< Return to Video

เครื่องพิมพ์สามมิติที่เล็กที่สุดในโลก

  • 0:01 - 0:04
    สวัสดีครับทุกท่าน
    ขอบคุณที่เชิญผมมาในวันนี้
  • 0:04 - 0:06
    ผมได้รับบาดเจ็บนิดหน่อย
  • 0:06 - 0:09
    แต่คงต้องใช้รถมากกว่าหนึ่งคัน
    ถึงจะหยุดผมไม่ให้มาคุยกับคุณ
  • 0:09 - 0:12
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:12 - 0:15
    (เสียงปรบมือ)
  • 0:15 - 0:17
    อาจจะต้องใช้รถถังครับ
  • 0:19 - 0:22
    วันนี้ ผมอยากจะคุย
    เกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ขนาดจิ๋ว
  • 0:22 - 0:25
    เกี่ยวกับงานของผม ว่าทุกอย่างเริ่มต้นยังไง
  • 0:25 - 0:31
    อะไรคือเบื้องหลังของแรงบันดาลใจเพื่อ
    สร้างเครื่องพิมพ์สามมิติที่เล็กที่สุดในโลก
  • 0:31 - 0:34
    มาเริ่มกันที่งานประจำวันของผมกันนะครับ
  • 0:34 - 0:38
    ตามปกติ ขอบเขตงานของผมนั้นทำเกี่ยวกับ
    พอลิเมอร์ไลเซชั่นแบบสองโฟตอน
  • 0:39 - 0:42
    ฟังดูเนิร์ดมาก ๆ ครับ
  • 0:42 - 0:44
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:44 - 0:48
    คุณต้องใช้อะไรบ้างในการสร้างสิ่งนี้
  • 0:48 - 0:50
    คุณต้องมีระบบเลเซอร์ที่ซับซ้อน
  • 0:50 - 0:52
    เรียกว่า ระบบเฟมโตเซคเคินด์เลเซอร์
  • 0:52 - 0:58
    ซึ่งโฟกัสไปบนจุดเล็ก ๆ
    เล็กมาก เล็กมาก ๆ
  • 0:58 - 1:04
    แล้วมันก็แพงมากครับ อีกทั้งเป็นเลเซอร์ที่
    ไม่ค่อยทนด้วยซิ (เสียงหัวเราะ)
  • 1:04 - 1:08
    อีกอย่างหนึ่ง คุณต้องมี
    ระบบกำหนดตำแหน่งที่ซับซ้อนมาก
  • 1:08 - 1:12
    เราตั้งชื่อมันว่า อกาธา (Agathe) ครับ
    เพราะมันหนักมาก
  • 1:12 - 1:14
    แล้วก็คิดว่าอกาธาเป็นชื่อที่ดีครับ
  • 1:14 - 1:16
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:17 - 1:20
    แล้วคุณต้องใช้ระบบนี้
    ในการเคลื่อนเลเซอร์ไปยังอีกที่หนึ่ง
  • 1:20 - 1:24
    ยกตัวอย่าง ระดับความแม่นยำสูง
    ที่ประมาณ 200 นาโนเมตร
  • 1:24 - 1:25
    แม่นยำมากครับ
  • 1:25 - 1:28
    แล้วเราจะทำอะไรกับมันได้บ้างครับ
