< Return to Video

อริสโตเติล และ โจชัว เบลล์ สอนอะไรเราเรื่องการจูงใจ - คอร์เนอร์ นิลล์

  • 0:15 - 0:19
    เมื่อวันที่ 9 มกราคม ปี 2007
  • 0:19 - 0:22
    โจชัว เบลล์ นักไวโอลินระดับโลก
  • 0:22 - 0:24
    เล่นให้ผู้ชมเต็มหอประชุม
  • 0:24 - 0:28
    กว่าพันคนฟัง ณ หอประชุม บอสตัน สเตท ซิมโฟนี ฮอลล์
  • 0:28 - 0:32
    บัตรที่นั่งแต่ละที่ล้วนมีราคา
    ไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยเหรียญสหรัฐ
  • 0:32 - 0:35
    เขาเคยชินกับโชว์ที่บัตรขายหมดทุกที่นั่ง
  • 0:35 - 0:39
    เค้ากำลังอยู่ในจุดสูงสุด
    ของอาชีพการงานและความมีชื่อเสียง
  • 0:39 - 0:41
    สามวันต่อมา
  • 0:42 - 0:45
    โจชัว เบลล์ เล่นดนตรีอีกครั้ง
  • 0:45 - 0:46
    แต่คราวนี้ไม่มีใครฟัง
  • 0:48 - 0:51
    อาจจะมีซักหกคนที่หยุดฟังสักครู่หนึ่ง
  • 0:51 - 0:54
    กับเด็กคนหนึ่งที่หยุดดูเป็นเวลานาน
  • 0:54 - 0:58
    ประหนึ่งว่าเขาเข้าใจ
    ว่ามีบางสิ่งที่พิเศษกำลังเกิดขึ้น
  • 0:58 - 1:01
    โจชัว พูดถึงประสบการณ์ครั้งนั้นว่า
  • 1:01 - 1:06
    “มันเป็นความรู้สึกที่แปลกประหลาด
    ที่ผู้คนไม่สนใจผม”
  • 1:08 - 1:13
    โจชัว เล่นไวโอลินที่สถานีรถไฟใต้ดิน
  • 1:15 - 1:18
    "ในหอประชุม ผมมักจะหงุดหงิด
    หากมีใครส่งเสียงกระแอมไอ
  • 1:18 - 1:21
    หรือมีเสียงโทรศัพท์ดัง
  • 1:21 - 1:25
    แต่ที่นี่ความคาดหวังของผมไม่เหลือเลย
  • 1:25 - 1:29
    ผมรู้สึกตื้นตันอย่างมาก
    เมื่อมีใครโยนเงินให้สักเหรียญหนึ่ง"
  • 1:32 - 1:34
    อะไรที่ทำให้แตกต่างล่ะ?
  • 1:34 - 1:35
    ดนตรีชนิดเดียวกัน
  • 1:35 - 1:37
    ไวโอลินตัวเดียวกัน
  • 1:37 - 1:38
    เล่นด้วยความตั้งใจเท่าๆกัน
  • 1:38 - 1:40
    แถมยังเล่นโดยคนคนเดียวกัน
  • 1:40 - 1:45
    ทำไมบางครั้งเราฟัง และบางครั้งก็ไม่ฟัง?
  • 1:46 - 1:50
    อริสโตเติล สามารถอธิบายได้
  • 1:50 - 1:53
    ว่าอะไรคือสิ่งที่โน้มน้าวผู้คนได้
  • 1:53 - 1:55
    เมื่อ 2300 ปีก่อน
  • 1:55 - 1:59
    อริสโตเติลเขียนหนังสือ
    ที่สำคัญเล่มที่สุดเกี่ยวกับแรงจูงใจ
  • 1:59 - 2:00
    ชื่อ “วาทศิลป์” (Rhetoric)
  • 2:00 - 2:05
    ศาสตร์แห่งการจูงใจ 3 ประการ:
  • 2:05 - 2:06
    โลกอส
    (Logos - ถ้อยคำ)
  • 2:06 - 2:07
    เอธอส
    (Ethos - ภาพลักษณ์)
  • 2:07 - 2:09
    พาธอส
    (Pathos - ความรู้สึกร่วม)
  • 2:09 - 2:14
    โลกอส (Logos) คือการที่ความคิด
    ฟังดูเป็นเหตุเป็นผลดีในมุมมองของผู้ฟัง
  • 2:14 - 2:17
    ซึ่งมักจะแตกต่างจากมุมมองของผู้พูด
  • 2:17 - 2:18
    เลยต้องมีความพยายาม
  • 2:18 - 2:21
    ทำให้ความคิดนั้น
    เกี่ยวเนื่องกับมุมมองของผู้คนทั่วไป
  • 2:21 - 2:24
    ตรงกับความเจ็บปวด และความยากลำบากของผู้ฟัง
  • 2:24 - 2:26
    ถ้อยคำที่มีเหตุผลก็เหมือนกับดนตรีชั้นดี
  • 2:26 - 2:30
    เพราะดนตรีชั้นดี
    ก็ถูกประพันธ์ขึ้นตามกฎของการประพันธ์ดนตรี
  • 2:30 - 2:32
    การโต้แย้งที่ดี
    ก็ต้องเป็นไปตามหลักตรรกะบางอย่าง
  • 2:32 - 2:36
    เพื่อให้มันฟังดูสมเหตุสมผลสำหรับผู้ชม
  • 2:36 - 2:40
    เอธอส (Ethos) ก็คือชื่อเสียง
    สิ่งที่คนรู้จักเกี่ยวกับคุณ
  • 2:40 - 2:44
    ความน่าเชื่อถือ คุณดูเป็นมืออาชีพหรือไม่
  • 2:44 - 2:47
    ไว้ใจได้ไหม มีแนวคิดที่ชัดเจนหรือเปล่า
  • 2:47 - 2:51
