< Return to Video

แคโรลีน สตีล: อาหารก่อร่างสร้างเมืองอย่างไร

  • 0:00 - 0:04
    เราผลิตอาหารป้อนให้เมืองได้อย่างไร
  • 0:04 - 0:06
    นี่เป็นหนึ่งในคำถามสำคัญในสมัยนี้
  • 0:06 - 0:08
    แต่ก็ไม่ค่อยมีใครสนใจตั้งคำถามนี้เท่าไร
  • 0:08 - 0:11
    เราลืมนึกถึงเรื่องนี้ไปสนิท
    เวลาที่เราเดินเข้าร้านชำ
  • 0:11 - 0:15
    ร้านอาหาร หรือเดินออกไปที่โถงข้างหน้านี้
    ในอีกชั่วโมงข้างหน้า
  • 0:15 - 0:18
    แน่นอนว่า จะต้องมีอะไรให้เรากิน
  • 0:18 - 0:20
    โผล่มาจากไหนไม่มีใครรู้
  • 0:20 - 0:25
    แต่ถ้าคุณลองคิดดูว่าในแต่ละวัน
    เมืองใหญ่ขนาดลอนดอน
  • 0:25 - 0:28
    จะต้องมีการผลิตอาหารให้เพียงพอ
  • 0:28 - 0:31
    ขนส่ง ซื้อและขาย
  • 0:31 - 0:35
    ปรุง บริโภค กำจัด
  • 0:35 - 0:37
    แล้ววงจรแบบนี้จะดำเนินไปทุกวัน
  • 0:37 - 0:39
    ในทุก ๆ เมืองบนโลกใบนี้
  • 0:39 - 0:42
    ที่น่าทึ่งคือ การที่มีอาหาร
    มาป้อนเมืองได้แบบนี้ทุกวัน
  • 0:42 - 0:44
    เมืองที่เราอาศัยอยู่ หน้าตาเป็นแบบนี้
  • 0:44 - 0:47
    ราวกับว่าการอยู่ในที่แบบนี้
    เป็นเรื่องธรรมชาติ
  • 0:47 - 0:49
    โดยหลงลืมไปว่า เราเองก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง
  • 0:49 - 0:51
    ที่ต้องกินอาหาร
  • 0:51 - 0:55
    เรามีความจำเป็นต้องพึ่งพิง
    อิงอาศัยพื้นที่ธรรมชาติ
  • 0:55 - 0:57
    เหมือนกับที่บรรพบุรุษเราทำกันมา
  • 0:57 - 0:59
    แล้วการที่เราอพยพเข้าเมืองกันมากขึ้น
  • 0:59 - 1:02
    พื้นที่ธรรมชาติเองก็ถูกเปลี่ยน
  • 1:02 - 1:05
    ให้มีหน้าตาสุดพิสดาร
    เหมือนที่เห็นอยู่ข้างหลังฉันนี่
  • 1:05 - 1:08
    นี่คือทุ่งถั่วเหลือง
    ในมาโท กรอสโซ ประเทศบราซิล
  • 1:08 - 1:11
    ที่เปลี่ยนให้เป็นแบบนี้
    ก็เพื่อผลิตอาหารให้เรา
  • 1:11 - 1:13
    พวกนี้คือทิวทัศน์หน้าตาสุดพิลึกพิลั่น
  • 1:13 - 1:15
    แต่ก็มีไม่กี่คนเท่านั้นที่มีโอกาสได้เห็น
  • 1:15 - 1:17
    มากไปกว่านั้น ทิวทัศน์เหล่านี้ ยิ่งนับวัน
  • 1:17 - 1:19
    ไม่ได้ทำหน้าที่ผลิตอาหาร
    ให้กับพวกเราเท่านั้น
  • 1:19 - 1:21
    เพราะ ยิ่งเราอพยพกันเข้าเมือง
  • 1:21 - 1:23
    เราก็ยิ่งกินเนื้อสัตว์กันมากขึ้น
  • 1:23 - 1:26
    แต่ละปี ธัญพืชจำนวนหนึ่งในสามจากทั่วโลก
  • 1:26 - 1:28
    ถูกนำไปป้อนเป็นอาหารสัตว์
  • 1:28 - 1:30
    แทนที่จะกลายมาเป็นอาหารมนุษย์
  • 1:30 - 1:34
    และเพราะว่า เราต้องใช้ธัญพืช
    มากขึ้นเป็นสามเท่า
  • 1:34 - 1:36
    ที่ถูกคือ ต้องใช้เพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่า
  • 1:36 - 1:39
    ถ้าเราผลิตอาหารให้มนุษย์
    โดยต้องเอาธัญพืชพวกนั้นไปป้อนสัตว์ก่อน
  • 1:39 - 1:44
    ไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพเลย
    ในการผลิตอาหารให้มนุษย์
  • 1:44 - 1:46
    และนี่ทำให้ปัญหายิ่งแย่ลงอีกด้วย
  • 1:46 - 1:49
    มีการประมาณการไว้ว่า
    ภายในปี ค.ศ. 2050 จำนวนผู้คน
  • 1:49 - 1:51
    ที่อาศัยอยู่ในเมืองจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
  • 1:51 - 1:53
    และมีการประมาณการต่อไปว่า
    จะมีการเพิ่มขึ้นสองเท่า
  • 1:53 - 1:55
    ของการบริโภคเนื้อและผลิตภัณฑ์นม
  • 1:55 - 2:00
    เนื้อสัตว์และเมืองจึงเติบโตคู่กันไป
