อลิซ่า มิลเลอร์ บอกเล่าข่าวล่ามาแรงเกี่ยวกับข่าวในโลกวันนี้
-
0:00 - 0:04ข่าว สร้างมุมมองของเราที่่มีต่อโลกอย่างไร
-
0:04 - 0:10นี่ึืคือโลกของเราตามที่มันเป็น ตามหลักเขตและแผ่นดิน
-
0:10 - 0:16และนี่คือโลกของเรา ตามข่าวสารที่ถูกนำเสนอต่อชาวอเมริกัน
-
0:17 - 0:31แผนที่นี้ -- (เสียงปรบมือ) -- แผนที่นี้แสดงให้เห็นจำนวนวินาที
-
0:31 - 0:36ที่สถานีข่าวในอเมริกา รวมถึงสถานีท้องถิ่น อุทิศเวลาให้กับแต่ละหัวข้อข่าว
-
0:36 - 0:41แบ่งแยกตามประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2007 เพียงหนึ่งปีที่ผ่านมา
-
0:41 - 0:47นี่คือเดือนที่เกาหลีเหนือตกลงยุติโรงงานนิวเคลียร์
-
0:47 - 0:51ช่วงเดียวกันนั้นมีน้ำท่วมใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย
-
0:51 - 0:59และในปารีส องค์กร IPCC เผยแพร่การศึกษาที่ชี้ให้เห็นสภาวะโลกร้อนที่มีที่มาจากมนุษย์
-
0:59 - 1:04ข่าวในอเมริกาเหมาไปทั้งหมด 79 เปอร์เซ็นต์ของข่าวทั้งหมด
-
1:04 - 1:09และเมื่อเราเอาข่าวในประเทศออก แล้วมาดูจำนวน 21 เปอร์เซ็นต์ที่่เหลือ
-
1:09 - 1:16เราจะเห็นข่าวเกี่ยวกับอิรักมากมาย สีเขียวที่เห็นใหญ่ๆนั่น และอื่นๆอีกนิดหน่อย
-
1:16 - 1:24เมื่อรวมข่าวจากรัสเซีย จีน และอินเดีย ซึ่งยกมาเป็นตัวอย่าง ก็เท่ากับหนึ่งเปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง
-
1:24 - 1:30เมื่อเราวิเคราะห์ดูจำนวนข่าวทั้งหมด และตัดข่าวเพียงข่าวเดียวออก
-
1:30 - 1:32นี่คือภาพของโลกใบนี้ ตามมุมมองของข่าว
-
1:32 - 1:38แล้วนั่นมันข่าวอะไรกัน ก็การเสียชีวิตของแอนนานิโคลสมิธไงคะ
-
1:39 - 1:42ข่าวนี้แผ่วงไปทั่วทุกประเทศ ยกเว้นก็แต่อิรัก
-
1:42 - 1:47และได้รับการเผยแพร่เป็นสิบเท่าของข่าวการรายงานผลโลกร้อนจาก IPCC
-
1:48 - 1:50และวงจรนี้ก็ดำเนินต่อไป
-
1:50 - 1:53อย่างที่เรารู้กัน บริทนีย์ได้รับการประโคมข่าวอย่างมากในช่วงนี้
-
1:53 - 1:56แล้วทำไม เราถึงไม่ได้ข่าวจากโลกของเรามากกว่านี้
-
1:56 - 2:02เหตุผลหนึ่งก็คือสถานีข่าวได้ลดจำนวนสำนักข่าวในต่างประเทศลงถึงครึ่งหนึ่ง
-
2:02 - 2:11จากที่เคยมีนักข่าวสถานีโทรทัศน์ ABC หนึ่งคน ไว้ทำข่าวจากไนโรบี นิวเดลี และมุมไบ
-
2:11 - 2:19มาวันนี้ ไม่เหลือสำนักข่าวของอเมริกันอยู่ในอาฟริกา อินเดีย หรืออเมริกาใต้เลย
-
2:19 - 2:24สถานที่ซึ่งเป็นบ้านของประชากรกว่าสองพันล้านคน
-
2:25 - 2:30ความจริงมีอยู่ว่าการทำข่าวบริทนีย์นั้นมีต้นทุนถูกกว่ามาก
-
2:30 - 2:33และการขาดแคลนข่าวจากรอบโลกนี้ ยิ่งน่าหงุดหงิดใจ
-
