สู้กับความรุนแรงทางเพศด้วยเสียงของคุณ
-
0:01 - 0:04การพูดถึงการให้อำนาจ (empowerment)
นั้นแปลก -
0:04 - 0:06เพราะเมื่อเราพูดถึงการให้อำนาจ
-
0:06 - 0:07สิ่งที่มีผลต่อเรามากที่สุดคือเรื่องราว
-
0:10 - 0:12ฉันเลยอยากเริ่มด้วยเรื่องราวชีวิตประจำวัน
-
0:12 - 0:17เรื่องจริงของชีวิตหญิงสาวในอินเดีย
-
0:17 - 0:19ตลอดเวลา 27 ปีที่ผ่านมาของชีวิต
-
0:19 - 0:21ฉันอยู่ที่อินเดีย ในเมืองเล็ก 3 เมือง
-
0:21 - 0:23ในเมืองใหญ่ 2 เมือง
-
0:23 - 0:26และมีประสบการณ์หลายครั้ง
-
0:26 - 0:28ตอนฉันอายุ 7 ขวบ
-
0:28 - 0:30ครูสอนพิเศษที่มาที่บ้าน
-
0:30 - 0:35เพื่อสอนวิชาเลข ได้ลวนลามฉัน
-
0:35 - 0:37เขาล้วงมือเข้าไปในกระโปรงฉัน
-
0:41 - 0:44เขาล้วงมือเข้าไปในกระโปรงฉัน และบอกฉันว่า
-
0:44 - 0:48เขารู้วิธีที่จะทำให้ฉันรู้สึกดี
-
0:48 - 0:51ตอนอายุ 17 เด็กผู้ชายคนนึงที่โรงเรียน
-
0:51 - 0:53ส่งอีเมล์กระจายไปทั่ว
-
0:53 - 0:55พูดถึงสิ่งรุนแรงต่างๆ ทางเพศ
-
0:55 - 0:58ที่เขาจะทำกับฉัน
-
0:58 - 1:02เพียงเพราะฉันไม่สนใจเขา
-
1:02 - 1:06ตอนอายุ 19 ฉันช่วยเหลือเพื่อนคนหนึ่ง
-
1:06 - 1:09ที่ถูกพ่อแม่บังคับให้แต่งงานกับผู้ชายที่แก่กว่า
-
1:09 - 1:12ให้หลบหนีออกจากการแต่งงานแบบคลุมถุงชน
-
1:12 - 1:14ตอนอายุ 21 เมื่อฉันกำลังเดินอยู่กับเพื่อน
-
1:14 - 1:19บนถนนตอนบ่ายวันหนึ่ง
-
1:19 - 1:20ผู้ชายคนหนึ่งดึงกางเกงลง
-
1:20 - 1:23แล้วช่วยตัวเองต่อหน้าพวกเรา
-
1:23 - 1:28พวกเราร้องขอความช่วยเหลือ แต่ไม่มีใครช่วย
-
1:28 - 1:33ตอนอายุ 25 ฉันกำลังเดินกลับบ้านตอนเย็น
-
1:33 - 1:36ผู้ชายสองคนบนรถมอเตอร์ไซค์ทำร้ายฉัน
-
1:36 - 1:38ฉันใช้เวลาสองคืนในโรงพยาบาล
-
1:38 - 1:41เพื่อรักษาตัวจากอาการช็อกและบาดแผล
-
1:41 - 1:46ตลอดชีวิตที่ผ่านมาของฉัน ฉันเห็นผู้หญิง
-
1:46 - 1:48ครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน
-
1:48 - 1:51ใช้ชีวิตที่ต้องพบเจอกับประสบการณ์แบบนี้
-
1:51 - 1:54โดยไม่ค่อยพูดถึงมัน
-
1:54 - 1:59สรุปง่ายๆ ก็คือ ชีวิตในอินเดียนั้นลำบาก
-
1:59 - 2:02แต่วันนี้ฉันไม่ได้จะมาพูดเรื่องความกลัวนี้
-
2:02 - 2:04ฉันจะพูดเกี่ยวกับเส้นทางที่น่าสนใจ
-
2:04 - 2:08เส้นทางการเรียนรู้ที่ความกลัวนี้พาฉันไป
-
2:08 - 2:12เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2555
-
