ภาวะวิกฤติของยาปฏิชีวนะกำลังจะมาถึง
-
0:01 - 0:04ผู้ป่วยคนแรก ที่เคยได้รับการรักษา
ด้วยยาปฏิชีวนะ -
0:04 - 0:06คือ ตำรวจเมืองอ็อกฟอร์ด
-
0:06 - 0:08ในวันหยุดงาน
-
0:08 - 0:11เขาถูกหนามกุหลาบข่วน
ขณะทำงานอยู่ในสวน -
0:11 - 0:15รอยข่วนเล็กๆนั้น เกิดอาการติดเชื้อ
-
0:15 - 0:17สองสามวันต่อมา ศีรษะเขาก็บวมขึ้น
-
0:17 - 0:19จากการกลัดหนอง
-
0:19 - 0:21และความจริงแล้ว ตาข้างหนึ่งของเขา
อักเสบมาก -
0:21 - 0:23จนกระทั่งแพทย์ต้องควักออก
-
0:23 - 0:26จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 1941
-
0:26 - 0:28ชายผู้น่าสงสารคนนี้ ก็ใกล้จะเสียชีวิต
-
0:28 - 0:32เขาอยู่ที่โรงพยาบาลแรดคลิฟฟ์
ในอ็อกฟอร์ด -
0:32 - 0:34โชคดีสำหรับเขา
-
0:34 - 0:35ทีมแพทย์กลุ่มเล็กๆ
-
0:35 - 0:37นำโดย ด็อกเตอร์ ฮาวารด์ โฟลเรย์
-
0:37 - 0:39ได้จัดการสังเคราะห์
-
0:39 - 0:42เพ็นนิซิลินขึ้นมาได้ ในปริมาณเล็กน้อย
-
0:42 - 0:44ซึ่งเป็นตัวยาที่ถูกค้นพบ
-
0:44 - 0:4612 ปีก่อน โดย อเล็กซานเดอร์ เพล็มมิ่ง
-
0:46 - 0:50แต่ไม่เคยถูกใช้ ในการรักษามนุษย์มาก่อน
-
0:50 - 0:52จริงๆก็ไม่มีใครรู้ ว่ายานี้จะใช้ได้ผล
หรือไม่ -
0:52 - 0:56ว่ามันเต็มไปด้วยสิ่งสกปรก
ที่จะทำให้ตายได้ หรือไม่ -
0:56 - 0:58แต่ฟอร์เรย์และทีมงาน ก็ประเมินว่า
-
0:58 - 1:00ถ้าพวกเขาต้องใช้ยานี้ ก็อาจจะต้องใช้
-
1:00 - 1:02กับผู้ป่วยที่อย่างไรเสีย ก็ต้องตาย
-
1:02 - 1:06เขาจึงให้ยานี้ กับอัลเบอร์ท อเล็กซานเดอร์
-
1:06 - 1:09กับตำรวจอ็อกฟอร์ดคนนี้
-
1:09 - 1:11และภายใน 24 ชั่วโมง
-
1:11 - 1:13เขาก็เริ่มมีอาการดีขึ้น
-
1:13 - 1:17อาการไข้ลดลง ความอยากอาหารกลับมา
-
1:17 - 1:20วันที่สอง เขาก็อาการดีขึ้นมาก
-
1:20 - 1:22ยาเพ็นนิซิลินก็เริ่มจะหมดลง
-
1:22 - 1:24พวกเขาจึงวิ่งไป พร้อมกับปัสสาวะ
ของอัลเบิร์ท -
1:24 - 1:27ข้ามถนนไป เพื่อสังเคราะห์ยาจากปัสสาวะ
ของอัลเปิร์ท -
1:27 - 1:29และนำยากลับไปให้เขา
-
1:29 - 1:30และนั่นใช้ได้ผล
-
1:30 - 1:32วันที่สี่ อาการก็ใกล้จะหายแล้ว
-
1:32 - 1:34นี่เป็นความมหัศจรรย์
-
1:34 - 1:38วันที่ห้า ยาเพ็นนิซิลินก็หมด
-
1:38 - 1:41และชายผู้น่าสงสารนั้น ก็ตายไป
-
1:41 - 1:43เรื่องนี้จึงจบอย่างไม่ดีนัก
-
1:43 - 1:48แต่โชคดีสำหรับคนอื่นๆ อีกหลายล้านคน
-
1:48 - 1:51เช่น เด็กคนนี้ ซึ่งได้รับการรักษาอีกครั้ง
ตอนต้นๆของ 1940-49 -
1:51 - 1:54เธอก็กำลังจะตาย จากติดเชื้อในกระแสเลือด
-
1:54 - 1:57และภายในแค่หกวัน คุณก็เห็นได้ว่า
-
1:57 - 2:00เธอหายป่วย ขอบคุณยามหัศจรรย์นี้
เพ็นนิซิลิน -
2:00 - 2:02คนเป็นล้านๆคน ยังมีชีวิตอยู่ได้
-
2:02 - 2:06และสุขภาพระดับโลก ก็เปลี่ยนแปลงไป
-
2:06 - 2:09ปัจจุบัน ยาปฏิชีวนะได้ถูกนำมาใช้
-
2:09 - 2:12สำหรับผู้ป่วย เช่นนี้
-
2:12 - 2:14แต่มันก็ยังถูกใช้นำมาใช้ แบบเล่นๆอีกด้วย
-
