Return to Video

หุ่นยนต์จะมาแย่งงานเราหมดหรือเปล่า?

  • 0:01 - 0:03
    ปรากฎว่าในขณะที่คนหลายล้านคน
  • 0:03 - 0:06
    ว่างงาน หรือ มีงานทำ
  • 0:06 - 0:10
    ก็เกิดข้อสงสัยว่า
    เทคโนโลยีจะมีผลอย่างไรกับสภาวะแรงงานในตลาด
  • 0:10 - 0:12
    ผมเห็นหลายๆคน ถกเถียงกัน
    เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมคิดว่า
  • 0:12 - 0:15
    พวกเขาเลือกหัวข้อในการสนทนา
    ได้ถูกต้อง
  • 0:15 - 0:18
    แต่ในขณะเดียวกัน การถกเถียงเหล่านั้น
    มักจะหลุดประเด็นสำคัญๆไป
  • 0:18 - 0:21
    หัวข้อที่มักเป็นที่ถกเถียงกันก็คือ
  • 0:21 - 0:25
    เทคโนโลยีรอบๆตัวเราจะส่งผลต่อมนุษย์
  • 0:25 - 0:28
    ในด้านการหาเลี้ยงชีพ หรือไม่?
    หรือ ถามให้ง่ายขึ้นก็คือ
  • 0:28 - 0:30
    หุ่นยนต์จะมาทำงานแทนเราทั้งหมดหรือปล่าว?
  • 0:30 - 0:32
    แล้วก็มีหลักฐานจริงๆว่ามันเกิดขึ้นอยู่
  • 0:32 - 0:37
    ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้หยุด
    เมื่อ GDP ของ อเมริกา
  • 0:37 - 0:40
    เริ่มค่อยๆสูงขึ้น
  • 0:40 - 0:43
    และ ตัวชี้วัดเศรษฐกิจอื่นๆ ก็เริ่มดีขึ้น
  • 0:43 - 0:46
    และโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
    กำไรจากบริษัทต่างๆ
  • 0:46 - 0:49
    ก็เริ่มดีขึ้น ซึ่งถ้าคุณรวมกำไรจากธนาคารด้วย
  • 0:49 - 0:51
    จะพบว่ามันดีขึ้นกว่าที่เคยมีมาก่อน
  • 0:51 - 0:55
    ธุรกิจต่างๆเกี่ยวกับ เครื่องมือ อุปกรณ์
  • 0:55 - 0:58
    ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ ต่างๆ
    ก็ดีที่สุดตั้งแต่ที่เคยมีมา
  • 0:58 - 1:01
    พูดง่ายๆคือธุรกิจต่างๆเริ่มมีแต่กำไร
  • 1:01 - 1:03
    แต่สิ่งที่ไม่ได้เกิดมากขึ้น คือ การจ้างงาน
  • 1:03 - 1:07
    กราฟเส้นสีแดงที่เห็น คือ อัตราการจ้างงาน
  • 1:07 - 1:10
    หรือ เปอร์เซนต์ของคนวัยทำงาน
  • 1:10 - 1:12
    ในอเมริกาที่มีงานทำ
  • 1:12 - 1:16
    เห็นได้ชัดเจนว่าอัตราการมีงานทำ
    ยังตกต่ำหลังจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
  • 1:16 - 1:19
    และยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นเลย
  • 1:19 - 1:21
    แต่ผมไม่ได้จะพูดเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำ
  • 1:21 - 1:24
    ช่วงทศวรรตที่ผ่านมา
    เรามีอัตราการจ้างงาน
  • 1:24 - 1:28
    ที่ต่ำมากเมื่อเราเปรียบเทียบ
  • 1:28 - 1:31
    กับช่วงทศวรรตก่อนหน้านั้น
    ในช่วงปี 2000 นี้
  • 1:31 - 1:33
    เป็นช่วงเวลาเดียวที่เราพบว่า
  • 1:33 - 1:36
    มีจำนวนคนมีงานทำปลายทศวรรต
  • 1:36 - 1:39
    น้อยกว่าช่วงต้นทศวรรต
    ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่อยากได้ยิน
  • 1:39 - 1:43
    หากคุณเอาจำนวนคนที่สามารถทำงานได้ทั้งหมด
  • 1:43 - 1:46
    มาเปรียบเทียบกับจำนวนงานในประเทศ
    คุณจะเห็นช่องว่าง
