Return to Video

จงถ่อมตน -- และบทเรียนอื่นๆ จากปรัชญาแห่งสายน้ำ

  • 0:01 - 0:02
    คุณอาจรู้จักความรู้สึกนี้
  • 0:03 - 0:07
    คุณตื่นขึ้นมาเจอข้อความที่ยังไม่ได้อ่าน
    จำนวนมากมายในโทรศัพท์
  • 0:08 - 0:10
    ปฏิทินของคุณมีตารางประชุมแน่นเอี๊ยด
  • 0:10 - 0:12
    บางที นัดซ้อน ๆ กันถึงสองสามรายการ
  • 0:13 - 0:15
    คุณรู้สึกมีสิ่งที่ต้องทำ รู้สึกยุ่ง
  • 0:15 - 0:17
    อันที่จริง คุณรู้สึกได้งาน
  • 0:19 - 0:23
    แต่พอท้ายที่สุด
    ก็ยังรู้สึกว่าอะไรบางอย่างขาดหายไป
  • 0:24 - 0:26
    คุณพยายามจะคิดให้ออกว่ามันคืออะไร
  • 0:27 - 0:29
    แต่ก่อนที่คุณจะคิดออก
  • 0:29 - 0:30
    วันรุ่งขึ้นก็เริ่มต้นขึ้นใหม่อีกแล้ว
  • 0:32 - 0:35
    นั่นคือสิ่งที่ผมรู้สึกเมื่อสองปีก่อน
  • 0:36 - 0:38
    ผมรู้สึกเครียด ผมรู้สึกวิตกกังวล
  • 0:39 - 0:40
    ผมรู้สึกติดหล่มเล็กน้อย
  • 0:41 - 0:44
    โลกรอบตัวผมกำลังเคลื่อนตัวไป
    อย่างรวดเร็วมาก
  • 0:45 - 0:47
    และผมก็ไม่รู้ว่าจะทำยังไง
  • 0:48 - 0:50
    ผมเริ่มคิดถามตัวเอง
  • 0:50 - 0:52
    ผมจะติดตามทั้งหมดนี้ได้ยังไง
  • 0:52 - 0:55
    เราจะรู้สึกได้รับการเติมเต็มได้อย่างไร
  • 0:55 - 0:59
    ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
    พอ ๆ กับที่เราคิด
  • 1:00 - 1:02
    หรือบางทีอาจจะเร็วกว่าการคิดของเราด้วยซ้ำ
  • 1:04 - 1:05
    ผมเริ่มมองหาคำตอบ
  • 1:06 - 1:08
    ผมพูดกับผู้คนมากมาย
    ผมพูดกับเพื่อน ๆ ของผม
  • 1:08 - 1:10
    ผมพูดกับครอบครัวของผม
  • 1:10 - 1:12
    ผมถึงกับอ่านหนังสือ
    วิธีปรับปรุงตนเองหลายเล่ม
  • 1:14 - 1:16
    แต่ผมก็ไม่สามารถหาอะไรที่ทำให้พอใจได้
  • 1:16 - 1:19
    อันที่จริง ยิ่งผมอ่านหนังสือ
    แนะแนวทางมากเท่าไหร่
  • 1:19 - 1:21
    ผมก็ยิ่งเครียดและวิตกกังวลมากขึ้นเท่านั้น
  • 1:22 - 1:23
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:23 - 1:26
    มันเหมือนกับว่าผมกำลังป้อนอาหารขยะ
    ให้กับความคิดจิตใจของตัวเอง
  • 1:26 - 1:29
    และผมเลยเป็นโรคอ้วนทางใจมากขึ้น
  • 1:29 - 1:31
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:31 - 1:32
    ผมกำลังจะถอดใจ
  • 1:33 - 1:36
    จนกระทั่งวันหนึ่ง ผมก็ไปเจอ
  • 1:36 - 1:41
    "เต้า เต๋อ จิง:
    คัมภีร์แห่งวิถีและธรรมชาติของวิถี"
  • 1:42 - 1:45
    นี่คือต้นแบบหนึ่งปรัชญาจีนโบราณ
  • 1:45 - 1:48
    ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อกว่า 2600 ปีมาแล้ว
  • 1:49 - 1:53
    และถึงตอนนี้ เป็นหนังสือเล่มเล็กที่สุด
    และบางที่สุดบนชั้นหนังสือ
  • 1:54 - 1:56
    หนาเพียง 81 หน้า
  • 1:56 - 1:59
    แต่ละหน้ามีบทกวีสั้น ๆ หนึ่งบท
  • 1:59 - 2:03
    ผมจำได้ว่าพลิกไปเจอบทกวีบทหนึ่งโดยเฉพาะ
  • 2:03 - 2:04
    คือ บทนี้
  • 2:04 - 2:06
    ไพเราะ ใช่ไหมครับ
  • 2:06 - 2:07
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:07 - 2:08
    ผมขออ่านให้คุณฟัง
  • 2:09 - 2:13
    ความดีอันสูงสุดนั้นเหมือนกับน้ำ
  • 2:13 - 2:16
    น้ำให้คุณแก่สรรพสิ่ง โดยมิได้แย่งชิงสิ่งใด
  • 2:17 - 2:20
    ในถิ่นที่อยู่ น้ำอยู่ในที่ต่ำติดดินเสมอ
  • 2:20 - 2:23
    ในการเป็นอยู่ มันไหลไปสู่ความลึก
  • 2:23 - 2:26
    ในการแสดงออก มันซื่อสัตย์
  • 2:27 - 2:29
    ในการเผชิญหน้า น้ำคงความอ่อนโยนเสมอ
  • 2:31 - 2:33
    ในการปกครอง น้ำไม่ควบคุม
  • 2:33 - 2:35
    ในการกระทำ น้ำเหมาะกับจังหวะเวลา
  • 2:36 - 2:39
    น้ำพึงพอใจกับธรรมชาติของมัน
  • 2:39 - 2:42
    ดังนั้น จึงไม่อาจถูกตำหนิติเตียนได้"
  • 2:43 - 2:46
    ว้าว! ผมจำได้ว่า พอผมอ่านบทนี้ครั้งแรก
  • 2:46 - 2:49
    ผมรู้สึกวาบสุดขีดไปตามสันหลัง
  • 2:50 - 2:52
    ผมรู้สึกอย่างจนถึงวันนี้
    เวลาที่อ่านให้พวกคุณ ๆ ฟัง
  • 2:53 - 2:56
    จู่ ๆ ความวิตกกังวลและความเครียดของผม
    ก็หายวับไปทันใด
  • 2:57 - 2:59
    ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
  • 2:59 - 3:04
    ผมพยายามใช้แนวคิดในบทนี้
    กับชีวิตในแต่ละวันของผม
  • 3:04 - 3:08
    และวันนี้ ผมอยากจะแบ่งปันบทเรียนสามบท
    ที่ผมได้เรียนรู้มาให้กับพวกคุณ
  • 3:08 - 3:10
    จากปรัชญาแห่งสายน้ำบทนี้ --
  • 3:10 - 3:14
    สามบทเรียนที่ผมเชื่อว่า ได้ช่วยให้ผมพบกับ
    ความรู้สึกเติมเต็มยิ่งขึ้น
  • 3:14 - 3:16
    ในเกือบจะทุกสิ่งที่ผมทำ
  • 3:17 - 3:20
    บทเรียนแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
    ความอ่อนน้อมถ่อมตน
  • 3:20 - 3:23
    ถ้าเราคิดถึงน้ำที่ไหลอยู่ในแม่น้ำ
  • 3:23 - 3:25
    มันจะอยู่เบื้องล่างเสมอ
  • 3:26 - 3:29
    มันช่วยให้พืชพันธุ์เติบโต
    และทำให้สัตว์ทั้งหมดมีชีวิตอยู่
  • 3:29 - 3:32
    มันไม่ได้ดึงดูดความสนใจมาที่ตัวมัน
  • 3:32 - 3:34
    และน้ำไม่ต้องการรางวัล
    หรือการชมเชยแต่อย่างใด
  • 3:35 - 3:37
    มันถ่อมตน
  • 3:38 - 3:40
