วิธีทำให้ความเห็นแก่ผู้อื่นชี้นำคุณ
-
0:00 - 0:07มนุษย์เรามีศักยภาพสูงอย่างเหลือเชื่อ
สำหรับความดี -
0:08 - 0:12แต่เราก็มีอำนาจมากมายที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย
-
0:12 - 0:18เครื่องมือใดๆก็ตาม
สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างหรือทำลาย -
0:18 - 0:21ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับแรงจูงใจของเรา
-
0:21 - 0:25ฉะนั้น มันจึงยิ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
-
0:25 - 0:29ที่เราจะสร้างแรงบรรดาลใจ
ที่ทำให้เราเห็นแก่ผู้อื่นมากกว่าเห็นแก่ตัวเอง -
0:31 - 0:37ตอนนี้เรากำลังเผชิญหน้า
กับความท้าทายมากมาย -
0:37 - 0:40มันอาจเป็นความท้าทายส่วนบุคคล
-
0:40 - 0:45จิตของเราอาจเป็นได้ทั้งเพื่อนที่ดีที่สุด
หรือศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด -
0:46 - 0:49อาจเป็นความท้าทายทางสังคม
ด้วยก็ได้เช่นกัน -
0:49 - 0:55ความอดอยากท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์
ความไม่เท่าเทียม การต่อสู้ ความอยุติธรรม -
0:55 - 0:59และยังมีความท้าทายแบบใหม่ที่เรานึกไม่ถึง
-
0:59 - 1:0410,000 ปีก่อนบนโลกมีมนุษย์
ประมาณ 5 ล้านคน -
1:04 - 1:05ไม่ว่าพวกเขาจะทำอะไร
-
1:05 - 1:11ความทนทานของโลก
ก็รักษาแผลจากการกระทำของมนุษย์ได้ -
1:11 - 1:14หลังจากการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม
และเทคโนโลยี -
1:14 - 1:16มันก็ไม่เป็นเช่นนั้นอีก
-
1:16 - 1:20ตอนนี้เราคือตัวการสำคัญ
ที่ส่งผลกระทบต่อโลก -
1:20 - 1:25เราได้เข้าสู่ยุคแอนโทรโปซีน
ยุคสมัยแห่งมนุษย์ -
1:25 - 1:32ในทางใดทางหนึ่งถ้าเราจะบอกว่าเราจะเติบโต
อย่างไม่สิ้นสุดไปเรื่อยๆ -
1:32 - 1:36ใช้แหล่งวัตถุดิบอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
-
1:36 - 1:39มันเหมือนถ้าผู้ชายคนนี้พูดว่า
-
1:39 - 1:43และอาตมาเคยได้ยินอดีตผู้นำรัฐท่านหนึ่ง
อาตมาขอไม่พูดว่าใคร พูดว่า -
1:43 - 1:47"เมื่อ 5 ปีที่แล้ว พวกเราอยู่ที่ขอบหน้าผา
-
1:47 - 1:50วันนี้เราได้ก้าวๆใหญ่ไปข้างหน้า"
-
1:51 - 1:57ทีนี้หน้าผานี้เหมือนกับสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์
ได้นิยามไว้ -
1:57 - 1:59ว่ามันคือ ขอบเขตของดวงดาว
-
1:59 - 2:04และภายในขอบเขตเหล่านั้น
พวกมันแบกรับปัจจัยจำนวนหนึ่งไว้ -
2:04 - 2:09เรายังคงเจริญต่อไป มนุษย์ยังอยู่ต่อไปได้อีก 150,000 ปี
-
2:09 - 2:13ถ้าเรารักษาชั้นบรรยากาศไว้ได้
ในสภาพเดิมอย่างมั่นคง -
2:13 - 2:16เช่นเดียวกับในยุคโฮโลซีน
