< Return to Video

ประวัติศาสตร์ Internet | Point of View x dtac

  • 0:00 - 0:04
    รู้กันมั้ยคะว่าเน็ตที่ทุกคนใช้ดูคลิปนี้อยู่เกิดจากสงคราม
  • 0:04 - 0:05
    ว่าแต่อินเทอร์เน็ตไปเกี่ยวอะไรกับสงคราม
  • 0:05 - 0:06
    ใครเป็นคนคิดค้น
  • 0:06 - 0:08
    แล้วจากเทคโนโลยีทางการทหารเนี่ย
  • 0:08 - 0:11
    อยู่ดี ๆ กลายมาเป็นสิ่งที่ทำให้เราส่งข้อความมุ้งมิ้งหาแฟน
  • 0:11 - 0:14
    แชตเมาท์ดารา หรือว่าเอามาดูคลิปนี้ได้ยังไง
  • 0:14 - 0:16
    สวัสดีค่ะ วิวจาก channel Point of View ค่ะ
  • 0:16 - 0:19
    ช่วงนี้วิวทำทำเรื่องเกี่ยวกับสงครามเรื่องอะไรค่อนข้างเยอะใช่มั้ยคะ
  • 0:19 - 0:24
    ทุกครั้งเนี่ยจะมีคนมาคอมเมนต์ว่า สงครามไม่มีอะไรดีเลย มีแต่ความขัดแย้ง
  • 0:24 - 0:27
    แต่จริง ๆ แล้วนะคะ สงครามทำให้เกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย
  • 0:27 - 0:31
    ซึ่งต่อมาจะพัฒนามาใช้ในครัวเรือนและอินเทอร์เน็ตก็เป็นหนึ่งในนั้น
  • 0:31 - 0:32
    อยากรู้กันแล้วใช่มั้ยคะ
  • 0:32 - 0:34
    อย่าลืมกดติดตาม Point of View ให้ครบทุกช่องทางก่อนค่ะ
  • 0:34 - 0:37
    รับรองว่าจะมีเรื่องราวสนุก ๆ มาเล่าให้ฟังแน่นอน
  • 0:37 - 0:41
    สำหรับตอนนี้พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้งสนุก แล้วก็มีสาระกันหรือยังคะ
  • 0:41 - 0:43
    ถ้าพร้อมกันแล้วก็ ไปฟังกันเลย
  • 0:47 - 0:51
    ถ้าจะเล่าประวัติศาสตร์อินเทอร์เน็ตโลกนะคะ ก็ต้องย้อนไปประมาณ 50 ปีเท่านั้นค่ะ
  • 0:51 - 0:53
    ในสมัยที่คอมพิวเตอร์นี่ยังใหญ่เท่าห้องอยู่
  • 0:53 - 0:56
    แล้วก็สามารถทำงานได้แค่ทีละอย่างเดียว
  • 0:56 - 0:58
    คือไม่สามารถดูไปด้วยแล้วก็เล่น Facebook ไปด้วย
  • 0:58 - 1:02
    คอมพิวเตอร์ในสมัยนั้นค่ะ สร้างขึ้นเพื่อให้นักวิจัยแล้วก็นักวิทยาศาสตร์
  • 1:02 - 1:05
    ใช้คิดคำนวณอะไรบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถคิดคำนวณได้เองในเวลาอันสั้น
  • 1:05 - 1:08
    ซึ่งตอนนั้นเนี่ยมีปัญหาว่า
  • 1:08 - 1:11
    นอกจากจะเก็บไว้เครื่องนึงเต็มห้องเพราะเครื่องใหญ่มากแล้วเนี่ย
  • 1:11 - 1:14
    ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมาก ๆ นะคะในการเข้าไปคีย์คำสั่งข้างในค่ะ
  • 1:14 - 1:16
    ดังนั้นเวลาจะทำงานกับคอมพิวเตอร์เนี่ย
  • 1:16 - 1:18
    developer ไม่สามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงนะคะ
  • 1:18 - 1:22
    จะต้องเขียนใส่กระดาษ จึ๊ก ๆ ๆ เสร็จแล้วก็ยื่นให้ผู้เชี่ยวชาญ
  • 1:22 - 1:23
    ให้ผู้เชี่ยวชาญเอาไปคีย์ใส่คอมพิวเตอร์
  • 1:23 - 1:26
    วัดผลออกมา ถูกหรือผิดอะไรยังไง
  • 1:26 - 1:29
    เขียนใส่กระดาษ เขียน ๆ ๆ ๆ เอากลับมารายงาน developer อีกทีนึง
  • 1:29 - 1:31
    เห็นได้ชัดว่า ไม่สะดวกสบายเลยนะคะ
  • 1:31 - 1:35
    ซึ่งทุกครั้งที่มนุษย์เราเนี่ย รู้สึกไม่สะดวกสบายกับอะไร มนุษย์เราจะพัฒนาค่ะ
  • 1:35 - 1:39
    จากเหตุการณ์นี้ ทำให้เกิดการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้นขึ้นนะคะ
  • 1:39 - 1:41
    โดยเริ่มมีการต่อสายออกมานอกห้อง
  • 1:41 - 1:44
    ซึ่งทำให้เหล่า developer สามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้เองโดยตรง
  • 1:44 - 1:46
    แต่ว่าเป็นการสั่งงานระยะไกล
  • 1:46 - 1:50
    การสั่งงานระยะไกลแบบนี้่ค่ะ ทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ในโลกจินตนาการกันว่า
  • 1:50 - 1:54
    เอ๊ะ หรือว่าจริง ๆ แล้วอะ คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องไม่จำเป็นต้องทำอะไรแค่อย่างเดียว
  • 1:54 - 1:56
    เราสามารถต่อหลาย ๆ สายได้มั้ย
  • 1:56 - 2:00
    ต่อไปสักสี่ทางให้นักวิทยาศาสตร์สี่คนเนี่ย ใช้งานคอมพิวเตอร์พร้อม ๆ กัน
  • 2:00 - 2:03
    ทำให้เกิดคอนเซปต์ของสิ่งหนึ่งค่ะ เรียกว่า time sharing นั่นเอง
  • 2:03 - 2:05
    ดังน้ัน เรื่องทั้งหมดเนี้ย
  • 2:05 - 2:07
    เกิดขึ้นจากความพยายามประหยัดเวลา
  • 2:07 - 2:08
    ประหยัดทรัพยากรนะคะ
  • 2:08 - 2:10
    หลังจากนั้นค่ะ เกิดแรงกระตุ้นนึงขึ้นมา
  • 2:10 - 2:12
    เหมือนที่วิวเกริ่นไว้ตอนแรกเลยว่า
