< Return to Video

แก้วโลหะคืออะไร - แอชวินิ บาห์ราธูล่า (Ashwini Bharathula)

  • 0:07 - 0:09
    เหล็กกล้าและพลาสติก
  • 0:09 - 0:13
    วัสดุสองชนิดนี้มีความสำคัญ
    ต่อโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีของเรามาก
  • 0:13 - 0:17
    และพวกมันมีความแข็งและความเปราะ
    ที่แตกต่างกัน
  • 0:17 - 0:19
    เหล็กกล้าแข็งแรงและทนทาน
  • 0:19 - 0:21
    แต่ทำให้เป็นรูปทรงที่ซับซ้อนได้ยาก
  • 0:21 - 0:24
    ขณะที่พลาสติกสามารถทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ
    ได้หลากหลาย
  • 0:24 - 0:26
    มันเปราะและอ่อนนุ่ม
  • 0:26 - 0:28
    ดังนั้น มันน่าจะดีถ้ามีวัสดุชนิดหนึ่ง
  • 0:28 - 0:31
    ที่มีความแข็งแรงดุจเหล็กกล้าที่แข็งที่สุด
  • 0:31 - 0:34
    และสามารถทำให้เป็นรูปทรงที่หลากหลาย
    ได้เหมือนพลาสติก
  • 0:34 - 0:36
    เอาล่ะ ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์
    และผู้เชียวชาญด้านเทคโนโลยีจำนวนมาก
  • 0:36 - 0:41
    กำลังรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งประดิษฐ์ใหม่
    เรียกว่า "แก้วโลหะ" (metallic glass)
  • 0:41 - 0:44
    ซึ่งมีคุณสมบัติของวัสดุทั้งคู่
    และคุณสมบัติอื่น ๆ อีก
  • 0:44 - 0:48
    โลหะแก้วมีลักษณะเป็นมันเงา
    และทึบแสงเหมือนเหล็กกล้า
  • 0:48 - 0:51
    และเช่นเดียวกับเหล็กกล้า
    พวกมันนำความร้อนและไฟฟ้าได้
  • 0:51 - 0:54
    แต่พวกมันแข็งแรงกว่าโลหะส่วนใหญ่
  • 0:54 - 0:56
    ซึ่งหมายความว่าพวกมันทนทาน
    ต่อแรงปริมาณมากได้
  • 0:56 - 0:58
    โดยปราศจากการคดงอหรือแหว่งเว้า
  • 0:58 - 1:00
    นำไปทำเป็นมีดผ่าตัดที่มีความคมสุดขีด
  • 1:00 - 1:02
    และกล่องใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
    ที่มีความแข็งแรงสุดขั้ว
  • 1:02 - 1:03
    บานพับ
  • 1:03 - 1:04
    ตะปูควง
  • 1:04 - 1:06
    และอีกมากมาย
  • 1:06 - 1:08
    แก้วโลหะยังมีคุณสมบัติที่น่าเหลือเชื่อ
  • 1:08 - 1:11
    คือกักเก็บและปลดปล่อยพลังงานยืดหยุ่น
    (elastic energy)
  • 1:11 - 1:13
    ซึ่งทำให้พวกมันเป็นวัสดุ
    ที่เหมาะจะนำไปผลิตอุปกรณ์กีฬา
  • 1:13 - 1:14
    เช่น ไม้เทนนิส
  • 1:14 - 1:15
    ไม้ตีกอล์ฟ
  • 1:15 - 1:17
    และ สกี
  • 1:17 - 1:18
    พวกมันทนต่อการกัดกร่อน
  • 1:18 - 1:22
    และสามารถถูกนำไปหล่อเป็นรูปทรงซับซ้อน
    ที่มีพื้นผิวเหมือนกระจกได้
  • 1:22 - 1:24
    ในการขึ้นรูปขั้นตอนเดียว
  • 1:24 - 1:27
    แม้ว่ามันจะมีความแข็งแรงที่อุณหภูมิห้อง
  • 1:27 - 1:29
    ถ้าคุณเพิ่มอุณหภูมิให้สูงกว่า
    ร้อยกว่า ๆ องศาเซลเซียส
  • 1:29 - 1:31
    พวกมันจะอ่อนตัวลงอย่างมีนัยสําคัญ
  • 1:31 - 1:34
    และจะสามารถถูกทำให้เป็นรูปร่าง
    ได้ตามที่คุณต้องการ
  • 1:34 - 1:36
    เมื่อทำให้มันเย็นลง
  • 1:36 - 1:38
    พวกมันจะกลับมามีความแข็งเแรงเหมือนเดิม
  • 1:38 - 1:41
    แล้วคุณสมบัติมหัศจรรน์เหล่านี้มาจากไหนล่ะ
  • 1:41 - 1:46
    หลักการสำคัญคือมันเกี่ยวข้องกับ
    โครงสร้างอะตอมของแก้วโลหะที่มีความพิเศษ
  • 1:46 - 1:48
    โลหะส่วนใหญ่เป็นผลึกเป็นของแข็ง
  • 1:48 - 1:52
    นั่นหมายความว่า หากคุณเข้าไปใกล้มากพอ
    ที่จะเห็นอะตอม
  • 1:52 - 1:56
    คุณจะพบพวกมันเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ
    รูปแบบซ้ำ ๆ
  • 1:56 - 1:59
    กระจายอยู่ทั่วไปในเนื้อของวัสดุ
  • 1:59 - 2:00
    น้ำแข็งเป็นผลึก
  • 2:00 - 2:01
    เพชรก็ด้วย
  • 2:01 - 2:02
    เกลือก็เช่นกัน
  • 2:02 - 2:05
    ถ้าคุณให้ความร้อนสูงมากพอ
    ที่จะทำให้พวกมันละลาย
  • 2:05 - 2:08
    อะตอมจะสั่นและเคลื่อนที่อย่างสุ่ม
  • 2:08 - 2:10
    แต่เมื่อคุณทำให้มันเย็นลง
