหรือผิด
-
10:37 - 10:40เป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของนักเรียน
-
10:40 - 10:42ที่นี้ แน่นอน ว่าเรายังไม่สามารถตรวจ
-
10:42 - 10:45งานทุกรูปแบบหลากหลายที่เราต้องการสำหรับทุกวิชา
-
10:45 - 10:49โดยเฉพาะ สิ่งที่ขาดไปคืองานประเภททักษะการคิดวิเคราะห์
-
10:49 - 10:50ที่เป็นหัวใจสำคัญของแขนงวิชา
-
10:50 - 10:54อย่างมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ธุรกิจ และอื่นๆ
-
10:54 - 10:56ดังนั้น เราเลยลองโน้มน้าว
-
10:56 - 10:58อาจารย์สายมนุษยศาสตร์บางคน
-
10:58 - 11:01ว่าแบบฝึกหัดปรนัยไม่ใช่กลยุทธ์ที่แย่ขนาดนั้น
-
11:01 - 11:03แต่มันไม่ได้ผ่านไปด้วยดีเท่าไหร่
-
11:03 - 11:05เราเลยต้องคิดค้นทางแก้ที่แตกต่างออกไป
-
11:05 - 11:08และทางแก้ที่เราลงเอย ก็คือการให้นักเรียนตรวจงานกันเอง
-
11:08 - 11:11ปรากฏว่า งานวิจัยที่ผ่านมาชี้ว่า
-
11:11 - 11:12เช่นชิ้นนี้ โดยแซดเลอร์และกู้ด
-
11:12 - 11:15การให้นักเรียนตรวจงานกันเองเป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลดี
อย่างน่าประหลาดใจ -
11:15 - 11:18สำหรับการให้คะแนนที่สอดคล้องกัน
-
11:18 - 11:20วิธีนี้ถูกทดลองในชั้นเรียนขนาดเล็ก
-
11:20 - 11:21และมันชี้ให้เห็นว่า ตัวอย่างเช่น
-
11:21 - 11:24เกรดที่นักเรียนให้ ในแกน y
-
11:24 - 11:25ที่จริงแล้วสอดคล้องอย่างมาก
-
11:25 - 11:27กับเกรดที่อาจารย์ให้ ในแกน x
-
11:27 - 11:31สิ่งที่น่าประหลาดใจยิ่งไปกว่านั้นคือ เกรดที่นักเรียนให้ตัวเอง
-
11:31 - 11:33ในเวลาที่นักเรียนตรวจงานของตัวเองอย่างมีวิจารญาณ --
-
11:33 - 11:35แต่คือเราต้องให้แรงจูงใจอย่างเหมาะสม
-
11:35 - 11:37เพื่อนักเรียนจะได้ไม่ให้ตัวเองได้คะแนนเต็ม --
-
11:37 - 11:40นั้นสอดคล้องกับคะแนนที่อาจารย์ให้มากกว่าเสียอีก
-
11:40 - 11:41และนี่เป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลดีมาก
-
11:41 - 11:44ที่สามารถใช้ในการให้คะแนน
-
11:44 - 11:46และยังเป็นกลยุทธ์การเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์มากอีกด้วย
-
11:46 - 11:49เพราะนักเรียนสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรวจงาน
-
11:49 - 11:53ตอนนี้เรามีระบบการตรวจงานกันเองของนักเรียน
ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา -
11:53 - 11:56ที่มีนักเรียนเป็นหมื่นคน
-
11:56 - 11:57ตรวจงานกันเอง
-
11:57 - 12:00และฉันต้องบอกว่า ไปได้สวยมากด้วย
-
12:00 - 12:02แต่นี่ไม่ได้เป็นแค่นักเรียน
-
12:02 - 12:05นั่งอยู่คนเดียวในห้องนั่งเล่น แก้โจทย์ปัญหาไปเรื่อยๆ