  • 2:00 - 2:02
    และนั่นจะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่หลวง
  • 2:02 - 2:05
    ต้องป้อนอาหารให้คนกินเนื้อ
    ผู้หิวโหยหกพันล้านคน
  • 2:05 - 2:09
    ภายในปี ค.ศ. 2050
  • 2:09 - 2:11
    นั่นเป็นปัญหาใหญ่
    และถ้ายังเป็นแบบนี้ต่อไป
  • 2:11 - 2:14
    นี่ก็จะเป็นปัญหาที่เราน่าจะแก้กันไม่ตก
  • 2:14 - 2:18
    เราสูญพื้นที่ป่าฝนไป
    สิบเก้าล้านเฮกเตอร์ทุกปี
  • 2:18 - 2:20
    เพื่อนำไปสร้างพื้นที่เพาะปลูก
  • 2:20 - 2:23
    ในขณะเดียวกัน
    เราก็สูญเสียพื้นที่ในปริมาณเท่ากัน
  • 2:23 - 2:27
    เป็นพื้นที่เพาะปลูกที่มีการกร่อน
    หรือดินเปลี่ยนเป็นดินเค็ม
  • 2:27 - 2:30
    เรายังต้องการเชื้อเพลิง
    ฟอสซิลกันมากด้วย
  • 2:30 - 2:33
    เราใช้พลังงาน 10 แคลอรี
    ในการผลิตอาหาร
  • 2:33 - 2:37
    แต่ละแคลอรีที่เราบริโภคในตะวันตก
  • 2:37 - 2:41
    และถึงแม้จะมีอาหารบางประเภท
    ที่เราทุ่มงบเพื่อการผลิต
  • 2:41 - 2:43
    เราก็ไม่ได้ให้คุณค่ากับมันมากนัก
  • 2:43 - 2:47
    อาหารครึ่งหนึ่งที่ผลิตได้ในสหรัฐฯ
    ถูกโยนทิ้งไป
  • 2:47 - 2:50
    และท้ายที่สุดแล้ว ที่ปลายสุด
    ของกระบวนการยาวนานนี้
  • 2:50 - 2:53
    เราก็ไม่สามารถผลิตอาหาร
    ป้อนคนทั้งโลกได้อย่างเหมาะสม
  • 2:53 - 2:58
    คนเป็นพันล้านคนมีภาวะอ้วนเกิน
    ในขณะที่อีกพันล้านคนหิวโซ
  • 2:58 - 3:00
    ทั้งหมดนี้ฟังดูไม่สมเหตุสมผลเลย
  • 3:00 - 3:03
    และเมื่อมาคิดว่า 80 เปอร์เซ็นต์
    ของการค้าอาหารระดับโลกในปัจจุบัน
  • 3:03 - 3:08
    ถูกควบคุมโดยบริษัทข้ามชาติ
    เพียงห้าบริษัท
  • 3:08 - 3:10
    นี่เป็นภาพที่โหดร้ายมาก
  • 3:10 - 3:13
    และเมื่อเราย้ายเข้ามาในเมือง
    เราก็ยิ่งอ้าแขนรับอาหารตะวันตก
  • 3:13 - 3:16
    ถ้าเรามองไปที่อนาคต
  • 3:16 - 3:18
    นี่เป็นอาหารที่ไม่ยั่งยืน
  • 3:18 - 3:20
    แล้วเรามาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร
  • 3:20 - 3:23
    และที่ยิ่งสำคัญคือ เราจะทำอย่างไร
    กับสถานการณ์นี้ได้บ้าง
  • 3:23 - 3:27
    เรามาตอบคำถามที่ง่ายกว่านิดหนึ่งกันก่อน
  • 3:27 - 3:29
    ประมาณ 10,000 ปีก่อน
  • 3:29 - 3:31
    คือจุดเริ่มต้นของกระบวนการทั้งหมดนี้
  • 3:31 - 3:33
    ในยุคโบราณใกล้ฝั่งตะวันออก
  • 3:33 - 3:35
    รู้จักกันในชื่อ
    ดินแดนวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์
  • 3:35 - 3:37
    เพราะอย่างที่คุณเห็น
    ดินแดนนี้เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว
  • 3:37 - 3:39
    แล้วก็ยังอุดมสมบูรณ์ด้วย
  • 3:39 - 3:42
    และที่ตรงนี้ ประมาณ 10,000 ปีก่อน
  • 3:42 - 3:44
    เป็นที่ที่นวัตกรรมแสนพิเศษสองสิ่งเกิดขึ้น
  • 3:44 - 3:47
    เกษตรกรรมและความเป็นเมืองได้เกิดขึ้น
  • 3:47 - 3:50
    ในที่เดียวกัน ในเวลาไล่เลี่ยกัน
  • 3:50 - 3:52
    นี่ไม่ใช่เหตุบังเอิญ
  • 3:52 - 3:56
    เพราะเกษตรกรรมและเมืองถูกร้อยเข้าด้วยกัน
    ทั้งสองสิ่งต้องการกันและกัน
  • 3:56 - 3:58
    เนื่องจากการค้นพบเมล็ดพันธุ์
  • 3:58 - 4:01
    ของบรรพบุรุษโบราณของเราเป็นครั้งแรกนั้น
  • 4:01 - 4:04
    ได้ช่วยให้เราผลิตแหล่งอาหารที่ใหญ่พอ
  • 4:04 - 4:08
    และมั่นคงพอที่จะสนับสนุน
    ให้เราตั้งรกรากได้ถาวร
