200 ประเทศ 200 ปี ใน 4 นาที โดยฮานส์ โรสลิง -- เพลิดเพลินกับสถิติ(The Joy of Stats) -- BBC Four
-
0:04 - 0:07การแปลงข้อมูลให้เป็นภาพที่เข้าใจง่ายเป็นแกนสำคัญของผลงานผม
-
0:08 - 0:10ผมเป็นอาจารย์สอนด้านสุขภาพของโลก
-
0:11 - 0:13ผมรู้ดีว่าข้อมูลดิบๆไม่เพียงพอหรอก
-
0:13 - 0:18ผมต้องนำเสนอออกมาในแบบที่สนุกและเข้าใจได้ง่าย
-
0:18 - 0:22และตอนนี้ผมกำลังจะลองในสิ่งที่ผมไม่เคยทำมาก่อน
-
0:22 - 0:25ผมจะทำให้ข้อมูลพวกนี้เคลื่อนไหวในพื้นที่ว่างๆนี้
-
0:25 - 0:29โดยมีทีมงานช่วยเหลือทางด้านเทคนิคอีกเล็กน้อย
-
0:29 - 0:33เอาล่ะ ทีนี้ผมจะจัดให้แกนแนวตั้งเป็นเส้นวัดสุขภาพ
-
0:33 - 0:39อายุคาดเฉลี่ยจาก 25 - 75 ปี
-
0:39 - 0:41ส่วนแนวนอนคือความมั่งคัง
-
0:41 - 0:47รายได้ต่อหัว: จาก 400, 4,000 และ 40,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ
-
0:47 - 0:50ฉะนั้นด้านล่างนี้คือกลุ่มที่จนและสุขภาพแย่
-
0:50 - 0:52ส่วนด้านบนคือกลุ่มที่รวยและสุขภาพดี
-
0:53 - 0:59และทีนี้ผมจะแสดงให้ดูภาพรวมของโลกเราเมื่อ 200 ปีที่ผ่านมา
-
0:59 - 1:00เริ่มตั้งแต่ปีค.ศ.1810
-
1:00 - 1:02ประเทศต่างๆจำแนกเป็นทวีปตามสีดังนี้
-
1:02 - 1:08ยุโรปสีน้ำตาล เอเชียสีแดง ตะวันออกกลางสีเขียว แอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าสีน้ำเงิน
-
1:08 - 1:10และอเมริกาสีเหลือง
-
1:10 - 1:13ในที่นี้ ขนาดของวงกลมบอกถึงขนาดของประชากรของประเทศนั้นๆ
-
1:13 - 1:17ในปี ค.ศ.1810 จะเห็นว่าประเทศทั้งหมดจะกระจุกตัวอยู่บริเวณนี้
-
1:17 - 1:19หมายความว่าประชากรทั้งหมดต่างสุขภาพย่ำแย่และจัดว่าจนในสมัยนั้น
-
1:19 - 1:23อายุคาดเฉลี่ยก็ล้วนต่ำกว่า 40 ปี
-
1:23 - 1:27ในจำนวนนั้น มีแต่อังกฤษและเนเธอร์แลนด์ที่สูงกว่าชาติอื่นๆ
-
1:27 - 1:29แต่ก็ไม่ต่างกันมากนัก
-
1:29 - 1:30คราวนี้ ผมจะเดินเวลาไปข้างหน้า
-
1:32 - 1:37ยุคปฏิวิติอุตสาหกรรมทำให้ประเทศต่างๆในทวีปยุโรปและอื่นๆ
-
1:37 - 1:39เคลื่อนตัวออกจากกลุ่มนี้
-
1:39 - 1:41ส่วนประเทศที่ถูกล่าอาณานิคมในเอเชียและแอฟริกา
-
1:41 - 1:44ยังคงกระจุกตัวไม่ไปไหน
-
1:44 - 1:47ในขณะเดียวกัน สุขภาพของประชากรฝั่งตะวันตกก็ยกระดับขึ้นเรื่อยๆ
-
1:47 - 1:51ทีนี้ เราเลื่อนเวลาให้ช้าลงหน่อยเพื่อให้เห็น
-
1:51 - 1:53ผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
-
1:53 - 1:58และหายนะจากการระบาดครั้งใหญ่ของไข้หวัดใหญ่สเปน
-
1:58 - 2:02ต่อไปผมจะเลื่อนเวลาไปยังช่วงปี ค.ศ. 1920 ถึง 1930
-
2:02 - 2:04ช่วงนั้นเอง ที่แม้จะมีวิกฤตการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