-
12:05 - 12:07ในทุกๆวิชาเรียน
-
12:07 - 12:09ชุมชนของนักเรียนถูกสร้างขึ้น
-
12:09 - 12:11ชุมชนที่ครอบคลุมคนจากทั่วโลก
-
12:11 - 12:14ที่มีจุดมุ่งหมายด้านปัญญาร่วมกัน
-
12:14 - 12:16สิ่งที่คุณเห็นอยู่นี้คือแผนที่ที่สร้างขึ้นเอง
-
12:16 - 12:19โดยนักเรียนในชั้นเรียนสังคมวิทยา 101 ของปรินตัน
-
12:19 - 12:22ที่นักเรียนต้องปักหมุดตัวเองในแผนที่โลก
-
12:22 - 12:25และคุณจะเห็นได้ว่าความพยายามนี้ไปถึงทั่วทุกมุมโลก
-
12:25 - 12:30นักเรียนทำงานร่วมกันในวิชาเรียนในวิธีต่างๆหลากหลาย
-
12:30 - 12:32แรกที่สุด เรามีพื้นที่สำหรับคำถามและคำตอบ
-
12:32 - 12:34ที่นักเรียนไปถามคำถาม
-
12:34 - 12:37แล้วนักเรียนคนอื่นมาตอบคำถามเหล่านั้น
-
12:37 - 12:38และสิ่งที่น่าประทับใจมากๆก็คือ
-
12:38 - 12:40เพราะเรามีนักเรียนเยอะมาก
-
12:40 - 12:42มันหมายความว่าแม้ว่านักเรียนจะถามคำถาม
-
12:42 - 12:44ตอนตีสาม
-
12:44 - 12:46สักที่บนโลกนี้
-
12:46 - 12:48จะมีใครสักคนที่ยังตื่นอยู่
-
12:48 - 12:50และกำลังทำโจทย์ข้อเดียวกันนี้
-
12:50 - 12:52ดังนั้น ในหลายวิชาที่เราเปิดสอน
-
12:52 - 12:54ค่ามัธยฐานของเวลาที่ใช้ตอบคำถาม
-
12:54 - 12:58ในพื้นที่คำถามคำตอบนั้น คือ 22 นาที
-
12:58 - 13:02ซึ่งเป็นการบริการเหนือระดับชนิดที่เราไม่มีที่แสตนฟอร์ด
-
13:02 - 13:04(เสียงหัวเราะ)
-
13:04 - 13:06และคุณจะเห็นได้จากความในใจจากนักเรียน
-
13:06 - 13:07ว่านักเรียนพบว่า
-
13:07 - 13:10เพราะชุมชนออนไลน์ขนาดใหญ่นี้
-
13:10 - 13:12พวกเขามีโอกาสมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างหลากหลาย
-
13:12 - 13:17ในรูปแบบที่ลึกซึ้งกว่าในห้องเรียนปกติทั่วไป
-
13:17 - 13:19นักเรียนรวมกลุ่มกันเอง
-
13:19 - 13:21โดยที่ราไม่ต้องเข้าไปแทรกแซง
-
13:21 - 13:23เป็นกลุ่มช่วยกันเรียนย่อยๆ
-
13:23 - 13:25บางกลุ่มก็มาพบปะกันจริงๆ
-
13:25 - 13:27ตามข้อจำกันทางภูมิศาสตร์จะเอื้ออำนวย
-
13:27 - 13:30และพบกันทุกสัปดาห์ เพื่อทำการบ้านด้วยกัน
-
13:30 - 13:32นี่เป็นกลุ่มช่วยกันเรียนในซานฟรานซิสโก
-
13:32 - 13:34มีกลุ่มอย่างนี้กระจายทั่วโลก
-
13:34 - 13:36บางกลุ่มก็เป็นกลุ่มออนไลน์
-
13:36 - 13:39แบ่งตามภาษา หรือกลุ่มก้อนทางวัฒนธรรม
-
13:39 - 13:40และในมุมซ้ายล่างนี้
-
13:40 - 13:44คุณจะเห็นกลุ่มช่วยกันเรียนที่หลากหลายทางวัฒนธรรม
-
13:44 - 13:46ที่สมาชิกมีความต้องการเฉพาะที่จะติดต่อ
-
13:46 - 13:49กับผู้คนจากวัฒนธรรมอื่น
-
13:49 - 13:51มีโอกาสต่างๆมหาศาล
-
13:51 - 13:54ที่จะเกิดขึ้นในโครงสร้างประเภทนี้