2:14 - 2:16ในบางตัวอย่าง เช่น
-
2:16 - 2:18ใช้รักษาคนที่เป็น แค่ไข้หวัดหรือหวัดใหญ่
-
2:18 - 2:20ซึ่งอาจจะไม่ได้ตอบสนอง กับยาปฏิชีวนะ
-
2:20 - 2:24และยังถูกนำไปใช้ ในปริมาณมากๆ อีกด้วย
-
2:24 - 2:28ไม่ใช่เพื่อการรักษา ซึ่งหมายถึง
ให้ยาปริมาณเล็กน้อย -
2:28 - 2:31เพื่อทำให้ไก่และหมูตอน โตเร็วขึ้น
-
2:31 - 2:35แค่เพื่อประหยัดเงินไม่กี่สตางค์
ในราคาเนื้อ -
2:35 - 2:37เราได้ใช้ยาปฏิชีวนะไปมาก กับสัตว์
-
2:37 - 2:40ไม่ใช่เพื่อการรักษา ไม่ใช่เพื่อสัตว์ป่วย
-
2:40 - 2:43แต่ส่วนใหญ่ เพื่อการส่งเสริมการเติบโต
-
2:43 - 2:46ครับ แล้วนั่นนำเราไปสู่อะไรหรือ?
-
2:46 - 2:48โดยพื้นฐานแล้ว การใช้ยาปฏิชีวนะ
อย่างมโหฬาร -
2:48 - 2:50ทั่วโลกนั้น
-
2:50 - 2:54บังคับให้เกิด ความกดดันจากแรงคัดเลือก
ตามธรรมชาติ กับแบคทีเรียอย่างมาก -
2:54 - 2:56จนกระทั่ง การดื้อยา ในปัจจุบัน เป็นปัญหา
-
2:56 - 2:58ปัจจุบัน เราจึงได้เลือกเอาแต่เฉพาะ
-
2:58 - 3:00แบคทีเรียที่ดื้อยา
-
3:00 - 3:03และผมแน่ใจว่า ทุกท่านได้อ่านเรื่องนี้
ในหนังสือพิมพ์แล้ว -
3:03 - 3:05คุณได้เห็นเรื่องนี้ ในนิตยสารทุกเล่ม
-
3:05 - 3:07ที่คุณพบเห็น
-
3:07 - 3:08แต่จริงๆแล้ว ผมอยากจะให้คุณรู้ซึ้งถึง
-
3:08 - 3:10ความสำคัญของปัญหานี้
-
3:10 - 3:12ปัญหานี้สาหัสนัก
-
3:12 - 3:17สไลด์ถัดไป ผมจะแสดง การดื้อยา
คาร์บาเพเนม ในตัวแมลง อซิโนแบคเตอร์ -
3:17 - 3:19อซิโนแบคเตอร์ เป็นตัวแมลงน่ารังเกียจ
ในโรงพยาบาล -
3:19 - 3:20และคาร์บาเพเนม ก็เกือบจะเป็น
-
3:20 - 3:22ตัวยาปฏิชีวนะในกลุ่มที่แรงที่สุด
-
3:22 - 3:25ที่เราจะโยนเข้าใส่ตัวแมลงนี้ได้
-
3:25 - 3:28และคุณก็เห็นได้ ในปี 1999
-
3:28 - 3:30นี่เป็น รูปแบบของการดื้อยา
-
3:30 - 3:33ส่วนใหญ่ตํ่ากว่าราว 10 เปอร์เซ็นต์
ทั่วสหรัฐฯ -
3:33 - 3:37ทีนี้ดูว่า เกิดอะไรขึ้น เมื่อเปิดวิดีโอ
-
3:46 - 3:49ผมไม่ทราบว่า คุณอาศัยอยู่ที่ไหนกันบ้าง
-
3:49 - 3:51แต่ที่ไหนๆ แน่นอน มันแย่ลงมาก ในปัจจุบัน
-
3:51 - 3:54แย่กว่าเมื่อปี 1999
-
3:54 - 3:58และนั่นคือ ปัญหาของการดื้อยาปฏิชีวนะ
-
3:58 - 4:00มันเป็นปัญหาระดับโลก
-
4:00 - 4:02กระทบไป ทั้งประเทศรํ่ารวยและยากจน
-
4:02 - 4:04และหัวใจของมัน คุณอาจจะกล่าวว่า
-
4:04 - 4:06จริงๆ ไม่ได้เป็นแค่ปัญหาการแพทย์หรอกหรือ
-
4:06 - 4:09ถ้าสอนแพทย์ให้วิธีรู้
ที่ไม่ต้องใช้ยา ให้มากนัก -
4:09 - 4:12ถ้าเราสอนคนไข้
ให้ไม่ต้องเรียกร้องยาปฏิชีวนะ -
4:12 - 4:13เรื่องนี้ จริงๆอาจไม่ใช่ปัญหา
-
4:13 - 4:15และบางที บริษัทยา
-
4:15 - 4:17ก็ควรจะทำงานให้หนักขึ้น เพื่อพัฒนา
-
4:17 - 4:19ยาปฏิชีวนะ ให้มีมากขึ้น
-
4:19 - 4:22กลายเป็นว่า มีสิ่งสำคัญบางอย่าง
เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ -
4:22 - 4:24ซึ่งทำให้มันแตกต่างไปจากยาอื่นๆ
-
4:24 - 4:26ซึ่งก็คือ ถ้าผมใช้ยาปฏิชีวนะ ผิดไป