-
2:04 - 2:06แต่ประเทศทางตะวันตกไม่ว่าจะเป็น
-
2:06 - 2:07ด้านความมั่งคั่งและพลานามัยกลับก้าวหน้าขึ้น
-
2:07 - 2:10ญี่ปุ่นและบางประเทศพยายามไต่ขึ้นไป
-
2:10 - 2:11แต่ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ด้านล่างเหมือนเดิม
-
2:11 - 2:15ต่อมา หลังจากโศกนาฏกรรมของสงครามโลกครั้งที่สอง
-
2:15 - 2:19ผมขอหยุดอยู่ที่ปี ค.ศ. 1948 สักครู่
-
2:19 - 2:23ปีนั้นเป็นปีมีแต่เหตุการณ์ดีๆ: สงครามยุติลง
-
2:23 - 2:26สวีเดนคว้าแชมป์เหรียญทองโอลิมปืกได้มากที่สุด
-
2:26 - 2:28และก็ยังเป็นปีที่ผมเกิดด้วย
-
2:28 - 2:31ในขณะที่ความห่างของแต่ละประเทศในกราฟนี้
-
2:31 - 2:32กว้างขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
-
2:32 - 2:37อเมริกานำหน้าสุด ญี่ปุ่นตามขึ้นมา
-
2:37 - 2:39บราซิลห่างออกไปไม่น้อยดีเดียว
-
2:39 - 2:43อิหร่านมั่งคั่งขึ้นเล็กน้อยจากการค้าน้ำมัน แต่อายุประชากรยังคงสั้นไม่ต่างจากเดิมนัก
-
2:43 - 2:46ยักษ์ใหญ่จากเอเชีย
-
2:46 - 2:48จีน อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ และอินโดนีเซีย
-
2:48 - 2:50ระดับความมั่งมีและสุขภาพยังคงต่ำอยู่
-
2:50 - 2:52แต่จับตาดูดีๆกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น
-
2:52 - 2:54ผมเดินหน้าต่อไป
-
2:54 - 2:57ทันทีที่ประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมได้เสรีกลับคืน
-
2:57 - 3:00ดัชนีสุขภาพของประเทศเหล่านั้นก็ดีขึ้น
-
3:00 - 3:01และดีขึ้น
-
3:01 - 3:02และดีขึ้นเรื่อยๆ
-
3:02 - 3:06ในช่วงปี ค.ศ. 1970 นี่เอง ที่กลุ่มประเทศในเอเชียและลาตินอเมริกา
-
3:06 - 3:09เริ่มตามประเทศฝั่งตะวันตกได้ทัน
-
3:09 - 3:11กลายเป็นประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
-
3:11 - 3:12เช่นเดียวกันกับบางประเทศในแอฟริกา
-
3:12 - 3:14บางประเทศหยุดอยู่กับที่เพราะสงครามการเมือง
-
3:14 - 3:16บางส่วนเป็นเพราะโรคเอดส์
-
3:16 - 3:18เราจะเห็นว่า โลกของเราวันนี้
-
3:18 - 3:22ถ้าอ้างอิงจากข้อมูลสถิติล่าสุด
-
3:23 - 3:25ประเทศส่วนใหญ่อยู่บริเวณกลาง
-
3:25 - 3:28อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างประเทศ
-
3:28 - 3:30ที่อยู่ระดับบนสุดและล่างสุดก็ยังมากอยู่
-
3:30 - 3:34รวมไปถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศตนเอง
-
3:34 - 3:37วงกลมเหล่านี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ย
-
3:37 - 3:38ผมจะแยกให้ดูเป็นตัวอย่าง
-
3:38 - 3:41ประเทศจีน ถ้าจำแนกตามเมืองแล้ว
-
3:41 - 3:44มหานครเซี่ยงไฮ้