ในช่วง 10,000 ปีที่ผ่านมา -
2:16 - 2:21แต่มันขึ้นอยู่กับ
การเลือกความสมถะอย่างสมัครใจ -
2:21 - 2:24เติบโตอย่างมีคุณภาพ
ไม่ใช่เติบโตด้วยจำนวน -
2:24 - 2:30ในปี 1900 อย่างที่คุณเห็น
เราอยู่ในข้อจำกัดอย่างสบาย -
2:30 - 2:36ทีนี้ ในปี 1950 เกิดการเร่งการเจริญเติบโต
-
2:36 - 2:41ตอนนี้กลั้นลมหายใจของคุณ
ไม่ต้องนาน เพื่อนึกดูว่าเกิดอะไรต่อมา -
2:41 - 2:47ตอนนี้ พวกเราได้บุกรุกบางขอบเขตบางส่วน
อย่างมากมาย -
2:47 - 2:51ถ้าลองเอาความหลากหลายทางชีวภาพ
จากอัตราส่วนในปัจจุบันมาคำนวน -
2:51 - 2:57ในปี 2050
30% ของสายพันธุ์ทั้งหมดจะสูญพันธ์ -
2:57 - 3:03ต่อให้เราเก็บดีเอ็นเอของพวกมันไว้ในตู้เย็น
เราก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเหล่านั้นกลับคืนมา -
3:03 - 3:05อาตมานั่งอยู่ที่นั่น
-
3:05 - 3:11เบื้องหน้าของธารน้ำแข็ง 21,000 ฟุต
สูง 7,000 เมตร ในภูฏาน -
3:11 - 3:18ที่ขั้วโลกที่สาม ธารน้ำแข็งกว่า 2,000 สาย
กำลังละลาย รวดเร็วเสียยิ่งกว่าที่อาร์คติก -
3:18 - 3:21เราสามารถทำอะไรกับสถานการณ์นี้ได้บ้าง?
-
3:22 - 3:29อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะมีความซับซ้อนทาง
การเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ -
3:29 - 3:32ไม่ว่าอย่างไร ปัญหาของสิ่งแวดล้อมนั้น
-
3:32 - 3:39สุดท้ายแล้วมันขึ้นอยู่กับความเห็นแก่ตัว
และความไม่เห็นแก่ตัว -
3:39 - 3:42อาตมาคือมาร์กซ์ที่มีนิสัยของเกราโช
-
3:42 - 3:44(เสียงหัวเราะ)
-
3:44 - 3:47เกราโช มาร์กซ์เคยพูดว่า
"ฉันจะสนใจเกี่ยวกับคนรุ่นหลังไปทำไม? -
3:47 - 3:49พวกเขาเคยทำอะไรให้ฉันบ้าง?"
-
3:49 - 3:51(เสียงหัวเราะ)
-
3:51 - 3:55น่าเสียดาย อาตมาเคยได้ยินมหาเศรษฐี
สตีเว่น ฟอร์บส์ -
3:55 - 3:59บน ฟ็อกซ์ นิวส์ พูดสิ่งที่เหมือนกัน
แต่เขาดูจริงจัง -
3:59 - 4:01มีคนบอกเขาถึงระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
-
4:01 - 4:05และเขาพูดว่า
"ฉันพบว่ามันบ้าบอที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของฉันวันนี้ -
4:05 - 4:08เพื่อบางสิ่งที่จะเกิดขึ้น
ในอีกหลายร้อยปีข้างหน้า" -
4:08 - 4:11ถ้าคนไม่สนใจว่าคนรุ่นหลังจะอยู่อย่างไร
-
4:11 - 4:13ก็เอาเลย
-
4:13 - 4:16หนึ่งในความท้าทายในยุคของเรา
-
4:16 - 4:20ก็คือการแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงปัจจัยหลัก
ทั้งสามประการ ให้สมดุลกัน -
4:20 - 4:22ปัจจัยระยะสั้นด้านเศรษฐกิจ
-
4:22 - 4:26การขึ้นลงของตลาดหุ้น งบดุลตอนปลายปี
-
4:26 - 4:29ปัจจัยระยะกลางด้านคุณภาพชีวิต
-