2:12 - 2:14ได้เปลี่ยนชีวิตฉัน
-
2:14 - 2:17หญิงสาวคนหนึ่ง นักศึกษาอายุ 23 ปี
-
2:17 - 2:22ได้ขึ้นรถเมล์ในกรุงเดลีกับเพื่อนชายของเธอ
-
2:22 - 2:25บนรถเมล์มีผู้ชายหนุ่มอีก 6 คน
-
2:25 - 2:28ที่คุณอาจจะเจอได้ในทุกๆ วันในอินเดีย
-
2:28 - 2:30เรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อจากนั้น
-
2:30 - 2:32ถูกเอามาพูดถึงซ้ำแล้วซ้ำอีก
-
2:32 - 2:34ทั้งในสื่อของอินเดียและนานาชาติ
-
2:34 - 2:38หญิงสาวคนนั้นถูกข่มขืนหลายครั้ง
-
2:38 - 2:41ถูกล่วงละเมิดทางเพศด้วยแท่งเหล็กทื่อๆ
-
2:41 - 2:44ถูกทุบตี ถูกกัด และถูกทิ้งไว้ให้ตาย
-
2:44 - 2:46เพื่อนของเธอถูกอุดปาก ถูกทำร้าย
-
2:46 - 2:50และถูกทำให้หมดสติ
-
2:50 - 2:54เธอตายในวันที่ 29 ธันวาคม
-
2:54 - 2:56และช่วงเวลาที่พวกเราส่วนมาก
-
2:56 - 2:58กำลังเตรียมตัวฉลองปีใหม่
-
2:58 - 3:01อินเดียตกอยู่ในความมืดมิด
-
3:01 - 3:05เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเรา
-
3:05 - 3:07ที่ชายและหญิงในเมืองต่างๆของอินเดีย
-
3:07 - 3:09ได้ตื่นขึ้นมาพบความจริงที่โหดร้าย
-
3:09 - 3:13เกี่ยวกับสถานการณ์ที่แท้จริง
ของผู้หญิงในประเทศนี้ -
3:13 - 3:15เช่นเดียวกับหญิงสาวคนอื่นๆ
-
3:15 - 3:17ฉันรู้สึกกลัวเป็นที่สุด
-
3:17 - 3:18ฉันไม่อยากเชื่อเลยว่า
-
3:18 - 3:22เหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้น
ในเมืองหลวงของประเทศ -
3:22 - 3:24ฉันรู้สึกโกรธ และรู้สึกผิดหวัง
-
3:24 - 3:28แต่ที่มากที่สุดคือฉันรู้สึกไร้อำนาจ
-
3:28 - 3:30แต่ก็นั่นแหละ เราจะทำอะไรได้
-
3:30 - 3:32บางคนเขียนบล็อก บางคนไม่สนใจ
-
3:32 - 3:34บางคนร่วมประท้วง
-
3:34 - 3:37ฉันทำทุกอย่างที่พูดมา เหมือนที่ทุกๆคนทำ
-
3:37 - 3:38เมื่อสองปีที่แล้ว
-
3:38 - 3:41ในสื่อเต็มไปด้วยเรื่องราว
-
3:41 - 3:43เกี่ยวกับการกระทำโหดร้ายต่างๆ
-
3:43 - 3:45ที่ผู้ชายอินเดียสามารถทำได้
-
3:45 - 3:46พวกเขาถูกเปรียบเทียบเป็นสัตว์
-
3:46 - 3:49สัตว์ร้ายที่เก็บกดทางเพศ
-
3:49 - 3:53เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันช่างไม่คาดฝัน
-
3:53 - 3:54ในความคิดของคนอินเดีย
-
3:54 - 3:56จนปฏิกิริยาจากสื่ออินเดีย
-
3:56 - 4:00จากสังคมและนักการเมือง แสดงให้เห็นว่า
-
4:00 - 4:02ไม่มีใครรู้ว่าต้องทำอย่างไร
-
4:02 - 4:05และไม่มีใครต้องการจะรับผิดชอบ
