Return to Video

ตระหนักรู้งานอันมีคุณค่าที่จีดีพีไม่เคยนับมูลค่าให้

  • 0:01 - 0:04
    (ภาษาเมารี: ทาวพิรี่ คือภูเขาของฉัน)
  • 0:04 - 0:06
    (วายคาโต้ คือแม่น้ำของฉัน)
  • 0:06 - 0:08
    (ชื่อของฉันคือมาริลิน)
  • 0:09 - 0:10
    (สวัสดีค่ะ)
  • 0:11 - 0:14
    อย่างที่คุณทราบ ตอนสมัยฉันสาวๆ
  • 0:14 - 0:18
    ฉันได้รับเลือกตั้งเป็น
    สมาชิกรัฐสภานิวซีแลนด์
  • 0:18 - 0:25
    ความที่ยังอายุน้อย
    ฉันเรียนรู้จากการฟังเรื่องราวคนอื่น
  • 0:25 - 0:31
    ฉันยังจำเรื่องของผู้หญิง
    ที่ได้รับอุบัติเหตุจากงานในฟาร์มได้
  • 0:31 - 0:33
    ตอนนั้นใกล้ถึงฤดูตัดขนแกะ
  • 0:34 - 0:35
    ที่ฟาร์ม
  • 0:36 - 0:39
    เธอเลยต้องมีคนเลี้ยงแกะมาช่วย
  • 0:39 - 0:42
    ต้องมีคนงานมาช่วยตัดขนแกะ
  • 0:42 - 0:47
    งานบ้านก็ต้องหาคนมาช่วยด้วยเช่นกัน
  • 0:47 - 0:51
    แล้วไหนจะต้องเตรียมอาหารให้คนงานอีก
  • 0:51 - 0:55
    เธอได้แม่ของเธอมาช่วย
  • 0:57 - 1:00
    แม่มาช่วยโดยที่ไม่ได้รับค่าแรงอะไร
  • 1:00 - 1:05
    เพราะไม่ว่าแม่คนไหน
    หรือใครในครอบครัวต้องมาช่วยกันอยู่แล้ว
  • 1:06 - 1:11
    แล้วมีอยู่ปีหนึ่ง มีบริษัทชื่อ
    "เหมือนทองนิวซีแลนด์"
  • 1:11 - 1:17
    ยื่นขอใบอนุญาตสำรวจ
    ในพื้นที่ภูเขาพิรอนเกียที่สวยงาม
  • 1:18 - 1:20
    ตรงนั้นเป็นพื้นที่ภูเขา
  • 1:21 - 1:26
    ที่เต็มไปด้วยระบบนิเวศที่ไม่เหมือนใคร
  • 1:26 - 1:31
    เป็นผืนป่าบริสุทธิ์เขียวขจี
  • 1:32 - 1:35
    เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน
    ช่วยดูดซับคาร์บอน
  • 1:35 - 1:40
    เป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ที่ใกล้สูญพันธ์
    และแมลงที่ช่วยผสมเกสร
  • 1:40 - 1:42
    ให้แก่พื้นที่เพาะปลูกใกล้เคียง
  • 1:43 - 1:49
    ในขณะที่บริษัทเหมือง
    วาดภาพเศรษฐกิจอันรุ่งเรือง
  • 1:49 - 1:54
    เพราะจะมีเงินทองมากมายสะพัด
  • 1:54 - 1:57
    จากการทำเหมืองบนภูเขานี้
  • 1:57 - 2:01
    จะเกิดการเติบโตและพัฒนาการ
  • 2:01 - 2:05
    ที่จะเห็นได้ในประมาณการณ์เศรษฐกิจ
    ของนิวซีแลนด์
  • 2:06 - 2:09
    แต่ถึงตอนนั้นเราก็จะเหลือแต่คำเล่าขาน
  • 2:09 - 2:13
    ถึงความสมบูรณ์งดงามของภูเขาแห่งนี้
  • 2:14 - 2:18
    โชคดีที่เรายุติโครงการนี้
  • 2:19 - 2:21
    มันทำให้ฉันนึกถึง
  • 2:21 - 2:25
    ผู้หญิงที่มีลูกเล็กๆ 3 คน