  • 2:12 - 2:14
    ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นเพราะการทหาร
  • 2:14 - 2:18
    ในช่วงเวลาที่เรากำลังพูดถึงค่ะช่วงปี 1950 กว่า ๆ เนี่ยนะ
  • 2:18 - 2:20
    มันเป็นช่วงเวลาของสงครามเย็น
  • 2:20 - 2:22
    ซึ่งดูอู้ไม่ได้เล่าซะทีใช่มะ
  • 2:22 - 2:23
    ถ้ามีโอกาสจะมาเล่าให้ฟังวันหลังค่ะ
  • 2:23 - 2:25
    แต่อธิบายคร่าว ๆ ตรงนี้คือ
  • 2:25 - 2:29
    มันเป็นการปะทะกันระหว่างโลกเสรีประชาธิปไตยกับโลกคอมมิวนิสต์นะคะ
  • 2:29 - 2:32
    ซึ่งแกนนำเนี่ยก็คือ สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต
  • 2:32 - 2:34
    หรือว่าที่ปัจจุบันกลายมาเป็นรัสเซียนั่นเองค่ะ
  • 2:34 - 2:36
    ทีเนี้ย สองฝ่ายนี้เขาไม่ปะทะกันตรง ๆ
  • 2:36 - 2:39
    เขาจะต้องปะทะกันด้วยการชิงไหวชิงพริบกันต่าง ๆ
  • 2:39 - 2:41
    ส่งสงครามตัวแทนบ้างอะไรบ้าง
  • 2:41 - 2:43
    และที่สำคัญ อีกอย่างหนึ่งที่ปะทะกันบ่อย ๆ คือ
  • 2:43 - 2:44
    เรื่องเทคโนโลยีนี่เอง
  • 2:44 - 2:47
    เขาพยายามจะรู้ว่า ฉันมีเทคโนโลยีที่เจ๋งกว่าแก
  • 2:47 - 2:50
    แกมีเทคโนโลยีแย่กว่าฉัน จงกลัวฉันไว้
  • 2:50 - 2:54
    และตอนนั้นค่ะ เกิดเหตุการณ์นึงที่ทำให้อเมริการู้สึกแบบ ไม่ได้แล้วอะ
  • 2:54 - 2:56
    นั่นก็คือ ในปี 1957
  • 2:56 - 2:59
    สหภาพโซเวียตประดิษฐ์ดาวเทียมขึ้นมาสำเร็จค่ะ
  • 2:59 - 3:00
    ชื่อว่าดาวเทียมสปุตนิก
  • 3:00 - 3:02
    ประดิษฐ์ขึ้นมาเฉย ๆ ไม่กลัวเท่าไหร่หรอก
  • 3:02 - 3:04
    ประดิษฐ์ขึ้นมาแล้วยิงออกไปนอกอวกาศเลย
  • 3:04 - 3:05
    ไปโคจรรอบโลก
  • 3:05 - 3:07
    นึกสภาพคนในสหรัฐอเมริกา
  • 3:07 - 3:10
    คงแบบ โอโห นี่เขาไปอวกาศแล้ว
  • 3:10 - 3:12
    เราต้องรีบพัฒนาอะไรบางอย่างแล้วนะคะ
  • 3:12 - 3:15
    ทำให้อเมริกาเนี่ย หันไปพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองหนักขึ้นมาก
  • 3:15 - 3:17
    เพื่อที่จะไป fight กับสหภาพโซเวียตนะคะ
  • 3:17 - 3:20
    ด้านอวกาศก็พัฒนาไปล่ะค่ะ แต่ว่าต้องพัฒนาด้านอื่นด้วย
  • 3:20 - 3:24
    ตอนนั้นนะคะ สหรัฐอเมริกาคิดว่า ฉันจะต้องพัฒนาด้านการสื่อสาร
  • 3:24 - 3:26
    เพื่อที่ฉันจะได้เจ๋งกว่าสหภาพโซเวียตในด้านนี้
  • 3:26 - 3:31
    ดังนั้นค่ะ สหรัฐอเมริกาก็เลยตั้งโครงการโครงการนึงขึ้นมาในปี 1958
  • 3:31 - 3:35
    หนึ่งปีหลังจากนั้นนะคะ ชื่อว่าโครงการ DARPA
  • 3:35 - 3:38
    หรือว่า Defense Advanced Research Project Agency นั่นเองค่ะ
  • 3:39 - 3:42
    ซึ่งโครงการเนี้ยก็คิดค้นพัฒนาการสื่อสารประเภทนึง
  • 3:42 - 3:44
    ซึ่งเดี๋ยวมันจะกลายเป็นอินเทอร์เน็ตในอนาคตนะคะ
  • 3:44 - 3:47
    แต่ในตอนนี้ยังเน้นด้านการส่งต่อข้อมูลอยู่ค่ะ
  • 3:47 - 3:49
    หลังจากที่เปิดโครงการนี้ขึ้นมานะคะ
  • 3:49 - 3:52
    ก็มีการวิจัยขึ้นมามากมายเกี่ยวกับการส่งต่อข้อมูล
  • 3:52 - 3:55
    ซึ่งชิ้นสำคัญชิ้นนึงเนี่ย เกิดขึ้นจากนักวิทยาศาสตร์ MIT คนนึง
  • 3:55 - 3:57
    ซึ่งเขาเขียน note ขึ้นมาเยอะแยะมากมายเลยนะ
  • 3:57 - 4:00
    คอนเซปต์เนี่ย เหมือนกับอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมาก ๆ
  • 4:00 - 4:04
    หลาย ๆ คนก็เลยถือว่าแบบ จุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ตคงเริ่มประมาณ ๆ นี้แหละ
  • 4:04 - 4:07
    มันก็เลยทำให้กระแสของการวิจัยด้านการส่งต่อข้อมูลเนี่ย
  • 4:07 - 4:09
    กระจายไปทั่วโลกเลยนะคะ
  • 4:09 - 4:12
    ไม่ว่าจะเป็นที่สหราชอาณาจักร ที่ฝรั่งเศส หรือว่าที่อเมริกาเอง
  • 4:12 - 4:15
    ก็มีมากกว่าหนึ่งหน่วยงานนะคะที่ทำงานด้านนี้
  • 4:15 - 4:18
    จนกระทั่งในปี 1962 นะคะ เกิดแรงกระตุ้นขึ้นมาอีกครั้งนึงค่ะ
  • 4:18 - 4:21
    แล้วก็เป็นแรงกระตุ้นที่เกิดจากสงครามเช่นเดียวกันเลย
  • 4:21 - 4:23
    คือในสงครามเย็นที่ยังไม่จบเนี่ยนะคะ
  • 4:23 - 4:25
    สหรัฐอเมริกาเกิดไปรู้มาว่าคิวบาเนี่ย
  • 4:25 - 4:28
    ติดตั้งขีปนาวุธไว้ แล้วก็เล็งมาที่อเมริกาเรียบร้อยแล้วนะคะ
  • 4:28 - 4:31
    ซึ่งประเทศคิวบาเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ใช่มั้ยคะ
  • 4:31 - 4:33
