Return to Video

คุณเห็นข้อผิดพลาดในพาดหัวข่าวพวกนี้หรือไม่? (ความยากระดับ 1) - เจฟฟ์ ลีก และ ลูซี แมกโกแวน

  • 0:12 - 0:14
    "ยาชนิดใหม่อาจรักษามะเร็งได้"
  • 0:14 - 0:17
    "แอสไพรินอาจลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย"
  • 0:17 - 0:19
    "การกินอาหารเช้าช่วยลดน้ำหนักได้"
  • 0:19 - 0:22
    พาดหัวข่าวสุขภาพแบบนี้มีให้เห็นอยู่ทั่ว
  • 0:22 - 0:25
    และบางทีก็ขัดแย้งกันเอง
  • 0:29 - 0:32
    แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า
    ความกังวลด้านสุขภาพที่แท้จริงคืออะไร
  • 0:32 - 0:34
    หรือแนวโน้มการรักษาที่เป็นไปได้
  • 0:34 - 0:36
    และสิ่งใดยังไม่อาจสรุปได้
  • 0:36 - 0:37
    ในทางการแพทย์
  • 0:37 - 0:40
    การพาดหัวข่าวกับผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
  • 0:40 - 0:42
    มักไม่มีความเชื่อมโยงกันอยู่บ่อยครั้ง
  • 0:42 - 0:45
    นั่นก็เพราะพาดหัวข่าว
    ออกแบบมาเพื่อดึงดูดความสนใจ
  • 0:45 - 0:48
    ซึ่งจะได้ผลดีมาก
    เมื่อทำให้ดูเหมือนเป็นเรื่องใหญ่
  • 0:48 - 0:50
    แต่ในทางกลับกัน
  • 0:50 - 0:52
    งานวิจัยจะให้ผลลัพธ์ที่มีความหมาย
  • 0:52 - 0:56
    เมื่อมีการตั้งคำถามที่ไม่กว้างเกินไป
    และมีความเจาะจง
  • 0:56 - 0:58
    วิธีที่ดีที่สุดในการก้าวข้ามช่องโหว่นี้
  • 0:58 - 1:02
    คือการอ่านเนื้อหาวิจัยต้นฉบับ
    ที่อยู่หลังพาดหัว
  • 1:02 - 1:05
    เรามาเริ่มกันที่สถานการณ์ง่าย ๆ
  • 1:05 - 1:09
    โดยพาดหัวข่าวทั้งสามนี้
    จะใช้ทดสอบทักษะของคุณ
  • 1:09 - 1:12
    ตั้งใจฟังคำอธิบายของการศึกษาแรกให้ดี
  • 1:12 - 1:15
    จากนั้นกดหยุดที่พาดหัวข่าว
    เพื่อหาข้อผิดพลาด
  • 1:15 - 1:19
    ข้อมูลทั้งหมดที่สามารถใช้เพื่อหาจุดผิด
    จะรวมอยู่ในนั้นด้วย
  • 1:19 - 1:22
    เริ่มต้นด้วยสถานการณ์สมมตินี้กัน
  • 1:22 - 1:25
    ในการศึกษาที่ใช้หนูเพื่อทดสอบยารักษามะเร็ง
  • 1:25 - 1:27
    การศึกษานี้แบ่งหนูออกเป็นสองกลุ่ม
  • 1:27 - 1:31
    กลุ่มหนึ่งรักษาด้วยยาจริง ๆ
    อีกกลุ่มรักษาด้วยยาหลอก
  • 1:31 - 1:32
    ในตอนท้ายของการทดลอง
  • 1:32 - 1:34
    หนูที่รักษาด้วยยาจริงหายจากโรค
  • 1:34 - 1:38
    ขณะหนูที่รักษาด้วยยาหลอกไม่หายจากโรค
  • 1:38 - 1:40
    คุณเห็นข้อผิดพลาดในพาดหัวข่าวนี้หรือไม่
  • 1:40 - 1:44
    "งานวิจัยพบว่ายาตัวใหม่รักษามะเร็งได้"
  • 1:44 - 1:47
    เนื่องจากหนูเป็นหัวข้อของการศึกษานี้
  • 1:47 - 1:51
    เรายังไม่อาจสรุปว่าสามารถรักษาในมนุษย์ได้
    ด้วยผลการวิจัยนี้ได้
  • 1:51 - 1:56
    ในความเป็นจริง การวิจัยตัวยาใหม่ ๆ
    และการรักษาจะไม่ใช้มนุษย์ในการทดลอง
  • 1:56 - 1:58