  • 2:26 - 2:29
    แล้วยังต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า
  • 2:30 - 2:33
    โดยที่ไม่เคยมีใครสนใจเลยว่าบางครั้ง
  • 2:34 - 2:39
    เธอก็อาจต้องการคนมาช่วยดูแลลูก
  • 2:39 - 2:42
    นี่เพราะเธอไม่ได้เป็นแรงงานในระบบ
  • 2:43 - 2:48
    ฉันได้ฟังเรื่องราวลักษณะนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  • 2:49 - 2:51
    จนฉันต้องเริ่มตั้งคำถาม
  • 2:51 - 2:58
    เพื่อหาว่าต้นตอสาเหตุของมันว่าคืออะไร
  • 2:58 - 3:01
    ที่ทำให้เกิดเรื่องราวแบบนี้อยู่ร่ำไป
  • 3:03 - 3:04
    แล้วฉันก็พบว่า
  • 3:05 - 3:11
    มันมีการคำนวณทางเศรษฐศาสตร์
    ที่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
  • 3:11 - 3:13
    หรือ จีดีพี
  • 3:13 - 3:15
    คุณส่วนมากคงเคยได้ยินชื่อนี้
  • 3:16 - 3:21
    แต่หลายคนก็อาจไม่รู้ว่ามันคืออะไร
  • 3:22 - 3:28
    วิธีคำนวณนี้ถูกคิดขึ้นโดย
    ชายที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก ในปี 1953
  • 3:30 - 3:35
    เขากำหนดเกณฑ์ของ
    สิ่งที่ถือเป็นผลิตผล
  • 3:35 - 3:37
    เพื่อใช้ในการคำนวณ
  • 3:37 - 3:39
    โดยเขาจะนับเฉพาะ
  • 3:39 - 3:42
    สิ่งที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนในตลาด
  • 3:43 - 3:46
    เพราะฉะนั้นเกณฑ์ก็คือ
  • 3:46 - 3:49
    ทุกสิ่งที่นำมาแลกเปลี่ยนในตลาดได้ จะถูกนับ
  • 3:50 - 3:53
    โดยไม่สนใจว่ามันเป็น
    รายการที่ถูกหรือผิดกฎหมาย
  • 3:54 - 3:59
    การค้าที่แม้จะผิดกฎหมาย
    ไม่ว่าจะเป็นการค้าอาวุธ
  • 3:59 - 4:02
    การค้ายาเสพติด การค้าสัตว์ใกล้สูญพันธ์
  • 4:02 - 4:04
    การค้ามนุษย์
  • 4:04 - 4:07
    การค้าในลักษณะนี้ถือว่ามีมูลค่า
  • 4:07 - 4:08
    และถูกนับรวมเข้า
  • 4:09 - 4:13
    และมีผลิตผลที่ถูกแยกออกมา
  • 4:13 - 4:16
    กฏเกณฑ์นี้มีกำหนดคำเรียกเฉพาะ
  • 4:18 - 4:25
    สำหรับผลิตผลที่ทำโดยคน
    ที่เขาจะเรียกว่า "ผู้ไม่ใช่ผู้ผลิตขั้นต้น"
  • 4:25 - 4:28
    เป็นผลิตผลที่มีมูลค่าน้อยหรือไม่มีเลย
  • 4:29 - 4:34
    มาดูกันว่าเรามีผู้ไม่ใช่ผู้ผลิตขั้นต้น
    อยู่กันที่นี่สักเท่าไหร่
  • 4:34 - 4:37
    มีใครบ้างที่อาทิตย์ที่แล้วมา
  • 4:37 - 4:42
    ขับรถรับส่งคนในครอบครัว
    หรือช่วยขนข้าวของให้
  • 4:42 - 4:44
    โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน
  • 4:45 - 4:48