-
13:54 - 13:58อย่างแรกคือ สิ่งนี้มีศักยภาพที่จะช่วยให้เรา
-
13:58 - 14:00เข้าใจอย่างที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อน
-
14:00 - 14:03เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์
-
14:03 - 14:06เพราะข้อมูลที่เราเก็บได้ที่นี่เป็นเอกลักษณ์มาก
-
14:06 - 14:10เราสามารถเก็บข้อมูลทุกคลิ๊ก ทุกการบ้าน ทุกการส่งงาน
-
14:10 - 14:15ทุกคำถามที่โพสต์จากนักเรียนเป็นหมื่นๆคน
-
14:15 - 14:17ดังนั้น เราสามารถเปลี่ยนการเรียนรู้ของมนุษย์
-
14:17 - 14:19ที่อยู่บนฐานของสมมติฐาน
-
14:19 - 14:22ให้อยู่บนฐานของข้อมูล การเปลี่ยนแปลที่
-
14:22 - 14:25ปฏิวัติวิชาชีววิทยามาแล้ว เป็นต้น
-
14:25 - 14:28เราสามารถใช้ข้อมูลนี่เพื่อเข้าใจคำถามที่เป็นรากฐาน
-
14:28 - 14:30เช่น อะไรคือกลยุทธ์การเรียนรู้ที่ดี
-
14:30 - 14:33ที่มีประสิทธิผลดี และอันไหนที่ไม่ดี?
-
14:33 - 14:35และในบริบทของวิชาใดวิชาหนึ่ง
-
14:35 - 14:37เราสามารถถามคำถาม
-
14:37 - 14:40เช่น อะไรเป็นความเข้าใจผิดที่พบบ่อย
-
14:40 - 14:42และเราจะช่วยให้นักเรียนแก้มันได้อย่างไร?
-
14:42 - 14:43และนี่เป็นตัวอย่างของสิ่งนั้น
-
14:43 - 14:45มาจากวิชาการเรียนรู้ของเครื่องโดยแอนดรูเช่นกัน
-
14:45 - 14:48นี่เป็นการกระจายตัวของคำตอบที่ผิด
-
14:48 - 14:49ในการบ้านอันหนึ่งของแอนดรู
-
14:49 - 14:51และคำตอบบังเอิญเป็นตัวเลขที่เป็นคู่
-
14:51 - 14:53เราสามารถวาดผังสองมิติออกมา
-
14:53 - 14:57กากบาทเล็กๆแต่ละอันแทนคำตอบที่ผิดแต่ละอัน
-
14:57 - 15:00กากบาทอันใหญ่ๆที่มุมซ้ายบน
-
15:00 - 15:02เป็นคำตอบที่นักเรียน 2,000 คน
-
15:02 - 15:05ตอบผิดเหมือนกันเป๊ะ
-
15:05 - 15:07ทีนี้ ถ้าเรียนมีนักเรียนในชั้น 100 คน
-
15:07 - 15:08ตอบคำตอบผิดแบบเดียวกัน
-
15:08 - 15:10เราไม่จะไม่ทันได้สังเกต
-
15:10 - 15:12แต่เวลาที่นักเรียน 2,000 คนตอบผิดแบบเดียวกัน
-
15:12 - 15:14มันก็ยากที่จะพลาดไป
-
15:14 - 15:16แอนดรูและนักเรียนของเขาจึงเข้าไป
-
15:16 - 15:18ดูการบ้านบางส่วนนั้น
-
15:18 - 15:22เข้าใจต้นตอของปัญหาของความเข้าใจผิดนั้น
-
15:22 - 15:24แล้วจัดทำคำอธิบายอย่างเฉพาะเจาะจงขึ้นมา
-
15:24 - 15:27ที่จะแสดงให้นักเรียนทุกคน
-
15:27 - 15:29ที่ตอบคำถามด้วยคำตอบนั้นเห็น
-
15:29 - 15:31ซึ่งก็แปลว่า นักเรียนที่ทำผิดอย่างเดียวกันนั้น
-
15:31 - 15:33จะได้รับผลตอบรับที่เฉพาะเจาะจง
-
15:33 - 15:37บอกพวกเขาว่าจะแก้ความเข้าใจผิดนั้นได้อย่างไร อย่างตรงประเด็น
-
15:37 - 15:41การทำบทเรียนให้เหมาะเป็นรายบุคคลนี้ เราทำได้
