< Return to Video

อะไรที่ทำให้เกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ - เควิน วู (Kevin Wu)

  • 0:06 - 0:11
    จะคิดอย่างไรถ้าผมบอกว่า มีแบคทีเรียเล็กๆ
    หลายล้านล้าน อยู่รอบตัวคุณ
  • 0:11 - 0:12
    มันจริงนะ
  • 0:13 - 0:17
    จุลชีพที่เรียกว่าแบคทีเรีย
    เป็นสิ่งมีชีวิตแรกๆ
  • 0:17 - 0:18
    ที่ปรากฏตัวขึ้นบนโลก
  • 0:19 - 0:21
    แม้ว่าพวกมันจะมีแค่เซลล์เดียว
  • 0:21 - 0:25
    ชีวมวลรวมของพวกมันมากกว่า
    ของพืชและสัตว์รวมกัน
  • 0:27 - 0:29
    และพวกมันก็อาศัยอยู่ทุกหนทุกแห่ง
  • 0:29 - 0:31
    บนพื้นดิน ในน้ำ
  • 0:31 - 0:34
    บนโต๊ะในครัวของคุณ บนผิวหนังของคุณ
  • 0:34 - 0:35
    แม้แต่ในตัวคุณ
  • 0:36 - 0:38
    อย่าเพิ่งกดปุ่มตกใจ
  • 0:38 - 0:42
    แม้คุณจะมีแบคทีเรียในตัวมากเป็น 10 เท่า
  • 0:42 - 0:44
    ของเซลล์ร่างกายของคุณ
  • 0:44 - 0:48
    ส่วนมากแบคทีเรียพวกนี้ไม่มีพิษภัย
    และยังเป็นประโยชน์
  • 0:48 - 0:50
    ช่วยย่อยอาหารและให้ภูมิคุ้มกัน
  • 0:51 - 0:55
    แต่ก็มีพวกแย่ๆ เหมือนกัน
    สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่เป็นอันตราย
  • 0:55 - 0:58
    ตั้งแต่อาการไม่สบายเล็กๆ น้อยๆ
    ไปจนถึงโรคระบาดที่น่าสะพรึงกลัว
  • 0:59 - 1:04
    โชคดี มียาที่น่าทึ่งซึ่งถูกออกแบบมา
    เพื่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • 1:04 - 1:08
    สกัดจากสารเคมีหรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
    เช่นในเชื้อรา
  • 1:08 - 1:11
    ยาปฏิชีวนะเหล่านี้ฆ่าหรือล้างพิษแบคทีเรีย
  • 1:11 - 1:14
    โดยยับยั้งการสร้างผนังเซลล์
  • 1:14 - 1:18
    หรือขัดขวางกระบวนการที่สำคัญ
    อย่างการสังเคราะห์โปรตีน
  • 1:18 - 1:20
    โดยไม่ทำอันตรายให้กับเซลล์มนุษย์
  • 1:21 - 1:24
    การพัฒนาของยาปฏิชีวนะ ตลอดศตวรรษที่ 20
  • 1:24 - 1:28
    ได้ทำให้โรคร้ายแรงมากมายก่อนหน้านี้
    ถูกรักษาได้อย่างง่ายดาย
  • 1:28 - 1:31
    แต่ปัจจุบัน ยาปฏิชีวนะของเรา
    มีมากมายหลายชนิด
  • 1:31 - 1:33
    กำลังลดประสิทธิภาพลง
  • 1:33 - 1:36
    มีอะไรผิดปกติที่ทำให้มันหยุดทำงานงั้นหรือ
  • 1:36 - 1:40
    ปัญหาไม่ได้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ
    แต่เป็นแบคทีเรียที่พวกมันต่อสู้ด้วย
  • 1:40 - 1:44
    และเหตุผลก็ตั้งอยู่บนทฤษฎี
    การคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วิน