-
4:05 - 4:07มีความคิดเห็นที่ไม่ละเอียดอ่อนจำนวนหนึ่ง
-
4:07 - 4:08ถูกนำเสนอในสื่อ
-
4:08 - 4:10ที่ถูกกล่าวโดยบุคคลที่มีชื่อเสียง
-
4:10 - 4:15เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิง
โดยทั่วไป -
4:15 - 4:18ความเห็นแรกเป็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
-
4:18 - 4:21ความเห็นที่สองเป็นของผู้นำทางศาสนา
-
4:21 - 4:24และความเห็นที่สามเป็นของ
ทนายความฝั่งจำเลย -
4:24 - 4:26เมื่อหญิงสาวกำลังต่อสู้เพื่อชีวิต
-
4:26 - 4:29และเธอเสียชีวิต
-
4:29 - 4:32ในฐานะผู้หญิงที่เห็นแบบนี้วันแล้ววันเล่า
-
4:32 - 4:34ฉันเหนื่อย
-
4:34 - 4:36ในฐานะนักเขียนและนักเคลื่อนไหวเรื่องเพศ
-
4:36 - 4:39ฉันได้เขียนโดยละเอียดเกี่ยวกับผู้หญิง
-
4:39 - 4:42แต่ครั้งนี้ ฉันพบว่ามันต่างออกไป
-
4:42 - 4:43เพราะส่วนหนึ่งของฉันค้นพบว่า
-
4:43 - 4:46ฉันเป็นส่วนหนึ่งของหญิงสาวคนนั้นเหมือนกัน
-
4:46 - 4:48และฉันตัดสินใจว่าฉันต้องการจะเปลี่ยน
-
4:48 - 4:52ฉันเลยทำอะไรบางอย่างเอง แบบรีบๆ
-
4:52 - 4:55ฉันเข้าไปในระบบข่าวสารโดยประชาชน
-
4:55 - 4:56ที่เรียกว่าไอรีพอร์ท (iReport)
-
4:56 - 4:59และบันทึกวิดีโอที่พูดถึง
-
4:59 - 5:01สถานการณ์ในบังกาลอร์
-
5:01 - 5:02ฉันพูดว่าฉันรู้สึกอย่างไร
-
5:02 - 5:04พูดเรื่องความจริงในพื้นที่
-
5:04 - 5:09และพูดเกี่ยวกับความลำบากในการอยู่อินเดีย
-
5:09 - 5:13ในไม่กี่ชั่วโมง บล็อกถูกแชร์อย่างกว้างขวาง
-
5:13 - 5:15และความคิดเห็นหลั่งไหลเข้ามา
-
5:15 - 5:16จากทั่วโลก
-
5:16 - 5:20ในขณะนั้น ฉันได้รู้บางสิ่งบางอย่าง
-
5:20 - 5:24อย่างแรก เทคโนโลยีนั้นเป็นเครื่องมือ
-
5:24 - 5:27สำหรับผู้หญิงสาวหลายๆ คน เหมือนอย่างฉัน
-
5:27 - 5:31อย่างที่สอง เช่นเดียวกับฉัน ผู้หญิงส่วนมาก
-
5:31 - 5:34ไม่ค่อยใช้เทคโนโลยี
แสดงความเห็นของตัวเอง -
5:34 - 5:38อย่างที่สาม ฉันค้นพบเป็นครั้งแรก
-
5:38 - 5:41ว่าเสียงของฉันก็มีความสำคัญ
-
5:41 - 5:43ดังนั้น ในช่วงเดือนต่อๆ มา
-
5:43 - 5:45ฉันรายงานเกี่ยวกับเหตุการ์ต่างๆ ในบังกาลอร์
-
5:45 - 5:49ที่ไม่ถูกพูดถึงในสื่อข่าวหลักๆ
-
5:49 - 5:52ในสวนคับเบิน สวนสาธารณะใหญ่ในบังกาลอร์
-
5:52 - 5:54ฉันเข้าร่วมกับคนกว่าร้อยคน
-
5:54 - 5:56โดยมีผู้ชายหนุ่มกลุ่มหนึ่งได้แสดงออก
-
5:56 - 5:58ด้วยการใส่กระโปรง เพื่อแสดงว่าเสื้อผ้า