  • 1:46 - 1:50
    ค่อยๆ ห่างขึ้น เรื่อยๆ และ
  • 1:50 - 1:52
    ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
    ช่องว่างยิ่งห่างมากกว่าเดิม
  • 1:52 - 1:57
    ผมลองคำนวณคร่าวๆ
    ถ้าผมเอาอัตราการเติบโต GDP รอบ 20 ปีที่ผ่านมา
  • 1:57 - 2:00
    และ อัตราการเพิ่มของคนที่มีงานทำ
  • 2:00 - 2:03
    เอามาคำนวณ แบบตรงไปตรงมาเพื่อหาว่า
  • 2:03 - 2:06
    จะต้องมีการจ้างงานเท่าไหร่
    เศรษฐกิจถึงจะเดินต่อได้
  • 2:06 - 2:09
    นี่คือเส้นที่ผมได้มาจากการคำนวณ
  • 2:09 - 2:13
    ดีหรือไม่ดีครับ? และ
    อีกเส้นนึงคือเส้นที่รัฐบาลประมาณการณ์ไว้
  • 2:13 - 2:16
    สำหรับจำนวนคนทำงานในตลาดทั้งหมด
  • 2:16 - 2:21
    ถ้าการประมาณการณ์ถูกต้อง
    ช่องว่างนี้จะไม่มีวันหายไป
  • 2:21 - 2:25
    แต่ ผมไม่คิดว่าการประมาณการณ์นี้ถูกต้อง
  • 2:25 - 2:28
    ผมคิดว่าการประมาณการณ์เหล่านี้
    มองโลกในแง่ดีเกินไป
  • 2:28 - 2:31
    เพราะการประมาณการณ์
    มีการคาดการณ์ว่าอนาคต
  • 2:31 - 2:34
    จะค่าต่างๆเติบโตเหมือนในอดีต
  • 2:34 - 2:37
    แต่จริงๆแล้วผมไม่เชื่อว่าอย่างนั้น
  • 2:37 - 2:41
    เพราะเมื่อลองดูจริงๆ
    เรายังแทบไม่เห็นภาพในอนาคตเลย
  • 2:41 - 2:44
    ว่าเทคโนโลยีจะกระทบกับ
    ตลาดแรงงานอย่างไร?
  • 2:44 - 2:48
    คุณแค่ลองดู 2-3 ปีที่ผ่านมาสิ
    คุณจะเห็นว่ามีเครื่องมือดิจิตอลเยอะแยะ
  • 2:48 - 2:53
    ทำงานได้หลากหลายแบบที่เราไม่เคยเจอมาก่อน
  • 2:53 - 2:56
    แล้วก็แทบจะมาแทน
    การทำงานของคนได้เลย
  • 2:56 - 3:00
    ผมลองยกตัวอย่าง 2-3 ตัวอย่าง
  • 3:00 - 3:02
    ในอดีตที่ผ่านมา
    ถ้าคุณต้องการ
  • 3:02 - 3:05
    ที่จะแปลภาษาจากภาษาใดภาษาหนึ่ง
  • 3:05 - 3:06
    คุณจะต้องเอาคนมาเกี่ยวข้องตลอด
  • 3:06 - 3:10
    แต่ตอนนี้เรามีเครื่องแปลภาษา
  • 3:10 - 3:14
    ที่แปลได้หลายภาษา รวดเร็ว และ ฟรี
  • 3:14 - 3:17
    ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมถึง
    Smart Phone
  • 3:17 - 3:20
    ถ้าคุณเคยใช้ คุณจะพอรู้ว่า
  • 3:20 - 3:23
    มันไม่ได้ดีที่สุด แต่มันก็ดีในระดับนึง
  • 3:23 - 3:26
    ... ในประวัติศาสตร์ ถ้าคุณต้องเขียนรายงาน
  • 3:26 - 3:30
    หรือ บทความ คุณต้องใช้คนทำ
  • 3:30 - 3:32
    แต่ไม่จำเป็นอีกแล้ว
  • 3:32 - 3:35
    บทความ Forbes Online ที่ผ่านมาเกี่ยวกับ
    กำไรของบริษัท Apple
  • 3:35 - 3:38
    ถูกเขียนโดย โปรแกรม
  • 3:38 - 3:41
    บทความนั้นไม่ได้แค่ดี
    แต่มันสมบูรณ์แบบเลยละ
  • 3:41 - 3:44
    ... หลายคนมองว่า
  • 3:44 - 3:46
    มันยังเป็นแค่บทความที่เฉพาะทางมากเกิน
  • 3:46 - 3:49
    และ คนที่ทำงานด้านความรู้ต่างๆ
    มักมีความรู้ที่กว้างขวาง
  • 3:49 - 3:51
    และพวกเขาเหล่านั้นก็ทำงานบน
    กรอบของงานที่กว้าง
  • 3:51 - 3:54
    และใช้ความรู้ที่พวกเขามี