  • 1:45 - 1:46
    เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
  • 1:46 - 1:50
    แบคทีเรียตัวหนึ่งสามารกลายพันธุ์ได้อย่างสุ่ม
  • 1:50 - 1:53
    การกลายพันธุ์หลายอย่าง
    เป็นอันตรายและไร้ประโยชน์
  • 1:53 - 1:57
    แต่บางครั้งบางที
    ก็มีแบบที่ทำให้สิ่งมีชีวิตนั้น
  • 1:57 - 1:58
    มีโอกาสที่จะอยู่รอด
  • 1:58 - 2:00
    และสำหรับแบคทีเรีย
  • 2:00 - 2:03
    การกลายพันธุ์ที่ทำให้มันสามารถดื้อต่อ
    ยาปฏิชีวนะบางอย่าง
  • 2:03 - 2:04
    ค่อนข้างจะให้โอกาสพวกมัน
  • 2:05 - 2:08
    ในขณะที่แบคทีเรียที่ไม่ดื้อยาถูกฆ่าไป
  • 2:08 - 2:11
    ซึ่งเกิดขึ้นค่อนข้างเร็วในสภาพแวดล้อม
    ที่มียาปฏิชีวนะอยู่มาก
  • 2:11 - 2:12
    เช่นในโรงพยาบาล
  • 2:13 - 2:16
    ทำให้มีพื้นที่และแหล่งอาหารมากกว่า
    สำหรับแบคทีเรียดื้อยาที่จะเติบโต
  • 2:16 - 2:20
    และส่งต่อแต่พันธุกรรมที่กลายพันธุ์นั้น
    ที่ช่วยพวกมัน
  • 2:20 - 2:22
    การสืบพันธุ์ไม่ใช่ทางเดียวที่จะทำสิ่งนี้
  • 2:23 - 2:27
    บางชนิดสามารถปล่อยดีเอ็นเอเมื่อพวกมันตาย
    ให้แบคทีเรียตัวอื่นเก็บไป
  • 2:27 - 2:29
    ในขณะที่ชนิดอื่นอาจใช้วิธีที่เรียกว่า
    คอนจูเกชั่น (conjugation)
  • 2:29 - 2:32
    เชื่อมต่อผ่านพิไล (pili) เพื่อแลกยีนของพวกมัน
  • 2:32 - 2:35
    เมื่อเวลาผ่านไป ยีนดื้อยาก็เพิ่มจำนวนขึ้น
  • 2:35 - 2:38
    สร้างสายพันธ์ุที่มีความดื้อยายิ่งยวด
  • 2:39 - 2:43
    แล้ว เรามีเวลาแค่ไหนก่อนที่แบคทีเรีย
    เหล่านี้จะเข้าครอบครอง
  • 2:43 - 2:46
    อืม มันเกิดขึ้นแล้วในแบคทีเรียบางชนิด
  • 2:47 - 2:50
    ยกตัวอย่างเช่น สเตรฟิโลค๊อกคัส ออรูรัส
    บางสายพันธุ์
  • 2:50 - 2:54
    ที่ทำให้เกิดทุกอย่างตั้งแต่ผิวหนังติดเชื้อ
    จนถึงปอดบวมและติดเชื้อในกระแสโลหิต
  • 2:54 - 2:56
    ได้พัฒนาไปเป็น MRSA
  • 2:56 - 2:59
    ที่สามารถดื้อยาปฏิชีวนะ บีต้า-แลคแทม
  • 2:59 - 3:02
    เช่นเพนนิซิลิน เมทิซิลิน และออกซาซิลิน
  • 3:03 - 3:07
    ต้องขอบคุณยีนที่แทนที่โปรตีนบีต้า-แลคแทม
    ที่ปกติคือเป้าหมาย และที่เข้าจับ
  • 3:07 - 3:11
    MRSA ทำให้ผนังเซลล์ของมัน
    ไม่สามารถถูกขัดขวางได้
  • 3:11 - 3:14
    แบคทีเรียดื้อยาอื่นๆ อย่าง ซาโมเนลา
  • 3:14 - 3:17
    บางทีก็ผลิตเอนไซม์อย่าง บีต้า-แลคแทม
  • 3:17 - 3:21
    ที่สลายยาปฏิชีวนะที่บุกเข้ามา
    ก่อนที่จะทำอะไรมันได้
  • 3:21 - 3:22