-
5:58 - 6:01ไม่ได้เชื้อเชิญการข่มขืน
-
6:01 - 6:03เมื่อฉันรายงานเหตุการณ์เหล่านี้
-
6:03 - 6:06ฉันรู้สึกมีเรี่ยวแรง รู้สึกว่ามีช่องทาง
-
6:06 - 6:10ให้ระบายความรู้สึกทั้งหมดที่ฉันมี
-
6:10 - 6:12ฉันเข้าร่วมการชุมนุมที่ศาลากลางของเมือง
-
6:12 - 6:14ที่ๆนักเรียนถือป้ายข้อความอย่าง
-
6:14 - 6:17"ฆ่ามัน แขวนคอมัน"
-
6:17 - 6:21"คุณคงไม่ทำแบบนี้กับแม่หรือพี่สาวน้องสาว"
-
6:21 - 6:22ฉันไปงานรำลึกใต้แสงเทียน
-
6:22 - 6:24ที่ประชาชนมารวมตัวกัน
-
6:24 - 6:28เพื่อพูดเรื่องความรุนแรงทางเพศอย่างเปิดเผย
-
6:28 - 6:30และฉันก็บันทึกในบล็อกหลายครั้ง
-
6:30 - 6:33เกี่ยวกับความน่าเป็นห่วงของสถานการณ์
-
6:33 - 6:34ในอินเดีย ณ ขณะนั้น
-
6:34 - 6:36["ฉันมีพี่สาวน้องสาว และลูกพี่ลูกน้องที่อยู่ในเมือง
และต่างประเทศ แต่ไม่มีใครบ่นหรือพูดถึงปัญหา
ในชีวิตประจำวันอย่างที่คุณบอกเลย"] -
6:36 - 6:37เสียงสะท้อนที่เกิดทำให้ฉันสับสน
-
6:37 - 6:40ในขณะที่ความคิดเห็นให้กำลังใจ
หลั่งไหลเข้ามาจากทั่วโลก -
6:40 - 6:42ความเห็นที่โหดร้ายก็เข้ามาเช่นกัน
-
6:42 - 6:44บางคนว่าว่าฉันปากว่าตาขยิบ
-
6:44 - 6:46บางคนเรียกฉันว่าเหยื่อ
ที่แก้ต่างให้การข่มขืน -
6:46 - 6:49บางคนว่าแม้กระทั่งว่า
ฉันมีเป้าหมายทางการเมือง -
6:49 - 6:52แต่ความคิดเห็นนี้ค่อนข้างอธิบายได้ดี
-
6:52 - 6:56เกี่ยวกับสิ่งที่เราพูดถึงวันนี้
-
6:56 - 6:59แต่ฉันกำลังจะได้รู้ว่านี่ไม่ใช่ทั้งหมด
-
6:59 - 7:01ถึงแม้ฉันจะรู้สึกมีอำนาจ
-
7:01 - 7:03ด้วยเสรีภาพที่
-
7:03 - 7:05ช่องทางข่าวสารโดยประชาชนได้ให้ฉัน
-
7:05 - 7:09ฉันก็ยังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
-
7:09 - 7:12เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ฉันเข้าเฟซบุ๊ก
-
7:12 - 7:13ขณะที่ฉันกำลังเลื่อนดูฟีดข่าว
-
7:13 - 7:15ฉันก็เจอลิงค์
-
7:15 - 7:17ที่เพื่อนๆ ของฉันแชร์มา
-
7:17 - 7:19ฉันคลิกลิงค์นั้น และมันพาฉันไปที่
-
7:19 - 7:23บทความที่เขียนโดยเด็กสาวอเมริกาคนหนึ่ง
-
7:23 - 7:25ชื่อว่ามิเคลา ครอส
-
7:25 - 7:27บทความนั้นมีหัวข้อว่า
-
7:27 - 7:30"อินเดีย: เรื่องที่คุณไม่เคยอยากได้ยิน"
-
7:30 - 7:33ในเนื้อความ เธอเล่าประสบการณ์ที่เธอ
-
7:33 - 7:37ถูกล่วงละเมิดทางเพศในอินเดีย
-
7:37 - 7:41เธอเขียนว่า "มันไม่มีทางที่จะ