  • 3:54 - 3:57
    ตอบสนองความต้องการที่เข้ามา
    ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆได้
  • 3:57 - 4:00
    ซึ่ง ยากมากที่จะให้หุ่นยนต์มาทำแทน
  • 4:00 - 4:02
    ... มีคนที่ทำงานด้านความรู้คนหนึ่ง
  • 4:02 - 4:04
    ชื่อ Ken Jennings
  • 4:04 - 4:09
    เขาชนะเกมโชว์ชื่อ "Jeopardy"
    ถึง 74 ครั้งติดต่อกัน
  • 4:09 - 4:12
    ได้เงินกลับบ้านไปกว่า 3 ล้านเหรียญ
  • 4:12 - 4:16
    คนนั้นคือ Ken ... คนที่อยู่ขวามือ
    ซึ่งพ่ายแพ้ 1-3 ให้กับ
  • 4:16 - 4:20
    Watson เครื่อง Super Computer จาก IBM
    ที่มาเล่นเกมโชว์นี้
  • 4:20 - 4:22
    ...ถ้าเรามองว่าเทคโนโลยีทำอะไรบ้าง
  • 4:22 - 4:25
    ถ้าเทียบกับคนงานองค์ความรู้ต่างๆ
    ผมก็เริ่มคิดได้ว่า
  • 4:25 - 4:28
    อาจจะมีบางอย่างที่พิเศษสำหรับความคิดของ
  • 4:28 - 4:31
    คนที่มีความรู้กว้างขวาง โดยเฉพาะเวลาที่เรา
    ทำหลายๆอย่าง
  • 4:31 - 4:35
    เช่น ใช้ Siri (Application บน iPhone)
    หรือ Watson และให้เทคโนโลยี
  • 4:35 - 4:36
    มาเข้าใจว่าพวกเราพูดอะไรกัน
  • 4:36 - 4:39
    แล้วให้พูดคำพูดเหล่านั้นกลับมาหาเรา
  • 4:39 - 4:41
    ตอนนี้ Siri ยังไม่พัฒนาเต็มที่
    แล้ว เราก็ยังล้อเลียน
  • 4:41 - 4:44
    ข้อบกพร่องต่างๆ
    แต่ขอให้เราคิดเสมอว่า
  • 4:44 - 4:47
    ถ้าเทคโนโลยีอย่าง Siri และ Watson
    ถูกพัฒนา
  • 4:47 - 4:51
    ในอัตราที่เร็วเหมือนทฤษฎีของ Moore
    ซึ่งน่าจะเป็นจริง
  • 4:51 - 4:53
    ภายใน 6 ปี เทคโนโลยีเหล่านี้
    จะไม่ใช่แค่ดีขึ้น 2 เท่า
  • 4:53 - 4:58
    หรือ 4 เท่า
    แต่จะดีกว่าตอนนี้ 16 เท่าเลยทีเดียว
  • 4:58 - 5:02
    ...ผมก็เลยคิดว่า งานที่เกี่ยวข้องกับ
    องค์ความรู้ต่างๆ จะต้องถูกกระทบแน่นอน
  • 5:02 - 5:05
    และ เทคโนโลยี จะไม่ได้กระทบ
    แค่งานที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ต่างๆ
  • 5:05 - 5:09
    แต่จะกระทบกับงานที่ใช้แรงงานด้วยเช่นกัน
  • 5:09 - 5:12
    ... ผมมีโอกาสที่จะได้ขับรถของ Google
  • 5:12 - 5:17
    ที่ขับด้วยตัวเองได้
    ซึ่งมันเจ๋งเหมือนคุณคิดนั่นหละ (หัวเราะ)
  • 5:17 - 5:20
    และ ผมยืนยันได้ว่า มันทำงานได้ดีใน
    ท่ามกลางรถติด
  • 5:20 - 5:23
    บนถนน U.S. 101 ได้อย่างดี
  • 5:23 - 5:25
    ... มีคนประมาณ 3.5 ล้านคน
  • 5:25 - 5:28
    ที่ขับรถบรรทุกเป็นอาชีพในอเมริกา
  • 5:28 - 5:30
    ผมคิดว่าต้องมีบางคนได้รับผลกระทบ
    จากเทคโนโลยีนี้
  • 5:30 - 5:33
    ตอนนี้ หุ่นยนต์เสมือนคนในตลาด
  • 5:33 - 5:36
    ยังไม่พัฒนาเท่าไหร่ ยังทำอะไรไม่ได้มาก
  • 5:36 - 5:39
    แต่ พวกมันก็ดีขึ้นเรื่อยๆอย่างรวดเร็ว
  • 5:39 - 5:42
    DARPA หรือ หน่วยงานในกระทรวงกลาโหม
  • 5:42 - 5:44
    พยายามเร่งการพัฒนาหุ่นยนต์อย่างมาก
  • 5:44 - 5:49
    ... พูดง่ายๆคือ ใช่ ...
