Return to Video

ทำไมหนังสือเล่มจึงมีชีวิตยืนยาว

  • 0:00 - 0:03
    ผมยินดีให้คนอื่นยืมหนังสือ
    แต่แน่นอนว่า กฎก็คือ
  • 0:03 - 0:07
    "อย่าทำลายมัน เว้นแต่ว่า
    คุณไม่ต้องการเห็นหนังสือเล่มนั้นอีกต่อไป"
  • 0:07 - 0:08
    [สิ่งเล็กน้อย]
  • 0:08 - 0:10
    [ความคิดที่ยิ่งใหญ่]
  • 0:13 - 0:17
    ลักษณะทางกายภาพของหนังสือ
    นั้นแทบจะเหมือนกับของบุคคล
  • 0:17 - 0:19
    ผมหมายถึงมันมีกระดูกสันหลัง
  • 0:19 - 0:20
    มีหน้าตา
  • 0:20 - 0:23
    ที่จริงแล้ว หนังสือสามารถ
    เป็นเพื่อนคุณได้คนหนึ่ง
  • 0:23 - 0:26
    หนังสือบันทึกประสบการณ์พื้นฐานของมนุษย์
  • 0:26 - 0:28
    ที่สื่ออื่นไม่สามารถทำได้
  • 0:28 - 0:29
    ก่อนหน้าที่จะมีหนังสือ
  • 0:29 - 0:32
    อารยธรรมโบราณจะบันทึกสิ่งต่างๆ
  • 0:32 - 0:36
    ด้วยการทำรอยบากบนกระดูกหรือหิน
    หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เขามี
  • 0:36 - 0:40
    หนังสือเล่มแรกที่เรารู้จัก
    มาจากอารยธรรมโรมโบราณ
  • 0:40 - 0:42
    โดยอ้างอิงจากคำศัพท์ว่าโคเด็กซ์ (codex)
  • 0:42 - 0:45
    ในยุคนั้นเขาจะใช้แผ่นไม้คู่หนึ่งที่หนัก
  • 0:45 - 0:46
    มาทำเป็นปกหนังสือ
  • 0:46 - 0:49
    และเพื่อให้ง่ายต่อการขนย้ายไปไหนมาไหน
  • 0:49 - 0:54
    หน้ากระดาษข้างในที่เป็นเนื้อหา
    ก็จะถูกเย็บติดเข้าด้วยกันทั่วทั้งข้างหนึ่ง
  • 0:54 - 0:57
    ชาวโรมโบราณเขียนหนังสือ
    ด้วยมือเพียงอย่างเดียว
  • 0:57 - 0:59
    ซึ่งก็กลายเป็นงานที่เราเรียกว่า นักเขียน
  • 0:59 - 1:03
    อันที่จริงแล้ว
    หนังสือในยุคนั้นคือของหรูหรา
  • 1:03 - 1:06
    จากนั้นช่างพิมพ์ ชื่อว่า
    โยฮันเนิส กูเทินแบร์ค
  • 1:06 - 1:12
    ในกลางศตวรรษที่สิบห้า
    ได้สร้างเครื่องมือผลิตหนังสือในปริมาณมาก
  • 1:12 - 1:13
    นั่นคือเครื่องพิมพ์สมัยใหม่
  • 1:13 - 1:15
    หลังช่วงเวลานี้เท่านั้น
  • 1:15 - 1:19
    ที่ประชาชนทั่วไปถึงจะ
    ซื้อหาหนังสือได้เป็นของตัวเอง
  • 1:19 - 1:24
    ปกหนังสือต่างๆ
    เริ่มถูกนำมาใช้ในต้นศตวรรษที่สิบเก้า
  • 1:24 - 1:27
    ตอนนั้นเราเรียกมันว่าปกหุ้มหนังสือ
  • 1:27 - 1:29
    ปกหุ้มหนังสือมักมีโฆษณาติดอยู่
  • 1:29 - 1:31
    คนเลยมักเอามันออกและโยนทิ้งไป
  • 1:31 - 1:35
    และเฉพาะช่วงหลังเปลี่ยนจาก
    ศตวรรษที่สิบเก้าสู่ศตวรรษที่ยี่สิบเท่านั้น
  • 1:35 - 1:40
    ที่ปกหุ้มหนังสือถูกให้ความสำคัญ
    ในแง่การออกแบบ
  • 1:40 - 1:41
    โดยตัวของมันเอง
  • 1:42 - 1:44
    เช่นว่า เวลาที่ผมมองปกหนังสือและคิดว่า
  • 1:44 - 1:45
    "ผมอยากอ่านหนังสือเล่มนี้
  • 1:46 - 1:47
    ปกนี้ดึงดูดความสนใจฉัน"
  • 1:47 - 1:51
    หนังสือเล่มโดยตัวมันเองแล้ว
    สะท้อนถึงความก้าวหน้าของความรู้ของมนุษย์
  • 1:51 - 1:54
    และตัวมันเองก็เป็นส่วนหนึ่ง
    ของสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ด้วย
  • 1:54 - 1:57
    หนังสือเล่มให้การปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่าน
  • 1:57 - 2:01
    ที่ไม่เหมือนกับสิ่งใด
    ที่มนุษย์เคยมีมาก่อน
  • 2:01 - 2:04
    คุณสามารถบอกว่า
    มันยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
  • 2:04 - 2:06
    ที่จะส่งสารให้กับผู้อ่าน
  • 2:07 - 2:10
    ผมเชื่อว่าเป้าหมายหลักของหนังสือเล่ม
  • 2:10 - 2:13
    คือการบันทึกประสบการณ์การมีชีวิตอยู่ของเรา
  • 2:13 - 2:19
    และทิ้งมันไว้หลังชั้นวางหนึ่ง
    ในห้องสมุด หรือในบ้าน
  • 2:19 - 2:24
    เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เข้ามาอ่าน
    เพื่อทำความเข้าใจว่าพวกเขามาจากไหน
  • 2:24 - 2:27
    เขาจะได้ศึกษาที่มาที่ไป
    ของสิ่งที่พวกเขาสนใจ
  • 2:27 - 2:29
    ได้อย่างละเอียดยิ่งขึ้น
  • 2:29 - 2:32
    ซึ่งดูคล้ายกับการสนทนากัน
    ระหว่างคนอ่านกับผู้แต่ง
  • 2:32 - 2:36
    ผมว่าเราจะมีมนุษย์สัมพันธ์ต่อหนังสือเล่ม
  • 2:36 - 2:39
    มากกว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
  • 2:39 - 2:42
    ผู้คนต้องการประสบการณ์ของการจับถือ
  • 2:42 - 2:47
    ของการเปิดหน้ากระดาษ
    ของการคั่นหน้าหนังสือ
  • 2:47 - 2:50
    และที่สำคัญที่สุดคือ
    กลิ่นของหนังสือ
  • 2:50 - 2:54
    กลิ่นน้ำหมึกสดใหม่บนกระดาษ
    หรือกลิ่นกระดาษเก่า
  • 2:55 - 2:57
    ซึ่งกลิ่นเหล่านี้ไม่สามารถหาได้จากสิ่งอื่น
  • 2:57 - 3:01
    หนังสือเล่มยังไม่มีสวิตช์เปิดปิด
  • 3:01 - 3:04
    เรื่องราวในหนังสือนั้น
    คุณสามารถถือมันไว้ในมือ
  • 3:04 - 3:05
    และนำมันออกไปในที่ต่างๆ
  • 3:05 - 3:08
    นั่นคือสิ่งที่ทำให้มันมีคุณค่ามหาศาล
  • 3:08 - 3:13
    ผมคิดว่าข้อดีนี้ทำให้มันมี
    คุณค่าในแง่อายุการใช้งาน
  • 3:13 - 3:15
    ผมพูดจริงๆ นะ
    ชั้นหนังสือน่ะ
  • 3:15 - 3:16
    ถูกสร้างมาให้อยู่นานกว่าคนเสียอีก
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:16 - 3:18
    ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็ตาม
Title:
ทำไมหนังสือเล่มจึงมีชีวิตยืนยาว
Speaker:
ชิพ คิด
Description:

แม้จะมีความนิยมในการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น หนังสือเล่มก็ไม่ได้จางหายไปไหน ชิพ คิด นักออกแบบกราฟิก มาแบ่งปันความคิดว่าทำไมหนังสือเล่มถึงมีชีวิตยืนยาว

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED Series
Duration:
03:32
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for Why books are here to stay
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for Why books are here to stay
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Why books are here to stay
Mongkonluck Mathavabhandhu edited Thai subtitles for Why books are here to stay
Mongkonluck Mathavabhandhu edited Thai subtitles for Why books are here to stay
Mongkonluck Mathavabhandhu edited Thai subtitles for Why books are here to stay
Mongkonluck Mathavabhandhu edited Thai subtitles for Why books are here to stay

Thai subtitles

Revisions