    ผู้ฟังรู้สึกว่า คุณสนใจความรู้สึกของพวกเขา
    พอๆกับที่คุณสนใจตัวเองหรือไม่
  • 2:51 - 2:55
    การใช้อำนาจคือความมั่นใจ บวกกับข้อความที่ตรงประเด็น
  • 2:55 - 2:58
    ด้วยการสื่อสารที่ชัดเจน เสียงดังฟังชัด
  • 2:58 - 3:01
    พาธอส (Pathos) คือการมีส่วนร่วมทางอารมณ์
  • 3:01 - 3:06
    เรื่องเล่า เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์
    ใช้สร้างอารมณ์ร่วมได้ดีที่สุด
  • 3:06 - 3:08
    บางครั้งในระหว่างที่เราพูด ผู้ฟังอาจยังไม่พร้อม
  • 3:08 - 3:10
    ที่จะฟังเนื้อความต่างๆ
  • 3:10 - 3:15
    ผู้พูดจึงควรสร้างสภาพแวดล้อม
    ที่เหมาะสมกับสิ่งที่เขาต้องการสื่อสาร
  • 3:15 - 3:17
    อะไรที่เปลี่ยนไป?
  • 3:17 - 3:20
    ทำไมผู้คนเดินทางมาจากที่ไกลๆ
    เพื่อฟังเขาเล่นไวโอลินในคืนหนึ่ง
  • 3:20 - 3:24
    และไม่แม้แต่จะหยุดฟังในเช้าวันต่อมา
  • 3:24 - 3:29
    คำตอบคือ เขาขาด เอธอส (Ethos) และพาธอส Pathos
  • 3:29 - 3:30
    เอธอส (Ethos - ภาพลักษณ์)
  • 3:30 - 3:34
    สถานที่จัดคอนเสิร์ต ที่เป็นหอประชุมขนาดใหญ่
  • 3:34 - 3:37
    สร้างความน่าเชื่อถือให้กับการเล่นของ โจชัว
  • 3:37 - 3:40
    เราเชื่อในสถาบัน เราจึงเชื่อมั่นในโจชัว
  • 3:40 - 3:43
    สถานีรถไฟใต้ดินไม่ได้สร้างความน่าเชื่อถือ
    ในฐานะนักดนตรีให้กับเขา
  • 3:43 - 3:45
    ผู้คนจึงไม่คาดหวังที่จะได้เห็นงานศิลปะชั้นยอด
  • 3:45 - 3:46
    ดนตรีชั้นครู
  • 3:46 - 3:48
    หรือไอเดียที่ยอดเยี่ยม
  • 3:48 - 3:51
    ดังนั้นมันจึงไม่ได้สร้างความน่าเชื่อถือให้กับโจชัว
  • 3:52 - 3:54
    พาธอส (Pathos - ความรู้สึกร่วม)
  • 3:54 - 3:56
    หอประชุมถูกออกแบบมา
    เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทางอารมณ์
  • 3:56 - 3:59
    ระหว่างผู้ชมและศิลปินผู้แสดง
  • 3:59 - 4:01
    แต่สถานีรถไฟไม่ได้เป็นแบบนั้น
  • 4:01 - 4:04
    ความเคลื่อนไหว ความวุ่นวาย และความเครียด ไม่เอื้อต่อ
  • 4:04 - 4:09
    การเกิดอารมณ์ร่วมระหว่างผู้แสดงและผู้ชม
  • 4:09 - 4:11
    โลกอส (ถ้อยคำ)
  • 4:11 - 4:12
    เอธอส (ภาพลักษณ์)
  • 4:12 - 4:14
    พาธอส (ความรู้สึกร่วม)
  • 4:14 - 4:17
    แนวคิดเหล่านี้พึ่งพา
    และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
  • 4:17 - 4:18
    นี่คือสิ่งที่ โจชัว เบลล์ ได้เรียนรู้
  • 4:18 - 4:22
    ในวันที่อากาศหนาววันหนึ่ง
    ในเดือนมกราคม ปี 2007
  • 4:23 - 4:24
    ถ้าคุณมีความคิดดีๆ
  • 4:24 - 4:28
    คุณจะสร้างความน่าเชื่อถือ
    และการมีส่วนร่วมให้มันอย่างไร?
Title:
อริสโตเติล และ โจชัว เบลล์ สอนอะไรเราเรื่องการจูงใจ - คอร์เนอร์ นิลล์
Description:

ดูบทเรียนได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/what-aristotle-and-joshua-bell-can-teach-us-about-persuasion-conor-neill

ลองจินตนาการว่าคุณเป็นนักไวโอลินที่เก่งที่สุดในโลก และคุณตัดสินใจลองไปเล่นในสถานีรถไฟใต้ดิน เพื่อดูว่า จะมีใครหยุดชื่นชมคุณหรือไม่ ถ้าไม่ได้เล่นในหอประชุม หรือรู้จักชื่อเสียงของคุณ... โจชัว เบลล์ ได้ลองทำแบบนั้น และ คอร์เนอร์ นิลล์ ก็ได้นำมาเล่าจากมุมมองของอริสโตเติลให้เราฟังว่าทำไมบริบทแวดล้อมจึงสำคัญ

บทเรียน โดย คอร์เนอร์ นิลล์
อนิเมชั่น โดย อนิเมชั่นฮัส

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:40

Thai subtitles

Revisions Compare revisions