ปฏิกิริยาเคมีที่เลี้ยงชาวโลก
-
0:07 - 0:08คุณว่าอะไร
-
0:08 - 0:10เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
-
0:10 - 0:12ในไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมา
-
0:12 - 0:13ใช่คอมพิวเตอร์หรือเปล่า
-
0:13 - 0:13รถยนต์
-
0:13 - 0:14ไฟฟ้า
-
0:14 - 0:16หรือมันอาจจะเป็นเรื่องการค้นพบอะตอม
-
0:16 - 0:20ฉันอยากจะเถียงว่า
มันเป็นการค้นพบปฏิกิริยาเคมี: -
0:20 - 0:21ก๊าซไนโตรเจนหนึ่งโมเลกุล
-
0:21 - 0:23บวกกับก๊าซไฮโดรเจนสามโมเลกุล
-
0:23 - 0:27คุณจะได้ก๊าซแอมโมเนียสองโมเลกุล
-
0:27 - 0:28นี่คือกระบวนการฮาเบอร์
-
0:28 - 0:31ของการเชื่อมโมเลกุลของก๊าซไนโตรเจนในอากาศ
-
0:31 - 0:32เข้ากับโมเลกุลของก๊าซไฮโดรเจน
-
0:32 - 0:36หรือการเปลี่ยนอากาศให้เป็นปุ๋ย
-
0:36 - 0:37หากขาดปฏิกิริยานี้ไป
-
0:37 - 0:39เกษตรกรจะสามารถผลิตอาหารพอเลี้ยง
-
0:39 - 0:41ประชากรได้เพียง 4 พันล้านคนเท่านั้น;
-
0:41 - 0:45ประชากรในปัจจุบันมีจำนวน 7 พันกว่าล้านคน
-
0:45 - 0:47ดังนั้น หากขาดกระบวนการฮาเบอร์นี้แล้ว
-
0:47 - 0:51คนกว่า 3 พันล้านคนจะอดอยาก
-
0:51 - 0:55เห็นไหมว่า ไนโตรเจนที่อยู่ในรูปของ
ไนเตรต NO3 -
0:55 - 0:58นั้นเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับ
การดำรงชีวิตของพืช -
0:58 - 1:01ในขณะที่พืชกำลังเติบโต มันดึงไนโตรเจน
-
1:01 - 1:02จากดินมาใช้
-
1:02 - 1:04การเติมไนโตรเจนเกิดขึ้นได้ด้วย
-
1:04 - 1:06กระบวนการเกิดปุ๋ยตามธรรมชาติ
ที่ต้องใช้เวลานาน -
1:06 - 1:08อย่างการย่อยสลายซากสัตว์
-
1:08 - 1:10แต่มนุษย์ต้องการปลูกพืชอาหาร
-
1:10 - 1:12ให้ได้เร็วกว่านั้นมาก
-
1:12 - 1:14ตอนนี้ก็ถึงช่วงที่น่าหงุดหงิด:
-
1:14 - 1:17องค์ประกอบของอากาศ 78% คือไนโตรเจน
-
1:17 - 1:19แต่พืชไม่สามารถดึงเอา
ไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ได้ -
1:19 - 1:23เพราะมันมีพันธะที่แข็งแรงมากถึงสามพันธะ
-
1:23 - 1:25ซึ่งพืชไม่สามารถแตกมันออกมาใช้ได้
-
1:25 - 1:27สิ่งที่ฮาเบอร์ทำก็คือ
-
1:27 - 1:28การคิดวิธี
-
1:28 - 1:30ที่เอาไนโตรเจนในอากาศนี้
-
1:30 - 1:31มาใส่ลงในดิน
-
1:31 - 1:35ในปีคศ.1908 นักเคมีชาวเยอรมัน
นาม ฟริทซ์ ฮาเบอร์ -
1:35 - 1:36ได้พัฒนาวิธีทางเคมี
-
1:36 - 1:39ในการนำเอาไนโตรเจนในอากาศ
ที่มีมากมายมาใช้ให้เป็นประโยชน์ -
1:39 - 1:40ฮาเบอร์ค้นพบวิธี
-
1:40 - 1:42ที่นำเอาไนโตรเจนในอากาศ
-
1:42 - 1:43มาสร้างพันธะกับไฮโดรเจน
-
1:43 - 1:45เพื่อสร้างให้เป็นแอมโมเนีย
-
1:45 - 1:48แล้วจึงเติมแอมโมเนียลงไปในดิน
-
1:48 - 1:51ซึ่งมันจะถูกเปลี่ยนเป็นไนเตรตอย่างรวดเร็ว
-
1:51 - 1:53แต่ว่า หากจะนำกระบวนการฮาเบอร์มาใช้
-
1:53 - 1:55เลี้ยงชาวโลกแล้ว
-
1:55 - 1:55เขาต้องหาทาง
-
1:55 - 1:58ผลิตแอมโมเนียนี้ให้ได้ง่ายและรวดเร็ว
-
1:58 - 1:59เพื่อให้ได้เข้าใจว่า
-
1:59 - 2:02ฮาเบอร์ทำสำเร็จได้อย่างไรนั้น
-
2:02 - 2:02เราต้องมาทำความรู้จัก
-
2:02 - 2:04กับสมดุลเคมี
-
2:04 - 2:06เพื่อให้สารเคมีอยู่ในภาวะสมดุล
-
2:06 - 2:10เมื่อคุณสร้างปฏิกิริยาเคมีในภาชนะปิด
-
