Return to Video

หากคุณต้องการฟังดนตรีบทนี้ คุณต้องเข้าไปอยู่ที่นั่น ด้วยตัวคุณเอง

  • 0:03 - 0:08
    (เสียงดนตรี)
  • 0:08 - 0:11
    สำหรับใครก็ตามที่เคยไป
    หรืออาศัยอยู่ในมหานครนิวยอร์ค
  • 0:11 - 0:16
    ภาพเหล่านี้อาจเริ่มที่จะดูคุ้นเคย
  • 0:16 - 0:18
    นี่คือ เซ็นทรัลพาร์ค (Central Park)
  • 0:18 - 0:20
    หนึ่งในสถานที่สาธารณะ ที่ถูกออกแบบมา
  • 0:20 - 0:22
    อย่างงดงามที่สุดในอเมริกา
  • 0:22 - 0:25
    แต่สำหรับคนที่ยังไม่เคยไปที่นั่น
  • 0:25 - 0:29
    ภาพเหล่านี้ไม่สามารถแสดง
  • 0:29 - 0:31
    ให้เข้าใจว่า เซ็นทรัลพาร์ค เป็นอย่างไรได้อย่างแจ่มชัด
  • 0:31 - 0:34
    คุณต้องไปที่นั่นด้วยตัวเอง
  • 0:34 - 0:38
    ดนตรีก็เช่นเดียวกันครับ
  • 0:38 - 0:41
    พี่ชายของผม และตัวผมเอง
    ได้แต่งท่วงทำนองบทเพลง
  • 0:41 - 0:44
    สำหรับ เซ็นทรัลพาร์ค โดยเฉพาะ
  • 0:44 - 0:49
    (เสียงดนตรี)
  • 0:49 - 0:52
    ผมอยากพูดถึงเกี่ยวกับงานชิ้นนี้อีกสักหน่อย
  • 0:52 - 0:55
    ผลงานที่พี่ชายของผม เฮยส์ และผม ร่วมกันสร้าง
  • 0:55 - 0:58
    นั่นคือพวกผม พวกเราทั้งคู่เลยครับ
  • 0:58 - 1:02
    สำหรับแนวคิดที่พวกผม
    ร่วมกันพัฒนาตลอดหลายปีที่ผ่านมา
  • 1:02 - 1:06
    คือแนวคิดที่ว่าด้วย ดนตรีที่เชื่อมโยงกับสถานที่
    (location-aware music)
  • 1:06 - 1:08
    ครับ พี่ชายของผม และผม เป็นนักดนตรี
  • 1:08 - 1:09
    อีกทั้งยังเป็นโปรดิวเซอร์
  • 1:09 - 1:11
    พวกเราได้ทำงานร่วมกันมาตั้งแต่
  • 1:11 - 1:13
    จะว่าไป ก็ตั้งแต่เด็กๆเลยครับ
  • 1:13 - 1:16
    แต่เมื่อเร็วๆนี้ พวกผมมีความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ
  • 1:16 - 1:17
    เกี่ยวกับโครงการ ที่ศิลปะ
  • 1:17 - 1:20
    และเทคโนโลยี มาพบเจอกัน
  • 1:20 - 1:22
    ตั้งแต่การสร้าง เสียงสำหรับภาพ
  • 1:22 - 1:24
    และสำหรับวีดิทัศน์
  • 1:24 - 1:27
    ไปจนถึง การสร้างคอนเสิร์ตรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ
  • 1:27 - 1:30
    แต่ในวันนี้ ผมอยากเน้นเกี่ยวกับแนวคิด
  • 1:30 - 1:34
    ที่ว่าด้วย งานประพันธ์สำหรับสถานที่
  • 1:34 - 1:36
    แต่ก่อนที่ผมจะลงรายละเอียดลึกไปกว่านั้น
  • 1:36 - 1:38
    ขอให้ผมได้เล่าอีกสักเล็กน้อยว่า
  • 1:38 - 1:40
    พวกผมเริ่มสร้างแนวคิดที่ว่านี้มาอย่างไรนะครับ
  • 1:40 - 1:42
    พี่ชายของผม และผมเคยอาศัยอยู่ในมหานครนิวยอร์ค
  • 1:42 - 1:44
    เมื่อตอนที่ศิลปิน Christo และ Jeanne-Claude
  • 1:44 - 1:46
    สร้างศิลปะร่วมสมัยชื่อว่า เดอะ เกตส์ (The Gates)
  • 1:46 - 1:48
    ในเซ็นทรัล พาร์ค
  • 1:48 - 1:49
    ประติมากรรมสีสันสดใสนับร้อย
  • 1:49 - 1:52
    ถูกนำมาตกแต่งสวนแห่งนั้นอยู่หลายอาทิตย์
  • 1:52 - 1:54
    ซึ่งมองดูแล้วไม่เหมือนกับ
  • 1:54 - 1:56
    ในนิทรรศการทั่วๆไป
  • 1:56 - 1:59
    บนฝาผนังห้องแสดงผลงานศิลปะ หรือในพิพิธภัณฑ์
  • 1:59 - 2:01
    ผลงานเหล่านั้นได้ซึมซาบ สื่อสาร
  • 2:01 - 2:03
    กับสถานที่นั้นๆ
  • 2:03 - 2:05
    ในหลายแง่มุมด้วยกัน ที่ทำให้ เดอะ เกทส์
  • 2:05 - 2:06
    เป็นผลงาน ชิ้นโบว์แดง