    มีใครบ้างที่ทำความสะอาดเล็ก ๆ น้อย ๆ
  • 4:49 - 4:52
    ปัดกวาดอะไรต่ออะไร
    จัดเก็บข้าวของในครัว
  • 4:52 - 4:54
    ใครบ้าง
  • 4:54 - 4:57
    มีใครออกไปซื้อของให้คนในบ้าน
  • 4:58 - 5:02
    ทำอาหารให้ ล้างจานให้
  • 5:02 - 5:04
    ซักผ้าให้ รีดผ้าให้
  • 5:06 - 5:09
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:10 - 5:14
    เอาล่ะค่ะ ในแง่เศรษฐศาสตร์นะคะ
  • 5:14 - 5:16
    นั่นพวกคุณกำลังพักผ่อน
  • 5:16 - 5:19
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:19 - 5:24
    (เสียงปรบมือโห่ร้อง)
  • 5:26 - 5:29
    ทีนี้ถามคุณผู้หญิงบ้าง
  • 5:29 - 5:32
    มีใครกำลังท้อง ใครบ้างที่มีลูก
  • 5:33 - 5:34
    ใครบ้างค่ะ
  • 5:35 - 5:37
    ฉันเสียใจที่จะบอกคุณแม่ๆ ว่า
  • 5:37 - 5:40
    ถึงแม้นั่นจะเป็นงานที่หนักมาก
  • 5:40 - 5:43
    แต่เขาถือว่าคุณไม่มีประสิทธิผล
  • 5:43 - 5:46
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:46 - 5:51
    แม่บางคนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • 5:51 - 5:55
    ในผลผลิตประชาชาติของนิวซีแลนด์
  • 5:56 - 6:00
    หรือที่เขาเรียกกันว่า จีดีพี
  • 6:00 - 6:03
    ในผลผลิตรวมของนิวซีแลนด์
  • 6:03 - 6:06
    น้ำนมของควาย แพะ แกะ และวัว
  • 6:06 - 6:07
    ถือว่ามีมูลค่า
  • 6:07 - 6:09
    แต่น้ำนมมนุษย์นั้นไม่มีมูลค่า
  • 6:09 - 6:11
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:12 - 6:14
    ทั้งที่นั่นเป็นอาหารสุดวิเศษ
  • 6:15 - 6:19
    ทั้งที่นั่นคือการลงทุนลงแรง
    ที่เกินคุ้มต่อสุขภาพ
  • 6:19 - 6:21
    และสติปัญญาของทารกของเรา
  • 6:21 - 6:23
    แต่ไม่ถูกนับว่ามีมูลค่าอะไรเลย
  • 6:24 - 6:29
    กิจกรรมที่ว่ามาทั้งหมด
    ไม่ถูกนับว่ามีมูลค่าอะไร
  • 6:30 - 6:33
    มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญและควรรู้
  • 6:33 - 6:35
    เกี่ยวกับแนวคิดทางบัญชีนี้
  • 6:35 - 6:37
    เขาเรียกมันว่า "บัญชี"
  • 6:37 - 6:39
    แต่กลับเป็นบัญชีที่ไม่มีด้านเดบิต
  • 6:40 - 6:45
    เราสนใจแค่ว่า
    ขอให้มีกิจกรรมการค้าขาย
  • 6:45 - 6:46
    ให้ตัวเลขเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
  • 6:47 - 6:48
    เราอาศัยกันอยู่ที่ไครสต์เชิร์ช
  • 6:49 - 6:56
    เราต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  • 6:56 - 6:57