    แต่ถ้าหากผลการทดลองมีแววเป็นไปได้
  • 1:58 - 2:03
    จะมีการทดลองทางคลินิกตามมา
    เพื่อตัดสินใจว่าใช้ในมนุษย์ได้หรือไม่
  • 2:03 - 2:05
    ตอนนี้คุณก็ได้อุ่นเครื่องไปแล้ว
  • 2:05 - 2:06
    งั้นมาดูตัวอย่างที่พลิกแพลงมากขึ้น
  • 2:06 - 2:10
    การศึกษาเกี่ยวกับผลของแอสไพริน
    ต่อความเสี่ยงภาวะหัวใจวาย
  • 2:10 - 2:15
    การศึกษานี้
    ได้แบ่งกลุ่มชายเป็น 2 กลุ่ม
  • 2:15 - 2:17
    กลุ่มหนึ่งให้กินแอสไพรินทุกวัน
  • 2:17 - 2:20
    ขณะที่อีกกลุ่มให้กินยาหลอกแทนทุกวัน
  • 2:20 - 2:21
    ในตอนท้ายของการทดลอง
  • 2:21 - 2:24
    กลุ่มที่ไม่ได้กินแอสไพรินมีภาวะหัวใจวาย
    อย่างมีนัยสำคัญ
  • 2:24 - 2:26
    มากกว่ากลุ่มที่กินแอสไพริน
  • 2:26 - 2:30
    จากสถานการณ์นี้ พาดหัวข่าวนี้ผิดอย่างไร
  • 2:30 - 2:33
    "แอสไพรินอาจลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย"
  • 2:33 - 2:38
    ในกรณีนี้ การศึกษาแสดงให้เห็นว่า
    แอสไพรินลดภาวะหัวใจวายในชายได้จริง
  • 2:38 - 2:40
    เพราะว่าผู้เข้าร่วมมีแต่เพศชาย
  • 2:40 - 2:44
    แต่การสรุปว่า "แอสไพรินลดภาวะหัวใจวาย"
    นั้นกว้างเกินไป
  • 2:44 - 2:48
    เราไม่สามารถสรุปได้ว่าผลลัพธ์ที่พบในชาย
    จะพบในหญิงด้วยเช่นกัน
  • 2:48 - 2:53
    ส่วนใหญ่แล้วการศึกษาจะจำกัดผู้เข้าร่วม
    อันเนื่องมาจาก ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ อายุ เพศ
  • 2:53 - 2:55
    หรือปัจจัยอื่น ๆ
  • 2:55 - 2:57
    ก่อนที่การค้นพบเหล่านี้จะถูกเผยแพร่
  • 2:57 - 3:01
    จะต้องมีการศึกษาเช่นนี้ในกลุ่มอื่น ๆ ด้วย
  • 3:01 - 3:03
    ถ้าหากมีการพาดหัวข่าวโดยกล่าวรวม ๆ
  • 3:03 - 3:08
    ในตอนข่าวนั้นต้องมีการสรุปมางานวิจัย
    ที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่งานฉบับเดียว
  • 3:08 - 3:11
    คุณสามารถนำทักษะจาก 2 คำถามแรก
    มาในขั้นต่อไปได้ไหม
  • 3:11 - 3:16
    งั้นมาลองดูตัวอย่างนี้ ซึ่งเกี่ยวกับ
    ผลของการกินอาหารเช้ากับการลดน้ำหนัก
  • 3:16 - 3:20
    นักวิจัยได้มีการเกณฑ์คนจำนวนหนึ่ง
    ซึ่งไม่กินอาหารเช้า
  • 3:20 - 3:23
    และขอให้พวกเขาเริ่มกินอาหารเช้าทุกวัน
  • 3:23 - 3:27
    ผู้เข้าร่วมซึ่งประกอบไปด้วย
    ชายและหญิงในช่วงวัยและภูมิหลังที่หลากหลาย
  • 3:27 - 3:29
    ตลอดระยะเวลาหนึ่งปี
  • 3:29 - 3:32
    ผู้เข้าร่วมน้ำหนัดลดลงเฉลี่ย 5 ปอนด์
    (2.27 กิโลกรัม)
  • 3:32 - 3:34
    แล้วพาดหัวข่าวผิดตรงไหนล่ะ
  • 3:34 - 3:37
    "การกินอาหารเช้าช่วยลดน้ำหนักได้"
  • 3:37 - 3:41
    ผู้เข้าร่วมในการศึกษานี้เริ่มกินอาหารเช้า
    แล้วน้ำหนักลดลง
  • 3:41 - 3:45
    แต่เรายังไม่อาจทราบได้ว่าเหตุที่น้ำหนักลดลง
    มาจากการเริ่มกินอาหารเช้าจริง ๆ