  • 1:28 - 1:31
    คุณสามารถทำสิ่งที่
    คุณไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
  • 1:31 - 1:34
    แล้วคุณยังพิมพ์อะไรก็ได้ที่คุณต้องการ
  • 1:34 - 1:38
    คุณสามารถพิมพ์ทาวเวอร์บริดจ์
    คุณสามารถพิมพ์สามีของอกาธา
  • 1:38 - 1:40
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:41 - 1:47
    โอเค แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ต้องตกตะลึง
  • 1:47 - 1:54
    คุณอาจจะสังเกตเห็นแถบบอกขนาด และ
    มันบอกว่าทาวเวอร์บริดจ์อยู่ที่ 100 ไมครอน
  • 1:54 - 1:56
    และชายจ้ำม้ำคนนี้มีขนาด 20 ไมครอน
  • 1:56 - 2:01
    เทียบดูนะครับ เส้นผ่านศูนย์กลาง
    ของเส้นผมมนุษย์มีขนาดประมาณ 50 ไมครอน
  • 2:01 - 2:06
    ฉะนั้น วัตถุเหล่านี้จึงเทียบได้กับ
    อนุภาคของผงฝุ่น หรือมีขนาดเล็กกว่า
  • 2:06 - 2:09
    คุณจึงมองเห็นมันได้ยากมาก
  • 2:10 - 2:14
    แล้วคุณสามารถทำอะไรได้อีก
    และอะไรคือสิ่งที่พวกเรากำลังทำอยู่
  • 2:14 - 2:18
    นั้นคือ การปรับปรุงตัวระบบ
    และปรับปรุงตัวเรซิ่น
  • 2:18 - 2:24
    วัสดุซึ่งเราใช้สำหรับการจับตัวหนอน
    หรือสิ่งมีชีวิตอย่างอื่น
  • 2:24 - 2:29
    ภายในเรซิ่นจะเกิดปฏิกิริยาพอลีเมอร์ไรซ์
    เมื่อเราเคลื่อนเลเซอร์ผ่านเรซิ่น
  • 2:29 - 2:32
    และเราก็จะสามารถจับสิ่งมีชีวิตได้
  • 2:32 - 2:33
    นี่คือหนอนพิเศษครับ
  • 2:33 - 2:37
    สิ่งที่เรากำลังพยายามจะทำ
    หรือสิ่งที่เราจะทำในขั้นถัดไป
  • 2:37 - 2:44
    คือ สร้างพอลิเมอร์ที่เข้ากันได้กับ
    สิ่งมีชีวิต หรืออาจเพื่อใช้เขียนบางอย่าง
  • 2:44 - 2:47
    ภายในตัวคุณ
    หรือภายในตัวหนอน
  • 2:47 - 2:52
    หรือการยึดเซลล์
    กับโครงสร้างของเราและอื่น ๆ
  • 2:52 - 2:55
    แต่นั่น คือ ขอบเขตงานประจำของผม
  • 2:55 - 3:00
    วันนี้ ผมจะเล่าถึงเบื้องหลัง
    ของเครื่องพิมพ์ขนาดจิ๋ว
  • 3:00 - 3:01
    ว่าอะไรคือแรงบันดาลใจของผม
  • 3:01 - 3:06
    ครับ ทุกอย่างเริ่มต้น
    ในตอนเช้าวันจันทร์ เวลา 6:30 น.