-
3:44 - 3:48ระดับความมั่งคั่งและสุขภาพเทียบเท่ากับอิตาลี
-
3:48 - 3:51ส่วนมณฑลกุ้ยโจว ที่จัดว่าค่อนข้างจน
-
3:51 - 3:52เทียบเท่ากับปากีสถาน
-
3:52 - 3:55และชนบทบางแห่งในจีน
-
3:55 - 3:58ดัชนีเหล่านั้นไม่ได้ต่างจากประเทศกานาในแอฟริกาเลย
-
4:01 - 4:03อย่างไรก็ตาม แม้เราจะเห็นความไม่เท่าเทียมกันในโลกปัจจุบัน
-
4:05 - 4:07แต่สองร้อยปีที่ผ่านมาทำให้เห็นว่าโลกเรามีพัฒนาการไม่น้อยเลย
-
4:07 - 4:09ช่องว่างจากประวัติศาสตร์ที่ต่างกัน
-
4:09 - 4:10ระหว่างประเทศฝั่งตะวันตกและอื่นๆกำลังจะถูกปิดลง
-
4:10 - 4:15ทุกประเทศล้วนกำลังเดินหน้าไปยังจุดหมายเดียวกัน
-
4:15 - 4:18ผมเห็นแนวโน้มอนาคตที่ทุกๆประเทศกำลังมุ่งหน้าไป
-
4:18 - 4:20การแพทย์ การค้า เทคโนโลยีสีเขียว และความสงบ
-
4:20 - 4:23จะเป็นตัวช่วยให้พวกเราไปถึงจุดนั้นได้
-
4:24 - 4:26จุดที่ทุกคนมั่งมีทั้งทางการเงินและสุขอนามัย
-
4:28 - 4:31เอาล่ะ มาถึงตอนนี้รู้มั้ยว่าสิ่งที่พวกคุณได้ยินได้ฟังมาเมื่อไม่กี่นาทีนี้
-
4:31 - 4:34เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นของ 200 กว่าประเทศ
-
4:34 - 4:36เมื่อ 200 ปีที่ผ่านมาหรืออาจจะมากกว่านั้น
-
4:36 - 4:40จำนวนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกว่า 120,000 ตัวเลข
-
4:40 - 4:43ค่อนข้างเรียบง่าย ใช่มั้ยครับ?
- Title:
- 200 ประเทศ 200 ปี ใน 4 นาที โดยฮานส์ โรสลิง -- เพลิดเพลินกับสถิติ(The Joy of Stats) -- BBC Four
- Description:
-
แทนที่จะนั่งเรียนเป็นปีในมหาวิทยาลัย คลิปนี้สรุปตวามประวัติศาสตร์สั้นๆภายในเวลาไม่ถึง 5 นาที
รายได้ต่อหัวในที่นี้ได้ปรับตามระดับเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้น
เพลิดเพลินไปกับข้อมูลสถิติได้ใน Gapminder World
นี่เป็นเพียงคลิปสั้นๆจากสารคดี "เพลิดเพลินไปกับสถิติ" (The Joy of Stats) - Video Language:
- English
- Duration:
- 04:48
Phatra Sae-ting edited Thai subtitles for Hans Rosling's 200 Countries, 200 Years, 4 Minutes - The Joy of Stats - BBC Four | ||
Phatra Sae-ting edited Thai subtitles for Hans Rosling's 200 Countries, 200 Years, 4 Minutes - The Joy of Stats - BBC Four | ||
Phatra Sae-ting edited Thai subtitles for Hans Rosling's 200 Countries, 200 Years, 4 Minutes - The Joy of Stats - BBC Four | ||
Phatra Sae-ting edited Thai subtitles for Hans Rosling's 200 Countries, 200 Years, 4 Minutes - The Joy of Stats - BBC Four | ||
Phatra Sae-ting added a translation |