คุกสามารถช่วยนักโทษให้ใช้ชีวิตอย่างมีความหมายได้อย่างไร
-
0:01 - 0:04เราถูกมองเป็นถังรับนโยบายสังคมที่ล้มเหลว
-
0:04 - 0:08เราระบุไม่ได้ว่าใครจะอยู่กับเรา
หรือนานแค่ไหน -
0:08 - 0:10เราได้คนที่ไม่มีอะไรที่ใช้ได้ผลกับเขาแล้ว
-
0:10 - 0:11ผู้คนที่ไม่ผ่านการคัดกรอง
-
0:11 - 0:13โดยเครื่องมือความปลอดภัยทางสังคม
ทุกรูปแบบมาแล้ว -
0:13 - 0:16เครื่องมือพวกนั้นเอาคนเหล่านี้ไว้ไม่อยู่
เราจึงต้องรับ -
0:16 - 0:17นั่นคืองานของเรา ซึ่งได้แก่
-
0:17 - 0:20กักพวกเขาไว้ ควบคุมพวกเขาไว้
-
0:20 - 0:23หลายปีที่ผ่านมาเราพัฒนาเรื่องระบบเรือนจำ
-
0:23 - 0:24เรื่องประเทศชาติ และ สังคม
-
0:24 - 0:26เราพัฒนาไปได้มาก
-
0:26 - 0:28แต่นั่นไม่ควรจะทำให้คุณเป็นสุขได้
-
0:28 - 0:30ตอนนี้เรามีจำนวนผู้ต้องขังต่อจำนวนพลเมือง
-
0:30 - 0:32มากกว่าประเทศไหนๆ ในโลก
-
0:32 - 0:34ปัจจุบันเรามีคนผิวดำในคุกมากขึ้น
-
0:34 - 0:36มากกว่าภายใต้ระบบทาส ในปี 1850 ซะอีก
-
0:36 - 0:38เราให้ที่อยู่กับพ่อแม่ของเด็กๆ
-
0:38 - 0:40เกือบสามล้านคน ในชุมชนของเรา
-
0:40 - 0:42เราได้กลายเป็นที่ลี้ภัยแบบใหม่
-
0:42 - 0:45เป็นผู้ดูแลสุขภาพจิตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
-
0:45 - 0:46เมื่อเราจับใครไปขัง
-
0:46 - 0:48นั่นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ
-
0:48 - 0:51แต่ เราก็ถูกเรียกว่า กระทรวงปรับปรุงพฤติกรรม
(กรมราชทัณฑ์) -
0:51 - 0:53ในวันนี้ ผมต้องการจะพูดถึง
-
0:53 - 0:55การเปลี่ยนวิธีที่เราคิดเกี่ยวกับการลงโทษ
-
0:55 - 0:57ผมเชื่อ และประสบการณ์ก็บอกผม
-
0:57 - 0:58ว่าเมื่อเราเปลี่ยนวิธีที่เราคิด
-
0:58 - 1:01เราสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ หรืออนาคตขึ้นมา
-
1:01 - 1:04และคุกก็ต้องการอนาคตใหม่
-
1:04 - 1:07ผมใช้เวลากว่า 30 ปีตลอดอาชีพ
การทำงานในกรมราชทัณฑ์ -
1:07 - 1:09ผมดำเนินรอยตามคุณพ่อในอาชีพนี้
-
1:09 - 1:12พ่อเป็นทหารผ่านศึกเวียดนาม
งานนี้จึงเหมาะกับพ่อ -
1:12 - 1:15พ่อแข็งแรง หนักแน่น มีระเบียบวินัย
-
1:15 - 1:16ผมไม่ได้มีสิ่งเหล่านั้นมากนัก
-
1:16 - 1:19และผมแน่ใจว่า มันทำให้พ่อเป็นห่วงผม
-
1:19 - 1:22ในที่สุดผมก็ตัดสินใจว่าจะไปจบลงในคุก หรือ
-
1:22 - 1:23ควรไปด้านที่ถูกต้องของตะราง
-
1:23 - 1:25ผมจึงคิดว่า ลองไปดูก่อนซิ
-
1:25 - 1:26ไปเที่ยวชมสถานที่ๆ คุณพ่อทำงาน
-
1:28 - 1:29สถานดัดสันดาน แม็กนีล ไอส์แลนด์
-
1:29 - 1:31ตอนนั้นเป็นตอนต้นทศวรรษที่ 80
-
1:31 - 1:32และคุกก็ไม่ค่อยเหมือนที่คุณเห็น
-
1:32 - 1:34ในโทรทัศน์ หรือในภาพยนตร์
-
1:34 - 1:37มันแย่ยิ่งกว่านั้นในหลายๆ ด้าน
-
1:37 - 1:39ผมก็เดินเข้าไปในห้องขัง ที่สูงห้าชั้น
-
1:39 - 1:41มีชายแปดคนอยู่ในหนึ่งห้องขัง
-
1:41 - 1:43มีชาย 550 คนในอาคารพักอาศัยนั้น
-
1:43 - 1:45และถ้าในกรณีที่คุณสงสัย
-
1:45 - 1:48พวกเขาใช้สุขาร่วมกันในห้องขังเล็กนั้น
-
1:48 - 1:50เจ้าพนักงานใส่กุญแจในกล่องล็อก
-
1:50 - 1:52และชายหลายร้อยคน ก็หลั่งไหลออกมาจากห้องขัง