  • 3:06 - 3:09
    ครับ ผมโกหก จริง ๆ น่าจะประมาณ 10 โมงเช้า
  • 3:09 - 3:10
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:10 - 3:15
    ผมไปที่แลปเลเซอร์ซึ่งตั้งอยู่
    ใกล้จตุรัสคาลส์เฮาส์ในเมืองไฟรเฮาส์
  • 3:15 - 3:18
    ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเวียนนา
  • 3:18 - 3:22
    ผมเข้าไปและพบว่าเครื่องเลเซอร์เสีย
  • 3:22 - 3:23
    และผมพยายามจะซ่อมมัน
  • 3:23 - 3:27
    ผมอยู่กับมันครึ่งวัน เป็นเวลาหลายชั่วโมง
  • 3:27 - 3:31
    แล้วผมก็สังเกตว่า ปัญหาหลักอยู่ที่
    ตัวกำเนิดเลเซอร์
  • 3:31 - 3:34
    ซึ่งผมไม่สามารถซ่อมได้ด้วยตัวเอง
    ผมจึงโทรแจ้งช่างเทคนิค
  • 3:34 - 3:38
    และจุดนั้นเอง ทำให้ผมได้มีเวลาคิด
  • 3:38 - 3:42
    ผมคิดว่า "ผมจะทำอะไรตอนนี้ดี
    บางทีผมอาจเริ่มเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก"
  • 3:42 - 3:44
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:44 - 3:47
    ไม่ ไม่นะ นั่นคงไม่ใช่ความคิดที่ดีเอาซะเลย
  • 3:47 - 3:52
    ผมจึงเริ่มคิด ผมอาจจะ
    เขียนงานทางวิทยาศาสตร์
  • 3:52 - 3:53
    นั่นก็คงไม่ใช่ความคิดที่ดีแน่นอน
  • 3:53 - 3:57
    จนกระทั่งวันเสาร์
    หลังจากที่ผมใช้เวลาคิดอยู่หนึ่งสัปดาห์
  • 3:57 - 3:58
    ผมเกิดความคิดขึ้นในใจว่า
  • 3:59 - 4:02
    ผมจะสร้างเครื่องพิมพ์สามมิติขนาดจิ๋ว
    ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก
  • 4:02 - 4:03
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:03 - 4:05
    หรือ เครื่องพิมพ์สามมิติ
    ขนาดเล็กที่สุดในโลก
  • 4:05 - 4:09
    (เสียงปรบมือ)
  • 4:10 - 4:14
    ผมจึงโทรไปหาอาจารย์ของผม
    และเล่าให้เขาฟังว่า
  • 4:14 - 4:17
    "ใช่แล้ว มาลองสร้างกันเถอะ
    ผมว่างอยู่นะ มันจะสำเร็จไหม"
  • 4:17 - 4:18
    "เอาเลย ลองสร้างกันดู"
  • 4:18 - 4:22
    และผมก็ไปที่มหาวิทยาลัย
    และจากจุดนั้น
  • 4:22 - 4:25
    ผมใส่ทุกอย่างที่คิดในหัว
    ลงไปในคอมพิวเตอร์
  • 4:25 - 4:29
    เพื่อจะวางโครงสร้าง CAD
    ของทั้งหมด
  • 4:29 - 4:34
    จากนั้นไม่กี่เดือนต่อมา
    ผมก็ได้ทดสอบระบบเป็นครั้งแรก
  • 4:34 - 4:38
    มันทำงานได้ดีเยี่ยม
    ในครั้งแรกที่ทดสอบ
  • 4:38 - 4:44
    มันทำความละเอียดได้เหมือน
    ระบบที่มีราคา 60,000 ยูโร
  • 4:44 - 4:48
    ในขณะที่ของเราจ่ายค่าระบบ
    ไปเพียง 1,500 ยูโร เท่านั้น
  • 4:48 - 4:52
    ไม่นับรวมเงินเดือนของผม
  • 4:52 - 4:54
    ซึ่งก็คงไม่ได้เพิ่มขึ้นไปมากเท่าไร
  • 4:54 - 4:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:56 - 4:58
    แล้วมันทำงานอย่างไรล่ะ
  • 4:58 - 4:59
    ผมเอาคลิปวีดิโอมาด้วย
  • 4:59 - 5:04
    ซึ่งคุณจะเข้าใจว่า