4:29 - 4:34คุณภาพชีวิตในแต่ละขณะของเรา
จะเป็นอย่างไร ในอีก 10 ปี หรือ 20 ปีข้างหน้า -
4:34 - 4:38และปัจจัยระยะยาวด้านสิ่งแวดล้อม
-
4:38 - 4:40เมื่อนักสิ่งแวดล้อมพูดกับนักเศรษฐศาสตร์
-
4:40 - 4:43มันเหมือนบทสนทนาของคนมีอาการทางจิต
ไม่มีความต่อเนื่องเอาเสียเลย -
4:43 - 4:46พวกเขาไม่ได้พูดภาษาเดียวกัน
-
4:46 - 4:49ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้
อาตมาเดินทางไปรอบโลก -
4:49 - 4:53พบปะนักเศรษฐศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์
นักประสาทวิทยา นักสิ่งแวดล้อม -
4:53 - 4:58นักปรัชญา และนักคิด
ที่เทือกภูเขาหิมาลัย ในทุกๆที่ -
4:58 - 5:02อาตมาเห็นว่า มีเพียงแนวคิดเดียว
-
5:02 - 5:05ที่จะสามารถทำให้ปัจจัยทั้งสามประการนั้น
สมดุลกันได้ -
5:05 - 5:09ทำได้ง่ายๆ ด้วยการใส่ใจกับผู้อื่นให้มากขึ้น
-
5:09 - 5:14ถ้าคุณใส่ใจกับคนอื่นมากขึ้น
คุณก็จะมีเศรษฐกิจที่ดีได้โดยที่เอาใจใส่ผู้อื่น -
5:14 - 5:17เป็นการบริหารการเงินเพื่อประโยชน์ทางสังคม
-
5:17 - 5:20ไม่ใช่การบริหารสังคม
เพื่อประโยชน์ทางการเงิน -
5:20 - 5:22คุณจะไม่เล่นการพนัน
-
5:22 - 5:25ด้วยทรัพยากรที่ผู้คนฝากฝังไว้กับคุณ
-
5:25 - 5:28ถ้าคุณใส่ใจกับคนอื่นมากขึ้น
-
5:28 - 5:31คุณตรวจสอบตนเอง
ว่าคุณได้ลดความไม่เท่าเทียมต่างๆ -
5:31 - 5:35และตรวจสอบตนเองว่า
คุณได้นำพาความเป็นสุขมาสู่สังคม -
5:35 - 5:37ในสถานศึกษา ที่สถานที่ทำงานของคุณ
-
5:37 - 5:41ไม่อย่างนั้นแล้ว คุณจะเป็นประเทศ
ที่มีอำนาจที่สุด -
5:41 - 5:44รวยที่สุด แต่คนทุกคนไม่มีความสุข?
ไปเพื่ออะไร -
5:44 - 5:46และถ้าคุณใส่ใจกับคนอื่นมากขึ้น
-
5:46 - 5:49คุณก็จะไม่ปล้นดวงดาวที่เราอาศัยอยู่
-
5:49 - 5:54และในอัตราปัจจุบัน เราไม่มีดาวอีกสามดวง
ให้เรายังคงใช้ชีวิตแบบที่เป็นอยู่นี้ -
5:54 - 5:56ทีนี้คำถามก็คือ
-
5:56 - 6:00โอเค การเห็นแก่ผู้อื่นคือคำตอบ
ที่ไม่ใช่แค่ความคิดในนิยาย -
6:00 - 6:04แต่มันสามารถเป็นจริง
ในทางปฏิบัติได้หรือไม่? -
6:04 - 6:06และก่อนอื่นเลย มันมีจริงหรือเปล่า
-
6:06 - 6:10การเห็นแก่ผู้อื่นมีอยู่จริง
หรือว่าเราเห็นแก่ตัวเหลือเกิน? -
6:10 - 6:16นักปรัชญาหลายคนคิดว่า
พวกเรานั้นเห็นแก่ตัวแบบแก้ไขไม่ได้ -
6:16 - 6:21แต่เราเป็นแค่เหล่าร้ายจริงหรือ?
-
6:21 - 6:24นั่นคือข่าวดีใช่หรือไม่?
-
6:24 - 6:26นักปรัชญาหลายท่าน เช่น ฮ็อบส์
คิดว่าอย่างนั้น -
6:26 - 6:29แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนดูเหมือนเหล่าร้าย
-
6:29 - 6:32หรือว่ามนุษย์ก็คือหมาป่าที่ล่ามนุษย์ด้วยกัน?