    และตั้งอยู่ใกล้สหรัฐอเมริกามาก ๆ
  • 4:33 - 4:35
    เรียกได้ว่าถ้ายิงมาเนี่ย โดนแน่นอน
  • 4:35 - 4:38
    ทำให้คนในอเมริกาเนี่ย กลัวกันว่าจะมีระเบิดปรมาณูอะไรมั้ยนะ
  • 4:38 - 4:40
    เหมือนกับตอนสงครามโลกครั้งที่สอง
  • 4:40 - 4:42
    ซึ่งเหตุการณ์นี้เนี่ยทำให้อเมริกากลัวหลายด้านมาก
  • 4:42 - 4:46
    และด้านนึงที่กลัวก็คือ กลัวการสื่อสารจะโดนตัดขาดนั่นเอง
  • 4:46 - 4:48
    ทำให้อเมริกานะคะ พัฒนาด้านการสื่อสารหนักเข้าไปอีกค่ะ
  • 4:48 - 4:52
    ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้คลื่น ด้านการวางระบบต่าง ๆ นานา นะคะ
  • 4:52 - 4:55
    เพื่อที่จะป้องกันว่าถ้าเกิดการยิงระเบิดปรมาณูขึ้นมาอีกรอบเนี่ย
  • 4:55 - 4:56
    การสื่อสารของฉันจะต้องไม่ล่ม
  • 4:56 - 5:01
    ซึ่งระหว่างนั้นนะคะ แต่ละเครือข่ายเนี่ยก็พยายามพัฒนาระบบการสื่อสารของตัวเองขึ้นมา
  • 5:01 - 5:03
    เรามาดูไล่กันทีละประเทศดีกว่าค่ะ
  • 5:03 - 5:05
    ว่าแต่ละประเทศทำอะไรกันบ้างตอนนั้นนะคะ
  • 5:05 - 5:07
    ง้างมาขนาดนี้แล้ว พูดถึงอเมริกาก่อนเลยละกันค่ะ
  • 5:07 - 5:09
    ในอเมริกามีสองระบบด้วยกันนะคะ
  • 5:09 - 5:10
    ระบบแรกคือระบบที่ชื่อว่า
  • 5:10 - 5:12
    RAND นะคะ แต่ก็ไม่ได้มีบทบาทอะไรมากมาย
  • 5:12 - 5:14
    เราไปพูดถึงอีกระบบนึงดีกว่า
  • 5:14 - 5:16
    ซึ่งเป็นระบบสำคัญมาก ๆ เลยนะคะ ของโลก
  • 5:16 - 5:18
    ก็คือ ARPANET นั่นเอง
  • 5:18 - 5:22
    ซึ่ง ARPANET เนี่ยนะคะ ริเริ่มโดย DARPA ที่เมื่อกี้เราพูดถึงเนี่ยแหละค่ะ
  • 5:22 - 5:25
    ตอนนี้นะคะ ARPANET กลายเป็นเครือข่ายด้านวิชาการแล้วค่ะ
  • 5:25 - 5:30
    เป็นเครือข่ายที่ทำให้นักวิจัย นักวิชาการพูดคุยเพื่อสร้างงานวิจัยให้พัฒนายิ่งขึ้นนะคะ
  • 5:30 - 5:36
    ซึ่งโครงการ ARPANET เป็นโครงการแรกที่ส่งข้อความระหว่างคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลกันมากเนี่ย
  • 5:36 - 5:38
    สำเร็จได้เป็นโครงการแรกเลย
  • 5:38 - 5:43
    นักวิทยาศาสตร์จาก UCLA นะคะ ส่งข้อความข้ามมาหานักวิทยาศาสตร์ที่ Massachusetts ค่ะ
  • 5:43 - 5:45
    เขาพยายามจะส่งคำว่า Log-in นะคะ
  • 5:45 - 5:48
    แต่ว่าไปไม่ครบ ไปได้แค่ Lo L-O แค่นี้นะคะ
  • 5:48 - 5:50
    แต่อย่างน้อยก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น
  • 5:50 - 5:54
    ตัดภาพจากอเมริกาไปที่สหราชอาณาจักร หรือว่าอังกฤษของเรานั่นเอง
  • 5:54 - 5:59
    อังกฤษนี่เขามีเครือข่ายอีกหนึ่งเครื่อข่ายนะคะ ชื่อว่า NPL
    หรือว่า National Physical Laboratory นะคะ
  • 5:59 - 6:02
    แต่ปัญหาของเครือข่ายนี้ค่ะ คือทุนสนับสนุนไม่พอ
  • 6:02 - 6:06
    ในสมัยนั้นคนอาจจะคิดว่าแบบ อินเทอร์เน็ตไม่เกิดขึ้นจริงหรอก ก็เลยไม่ให้ทุนเท่าไหร่นะคะ
  • 6:06 - 6:09
    ดังนั้นโครงการนี้ก็เลยล้มหายตายจากไป
  • 6:09 - 6:10
    ทิ้งมรดกไว้ให้เราแค่ข้อเดียวเท่านั้น
  • 6:10 - 6:12
    และเป็นมรดกสำคัญมาก ๆ เลย
  • 6:12 - 6:15
    คือ คิดค้นวิธีการส่งข้อมูลแบบใหม่ขึ้นนะคะ
  • 6:15 - 6:19
    เวลาส่งข้อมูลนะคะ นึกสภาพว่าถ้าส่งไปทั้งก้อนเนี่ย เกิดส่งไปกับส่งกลับพร้อมกัน
  • 6:19 - 6:22
    มันก็จะต้องมีการไปติดค้างกันตรงกลางบ้างอะ นึกออกปะ
  • 6:22 - 6:25
    สิ่งที่ NPL คิดขึ้นมานะคะ ก็คือการหั่นข้อมูลเป็นชิ้น ๆ
  • 6:25 - 6:29
    ชิ้นเล็ก ๆ นะคะ แล้วก็ส่งไปทีละชิ้นเล็ก ๆ
  • 6:29 - 6:30
    แล้วก็ไปรวมกันที่ปลายทางค่ะ
  • 6:30 - 6:32
    ซึ่งจะเห็นว่าคอนเซปต์นี้นะคะ
  • 6:32 - 6:35
    เดี๋ยวจะพัฒนาเป็นการส่งข้อมูลของเราในปัจจุบันนั่นเองค่ะ
  • 6:35 - 6:37
    ตัดจาก NPL ข้ามไปที่ฝรั่งเศสดีกว่า
  • 6:37 - 6:40
    ก็มีอีก network นึงนะคะ ชื่อว่า CYCLADES นั่นเองค่ะ
  • 6:40 - 6:43
    ซึ่ง CYCLADES นี่ประสบปัญหาเดียวกับ NPL เลย คือทุนสนับสนุนไม่พอ
  • 6:43 - 6:46
    ทั้ง ๆ ที่เป็นระบบงานของนักวิจัยทั้งหลายนะคะ
  • 6:46 - 6:48
    แต่ CYCLADES นะคะ ทุนไม่พอแล้วไม่ล้มหายตายจากไป
  • 6:48 - 6:51
    CYCLADES คิดไอเดียอีกไอเดียหนึ่งขึ้นมา
  • 6:51 - 6:54
    ก็คือการ ติดต่อกันระหว่าง network ต่าง ๆ