-
4:26 - 4:27หรือผมใช้ยาปฏิชีวนะ
-
4:27 - 4:31ไม่ใช่ผมเท่านั้น ที่ได้รับผลกระทบ
คนอื่นก็ถูกกระทบ เช่นกัน -
4:31 - 4:34ในแบบเดียวกันกับ หากผมเลือก
ที่จะขับรถไปทำงาน -
4:34 - 4:36หรือขึ้นเครื่องบิน ไปที่ไหนสักแห่ง
-
4:36 - 4:38ผมก็บังคับคนอื่น ต้องเสียหายไปด้วย
-
4:38 - 4:41จากการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลก
ที่ไปถึงทุกที่ -
4:41 - 4:43และผมไม่จำเป็นต้องคำนึงถึง
ความเสียหายเหล่านี้ -
4:43 - 4:46นี่คือ นักเศรษฐศาสตร์อาจเรียกว่า
ปัญหาของการใช้ทรัพยากรร่วม -
4:46 - 4:48ปัญหาการใช้ทรัพยากรร่วม ตรงเผงกับ
-
4:48 - 4:51สิ่งที่เราเผชิญอยู่พอดี ในกรณียาปฏิชีวนะ
-
4:51 - 4:53ที่ว่าเราไม่ได้พิจารณา--
-
4:53 - 4:56และเราในที่นี้ รวมไปถึง
คนแต่ละคน, คนไข้, -
4:56 - 4:59โรงพยาบาล, ระบบสุขอนามัยทั้งหมด--
-
4:59 - 5:01เราไม่คิดถึงความเสียหาย
ที่คนอื่นต้องเสียไปด้วย -
5:01 - 5:04โดยวิธีการที่ยาปฏิชีวนะ ถูกนำไปใช้จริง
-
5:04 - 5:06ครับ นั่นเป็นปัญหาที่เหมือนกับ
-
5:06 - 5:08อีกเรื่องหนึ่ง ที่เราทุกคนรู้กันอยู่
-
5:08 - 5:10คือ การใช้เชื้อเพลิงและพลังงาน
-
5:10 - 5:11และแน่นอนครับ การใช้พลังงานนั้น
-
5:11 - 5:14ทั้งทำให้พลังงานเสียไป และยังนำไปสู่
-
5:14 - 5:18มลพิษในท้องถิ่น และการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ -
5:18 - 5:20โดยปกติแล้ว ในกรณีของพลังงาน
-
5:20 - 5:22มีวิธีการสองแบบ ที่คุณจะจัดการกับ
ปัญหานั้นได้ -
5:22 - 5:26หนึ่ง เราสามารถใช้นํ้ามันที่มีอยู่
ให้ดีกว่านี้ -
5:26 - 5:28และนั่นก็คล้ายคลึงกับ การใช้
-
5:28 - 5:29ยาปฏิชีวนะที่มี ให้ดีกว่านี้
-
5:29 - 5:31และเราทำสิ่งนี้ได้ ในหลายๆวิธีการ
-
5:31 - 5:33ซึ่งเราจะพูดถึง อยู่ขณะนี้
-
5:33 - 5:37แต่ตัวเลือกอีกตัวหนึ่งคือ
ตัวเลือก "เจาะ, ไอ้หนู, เจาะเข้าไป" -
5:37 - 5:41ซึ่งในกรณียาปฏิชีวนะ คือ ไปหายาตัวใหม่ๆมา
-
5:41 - 5:43ครับ เหล่านี้ไม่ได้แยกจากกัน
-
5:43 - 5:47มันสัมพันธ์กัน เพราะถ้าเราลงทุนไปอย่างหนัก
-
5:47 - 5:49ในบ่อนํ้ามันใหม่ๆ
-
5:49 - 5:52เราจะลด เรื่องการจูงใจที่จะอนุรักษ์นํ้ามัน
-
5:52 - 5:54ในแบบเดียวกับ ที่จะเกิดกับยาปฏิชีวนะ
-
5:54 - 5:56สิ่งตรงกันข้าม ก็จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน คือ
-
5:56 - 5:59ถ้าเราใช้ยาปฏิชีวนะของเรา
อย่างเหมาะสมแล้ว -
5:59 - 6:02เราก็ไม่จำเป็นต้อง ทำการลงทุน
-
6:02 - 6:04ในเรื่องของ การพัฒนายาใหม่ๆขึ้นมา
-
6:04 - 6:06ถ้าไปคิดว่า ทั้งสองนี้สมดุลย์กันทั้งหมดแล้ว
-
6:06 - 6:08เต็มที่แล้ว ระหว่างตัวเลือกทั้งสองนี้
-
6:08 - 6:10คุณก็อาจจะคิดพิจารณา ข้อเท็จจริงที่ว่า
-
6:10 - 6:13เรื่องนี้จริงๆแล้ว เป็นเกม
ที่เรากำลังเล่นกัน -
6:13 - 6:15เกมนี้ จริงๆแล้ว คือ
วิวัฒนาการร่วมอย่างหนึ่ง -