    และการฟื้นฟู
  • 6:59 - 7:00
    นับตั้งแต่ที่
  • 7:02 - 7:04
    ชาวนิวซีแลนด์ถูกบอกว่า
  • 7:05 - 7:10
    ตัวเลขการเติบโตของเราดีเยี่ยม
    เพราะมีกิจกรรมการฟื้นฟูเมือง
  • 7:11 - 7:13
    ไม่มีอะไรกระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
  • 7:13 - 7:16
    ตามมุมมองของผลผลิตประชาชาติ
  • 7:16 - 7:18
    ไม่ว่าจากการสูญเสียชีวิต
  • 7:18 - 7:20
    การสูญเสียที่ดิน
  • 7:20 - 7:22
    การสูญเสียอาคารบ้านเรือน
  • 7:22 - 7:24
    การพังทลายของสิ่งต่างๆ
  • 7:25 - 7:29
    ตอนนี้พวกคุณคงพอนึกภาพออก
  • 7:29 - 7:34
    ว่ามุมมองแบบนี้จะกระทบกับสิ่งแวดล้อมยังไง
  • 7:35 - 7:37
    การทำเหมือง
  • 7:37 - 7:39
    การถางทำลายป่า
  • 7:39 - 7:43
    การทำลายสิ่งแวดล้อม
  • 7:43 - 7:48
    การทำประมงแบบทำลายล้าง
  • 7:48 - 7:50
    ไม่ว่าถูกหรือผิดกฎหมาย
  • 7:50 - 7:53
    ตราบเท่าที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
    นั่นถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
  • 7:54 - 7:57
    การไม่เข้าไปตักตวงทรัพยากรธรรมชาติ
  • 7:57 - 8:00
    การรักษา การปกป้อง
  • 8:00 - 8:03
    ไม่ถือว่ามีมูลค่าอะไรเลย
  • 8:06 - 8:11
    แล้วเราจะทำอะไรและอย่างไรกับเรื่องนี้ได้
  • 8:11 - 8:14
    ฉันเคยเขียนเอาไว้เมื่อ 30 ปีก่อน
  • 8:14 - 8:18
    จนเมื่อปี 2008 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก
  • 8:18 - 8:20
    ประธานาธิบดีซาร์กอซีของฝรั่งเศส
  • 8:20 - 8:25
    ขอคำปรึกษาจากนักเศรษฐศาสตร์
    ระดับรางวัลโนเบล 3 คน
  • 8:25 - 8:28
    เซน ฟิตตูสซี่ และสติกลิตซ์
  • 8:28 - 8:30
    แล้วก็ได้คำตอบเดียว
    กับที่ฉันได้เขียนไว้
  • 8:30 - 8:31
    เมื่อ 30 ปีก่อน
  • 8:31 - 8:33
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:33 - 8:38
    (เสียงปรบมือ)
  • 8:41 - 8:46
    พวกเขาบอกว่า การสนใจแต่
    ตัวเลขการขยายตัวของจีดีพี
  • 8:46 - 8:50
    ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ดี
  • 8:50 - 8:52
    ในการกำหนดนโยบายของรัฐ
  • 8:52 - 8:54
    ซึ่งฉันเห็นด้วยกับพวกเขาอย่างยิ่งเลย
  • 8:54 - 8:57
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:59 - 9:02
    ฉันจะบอกอะไรให้อีกอย่าง
    เกี่ยวกับการคำนวณจีดีพี
  • 9:02 - 9:09
    มันเคยถูกทบทวนเมื่อปี 1968