2:10 - 2:11อย่างเช่น เอาเป็นว่าคุณใส่
-
2:11 - 2:14ไฮโดรเจนและไนโตรเจนลงในภาชนะปิด
-
2:14 - 2:16และรอให้มันทำปฏิกิริยากัน
-
2:16 - 2:18ในตอนต้นของการทดลอง
-
2:18 - 2:20เรามีไนโตรเจนและไฮโดรเจนปริมาณมาก
-
2:20 - 2:22ดังนั้นแอมโมเนียจึงเกิดขึ้น
-
2:22 - 2:24อย่างรวดเร็ว
-
2:24 - 2:27แต่เมื่อไฮโดรเจนและไนโตรเจนทำปฏิกิริยา
-
2:27 - 2:28และถูกใช้หมดไป
-
2:28 - 2:30ปฏิกิริยาจะช้าลง
-
2:30 - 2:32เพราะไฮโดรเจนและไนโตรเจนมีเหลือน้อยลง
-
2:32 - 2:34ในภาชนะนั้น
-
2:34 - 2:36และในที่สุด เมื่อโมเลกุลของแอมโมเนียถึงจุด
-
2:36 - 2:38ที่มันจะเริ่มสลายตัว
-
2:38 - 2:41กลับไปเป็นไนโตรเจนและไฮโดรเจน
-
2:41 - 2:43หลังจากนั้นสักพัก ปฏิกิริยาทั้งสอง
-
2:43 - 2:46ทั้งการสร้างและการแตกตัวของแอมโมเนีย
-
2:46 - 2:48จะถึงจุดที่เกิดขึ้นเร็วเท่ากัน
-
2:48 - 2:49เมื่อความเร็วเท่ากัน
-
2:49 - 2:52เราเรียกปฏิกิริยานั้นว่าภาวะสมดุล
-
2:53 - 2:55มันอาจจะฟังดูดี แต่มันไม่ดี
-
2:55 - 2:57เมื่อคุณต้องการ
-
2:57 - 2:59ที่จะแค่ผลิตแอมโมเนียเยอะ ๆ
-
2:59 - 3:00ฮาเบอร์ไม่ต้องการให้แอมโมเนีย
-
3:00 - 3:02แตกตัวเลย
-
3:02 - 3:03แต่คุณก็ปล่อยให้ปฏิกิริยาเกิด
-
3:03 - 3:05เองเฉย ๆ ในภาชนะปิดไม่ได้
-
3:05 - 3:06และนั่นเป็นสิ่งมันจะเกิดขึ้น
-
3:06 - 3:09ตอนนี้เองที่ เฮนรี่ เลอ ชาเทเลียร์
-
3:09 - 3:10นักเคมีชาวฝรั่งเศส
-
3:10 - 3:11เข้ามาช่วยได้
-
3:11 - 3:13สิ่งที่เขาค้นพบคือ
-
3:13 - 3:15หากคุณเอาระบบหนึ่งในภาวะสมดุลมา
-
3:15 - 3:16และคุณใส่บางสิ่งบางอย่างลงไป
-
3:16 - 3:18อย่างเช่น ไนโตรเจน
-
3:18 - 3:19ระบบนั้นจะทำงาน
-
3:19 - 3:21เพื่อให้กลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้ง
-
3:21 - 3:22เลอ ชาเทเลียร์ยังค้นพบอีกว่า
-
3:22 - 3:23หากคุณเพิ่ม
-
3:23 - 3:26ปริมาณความดันในระบบแล้ว
-
3:26 - 3:27ระบบนั้นจะพยายามทำงาน
-
3:27 - 3:29เพื่อให้ความดันกลับสู่ระดับเดิม
-
3:29 - 3:31มันเหมือนอยู่ในห้องที่คนแน่นไปหมด
-
3:31 - 3:32ยิ่งมีจำนวนโมเลกุลมาก
-
3:32 - 3:34ความดันก็ยิ่งมาก
-
3:34 - 3:36หากเราย้อนกลับไปดูที่สมการของเรา
-
3:36 - 3:38เราเห็นว่าด้านซ้ายมือ
-
3:38 - 3:40มีสี่โมเลกุลอยู่ทางซ้าย
-
3:40 - 3:42และมีแค่สองทางขวา
-
3:42 - 3:44ดังนั้น หากเราอยากให้ห้องอึดอัดน้อยลง
-
3:44 - 3:46และนั่นคือความดันน้อยลง
-
3:46 - 3:47ระบบก็จะเริ่ม
-
3:47 - 3:49เชื่อมไนโตรเจนและไฮโดรเจนเข้าด้วยกัน
-
3:49 - 3:52เพื่อสร้างโมเลกุลแอมโมเนีย
ที่มีขนาดกะทัดรัดกว่า -
3:52 - 3:54ฮาเบอร์คิดได้ว่าในการผลิต
-
3:54 - 3:55แอมโมเนียเป็นจำนวนมาก
-
3:55 - 3:57เขาจะต้องสร้างเครื่องจักร
-
3:57 - 4:00ที่จะเติมไนโตรเจนและไฮโดรเจน
ได้อย่างต่อเนื่อง -
4:00 - 4:01และเพิ่มความดัน
-
4:01 - 4:03ลงไปในระบบภาวะสมดุลได้ในเวลาเดียวกัน
-
4:03 - 4:05และนั่นก็เป็นสิ่งที่เขาได้ทำ
-
4:05 - 4:08ทุกวันนี้แอมโมเนียเป็นหนึ่งในสารประกอบเคมี
-
4:08 - 4:10ที่ถูกผลิตขึ้นมากที่สุดในโลก
-
4:10 - 4:15ประมาณ 131 ล้านเมตริกตันต่อปีโดยคร่าว ๆ
-
4:15 - 4:18ซึ่งเป็นแอมโมเนียประมาณ 290 พันล้านปอนด์