  • 2:06 - 2:09
    ของการออกแบบที่น่าทึ่ง จาก Frederick Olmsted
  • 2:09 - 2:11
    และนี่เอง คือประสบการณ์
  • 2:11 - 2:13
    ที่อยู่ในความทรงจำของพวกผม
    และหลายปีต่อจากนั้น
  • 2:13 - 2:16
    พี่ชายและผมได้ย้ายกลับไปอาศัย ณ กรุงวอชิงตัน ดี ซี
  • 2:16 - 2:19
    พวกเราเริ่มถามว่า
  • 2:19 - 2:20
    มันจะเป็นไปได้ไหม
  • 2:20 - 2:22
    ที่เราจะทำอย่าง เดอะ เกทส์
  • 2:22 - 2:25
    ที่ตอบสนองต่อสภาพพื้นที่ของสวน
  • 2:25 - 2:30
    โดยการเเต่งบทเพลงให้แก่ภูมิทัศน์นั้น
  • 2:30 - 2:32
    ซึ่งนั่นก็ได้นำพวกผมมาสู่จุดนี้ครับ
  • 2:32 - 2:37
    (เสียงดนตรี)
  • 2:37 - 2:41
    ในวัน Memorial Day
    [วันที่ระลึกถึงทหารที่เสียชีวิตเพื่อประเทศชาติ]
  • 2:41 - 2:43
    พวกเราได้ออกอัลบั้มที่รู้สำนึกถึงสถานที่ ชื่อว่า
    "เดอะ เนชันนอล มอลล์" (The National Mall)
  • 2:43 - 2:46
    นำเสนออกมาในรูปแบบ ของแอพพลิเคชันบนมือถือ
    อย่างเดียวเท่านั้น
  • 2:46 - 2:50
    ซึ่งจะใช้ระบบ GPS
  • 2:50 - 2:53
    ในการบอกตำแหน่งของสวนทั้งหมด
  • 2:53 - 2:58
    ในกรุงวอชิงตัน ดี ซี บ้านเกิดของพวกผม
  • 2:58 - 3:00
    บทเพลงหลายร้อยท่วงทำนอง
  • 3:00 - 3:04
    ได้ถูกโยงไว้กับตำแหน่งของสถานที่ทั้งหมดในสวน
  • 3:04 - 3:07
    เพื่อที่ว่าในระหว่างที่ผู้ฟังกำลังเดินไปยังส่วนต่างๆ ของสวน
  • 3:07 - 3:10
    บทเพลงก็จะค่อยๆ ปรากฏออกมา
  • 3:10 - 3:12
    นี่ไม่ใช่แค่รายการเพลง
  • 3:12 - 3:15
    ที่สร้างขึ้นมาเพื่อสวนนั้นๆ
  • 3:15 - 3:18
    หากแต่เป็น กลุ่มของท่วงทำนอง และจังหวะ
    ที่มีความแตกต่างกัน
  • 3:18 - 3:20
    ซึ่งจะประสานกัน เฉกเช่นชิ้นส่วนต่างๆของปริศนา
  • 3:20 - 3:22
    และผสมผสานกลมกลืนกันอย่างลงตัว
  • 3:22 - 3:24
    โดยอาศัยการเลือกของผู้ฟังว่าได้ไปตรงไหนของสวน
  • 3:24 - 3:25
    ซึ่งก็เปรียบเสมือน
  • 3:25 - 3:28
    อัลบั้มที่คุณเลือกการผจญภัยของคุณเอง
  • 3:28 - 3:30
    เรามาดูให้ลึกลงไปอีกนิดนะครับ
  • 3:30 - 3:31
    มาดูที่ตัวอย่างนี้กัน
  • 3:31 - 3:34
    เราใช้แอพพลิเคชัน
  • 3:34 - 3:36
    ในระหว่างที่กำลังเดินไปสู่อาณาเขต
  • 3:36 - 3:38
    รอบๆ อนุสาวรีย์วอชิงตัน
  • 3:38 - 3:42
    คุณจะได้ยินเสียงของเครื่องดนตรีที่ค่อยๆ ดังขึ้น
  • 3:42 - 3:45
    ซึ่งได้นำทางให้แก่เมโลตรอน
    [เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง]
  • 3:45 - 3:50
    มาขับขานท่วงทำนองเรียบๆ
  • 3:50 - 3:56
    ซึ่งต่อมาถูกผสานเข้ากับเสียง
    ที่ครอบคลุมไปทั่วของไวโอลิน
  • 3:56 - 4:00
    เมื่อเดินต่อไป กลุ่มประสานเสียงทั้งหมดก็มารวมตัวกัน
  • 4:00 - 4:02
    จนกว่าคุณจะไปถึงจุดสูงสุดของเนินเขา
  • 4:02 - 4:05
    และคุณจะได้ยินเสียงของกลอง และพลุ
  • 4:05 - 4:07
    และเสียงต่างๆอีกมากมายมหาศาล
  • 4:07 - 4:10
    ราวกับว่าเสียงเหล่านี้แผ่กระจายออกมา
  • 4:10 - 4:12
    จากเสาหินรูปเหลี่ยมมหึมาแท่งนี้
  • 4:12 - 4:15
    ที่อยู่ตรงใจกลางของสวน
  • 4:15 - 4:18
    ถ้าคุณเดินสวนทางกลับไป
  • 4:18 - 4:23
    ทุกอย่างจะเกิดขึ้นในลักษณะตรงกันข้าม
  • 4:23 - 4:26
    และหากคุณเดินออกจากเขตของสวนไป