  • 4:08 - 4:10
    และถ้าเรามองดูว่า
    การตั้งรกรากเป็นไปอย่างไร
  • 4:10 - 4:12
    เราก็จะเห็นว่ามันเล็กกะทัดรัด
  • 4:12 - 4:14
    พวกเขาถูกห้อมล้อมด้วย
    พื้นที่การเกษตรที่อุดมสมบูรณ์
  • 4:14 - 4:17
    และถูกปกครองโดย
    วัดที่รวมกลุ่มกันขนาดใหญ่
  • 4:17 - 4:19
    อย่างที่อูร์แห่งนี้
  • 4:19 - 4:21
    และที่จริงแล้ว ที่แห่งนั้น
    ก็มีประสิทธิภาพมาก
  • 4:21 - 4:24
    ในการเป็นศูนย์กลางกระจายอาหาร
    ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางจิตวิญญาณ
  • 4:24 - 4:27
    เพราะวัดทำหน้าที่จัดระเบียบ
    ในการเก็บเกี่ยว
  • 4:27 - 4:29
    รวบรวมพืชผลเข้าด้วยกัน
    นำไปถวายแด่พระเจ้า
  • 4:29 - 4:33
    จากนั้นก็นำพืชผลที่พระเจ้าไม่เสวย
    มามอบให้ประชาชน
  • 4:33 - 4:35
    เพราะฉะนั้น
  • 4:35 - 4:37
    ชีวิตทั้งทางด้านจิตวิญญาณและด้านกายภาพ
    ของเมืองเหล่านี้
  • 4:37 - 4:40
    จึงอยู่ใต้การควบคุมของ
    พืชพรรณและการเก็บเกี่ยว
  • 4:40 - 4:43
    ที่ทำให้ชีวิตพวกเขายั่งยืน
  • 4:43 - 4:46
    ที่จริง เมืองในยุคโบราณทุกแห่ง
    ก็เป็นแบบนี้
  • 4:46 - 4:48
    แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกเมือง
    จะเล็กเท่านี้ทั้งหมด
  • 4:48 - 4:51
    ที่โด่งดังคือโรม
    มีประชากรประมาณหนึ่งล้าน
  • 4:51 - 4:53
    ตั้งแต่ศตวรรษแรกของคริสต์ศักราช
  • 4:53 - 4:57
    แล้วเมืองลักษณะนี้
    ผลิตอาหารป้อนตัวเองได้อย่างไร
  • 4:57 - 5:00
    คำตอบคือสิ่งที่ฉันเรียกว่า
    "การเดินทางของอาหารในยุคโบราณ"
  • 5:00 - 5:03
    หลัก ๆ แล้ว โรมมีทางออกทางทะเล
  • 5:03 - 5:06
    ซึ่งทำให้โรมนำอาหารเข้าเมือง
    จากที่ไกลแสนไกลได้
  • 5:06 - 5:09
    นี่เป็นหนทางเดียวที่ทำได้
    ในยุคโบราณ
  • 5:09 - 5:12
    เพราะการขนส่งอาหารทางถนน
    ทำได้ยากมาก
  • 5:12 - 5:14
    ถนนขรุขระ
  • 5:14 - 5:16
    และทำให้อาหารเน่าเสียไวมาก
  • 5:16 - 5:18
    โรมจึงทำสงครามจริงจัง
  • 5:18 - 5:21
    กับเมืองอย่างคาร์เธจและอียิปต์
  • 5:21 - 5:23
    เพื่อให้ได้แตะเสบียงพืชพรรณของพวกเขา
  • 5:23 - 5:26
    และที่จริง อาจพูดได้ว่า
    การขยายตัวของจักรวรรดิ
  • 5:26 - 5:29
    เป็นการขยายตัวอย่างยืดยาวของ
  • 5:29 - 5:31
    การช้อปปิ้งแหลก
    ทางการทหาร
  • 5:31 - 5:33
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:33 - 5:35
    และที่จริง...ฉันชอบข้อเท็จจริง
    เลยต้องพูดเรื่องนี้
  • 5:35 - 5:38
    ที่จริงโรมนำเข้า
    หอยนางรมจากลอนดอน
  • 5:38 - 5:40
    มุมหนึ่ง ฉันคิดว่าเรื่องนี้พิเศษมากๆ
  • 5:40 - 5:43
    โรมก่อร่างสร้างเมืองหลวง
  • 5:43 - 5:45
    โดยใช้ความอยากอาหารเป็นตัวนำ
  • 5:45 - 5:47
    แต่ที่น่าสนใจคือ
    มีอีกสิ่งหนึ่ง
  • 5:47 - 5:49
    ที่เกิดขึ้นในโลกก่อนยุคอุตสาหกรรม
  • 5:49 - 5:52
    ถ้าเราดูแผนที่ลอนดอนในศตวรรษที่ 17
  • 5:52 - 5:55
    เราจะเห็นว่าธัญพืชถูกส่งมาจากแม่น้ำเธมส์
  • 5:55 - 5:57
    ยาวตลอดแนวตอนล่างของแผนที่
  • 5:57 - 6:00
    ตลาดค้าธัญพืชจึงอยู่ตอนใต้ของเมือง
  • 6:00 - 6:02
    และถนนที่ทอดตัวจากตลาดขึ้นไป
  • 6:02 - 6:04
    ยังย่านชีปไซด์ ซึ่งเป็นตลาดหลัก
  • 6:04 - 6:06
    และเป็นตลาดค้าธัญพืชด้วย
  • 6:06 - 6:08