-
6:32 - 6:35ผู้ชายคนนี้ดูไม่เลวร้ายนัก
-
6:35 - 6:38เขาเป็นเพื่อนคนหนึ่งของอาตมาที่ธิเบต
-
6:38 - 6:40เขาใจดีมาก
-
6:40 - 6:44เรารักการทำงานร่วมกัน
-
6:44 - 6:48ไม่มีความสุขอะไร ดีไปกว่าการทำงานร่วมกัน
จริงไหม? -
6:48 - 6:52ไม่ใช่เฉพาะมนุษย์
-
6:52 - 6:55แน่นอน ว่ามันมีการต่อสู้เพื่อชีวิต
-
6:55 - 6:59การอยู่รอดของผู้ที่เหมาะสมที่สุด
ตามทฤษฏีของดาร์วิน -
6:59 - 7:05แต่ในวิวัฒนาการ การร่วมมือกัน
แน่นอนว่ามีการแข่งขันกันด้วย -
7:05 - 7:11แต่เราจำเป็นจะต้องมีการร่วมมือกันสร้างสรรค์
มากกว่านี้เพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้า -
7:11 - 7:15พวกเราคือนักสร้างร่วมมือที่มีความพิเศษ
และเราควรจะก้าวไปข้างหน้าได้มากกว่านี้ -
7:15 - 7:21นอกเหนือจากนั้น คือเรื่อง
คุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ -
7:21 - 7:26โออีซีดี ได้ทำแบบสำรวจ
โดยใช้ปัจจัย 10 อย่าง รวมรายได้ ฯลฯ -
7:26 - 7:29สิ่งแรกที่ผู้คนกล่าวว่า
เป็นปัจจัยหลักสำหรับความสุขของฉัน -
7:29 - 7:33ก็คือคุณภาพของความสัมพันธ์ทางสังคม
-
7:33 - 7:35ไม่ใช่แค่มนุษย์
-
7:35 - 7:39ดูคุณยายเหล่านั้นสิ่
-
7:39 - 7:44ทีนี้ ความคิดที่ว่าถ้าเรามองลงไปลึกๆ
-
7:44 - 7:47พวกเรานั้นเห็นแก่ตัวอย่างไม่มีทางแก้
-
7:47 - 7:49คือวิทยาศาสตร์บนเก้าอี้นั่ง
-
7:49 - 7:51ไม่มีการศึกษาทางสังคมวิทยา
-
7:51 - 7:55หรือการศึกษาทางจิตวิทยา
ที่บอกแบบนั้นเลย -
7:55 - 7:57แต่ในทางตรงกันข้าม
-
7:57 - 8:00เพื่อนของอาตมา แดเนียล แบ็ตทัน
ใช้ชีวิตทั้งชีวิต -
8:00 - 8:03เอาผู้คนจากห้องปฏิบัติการ
มาอยู่ในสถาการณ์ที่ซับซ้อน -
8:03 - 8:07แน่นอนว่าบางทีบางคนก็เห็นแก่ตัว
และบางคนมากกว่าคนอื่น -
8:07 - 8:10แต่เขาพบว่าตามระบบแล้ว ไม่ว่ายังไง
-
8:10 - 8:13ก็มีผู้คนจำนวนหนึ่ง
-
8:13 - 8:17ที่ประพฤติอย่างเห็นแก่ผู้อื่น ไม่ว่ายังไง
-
8:17 - 8:20ถ้าคุณเห็นใครคนหนึ่ง บาดเจ็บหนัก
ทรมานมาก -
8:20 - 8:22คุณอาจจะช่วยเขา จากความเห็นใจ
-
8:22 - 8:26คุณทนมันไม่ไหว ฉะนั้นมันจึงดีกว่าที่จะช่วย
แทนที่จะยืนดูเฉยๆ -
8:26 - 8:32เราทดสอบเรื่องนั้นและสุดท้ายแล้ว
มันชัดเจนว่ามนุษย์เราสามารถเห็นแก่ผู้อื่นได้ -
8:32 - 8:34นั่นคือข่าวดี
-
8:34 - 8:40และยิ่งไปกว่านั้น เราควรจะมองไปที่
ความดาษดื่นของความดี -
8:40 - 8:42ลองดูทีนี่ก็ได้
-
8:42 - 8:44เมื่อเราออกไป เราคงไม่พูดว่า "ดีจัง
-
8:44 - 8:49ที่ไม่มีการชกต่อยเกิดขึ้นในฝูงชน
ตอนที่กำลังพูดถึงการไม่เห็นแก่ตัว" -
8:49 - 8:51เราคาดเดาอย่างนั้นหรือ ไม่ใช่หรอก?