เตรียมรับมือได้เลยกับสายตา -
7:41 - 7:43สายตาที่จ้องมาทุกๆ วัน
-
7:43 - 7:46ที่แสดงสิทธิ์ในร่างกายของฉัน
-
7:46 - 7:47โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสีหน้า
-
7:47 - 7:50ไม่ว่าฉันจะสบตาพวกเขาหรือไม่
-
7:50 - 7:53ไม่ว่าจะเดินไปร้านขายผลไม้หรือร้านตัดเสื้อ
-
7:53 - 7:55ฉันโดนจ้องเขม็ง
-
7:55 - 7:59จนเหมือนมันจะเฉือนฉันออกมาได้เป็นชิ้นๆ"
-
7:59 - 8:03เธอเรียกอินเดียว่าสวรรค์ของนักเดินทาง
และนรกของผู้หญิง -
8:03 - 8:05เธอเล่าว่าเธอถูกสะกดรอยตาม ถูกลูบไล้
-
8:05 - 8:06และถูกแสดงการช่วยตัวเองให้เธอเห็น
-
8:06 - 8:09ตกเย็นวันนั้น สิ่งที่เธอเขียนกลายเป็นกระแส
-
8:09 - 8:12ถูกพูดถึงโดยช่องทางข่าวสารต่างๆ ทั่วโลก
-
8:12 - 8:14ทุกๆ คนพูดถึงมัน
-
8:14 - 8:15และมีคนเห็นกว่าล้านคน
-
8:15 - 8:17มีคนให้ความเห็นและส่งต่อเป็นพัน
-
8:17 - 8:19และฉันพบว่าฉันกำลังเป็นพยาน
-
8:19 - 8:21ในเหตุการณ์ที่คล้ายเดิม
-
8:21 - 8:24สื่อตกอยู้ในวงจรอุบาทว์
-
8:24 - 8:26ของความคิดเห็นและการระเบิดอารมณ์
-
8:26 - 8:30โดยไม่มีผลลัพธ์
-
8:30 - 8:32ในคืนนั้น ในขณะที่ฉันกำลังนั่งสงสัย
-
8:32 - 8:33ว่าฉันจะตอบสนองอย่างไรดี
-
8:33 - 8:36ฉันพบว่าตัวเองเต็มไปด้วยข้อสงสัย
-
8:36 - 8:39ในฐานะนักเขียน ฉันมองเรื่องนี้
-
8:39 - 8:42แบบตัวเองเป็นผู้สังเกตการณ์
-
8:42 - 8:46ในฐานะคนอินเดีย ฉันรู้สึกอาย
และไม่อยากเชื่อ -
8:46 - 8:50ในฐานะนักเคลื่อนไหว
ฉันเป็นผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิ -
8:50 - 8:53แต่ในฐานะนักข่าวพลเมือง
-
8:53 - 8:56ฉันรู้สึกอ่อนแอขึ้นมาทันที
-
8:56 - 8:58คือเธอเป็นหญิงสาวคนหนึ่ง
-
8:58 - 9:00ที่ใช้ช่องทางเพื่อพูดถึง
-
9:00 - 9:02ประสบการณ์ของเธอ เหมือนที่ฉันเคยทำ
-
9:02 - 9:05แต่ฉันก็ยังรู้สึกไม่สบายใจ
-
9:05 - 9:06ไม่เคยมีใครบอกคุณว่า
-
9:06 - 9:09การให้อำนาจที่แท้จริงนั้น
มาจากการให้ตัวคุณเอง -
9:09 - 9:12ให้ซึ่งสิทธิ์ในการคิดและแสดงออก
-
9:12 - 9:14การให้อำนาจมักจะถูกทำให้ฟังเหมือนกับ
-
9:14 - 9:17มันให้จะผลลัพธ์ที่ดีเลิศ
-
9:17 - 9:19เมื่อเราพูดถึงการให้อำนาจ
-
9:19 - 9:23เรามักพูดถึงการให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูล
-
9:23 - 9:25ให้เข้าถึงเครื่องมือ
-
9:25 - 9:28แต่ที่จริงแล้ว การให้อำนาจนั้น
เป็นเรื่องของความรู้สึก -