2:33 - 2:35เมื่อเรามาดูว่าคนรับชมข่าวจากทางไหนบ้าง
-
2:36 - 2:40สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นมีจำนวนผู้ชมสูง
-
2:40 - 2:44แต่โชคร้ายที่ให้เวลากับข่าวจากต่างประเทศเพียง 12 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
-
2:45 - 2:47แล้วเว็บไซท์ล่ะ
-
2:47 - 2:51เว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็็ทำได้ไม่ดีไปกว่านั้น
-
2:51 - 2:56ปีที่แล้ว Pew และ Columbia J-School ทำการวิเคราะห์ว่าในบรรดาข่าว 14,000 เรื่อง
-
2:56 - 2:59ที่ปรากฏในหน้าแรกของเว็บข่าว Google
-
2:59 - 3:03ข่าวดังกล่าวนำเสนอเนื้อหาเดิมๆ อยู่ประมาณ 24 เรื่อง
-
3:03 - 3:08ซึ่งก็ใกล้เคียงกับผลการศึกษาเนื้อหาข่าวต่างประเทศจากสำนักข่าวในอเมริกา
-
3:08 - 3:12ว่าเนื้อหาของข่าวส่วนใหญ่นำมาใช้ซ้ำจากสำนักข่าว AP และ Reuters
-
3:12 - 3:16และไม่มีเนื้อหาที่ทำให้ผู้คนเข้าใจความเกี่ยวเนื่องของข่าวกับตัวพวกเขาเอง
-
3:16 - 3:21ดังนั้น ถ้าคุณนำข้อมูลที่กล่าวมามาประกอบกัน ก็จะสามารถอธิบายได้ว่าทำไมนักเรียนวิทยาลัยสมัยนี้
-
3:21 - 3:23เช่นเดียวกับชาวอเมริกันที่มีการศึกษาน้อย
-
3:23 - 3:26รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโลกของเราน้อยกว่าที่ผู้คนในประเทศอื่นรู้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว
-
3:26 - 3:32และถ้าคุณคิดว่าเหตุผลง่ายๆก็คือเราไม่สนใจ
-
3:32 - 3:34คุณคิดผิด
-
3:34 - 3:41ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ชาวอเมริกันที่บอกว่าตัวเองติดตามข่าวต่างประเทศตลอดเวลา
-
3:41 - 3:43มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
-
3:43 - 3:51คำถามที่สำคัญก็คือ มุมมองเกี่ยวกับโลกที่ผิดเพี้ยนนี้ เป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันต้องการหรือ
-
3:51 - 3:54ในโลกที่ยิ่งเชื่อมต่อถึงกันมากขึ้นอย่างทุกวันนี้
-
3:54 - 3:57ฉันรู้ว่าเราทำได้ดีกว่านี้
-
3:57 - 4:00แล้วเราจะปล่อยให้เป็นแบบนี้ได้หรือ ขอบคุณค่ะ
- Title:
- อลิซ่า มิลเลอร์ บอกเล่าข่าวล่ามาแรงเกี่ยวกับข่าวในโลกวันนี้
- Speaker:
- Alisa Miller
- Description:
-
อลิซ่า มิลเลอร์ หัวหน้าแผนกวิทยุกระจายเสียงนานาชาติ มาบอกเล่าเรื่องราวว่าทำไม ถึงแม้ว่าเราจะอยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโลกใบนี้มากแค่ไหน ทว่าสื่อในอเมริกากลับเผยแพร่เรื่องเหล่านี้น้อยลง สถิติและกราฟจะทำให้เราตาสว่าง
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 04:06