-
8:51 - 8:54ถ้ามันมีการชกต่อย
เราคงพูดถึงมันไปเป็นเดือนๆ -
8:54 - 8:58ดังนั้นความดาษดื่นของความดีเป็นสิ่งที่ไม่ดึงดูดความสนใจของเรา
-
8:58 - 8:59แต่มันมีอยู่
-
8:59 - 9:05ทีนี้ดูนี่
-
9:09 - 9:12นักจิตวิทยาบางท่านพูดว่า
-
9:12 - 9:15เมื่อฉันบอกพวกเขาว่าฉันทำโครงการการกุศล 140 โครงการ
ที่เทือกเขาหิมาลัย -
9:15 - 9:18มันทำให้ฉันมีความสุขมาก
-
9:18 - 9:21พวกเขาพูดว่า
"โอ้ คุณทำงานเพื่อความรู้สึกอบอุ่น -
9:21 - 9:24นั่นไม่ใช่การเห็นแก่ผู้อื่น มันแค่รู้สึกดี"
-
9:24 - 9:27คุณคิดว่าชายคนนี้
ตอนที่เขากระโดดตัดหน้ารถไฟ -
9:27 - 9:29เขาคิดหรือเปล่าว่า
"ฉันจะต้องรู้สึกดีแน่เมื่อเรื่องนี้จบลง?" -
9:29 - 9:32(เสียงหัวเราะ)
-
9:32 - 9:34แต่นั่นไม่ใช่ตอนจบของมัน
-
9:34 - 9:36เมื่อคุณสัมภาษณ์เขา เขาพูดว่า
-
9:36 - 9:40"ผมไม่ทางเลือก แน่นอนผมต้องโดด"
-
9:40 - 9:43เขาไม่มีทางเลือก พฤติกรรมอัตโนมัติ
มันไม่ใช่การเห็นแก่ตัวและก็ไม่ใช่การเห็นแก่ผู้อื่น -
9:43 - 9:45ไม่มีทางเลือก?
-
9:45 - 9:48แน่นอนว่าชายคนนี้คงจะได้คิดไปอีกครึ่งชั่วโมง
-
9:48 - 9:50"ผมควรจะช่วยหรือไม่ช่วยเขา?"
-
9:50 - 9:54เขายื่นมือ เขามีทางเลือก
แต่มันชัดเจน ในช่วงเวลากะทันหัน -
9:54 - 9:56ทีนี้ ตรงนี้ เขาก็มีทางเลือก
-
9:56 - 9:59(เสียงหัวเราะ)
-
9:59 - 10:02มีผู้คนที่มีทางเลือกเช่น
บาทหลวงอันเดร ทรุชเมและภรรยาของเขา -
10:02 - 10:05และคนทั้งหมู่บ้านเลอ แชมบอน-เซอ-ลุกนอน
ในประเทศฝรั่งเศษ -
10:05 - 10:09ตลอดช่วงเวลาสงครามโลกครั้งที่สอง
พวกเขาช่วยชาวยิว 3,500 คน -
10:09 - 10:12ให้ที่พัก และพาพวกเขาไปสวิตเซอร์แลนด์
-
10:12 - 10:15ท่ามกลางอันตรายต่างๆ
ที่เสี่ยงต่อชีวิตของพวกเขาและครอบครัว -
10:15 - 10:17ความเห็นแก่ผู้อื่นมีอยู่จริง
-
10:17 - 10:19อะไรคือความเห็นแก่ผู้อื่น
-
10:19 - 10:23มันคือความหวังที่ว่า ขอให้คนอื่นมีความสุข
และพบต้นตอของความสุข -
10:23 - 10:28การเอาใจใส่คือ
เสียงสะท้อนเกี่ยวกับความรู้สึก ที่บอกคุณว่า -
10:28 - 10:31คนคนนี้มีความสุข หรือ คนคนนี้มีความทุกข์
-
10:31 - 10:34แต่การเอาใจใส่อย่างเดียวนั้นไม่พอ
-
10:34 - 10:37ถ้าคุณต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์
อย่างต่อเนื่อง -
10:37 - 10:39การเอาใจใส่ต่อความยากลำบาก
ของคุณอาจหมดลง -
10:39 - 10:44คุณต้องการสิ่งแวดล้อมแห่งความรัก
และเมตตาที่ยิ่งใหญ่กว่า -
10:44 - 10:46ด้วยทาเนีย ซิงเกอร์
ที่สถาบัน แม็กซ์ แพล็งค์ แห่งไลซ์พิก -