    และ อีโคไล ซึ่งเป็นแบคทีเรีย
    กลุ่มที่มีความหลากหลาย
  • 3:23 - 3:27
    ที่มีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคท้องเสียและไตวาย
  • 3:27 - 3:29
    สามารถยับยั้งการทำงานของยาปฏิชีวนะ
  • 3:29 - 3:31
    เช่น ควิโนโลนส์ โดยสะกัดกั้นผู้บุกรุกใดๆ
  • 3:31 - 3:33
    ที่หมายจะเข้ามาในเซลล์
  • 3:35 - 3:36
    แต่ยังมีข่าวดี
  • 3:36 - 3:40
    นักวิทยาศาสตร์กำลังหาทาง
    ที่จะก้าวล้ำแบคทีเรียพวกนี้ไปหนึ่งก้าว
  • 3:40 - 3:42
    และแม้ว่าการพัฒนายาปฏิชีวนะตัวใหม่
  • 3:42 - 3:43
    ค่อนข้างล่าช้าในหลายปีที่ผ่านมา
  • 3:43 - 3:48
    องค์กรอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญ
    ในการพัฒนาการบำบัดรักษาแบบใหม่
  • 3:48 - 3:51
    นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ
    กำลังทำการสำรวจทางเลือกอื่นๆ
  • 3:51 - 3:55
    เช่นการบำบัดรักษาโดยฟาร์จ
    หรือการใช้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ
  • 3:56 - 4:00
    ที่สำคัญที่สุด การควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะ
    ที่มากเกินไปหรือไม่จำเป็น
  • 4:00 - 4:03
    สำหรับการติดเชื้อเล็กน้อย
    ที่สามารถหายได้เอง
  • 4:03 - 4:06
    หรือการเปลี่ยนวิธีการทางการแพทย์
    เพื่อป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล
  • 4:06 - 4:08
    อาจมีผลกระทบที่สำคัญ
  • 4:08 - 4:10
    ในการทำให้แบคทีเรียที่ไม่ดื้อยามีชีวิตอยู่
  • 4:10 - 4:12
    เป็นคู่แข่งของสายพันธุ์ที่ดื้อยา
  • 4:13 - 4:17
    ในสงครามต้านแบคทีเรียดื้อยา
    การลดจำนวนลงอาจได้ผลมากกว่า
  • 4:17 - 4:19
    พัฒนาการแข่งขันด้านอาวุธ
Title:
อะไรที่ทำให้เกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ - เควิน วู (Kevin Wu)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-antibiotics-become-resistant-over-time-kevin-wu

ตอนนี้ คุณกำลังถูกใช้เป็นที่อาศัยของแบคทีเรียมากมายเป็นล้านล้าน พวกมันส่วนใหญ่ไม่มีพิษภัย (แต่อาจเป็นประโยชน์) แต่มีบางสายพันธุ์ของแบคทีเรียดื้อยาที่ค่อนข้างจะน่าขยะแขยง และพวกมันก็ดื้อต่อยาปฏิชีวนะของเรามากขึ้นเรื่อยๆ ทำไมมันจึงเกิดขึ้น เควิน วูให้รายละเอียดเรื่องพัฒนาการของปัญหาที่ปรากฎเป็นความท้าทายอันยิ่งใหญ่สำหรับอนาคตของการแพทย์

บทเรียนโดย Kevin Wu, แอนิเมชั่นโดย Brett Underhill.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:35

Thai subtitles

Revisions