    แต่ถ้าปราศจากการช่วยเหลือ
    อันถ่อมตนของน้ำแล้ว
  • 3:40 - 3:43
    ชีวิตอย่างที่เรารู้จักอาจไม่มีอยู่
  • 3:45 - 3:48
    ความถ่อมตนของน้ำสอนเรื่องสำคัญ ๆ
    ให้แก่ผมสองสามอย่าง
  • 3:48 - 3:52
    มันสอนว่า แทนที่จะทำเหมือนกับว่า
    ผมรู้ว่าผมกำลังทำอะไรอยู่
  • 3:52 - 3:54
    หรือผมมีคำตอบทั้งหมด
  • 3:54 - 3:56
    มันสมควรอย่างยิ่งที่จะพูดว่า
  • 3:56 - 3:57
    "ผมไม่รู้
  • 3:57 - 3:59
    ผมอยากจะเรียนรู้มากขึ้น
  • 3:59 - 4:00
    และผมอยากให้คุณช่วยเหลือ"
  • 4:01 - 4:05
    มันสอนผมด้วยว่า แทนที่จะโฆษณา
    ความรุ่งเรืองและความสำเร็จของตัวเอง
  • 4:05 - 4:09
    มันน่าพอใจกว่ามาก ๆ ที่จะโฆษณา
    ความสำเร็จและความรุ่งเรืองของคนอื่น
  • 4:10 - 4:14
    มันสอนผมว่า แทนที่จะทำสิ่งต่าง ๆ
    ที่จะทำให้ผมก้าวหน้า
  • 4:14 - 4:16
    มันเติมเต็มและมีความหมายมากกว่ามาก
  • 4:16 - 4:19
    ที่จะช่วยคนอื่นให้ก้าวข้ามปัญหาที่ท้าทาย
    เพื่อให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้
  • 4:21 - 4:23
    ด้วยกรอบความคิดที่ถ่อมตน
  • 4:23 - 4:26
    ผมสามารถสร้างความเชื่อมโยง
    ที่มีความหมายมากขึ้นมากกับผู้คนรอบข้างผม
  • 4:27 - 4:31
    ผมกลายเป็นคนที่สนใจเรื่องราวและ
    ประสบการณ์ต่าง ๆ อย่างจริงใจ
  • 4:31 - 4:33
    ที่ทำให้พวกเขาไม่เหมือนใครและมีความพิเศษ
  • 4:33 - 4:35
    ชีวิตกลับสนุกมากขึ้น
  • 4:35 - 4:38
    เพราะทุกวัน ผมค้นพบเรื่องแปลก ๆ
    ใหม่ ๆ ความคิดใหม่ ๆ
  • 4:38 - 4:40
    และวิธีแก้ปัญหาแบบใหม่ ๆ ที่ผมไม่รู้มาก่อน
  • 4:40 - 4:43
    ทั้งหมดนี้เป็นเพราะความคิด
    และความช่วยเหลือจากคนอื่น ๆ
  • 4:45 - 4:48
    สายธารทั้งหมดไหลลงสู่มหาสมุทร
    ในท้ายที่สุด
  • 4:48 - 4:50
    เพราะมันอยู่ต่ำกว่าสายธารทั้งหลาย
  • 4:51 - 4:54
    ความถ่อมตนให้พลังอำนาจแก่น้ำ
  • 4:55 - 4:59
    แต่ผมคิดว่ามันให้เรามีความมั่นคงทางอารมณ์
    และจิตใจ
  • 4:59 - 5:00
    อยู่กับปัจจุบันได้
  • 5:00 - 5:05
    สามารถเรียนรู้จากเรื่องราวของผู้คนรอบข้าง
    และเปลี่ยนแปลงตัวเราได้
  • 5:06 - 5:09
    บทเรียนที่สองที่ผมได้เรียนรู้
    เป็นเรื่องของความประสานกลมกลืน
  • 5:10 - 5:12
    ถ้าเราคิดถึงน้ำที่ไหลไปทางโขดหิน
  • 5:12 - 5:14
    มันมีแต่จะไหลอ้อมโขดหินไป
  • 5:14 - 5:17
    มันไม่ขุ่นเคือง มันไม่โกรธ
  • 5:17 - 5:18
    มันไม่หงุดหงิด
  • 5:18 - 5:20