10:46 - 10:52เราได้เห็นว่าระบบสมองสำหรับความเอาใจใส่
และความเตตานั้นแตกต่างกัน -
10:52 - 10:54ทั้งหมดมันเยี่ยมมาก
-
10:54 - 10:57เราได้มันมาจากวิวัฒนาการ การดูแลจากแม่
ความรักจากผู้ที่เลี้ยงดูเรา -
10:59 - 11:02แต่เราต้องขยายมันออกไป
-
11:02 - 11:05มันสามารถลามไปสู่แม้กระทั่งสายพันธ์อื่นได้
-
11:05 - 11:09ถ้าเราอยากได้สังคมที่เห็นแก่ผู้อื่นมากกว่านี้ เราต้องการสองสิ่ง
-
11:09 - 11:13การเปลี่ยนแปลงรายบุคคล
และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม -
11:13 - 11:15การเปลี่ยนแปลงรายบุคคลเป็นไปได้ไหม?
-
11:15 - 11:182,000 ปีของการศึกษาอย่างละเอียด
บอกว่า เป็นไปได้ -
11:18 - 11:22ทีนี้ 15 ปี ของความร่วมมือ ระหว่าง
ประสาทวิทยา และพันธุศาสตร์ -
11:22 - 11:26บอกว่าเป็นไปได้
สมองของเราเปลี่ยนไปเมื่อคุณฝึกเห็นแก่ผู้อื่น -
11:26 - 11:31อาตมาใช้เวลา 120 ชั่วโมง
ในเครื่องเอ็มอาร์ไอ -
11:31 - 11:33นี่คือภาพแรกที่อาตมาออกมา
หลังจากเข้าไป 2 ชั่วโมงครึ่ง -
11:33 - 11:37และผลการทดลองได้ถูกตีพิมพ์
ลงในหนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์หลายฉบับ -
11:37 - 11:41มันแสดงอย่างชัดเจนว่า
มีการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้าง -
11:41 - 11:45และการทำงานของสมอง
เมื่อคุณฝึกรักอย่างเห็นแก่ผู้อื่น -
11:45 - 11:46เพื่อให้คุณได้เห็น
-
11:46 - 11:49นี่คือผู้ฝึกขณะพักทางด้านซ้าย
-
11:49 - 11:53ผู้ฝึกขณะกำลังปฏิบัติเมตตา
คุณเห็นการทำงานทุกอย่าง -
11:53 - 11:55และกลุ่มครอบครัวขณะกำลังพัก
ไม่มีอะไรเกิดขึ้น -
11:55 - 11:57ขณะปฏิบัติ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
-
11:57 - 11:59พวกเขาไม่ได้รับการฝึก
-
11:59 - 12:04คุณจำเป็นต้องปฏิบัติ 50,000 ชั่วโมงไหม? ไม่ต้อง
-
12:04 - 12:084 สัปดาห์ 20 นาทีต่อ 1 วัน
ของการฝึกอย่างเอาใจใส่ -
12:08 - 12:14ก็นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสมองแล้ว
เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีการควบคุม -
12:14 - 12:18แค่ 20 นาทีต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์
-
12:18 - 12:21แม้แต่กับเด็กก่อนวัยเรียน
ริชาร์ด เดวิดสัน ทำการทดลองที่ เมดิสัน -
12:21 - 12:28โครงการ 8 สัปดาห์: ความกตัญญู
ความรักและเมตตา การร่วมมือกัน
การหายใจอย่างมีสติ -
12:28 - 12:30คุณอาจพูดว่า
"โอ้ พวกเขาเป็นแค่เด็กก่อนวัยเรียน" -
12:30 - 12:32ลองดูหลังจาก 8 สัปดาห์