    ถ้าเราลองมาดูชื่อถนนสายหนึ่งในย่านนั้น
  • 6:08 - 6:11
    ถนนเบรดสตรีท คุณก็บอกได้เลย
  • 6:11 - 6:14
    ว่าถนนสายนั้นขายอะไรเมื่อ 300 ปีก่อน
  • 6:14 - 6:16
    เรื่องของปลาก็เหมือนกัน
  • 6:16 - 6:19
    ปลาเองก็ถูกนำเข้ามาจากแม่น้ำเช่นกัน
  • 6:19 - 6:22
    และแน่นอน ย่านบิลลิงส์เกตที่โด่งดัง
    ก็เป็นตลาดค้าปลาของลอนดอน
  • 6:22 - 6:26
    ทำการค้าอยู่ที่นี่จนถึง
    กลางคริสต์ทศวรรษ 1980
  • 6:26 - 6:28
    เป็นเรื่องที่พิเศษมาก ถ้าคุณลองมานึกดู
  • 6:28 - 6:30
    มีคนเดินไปเดินมารอบ ๆ
  • 6:30 - 6:32
    ถือโทรศัพท์มือถือขนาดเท่าก้อนอิฐ
  • 6:32 - 6:35
    แล้วก็มีปลาส่งกลิ่นโชยอยู่ที่ท่า
  • 6:35 - 6:38
    นี่ก็เป็นอีกเรื่องเกี่ยวกับอาหารในเมือง
  • 6:38 - 6:41
    เมื่อไรที่อาหารเริ่มตั้งรกรากในเมือง
  • 6:41 - 6:43
    ก็จะไม่ค่อยเปลี่ยนที่อีกแล้ว
  • 6:43 - 6:45
    แต่เนื้อสัตว์แตกต่างออกไปมาก
  • 6:45 - 6:47
    เพราะว่าสัตว์สามารถเดินเข้าเมืองได้
  • 6:47 - 6:49
    เนื้อสัตว์ในลอนดอนจำนวนมาก
  • 6:49 - 6:51
    จึงมาจากตะวันตกเฉียงเหนือ
  • 6:51 - 6:53
    จากสกอตแลนด์และเวลส์
  • 6:53 - 6:56
    เดินทางเข้ามาถึงในเมือง
    ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือ
  • 6:56 - 6:58
    เพราะอย่างนั้นสมิธฟิลด์
  • 6:58 - 7:01
    ตลาดค้าเนื้อที่โด่งดังมากในลอนดอน
    จึงตั้งอยู่แถบด้านบนนี้
  • 7:01 - 7:05
    สัตว์ปีกก็เข้ามาทางตะวันออกเฉียงเหนือ
    ผ่านทางอีสต์แองเกลียแถวนั้น
  • 7:05 - 7:06
    ทำแบบนี้รู้สึกเหมือน
    นักพยากรณ์อากาศเลย
  • 7:06 - 7:10
    พวกสัตว์ปีกเดินทางเข้ามา
  • 7:10 - 7:13
    ใส่รองเท้าผ้าใบคู่เล็ก ๆ ปกป้องเท้าไว้
  • 7:13 - 7:15
    และพอมาถึงชายแดนตะวันออก
  • 7:15 - 7:17
    ของย่านชีปไซด์ ก็ถูกนำมาขาย
  • 7:17 - 7:19
    ถนนเส้นนั้นจึงชื่อโพลทรี
    (สัตว์ปีก)
  • 7:19 - 7:22
    และที่จริง ถ้าคุณดูแผนที่เมืองใดก็ตาม
  • 7:22 - 7:26
    ที่เกิดขึ้นก่อนยุคอุตสาหกรรม
  • 7:26 - 7:28
    ก็จะย้อนรอยได้ว่ามีอาหารประเภทไหน
    เข้ามาในเมืองบ้าง
  • 7:28 - 7:31
    จะเห็นได้เลยว่าอาหาร
    ก่อร่างสร้างเมืองได้อย่างไร
  • 7:31 - 7:34
    ทำได้ทั้งการอ่านชื่อถนน
    ที่ช่วยให้เบาะแสคุณได้มาก
  • 7:34 - 7:36
    ถนนฟรายเดย์สตรีท
    อาจเป็นที่ที่ชาติก่อน
  • 7:36 - 7:38
    คุณไปซื้อปลาในวันศุกร์
  • 7:38 - 7:40
    นอกจากนี้คุณอาจลองจินตนาการ
    สถานที่ที่เต็มไปด้วยอาหาร
  • 7:40 - 7:43
    เพราะถนนและพื้นที่สาธารณะ
  • 7:43 - 7:46
    เป็นที่เดียวที่มีการซื้อขายอาหารกัน
  • 7:46 - 7:49
    ถ้าเราลองดูรูปย่านสมิธฟิลด์ในปี 1830
  • 7:49 - 7:52
    จะเห็นได้เลยว่าแทบจะเป็นไปได้ยาก
    ที่จะอาศัยอยู่ในเมืองแบบนี้
  • 7:52 - 7:54
    แล้วไม่รู้ว่าอาหารที่คุณกินมาจากไหน
  • 7:54 - 7:56
    ที่จริง ถ้าคุณกำลังกินมื้อเที่ยง
    ในวันอาทิตย์
  • 7:56 - 7:58
    มีโอกาสที่อาหารในจาน
    ร้องมอ ๆ หรือแบ๊ะ ๆ
  • 7:58 - 8:00
    อยู่นอกหน้าต่างประมาณสามวันก่อนหน้านี้
  • 8:00 - 8:03
    เห็นได้ชัดว่านี่เป็นเมืองอาหารอินทรีย์
  • 8:03 - 8:06
    เป็นส่วนหนึ่งของวงจรอาหารอินทรีย์
  • 8:06 - 8:09
    และจากนั้น 10 ปีต่อมา
    ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป
  • 8:09 - 8:12
    นี่เป็นภาพทางรถไฟสายเกรทเวสเทิร์น
    ในปี ค.ศ. 1840
  • 8:12 - 8:14
    อย่างที่เห็น ผู้โดยสาร
    ในยุคแรก ๆ ส่วนหนึ่ง
  • 8:14 - 8:16
    คือสุกรและแกะ
  • 8:16 - 8:20
    ฉับพลันทันใด สัตว์ก็ไม่เดินเข้าตลาดอีกแล้ว
  • 8:20 - 8:22
    พวกมันถูกเชือดในที่ไกลตา
    ไกลความรับรู้เรา
  • 8:22 - 8:24
    ที่ใดที่หนึ่งในชนบท
  • 8:24 - 8:26
    แล้วก็เดินทางเข้าเมืองโดยรถไฟ
  • 8:26 - 8:29
    จุดนี้เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง
  • 8:29 - 8:31
    เริ่มจากที่ เหตุการณ์นี้ทำให้
    มีความเป็นไปได้
  • 8:31 - 8:32
    ในการขยายเมืองให้เติบโตเป็นครั้งแรก
  • 8:32 - 8:34
    ขนาดเท่าใด หรือที่ไหนก็ได้
  • 8:34 - 8:38
    เมืองเคยถูกจำกัดด้วย
    ลักษณะทางภูมิศาสตร์
  • 8:38 - 8:41
    เมืองเคยต้องหาอาหาร
    ผ่านวิธีที่ยากลำบากทางกายภาพ
  • 8:41 - 8:45
    ทันใดนั้น เมืองก็ถูกปลดปล่อย
    จากข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์
  • 8:45 - 8:48
    และอย่างที่เห็นจากแผนที่ลอนดอน
  • 8:48 - 8:50
    ผ่านไป 90 ปีหลังจากที่มีรถไฟ
  • 8:50 - 8:54
    ลอนดอนเปลี่ยนจากกลุ่มก้อนเล็กๆ
    ที่ผลิตอาหารป้อนได้ง่าย
  • 8:54 - 8:56
    จากสัตว์ที่เดินเท้าเข้ามา
    และอะไรพวกนั้น
  • 8:56 - 8:58
    ไปเป็นการกระจายตัวขนาดใหญ่
  • 8:58 - 9:01
    ที่ผลิตอาหารป้อนได้ยากมาก ๆ
    ผ่านการเดินเท้า
  • 9:01 - 9:04
    ไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือคนที่เดินเท้าเข้ามา
  • 9:04 - 9:07
    และแน่นอนว่านั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้น
    หลังจากรถไฟก็มีรถยนต์
  • 9:07 - 9:11
    และนี่ก็เป็นจุดสิ้นสุดของกระบวนการนี้
  • 9:11 - 9:13
    เป็นครั้งสุดท้ายของการปลดปล่อยเมือง
  • 9:13 - 9:16
    ออกจากความสัมพันธ์กับธรรมชาติ
    อย่างชัดเจนและโดยสิ้นเชิง
  • 9:16 - 9:19
    นี่เป็นเมืองที่ปราศจากกลิ่น
  • 9:19 - 9:21
    ปราศจากความยุ่งเหยิง
    และแน่นอนว่าปราศจากคน
  • 9:21 - 9:24
    เพราะไม่มีใครฝันอยาก
    เดินอยู่ในทัศนียภาพแบบนี้
  • 9:24 - 9:27
    ที่จริง สิ่งที่พวกเขาทำเพื่อ
    ให้ได้อาหารมาก็คือเข้าไปนั่งในรถ
  • 9:27 - 9:30
    ขับรถไปที่อาคารสักแห่งนอกเมือง
  • 9:30 - 9:32
    กลับมาพร้อมกับอาหาร
    ที่กินได้ตลอดสัปดาห์
  • 9:32 - 9:34
    แล้วก็มานั่งสงสัยว่าเอาไปทำอะไรกินได้บ้าง
  • 9:34 - 9:37
    และนี่เป็นช่วงเวลาที่ความสัมพันธ์ของเรา
  • 9:37 - 9:40
    ทั้งกับอาหารและกับเมือง
    เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
  • 9:40 - 9:43
    อาหารทุกวันนี้... อาหารที่เคยเป็นศูนย์กลาง
  • 9:43 - 9:46
    เคยเป็นส่วนสำคัญในสังคม
    ตอนนี้อยู่ชายขอบ
  • 9:46 - 9:48
    การซื้อขายอาหารเคยเป็น
    กิจกรรมสำคัญทางสังคม
  • 9:48 - 9:50
    ตอนนี้เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ
  • 9:50 - 9:52
    เราเคยทำอาหารกัน
    ทุกวันนี้แค่เติมน้ำ
  • 9:52 - 9:57
    หรืออาจตอกไข่ใส่ลงไปหน่อย
    ถ้าจะทำเค้กอะไรอย่างนั้น
  • 9:57 - 10:01
    เราไม่ดมกลิ่นอาหาร
    เพื่อเช็คว่ายังกินได้ไหม
  • 10:01 - 10:04
    เราแค่อ่านฉลากหลังห่อ
  • 10:04 - 10:07