    อันที่จริง มันไม่ได้รู้สึกอะไรมากนัก
  • 5:21 - 5:25
    เมื่อเผชิญกับอุปสรรค
    ดูเหมือนน้ำจะรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา
  • 5:26 - 5:28
    โดยไม่ต้องใช้กำลัง ไม่ต้องขัดแย้ง
  • 5:30 - 5:33
    เมื่อผมคิดทบทวนเรื่องนี้ ผมเริ่มเข้าใจ
  • 5:33 - 5:35
    ว่าทำไมผมถึงรู้สึกเครียดตั้งแต่แรก
  • 5:36 - 5:38
    แทนที่จะทำงานอย่างประสานกลมกลืน
    กับสิ่งแวดล้อมของผม
  • 5:38 - 5:40
    ผมกลับต้านมัน
  • 5:40 - 5:42
    ผมกำลังบังคับทุกอย่างให้เปลี่ยน
  • 5:42 - 5:46
    เพราะผมเต็มไปด้วยความต้องการ
    ที่จะประสบความสำเร็จและพิสูจน์ตัวเอง
  • 5:47 - 5:48
    ท้ายที่สุด ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
  • 5:49 - 5:50
    แล้วผมก็หงุดหงิดขัดเคืองมากขึ้น
  • 5:51 - 5:55
    แค่เปลี่ยนจุดที่จะมุ่งสนใจ
    จากพยายามที่จะประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
  • 5:55 - 5:57
    ไปเป็นการพยายามที่จะได้
    ความประสานกลมกลืนมากยิ่งขึ้น
  • 5:57 - 6:01
    ผมก็สามารถรู้สึกสงบนิ่ง
    และมีสมาธิขึ้นใหม่ได้ทันที
  • 6:02 - 6:04
    ผมเริ่มตั้งคำถามทำนองว่า
  • 6:04 - 6:06
    การทำเช่นนี้ทำให้ผมมีความประสานกลมกลืน
    มากขึ้นกว่าเดิม
  • 6:06 - 6:09
    และจะนำความประสานกลมกลืนมาให้รอบ ๆ
    ตัวผมหรือเปล่า
  • 6:09 - 6:11
    เรื่องนี้สอดคล้องกับธรรมชาติของผมไหม
  • 6:12 - 6:15
    ผมสบายใจมากขึ้นกับเรื่องง่าย ๆ
    อย่างที่ผมเป็นอยู่
  • 6:15 - 6:18
    มากกว่าที่จะเป็นคนอย่างที่ผมควรจะเป็น
    หรือถูกคาดหวังให้เป็น
  • 6:20 - 6:22
    งานการง่ายขึ้นจริง ๆ
  • 6:22 - 6:25
    เพราะผมเลิกมุ่งเน้นสิ่งที่ผมควบคุมไม่ได้
  • 6:25 - 6:26
    และมุ่งไปยังสิ่งที่ผมควบคุมได้แทน
  • 6:26 - 6:29
    ผมหยุดต่อสู้กับตัวเอง
  • 6:29 - 6:33
    และผมได้เรียนรู้ที่จะทำงานกับสภาพแวดล้อม
    เพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น
  • 6:34 - 6:36
    ธรรมชาติไม่ได้รีบเร่ง
  • 6:37 - 6:39
    กระนั้น ทุกสิ่งก็สำเร็จเรียบร้อย
  • 6:40 - 6:43
    นั่นคือ วิธีของเต้าเต๋อจิงในการบรรยาย
    ถึงพลังของการประสานกลมกลืน
  • 6:44 - 6:48
    อย่างเดียวกับน้ำที่สามารถหาทางแก้ปัญหาได้
    โดยไม่ต้องใช้กำลังหรือเผชิญหน้า
  • 6:49 - 6:53
    ผมเชื่อว่า เราสามารถหาความรู้สึกพอใจ
    เติมเต็มยิ่งขึ้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้
  • 6:53 - 6:56