9:28 - 9:29รู้สึกว่าเรามีอำนาจ
-
9:29 - 9:32ก้าวแรกในการมีอำนาจ
-
9:32 - 9:35ก็คือการให้อำนาจแก่ตัวคุณเอง
-
9:35 - 9:37ให้กุญแจเพื่อไขเปิดความต้องการของคุณเอง
-
9:37 - 9:38และสำหรับผู้หญิงในทุกๆ ที่แล้ว
-
9:38 - 9:41ไม่ว่าเราจะเป็นใครหรือมาจากไหน
-
9:41 - 9:44นั่นเป็นก้าวที่ยากที่สุด
-
9:44 - 9:47เรากลัวเสียงของเราเอง
-
9:47 - 9:50เพราะมันหมายถึงการยอมรับ
แต่นั่นแหละ มันคือการ -
9:50 - 9:53ให้พลังแก่เรา เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
-
9:53 - 9:55ในสถานการณ์ที่ฉันกำลังเผชิญอยู่นั้น
-
9:55 - 9:57ด้วยความที่มีความจริงหลากหลายแบบ
-
9:57 - 9:59ฉันไม่แน่ใจว่าจะตัดสินมันอย่างไร
-
9:59 - 10:02เพราะฉันไม่รู้ว่ามัน
จะหมายความว่าอย่างไรต่อตัวฉัน -
10:02 - 10:05ฉันกลัวที่จะตัดสินเพราะว่า
ฉันไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร -
10:05 - 10:08ถ้าฉันคิดไม่เหมือนเด็กสาวคนนี้
-
10:08 - 10:09ฉันไม่รู้ว่ามันจะเป็นอย่างไร
-
10:09 - 10:14ถ้าฉันโต้แย้งความจริงของคนอื่น
-
10:14 - 10:16แต่ที่จริงแล้ว มันก็ง่าย
-
10:16 - 10:17ฉันแค่ต้องตัดสินใจว่า
-
10:17 - 10:21จะพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่พูด
-
10:21 - 10:23หลังจากที่ได้ไตร่ตรอง
-
10:23 - 10:25ฉันได้อัดบล็อกวีดีโอเพื่อแสดงความเห็น
-
10:25 - 10:27และฉันบอก มิเคลา ว่า
-
10:27 - 10:30อินเดียนั้นมีหลายด้าน
-
10:30 - 10:35และฉันก็พยายามอธิบาย
-
10:35 - 10:37ว่ามันจะไม่เป็นไร
-
10:37 - 10:40และแสดงความเสียใจต่อสิ่งที่เธอได้เจอ
-
10:40 - 10:43สองสามวันถัดมา ฉันได้รับเชิญให้ไปพูดคุย
-
10:43 - 10:44ออกอากาศกับเธอ
-
10:44 - 10:48และเป็นครั้งแรก
ที่ฉันได้ยื่นมือเข้าไปหาเด็กสาวคนนี้ -
10:48 - 10:51คนที่ฉันไม่เคยเจอ คนที่เคยอยู่ไกล
-
10:51 - 10:54แต่เป็นคนที่ฉันรู้สึกใกล้ชิดด้วย
-
10:54 - 10:56เมื่อบทความนี้ได้รับความสนใจ
-
10:56 - 10:59หนุ่มสาวจำนวนมากกว่าที่เคย
-
10:59 - 11:02เริ่มพูดเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ
ในมหาวิทยาลัย -
11:02 - 11:05และมหาวิทยาลัยที่มิเคลาเรียนอยู่
-
11:05 - 11:09ให้ความช่วยเหลือที่เธอต้องการ
-
11:09 - 11:11มหาวิทยาลัยยังได้ริเริ่ม
-
11:11 - 11:13การอบรมนักเรียนเพื่อช่วยให้พวกเขา
-