6:15 - 6:18วิวัฒนาการร่วม คือ ในภาพเฉพาะนี้
-
6:18 - 6:20ระหว่าง เสือชีต้า กับ ละมั่ง
-
6:20 - 6:22ชีต้าค่อยๆพัฒนา เพื่อวิ่งเร็วขึ้น
-
6:22 - 6:24เพราะ ถ้าไม่วิ่งให้เร็วขึ้น
-
6:24 - 6:26ก็จะไม่ได้ อาหารกลางวันมากิน
-
6:26 - 6:28ละมั่งก็ค่อยๆพัฒนาให้วิ่งเร็วขึ้น เพราะว่า
-
6:28 - 6:32ถ้าไม่วิ่งให้เร็วขึ้น ก็จะเป็นมื้อกลางวัน
-
6:32 - 6:34ครับ นี่เป็นเกม
ที่เรากำลังเล่นอยู่ กับแบคทีเรีย -
6:34 - 6:36เว้นเสียแต่ว่า เราไม่ได้เป็นชีต้า
-
6:36 - 6:38แต่เราเป็นละมั่ง
-
6:38 - 6:41และเชื้อแบคทีเรียก็จะ
-
6:41 - 6:43แค่ในช่วงเวลา ของการพูดสั้นๆนี้
-
6:43 - 6:44อาจจัดการ ลูกหลานเราไปแล้ว
-
6:44 - 6:46และอาจกำลังคิดวิธีการ ที่จะต้านทาน
-
6:46 - 6:49โดยใช้แค่ การคัดสรร และลองผิดลองถูก
-
6:49 - 6:51ทดลองดูซํ้าๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า
-
6:51 - 6:55ตรงกันข้าม เราจะยังคงนำหน้าแบคทีเรีย
ได้อย่างไร -
6:55 - 6:57เรามีกระบวนการ ค้นพบตัวยาใหม่ๆ
-
6:57 - 6:58เรามีการทดสอบคัดเลือกโมเลกุล
-
6:58 - 7:00มีการทดสอบประสิทธิภาพทางคลินิค
-
7:00 - 7:02แล้วเมื่อเราคิดว่า เราได้ตัวยามาแล้ว
-
7:02 - 7:06เราก็มี กระบวนการตามระเบียบ
องค์การอาหารและยา -
7:06 - 7:08และเมื่อเราผ่านพ้น ทั้งหมดนั้นไปได้
-
7:08 - 7:10แล้วเราพยายาม ที่จะยังอยู่นำหน้า
-
7:10 - 7:13แบคทีเรีย หนึ่งขั้น
-
7:13 - 7:15ครับ เรื่องนี้ชัดเจน
ไม่ใช่เกมที่ยั่งยืนได้ หรือ -
7:15 - 7:16เกมที่เราจะเอาชนะได้
-
7:16 - 7:18โดยแค่สร้างนวัตกรรม ให้ยังคงนำหน้าอยู่
-
7:18 - 7:22เราต้องทำให้ ก้าวของวิวัฒนาการร่วม ช้าลง
-
7:22 - 7:25มีความคิดที่เราสามารถยืมมาได้
จากเรื่องพลังงาน -
7:25 - 7:27ที่ช่วยเราได้ ในการคิดเกี่ยวกับว่า
-
7:27 - 7:29เราอาจต้องการทำเรื่องนี้อย่างไร
-
7:29 - 7:30ในกรณีของยาปฏิชีวนะ ก็หมือนกัน
-
7:30 - 7:32ครับ ถ้าคุณคิดถึงวิธีจัดการกับ
-
7:32 - 7:34อาทิเช่น การตั้งราคาพลังงาน
-
7:34 - 7:36เราพิจารณาถึง ภาษีการปล่อยสารมลพิษ
-
7:36 - 7:38หมายถึง เรากำลังบังคับให้เก็บเงิน
ค่าเสียหายจากมลพิษ -
7:38 - 7:41กับผู้คนที่ใช้พลังงานนั้นจริงๆ
-
7:41 - 7:44เราอาจพิจารณาทำอย่างนั้น
กับยาปฏิชีวนะ เช่นเดียวกัน -
7:44 - 7:47และบางที นั่นอาจทำให้แน่ใจได้ว่า
ยาปฏิชีวนะนั้น -
7:47 - 7:49ถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสม อย่างแท้จริง
-
7:49 - 7:51มีเงินสนับสนุนพลังงานสะอาด
-
7:51 - 7:54ซึ่งก็คือ เพื่อให้เปลี่ยนไปเป็นเชื้อเพลิง
ที่ไม่สร้างมลพิษมากนัก -
7:54 - 7:57หรือบางที ไม่จำต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
-
7:57 - 8:00ครับ การเปรียบเทียบตรงนี้ คือ
บางทีเราจำเป็นต้อง -
8:00 - 8:02เลิกใช้ยาปฏิชีวนะ
-
8:02 - 8:06และถ้าคุณคิดเรื่องนี้ว่า
อะไรดี? จะเอามาแทนที่ยาปฏิชีวนะ -