  • 2:10 - 2:11
    อะตอมจะจัดเรียงตัวของพวกมันใหม่
  • 2:11 - 2:14
    สร้างเป็นผลึกขึ้นอีกครั้ง
  • 2:14 - 2:17
    แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำให้โลหะเหลว
    เย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว
  • 2:17 - 2:20
    จนทำให้อะตอมไม่สามารถ
    หาตำแหน่งเดิมของมันได้
  • 2:20 - 2:22
    เพื่อที่วัสดุนั้นที่เคยเป็นของแข็ง
  • 2:22 - 2:26
    แต่ด้วยความโกลาหล ทำให้มันกลายเป็นของเหลว
    ที่โครงสร้างภายในมีรูปร่างไม่แน่นอนล่ะ
  • 2:26 - 2:28
    นั่นล่ะ คือแก้วโลหะ
  • 2:28 - 2:32
    โครงสร้างของมันได้รับประโยชน์
    จากการขาดขอบเขตที่ชัดเจนในเนื้อวัสดุ
  • 2:32 - 2:33
    ซึ่งโลหะส่วนใหญ่มี
  • 2:33 - 2:37
    นั่นคือจุดอ่อนที่ทำให้โลหะเหล่านั้น
    เป็นรอยได้ง่ายกว่า
  • 2:37 - 2:39
    หรือผุกร่อน
  • 2:39 - 2:43
    แก้วโลหะถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1960
    จากทองคำและซิลิคอน
  • 2:43 - 2:45
    มันสร้างขึ้นได้ยาก
  • 2:45 - 2:48
    เพราะอะตอมของโลหะตกผลึกได้อย่างรวดเร็ว
  • 2:48 - 2:51
    นักวิทยาศาสตร์ต้องทำให้โลหะผสมนี้
    เย็นลงอย่างรวดเร็วมาก
  • 2:51 - 2:55
    ในอัตราหนึ่งล้านองศาเคลวินต่อวินาที
  • 2:55 - 2:57
    โดยการยิงละอองโลหะขนาดเล็กจิ๋ว
    ไปที่แผ่นทองแดงเย็นเฉียบ
  • 2:57 - 3:00
    หรือการปั่นให้เป็นริบบิ้นเส้นบางเฉียบ
  • 3:00 - 3:05
    ในเวลานั้น แก้วโลหะมีความหนา
    ได้แค่สิบหรือร้อยไมครอนเท่านั้น
  • 3:05 - 3:09
    ซึ่งบางเกินไปสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์
    ในทางปฏิบัติ
  • 3:09 - 3:11
    นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า
  • 3:11 - 3:14
    ถ้าคุณผสมโลหะหลาย ๆ ชนิด
    ที่รวมตัวกันอย่างอิสระ
  • 3:14 - 3:17
    แต่ตกผลึกพร้อมกันได้ยาก
  • 3:17 - 3:20
    ซึ่งโดยทั่วไปเป็นเพราะว่าพวกมัน
    มีขนาดอะตอมที่ต่างกันมาก
  • 3:20 - 3:23
    สารผสมจึงตกผลึกได้ช้ากว่ามาก
  • 3:23 - 3:26
    นั่นหมายความว่า
    คุณไม่จำเป็นต้องรีบทำให้มันเย็นลง
  • 3:26 - 3:28
    ดังนั้น วัสดุจึงมีความหนาได้มากขึ้น
  • 3:28 - 3:30
    เป็นระดับเซนติเมตร แทนที่จะเป็นไมโครเมตร
  • 3:30 - 3:34
    วัสดุนี้ถูกเรียกว่าแก้วโลหะขนาดใหญ่
    (bulk metallic glass) หรือ BMG
  • 3:34 - 3:37
    ในปัจจุบันมี BMG ที่แตกต่างกันหลายร้อยชนิด
  • 3:37 - 3:40
    แล้วทำไมสะพานและรถยนต์
    จึงไม่ได้สร้างจากพวกมันล่ะ
  • 3:40 - 3:44
    BMG หลายชนิดที่ใช้งานได้ในปัจจุบัน
    สร้างขึ้นจากโลหะราคาแพง
  • 3:44 - 3:47
    เช่น แพแลเดียม และ เซอร์โคเนียม
  • 3:47 - 3:48
    และพวกมันต้องมีความบริสุทธิ์สูงมาก
  • 3:48 - 3:51
    เพราะความไม่บริสุทธิ๋ใด ๆ ก็ตาม
    สามารถก่อให้เกิดการตกผลึกได้
  • 3:51 - 3:56
    ดังนั้น ตึกระฟ้าหรือยานอวกาศ
    ที่สร้างจาก BMG จึงมีราคาแพงมหาศาล
  • 3:56 - 3:58
    และถึงแม้ว่าพวกมันจะมีความแข็งแรง
  • 3:58 - 4:02
    พวกมันก็ยังไม่ทนทานมากพอ
    สำหรับนำไปใช้รับน้ำหนักในงานก่อสร้าง
  • 4:02 - 4:05
    เมื่อมีความเครียดสูง พวกมันแตกร้าวได้
    โดยไม่อาจรู้ได้ล่วงหน้า
  • 4:05 - 4:08
    ซึ่งมันไม่ใช่วัสดุในอุดมคติ ยกตัวอย่างเช่น
    สำหรับการสร้างสะพาน
  • 4:08 - 4:12
    แต่เมื่อวิศวกรค้นพบวิธีสร้าง BMG
    จากโลหะที่มีราคาถูกกว่านี้ได้
  • 4:12 - 4:14
    และทำให้มันมีความทนทานมากขึ้นได้
  • 4:14 - 4:16
    วัสดุสุดแสนวิเศษนี้
  • 4:16 - 4:18
    จะมีศักยภาพมากมายอย่างไร้ขีดจำกัด
Title:
แก้วโลหะคืออะไร - แอชวินิ บาห์ราธูล่า (Ashwini Bharathula)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/what-is-metallic-glass-ashwini-bharathula