-
15:41 - 15:44เพราะข้อดีจากการที่เรามีนักเรียนจำนวนมาก
-
15:44 - 15:46การทำบทเรียนให้เหมาะเป็นรายบุคคลนี้ บางที
-
15:46 - 15:49เป็นหนึ่งในโอกาสที่สำคัญที่สุดที่นี่ด้วยเหมือนกัน
-
15:49 - 15:51เพราะนี่แสดงถึงศักยภาพที่เราจะ
-
15:51 - 15:54แก้ปัญหาที่มีอายุกว่า 30 ปีได้
-
15:54 - 15:57นักวิจัยทางการศึกษา เบนจามิน บลูม ในปี 1984
-
15:57 - 16:00ตั้งคำถามที่เขาเรียกว่าปัญหาสองซิกม่า
-
16:00 - 16:03ที่เขาสังเกตได้จากการศึกษาประชากร 3 กลุ่ม
-
16:03 - 16:06กลุ่มแรกเป็นประชากรนักเรียนที่เรียนในห้องเรียนแบบเลกเชอร์
-
16:06 - 16:09กลุ่มที่สองเป็นประชากรนักเรียนที่เรียน
-
16:09 - 16:11โดยใช้ห้องเรียนเลกเชอร์แบบมาตรฐาน
-
16:11 - 16:13แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อความเชี่ยวชาญเป็นหลัก
-
16:13 - 16:15คือนักเรียนไม่สามารถผ่านไปเรียนหัวข้อต่อไปได้
-
16:15 - 16:18ถ้ายังไม่แสดงความเชี่ยวชาญในหัวข้อก่อนหน้า
-
16:18 - 16:20และสุดท้าย คือกลุ่มประชากรนักเรียนที่
-
16:20 - 16:25เรียนแบบตัวต่อตัวกับผู้สอนส่วนตัว
-
16:25 - 16:28กลุ่มประชากรที่เน้นความเชี่ยวชาญ ทำคะแนนสอบได้ดีกว่า
-
16:28 - 16:30หนึ่งส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ หนึ่งซิกม่า
-
16:30 - 16:33กว่านักเรียนในห้องเรียนแบบเลกเชอร์
-
16:33 - 16:35และนักเรียนแบบตัวต่อตัวทำได้ดีว่า 2 ซิกม่า
-
16:35 - 16:37ในคะแนนพัฒนาการ
-
16:37 - 16:38เพื่อจะเข้าใจว่ามันแปลว่าอะไร
-
16:38 - 16:40ลองมาดูห้องเรียนแบบเลกเชอร์
-
16:40 - 16:43และลองเลือกค่ามัธยฐานเป็นเกณฑ์ผ่าน
-
16:43 - 16:44ฉะนั้น ในห้องเรียนเลกเชอร์
-
16:44 - 16:48ครึ่งหนึ่งของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์นั้น และครึ่งหนึ่งต่ำกว่า
-
16:48 - 16:50ในการเรียนแบบตัวต่อตัว
-
16:50 - 16:55ร้อยละ 98 ของนักเรียนจะผ่านเกณฑ์นั้น
-
16:55 - 16:59ลองคิดดูว่าถ้าเราสามารถสอนในแบบที่นักเรียนร้อยละ 98
-
16:59 - 17:01จะได้สูงกว่าเกณฑ์ผ่านได้ไหม
-
17:01 - 17:05เราเจอปัญหาสองซิกม่า
-
17:05 - 17:07เพราะสังคมเราไม่มีปัญญาจ่าย
-
17:07 - 17:10ให้นักเรียนทุกคนมีผู้สอนส่วนตัวได้
-
17:10 - 17:12แต่บางทีเราอาจจะสามารถจัดให้นักเรียนทุกคน
-
17:12 - 17:14มีคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนได้
-
17:14 - 17:17ดังนั้น คำถามก็คือ ทำอย่างไรเราจะใช้เทคโนโลยี
-
17:17 - 17:20เพื่อดันฝั่งซ้ายของกราฟ จากเส้นสีน้ำเงิน
-
17:20 - 17:23ไปอยู่ฝั่งขวา แบบเส้นสีเขียวได้?