8:06 - 8:08ครับ กลายเป็นอะไรก็ได้ ที่ลดความต้องการ
-
8:08 - 8:10ยาปฏิชีวนะลงได้ จริงๆแล้ว ก็จะใช้ได้
-
8:10 - 8:13นั่นจึงรวมถึง การปรับปรุงการควบคุม
การติดเชื้อของโรงพยาบาล -
8:13 - 8:16หรือ การฉีดวัคซีนให้กับผู้คน
-
8:16 - 8:19โดยเฉพาะ เพื่อกันเชื้อไข้หวัดใหญ่
-
8:19 - 8:21และไข้หวัดใหญ่นั้น น่าจะเป็น
-
8:21 - 8:24ตัวขับใหญ่ที่สุด ในการใช้ยาปฏิชีวนะ
-
8:24 - 8:27ทั้งในประเทศนี้ และในอีกหลายๆประเทศด้วย
-
8:27 - 8:29และนั่นก็จะช่วยได้จริงๆ
-
8:29 - 8:33ทางเลือกที่สาม อาจรวมถึงสิ่งที่คล้ายกับ
การซื้อขายใบอนุญาต -
8:33 - 8:38และทั้งหมดนี้ ดูจะเป็นเรื่องที่ห่างไกล
-
8:38 - 8:40แต่ถ้าคุณพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่า
เราอาจจะไม่มี -
8:40 - 8:43ยาปฏิชีวนะ ให้กับคนอีกมาก ที่ติดเชื้อ
-
8:43 - 8:46อาจพิจารณาถึง ข้อเท็จจริงที่ว่า
เราอาจต้องการ -
8:46 - 8:48กำหนดว่า จริงๆใครที่จะใช้
ยาปฏิชีวนะพวกนี้บางตัว -
8:48 - 8:51และไม่ใช้ยาตัวอื่น
-
8:51 - 8:54และตัวยาบางตัว อาจต้องอยู่บนพื้นฐาน
ความจำเป็นทางการแพทย์ -
8:54 - 8:56และบนพื้นฐานของการตั้งราคา อีกด้วย
-
8:56 - 8:58ที่แน่ๆ การให้การศึกษาแก่ผู้ใช้ยา
ยังใช้ได้ -
8:58 - 9:00บ่อยครั้งมาก คนใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป
-
9:00 - 9:03หรือสั่งยามากเกินไป
-
9:03 - 9:04โดยไม่รู้ตัว ว่าได้ทำอย่างนั้น
-
9:04 - 9:06กลไกป้อนกลับ หรือ ฟีดแบ็ก
-
9:06 - 9:08จึงพบว่ามีประโยชน์
-
9:08 - 9:09ทั้งในเรื่องของพลังงาน--
-
9:09 - 9:11เมื่อคุณบอกกับเขาว่า กำลังใช้
-
9:11 - 9:13พลังงานมาก ในชั่วโมงที่มีการใช้สูงสุด
-
9:13 - 9:14พวกเขาก็จะลดการใช้ลงมา
-
9:14 - 9:16ตัวอย่างแบบเดียวกันนี้ ได้ถูกนำไปทำ
-
9:16 - 9:18แม้ในกรณีของยาปฏิชีวนะ
-
9:18 - 9:20โรงพยาบาลในเซ็นต์หลุยส์ อาจจะเอาไปติด
-
9:20 - 9:24ไว้บนผังตาราง ชื่อของแพทย์ผ่าตัด
-
9:24 - 9:26ตามลำดับความมากน้อย ของยาปฏิชีวนะ
ที่แพทย์ใช้ -
9:26 - 9:28ในเดือนก่อนหน้านั้น
-
9:28 - 9:31แท้จริง นี่เป็นการให้ข้อมูลกลับไป
-
9:31 - 9:32ไม่มีความละอายใดๆ
-
9:32 - 9:34แต่ที่สำคัญ มันได้ให้บางอย่างกลับไป
-
9:34 - 9:36ถึงแพทย์ผ่าตัด ที่บางทีก็ไม่ได้คิดซํ้า
-
9:36 - 9:38ว่าพวกเขาใช้ยาปฏิชีวนะไปอย่างไร
-
9:38 - 9:40ครับ มีอีกมาก ที่สามารถจะทำได้
-
9:40 - 9:42ในด้านของอุปทาน ก็เช่นเดียวกัน
-
9:42 - 9:44ถ้าคุณมองที่ ราคาของยาแอสไพริน
-
9:44 - 9:46ค่าใช้จ่ายต่อวัน ประมาณ 10 เซ็นต์
-
9:46 - 9:48เป็นยาที่ราคาถูกมาก
-
9:48 - 9:50ถ้าคุณเอายา ที่ถูกนำมาใช้
ตั้งแต่นั้นมา-- -
9:50 - 9:52ก็จะมี ไลเนโซลิด หรือ แดพโทมายซิน--
-
9:52 - 9:54ยาพวกนั้น จะแพงกว่าอย่างเห็นได้ชัด
-
9:54 - 10:00ดังนั้น โลกที่เคยชินกับการจ่าย
10 เซ็นต์ ต่อวัน เป็นค่ายาปฏิชีวนะ -
10:00 - 10:02ความคิดว่า ต้องจ่ายวันละ 180 ดอลลาร์