-
12:32 - 12:34ความประพฤติทางสังคม คือเส้นสีน้ำเงิน
-
12:34 - 12:39ต่อมาคือ สุดยอดการทดลองวิทยาศาสตร์
การทดลองสติกเกอร์ -
12:39 - 12:43อันดับแรก เรากำหนดว่า
ใครสนิทกับใครในห้องเรียน -
12:43 - 12:47หรือสนิทกับใครน้อยที่สุด
เด็กที่ไม่มีใครรู้จักหรือเด็กที่ไม่สบาย -
12:47 - 12:50และพวกเขาทุกคนต้องแจกสติกเกอร์ให้เพื่อน
-
12:50 - 12:54ก่อนที่จะมีการแทรกแทรง
พวกเขาให้สติกเกอร์กับเพื่อนสนิท -
12:54 - 12:58เด็ก 5 ขวบ 4 คน
ฝึก 20 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ -
12:58 - 13:01หลังจากการแทรกทรง ไม่มีการแบ่งแยกอีกต่อไป
-
13:01 - 13:05ทุกคนได้รับสติกเกอร์เท่ากัน
แม้ว่าเขาจะเป็นเด็กที่มีคนชอบน้อย -
13:05 - 13:08นั่นคือสิ่งที่เราควรทำ
ในทุกโรงเรียนทั่วโลก -
13:08 - 13:10ต่อจากนี้เราไปไหน?
-
13:10 - 13:15(เสียงปรบมือ)
-
13:15 - 13:17เมื่อ ดาไล ลามะ ได้ยินเรื่องนี้
เขาบอก ริชาร์ด เดวิดสัน -
13:17 - 13:21"คุณไปบอกคนที่โรงเรียนนะ
10 โรงเรียน 100 โรงเรียน บอก UN บอกโลก" -
13:21 - 13:22หลังจากนั้นเราควรจะทำอะไรต่อไป?
-
13:22 - 13:25การเปลี่ยนแปลงรายบุคคลนั้นเป็นไปได้
-
13:25 - 13:29เราจำเป็นต้องรอให้
มียีนส์ทีทำให้เราไม่เห็นแก่ตัวไหม? -
13:29 - 13:33นั่นจะใช้เวลาอีก 50,000 ปี
นานเกินกว่าที่สิ่งแวดล้อมจะรอได้ -
13:33 - 13:38โชคดี ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
-
13:38 - 13:43วัฒนธรรม อย่างที่ผู้เชี่ยวชาญได้บ่งบอก เปลี่ยนเร็วกว่ายีนส์
-
13:43 - 13:45นั่นคือข่าวดี
-
13:45 - 13:48ท่าทีต่อสงครามเปลี่ยนแปลงไปมาก
เมื่อเวลาผ่านไป -
13:48 - 13:53ตอนนี้บุคคลเปลี่ยนแปลงไป
ตามวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป -
13:53 - 13:56และสุดท้ายเราจะสามารถ
สร้างสังคมที่มีความเห็นแก่ผู้อื่นมากกว่านี้ได้ -
13:56 - 13:58แล้วยังไงต่อ?
-
13:58 - 14:00ตัวอาตมาจะกลับไปทางทิศตะวันออก
-
14:00 - 14:04เรารักษาคนไข้ 100,000 ต่อปี
ในโครงการของเรา -
14:04 - 14:07เรามีเด็ก 25,000 คนในโรงเรียน
4% โดยเฉลี่ย -
14:07 - 14:10บางคนบอกว่าสิ่งของคุณใช้ได้ในเชิงปฏิบัติ
-
14:10 - 14:12แต่มันใช้ได้ในเชิงทฤษฎีรึปล่าว?
-
14:12 - 14:15มันมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ดีตลอดเวลา
-
14:15 - 14:18ฉะนั้นอาตมาจะกลับไปยังอาศรม
-
14:18 - 14:21เพื่อหาทรัพยากรภายใน เพื่อบริการผู้อื่น
-
14:21 - 14:24แต่ในระดับโลก เราทำอะไรได้บ้าง?