  • 3:45 - 3:47
    บางทีการติดตามน้ำหนักของพวกเขา
  • 3:47 - 3:50
    เป็นแรงกระตุ้นให้พวกเขา
    เปลี่ยนพฤติกรรมการกินไปในทางอื่น
  • 3:50 - 3:54
    เพื่อตัดปัจจัยอื่นที่เป็นไปได้
    ต่อการลดน้ำหนักออก
  • 3:54 - 3:56
    เราต้องเปรียบเทียบผู้เข้าร่วมเหล่านี้
  • 3:56 - 3:59
    กับกลุ่มที่ไม่ได้กินอาหารเช้าก่อนการวิจัย
  • 3:59 - 4:01
    และยังคงไม่กินอาหารเช้าต่อไปในการวิจัย
  • 4:01 - 4:05
    จริง ๆ แล้วพาดหัวข่าวไม่ควรนำผลการวิจัย
  • 4:05 - 4:07
    มาสรุปว่าใช้ได้ผลจริง
  • 4:07 - 4:10
    ยิ่งถ้าหากการศึกษานั้นสรุปโดย
    ไม่มีการเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ
  • 4:10 - 4:13
    คุณควรตั้งคำถามแล้วว่า
    มันน่าเชื่อถือหรือไม่
  • 4:13 - 4:15
    ตอนนี้คุณก็ได้ทดสอบทักษะของคุณ
  • 4:15 - 4:17
    ในกรณีศึกษาเกี่ยวกับพาดหัวข่าวไปแล้ว
  • 4:17 - 4:20
    คุณยังสามารถทดสอบได้ในข่าวจริง ๆ
  • 4:20 - 4:23
    ถึงแม้ว่าวิจัยฉบับเต็มอาจเสียค่าใช้จ่าย
    ในการเข้าถึง
  • 4:23 - 4:27
    คุณยังสามารถพบสรุปย่อ
    ของการออกแบบการทดลองและผลลัพธ์
  • 4:27 - 4:29
    ในบทคัดย่อที่เข้าถึงได้ฟรี
  • 4:29 - 4:31
    หรือในเนื้อความของบทความ
  • 4:31 - 4:33
    การศึกษาหนึ่งอาจให้ผลลัพธ์
  • 4:33 - 4:37
    ที่ไม่สอดคล้องกับพาดหัวข่าวที่น่าดึงดูด
  • 4:37 - 4:39
    ข้อสรุปที่ยิ่งใหญ่สำหรับปัญหาสุขภาพมนุษย์
  • 4:39 - 4:42
    ยิ่งต้องใช้เวลามากในการรวบรวมหลักฐาน
  • 4:42 - 4:43
    แต่ในขณะเดียวกัน
  • 4:43 - 4:48
    เราก็ยังตระหนักรู้ถึงวิทยาศาสตร์ที่แท้จริงได้
    ผ่านการมองข้ามพาดหัวข่าวนั้น
Title:
คุณเห็นข้อผิดพลาดในพาดหัวข่าวพวกนี้หรือไม่? (ความยากระดับ 1) - เจฟฟ์ ลีก และ ลูซี แมกโกแวน
Speaker:
เจฟฟ์ ลีก และ ลูซี แมกโกแวน
Description:

ดูบทเรียนฉบับเต็ม: https://ed.ted.com/lessons/can-you-spot-the-problem-with-these-headlines-level-1-jeff-leek-and-lucy-mcgowan

ในทางการแพทย์ การพาดหัวข่าวกับผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มักไม่มีความเชื่อมโยงกันอยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่พาดหัวข่าวออกแบบมาเพื่อดึงดูดความสนใจ แต่งานวิจัยจะให้ผลลัพธ์ที่มีความหมาย มื่อมีการตั้งคำถามที่ไม่กว้างเกินไปและมีความเจาะจง แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าความกังวลด้านสุขภาพที่แท้จริงคืออะไรและสิ่งใดยังไม่สามารถสรุปได้ เจฟฟ์ ลีก และ ลูซี แมกโกแวน จะมาอธิบายการอ่านพาดหัวข่าวอย่างทะลุปรุโปร่ง

บทเรียนโดย เจฟฟ์ ลีก และ ลูซี แมกโกแวน กำกับโดย Zedem Media

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:49

Thai subtitles

Revisions