    หุ่นยนต์กำลังมาทำงานแทนเรา
  • 5:49 - 5:52
    ในระยะสั้นนี้ เราสามารถเพิ่มงาน
  • 5:52 - 5:55
    ในตลาดได้โดยส่งเสริมให้เกิด
    ธุรกิจใหม่ๆ และ ลงทุนใน
  • 5:55 - 5:58
    โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
    เพราะหุ่นยนต์ยังไม่สามารถ
  • 5:58 - 6:00
    ซ่อมสะพานได้ดีเท่าไหร่
  • 6:00 - 6:04
    แต่ไม่นานหรอก
    ผมคิดว่าในช่วงชีวิตของเรานี่แหละ
  • 6:04 - 6:07
    คนส่วนใหญ่ในห้องนี้ จะได้เห็น
  • 6:07 - 6:10
    เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่
  • 6:10 - 6:13
    ไม่จำเป็นต้องการแรงงานที่เป็นมนุษย์
  • 6:13 - 6:14
    ... การบริหารการเปลี่ยนแปลงนี้
  • 6:14 - 6:17
    จะเป็นความท้าทายใหญ่หลวงของมนุษย์
  • 6:17 - 6:20
    นักปรัชญาชื่อ Voltaire เคยสรุปไว้ว่า
  • 6:20 - 6:25
    "งานเป็นสิ่งที่ช่วยเราจากปีศาจ 3 ตัวคือ
    ความเบื่อหน่าย ข้อบกพร่อง ความต้องการ"
  • 6:25 - 6:28
    ...ถึงแม้จะมีความท้าทายเหล่านี้
  • 6:28 - 6:31
    ผมยังมองว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดี
  • 6:31 - 6:34
    และผมเชื่อมั่นอย่างมากว่าเทคโนโลยี
    ยุคดิจิตอลที่เรากำลังพัฒนา
  • 6:34 - 6:38
    จะพาเราไปสู่อนาคตที่สดใส
  • 6:38 - 6:41
    ไม่ใช่อนาคตที่มืดมน
    ก่อนอธิบายว่าทำไม
  • 6:41 - 6:43
    ผมขอตั้งคำถามกว้างๆคำถามนึงว่า
  • 6:43 - 6:45
    อะไรเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา
  • 6:45 - 6:48
    ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์มากที่สุด?