    คุณจะใส่ไฟล์สามมิติยังไง
  • 5:04 - 5:09
    วีดิโอนี้ถูกสร้างโดยเพื่อนของผมชื่อ
    จูเนียร์ เวโลโซ ( Junior Veloso)
  • 5:09 - 5:13
    คุณจะเห็นว่าคุณมี
    โต๊ะงานที่เคลื่อนขึ้นด้านบน
  • 5:13 - 5:15
    และใต้โต๊ะงานจะมีของเหลว
  • 5:16 - 5:19
    ซึ่งจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งเมื่อเจอแสง
  • 5:19 - 5:24
    ด้วยการทำงานทีละชั้นในการสร้างวัตถุ
  • 5:24 - 5:30
    ซึ่งเหมือนการดึงชิ้นงานออกมาจากของเหลว
  • 5:30 - 5:34
    ขนาดของชิ้นงานขึ้นกับ
    ความใหญ่ของแบบงานว่าเป็นอย่างไร
  • 5:34 - 5:38
    บางทีอาจจะเป็น 100 ชั้น
    1,000 ชั้น หรือ 10,000 ชั้น
  • 5:38 - 5:40
    และนี้คือการทำงานของมัน
  • 5:40 - 5:44
    แน่นอน เครื่องพิมพ์นี้มีขนาดใหญ่กว่า
    เครื่องพิมพ์ขนาดจิ๋ว
  • 5:44 - 5:46
    แต่จะใช้มากหรือใช้น้อย
    มันก็ใช้หลักการเดียวกัน
  • 5:46 - 5:48
    ดังนั้น นี่คือสิ่งที่ผมต้องการให้พวกคุณดู
  • 5:48 - 5:52
    สุดท้าย เจ้าหัวนี่ เจ้าหัวเอเลี่ยน
  • 5:52 - 5:54
    ก็จะติดอยู่กับถาดชิ้นงาน
  • 5:54 - 6:00
    ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ
    คุณก็เพียงหักหัวมัน
  • 6:00 - 6:03
    ออกจากตัวยึดชิ้นงานตามที่คุณต้องการ
  • 6:03 - 6:05
    และทุกอย่างก็เสร็จสมบูรณ์
  • 6:06 - 6:07
    ครับ
  • 6:09 - 6:12
    โอเค แล้วหน้าตาของ
    เครื่องพิมพ์ขนาดจิ๋วนี้เป็นอย่างไร
  • 6:12 - 6:15
    ครับ บางคนอาจจะเคยเห็นรูปนี้มาแล้ว
  • 6:15 - 6:21
    ผมได้นำเจ้าเครื่องนี้ติดตัวมาด้วย
    และขอแนะนำคุณให้รู้จัก
  • 6:21 - 6:24
    เครื่องพิมพ์สามมิติขนาดจิ๋ว
    ว่ามันมีหน้าตาเช่นนี้
  • 6:24 - 6:28
    มันมีขนาดเล็กมาก
    เป็นรุ่นตั้งโต๊ะ
  • 6:28 - 6:30
    มันมีราคาย่อมเยามาก
  • 6:30 - 6:34
    พวกเราภูมิใจในตัวมันมาก
    จริง ๆ นะครับ
  • 6:34 - 6:36
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:37 - 6:43
    และเมื่อคุณมีเครื่องพิมพ์ขนาดเล็กมาก ๆ นี้
    ก็มีเครื่องพิมพ์รุ่นที่ใหญ่กว่านี้
  • 6:43 - 6:45
    แล้วคุณสามารถทำอะไรได้บ้าง
    ด้วยเครื่องที่มีราคาไม่แพงนี้
  • 6:45 - 6:50
    ตัวอย่างเช่น ทุกคนคงรู้จัก
    เครื่องช่วยฟังนี้กันใช่ไหมครับ
  • 6:50 - 6:54
    ที่มันต้องผลิตตาม
    ลักษณะของคนแต่ละคน
  • 6:55 - 6:56
    นี่จึงเป็นตัวอย่างที่เหมาะมาก
  • 6:56 - 7:01
    สำหรับการใช้เทคโนโลยีนี้
    สร้างเปลือกด้านนอกของเครื่องช่วยฟัง
  • 7:02 - 7:05
    โดยปกติแล้ว คุณจะต้องไปที่ร้าน
    เพื่อให้เขาสแกนหูของคุณ
  • 7:05 - 7:09
    จากนั้นพวกเขาจะส่งข้อมูลการสแกน
    ไปยังที่เยอรมันทางอีเมล์
  • 7:09 - 7:11
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:11 - 7:13