    โดยการเปลี่ยนจุดเน้น
    จากการอยากได้ความสำเร็จมากขึ้น
  • 6:56 - 6:58
    ประสานกลมกลืนมากขึ้น
  • 6:59 - 7:03
    บทเรียนที่สามที่ผมได้เรียนรู้
    จากปรัชญาแห่งสายน้ำ
  • 7:03 - 7:05
    เป็นเรื่องของการเปิดใจ
  • 7:06 - 7:08
    น้ำเปิดรับการเปลี่ยนแปลง
  • 7:08 - 7:12
    น้ำอาจเป็นของเหลว ของแข็ง หรือก๊าซก็ได้
    แล้วแต่อุณหภูมิ
  • 7:13 - 7:14
    แล้วแต่ว่ามันอยู่ในภาชนะใด
  • 7:15 - 7:18
    น้ำอาจอยู่ในกาน้ำชา ในถ้วย
    หรือในแจกันดอกไม้
  • 7:19 - 7:23
    อันที่จริง การที่น้ำสามารถปรับตัว
    และเปลี่ยนแปลงและยังคงยืดหยุ่นอยู่ได้
  • 7:23 - 7:25
    คือสิ่งที่ทำให้มันคงอยู่มาทุกยุคทุกสมัย
  • 7:25 - 7:28
    ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงสารพัด
    จากสิ่งแวดล้อม
  • 7:29 - 7:32
    เราอาศัยอยู่ในโลกทุกวันนี้
    ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นเดียวกัน
  • 7:33 - 7:36
    เราไม่อาจหวังว่าจะทำงานแบบเดิม
    อยู่นิ่ง ๆ ไม่เปลี่ยนแปลงได้อีกต่อไป
  • 7:36 - 7:38
    หรืออยู่ในเส้นทางอาชีพ
    สายเดียวได้อีกต่อไป
  • 7:39 - 7:43
    เราถูกคาดหวังให้คิดสร้างทักษะใหม่ ๆ
    ปรับปรุงทักษะของเราอย่างสม่ำเสมอ
  • 7:43 - 7:44
    เพื่อคงอยู่ในวงการ
  • 7:45 - 7:48
    ในองค์กรของเรา เราจัดกิจกรรม hackathon
  • 7:48 - 7:50
    ให้คนกลุ่มเล็ก ๆ หรือแต่ละคนมาเจอกัน
  • 7:51 - 7:53
    เพื่อแก้ปัญหาธุรกิจในกรอบเวลาที่อัดแน่น
  • 7:54 - 7:57
    สิ่งที่น่าสนใจสำหรับผม ก็คือทีมที่มักจะชนะ
  • 7:57 - 8:00
    ไม่ใช่ทีมที่มีสมาชิกที่มากด้วยประสบการณ์
  • 8:00 - 8:03
    แต่เป็นทีมที่มีสมาชิกเปิดใจกว้าง
    พร้อมที่จะเรียนรู้
  • 8:03 - 8:05
    ผู้ซึ่งเปิดใจกับเรื่องไม่รู้
  • 8:05 - 8:07
    และผู้ซึ่งเปิดใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • 8:07 - 8:10
    หาหนทางผ่านสถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
  • 8:11 - 8:13
    ชีวิตก็เหมือนกับงานสร้างสรรค์และพัฒนา
  • 8:14 - 8:18
    มันเรียกร้องให้พวกเราแต่ละคน
    ลงมือทำงาน เปิดใจ
  • 8:18 - 8:20
    และสร้างแรงกระเพื่อมออกไป
  • 8:21 - 8:25
    เอาละ เราสามารถยืนอยู่หลังประตูที่ปิดไว้
    ทำตัวเป็นง่อยขยับตัวไม่ได้แล้ว
  • 8:25 - 8:28
    เพราะความเชื่อที่จำกัดตัวตนของเราไว้
    อย่างเช่น:
  • 8:28 - 8:30
    "ฉันไม่มีวันพูดเรื่องปรัชญาจีน
  • 8:30 - 8:32
    ต่อหน้าผู้ฟังมากมายได้แน่ ๆ"