    เราไม่ได้ให้คุณค่าอาหาร
    เราไม่เชื่อใจอาหาร
  • 10:07 - 10:09
    แทนที่จะเชื่อใจ เรากลัว
  • 10:09 - 10:13
    และแทนที่จะให้คุณค่ากับมัน
    เราโยนมันทิ้งไป
  • 10:13 - 10:16
    เรื่องตลกร้ายเรื่องหนึ่ง
    ของระบบอาหารสมัยใหม่
  • 10:16 - 10:18
    คือเขาทำให้สิ่งที่เขาสัญญาว่า
  • 10:18 - 10:20
    มันจะง่ายขึ้นกลับยากลง
  • 10:20 - 10:24
    ด้วยความเป็นไปได้ที่จะสร้างเมือง
    ที่ไหนหรือตำแหน่งใดก็ได้
  • 10:24 - 10:28
    สิ่งนี้ทำให้เราห่างออกจาก
    ความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุด
  • 10:28 - 10:31
    คือความสัมพันธ์ของเรากับธรรมชาติ
  • 10:31 - 10:34
    และยังทำให้เราต้องพึ่งพิงกับระบบ
    ที่มีแต่พวกเขาเท่านั้นที่ตอบสนองได้
  • 10:34 - 10:36
    อย่างที่เราเห็นกันว่ามันไม่ยั่งยืน
  • 10:36 - 10:39
    แล้วเราจะทำอะไรกับมันได้บ้าง
  • 10:39 - 10:41
    นี่ไม่ใช่คำถามใหม่
  • 10:41 - 10:45
    500 ปีก่อน นี่ก็เป็นคำถาม
    ที่เซอร์โธมัส มอร์ถามตัวเอง
  • 10:45 - 10:48
    นี่เป็นภาพจากหนังสือ "ยูโทเปีย"
  • 10:48 - 10:51
    ซึ่งเป็นเรื่องของนครรัฐกึ่งอิสระ
    ที่มารวมเข้าด้วยกัน
  • 10:51 - 10:53
    ถ้าฟังดูแล้วไม่ค่อยคุ้น
  • 10:53 - 10:56
    เดินไปอีกนครรัฐได้ภายในหนึ่งชั่ววัน
    แต่ละคนต่างวุ่นกับการเกษตร
  • 10:56 - 10:58
    ปลูกผักที่สวนหลังบ้าน
  • 10:58 - 11:00
    ทานอาหารร่วมกันแบบชุมชน
    อะไรทำนองนั้น
  • 11:00 - 11:02
    ฉันว่าคุณอ้างได้ว่า
  • 11:02 - 11:05
    อาหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน
    ที่เป็นโครงสร้างของยูโทเปีย
  • 11:05 - 11:08
    แม้มอร์ไม่เคยตั้งใจให้เป็นแบบนั้น
  • 11:08 - 11:11
    และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดแบบ
    "ยูโทเปีย" ที่โด่งดัง
  • 11:11 - 11:13
    ของเอเบเนสเซอร์ เฮาเวิร์ด
    "ขบวนการอุทยานนคร"
  • 11:13 - 11:16
    แนวคิดเดียวกัน
    คือการรวมตัวกันของนครรัฐอิสระ
  • 11:16 - 11:20
    เมืองหลวงรวมตัวกัน
    มีพื้นที่เพาะปลูกล้อมรอบ
  • 11:20 - 11:22
    เชื่อมกันด้วยทางรถไฟ
  • 11:22 - 11:24
    และเช่นเคยที่อาหารถูกมองว่า
  • 11:24 - 11:27
    เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน
  • 11:27 - 11:29
    มีคนพยายามสร้างเมืองนี้
    แต่ก็ไม่ได้เกี่ยว
  • 11:29 - 11:31
    กับแนวคิดของเฮาเวิร์ด
  • 11:31 - 11:34
    นั่นล่ะคือปัญหาของแนวคิด
    แบบยูโทเปีย
  • 11:34 - 11:36
    เพราะว่ามันคือยูโทเปียนั่นเอง
  • 11:36 - 11:39
    ยูโทเปียเป็นคำที่เซอร์โธมัส
    ไตร่ตรองมาแล้ว
  • 11:39 - 11:43
    ออกจะเป็นการล้อเล่น
    เป็นคำภาษากรีกสองความหมาย
  • 11:43 - 11:45
    หมายความว่าสถานที่ดี
    หรือที่ที่ไม่มีจริง
  • 11:45 - 11:49
    เพราะมันเป็นอุดมคติ เรื่องจินตนาการ
    เราสร้างขึ้นไม่ได้
  • 11:49 - 11:51
    และฉันว่า นี่เป็นเครื่องมือทางความคิด
  • 11:51 - 11:54
    ให้เราคิดถึงปัญหาที่ลึกซึ้ง
    ของการดำรงอยู่
  • 11:54 - 11:56
    เลยทำให้ใช้ไม่ได้จริง
  • 11:56 - 11:59
    ฉันเลยเสนอทางเลือกใหม่
  • 11:59 - 12:02
    เรียกว่า Sitopia จากภาษากรีกโบราณ
  • 12:02 - 12:04
    "sitos" หมายถึงอาหาร
    "topos" คือสถานที่
  • 12:04 - 12:06