    จากนั้นพวกเขาจะพิมพ์มันออกมาด้วย
  • 7:13 - 7:14
    (เสียงปรบมือ)
  • 7:14 - 7:15
    ขอบคุณครับ
  • 7:15 - 7:19
    (เสียงปรบมือ)
  • 7:21 - 7:23
    พวกเขาจะพิมพ์ออกมาด้วยเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่
  • 7:23 - 7:27
    และเมื่อมันเสร็จสมบูรณ์
    ก็ส่งกลับไปที่เวียนนา
  • 7:27 - 7:28
    หรือในที่ต่าง ๆ ที่คุณอยู่
  • 7:29 - 7:30
    ทางไปรษณีย์
  • 7:31 - 7:33
    จากนั้นก็ใส่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • 7:33 - 7:35
    เมื่อคุณมีเครื่องพิมพ์ขนาดจิ๋วในร้านของคุณ
  • 7:35 - 7:38
    คุณก็สามารถไปที่ร้าน
  • 7:38 - 7:39
    ให้เขาสแกนหูของคุณ
  • 7:39 - 7:42
    แล้วก็กดปุ่มสั่ง "พิมพ์"
  • 7:42 - 7:45
    แบบสามมิติจะถูกแบ่งเป็นชั้นๆ
  • 7:45 - 7:47
    แล้ว คุณก็ไปนั่งดื่มกาแฟ
  • 7:47 - 7:50
    ไปที่มหาวิทยาลัย
    หรือที่ไหนก้ได้ที่คุณอยากไป
  • 7:50 - 7:56
    แทนที่จะใช้เวลาห้าวันในการที่คุณจะได้
    ส่วนเปลือกด้านนอกหรือเครื่องช่วยฟังของคุณ
  • 7:56 - 7:59
    ก็เหลือเพียงแค่หนึ่งวัน
  • 7:59 - 8:03
    นี่คือตัวอย่างว่าเครื่องพิมพ์ขนาดจิ๋ว
  • 8:03 - 8:08
    หรือเครื่องพิมพ์สามมิติราคาถูกต่าง ๆ
    จะเปลี่ยนชีวิตประจำวันของเราไปอย่างไรบ้าง
  • 8:09 - 8:10
    ขอบคุณมากครับ
  • 8:10 - 8:14
    ครับ มาเริ่มพิมพ์อะไรก็ได้ที่คุณต้องการ
    หรือที่คุณอยากได้กันเถอะครับ
  • 8:14 - 8:16
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เครื่องพิมพ์สามมิติที่เล็กที่สุดในโลก
Speaker:
เคลาส์ สแตนเดิลแมนน์
Description:

คุณสามารถใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติที่เล็กที่สุดในโลกทำอะไรได้บ้าง ? เคลาส์ สแตนเดิลแมนน์ (Klaus Stadlmann) ได้สาธิตเครื่องพิมพ์ขนาดจิ๋ว ที่มีราคาไม่แพง ที่วันหนึ่งอาจผลิตเครื่องช่วยฟังที่มีรูปร่างตามลักษณะหูของผู้ใช้งาน หรือสร้างชิ้นงานที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:28
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for The world's smallest 3D printer
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for The world's smallest 3D printer
Srisit Chianrabutra accepted Thai subtitles for The world's smallest 3D printer
Srisit Chianrabutra edited Thai subtitles for The world's smallest 3D printer
Srisit Chianrabutra edited Thai subtitles for The world's smallest 3D printer
Napakcha P. Dutta declined Thai subtitles for The world's smallest 3D printer
Napakcha P. Dutta edited Thai subtitles for The world's smallest 3D printer
Srisit Chianrabutra edited Thai subtitles for The world's smallest 3D printer
Show all

Thai subtitles

Revisions