  • 8:32 - 8:33
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:33 - 8:35
    หรือเราแค่เปิดใจยอมรับ
    และเพลินไปกับสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 8:36 - 8:38
    มันเป็นได้แต่ประสบการณ์ที่น่าทึ่งเท่านั้น
  • 8:39 - 8:42
    ดังนั้น การอ่อนน้อมถ่อมตน
    การประสานกลมกลืน และการเปิดใจยอมรับ
  • 8:43 - 8:46
    คือบทเรียนสามบทที่ผมได้เรียน
    จากปรัชญาแห่งสายน้ำมาถึงตอนนี้
  • 8:47 - 8:49
    ซึ่งย่อได้เป็น H-H-O
    humility harmony และ openness
  • 8:49 - 8:51
    หรือ H2O (น้ำ)
  • 8:51 - 8:52
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:52 - 8:55
    มันได้กลายเป็นหลักการนำทางชีวิตของผม
  • 8:56 - 8:59
    เพราะฉะนั้น ทุกวันนี้ เมื่อไหร่ที่ผมรู้สึกเครียด
  • 8:59 - 9:02
    รู้สึกไม่พอใจ วิตกกังวล
    หรือแค่ไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร
  • 9:02 - 9:04
    ผมก็แค่จะตั้งคำถามว่า
  • 9:04 - 9:06
    น้ำจะทำยังไง
  • 9:06 - 9:07
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:07 - 9:11
    คำถามง่าย ๆ และทรงพลังนี้
    ที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือเล่มหนึ่ง
  • 9:11 - 9:15
    ซึ่งเขียนขึ้นมานานก่อนสมัยที่จะมีบิทคอยน์
    ฟินเทค และเทคโนโลยีดิจิตัล
  • 9:15 - 9:17
    ได้เปลี่ยนชีวิตของผมไปในทางที่ดีขึ้น
  • 9:18 - 9:20
    ลองใช้ดู และบอกผมว่า
    มันใช้การกับคุณได้อย่างไรบ้าง
  • 9:20 - 9:22
    ผมอยากฟังข่าวดีจากคุณ
  • 9:22 - 9:23
    ขอบคุณครับ
  • 9:23 - 9:29
    (เสียงปรบมือ)
Title:
จงถ่อมตน -- และบทเรียนอื่นๆ จากปรัชญาแห่งสายน้ำ
Speaker:
เรย์มอนด์ ถัง
Description:

เราจะหาความรู้สึกพอใจมาเติมเต็มได้อย่างไรในโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เรย์มอนด์ ถัง พยายามดิ้นรนตอบคำถามนี้ จนกระทั่งเขาไปเจอปรัชญาจีนโบราณ เต้า เต๋อ จิง ในคัมภีร์นี้ เขาเจอบทกวีที่เปรียบเทียบความดีกับสายน้ำ ความคิดที่เขานำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันของเขาทุกวันนี้ ในการพูดที่น่าฟังครั้งนี้ เขาเสนอบทเรียนสามบทที่เขาได้เรียนรู้มาถึงวันนี้จาก "ปรัชญาแห่งสายน้ำ" "น้ำจะทำยังไง" ถังถาม "คำถามง่ายๆ ที่ทรงพลังนี้...ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตผมไปในทางที่ดีขึ้น"

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
09:42

Thai subtitles

Revisions