เป็นค่ายา -
10:02 - 10:04จึงดูเหมือนจะมาก
-
10:04 - 10:06แต่ เรื่องนี้ จริงๆบอกอะไรกับเรา?
-
10:06 - 10:08ราคานั้น กำลังบอกเราว่า
-
10:08 - 10:10เราควรจะเลิกคิดว่า
ยาปฏิชีวนะ ที่ถูกและ -
10:10 - 10:14ใช้ได้ผลนั้น จะเป็นอย่างนั้นตลอดไป
-
10:14 - 10:15จนถึงอนาคตข้างหน้า
-
10:15 - 10:18และก็บอกเราว่า ราคานั้น
เป็นสัญญาณบอกเรา -
10:18 - 10:20ว่าบางที่ เราจำเป็นต้อง
-
10:20 - 10:22เอาใจใส่ให้มากขึ้น กับเรื่องการอนุรักษ์
-
10:22 - 10:25ราคานั้น ยังเป็นสัญญาณอีกด้วยว่า
-
10:25 - 10:28บางที เราอาจจำเป็นต้องเริ่มมองที่
เทคโนโลยี่อื่นๆ -
10:28 - 10:30ในแบบเดียวกับที่ ราคานํ้ามัน
เป็นสัญญาณ -
10:30 - 10:33และเป็นแรงกระตุ้นในเรื่อง เช่น
-
10:33 - 10:35การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า
-
10:35 - 10:37ราคา เป็นสัญญาณสำคัญ
-
10:37 - 10:38และเราจำเป็นต้องเอาใจใส่
-
10:38 - 10:41แต่เราก็ต้องพิจารณาอีกด้วย
ถึงข้อเท็จจริงว่า -
10:41 - 10:45แม้ราคาที่สูงเหล่านี้
ดูจะผิดปกติไป สำหรับยาปฏิชีวนะ -
10:45 - 10:47แต่เหมือนกับได้มาฟรี เมื่อเปรียบเทียบกับ
ราคาต่อวัน -
10:47 - 10:49ของยาโรคมะเร็งบางตัว
-
10:49 - 10:52ซึ่งอาจรักษาชีวิตคนไข้ไว้ได้
แค่ 2-3 เดือน หรืออาจจะ 1 ปี -
10:52 - 10:54ขณะที่ ยาปฏิชีวนะมีศักยภาพ
-
10:54 - 10:56รักษาชีวิตคนไข้ไว้ได้ ตลอดกาล
-
10:56 - 10:57เรื่องนี้จึงจะเกี่ยวข้องกับ
-
10:57 - 10:59การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ทั้งหมด
-
10:59 - 11:01และยังเป็นการเปลี่ยนที่น่าตกใจ อีกด้วย
-
11:01 - 11:03ในหลายๆส่วน ของประเทศนี้
-
11:03 - 11:05ในหลายๆส่วน ของโลก
-
11:05 - 11:07ความคิดเรื่องการจ่าย 200 ดอลล่าร์
-
11:07 - 11:10ต่อหนึ่งวัน ในการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะนั้น
-
11:10 - 11:12คาดคิดไม่ถึง
-
11:12 - 11:14เราจึงต้องคิดถึงเรื่องนี้ด้วย
-
11:14 - 11:16ครับ มีตัวเลือกด่านสุดท้าย
-
11:16 - 11:18คือ เทคโนโลยีทางเลือก อื่นๆ
-
11:18 - 11:20ที่ผู้คนกำลังทำกันอยู่
-
11:20 - 11:22ได้แก่ แบคเทอริโอเฟจ, โพรไบโอติก
-
11:22 - 11:26ควอรั่มเซ็นซิ่ง, ซินไบโอติก
-
11:26 - 11:29ครับ ทั้งหมดนี้ เป็นลู่ทาง
ที่จะไปกัน -
11:29 - 11:32และมันจะเป็นไปจนถึง ผลกำไรที่มากกว่า
-
11:32 - 11:35เมื่อราคายาปฏิชีวนะใหม่ๆ เริ่มจะสูงขึ้น
-
11:35 - 11:38และเราก็ได้เห็นว่า ตลาดนั้นตอบรับมาจริงๆ
-
11:38 - 11:40และปัจจุบัน รัฐบาลก็กำลังพิจารณา
-
11:40 - 11:44วิธีให้เงินช่วยเหลือ ยาปฏิชีวนะใหม่ๆ
และการพัฒนา -
11:44 - 11:45แต่ก็มีความท้าทาย อยู่ตรงนี้
-
11:45 - 11:47เราไม่ต้องการแค่โยนเงินไปที่ปัญหา
-
11:47 - 11:49สิ่งที่เราต้องการจะทำให้ได้
-
11:49 - 11:51ก็คือ การลงทุน ในยาปฏิชีวนะใหม่ๆ
-
11:51 - 11:54ในแบบที่ แท้จริงแล้วส่งเสริม