เหล็กกล้าและพลาสติกมีความสำคัญต่อโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีของเราอย่างมาก เหล็กกล้าแข็งแรงและทนทาน แต่ทำให้เป็นรูปทรงที่ซับซ้อนได้ยาก ขณะที่พลาสติกสามารถทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้หลากหลาย มันเปราะและอ่อนนุ่ม มันน่าจะดีถ้ามีวัสดุที่มีความแข็งแรงดุจเหล็กกล้าที่แข็งที่สุดและสามารถทำให้เป็นรูปทรงที่หลากหลายได้เหมือนพลาสติก แอชวินิ บาห์ราธูล่า อธิบายอนาคตของแก้วโลหะ

บทเรียนโดย Ashwini Bharathula, แอนิเมชันโดย Tinmouse Animation Studio

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:34
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for What is metallic glass? - Ashwini Bharathula
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for What is metallic glass? - Ashwini Bharathula
Waritsara Jitmun edited Thai subtitles for What is metallic glass? - Ashwini Bharathula
Waritsara Jitmun edited Thai subtitles for What is metallic glass? - Ashwini Bharathula
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for What is metallic glass? - Ashwini Bharathula
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What is metallic glass? - Ashwini Bharathula
Waritsara Jitmun edited Thai subtitles for What is metallic glass? - Ashwini Bharathula
Waritsara Jitmun edited Thai subtitles for What is metallic glass? - Ashwini Bharathula
Show all

Thai subtitles

Revisions