< Return to Video

อดัม กรอสเซอร์ และเครื่องทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  • 0:01 - 0:04
    นี่คือการดำเนินงาน
  • 0:04 - 0:07
    บนพื้นฐานของข้อคิดเห็นที่เกิดขึ้น
  • 0:07 - 0:08
    ใน TED เมื่อสองปีก่อน
  • 0:08 - 0:12
    เกี่ยวกับความต้องการระบบการเก็บรักษาวัคซีน
  • 0:12 - 0:13
    (เสียงดนตรี)
  • 0:13 - 0:14
    บนโลกใบนี้
  • 0:14 - 0:16
    มีคนจำนวน 1.6 พันล้านคน
  • 0:16 - 0:18
    ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้
  • 0:18 - 0:22
    ระบบการทำความเย็น
  • 0:22 - 0:24
    หรือเชื้อเพลิงสำรอง
  • 0:26 - 0:28
    สิ่งเหล่านี้คือปัญหา
  • 0:28 - 0:30
    ซึ่งมีผลกระทบกับ
  • 0:32 - 0:34
    การระบาดของโรค
  • 0:34 - 0:37
    การเก็บรักษาอาหารและยา
  • 0:37 - 0:40
    และคุณภาพชีวิต
  • 0:40 - 0:43
    สิ่งที่เราจะทำก็คือ สร้างเครื่องทำความเย็นราคาถูก และไม่ใช้กระแสไฟฟ้า...
  • 0:43 - 0:48
    ... โพรเพน ก๊าซเชื้อเพลิง เคโรซีน หรือวัตถุดิบใดๆทั้งสิ้น
  • 0:48 - 0:50
    ได้เวลาของอุณหพลศาสตร์
  • 0:50 - 0:53
    และเรื่องเกี่ยวกับเครื่องทำความเย็นแบบดูดซับ
  • 0:53 - 0:56
    เมื่อ 29 ปีก่อน ผมมีอาจารย์วิชาอุณหพลศาสตร์คนนึง
  • 0:57 - 0:58
    ท่านพูดถึงการดูดซับ และการทำความเย็น
  • 0:58 - 1:00
    มันเป็นเรื่องนึงที่ผมยังจำได้
  • 1:00 - 1:01
    มันมีความคล้ายกับเครื่องกวนสาร
  • 1:01 - 1:03
    มันเย็นจัด แต่ก็ไม่รู้จะทำอะไรกับมัน
  • 1:04 - 1:07
    และมันถูกคิดค้นขึ้นโดยชายชื่อ เฟอดินานด์ คารร์
  • 1:07 - 1:08
    แต่เขาก็ไม่สามารถนำมันไปสร้างเป็นอะไรได้
  • 1:08 - 1:11
    เนื่องจากในตอนนั้น เครื่องมือล้าสมัยเกินไป
  • 1:11 - 1:14
    ต่อมาชาวแคนาดาที่บ้าคลั่งชื่อ เพาเวลล์ ครอสลี่
  • 1:15 - 1:17
    นำสิ่งที่ว่านี้มาออกขายในปี 1928 โดยใช้ชื่อว่า ไอซี่บอล
  • 1:17 - 1:19
    มันป็นความคิดที่ง่ายดายเกินไป
  • 1:19 - 1:20
    ผมจะแสดงให้ดูว่าทำไมมันจึงไม่ได้ผล
  • 1:20 - 1:21
    นี่คือวิธีที่มันทำงาน
  • 1:22 - 1:24
    มีทรงกลมสองลูก ตั้งอยู่ห่างกัน
  • 1:24 - 1:26
    ลูกหนึ่งบรรจุสารทำความเย็น น้ำ และแอมโมเนีย
  • 1:27 - 1:28
    อีกลูกทำหน้าที่เป็นตัวควบแน่น
  • 1:28 - 1:30
    เมื่อคุณให้ความร้อนกับข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนที่ร้อน
  • 1:30 - 1:31
    แอมโมเนียจะระเหยกลายเป็นไอ
  • 1:31 - 1:33
    และจะไปเกิดการควบแน่นที่อีกด้าน
  • 1:34 - 1:35
    เมื่อคุณปล่อยให้มันเย็นลงจนถึงอุณหภูมิห้อง
  • 1:35 - 1:39
    แอมโมเนียจะระเหยอีกครั้ง และรวมตัวกับน้ำ
  • 1:39 - 1:40
    ไหลกับไปในส่วนที่ร้อนก่อนหน้านี้
  • 1:40 - 1:42
    ซึ่งทำให้เกิดการทำความเย็นอย่างมาก
  • 1:43 - 1:46
    มันเป็นแนวคิดที่ยอดเยี่ยม แต่กลับพังยับไม่เป็นท่า
  • 1:46 - 1:51
    เนื่องจากการใช้แอมโมเนียจะทำให้เกิดแรงดันที่สูงมาก
  • 1:51 - 1:52
    ถ้าคุณให้ความร้อนมันไม่ถูกวิธี
  • 1:52 - 1:56
    ความดันสามารถขึ้นไปถึง 400 ปอนด์ต่ตารางนิ้ว แอมโมเนียซึ่งมีพิษ จะกระจายไปทั่ว