  • 6:54 - 6:58
    อะในเมื่อเงินทุนฉันไม่พอ คอมพิวเตอร์ในระบบของฉันเองไม่พอที่จะสร้างเป็นเครือข่ายใหญ่ ๆ
  • 6:58 - 7:02
    ดังนั้น ฉันเน้นด้านการติดต่อระหว่างเครือข่ายต่าง ๆ ดีกว่า
  • 7:02 - 7:05
    ก็คือ อะอันนั้นมีเครือข่ายของเธอใช่มั้ย มาเชื่อมกับเครือข่ายของฉันมั้ย
  • 7:05 - 7:06
    เครือข่ายของเธอมีมั้ย มาเชื่อมกันดีกว่า
  • 7:06 - 7:08
    การเชื่อมต่อระหว่าง network
  • 7:08 - 7:11
    เราเรียกสิ่งนั้นว่า Inter Network
  • 7:11 - 7:15
    อินเทอร์เน็ตนั่นเอง ในที่สุดคำว่าอินเทอร์เน็ตก็เกิดขึ้นในโลกแล้วนะคะ
  • 7:15 - 7:16
    เมื่อนักวิจัยเนี่ย ลงแรงกันทั่วโลกแบบนี้
  • 7:16 - 7:20
    เทคโนโลยีด้าน network เนี่ย ก็จะต้องพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก ๆ นะคะ
  • 7:20 - 7:25
    เมื่อประมาณปี 1971-1972 นะคะ มีนักวิจัยคนนึงชื่อว่า Ray Tomlinson ค่ะ
  • 7:25 - 7:28
    ประดิษฐ์สิ่งที่เรียกว่า Electronic mail หรือว่าอีเมลขึ้นนั่นเอง
  • 7:28 - 7:31
    ซึ่งจะอัปเกรดการส่งจดหมายขึ้นทั่วโลกไปอีกแบบนึงเลยนะ
  • 7:31 - 7:34
    ทีนี้ถามว่า ใครคือคนกลุ่มแรก ๆ ที่ใช้อีเมลในโลกใบนี้
  • 7:34 - 7:37
    ก็ต้องบอกว่า เป็นพวกด้านการศึกษาล้วน ๆ เลยค่ะ
  • 7:37 - 7:39
    ก็คือเอาไว้ใช้ส่งงานวิจัยกันอะไรต่าง ๆ
  • 7:39 - 7:41
    ยังไม่เข้าถึงคนทั่วไปนะคะ
  • 7:41 - 7:42
    เพราะว่ามันไม่สวยไง
  • 7:42 - 7:45
    อีเมลสมัยนั้นมันใช้ยากอะ มันมีตัวหนังสือยุบยับปวดหัวเต็มไปหมดเลย
  • 7:45 - 7:50
    อินเทอร์ฝ่ง interface ก็ไม่มี นึกสภาพจอคอมพิวเตอร์แล้วมีแต่ตัวหนังสืออะ พรืด ๆ ๆ ๆ ๆ
  • 7:50 - 7:52
    จะมีใครไปทนใช้ นอกจากคนในวงการการศึกษาน่ะนะ
  • 7:52 - 7:56
    ดังนั้นหลังจากทนใช้อีเมลแบบนี้มาร่วม 10 ปีนะคะ
  • 7:56 - 7:59
    ในปี 1980 ค่ะ ก็มีนักวิจัยชาวอังกฤษคนนึง ชื่อว่า Tim Berners Lee นะคะ
  • 7:59 - 8:05
    แล้วคุณทิมคนนี้ เขารู้สึกว่าแบบ โอ๊ยอีเมลมันไม่สวยเลย ฉันจะไปเรียกคนมาติดต่อกับฉันง่าย ๆ ได้ยังไง
  • 8:05 - 8:08
    ดังนั้นนะคะ เขาก็เลยใช้โค้ดนู่นนี่นั่น ภาษาผสมยำรวมกันออกมา
  • 8:08 - 8:11
    กลายเป็นสิ่งที่ปัจจุบันเราเรียกว่า Browser ซะอย่างงั้นเลยนะ
  • 8:11 - 8:13
    ก็คืออยู่ดี ๆ พัฒนา Browser ขึ้นมาได้
  • 8:13 - 8:15
    สำหรับใครที่ไม่รู้ว่า Browser คืออะไรเนี่ยนะคะ
  • 8:15 - 8:17
    มันคือสิ่งที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้เนี่ยแหละ
  • 8:17 - 8:19
    ในสมัยนั้น นี่คือคนแรกที่พัฒนา Browser ขึ้นมานะคะ
  • 8:19 - 8:22
    และคุณ Tim เนี่ย เขาเรียก Browser ของเขาว่า World Wide Web
  • 8:22 - 8:24
    Web แปลว่าใยแมงมุมใช่ปะ
  • 8:24 - 8:27
    ก็คือเหมือนแบบ โยงใยที่กว้างใหญ่ระดับ worldwide ระดับโลก
  • 8:27 - 8:29
    เพื่อที่จะโยงทุกคนเข้ามาด้วยกันนั่นเอง
  • 8:29 - 8:34
    และนี่คือจุดกำเนิดของ www. ที่เราใช้กันอยู่หน้าเว็บไซต์นั่นเองค่ะ
  • 8:34 - 8:36
    สำหรับใครที่อยากลองเล่นเว็บไซต์แรกของโลกนะคะ
  • 8:36 - 8:39
    ขอบอกว่ามันยังอยู่นะ ตามที่อยู่นี้เลย
  • 8:39 - 8:40
    ยังอยู่จริง ๆ ด้วย
  • 8:40 - 8:42
    หลังจากนั้นโลกใบนี้ก็เริ่มรับรู้ว่าอินเทอร์เน็ตใช้ง่าย
  • 8:42 - 8:46
    ดังนั้นก็เลย เกิด Browser ต่าง ๆ ขึ้นมากมาย ผุดกันเป็นดอกเห็ดเลยนะคะ
  • 8:46 - 8:49
    เริ่มจาก Browser ที๋ฮิต ๆ อันแรกเลยเนี่ย ชื่อว่า Erwise
  • 8:49 - 8:51
    หลังจาก Erwise นะคะ ก็พัฒนามาเป็น Mosaic
  • 8:51 - 8:54
    ซึ่ง Mosaic เนี่ย เป็นแรงบันดาลใจเกิด Browser ต่าง ๆ เพียบเลย
  • 8:54 - 8:57
    ไม่ว่าจะเป็น NetScape ซึ่งเป็น Browser ที่ฮิตที่สุดในยุคนั้น
  • 8:57 - 9:02
    ซึ่ง NetScape เนี่ยนะคะ ก็เป็นตัวพ่อของอินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบันนี้ที่เราใช้กันอยู่นี่แหละค่ะ
  • 9:02 - 9:04
    เห็นมั้ยคะว่าตอนนี้ ทุกอย่างเริ่มใช้ง่ายขึ้นละ
  • 9:04 - 9:06
    ดังนั้น ช่วงปี 1991-1995
  • 9:06 - 9:10
    ก็เลยทำให้อินเทอร์เน็ตนะคะ บูมขึ้นมาทั่วโลกเลย
  • 9:10 - 9:11
    อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้าถึงครัวเรือนแล้ว