-
14:24 - 14:26เราต้องการสามสิ่ง
-
14:26 - 14:28การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกัน
-
14:28 - 14:32การเรียนโดยร่วมมือกันเรียน
แทนที่จะแข่งกันเรียน -
14:32 - 14:36การร่วมมือกันอย่างไม่มีข้อแม้
ระหว่างบริษัทต่างๆ -
14:36 - 14:40จะมีการแข่งขันกันระหว่างผู้ที่ร่วมมือกันก็ได้
แต่ห้ามมีภายใน -
14:40 - 14:44เราต้องการความสามัคคีอย่างยั่งยืน
อาตมาชอบคำนี้ -
14:44 - 14:46ไม่ใช่การเติบโตอย่างยั่งยืน
-
14:46 - 14:50ความสามัคคีอย่างยั่งยืนหมายถึงตอนนี้
เราลดความไม่เท่าเทียม -
14:50 - 14:54ต่อไปข้างหน้าเราจะทำน้อย ได้มาก
-
14:54 - 14:58เราเติบโตต่อไปอย่างมีคุณภาพ
ไม่ใช่เติบโตแต่ในเชิงปริมาณ -
14:58 - 15:01เราต้องการเศรษฐกิจที่มีการเอาใจใส่
-
15:01 - 15:06เศรษฐกิจเบี่ยงเบน ไม่สามารถ
แก้ปัญหาความอดอยาก ทั้งที่เรามีเกินพอได้ -
15:06 - 15:09ไม่สามารถแก้ปัญหาสินค้าทั่วไป
-
15:09 - 15:11ของอากาศและมหาสมุทร
-
15:11 - 15:13เราต้องการเศรษฐกิจที่มีการเอาใจใส่
-
15:13 - 15:15ถ้าคุณพูดว่าเศรษฐกิจ
ควรเป็นความเห็นอกเห็นใจ -
15:15 - 15:16พวกเขาพูดว่า "นั่นไม่ใช่งานของเรา"
-
15:16 - 15:20แต่ถ้าคุณพูดว่าพวกเขาไม่สนใจ นั่นดูไม่ดี
-
15:20 - 15:23เราต้องการการผูกมัดในชุมชน
ความรับผิดชอบระดับโลก -
15:23 - 15:28เราต้องแพร่การเห็นแก่คนอื่น
ไปสู่สายพันธ์ุทั้ง 1.6 ล้านสายพันธ์ุ -
15:28 - 15:32สิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก
ที่อาศัยอยู่ร่วมกับเราบนโลกใบนี้ -
15:32 - 15:35เราต้องกล้าเห็นแก่ผู้อื่น
-
15:35 - 15:39ขอให้การปฏิวัติเพื่อการเห็นแก่ผู้อื่น
จงคงอยู่ตลอดไป -
15:39 - 15:43วีวา ลา รีโวลูเชียน เดอ อัลทรูอิสโม
-
15:43 - 15:49(เสียงปรบมือ)
-
15:49 - 15:50ขอบคุณครับ
-
15:50 - 15:52(เสียงปรบมือ)
- Title:
- วิธีทำให้ความเห็นแก่ผู้อื่นชี้นำคุณ
- Speaker:
- แมทติว ริชาร์ด (Matthieu Ricard)
- Description:
-
อะไรคือความเห็นแก่ผู้อืน? ง่ายๆ มันคือความหวังที่จะให้คนอื่นมีความสุข และ ความเห็นแก่ผู้อื่นนั้นยังเป็นแว่นที่ดีสำหรับการตัดสินใจ ทั้งในระยะยาวและสั้น ในการทำงานและการใช้ชีวิต กล่าวโดย แมทติว ราชาร์ด นักวิจัยด้านความสุขและพระในพระพุทธศาสนา
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 16:07
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How to let altruism be your guide | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How to let altruism be your guide | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How to let altruism be your guide | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How to let altruism be your guide | ||
Retired user commented on Thai subtitles for How to let altruism be your guide | ||
Yada Sattarujawong accepted Thai subtitles for How to let altruism be your guide | ||
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for How to let altruism be your guide | ||
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for How to let altruism be your guide |
Retired user
แนะนำว่า ใช้ชื่อว่า "ริการด์" เนื่องจากเป็นคนฝรั่งเศส
ดูเหมือนจะเป็นวิดิโอทียังไม่มี subtitle เสียที ดูเหมือนใช้เวลานานมาก ต้องการความช่วยเหลือ ?