-
11:54 - 11:57การใช้และขาย ยาปฏิชีวนะเหล่านั้น
อย่างเหมาะสม -
11:57 - 11:59และจริงๆแล้ว ความท้าทาย อยู่ตรงนี้เอง
-
11:59 - 12:02ครับ กลับไปที่เทคโนโลยี่เหล่านี้
-
12:02 - 12:04ทุกท่านจดจำถ้อยคำ จากภาพยนตร์ไดโนเสา
-
12:04 - 12:06ที่รู้จักกัน "ธรรมชาติจะหาหนทาง"
-
12:06 - 12:10จึงไม่ใช่ราวกับว่า สิ่งเหล่านี้
เป็นการแก้ปัญหาแบบถาวร -
12:10 - 12:14จริงๆแล้ว เราต้องจำไว้ว่า
ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีอะไร -
12:14 - 12:16จงจำไว้ว่า ธรรมชาติจะหาวิธี
เพื่อจัดการกับเรื่องนั้น -
12:16 - 12:19คุณอาจจะคิดว่า นี่ก็แค่เป็นปัญหา
-
12:19 - 12:21กับยาปฏิชีวนะ และกับแบคทีเรีย
-
12:21 - 12:23แต่กลับกลายเป็นว่า เรามีปัญหา
-
12:23 - 12:26เหมือนกันเปี๊ยบ ในสาขาอื่นๆอีกมาก เช่นกัน
-
12:26 - 12:29กับวัณโรคที่ดื้อยาหลายชนิด
-
12:29 - 12:32ซึ่งเป็นปัญหาหนัก ในอินเดีย และอัฟริกาใต้
-
12:32 - 12:34คนไข้หลายพันคน กำลังจะตาย เพราะว่า
-
12:34 - 12:36ยาอีกตัวหนึ่งนั้น ราคาแพงมาก
-
12:36 - 12:38และในบางกรณี แม้กระทั่งยาพวกนั้น
ก็ใช้การไม่ได้ -
12:38 - 12:40และคุณเป็น วัณโรคที่ดื้อยามากๆ
-
12:40 - 12:42ไวรัสก็กำลังจะดื้อยา
-
12:42 - 12:45ศัตรูพืช, ตัวพยาธิมาลาเรีย
-
12:45 - 12:47ปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่ของโลก พึ่งพา
-
12:47 - 12:51ยาตัวหนึ่ง คือ ยาอาติมิซินิน
-
12:51 - 12:53สำคัญยิ่ง ในการรักษามาลาเรีย
-
12:53 - 12:55การดื้อยาอาติมิซินิน ได้เกิดขึ้นแล้ว
-
12:55 - 12:58และถ้าการดื้อยานี้ ขยายออกไป
-
12:58 - 12:59ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงขึ้น
-
12:59 - 13:02กับยาเพียงตัวเดียว
ที่เราต้องใช้รักษามาลาเรีย ทั่วโลก -
13:02 - 13:05ในแบบที่ ปัจจุบัน ปลอดภัย
และมีประสิทธิภาพ -
13:05 - 13:07ยุงก็พัฒนาการดื้อยาขึ้นมา
-
13:07 - 13:09ถ้าคุณมีลูก คุณน่าจะทราบเรื่อง
ตัวเหาบนศีรษะ -
13:09 - 13:11และถ้าคุณมาจากกรุงนิวยอร์ค
-
13:11 - 13:14ผมเข้าใจว่า พิเศษเฉพาะที่นั่น
คือตัวเรือด -
13:14 - 13:16พวกนั้นก็ดื้อยา ด้วยเหมือนกัน
-
13:16 - 13:19เราต้องนำตัวอย่าง
มาจาก อีกผั่งของแอตแลนติค -
13:19 - 13:21กลายเป็นว่าพวกหนู ก็ดื้อยาเบื่อด้วย
-
13:21 - 13:24ที่เหมือนกัน สำหรับเรื่องทั้งหมดนี้ คือ
-
13:24 - 13:27ความคิดว่า เราได้มีเทคโนโลยี่พวกนี้มา
-
13:27 - 13:31เพื่อควบคุมธรรมชาติได้เพียง 70, 80
หรือ 100 ปี ที่ผ่านมาแล้ว -
13:31 - 13:34และที่สำคัญ แค่พริบตาเดียว
-
13:34 - 13:37เราได้ใช้ความสามารถ ในการควบคุมนี้
ไปอย่างฟุ่มเฟือย -
13:37 - 13:39เพราะว่า เราไม่เคยยอมรับรู้ว่า
-
13:39 - 13:42การคัดสรร และการวิวัฒน์ของธรรมชาติ
ก็จะค้นหา -
13:42 - 13:43วิธีการ เพื่อจะกลับคืน
-
13:43 - 13:45เราจำต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่