  • 9:11 - 9:14
    คนเริ่มรู้สึกว่าฉันไม่ต้องเป็นนักวิจัย ฉันก็ใช้อินเทอร์เน็ตได้นี่นา
  • 9:14 - 9:15
    มันก็ไม่ได้ยากขนาดนั้น
  • 9:15 - 9:18
    ดังนั้น เมื่อมีคนใช้ ก็ต้องมีผู้ให้บริการใช่มั้ยคะ
  • 9:18 - 9:22
    เครือข่ายโทรศัพท์บ้านต่าง ๆ ก็เลยหันมาให้บริการอินเทอร์เน็ตกันค่ะ
  • 9:22 - 9:24
    โดยเป็นอินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์
  • 9:24 - 9:26
    หรือที่เราเรียกว่า Dial-up internet access นั่นเอง
  • 9:26 - 9:28
    หลายคนน่าจะเคยได้ยินกันแหละที่เขาล้อ ๆ กันว่า
  • 9:28 - 9:34
    สมัยปี 90 เวลาจะต่อเน็ตมันจะดังแบบ แอด อี๊แอดแอด อะไรหนวกหู ๆ นั่นแหละค่ะ
  • 9:34 - 9:35
    นั่นคือการ Dial-up internet access นั่นเอง
  • 9:35 - 9:37
    คือแปลว่าทุกครั้งที่จะต่ออินเทอร์เน็ตเนี่ย
  • 9:37 - 9:39
    จะต้องเหมือนกับ ต่อโทรศัพท์ขึ้นมาครั้งนึงอะ
  • 9:39 - 9:41
    เด็ก ๆ หลายคนคงไม่รู้นะคะ
  • 9:41 - 9:44
    สมัยก่อนเราไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตพร้อมโทรศัพท์บ้านได้นะ
  • 9:44 - 9:46
    คือทุกครั้งที่เราใช้อินเทอร์เน็ต ต้องไม่มีใครโทรเข้าบ้านเลย
  • 9:46 - 9:48
    ถ้ามีใครโทรเข้าบ้านเนี่ยนะ เน็ตหลุด
  • 9:48 - 9:52
    แล้วจะก่อให้เกิดความหัวร้อนหนักมากในหลาย ๆ คนที่เล่นเกม
  • 9:52 - 9:56
    แน่นอนว่าทุกครั้งที่มนุษย์เกิดความหัวร้อน มนุษย์ก็จะต้องพยายามแก้ไขปัญหานี้
  • 9:56 - 10:00
    ดังนั้นหลังจาก Dial-up internet access ก็เลยมีการพัฒนาอินเทอร์เน็ตอีกแบบนึงขึ้นมา
  • 10:00 - 10:02
    ก็คืออินเทอร์เน็ตแบบ DSL นั่นเอง
  • 10:02 - 10:04
    ซึ่งเขาเปลี่ยนความถี่ให้ต่างกับโทรศัพท์บ้านแล้ว
  • 10:04 - 10:08
    ดังนั้นก็เลยสามารถใช้โทรศัพท์บ้านไปพร้อมกันอินเทอร์เน็ตได้ค่ะ
  • 10:08 - 10:10
    และใน DSL นะคะ ก็แบ่งเป็นเทคโนโลยีแบบย่อย ๆ เยอะมาก
  • 10:10 - 10:12
    ไม่ว่าจะเป็นแบบ ADSL
  • 10:12 - 10:15
    อะไรที่หลาย ๆ คนก็ยังใช้งานอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ค่ะ
  • 10:15 - 10:16
    ไม่ไกลตัวเลยเนอะ
  • 10:16 - 10:19
    จนในที่สุดนะคะ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตก็พัฒนากันมาเรื่อย ๆ
  • 10:19 - 10:21
    อย่างล่าสุดที่เห็นก็มีแบบ ใยแก้วนำแสงอะไรแล้วเนี่ยนะ
  • 10:21 - 10:24
    ซึ่งทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตบ้านง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ
  • 10:24 - 10:26
    แต่เราออกจากอินเทอร์เน็ตบ้านกันมาดีกว่า
  • 10:26 - 10:28
    เพราะเชื่อว่า คนใช้อินเทอร์เน็ตบ้านน้อยมากค่ะ
  • 10:28 - 10:31
    แทบทุกคนใช้อินเทอร์เน็ตจากมือถือกันแล้วใช่มั้ยคะ
  • 10:31 - 10:34
    มาดูฝั่งอินเทอร์เน็ตจากมือถือดีกว่า ว่าเกิดอะไรขึ้นกับอินเทอร์เน็ตมือถือบ้าง
  • 10:34 - 10:38
    เราน่าจะเคยได้ยินกันใช่ม้ัยคะ พัฒนาการจาก 1G 2G 3G 4G
  • 10:38 - 10:40
    แน่นอนทุกคนเคยได้ยินคำว่า G
  • 10:40 - 10:41
    แต่รู้มั้ยคะว่า G เนี่ย ย่อมาจาก
  • 10:41 - 10:42
    Generation นั่นเอง
  • 10:42 - 10:46
    ดังนั้น 1 2 3 4 ก็คือบอกถึงยุคต่าง ๆ ที่เปลี่ยนผ่านค่ะ
  • 10:46 - 10:49
    เริ่มจาก 1G นะคะ ไม่เกี่ยวกับเราเท่าไหร่เพราะไม่ได้มีอินเทอร์เน็ตใช้ค่ะ
  • 10:50 - 10:52
    เป็นการพูดคุยสื่อสารอย่างเดียวผ่านสัญญาณ analog นะคะ
  • 10:52 - 10:54
    ส่วน 2G เนี่ยนะคะ เริ่มเป็นสัญญาณแบบ digital
  • 10:54 - 10:58
    แล้วก็ส่งข้อมูลกันเนี่ย จากเดิมใช้คลื่นวิทยุ เปลี่ยนมาเป็นคลื่นไมโครเวฟ
  • 10:58 - 11:01
    และเริ่มส่งข้อมูลอื่น ๆ นอกจากเสียงพูดกันได้นิดหน่อย
  • 11:01 - 11:03
    เช่นเริ่มส่ง message ได้ละ
  • 11:03 - 11:04
    และที่สำคัญเริ่มต่อเน็ตได้แล้วนะคะ
  • 11:04 - 11:07
    แต่ก็ยังต้องใช้ระบบ dial-up internet access อยู่
  • 11:07 - 11:09
    ก็คือเหมือนกับโทรศัพท์บ้านนั่นแหละค่ะ
  • 11:09 - 11:10
    แต่ว่าในช่วง 2G นะคะ
  • 11:10 - 11:14
    จะบอกว่ามันไม่ใช่ 2G ธรรมดา แต่มันแบ่งย่อยออกเป็นละเอียดยิบเลย
  • 11:14 - 11:16
    ไม่ว่าจะเป็น 2.5G 2.75G