  • 6:48 - 6:50
    ผมจะแชร์คำตอบที่ได้มาให้คุณฟัง
  • 6:50 - 6:53
    คำถามนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจมาก
  • 6:53 - 6:55
    เพราะเมื่อถามแล้ว
    จะมีข้อถกเถียงกันไม่รู้จบ
  • 6:55 - 6:57
    ..หลายคนจะเอาปรัชญาต่างๆ
  • 6:57 - 7:01
    จากทั้งทางตะวันตก และ ตะวันออก
  • 7:01 - 7:04
    ที่เปลี่ยนความคิดของคนหลายคนต่อโลกของเรา
  • 7:04 - 7:07
    และ หลายคนก็บอกว่า
    ไม่จริง ทุกๆเรื่อง
  • 7:07 - 7:09
    พื้นฐานต่างๆบนโลกเกิดจาก
    ศาสนาหลักที่เรามี
  • 7:09 - 7:12
    ที่เป็นตัวทำให้เกิดความเจริญ
  • 7:12 - 7:15
    และเปลี่ยนความคิดของคนนับไม่ถ้วน
  • 7:15 - 7:18
    ในการดำรงชีวิตแต่ละวัน
    และบางคนก็บอกว่า
  • 7:18 - 7:21
    จริงๆแล้วสิ่งที่ผลักดันให้เกิดความเจริญ
  • 7:21 - 7:24
    และเปลี่ยนชีวิตของคนมากมาย
  • 7:24 - 7:28
    คือ จักรพรรดิในอดีต
    เพราะสิ่งต่างๆที่พัฒนามาได้
  • 7:28 - 7:30
    เพราะ การต่อสู้ และ สงคราม
  • 7:30 - 7:33
    และ บางคนที่ไอเดียบรรเจิด ก็อาจจะบอกว่า
  • 7:33 - 7:39
    อย่าลืมเรื่องกาฬโรคด้วย
    (หัวเราะ)
  • 7:39 - 7:42
    หรือ หลายคนก็อาจจะตอบว่า
  • 7:42 - 7:43
    ช่วงที่มีการสำรวจโลกเป็นช่วงที่
  • 7:43 - 7:45
    เปิดโลกทัศน์ของคนมากมาย
  • 7:45 - 7:48
    หลายๆคนก็อาจจะพูดเกี่ยวกับ
    ความรู้ใหม่ต่างๆ
  • 7:48 - 7:50
    เช่น ความรู้เชิงคณิตศาสตร์ที่ทำให้เรา
  • 7:50 - 7:53
    จัดการกับเรื่องบนโลกได้ดีขึ้น และ
    หลายๆคนก็จะพูดถึง
  • 7:53 - 7:55
    ช่วงเวลาที่ ศิลปะ และ วิทยาศาสตร์
  • 7:55 - 7:59
    เติบโต ฉะนั้นการโต้เถียงเลยไม่จบไม่สิ้น
  • 7:59 - 8:01
    และ ไม่มีข้อสรุปใดๆ
  • 8:01 - 8:05
    ไม่มีคำตอบใดคำตอบนึงสมบูรณ์
    แต่ถ้าคุณเป็นพวกชอบตัวเลขเหมือนผม
  • 8:05 - 8:08
    คุณคงอดถามไม่ได้ว่า
    "แล้วตัวเลขบอกว่าอย่างไร?"
  • 8:08 - 8:10
    แล้วคุณก็จะมาเริ่มทำ กราฟ ต่างๆ
  • 8:10 - 8:14
    ที่เราคิดว่าน่าสนใจ เช่น จำนวนประชากรโลก
  • 8:14 - 8:17
    หรือ ตัวแปรวัดความเจริญทางสังคม
  • 8:17 - 8:20
    หรือ ความก้าวหน้าของสังคม
  • 8:20 - 8:23
    และถ้าคุณลองมาดูที่ตัวเลข
  • 8:23 - 8:26
    จะพบว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ
    ของมนุษยชาติ
  • 8:26 - 8:29
    คือ สิ่งที่เปลี่ยนกราฟมากที่สุด
  • 8:29 - 8:31
    ... ถ้าคุณลองพลอตข้อมูล
  • 8:31 - 8:34
    คุณจะได้ข้อสรุปที่ประหลาดออกมา
  • 8:34 - 8:37
    คุณจะสรุปว่า สิ่งที่คนเถียงกันทั้งหมด
  • 8:37 - 8:42
    ไม่ได้มีอะไรเลยที่สำคัญมากมาย (หัวเราะ)
  • 8:42 - 8:46
    สิ่งพูดกันมาไม่ได้เปลี่ยนกราฟ
    หรือ ตัวเลขมากเลย (หัวเราะ)
  • 8:46 - 8:49
    แต่มีเรื่องเดียว สิ่งเดียว
  • 8:49 - 8:52
    ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่เปลี่ยนกราฟ
  • 8:52 - 8:56
    90 องศาเลย สิ่งนั้นคือ เทคโนโลยีนั่นเอง
  • 8:56 - 8:59
    เครื่องจักรไอน้ำ และ
    เทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  • 8:59 - 9:02
    ในยุคอุตสาหกรรมต่างหาก
    ที่เปลี่ยนโลกนี้
  • 9:02 - 9:04
    และ เปลี่ยนประวัติศาสตร์มนุษยํอย่างมากมาย
  • 9:04 - 9:06
    หากมองในมุมนักประวัติศาสตร์ Ian Morris
  • 9:06 - 9:10
    เทคโนโลยีทำให้สิ่งอื่นๆก่อนหน้า
    ดูเล็กไปเลย
  • 9:10 - 9:13
    ... สิ่งที่เทคโนโลยีทำคือ การทำให้
  • 9:13 - 9:16
    เราสามารถทำงานที่ออกแรงมากกว่า
    ขีดจำกัดกล้ามเนื้อมนุษย์หลายเท่า
  • 9:16 - 9:19
    และปัจจุบัน เราก็อยู่ในช่วงที่
  • 9:19 - 9:22
    เราก็พยายามเอาชนะงานที่
    ใช้ความคิดเกินขีดจำกัดของสมอง
  • 9:22 - 9:25
    ให้มากกว่าที่เคยมีมาหลายเท่าเช่นกัน
  • 9:25 - 9:29
    ...แต่เรื่องเอาชนะขีดจำกัดของสมอง
    ทำไมไม่ได้สำคัญเท่าการเอาชนะ
  • 9:29 - 9:31
    ขีดจำกัดของกล้ามเนื้อละ ?