    แล้วก็ในปี 1993 กับปี 2008
  • 9:10 - 9:13
    ส่วนใหญ่ทำการทบทวนโดยนักสถิติ
  • 9:13 - 9:17
    แล้วพวกนักสถิติก็รู้ว่า
    มันมีปัญหากับตัวเลขพวกนี้
  • 9:17 - 9:22
    แต่นักเศรษฐศาสตร์ยังสนใจแต่ว่า
    ตัวเลขการเติบโตเป็นเท่าไหร่
  • 9:23 - 9:26
    พอมาปี 2019
  • 9:26 - 9:30
    การใช้จีดีพีก็ยิ่งมีปัญหา
  • 9:30 - 9:32
    อย่างนี้ค่ะ การคำนวณจีดีพี
  • 9:32 - 9:36
    คุณต้องกำหนดว่า
    การผลิตใด
  • 9:36 - 9:39
    การบริการหรือการบริโภคใด
  • 9:39 - 9:41
    เกิดขึ้นภายในเขตประเทศ
  • 9:41 - 9:44
    ที่คุณรู้ได้ชัดเจน
  • 9:45 - 9:49
    แต่เงินหลายล้านล้านดอลล่าร์
    กำลังหมุนเวียนในโลก
  • 9:50 - 9:57
    บางส่วนหมุนเวียนผ่าน
    กูเกิล เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์
  • 9:57 - 10:01
    ที่ถ่ายเทผ่านช่องทางปลอดภาษีต่างๆ
  • 10:01 - 10:04
    ดังนั้นตอนเราคลิกคอมพิวเตอร์เรา
  • 10:04 - 10:07
    เพื่อดาวน์โหลดซอฟต์แวร์
  • 10:07 - 10:09
    เราไม่รู้ว่ามันผลิตขึ้นที่ไหน
  • 10:09 - 10:15
    เอาเข้าจริงแล้ว ก็ไม่มีใครรู้ว่า
    เรากำลังซื้อจากที่ไหนด้วย
  • 10:16 - 10:19
    ช่องทางปลอดภาษีเหล่านี้
  • 10:19 - 10:23
    บิดเบือนตัวเลขจีดีพียิ่งขึ้น
  • 10:23 - 10:25
    อย่างเมื่อสามปีก่อน
  • 10:25 - 10:27
    ยุโรปเริ่มตั้งข้อสังเกตกับไอร์แลนด์
  • 10:27 - 10:30
    "เราว่าคุณไม่ได้รายงานตัวเลขจริงนะ"
  • 10:30 - 10:34
    พอปีถัดมาเท่านั้น
    จีดีพีก็กระโดดขึ้นไป 35%
  • 10:35 - 10:39
    ตอนนี้งานทุกอย่างที่คุณทำ
  • 10:40 - 10:43
    งานที่ไม่เคยถูกนับเป็นผลิตผล
  • 10:43 - 10:45
    เราสามารถนับรวมได้
  • 10:45 - 10:48
    ด้วยการใช้แบบสำรวจเวลา
  • 10:48 - 10:51
    เมื่อเรานับรวมจากการใช้เวลา
  • 10:51 - 10:54
    ในภาคการทำงานที่ไม่มีค่าจ้าง
  • 10:54 - 10:59
    เราพบในเกือบทุกประเทศที่เราได้เห็นข้อมูล
  • 10:59 - 11:03
    ว่านี่คือภาคส่วนที่ใหญ่ที่สุด
    ของเศรษฐกิจของประเทศ
  • 11:04 - 11:07
    จากตัวอย่างเช่น
    สามปีที่ผ่านมา
  • 11:07 - 11:10
    นักสถิติของอังกฤษได้เปิดเผยว่า
  • 11:10 - 11:14
    ขนาดภาคส่วนที่ไม่มีค่าจ้าง
    มีขนาดใหญ่เท่ากับภาคการผลิต
  • 11:14 - 11:17
    และภาคการค้าปลีกทั้งหมดของอังกฤษ
  • 11:18 - 11:19
    ในออสเตรเลีย
  • 11:20 - 11:26
    ภาคส่วนที่ใหญ่ที่สุดของเศรษฐกิจออสเตรเลีย