11:13 - 11:15มีทักษะที่จำเป็นเพื่อรับมือ
-
11:15 - 11:18สถานการณ์ที่ท้าทาย เช่น การถูกล่วงละเมิด
-
11:18 - 11:22เป็นครั้งแรกที่ฉันไม่รู้สึกโดดเดี่ยว
-
11:22 - 11:25ถ้าจะมีอะไรที่ฉันได้เรียนรู้
-
11:25 - 11:27ในฐานะนักข่าวพลเมือง
-
11:27 - 11:30ในช่วงเวลาสองสามปีที่ผ่านมา
-
11:30 - 11:34ก็คือความขาดแคลนของสังคมที่จะค้นพบ
-
11:34 - 11:37ช่องทางที่จะทำให้ได้ยินเสียงของพวกเรา
-
11:37 - 11:42เราไม่ได้ระลึกว่าเมื่อเราลุกขึ้นสู้
-
11:42 - 11:43เราไม่ได้ทำในฐานะปัจเจกบุคคล
-
11:43 - 11:47แต่เราทำเพื่อชุมชนของเรา
-
11:47 - 11:48เพื่อเพื่อนของเรา
-
11:48 - 11:52พวกเราส่วนมากพูดว่า
ผู้หญิงถูกปฎิเสธสิทธิ์ต่างๆ -
11:52 - 11:54แต่ความจริงคือ บ่อยครั้ง
-
11:54 - 11:58ที่ผู้หญิงปฏิเสธสิทธิ์เหล่านั้นของตัวเอง
-
11:58 - 12:00ในการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ในอินเดีย
-
12:00 - 12:0595 % ของผู้หญิงที่ทำงานด้านไอที
-
12:05 - 12:08การบิน การโรงแรม
และศูนย์บริการทางโทรศัพท์ -
12:08 - 12:11บอกว่าพวกเธอไม่รู้สึกปลอดภัย
เมื่อกลับบ้านคนเดียว -
12:11 - 12:14หลังเลิกงานดึกหรือตอนกลางคืน
-
12:14 - 12:16ในบังกาลอร์ ที่ที่ฉันอยู่
-
12:16 - 12:18ตัวเลขนี้คือ 85 %
-
12:18 - 12:21ในพื้นที่ชนบทในอินเดีย
-
12:21 - 12:24หากดูตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเร็วๆ นี้
-
12:24 - 12:26การข่มขืนหมู่ในบุดายุน
และการทำร้ายด้วยน้ำกรด -
12:26 - 12:28ในโอริสสาและอลิการ์
-
12:28 - 12:32เราต้องทำอะไรบางอย่างแล้ว
-
12:32 - 12:34อย่าเข้าใจผิด
-
12:34 - 12:36ความท้าทายที่ผู้หญิงต้องเจอ
-
12:36 - 12:39ในการบอกเล่าเรื่องราวนั้นมีจริง
-
12:39 - 12:42แต่เราจะต้องเริ่มติดตาม
-
12:42 - 12:44และพยายามชี้ช่องทาง
-
12:44 - 12:46ในการมีส่วนร่วมในระบบ
-
12:46 - 12:50ไม่ใช่แค่ใช้สื่อแบบสะเปะสะปะ
-
12:50 - 12:53วันนี้ ผู้หญิงมากกว่าที่เคย
-
12:53 - 12:55กำลังลุกขึ้นสู้และตั้งคำถาม
-
12:55 - 12:56กับรัฐบาลอินเดีย
-
12:56 - 12:59และนี่เป็นผลของความกล้านั้น
-
12:59 - 13:02มีจำนวนผู้หญิงมากขึ้นถึง 6 เท่า
-
13:02 - 13:04ที่แจ้งการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
-
13:04 - 13:05และรัฐบาลได้ออก
-
13:05 - 13:08กฏหมายอาญา (แก้ไข) ในปี 2556
-
13:08 - 13:12เพื่อปกป้องผู้หญิงจากการถูกทำร้ายทางเพศ