  • 9:31 - 9:34
    ผมขอย้ำอีกทีว่า ถ้ามอง
  • 9:34 - 9:37
    สิ่งที่เกิดขึ้นในยุคดิจิตอลปัจจุบัน
  • 9:37 - 9:40
    จะพบว่า เราไม่ได้ใกล้เคียงเลยที่จะ
    สำเร็จจุดหมายนี้
  • 9:40 - 9:43
    และเมื่อผมมองสิ่งที่เกิดขึ้นกับ
    เศรษฐกิจของเรา
  • 9:43 - 9:45
    และ สังคมของเรา
    ผมก็พอสรุปได้ว่า
  • 9:45 - 9:49
    เรายังไม่เห็นอะไรเลย
    วันที่ดีที่สุดยังอยู่ไกลจากตอนนี้
  • 9:49 - 9:51
    ผมขอยกตัวอย่าง 2-3 ตัวอย่าง
  • 9:51 - 9:55
    เศรษฐกิจไม่ได้เดินได้ด้วยพลังงาน
    ไม่ได้เดินได้ด้วยเงินทุน
  • 9:55 - 9:59
    เศรษฐกิจไม่ได้เดินด้วยแรงงาน
    แต่ "เศรษฐกิจจะเดินได้จากไอเดีย"
  • 9:59 - 10:01
    เพราะฉะนั้นงานประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ
    งานที่ก่อให้เกิด
  • 10:01 - 10:04
    ไอเดียใหม่ๆ คืองานที่มีพลังมากที่สุด
  • 10:04 - 10:05
    และ เป็นงานพื้นฐานมนุษย์ทำได้
  • 10:05 - 10:09
    ให้กับเศรษฐกิจ และ
    ถ้าเราอยากได้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ
  • 10:09 - 10:13
    ให้เราหาคนที่มีหน้าตาคล้ายๆกัน
  • 10:13 - 10:17
    (หัวเราะ)
  • 10:17 - 10:19
    เอาพวกเขาออกจากสถาบันมีชื่อเสียงต่างๆ
    แล้วเอามา
  • 10:19 - 10:22
    ใส่รวมในสถาบันใหม่
    จากนั้นก็แค่รอสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆจากเขา
  • 10:22 - 10:26
    (หัวเราะ)
  • 10:26 - 10:29
    ในฐานะที่ผมเป็นหนึ่งในคนที่ทำงานที่
    มหาวิทยาลัย MIT
  • 10:29 - 10:35
    และ Harvard ผมไม่มีปัญหาเลยกับเรื่องนี้
    (หัวเราะ)
  • 10:35 - 10:38
    แต่บางคนมีปัญหา
    พวกเขามักจะชอบทำให้ทุกอย่างพัง และ
  • 10:38 - 10:40
    ไม่ก่อให้เกิด ภาวะเอื้อหนุน
    ให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ
  • 10:40 - 10:41
    (หัวเราะ)
  • 10:41 - 10:45
    นี่คือ ผู้ชนะจาก
    การแข่งขันเขียนโปรแกรม Top Coder
  • 10:45 - 10:48
    ผมยืนยันได้เลยว่า ไม่มีใครสนใจว่า
  • 10:48 - 10:51
    เด็กพวกนี้เกิดที่ไหน หรือ
    เขาจบโรงเรียนอะไรมา
  • 10:51 - 10:54
    หรือ หน้าตาเขาเป็นยังไง
    ทุกคนดูแค่อย่างเดียวคือ
  • 10:54 - 10:57
    ผลงาน และ ความคิดของพวกเขา
  • 10:57 - 10:59
    และ จนแล้วจนเล่า เราก็เห็นว่ามันเกิดขึ้น
  • 10:59 - 11:01
    ในโลกเทคโนโลยีตลอดเวลา
  • 11:01 - 11:04
    งานที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ
    เริ่มเปิดกว้าง
  • 11:04 - 11:07
    เริ่มโปร่งใส และ
    ให้รางวัลตามผลงานของแต่ละคนมากขึ้น
  • 11:07 - 11:10
    ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่ได้สนใจเลยว่าใครจบ
    MIT หรือ Harvard มา
  • 11:10 - 11:14
    หากมาลองคิดดู เป็นเรื่องน่ายินดีมาก
    ที่แนวโน้มตลาดเป็นแบบนี้
  • 11:14 - 11:16