-
4:18 - 4:19นั่นประมาณได้กับมวลของ
-
4:19 - 4:21ช้างแอฟริกัน 30 ล้านเชือก
-
4:21 - 4:24หนักเชือกละประมาณ 10,000 ปอนด์
-
4:24 - 4:2880% ของแอมโมเนียนี้ถูกนำมาใช้ผลิตปุ๋ย
-
4:28 - 4:29ส่วนที่เหลือถูกนำมาใช้
-
4:29 - 4:31ในอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน
-
4:31 - 4:33และในการผลิตสารประกอบไนโตรเจนอื่น ๆ
-
4:33 - 4:35เช่น กรดไนตริก
-
4:35 - 4:36ในการศึกษาที่ผ่านมา
-
4:36 - 4:39พบว่าครึ่งหนึ่งของไนโตรเจนจากปุ๋ยเหล่านี้
-
4:39 - 4:41เหลือตกค้างจากการดูดซึมของพืช
-
4:41 - 4:43ทำให้ไนโตรเจนเหลือตกค้างกลายเป็น
-
4:43 - 4:45สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย
-
4:45 - 4:48ในแหล่งน้ำและบรรยากาศโลก
-
4:48 - 4:50ทำลายสิ่งแวดล้อมของเราอย่างรุนแรง
-
4:50 - 4:51ฮาเบอร์ไม่ได้คิดว่าจะเกิดปัญหานี้แน่
-
4:51 - 4:53ตอนที่เขานำเสนอสิ่งประดิษฐ์นี้
-
4:53 - 4:55เพื่อสานต่อวิสัยทัศน์ของเขา
-
4:55 - 4:56นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันกำลังค้นหา
-
4:56 - 4:59กระบวนการฮาเบอร์แบบใหม่แห่งศตวรรษที่ 21
-
4:59 - 5:01ที่จะไปถึงระดับการยังประโยชน์เดียวกันนั้น
-
5:01 - 5:03โดยปราศจากผลร้ายตามมา
- Title:
- ปฏิกิริยาเคมีที่เลี้ยงชาวโลก
- Description:
-
รับชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/the-chemical-reaction-that-feeds-the-world-daniel-d-dulek
เราปลูกพืชการเกษตรทันเลี้ยงประชากรโลกหลายพันล้านคนได้ด้วยวิธีใด กระบวนการนี้เรียกว่ากระบวนการฮาเบอร์ ซึ่งเปลี่ยนไนโตรเจนในอากาศให้เป็นแอมโมเนียที่สามารถเปลี่ยนกลับเป็นไนเตรดได้อย่างง่ายดายในดิน เพื่อให้พืชได้นำไปใช้ในการยังชีพ แต่ถึงแม้ว่ามันจะช่วยเพิ่มผลผลิตอาหารไปทั่วโลก กระบวนการฮาเบอร์ก็มีส่วนส่งผลกระทบที่ไม่คาดคิดแก่สิ่งแวดล้อมด้วย แดเนียล ดี ดูเล็คแจกแจงในระดับเคมีและผลกระทบของมัน
บทเรียนโดย Daniel D. Dulek อะนิแมชั่นโดย Uphill Downhill
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 05:19
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for The chemical reaction that feeds the world - Daniel D. Dulek | ||
Rawee Ma accepted Thai subtitles for The chemical reaction that feeds the world - Daniel D. Dulek | ||
Rawee Ma declined Thai subtitles for The chemical reaction that feeds the world - Daniel D. Dulek | ||
Rawee Ma edited Thai subtitles for The chemical reaction that feeds the world - Daniel D. Dulek | ||
siriporn chatratana edited Thai subtitles for The chemical reaction that feeds the world - Daniel D. Dulek | ||
siriporn chatratana edited Thai subtitles for The chemical reaction that feeds the world - Daniel D. Dulek | ||
siriporn chatratana edited Thai subtitles for The chemical reaction that feeds the world - Daniel D. Dulek | ||
siriporn chatratana edited Thai subtitles for The chemical reaction that feeds the world - Daniel D. Dulek |