    คือการดูแลเด็กเล็ก ซึ่งไม่มีค่าจ้าง
  • 11:26 - 11:31
    ภาคส่วนที่ใหญ่เป็นลำดับที่สอง
    คือการทำงานที่ไม่มีค่าจ้างอื่นๆ
  • 11:31 - 11:36
    ใหญ่กว่าภาคบริการทางการเงิน
  • 11:36 - 11:40
    ที่เคยถือว่าเป็นภาคส่วนที่ใหญ่ที่สุด
  • 11:40 - 11:45
    เมื่อปีที่ผ่านมานี่เอง
    ผู้ว่าการรัฐวิกตอเรีย ที่ออสเตรเลีย
  • 11:45 - 11:49
    แถลงว่ามูลค่าของ งานที่ไม่มีการจ่ายค่าจ้าง
  • 11:49 - 11:52
    มีมูลค่าเท่ากับ ครึ่งหนึ่งของจีดีพีของรัฐ
  • 11:53 - 11:54
    เอาล่ะ สำหรับคนกำหนดนโยบาย
  • 11:54 - 11:58
    คุณมีนโยบายที่ดีไม่ได้
  • 11:58 - 12:01
    ถ้าภาคส่วนเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของคุณ
  • 12:01 - 12:03
    ถูกมองข้าม
  • 12:04 - 12:09
    คุณจะไม่อาจรู้ว่า
    มีความต้องการเกิดขึ้นที่ไหน
  • 12:09 - 12:13
    คุณมองไม่เห็นคุณภาพชีวิตผู้คน
  • 12:13 - 12:19
    คุณจะจัดการประเด็นปัญหา
    ของความต้องการไม่ได้
  • 12:20 - 12:24
    แล้วเราจะเอาจีดีพีไปใช้ทำอะไรได้
  • 12:24 - 12:30
    ตัวเลขจีดีพียังมีปัญหาอื่นๆ อีก
  • 12:31 - 12:35
    จีดีพีไม่สะท้อนวิถีในปัจจุบันแล้ว
  • 12:35 - 12:37
    ตอนนี้ผู้คนจำนวนมากทั่วทั้งโลก
  • 12:37 - 12:42
    กำลังใช้สินทรัพย์ของเขา
    เช่น รถ บ้าน หรือตัวเขาเอง
  • 12:42 - 12:45
    ทำธุรกิจผ่าน อูเบอร์ แอร์บีเอ็นบี
  • 12:45 - 12:49
    แต่ไม่ซิ เราไม่เอาสินทรัพย์
    จากภาคที่ไม่มีการจ้างงาน
  • 12:49 - 12:52
    ไปใช้สร้างรายได้จากตลาดนี่นา
  • 12:52 - 12:54
    มันทำให้สับสน
  • 12:54 - 12:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 12:56 - 12:59
    แล้วมันก็วัดยาก
  • 13:00 - 13:03
    พวกนักเศรษฐศาสตร์ก็เลยปิดหูปิดตา
  • 13:03 - 13:07
    ไม่รับรู้ว่าตัวเลขจีดีพีสุดประเสริฐของเขา
    มีปัญหาอะไร
  • 13:07 - 13:12
    ฉันว่าเขาก็คงเจอปัญหามาก
    เลยไปแอบอยู่เงียบ ๆ ตรงมุมห้อง
  • 13:12 - 13:14
    แล้วก็คำนวณตัวเลขจีดีพีไป
  • 13:14 - 13:17
    โดยที่ไม่สนใจรับรู้โลกข้างนอก
  • 13:17 - 13:19
    ที่กำลังพูดถึงการใช้สินทรัพย์
  • 13:19 - 13:22
    และทรัพยากรธรรมชาติ
  • 13:22 - 13:27
    และหาตัวชี้วัดอื่นที่ครอบคลุม
    ทุกแง่มุมการใช้ชีวิตของผู้คน
  • 13:27 - 13:31
    ตัวฉันเห็นว่า เวลาที่ใช้
    เป็นตัวชี้วัดที่ดีที่น่าพิจารณา
  • 13:31 - 13:35
    เราแต่ละคนมีเวลาที่เท่ากัน
  • 13:35 - 13:41
    แต่การนำมาใช้จะก่อให้เกิดการถกเถียง
  • 13:41 - 13:44
    ดังนั้นเราต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน
  • 13:44 - 13:49
    เพราะถ้าเราเปลี่ยนตัวชี้วัดไปจากจีดีพี
  • 13:49 - 13:51
    เราก็ต้องใช้มันกันไปอีกนาน
    อาจจะ 50 ปี
  • 13:51 - 13:55
    ดังนั้นตัวชี้วัดใหม่
    จะต้องชัดเจน ไม่เปลี่ยนไปมา
  • 13:55 - 13:57
    แล้วทุกคนก็เข้าใจได้ง่าย
  • 13:57 - 14:00
    เพราะถ้าฉันเอาข้อมูลการใช้เวลา
    มาวางให้คุณดู
  • 14:00 - 14:02
    คุณก็จะพยักหน้ารับทันที
  • 14:02 - 14:06
    คุณพอจะเข้าใจได้ทันทีว่ามันหมายถึงอะไร
  • 14:06 - 14:08
    บอกตามตรง
  • 14:08 - 14:11
    ถ้าเปลี่ยนเป็นข้อมูลจีดีพีมาแทน
  • 14:11 - 14:15
    คุณแทบทุกคนก็คงอยากจะลุก
    ออกไปหาชากินแทนดีกว่า
  • 14:15 - 14:17
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:17 - 14:23
    เราต้องให้ความสนใจกับ
    คุณภาพของสิ่งแวดล้อมด้วย
  • 14:25 - 14:29
    เวลาที่ผ่านมา เราได้พัฒนา
  • 14:29 - 14:32
    ตัวชี้วัดระดับความเสื่อมลง
    ของสิ่งแวดล้อม
  • 14:32 - 14:36
    และรู้ว่าเราล้มเหลวในการปกป้องมัน
  • 14:37 - 14:39
    ด้วยภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
  • 14:39 - 14:45
    เราไม่ต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์
    ก็ยังเห็นได้ ยังรู้สึกได้ ยังรู้ได้
  • 14:45 - 14:47
    ว่าเกิดอะไรขึ้นกับโลกที่สวยงามของเรา
  • 14:49 - 14:51
    เรา ในประเทศนี้
  • 14:52 - 14:57
    ควรได้เรียนรู้อย่างมากจาก
    แนวคิด คาเทียอาคิทังก้า (การปกป้อง)
  • 14:57 - 14:59
    แนวคิด วานัวกาทังอก้า
    (การร่วมมือกัน)
  • 14:59 - 15:03
    เรียนรู้จากชาวเมารี
    ที่อาศัยอยู่ที่นี่มานับร้อยๆ ปี
  • 15:06 - 15:08
    เมื่อคุณเป็นผู้แทนในรัฐสภา
  • 15:09 - 15:12
    คุณจะไม่มองเฉพาะมุมมองด้านเศรษฐกิจ
  • 15:13 - 15:17
    คุณตัดสินใจจากข้อมูลที่หลากหลาย
  • 15:18 - 15:20
    คุณมองถึงผลดีผลเสีย
  • 15:20 - 15:23
    คุณใคร่ครวญถึงผลกระทบ
  • 15:23 - 15:28
    ที่มากกว่าเหตุผลว่าจีดีพีจะขึ้นหรือลง
  • 15:30 - 15:36
    นักเศรษฐศาสตร์ต้องการเปลี่ยน
    ให้ทุกอย่างวัดได้จากการซื้อขายแลกเปลี่ยน
  • 15:36 - 15:38
    แม้แต่ข้อมูลการใช้เวลา
  • 15:38 - 15:42
    เพียงเพื่อจะนำตัวเลขไปคำนวณ
  • 15:42 - 15:45
    ว่าจีดีพีเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  • 15:47 - 15:48
    นั้นไม่ใช่หนทางที่ดีเลย
  • 15:49 - 15:50
    มีบางคนเคยพูดกับฉันว่า
  • 15:50 - 15:53
    มาริลินน์ ทำไมคุณไม่หาทางให้
  • 15:53 - 15:55
    ตัวเลขการทำงานที่ไม่มีค่าจ้าง
  • 15:55 - 15:58
    การตั้งครรถ์ การให้กำเนิด
    การให้นมลูก
  • 15:58 - 16:00
    ถูกรวมอยู่ใน จีดีพี
  • 16:02 - 16:06
    เป็นเรื่องสำนึกผิดชอบมากทีเดียว
    ที่จะตอบคำถามนี้
  • 16:08 - 16:12
    เพราะฉันไม่ต้องการให้
    สิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดในโลก
  • 16:12 - 16:14
    สิ่งที่ฉันเชิดชู
  • 16:14 - 16:19
    ถูกจัดรวมเข้ากับแนวคิดที่เห็นว่า
    สงครามทำให้เศรษฐกิจเฟื่องฟู
  • 16:19 - 16:24
    (เสียงปรบมือโห่ร้อง)
  • 16:29 - 16:30
    ฉะนั้นนับจากนี้
  • 16:30 - 16:32
    เมื่อคุณฟังข่าว
  • 16:32 - 16:35
    คุณจะไม่งงเมื่อได้ยินคำว่า จีดีพี
  • 16:35 - 16:37
    แต่คุณจะบอกว่า
  • 16:37 - 16:39
    "ฉันรู้ว่าเขาพูดถึงอะไร
    และมันไม่ได้เรื่องหรอก"
  • 16:39 - 16:41
    (เสียงหัวเราะ)
  • 16:42 - 16:45
    ฉันรู้ว่ามีทางเลือกอื่นอยู่
  • 16:45 - 16:50
    ฉันจะใช้เวลาให้ความรู้กับผู้คน
  • 16:50 - 16:53
    ทำความเข้าใจกับเขาเรื่องเกณฑ์การให้คุณค่า
  • 16:53 - 16:57
    เสนอว่ามีทางเลือกอื่นๆ อะไรได้บ้าง
  • 16:57 - 16:59
    เพราะมนุษยชาติ
  • 16:59 - 17:00
    และโลกของเรา
  • 17:00 - 17:02
    ต้องการทางเลือกใหม่
  • 17:03 - 17:04
    ขอบคุณค่ะ
  • 17:04 - 17:06
    (เสียงปรบมือโห่ร้อง)
Title:
ตระหนักรู้งานอันมีคุณค่าที่จีดีพีไม่เคยนับมูลค่าให้
Speaker:
มาริลิน วอริ่ง
Description:

รู้หรือไม่ว่างานบ้านที่คุณทำไม่ว่าซักรีดเสื้อผ้า ดูแลลูก ซื้อหาข้าวของเข้าบ้าน หรืออะไรต่าง ๆ นั้น ไม่ถูกนับรวมเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า จีดีพี แม้งานเหล่านี้้จะเป็นงานที่มีคุณค่า แต่กลับไม่ถือว่ามีมูลค่าอะไรเลยต่อเศรษฐกิจ คุณมาริลิน วอริ่ง นักเศรษฐศาสตร์จะมาเล่าให้เราเห็นถึงมุมมองที่คับแคบนี้ และว่าทำไมเราจึงต้องหาตัวชี้วัดอื่นที่ดีกว่า ที่จะครอบคลุมคุณภาพชีวิตของผู้คน ตลอดจนถึงสิ่งแวดล้อมของโลกที่เราอาศัยอยู่ด้วย

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:19

Thai subtitles

Revisions Compare revisions