    ฉันเชื่อว่าเราอยู่ใน sitopia กันอยู่แล้ว
  • 12:06 - 12:09
    เราอยู่ในโลกที่ถูกก่อร่างด้วยอาหาร
  • 12:09 - 12:12
    และถ้าเรารู้ว่า เราสามารถใช้อาหาร
    เป็นเครื่องมีที่มีอิทธิพล
  • 12:12 - 12:16
    เป็นเครื่องมือทางความคิด การออกแบบ
    เพื่อกำหนดทิศทางของโลกให้ต่างออกไป
  • 12:16 - 12:21
    ถ้าเราจะทำอย่างนั้น
    Sitopia ควรมีหน้าตาอย่างไร
  • 12:21 - 12:23
    ฉันว่าหน้าตาคล้ายแบบนี้
  • 12:23 - 12:25
    ฉันต้องใช้รูปนี้
    เพราะสุนัขหน้ายิ้มเลย
  • 12:25 - 12:28
    แต่เอาเถอะ นี่คือ (เสียงหัวเราะ)
  • 12:28 - 12:30
    คืออาหารที่เป็นศูนย์กลางของชีวิต
  • 12:30 - 12:32
    ศูนย์กลางของครอบครัว
    เพื่อเฉลิมฉลอง
  • 12:32 - 12:34
    เพื่อความพอใจ คนให้เวลากับมัน
  • 12:34 - 12:37
    นี่คือที่ทางที่เหมาะสม
    ของอาหารในสังคม
  • 12:37 - 12:42
    แต่เราจะมีภาพแบบนี้ไม่ได้
    ถ้าไม่มีคนแบบนี้
  • 12:42 - 12:44
    แต่คนในภาพอาจเป็นผู้ชายก็ได้
  • 12:44 - 12:47
    คือคนที่คิดเรื่องอาหาร
  • 12:47 - 12:49
    คนที่คิดล่วงหน้า วางแผน
  • 12:49 - 12:51
    คนที่จ้องดูผักสดกองใหญ่
  • 12:51 - 12:53
    แล้วรู้จักผักดี
  • 12:53 - 12:56
    เราต้องการคนแบบนี้
    เราเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย
  • 12:56 - 12:59
    เพราะถ้าไม่มีคนแบบนี้
    เราก็จะไม่มีที่แบบนี้
  • 12:59 - 13:02
    ฉันตั้งใจเลือกรูปนี้มาเลย
    เพราะเป็นผู้ชายซื้อผัก
  • 13:02 - 13:06
    เป็นเครือข่าย
    ตลาดที่อาหารมาจากในท้องถิ่น
  • 13:06 - 13:08
    หาได้ทั่วไป สดใหม่
  • 13:08 - 13:10
    เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสังคมเมือง
  • 13:10 - 13:13
    ถ้าไม่มีที่แบบนั้น ก็จะไม่มีที่แบบนี้
  • 13:13 - 13:16
    อาหารที่โตในท้องถิ่น
    และเป็นภูมิทัศน์หนึ่งของเมือง
  • 13:16 - 13:18
    นี่ไม่ใช่วิถีที่มีใครได้ใครเสีย
  • 13:18 - 13:20
    หรือมีการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
  • 13:20 - 13:22
    วัวเลี้ยงอิสระ
  • 13:22 - 13:24
    ดินกองสูงมีไอน้ำพวยพุ่ง
  • 13:24 - 13:27
    ทำให้ทุกอย่างผนึกกำลัง
    รวมกันเป็นหนึ่ง
  • 13:27 - 13:29
    และนี่เป็นโครงการของชุมชน
  • 13:29 - 13:31
    ที่ฉันเพิ่งไปดูมาที่โตรอนโต
  • 13:31 - 13:33
    นี่เป็นเรือนกระจก
    ที่เด็กๆ ได้เรียนรู้
  • 13:33 - 13:36
    เรื่องอาหารทุกอย่าง
    และได้ปลูกกินเอง
  • 13:36 - 13:39
    นี่เป็นผักที่ชื่อเควิน
    หรืออาจเป็น
  • 13:39 - 13:41
    ผักที่เควินเป็นคนปลูก
    ฉันก็ไม่รู้
  • 13:41 - 13:44
    แต่โครงการแบบนี้
  • 13:44 - 13:48
    ที่พยายามดึงเรากลับสู่ธรรมชาติ
    เป็นงานที่สำคัญ
  • 13:48 - 13:50
    Sitopia สำหรับฉัน
    จีงเป็นมุมมอง
  • 13:50 - 13:54
    คือการตระหนักรู้ว่า Sitopia
  • 13:54 - 13:56
    เกิดขึ้นแล้วตามซอกมุมเล็กๆ
    ทุกหนทุกแห่ง
  • 13:56 - 13:58
    เคล็ดลับคือ
    การเชื่อมทุกที่เข้าด้วยกัน
  • 13:58 - 14:01
    เพื่อใช้อาหารเป็นสื่อ
    ในการมองโลก
  • 14:01 - 14:04
    ถ้าเราทำเช่นนั้น
    เราจะไม่มองเมือง
  • 14:04 - 14:07
    ว่าเป็นพื้นที่ใหญ่ วุ่นวาย
    ไม่มีประโยชน์เช่นนี้
  • 14:07 - 14:09
    แต่เราจะมองว่าเป็นแบบนี้