-
17:23 - 17:25ความเชี่ยวชาญทำได้ง่ายจากการใช้คอมพิวเตอร์
-
17:25 - 17:26เพราะคอมพิวเตอร์ไม่เคยจะเบื่อ
-
17:26 - 17:30ที่จะเปิดวิดีโอเดิมๆ 5 ครั้ง
-
17:30 - 17:33และมันก็ไม่เคยเบื่อที่จะตรวจการบ้านเดิมๆหลายๆครั้ง
-
17:33 - 17:36เราได้เห็นตัวอย่างหลายๆอันที่ฉันเสนอไปแล้ว
-
17:36 - 17:38แม้แต่การทำบทเรียนให้เหมาะเป็นรายบุคคล
-
17:38 - 17:40เป็นสิ่งที่เราเริ่มเห็นจุดเริ่มต้น
-
17:40 - 17:43ไม่ว่าจะเป็นผ่านการสร้างเส้นทางหลักสูตรที่เหมาะกับแต่ละคน
-
17:43 - 17:46หรือการเลือกผลตอบกลับที่เหมาะกับแต่ละคนที่ฉันให้ดูไปแล้ว
-
17:46 - 17:49ดังนั้น จุดมุ่งหมายคือการพยายามดัน
-
17:49 - 17:52แล้วมาดูกันว่าเราจะเข้าใกล้เส้นสีเขียวได้มากแค่ไหน
-
17:52 - 17:58ดังนั้น ถ้าสิ่งนี่ประเสริฐขนาดนี้ มหาวิทยาลัยจะตกยุคไปแล้วหรือ?
-
17:58 - 18:01อืม มาร์ก ทเวน คิดอย่างนั้นแน่ๆ
-
18:01 - 18:03เขาบอกว่า "มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ที่บทบรรยายของศาสตราจารย์
-
18:03 - 18:05ตรงเข้าสู่สมุดจดบรรยายของนักเรียน
-
18:05 - 18:07โดยไม่ผ่านสมองของทั้งคู่"
-
18:07 - 18:11(เสียงหัวเราะ)
-
18:11 - 18:14แต่ฉันขอคิดต่างจากมาร์ก ทเวน
-
18:14 - 18:17ฉันคิดว่าสิ่งที่เขาบ่นถึงนั้นไม่ใช่
-
18:17 - 18:19มหาวิทยาลัย แต่เป็นการเรียนแบบเลกเชอร์
-
18:19 - 18:22ที่มหาวิทยาลัยจำนวนมากใช้เวลาส่วนใหญ่ทำ
-
18:22 - 18:25ลองย้อนกลับไปไกลกว่านั้น ถึงพลูทาร์ช
-
18:25 - 18:28ที่พูดว่า "ปัญญาไม่ใช่กล่องที่รอให้ใครมาเติมให้เต็ม
-
18:28 - 18:30แต่เป็นไม้ที่ต้องการเชื้อเพลิง"
-
18:30 - 18:32ดังนั้น บางทีเราควรจะลดเวลาในมหาวิทยาลัย
-
18:32 - 18:34ที่ใช้เพื่อเติมปัญญาของนักเรียนด้วยเนื้อหา
-
18:34 - 18:38โดยการเลกเชอร์ใส่นักเรียน และเพิ่มการจุดประกาย
ความคิดสร้างสรรค์ -
18:38 - 18:41จินตนาการ และทักษะการแก้ปัญหา
-
18:41 - 18:44โดยคุยกับนักเรียนจริงๆ
-
18:44 - 18:45แล้วเราจะทำอย่างไร?