-
13:12 - 13:14ก่อนจะจบ
-
13:14 - 13:16ฉันอยากจะบอกว่า
-
13:16 - 13:22ฉันรู้ว่าพวกเราหลายคนในห้องนี้มีความลับ
-
13:22 - 13:24แต่อยากให้เราออกมาพูด
-
13:24 - 13:26ให้เราสู้กับความอายและพูดถึงมันกันเถอะ
-
13:26 - 13:30มันอาจจะเป็นพื้นที่ เป็นสังคม
-
13:30 - 13:34คนที่คุณรัก ใครก็ตาม
หรืออะไรก็ตามที่คุณเลือก -
13:34 - 13:36แต่ให้เรามาพูดกันเถอะ
-
13:36 - 13:39เพราะเป็นความจริงคือ การจะหยุดปัญหานี้
-
13:39 - 13:41เริ่มต้นจากเราทุกคนเอง
-
13:41 - 13:42ขอบคุณค่ะ
-
13:42 - 13:46(เสียงปรบมือ)
- Title:
- สู้กับความรุนแรงทางเพศด้วยเสียงของคุณ
- Speaker:
- มีรา วิจายัน (Meera Vijayann)
- Description:
-
มีราเริ่มต้นด้วยการเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศที่ผู้ฟังอาจจะทนฟังได้ยาก แต่นั่นก็คือประเด็นที่ มีรา วิจายัน นักเคลื่อนไหวและนักข่าวพลเมืองต้องการจะสื่อ การพูดเกี่ยวกับหัวข้อที่ยากลำบากนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง มีรา ใช้สื่อดิจิตอลเพื่อพูดอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับประสบการณ์ความรุนแรงทางเพศที่เธอได้พบเจอในประเทศอินเดีย บ้านเกิดของเธอ และได้เรียกร้องให้ผู้หญิงคนอื่นออกมาพูดเพื่อความเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 13:58
![]() |
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Find your voice against gender violence | |
![]() |
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Find your voice against gender violence | |
![]() |
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Find your voice against gender violence | |
![]() |
Kanawat Senanan approved Thai subtitles for Find your voice against gender violence | |
![]() |
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Find your voice against gender violence | |
![]() |
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Find your voice against gender violence | |
![]() |
Yada Sattarujawong accepted Thai subtitles for Find your voice against gender violence | |
![]() |
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for Find your voice against gender violence |