  • 1:56 - 1:58
    แต่มันก็เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ
  • 1:58 - 2:01
    ในปี 2006 สิ่งพิเศษที่เกิดขึ้นก็คือ
  • 2:01 - 2:04
    คุณสามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้มากขึ้น
  • 2:04 - 2:07
    เราจึงได้ร่วมมือกับแผนกอุณหพลศาสตร์
  • 2:07 - 2:08
    มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด
  • 2:08 - 2:09
    ด้วยการคำนวณเกี่ยวกับกลศาสตร์ของไหล
  • 2:10 - 2:13
    เราค้นพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับการทำความเย็นด้วยแอมโมเนียนั้นไม่ถูกต้อง
  • 2:13 - 2:16
    เราพบสารทำความเย็นที่ไม่มีพิษบางชนิด
  • 2:16 - 2:17
    ที่สามารถนำมาใช้งานที่ความดันไอต่ำ
  • 2:17 - 2:20
    เมื่อร่วมมือกับทีมงานจากอังกฤษ
  • 2:20 - 2:21
    ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการทำความเย็นมากมาย
  • 2:21 - 2:23
    และกลายเป็นว่าในอังกฤษ
  • 2:23 - 2:25
    เราทำการสร้างเครื่องทดสอบ เพื่อทำการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ว่า
  • 2:25 - 2:28
    เราสามารถสร้างเครื่องทำความเย็นที่มีความดันด่ำ และไม่มีพิษ
  • 2:29 - 2:30
    นี่คือวิธีทำงานของมัน
  • 2:30 - 2:31
    เมื่อคุณวางมันลงบนไฟที่ใช้ทำอาหาร
  • 2:31 - 2:33
    แทบทุกคนบนโลกมีไฟเพื่อใช้ประกอบอาหาร
  • 2:33 - 2:34
    ไม่ว่าจะมาจากมูลของอูฐ หรือฟืน
  • 2:35 - 2:38
    ให้ความร้อนมัน 30 นาที แล้วปล่อยให้เย็นในหนึ่งชั่วโมง
  • 2:38 - 2:40
    นำไปวางในภาชนะ
  • 2:41 - 2:43
    มันจะทำความเย็นได้นาน 24 ชั่วโมง
  • 2:43 - 2:46
    มันมีรูปร่างเช่นนี้ นี่คือต้นแบบลำดับที่ห้า ซึ่งยังไม่เสร็จสมบูรณ์
  • 2:47 - 2:50
    น้ำหนักประมาน 8 ปอนด์ และนี่คือวิธีใช้
  • 2:50 - 2:53
    คุณใส่มันลงไปในถังขนาด 15 ลิตร หรือประมาณ 3 แกลลอน
  • 2:54 - 2:56
    มันจะเย็นลงจนเกือบถึงจุดเยือกแข็ง
  • 2:56 - 2:57
    ประมาณ 3 องศาเซลเซียส
  • 2:58 - 3:01
    นาน 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิภายนอก 30 องศาเซลเซียส แถมมันยังมีราคาถูกมาก
  • 3:01 - 3:04
    เราคิดว่าหากผลิตจำนวนมาก ต้นทุนจะอยู่ที่ประมาณ 25 ดอลล่าร์
  • 3:04 - 3:06
    และประมาณ 40 ดอลล่าร์ หากผลิตจำนวนน้อย
  • 3:06 - 3:08
    และเราคิดว่าเราสามารถทำให้การทำความเย็น
  • 3:09 - 3:10
    เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้
  • 3:10 - 3:11
    ขอบคุณครับ
  • 3:11 - 3:14
    (เสียงปรบมือ)
Title:
อดัม กรอสเซอร์ และเครื่องทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Speaker:
Adam Grosser
Description:

อดัม กรอสเซอร์ บรรยายโครงการสร้างเครื่องทำความเย็นที่ทำงานได้โดยไม่ใช้กระแสไฟฟ้า และนำเครื่องมือที่จำเป็นนี้ไปสู่หมู่บ้าน และคลีนิคทั่วโลก ด้วยการนำแนวคิดเก่ามาดัดแปลง เขาคิดค้นระบบใหม่ทีี่ใช้งานได้จริง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
03:13
Kietsakul Watcharinyanon added a translation

Thai subtitles

Revisions