    ... ผมได้ยินหลายคนพูดว่า
    "ผมเห็นด้วยนะ แต่
  • 11:16 - 11:20
    เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือให้กับแค่คนรวย
  • 11:20 - 11:23
    มันไม่ได้ช่วย
  • 11:23 - 11:26
    กลุ่มคนที่มีภาวะยากจนที่สุดในสังคมเลย
  • 11:26 - 11:29
    ผมบอกได้เลยว่าคำพูดพวกนี้
    "ไม่สมเหตุสมผล"
  • 11:29 - 11:32
    คนยากจนจริงๆแล้วได้รับผลประโยชน์
    จากเทคโนโลยีมหาศาล
  • 11:32 - 11:35
    นักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Robert Jensen
    ได้ทำงานวิจัยงานหนึ่ง
  • 11:35 - 11:38
    ซึ่งทำการศึกษาอย่างละเอียด
  • 11:38 - 11:41
    ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านชาวประมง
    ชื่อ Kerela ประเทศอินเดีย
  • 11:41 - 11:44
    หลังจากได้มือถือใช้เป็นครั้งแรก
  • 11:44 - 11:47
    ปกติเวลาคุณเขียนบทความใน
    Quarterly Journal of Economics
  • 11:47 - 11:50
    บทความจะต้องเต็มไปด้วย
    ศัพท์ที่น่าเบื่อ ไม่ชวนฟัง
  • 11:50 - 11:52
    แต่พอผมอ่านงานของเขา
    ผมรู้สึกได้เลยว่า Jensen พยายาม
  • 11:52 - 11:55
    จะตะโกนบอกเรา บอกว่านี่เป็นเรื่องสำคัญมาก
  • 11:55 - 11:59
    ราคาของต่างๆเริ่มนิ่ง
    ผู้คนในหมู่บ้านวางแผนชีวิตง่ายขึ้น
  • 11:59 - 12:04
    ขยะต่างๆไม่ได้ลดลง
    แต่หายไปหมด
  • 12:04 - 12:06
    ชีวิตของพ่อค้า และ ชาวบ้านของหมู่บ้าน
  • 12:06 - 12:09
    ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • 12:09 - 12:12
    ... ผมไม่คิดว่า Jensen จะโชคดีมากขนาดที่
  • 12:12 - 12:15
    จะเจอหมู่บ้านแค่หนึ่งหมู่บ้าน
  • 12:15 - 12:17
    ที่เทคโนโลยีทำให้ชีวิตดีขึ้น
  • 12:17 - 12:20
    สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เขากลับมาทำงานวิจัยต่อ
  • 12:20 - 12:22
    แบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก กับสังคมใหม่
  • 12:22 - 12:26
    ที่เทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่งเข้าไปครั้งแรก
  • 12:26 - 12:30
    เขาก็พบเหมือนเดิมว่า
    ความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้นอย่างมากทุกครั้ง
  • 12:30 - 12:32
    พอดูหลักฐานเหล่านี้ทำให้ผมคิดว่า
  • 12:32 - 12:34
    ถ้ามองเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • 12:34 - 12:37
    ผมควรจะมองเทคโนโลยีในแง่ดี
    ทำให้ผมนึกถึงคำพูดหนึ่ง
  • 12:37 - 12:40
    ของนักฟิสิกส์ชื่อ Freeman Dyson ว่า
  • 12:40 - 12:45
    มันไม่ได้เกินจริงหรอกนะ แต่เป็น
    คำพูดที่ตรงกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นเลยละ
  • 12:45 - 12:47
    เทคโนโลยี อุปกรณ์ดิจิตอล
    คือ ของขวัญชั้นเยี่ยม
  • 12:47 - 12:51
    และ ในตอนนี้เรามีอนาคตที่สดใสรออยู่
  • 12:51 - 12:54
    อนาคตพวกเราอยู่ท่ามกลาง
    ความเจริญของเทคโนโลยี