  • 4:26 - 4:28
    บทเพลงแห่งสวน ก็จะค่อยๆ เลือนหายไปอย่างช้าๆ
  • 4:28 - 4:32
    จนในที่สุด ปุ่มเล่นเพลง ก็จะหายไป
  • 4:32 - 4:35
    บางครั้งพวกผมได้รับการติดต่อ
    จากผู้คนจากอีกมุมหนึ่งของโลก
  • 4:35 - 4:37
    ที่ไม่สามารถเดินทางมาอเมริกาได้
  • 4:37 - 4:39
    แต่อยากฟังท่วงทำนองดนตรีเหล่านี้
  • 4:39 - 4:41
    ครับ มันออกจะต่างไปจากอัลบั้มทั่วๆ ไป
  • 4:41 - 4:44
    พวกผมยังไม่สามารถตอบรับคำขอเหล่านี้ได้
  • 4:44 - 4:47
    เวลาที่พวกเขาขอซีดี หรือ MP3
  • 4:47 - 4:49
    เราไม่สามารถทำให้ได้จริงๆ
  • 4:49 - 4:51
    เหตุผลหลักก็คือ
  • 4:51 - 4:53
    นี่ไม่ใช่แอพพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการขาย
  • 4:53 - 4:56
    มันไม่ใช่เกมส์
  • 4:56 - 4:58
    ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการขายอัลบั้ม
  • 4:58 - 5:02
    ในกรณีนี้ แอพพลิเคชันคือ
    ผลงานการประพันธ์ต้องตัวของมันเอง
  • 5:02 - 5:03
    สถาปัตยกรรมของภูมิทัศน์
  • 5:03 - 5:08
    เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับบทเพลงที่ผู้ฟังได้สัมผัส
  • 5:08 - 5:11
    หกเดือนต่อมา
    เราได้สร้างอัลบัมที่เชื่อมโยงกับสถานที่ขึ้นมาอีก
  • 5:11 - 5:12
    สำหรับ เซ็นทรัล พาร์ค
  • 5:12 - 5:16
    สวนที่มีขนาดเป็นสองเท่าของ เดอะ เนชันนัล มอลล์
  • 5:16 - 5:18
    ท่วงทำนองครอบคลุมตั้งแต่ Sheep's Meadow
    [ทุ่งหญ้าใน เซ็นทรัล พาร์ค]
  • 5:18 - 5:22
    ไปจนถึง the Ramble of the Reservoir
  • 5:22 - 5:24
    ขณะนี้ พี่ชายของผม และตัวผม กำลังพยายามทำ
  • 5:24 - 5:26
    โครงการสำหรับทั่วประเทศ
  • 5:26 - 5:28
    เมื่อฤดูใบไม้ผลิที่แล้ว พวกเราได้เริ่มโครงการ
  • 5:28 - 5:30
    ที่สแตนฟอร์ด
  • 5:30 - 5:32
    ภาคคณะสื่อศิลปะเชิงทดลอง นี่เอง
  • 5:32 - 5:35
    เราได้สร้างอัลบัมที่เชื่อมโยงกับสถานที่
    ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
  • 5:35 - 5:37
    ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้ง ทางหลวงหมายเลข 1
  • 5:37 - 5:40
    บนชายฝั่งแปซิฟิกนี่เอง
  • 5:40 - 5:44
    แค่สิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้ ซึ่งก็คือ
    ผสมผสาน GPS เข้าด้วยกันกับดนตรี
  • 5:44 - 5:46
    เป็นเพียงแนวคิดเดียว
  • 5:46 - 5:49
    แต่แนวคิดนี้ได้สื่อไปถึงวิสัยทัศน์ที่ใหญ่กว่านั้น
  • 5:49 - 5:51
    สำหรับอุตสาหกรรมเพลง ที่ยังต้องดิ้นรนในบางครั้ง
  • 5:51 - 5:54
    ที่จะหาที่สำหรับตัวเองในยุคดิจิทัลนี้
  • 5:54 - 5:56
    เพื่อที่พวกเขาจะได้เริ่มมองเห็นเทคโนโลยีใหม่ๆ
  • 5:56 - 5:58
    ที่ไม่ใช่เพียงแค่เพิ่มลูกเล่นใหม่ๆ
  • 5:58 - 6:00
    ให้กับโมเดลเพลงในปัจจุบัน
  • 6:00 - 6:02
    แต่เพื่อสร้างสรรค์วิธีใหม่ๆ แบบพลิกโฉม
  • 6:02 - 6:04
    สำหรับผู้คนที่จะเข้ามามีส่วนร่วม
  • 6:04 - 6:05
    และประสบการณ์ใหม่ๆ ของเสียงเพลง
  • 6:05 - 6:07
    ขอบคุณครับ
  • 6:07 - 6:11
    (เสียงปรบมือ)
Title:
หากคุณต้องการฟังดนตรีบทนี้ คุณต้องเข้าไปอยู่ที่นั่น ด้วยตัวคุณเอง
Speaker:
ไรอัน ฮอลลาเดย์ (Ryan Holladay)
Description:

อุตสาหกรรมดนตรีต้องดิ้นรนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในยุคดิจิทัล ในครั้งนี้ ไรอัน ฮอลลาเดย์ หนึ่งใน TED Fellow ได้อธิบายว่าเหตุใดเขาจึงได้ทำการทดลองในสิ่งที่เขาเรียกว่า "ดนตรีที่เชื่อมโยงกับสถานที่" (location-aware-music) ผู้ฟังจะสามารถรับรู้ได้ถึงประสบการณ์ในการดื่มด่ำกับท่วงทำนองอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน โดยที่จะต้องเข้าไปสัมผัส และเข้าไปอยู่ในสถานที่แห่งนั้นด้วยตัวเอง (บันทึกเทปที่ TED@BCG)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
06:29
  • Let me know if you're ok with this draft. Thanks for this nice translation :)

  • ขออนุญาตตัดวรรณยุกต์ออกจากคำทับศัพท์ ตามหลักราชบัณฑิตฯ และเปลี่ยนคำแปลของ location-aware music เป็น ดนตรีที่เชื่อมโยงกับสถานที่ (เข้าใจง่ายกว่าหรือเปล่า?) ถ้ามี comment ต้องการแก้ไขตรงไหนก็แจ้งได้เลยนะครับ -- ขอบคุณครับ - ปั้น

  • ตรวจดูแล้วค่ะ ขอบคุณมากนะคะพี่ปั้น

Thai subtitles

Revisions