โดยสิ้นเชิง -
13:45 - 13:48ว่าเราจะใช้มาตรการใด
-
13:48 - 13:51เพื่อควบคุมสิ่งมีชีวิตเชิงชีวภาพ
-
13:51 - 13:54และคิดทบทวน ในวิธีการ ที่เราใช้จูงใจ
-
13:54 - 13:56การพัฒนา การเริ่มนำเข้ามาใช้
-
13:56 - 13:59ในกรณีของ การสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ
-
13:59 - 14:03และการใช้ทรัพยากรที่มีคุณค่าเหล่านี้
-
14:03 - 14:05จริงๆแล้ว ปัจจุบันเราจำเป็นต้องเริ่มคิดว่า
-
14:05 - 14:07สิ่งเหล่านี้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติ
-
14:07 - 14:09ดังนั้น เราจึงยืนอยู่ที่ทางแยก
-
14:09 - 14:13ตัวเลือก คือ จะไปตามทาง
ที่จะคิดทบทวนใหม่ -
14:13 - 14:14และพิจารณาอย่างรอบคอบ ถึงแรงจูงใจ
-
14:14 - 14:17ที่จะเปลี่ยน วิธีที่เราทำธุรกิจ
-
14:17 - 14:19ทางเลือกนั้น คือ
-
14:19 - 14:22โลกที่แม้แต่ ใบหญ้าใบเดียว
-
14:22 - 14:25ก็เป็นอาวุธ ที่มีศักยภาพ ทำให้ถึงตายได้
-
14:25 - 14:27ขอบคุณครับ
-
14:27 - 14:29(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ภาวะวิกฤติของยาปฏิชีวนะกำลังจะมาถึง
- Speaker:
- รามานัน ลักษมีนารายัน
- Description:
-
ยาปฏิชีวนะช่วยรักษาชีวิตไว้ได้ แต่เราก็ใช้มันมากเกินไป --และบ่อยๆใช้ไปเพื่อจุดประสงค์ที่ไม่ได้เพื่อการรักษาชีวิต อย่างเช่น ใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ แม้จนกระทั่งใช้เลี้ยงไก่ราคาถูกๆ
รามานัน ลักษมีนารายัน บอกว่า ผลก็คือ ตัวยาจะใช้การไม่ได้สำหรับทุกคน เพราะเชื้อแบคทีเรียที่เป็นเป้าหมาย พัฒนาตัวเองให้ดื้อยาขึ้นเรื่อยๆ เขาเรียกร้องให้เราทุกคน (คนไข้และแพทย์) ให้คิดถึงยาปฏิชีวนะ --และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องของมัน--ว่าเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด และให้คิดอีกครั้ง ก่อนที่เราจะนำมันไปใช้ เป็นการมองอย่างจริงจัง ถึงวิธีที่แนวโน้มทางการแพทย์ของโลก จะสามารถเข้าเป้าได้ - Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 14:42
TED Translators admin approved Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics | ||
Rawee Ma accepted Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics | ||
yamela areesamarn edited Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics | ||
yamela areesamarn edited Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics | ||
yamela areesamarn edited Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics | ||
yamela areesamarn edited Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics | ||
yamela areesamarn edited Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics | ||
yamela areesamarn edited Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics |