< Return to Video

อะไรแกร่งกว่า: กาว หรือ เทปกาว - เอลิซาเบธ ค๊อกซ์ (Elizabeth Cox)

  • 0:07 - 0:12
    กาวที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
    มีอายุกว่า 8,000 ปี
  • 0:12 - 0:15
    และมาจากถ้ำใกล้ ๆ กับทะเลเดธซี
  • 0:15 - 0:17
    คนสมัยก่อนใช้กาวชนิดนี้
  • 0:17 - 0:20
    ที่ทำจากสารผสมระหว่างกระดูกสัตว์
    กับสารจากพืช
  • 0:20 - 0:24
    ในการเคลือบตะกร้าให้กันน้ำ
    และสร้างเครื่องมือต่าง ๆ
  • 0:24 - 0:25
    และเป็นเวลากว่าหลายพันปีต่อมา
  • 0:25 - 0:30
    พืชและสัตว์ก็ทำหน้าที่เป็นกาว
    ยึดอารยธรรมของมนุษยชาติเอาไว้ด้วยกัน
  • 0:30 - 0:35
    ในปัจจุบันเรามีเทปกาวและกาว
    พอที่จะใช้สร้างและซ่อมแทบจะทุกอย่าง
  • 0:35 - 0:39
    แต่อะไรกันที่ทำให้กาวและเทปกาว
    มีความเหนียว
  • 0:39 - 0:42
    และอะไรที่แกร่งกว่า
  • 0:42 - 0:44
    สารสำหรับการยึด
    สามารถทำจากโมเลกุลสังเคราะห์
  • 0:44 - 0:47
    หรือโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตตามธรรมชาติ
  • 0:47 - 0:49
    อย่างเช่นแป้งเดกซ์ทรินจากพืช
  • 0:49 - 0:51
    และโปรตีนเคซีนจากนม
  • 0:51 - 0:54
    และเทอร์เพนในยางไม้
  • 0:54 - 1:00
    เพื่อที่จะให้มันใช้การได้ กาวและเทปกาว
    ต้องการทั้งพันธะการยึดและการเกาะ
  • 1:00 - 1:04
    พันธะการยึดเกิดขึ้นระหว่าง
    โมเลกุลการยึด
  • 1:04 - 1:07
    และโมเลกุลของอะไรก็ตาม
    ที่มันติดปะอยู่ด้วย
  • 1:07 - 1:11
    พันธะการเกาะเกิดขึ้นระหว่าง
    โมเลกุลของกาวและเทปกาวเอง
  • 1:11 - 1:13
    ที่ยึดจับกันและกัน
  • 1:13 - 1:17
    กาวส่วนใหญ่ประกอบด้วยโพลีเมอร์การยึด
    ที่ละลายอยู่ในตัวทำละลาย
  • 1:17 - 1:20
    ที่ป้องกันพวกมันจากการติด
    เข้ากับภายในขวด
  • 1:20 - 1:23
    กลิ่นเหม็น ๆ ของกาว
    มาจากตัวทำละลาย
  • 1:23 - 1:26
    ซึ่งระเหยออกมาเมื่อสัมผัสอากาศ
  • 1:26 - 1:29
    กาวบางอย่างใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
  • 1:29 - 1:33
    แต่กาวบางพวกก็ใช้สารเคมี
    ที่อาจเป็นอันตรายเมื่อเราสูดดม
  • 1:33 - 1:38
    กาวมีสองส่วนประกอบหรือมากกว่า
    ที่ทำปฏิกิริยาทงาเคมีกันแทนที่จะแค่แห้ง
  • 1:38 - 1:40
    สามารถที่จะสร้างพันธะได้แข็งแรงกว่า
  • 1:40 - 1:43
    ทั้งพันธะการยึดและการเกาะ
    ของกาวมีความเกร่ง
  • 1:43 - 1:47
    แต่กระบวนการแห้ง
    ทำให้พวกมันไม่สามารถย้อนกลับได้
  • 1:47 - 1:51
    นั่นคือสาเหตุว่าทำไมผิวกาว
    ถึงแตกหลังจากที่มันแห้ง
  • 1:51 - 1:54
    มันไม่สามารถที่จะติดกันกับไปได้
    ถ้าไม่มีกาวใหม่
  • 1:54 - 1:58
    แต่ในทางตรงข้าม
    เมื่อเทปกาวถูกปะลงบนพื้นผิว
  • 1:58 - 2:00
    มันเกิดพันธะอย่างอ่อนที่ย้อนกลับได้
  • 2:00 - 2:05
    ฉะนั้นคุณจึงสามารถแกะเทปกาว
    ออกจากพื้นผิวและใช้มันซ้ำได้
  • 2:05 - 2:08
    พันธะอย่างอ่อนเหล่านี้
    เรียกว่าแรงแวนเดอร์วาล์ว
  • 2:08 - 2:11
    ที่เกิดขึ้นระหว่างวัดถุทั้งสองใด ๆ ก็ได้
  • 2:11 - 2:14
    เพียงแค่มันเข้ามาอยู่ใกล้กันมาก ๆ
  • 2:14 - 2:16
    มากกว่าที่ตาเปล่าเราจะมองเห็น
  • 2:16 - 2:21
    เทปกาวมักจะประกอบด้วยด้านหลัง
    ที่ถูกเคลือบด้วยสารประกอบของยาง
  • 2:21 - 2:24
    หรือสารที่ "ยืดได้" ที่คล้ายยาง
  • 2:24 - 2:26
    และองค์ประกอบที่เรียกว่าตัวทำให้ข้น
  • 2:26 - 2:29
    นั่นแหละคือสาร "เหนี่ยว"
  • 2:29 - 2:31
    ความเหนียวของเทปกาวถูกกำหนด
  • 2:31 - 2:34
    โดยสัดส่วนของสารยืดหยุ่น
    และตัวทำให้ข้น
  • 2:34 - 2:37
    ความเหนี่ยวของการยึดแพร่ออกไปบนส่วนหลัง
  • 2:37 - 2:39
    และชนิดของวัสดุส่วนหลัง
  • 2:39 - 2:44
    ไม่มีปฏิกิริยาเคมีใด ๆ
    เกิดขึ้นเมื่อเราปะเทปลงบนพื้นผิว
  • 2:44 - 2:50
    ในทางตรงข้ามน สารยึดอย่างอ่อน
    ไหลลงไปในร่องหรือรอยแยกของพื้นผิว
  • 2:50 - 2:57
    การเลื่อนลงไปในร่องและติดอยู่กับที่นี้
    เรียกว่า การตอบสนองความเค้น
  • 2:57 - 3:01
    เมื่อสารยึดที่มีการตอบสนองความเค้น
    ลงไปเติมอยู่ในรอยแตกจิ๋วเหล่านี้
  • 3:01 - 3:05
    มันใกล้กันมากพอที่จะทำให้เกิด
    แรงแวนเดอร์วาล์ว
  • 3:05 - 3:09
    แล้วอะไรกันที่เป็นสารยึดที่แกร่งที่สุด
  • 3:09 - 3:11
    อืม เราตอบได้หลายอย่าง
  • 3:11 - 3:14
    ในแง่ของความแข็งแรง
    ของพันธะการยึดล้วน ๆ
  • 3:14 - 3:16
    กาวแกร่งกว่าเทปกาว
  • 3:16 - 3:21
    แต่ไม่มีการยึดใด ๆ
    ที่ใช้การได้ดีกับทุกกรณี
  • 3:21 - 3:25
    กาว ไซยาดนอะไครเลต
    หรือกาวตราช้าง
  • 3:25 - 3:28
    อาจทำให้เกิดพันธะที่แข็งแรงที่สุด
  • 3:28 - 3:33
    แต่กาวอีฟ็อกซี่ที่มีสองส่วนประกอบ
    มีความต้านทานต่อความร้อนและการฉีกสูงกว่า
  • 3:33 - 3:37
    และเหมาะสมกับพื้นผิวหลากหลายชนิดมากกว่า
  • 3:37 - 3:40
    ถ้าคุณต้องการที่จะห้อยทั่งตีเหล็ก
  • 3:40 - 3:43
    กาวตราช้างน่าจะดีที่สุด
  • 3:43 - 3:46
    แต่ถ้าคุณกำลังจะทำงานนี้
    เหนือภูเขาไฟที่กำลังคุกกรุ่นล่ะก็
  • 3:46 - 3:48
    คุณน่าจะต้องการใช้กาวอีฟ็อกซี่แทน
  • 3:48 - 3:50
    และเพื่อที่ให้ใช้การได้จริง
  • 3:50 - 3:53
    กาวต้องการพื้นที่จริง ๆ
    ที่พื้นผิวสัมผัสกัน
  • 3:53 - 3:56
    ถ้าด้วยบางเหตุผล
    คุณต้องการต่อลูกโบลิ่งเป็นโซ่ยาว
  • 3:56 - 3:59
    การใช้เทปกาวน่าจะดีกว่า
  • 3:59 - 4:04
    ในแบบที่สมเหตุสมผลกว่า
    วิศวกรก็ให้น้ำหนักเรื่องนี้แบบเดียวกัน
  • 4:04 - 4:07
    การเลือกกาวที่ทนต่อความร้อน
    ในเครื่องยนต์ได้อย่างถูกต้อง
  • 4:07 - 4:09
    มีความสำคัญถึงชีวิต
  • 4:09 - 4:12
    และแม้ว่าความแกร่งของ
    พันธะการยึดของเทปกาว
  • 4:12 - 4:14
    จะไม่อาจสู้กับพันธะดังกล่าว
    ของกาวอีฟ็อกซี่ได้
  • 4:14 - 4:19
    เทปกาวก็มีข้อได้เปรียบ
    เมื่อต้องการความเหนียวแบบฉุกเฉิน
  • 4:19 - 4:22
    กาวอาจจำเป็นต่อการนำจรวดไปอวกาศ
  • 4:22 - 4:25
    แต่เมื่อมันเป็นเรื่อง
    ของการซ่อมแซมนอกโลก
  • 4:25 - 4:30
    ใช้เทปกาวเถอะ กาวน้ำใช้การไม่ได้
    ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงนะ
Title:
อะไรแกร่งกว่า: กาว หรือ เทปกาว - เอลิซาเบธ ค๊อกซ์ (Elizabeth Cox)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/which-is-stronger-glue-or-tape-elizabeth-cox

กาวที่เก่าแก่ที่สุดในโลกมีอายุกว่า 8,000 ปี และมาจากถ้ำใกล้ ๆ กับทะเลเดธซี ในปัจจุบันเรามีเทปกาวและกาวมากมายหลายชนิดเพื่อสร้างและซ่อมแทบจะทุกอย่าง แต่อะไรกันที่ทำให้กาวและเทปกาวมีความเหนียว และอะไรที่แกร่งกว่า เอลิซาเบธ ค๊อกซ์ สำรวจโลกของวัสดุสำหรับการยึด

บทเรียนโดย Elizabeth Cox, แอนิเมชันโดย Sinbad Richardson

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:51
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Which is stronger: Glue or tape? - Elizabeth Cox
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Which is stronger: Glue or tape? - Elizabeth Cox
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Which is stronger: Glue or tape? - Elizabeth Cox
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Which is stronger: Glue or tape? - Elizabeth Cox

Thai subtitles

Revisions