  • 12:54 - 12:56
    เมื่อมันกระจาย และ ฝัง
  • 12:56 - 12:59
    และ มีความสำคัญยิ่งๆขึ้นกับคนทั่วโลก
  • 12:59 - 13:02
    ... มันถูกว่าหุ่นยนต์อาจจะเอางานเราไป
  • 13:02 - 13:06
    แต่ นั่นเป็นการมองที่ผิดประเด็นสำคัญไปเลย
  • 13:06 - 13:09
    สิ่งที่สำคัญคือ
    เราจะมีเวลามากขึ้นเพื่อทำอย่างอื่น
  • 13:09 - 13:12
    และ ผมมั่นใจว่าสิ่งที่เราจะทำ
  • 13:12 - 13:15
    จะเป็นสิ่งที่ลดความยากจน
    งานที่น่าเบื่อต่างๆ
  • 13:15 - 13:18
    และ ความทุกข์ยาก ทั่วทุกมุมโลก
    และ ผมก็มั่นใจว่า
  • 13:18 - 13:21
    เราจะเรียนรู้วิธีที่จะอยู่บนโลกใบนี้
    อย่างมีความสุข
  • 13:21 - 13:24
    และ ผมมั่นใจเป็นอย่างมากว่า
    สิ่งที่เรากำลังทำ
  • 13:24 - 13:27
    ในการพัฒนาให้เครื่องมือดิจิตอลต่างๆ
    มีบทบาทมากขึ้น
  • 13:27 - 13:30
    และ มีประโยชน์มากขึ้น
    จะทำให้ทุกอย่างดียิ่งขึ้น
  • 13:30 - 13:32
    แบบทำลายสถิติเดิม เหมือนที่ผ่านมา
  • 13:32 - 13:34
    ผมขอฝากคำพูดสุดท้ายให้กับ
    คนทุกคนที่อยู่แนวหน้า
  • 13:34 - 13:36
    ที่ช่วยกันพัฒนาเทคโนโลยี
  • 13:36 - 13:39
    เพื่อนเก่าของเรา Ken Jennings
    ซึ่งผมเห็นด้วยกับเขา
  • 13:39 - 13:40
    ผมขอฝากคำพูดของเขาไว้ว่า
  • 13:40 - 13:44
    "ผม ในฐานะคนหนึ่งคน ขอต้อนรับคอมพิวเตอร์
    มาเป็นเจ้านายของพวกเรา" (หัวเราะ)
  • 13:44 - 13:47
    ขอบคุณมากครับ (เสียงปรบมือ)
Title:
หุ่นยนต์จะมาแย่งงานเราหมดหรือเปล่า?
Speaker:
แอนดรูว์ แมคอะฟี่
Description:

หุ่นยนต์ และ กระบวนการทำงานแบบออโตเมติกต่างๆ เริ่มทำงานในการสร้างรถยนต์ เขียนบทความ แปลบทความได้ ซึ่งงานเหล่านี้เดิมจะต้องใช้คนในการทำเท่านั้น แล้วจะเหลืออะไรให้มนุษย์ทุกบ้างหละ

คุณ แอนดรูว์ แมคอะฟี่ เล่าถึงข้อมูลแรงงานต่างๆ ที่จะชี้ให้เห็นว่าจริงๆ เรายังไม่ได้เห็นภาพอนาคตอะไรเลย ซึ่งคุณแอนดรูว์จะย้อนเหตุการณ์ต่างๆในอดีต ดูถึงว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และ ให้ข้อสรุปบางอย่างที่คุณอาจแปลกใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:07
TED Translators admin approved Thai subtitles for Are droids taking our jobs?
Suppadej Mahapokai accepted Thai subtitles for Are droids taking our jobs?
Suppadej Mahapokai edited Thai subtitles for Are droids taking our jobs?
Pootip Jongpiputvanich edited Thai subtitles for Are droids taking our jobs?
Pootip Jongpiputvanich edited Thai subtitles for Are droids taking our jobs?
Pootip Jongpiputvanich edited Thai subtitles for Are droids taking our jobs?
Pootip Jongpiputvanich edited Thai subtitles for Are droids taking our jobs?
Pootip Jongpiputvanich edited Thai subtitles for Are droids taking our jobs?
Show all

Thai subtitles

Revisions