  • 11:16 - 11:18
    ซึ่งในยุค 2.5 2.75 เนี่ยนะคะ
  • 11:18 - 11:22
    โทรศัพท์จะเริ่มเป็นจอสี เริ่มถ่ายรูปได้เริ่มอะไรได้แล้วนะคะ
  • 11:22 - 11:25
    ที่สำคัญเริ่มส่งข้อความจากภาพและเสียงได้แล้วนะ
  • 11:25 - 11:27
    ผ่านระบบ MMS อะไรต่าง ๆ
  • 11:27 - 11:28
    รวมถึงถ้าใครเคยใช้ EDGE นะคะ
  • 11:28 - 11:31
    EDGE เนี่ยอยู่ในยุค 2.5 2.75G เนี่ยแหละค่ะ
  • 11:31 - 11:33
    ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น 3G นะคะ
  • 11:33 - 11:37
    3G นี่คือการย่อ High-speed internet แบบเน็ตบ้านเนี่ยนะคะ เข้ามาอยู่ในมือถือ
  • 11:37 - 11:38
    แล้วก็เป็นยุคแรก ๆ เลยที่
  • 11:38 - 11:40
    เริ่มเน็ตมือถือแบบ always-on
  • 11:40 - 11:44
    เรียกได้ว่าเป็นจุดที่อินเทอร์เน็ตบ้านกับอินเทอร์เน็ตมือถือ มาเจอกันเรียบร้อยแล้วค่ะ
  • 11:44 - 11:46
    และในที่สุดทุกสิ่งอย่างนี้ ก็พัฒนามาเป็น
  • 11:46 - 11:48
    4G ที่เราใช้กันปัจจุบันนั่นเอง
  • 11:48 - 11:49
    ก็คือเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงค่ะ
  • 11:49 - 11:53
    เอาจริง ๆ กว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตให้เราดูวิดีโอกันอยู่ทุกวันเนี้ย
  • 11:53 - 11:56
    โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตในมือถือ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากนะคะ
  • 11:56 - 11:59
    มีเทคโนโลยีอะไรหลาย ๆ อย่างอยู่ภายในแค่มือถือเครื่องเล็ก ๆ เนี่ย
  • 11:59 - 12:01
    เพื่อที่จะทำให้ทุกคนนะคะ สามารถใช้เน็ต
  • 12:01 - 12:03
    ตั้งแต่เรื่องราวของการคำนวณเสาสัญญาณ
  • 12:03 - 12:05
    ว่าแบบเสาสัญญาณจะต้องปักตรงไหน
  • 12:05 - 12:06
    ปักใกล้กันหรือเปล่า
  • 12:06 - 12:07
    จะต้องปักความแรงเท่าไหร่
  • 12:07 - 12:09
    คลื่นความถี่ก็มีต่างกันไปอีก
  • 12:09 - 12:10
    จะคลื่น 2300
  • 12:10 - 12:11
    หรือว่าจะเป็นคลื่น 900
  • 12:11 - 12:13
    แล้วเมื่อไหร่เราจะต้องสลับสัญญาณ
  • 12:13 - 12:14
    อ่าวตอนนี้ต่อเสานี้อยู่
  • 12:14 - 12:16
    แล้วถ้าเรานั่งอยู่ในรถแล้วใช้เน็ตไปด้วย
  • 12:16 - 12:18
    มันจะต้องข้ามไปต่อสัญญาณตรงนั้นม้ัย
  • 12:18 - 12:20
    เห็นปะ แค่เท่าที่พูดคร่าว ๆ มาก ๆ ยังแบบ
  • 12:20 - 12:24
    ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีมากมาย ต้องใช้วิศวกร ต้องใช้อะไรมายำรวมกัน
  • 12:24 - 12:26
    เพื่อให้เราใช้เน็ต 4G ได้นะคะ
  • 12:26 - 12:27
    นี่แค่ 4G ธรรมดานะคะ
  • 12:27 - 12:30
    แล้วรู้ป่าวว่าตอนนี้มันมี 4G แบบใหม่เกิดขึ้นในโลกแล้วนะ
  • 12:30 - 12:34
    คือเป็น 4G ที่ใช้เทคโนโลยีสูงกว่า 4G ที่เราใช้กันปกติค่ะ
  • 12:34 - 12:36
    คือบอกเลยว่าทั้งหมดที่ผ่านมาเนี่ย
  • 12:36 - 12:37
    เวลาเราใช้เทคโนโลยี 4G นะคะ
  • 12:37 - 12:40
    มันเกิดจากการคิดเมื่อประมาณ 50 60 ปีที่แล้ว
  • 12:40 - 12:41
    ที่วิวเล่ามาทั้งหมดเนี่ยแหละ
  • 12:41 - 12:44
    คือ เวลารับส่งสัญญาณ เขาก็รับส่งเท่ากัน
  • 12:44 - 12:45
    สมัยก่อน เวลาส่งเมลไป
  • 12:45 - 12:47
    คนส่งเมลกลับมา
  • 12:47 - 12:50
    เมลไปใหญ๋แค่ไหน คนก็เมลกับกันใหญ่พอ ๆ กันแหละ
  • 12:50 - 12:51
    หรือว่าคุยโทรศัพท์ไป คุยโทรศัพท์ตอบมา
  • 12:51 - 12:53
    มันก็ใหญ่พอ ๆ กันแหละ
  • 12:53 - 12:54
    ดังนั้น Common sense ที่ผ่านมาทั้งหมดนะคะ
  • 12:54 - 12:55
    เขาก็จะแบ่งแบบ
  • 12:55 - 12:57
    ส่งข้อมูล 50% รับข้อมูล 50%
  • 12:57 - 12:58
    เอาเท่า ๆ กันไว้แหละ
  • 12:58 - 12:59
    นึกสภาพถ้าเป็นถนนเนี่ย
  • 12:59 - 13:01
    สองเลนแรกขับออกจากเมือง
  • 13:01 - 13:03
    อีกสองเลนหลังขอบเข้าเมืองมาค่ะ
  • 13:03 - 13:04
    ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ฟังดู make sense ใช่ปะ
  • 13:04 - 13:08
    เอ้า ก็มี 100% ก็เอาออก 50 เอาเข้า 50
  • 13:08 - 13:09
    ใช่ มัน make sense
  • 13:09 - 13:11
    แต่มัน make sense เมื่อ 60 ปีที่แล้ว มันไม่ make sense ตอนนี้แล้ว
  • 13:11 - 13:14
    ลองนึกถึงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเราตอนนี้ดูสิคะ
  • 13:14 - 13:18
    ตอนนี้เชื่อว่าหลายคนน่าจะแบบ นั่งอิเหละเขละขละอยู่บนโซฟา นั่งดูคลิปนี้อยู่
  • 13:18 - 13:20
    หรือว่านั่งอยู่ในรถกำลังเดินทาง
  • 13:20 - 13:21
    ตอนนี้คุณใช้มือถือทำอะไร
  • 13:21 - 13:22
    ดาวน์โหลดข้อมูลรัว ๆ
  • 13:22 - 13:25
    ไม่ว่าจะเป็นการดูวิดีโอ หรือการไถ Facebook เนี่ย
  • 13:25 - 13:27
    มันคือการรับข้อมูลเข้ามาในเครื่องเราใช่มั้ยคะ
  • 13:27 - 13:28
    ตอนนี้รับ ๆ ๆ ๆ รับอย่างเดียว
  • 13:28 - 13:30
    ผ่านไปอีกประมาณ 4 ชั่วโมง
  • 13:30 - 13:31
    เดินทางไปดูคอนเสิร์ต
  • 13:31 - 13:33
    ทำอะไร live live รัว ๆ
  • 13:33 - 13:35
    อัปสตอรี อัป ๆ ๆ ๆ
  • 13:35 - 13:37
    เห็นมั้ย ช่วงนั้นอะ เป็นช่วงที่เราทำอะไร
  • 13:37 - 13:38
    ส่งออกข้อมูลรัว ๆ
  • 13:38 - 13:41
    ในตอนที่เราทำอะไรต่าง ๆ เนี่ย เราไม่ได้เป็นคนเดียวที่ทำไง
  • 13:41 - 13:43
    ที่ผ่านมาตลอด 60 ปีเนี่ยนะคะ
  • 13:43 - 13:46
    การแบ่งช่องสัญญาณให้มันเท่ากันเนี่ย มันดู make sense ใช่มะ
  • 13:46 - 13:49
    แต่จากพฤติกรรมที่วิวบอกเมื่อกี้ เห็นได้ชัดว่า มันไม่ make sense แล้ว
  • 13:49 - 13:54
    เพราะมันจะทำให้อินเทอร์เน็ตช้า เพราะทุกคนแย่งกันดาวน์โหลดหรือว่าแยกกันอัปโหลดในเวลาเดียวกันค่ะ
  • 13:54 - 13:57
    ดังนั้นนะคะ ก็เลยเกิดเทคโนโลยีอีกตัวนึงขึ้นมาใหม่
  • 13:57 - 14:00
    เพื่อที่จะมารองรับพฤติกรรมการใช้แบบนี้แหละ
  • 14:00 - 14:01
    เราเรียกว่า TDD นั่นเอง
  • 14:01 - 14:04
    เทคโนโลยี TDD เนี่ยนะคะ เป็นเทคโนโลยีใหม่ค่ะ
  • 14:04 - 14:05
    มากับคลื่น 2300 เท่านั้น
  • 14:05 - 14:10
    ซึ่งตอนนี้นะคะ คลื่น 2300 ก็มีแค่ dtac ให้บริการร่วมกับ TOT อยู่ค่ะ
  • 14:10 - 14:14
    เขาก็เลยเอาเทคโนโลยี TDD ตัวนี้เนี่ยนะคะ เข้ามาในประเทศไทยค่
  • 14:14 - 14:16
    แล้วก็ใช้ชื่อว่า dtac TURBO นั่นเอง
  • 14:16 - 14:19
    ซึ่งเทคโนโลยีตัวนี้นะคะ จะทำให้เราใช้เน็ตได้ลื่นขึ้นค่ะ
  • 14:19 - 14:24
    คือสมัยก่อนค่ะ เรา fix กันใช่มั้ยว่ารับข้อมูล 50% ส่งออกข้อมูล 50%
  • 14:24 - 14:25
    เหมือนที่เมื่อกี้วิวเปรียบเป็นถนน
  • 14:25 - 14:28
    ออกนอกเมืองสองเลน เข้าเมืองสองเลนใช่มั้ยคะ
  • 14:28 - 14:31
    พอมีเทคโนโลยีตัวนี้เข้ามา ก็เหมือนกับว่า เราลบลูกศรออกไป
  • 14:31 - 14:32
    ไม่มีเขียนแล้วว่า ออกสองเข้าสอง
  • 14:32 - 14:34
    แต่มีตำรวจจราจรค่ะ ถือกรวย
  • 14:34 - 14:35
    ออกเสียงให้ชัดนะ
  • 14:35 - 14:37
    ถือกรวยจราจรเนี่ยมา
  • 14:37 - 14:39
    แล้วก็คอยดูว่า อะ ตอนเช้าเนี่ย รถเข้าเมืองเยอะ
  • 14:39 - 14:41
    เพราะว่าทุกคนมาทำงาน
  • 14:41 - 14:43
    ดังนั้นเราแบ่งมั้ย สามเลนเข้าเมือง หนึ่งเลนออกจากเมือง
  • 14:43 - 14:45
    ส่วนตอนเย็นเนี่ย ทุกคนกลับบ้าน
  • 14:45 - 14:46
    เอากรวยย้ายที่มาใหม่
  • 14:46 - 14:49
    ให้ทุกคนออกจากเมืองสามเลน แล้วก็เข้าเมืองแค่เลนเดียวแทน
  • 14:49 - 14:51
    เช่นเดียวกับถนนเลยค่ะ
  • 14:51 - 14:53
    เทคโนโลยีตัวเนี้ย จะทำให้ปรับช่องสัญญาณ
  • 14:53 - 14:55
    เช่นเวลาที่แบบ วิวเพิ่งอัปวิดีโอใหม่ ๆ
  • 14:55 - 14:57
    ทุกคนอยากดูคลิปวิดีโอช่อง Point of View ใช่มั้ยคะ
  • 14:57 - 15:01
    ดังนั้น เขาก็จะเปิดช่องสัญญาณให้ดาวน์โหลดข้อมูลเนี่ย เยอะกว่า
  • 15:01 - 15:03
    หรือว่าช่วงไหนเนี่ย เราไปงานคอนเสิร์ตพร้อม ๆ กัน
  • 15:03 - 15:04
    ทุกคนอยาก live
  • 15:04 - 15:06
    เฮ้ยช่วงนี้ทุกคนอยากอัปโหลดข้อมูล
  • 15:06 - 15:07
    อยาก live อยากอัปสตอรี่
  • 15:07 - 15:11
    ดังนั้นเปิดช่องให้อัปโหลดข้อมูล ใหญ่กว่าช่องให้ดาวน์โหลดข้อมูลแล้วกันค่ะ
  • 15:11 - 15:13
    ตื่นเต้นกันมั้ย สำหรับวิวเนี่ย ตื่นเต้นมาก
  • 15:13 - 15:16
    แล้วทำยังไงฉันถึงจะได้รู้ว่าฉันมีสิทธิ์ใช้ dtac TURBO ตัวนี้
  • 15:16 - 15:19
    ตรวจสอบไม่ยากเลยนะคะ มาดูไปตามวิวทีละข้อเลยค่ะ
  • 15:19 - 15:21
    ข้อแรกสำคัญมาก คุณต้องใช้ dtac ก่อน
  • 15:21 - 15:24
    การให้บริการอันนี้มันให้บริการอยู่บนคลื่น 2300