  • 14:09 - 14:12
    ว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างอินทรีย์
    ที่อุดมสมบูรณ์
  • 14:12 - 14:14
    ซึ่งเมืองเป็นส่วนหนึ่ง
    อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • 14:14 - 14:16
    เชื่อมโยงกันแบบ
    ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์
  • 14:16 - 14:18
    แต่นี่ก็ไม่ใช่ภาพที่ดีเท่าไหร่
  • 14:18 - 14:21
    เพราะเราต้องเลิกผลิตอาหาร
    แบบนี้ได้แล้ว
  • 14:21 - 14:23
    เราต้องมาคิดเรื่องเกษตรยั่งยืน
  • 14:23 - 14:25
    ซึ่งฉันคิดว่ารูปนี้
  • 14:25 - 14:27
    สรุปสิ่งที่เราต้องทำได้เป็นอย่างดี
  • 14:27 - 14:29
    เป็นการวางโครงสร้างแนวคิดใหม่
  • 14:29 - 14:32
    ของวิถีที่อาหารก่อร่างชีวิตเรา
  • 14:32 - 14:35
    ภาพที่ดีที่สุดที่ฉันรู้จัก
    คือภาพเมื่อ 650 ปีที่แล้ว
  • 14:35 - 14:38
    งานของอัมบริจิโอ ลอเร็นเซ็ตติ
    "อุปมานิทัศน์ของรัฐบาลที่ดี"
  • 14:38 - 14:41
    เป็นเรื่องความสัมพันธ์
    ระหว่างเมืองกับชนบท
  • 14:41 - 14:44
    และฉันคิดว่าสารของมันชัดเจนมาก
  • 14:44 - 14:46
    ถ้าเมืองดูแลชนบทดี
  • 14:46 - 14:48
    ชนบทก็จะดูแลเมือง
  • 14:48 - 14:50
    ฉันอยากให้เราตั้งคำถาม
  • 14:50 - 14:53
    ว่าอัมบริจิโอ ลอเร็นเซ็ตติ
    จะวาดภาพนี้แบบไหน
  • 14:53 - 14:55
    ถ้าเขาวาดขึ้นในปัจจุบัน
  • 14:55 - 14:58
    "อุปมานิทัศน์ของรัฐบาลที่ดี"
    จะเป็นอย่างไร
  • 14:58 - 15:00
    เพราะฉันคิดว่านี่เป็นคำถามเร่งด่วน
  • 15:00 - 15:02
    เป็นคำถามที่เราควรใคร่ครวญ
  • 15:02 - 15:04
    และเราควรเริ่มหาคำตอบ
  • 15:04 - 15:07
    เรารู้ว่ากินอะไร
    เราก็จะเป็นอย่างนั้น
  • 15:07 - 15:09
    เราต้องตระหนักได้แล้วว่า
    กินอะไรโลกก็จะเป็นแบบนั้น
  • 15:09 - 15:11
    ถ้าเรายึดถือแนวคิดนี้
    เราจะใช้อาหาร
  • 15:11 - 15:15
    เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ
    ในการก่อร่างโลกนี้ให้ดีขึ้น
  • 15:15 - 15:17
    ขอบคุณมากค่ะ
  • 15:17 - 15:20
    (เสียงปรบมือ)
Title:
แคโรลีน สตีล: อาหารก่อร่างสร้างเมืองอย่างไร
Speaker:
แคโรลีน สตีล (Carolyn Steel)
Description:

ในเมืองที่มีขนาดใหญ่อย่างลอนดอน มีการเสิร์ฟอาหาร 30 ล้านรายการในแต่ละวัน แต่อาหารเหล่านี้มาจากไหน สถาปนิก แคโรลีน สตีลจะมาถกเรื่องความมหัศจรรย์ในการผลิตอาหารป้อนเมืองในแต่ละวัน และสาธิตให้เห็นว่าเส้นทางเก่าแก่โบราณส่งผลต่อโลกในปัจจุบันอย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:25
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How food shapes our cities
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How food shapes our cities
Pitipa Chongwatpol accepted Thai subtitles for How food shapes our cities
Bongkot Charoensak edited Thai subtitles for How food shapes our cities
Pitipa Chongwatpol declined Thai subtitles for How food shapes our cities
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for How food shapes our cities
Bongkot Charoensak edited Thai subtitles for How food shapes our cities
Bongkot Charoensak edited Thai subtitles for How food shapes our cities
Show all

Thai subtitles

Revisions