-
18:45 - 18:49เราทำอย่างนั้นโดยการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
-
18:49 - 18:51และมีงานวิจัยมากมาย รวมถึงงานนี้
-
18:51 - 18:53ที่ชี้ว่าถ้าเราใช้การเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม
-
18:53 - 18:56มีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนในชั้นเรียน
-
18:56 - 18:58ผลการเรียนดีขึ้นในทุกเกณฑ์การวัด --
-
18:58 - 19:01การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม และการเรียนรู้
-
19:01 - 19:03จากการวัดด้วยข้อสอบมาตรฐาน
-
19:03 - 19:05คุณสามารถเห็นได้ ตัวอย่างเช่น จากคะแนนสอบวัดผล
-
19:05 - 19:08เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในการทดลองนี้
-
19:08 - 19:12ดังนั้น บางทีนี่เป็นกิจกรรมที่เราควรทำในมหาวิทยาลัย
-
19:12 - 19:17สรุปก็คือ ถ้าเราสามารถเสนอการศึกษาคุณภาพแนวหน้า
-
19:17 - 19:18ให้กับทุกๆคนรอบโลก แบบฟรี
-
19:18 - 19:21จะเกิดอะไรขึ้น? สามอย่าง
-
19:21 - 19:25อย่างแรก การศึกษาจะกลายเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
-
19:25 - 19:26ที่คนทุกคนรอบโลก
-
19:26 - 19:28ที่มีความสามารถและแรงขับ
-
19:28 - 19:30สามารถเรียนรู้ทักษะที่ต้องการ
-
19:30 - 19:31เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นได้ สำหรับพวกเขา
-
19:31 - 19:34ครอบครัว และชุมชน
-
19:34 - 19:36อย่างที่สอง จะทำได้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
-
19:36 - 19:38มันน่าละอายสำหรับใครหลายคน
-
19:38 - 19:41ที่การเรียนรู้หยุดลงเมื่อเรียนจบชั้นมัธยม หรือเรียนจบมหาวิทยาลัย
-
19:41 - 19:44ด้วยการมีบทเรียนเหล่านี้
-
19:44 - 19:47เราสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
-
19:47 - 19:48ทุกครั้งที่เราต้องการ
-
19:48 - 19:49ไม่ว่าจะเพื่อขยายขอบเขตความรู้
-
19:49 - 19:51หรือเพื่อเปลี่ยนชีวิต
-
19:51 - 19:54และท้ายที่สุด นี่จะช่วยให้เกิดคลื่นลูกใหม่ของนวัตกรรม
-
19:54 - 19:57เพราะเราจะพบคนมีสามารถได้ทั่วไป
-
19:57 - 20:00บางทีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์คนต่อไป หรือสตีฟ จอบส์คนต่อไป
-
20:00 - 20:03อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆในแอฟริกา
-
20:03 - 20:06และถ้าเราสามารถให้โอกาสการศึกษาแก่คนคนนั้น
-
20:06 - 20:08พวกเขาจะสามารถค้นพบความคิดที่ยิ่งใหญ่
-
20:08 - 20:10และทำให้โลกนี้เป็นโลกที่ดีขึ้นสำหรับเราทุกคน
-
20:10 - 20:11ขอบคุณมากค่ะ
-
20:11 - 20:19(เสียงปรบมือ)
- Title:
- แดฟนี่ โคลเลอร์: เราเรียนรู้อะไรจากห้องเรียนออนไลน์
- Speaker:
- Daphne Koller
- Description:
-
แดฟนี่ โคลเลอร์ ชักชวนให้มหาวิทยาลัยชั้นนำเผยแพร่ชั้นเรียนที่น่าสนใจออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย -- ไม่ใช่แค่เพื่อการบริการสังคม แต่เพื่อการวิจัยการเรียนรู้ของคน แต่ละคลิ๊ก แต่ละแบบทดสอบความเข้าใจ การอภิปรายระหว่างนักเรียนในฟอรั่ม ตลอดจนการตรวจงานด้วยตัวเอง ช่วยสร้างฐานข้อมูลกว้างขวางในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ว่าคนจัดการความรู้อย่างไร และที่สำคัญที่สุด คนซึมซับความรู้อย่างไร
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 20:40
Dimitra Papageorgiou approved Thai subtitles for What we're learning from online education | ||
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for What we're learning from online education | ||
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What we're learning from online education | ||
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What we're learning from online education | ||
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for What we're learning from online education | ||
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for What we're learning from online education | ||
Panchompoo Wisittanawat edited Thai subtitles for What we're learning from online education | ||
Panchompoo Wisittanawat edited Thai subtitles for What we're learning from online education |