  • 15:24 - 15:25
    ดังนั้นถ้าไม่ได้ใช้ dtac อดนะคะ
  • 15:25 - 15:28
    สำหรับใครที่ใช้ dtac ลองมองไปที่มือถือของตัวเอง
  • 15:28 - 15:30
    ที่มันจะเขียนปกติว่า เราใช้สัญญาณ dtac
  • 15:30 - 15:32
    ถ้ามันมี dtac-T
  • 15:32 - 15:35
    แปลว่าตอนนี้คุณกำลังใช้สัญญาณ dtac TURBO อยู่แล้วค่ะ
  • 15:35 - 15:38
    ข้อที่สองคือตัวมือถือของเราเนี่ย มันต้องรับสัญญาณนี้ได้ก่อน
  • 15:38 - 15:43
    คือถ้าเป็นโทรศัพท์รุ่นที่เก่ามาก ๆ เนี่ย บางทีเทคโนโยียังไม่ถึงก็ยังรับไม่ได้
  • 15:43 - 15:45
    แต่สำหรับโทรศัพท์รุ่นใหม่ ๆ รับได้กันเกือบหมดแล้วค่ะ
  • 15:45 - 15:49
    ข้อที่สามค่ะ แถว ๆ ที่เราจะไปใช้เน็ตเนี่ย ต้องมีเสาสัญญาณคลื่น 2300 ก่อน
  • 15:49 - 15:52
    ซึ่งไม่ต้องห่วงนะคะ สำหรับใครที่แบบ อยู่ใจกลางเมือง
  • 15:52 - 15:53
    หรือตามหัวเมืองใหญ่ ๆ
  • 15:53 - 15:55
    หรือในที่ชุมชนที่แบบ คนเยอะ ๆ เนี่ย
  • 15:55 - 15:57
    เสาสัญญาณ dtac TURBO เนี่ย ไปถึงหมดแล้วนะคะ
  • 15:57 - 15:59
    เพราะว่าเทคโนโลยีตัวนี้มันเหมาะกับที่ที่คนเยอะ ๆ
  • 15:59 - 16:01
    จะได้ระบายความแออัดของการใช้เน็ต
  • 16:01 - 16:03
    ส่วนใครที่ไม่ได้อยู่ใกล้เสาสัญญาณ ไม่ต้องห่วงนะคะ
  • 16:03 - 16:06
    ได้ข่าวมาว่า ตอนนี้ dtac กำลังเร่งปักเสามาก ๆ เลยนะ
  • 16:06 - 16:08
    แล้วก็แบบ เสาขึ้นเร็วมากเลยจริง ๆ นะคะ
  • 16:08 - 16:11
    ข้อสุดท้ายค้ะ ก็คือ SIM Card ของเรานั่นเอง
  • 16:11 - 16:14
    SIM Card เนี่ย ถ้ามันเก่ามาก ๆ แล้วจะเป็นเทคโนโลยีที่ล้าหลัง
  • 16:14 - 16:16
    ที่แบบ ยังรับสัญญาณตัวนี้ไม่ได้นะคะ
  • 16:16 - 16:19
    อย่าลืมไปเปลี่ยนกัน เปลี่ยนได้ฟรีเลยนะคะที่ dtac hall
  • 16:19 - 16:21
    เข้าไปถึงแล้วแบบ ขอเปลี่ยนซิมจ้า เท่านั้นเลยนะคะ
  • 16:21 - 16:23
    อะ ฟังมาสี่ขั้นตอนแล้ว
  • 16:23 - 16:26
    เชื่อว่าหลายคนก็ยังแบบ แล้วฉันต้องไปเช็กทุกอย่างเองเลยหรอ
  • 16:26 - 16:28
    มีวิธีเช็กง่าย ๆ เลยค่ะ
  • 16:28 - 16:29
    สามารถหยิบมือถือขึ้นมาตอนนี้เลย
  • 16:29 - 16:33
    แล้วก็กดปุ่ม *2300# แล้วโทรออก
  • 16:33 - 16:35
    แล้วเดี๋ยวมันจะบอกเราอย่างมหัศจรรย์เลยค่ะว่า
  • 16:35 - 16:38
    อ๋อตอนนี้คุณมีสิทธิ์ใช้ dtac TURBO แล้วนะ อะไรอย่างนี้
  • 16:38 - 16:40
    เป็นการตรวจสิทธิ์ของตัวเองนะคะ
  • 16:40 - 16:42
    อย่าพลาดนะ เพราะมันก็ไม่ได้เก็บค่าบริการอะไรเพิ่มไง
  • 16:42 - 16:43
    คือใช้ dtac อยู่แล้ว
  • 16:43 - 16:45
    ถ้าเกิดไม่ตรวจสอบ เสียสิทธิ์นะจ๊ะทุกคน
  • 16:45 - 16:48
    แล้วทั้งหมดนี้นะคะก็คือประวัติศาสตร์ของอินเทอร์เน็ต
  • 16:48 - 16:51
    ไล่ตั้งแต่สมัยสงครามเย็น จนกระทั่งทุกคนนำมาใช้ดูคลิปนี้ค่ะ
  • 16:51 - 16:53
    ถ้าใครมีความเห็นเพิ่มเติมอะไรยังไง
  • 16:53 - 16:54
    อยากให้ความรู้เพิ่ม
  • 16:54 - 16:55
    หรืออยากขอเรื่องไหนเป็นพิเศษ
  • 16:55 - 16:57
    คอมเมนต์มาคุยกันด้านล่างได้เลยค่ะ
  • 16:57 - 16:58
    และที่สำคัญนะคะ
  • 16:58 - 17:01
    อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังใจให้วิว แล้วก็กดแชร์เพื่อชวนเพื่อน ๆ มาดูด้วยกันค่ะ
  • 17:01 - 17:03
    แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้านะคะ
  • 17:03 - 17:04
    บ๊ายบาย สวัสดีค่ะ
  • 17:04 - 17:06
    นี่ เดี๋ยวหลายคนจะไม่เชื่อนะคะว่าใช้จริง
  • 17:06 - 17:08
    ได้ใช้แล้วเห็นมั้ย ตรงนี้
  • 17:08 - 17:10
    มันขึ้นว่า dtac-T 4G นะคะ
  • 17:10 - 17:12
    แปลว่าได้ใช้ dtac TURBO แล้ว
  • 17:12 - 17:13
    น่อ สัญญาณเต็ม
  • 17:13 - 17:15
    ถึงคนข้างหลังจะเยอะแค่ไหนก็ตาม
  • 17:15 - 17:16
    มันก็แบบ ลื่นปรื๊ดเลย
  • 17:16 - 17:19
    อยากรู้ว่าตัวเองได้ใช้รึยัง ลองเช็กกันดูได้นะคะ
  • 17:19 - 17:21
    รีบกดเร็ว *2300#
  • 17:21 - 17:22
    อย่าลืมเช็กนะ
  • 17:22 - 17:23
    เค วันนี้ไปแล้วค่ะ
  • 17:23 - 17:24
    บ๊ายบาย สวัสดีค่ะ
Title:
ประวัติศาสตร์ Internet | Point of View x dtac
Description:

more » « less
Duration:
17:25

Thai subtitles

Revisions