-
1:52 - 1:54ชายหลายร้อยคนหลั่งไหลออกจากห้องขังของเขา
-
1:54 - 1:57ผมรีบเดินถอยออกไป เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
-
1:57 - 1:59ในที่สุด ผมก็กลับไปเป็นเจ้าหน้าที่ที่นั่น
-
1:59 - 2:01งานของผมคือ คุมห้องขังแดนหนึ่ง
-
2:01 - 2:04และควบคุมชายหลายร้อยคนเหล่านั้น
-
2:04 - 2:06เมื่อผมไปทำงานที่ศูนย์ต้อนรับของคุก
-
2:06 - 2:09ก็ได้ยินเสียงวุ่นวายของนักโทษจากที่จอดรถ
-
2:09 - 2:11เสียงสั่นประตูห้องขัง เสียงตะโกน
-
2:11 - 2:13เสียงดึงทึ้งห้องขัง
-
2:13 - 2:15เอาคนอารมณ์ร้อนเป็นร้อยๆมาขัง
-
2:15 - 2:17สิ่งที่คุณได้ก็คือ ความชุลมุนวุ่นวาย
-
2:17 - 2:20จำกัดและควบคุม นั่นคืองานของเรา
-
2:20 - 2:22วิธีที่เราเรียนรู้การทำงานนี้ ให้ได้ผลขึ้น
-
2:22 - 2:23คือ หน่วยห้องพักแบบใหม่
-
2:23 - 2:26เรียกว่า หน่วยจัดการแบบเข้ม หรือ IMU
-
2:26 - 2:28รูปแบบสมัยใหม่ของ "คุกมืด"
-
2:28 - 2:31เราขังนักโทษในห้องขัง หลังประตูเหล็กกล้า
-
2:31 - 2:33กับช่องส่งอาหาร เพื่อยับยั้งพวกเขาไว้ได้
-
2:33 - 2:34และให้อาหารพวกเขาได้
-
2:34 - 2:36เดาสิครับ ว่าเกิดอะไรขึ้น
-
2:36 - 2:38มันเงียบลง
-
2:38 - 2:40ความวุ่นวายหายไป ในประชากรคุกทั่วไป
-
2:40 - 2:42สถานที่ปลอดภัยมากขึ้น
-
2:42 - 2:44เพราะนักโทษที่รุนแรง หรือก่อกวนมากที่สุด
-
2:44 - 2:46ถูกแยกออกไปได้แล้วในตอนนี้
-
2:46 - 2:48แต่การขังเดี่ยวไม่ใช่เรื่องดี
-
2:48 - 2:50การตัดขาดจากสังคม ทำให้พวกเขาเสื่อมทรามลง
-
2:50 - 2:52เป็นเรื่องยากที่จะให้เขาออกมาจาก IMU
-
2:52 - 2:55สำหรับพวกเขา และสำหรับเรา
-
2:55 - 2:57แม้ในคุกเอง มันก็ไม่ใช่เรื่องเล็ก
-
2:57 - 2:59ที่จะขังผู้ใดไว้
-
2:59 - 3:02งานต่อมาของผม คือ ไปที่คุกก้นบึ้งสุดของรัฐ
-
3:02 - 3:05ที่นักโทษรุนแรงและก่อกวนมากกว่านั้นอยู่กัน
-
3:05 - 3:07ถึงตอนนั้น งานด้านนี้ได้ก้าวหน้าไปมาก
-
3:07 - 3:09และเราก็มีเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ
-
3:09 - 3:11ที่จะจัดการกับพฤติกรรมก่อกวน
-
3:11 - 3:13เรามีปืนกระสุนถุงถั่ว และสเปรย์พริกไทย
-
3:13 - 3:15และเกราะกระจกเพล็กซี่กลาส
-
3:15 - 3:17มีระเบิดแสง ทีมรับเหตุฉุกเฉิน
-
3:17 - 3:19เราสู้กับความรุนแรง ด้วยกำลัง
-
3:19 - 3:21และกับการชุลมุน ด้วยการชุลมุน
-
3:21 - 3:23เราเก่งมากในเรื่องการดับไฟ
-
3:23 - 3:26ตอนนั้น ได้พบคนงานคุกที่เชี่ยวชาญสองคน
-
3:26 - 3:28ซึ่งก็เป็นทั้ง นักวิจัย
-
3:28 - 3:31นักมานุษยวิทยา และนักสังคมวิทยา
-
3:31 - 3:33คนหนึ่งให้ข้อคิดเห็นกับผม ว่า
-
3:33 - 3:35"รู้ไหม คุณเก่งมากเรื่องดับไฟ
-
3:35 - 3:39แต่คุณเคยคิด เรื่องวิธีป้องกันไฟไหม้ไหม"
-
3:39 - 3:41ผมอดทนอธิบายให้พวกเขาฟัง ถึงวิธีการ
-
3:41 - 3:42ใช้กำลังที่โหดเหี้ยมของเรา
-
3:42 - 3:44เพื่อทำให้คุกปลอดภัยขึ้น
-
3:44 - 3:45พวกเขาก็อดทนกับผม
-
3:45 - 3:48จากการคุยกัน ความคิดใหม่บางอย่างก็เกิดขึ้น
-
3:48 - 3:49และเราก็เริ่มการทดลองเล็กๆ บางอย่าง
-
3:49 - 3:52เราเริ่มฝึกเจ้าหน้าที่ของเราเป็นทีม
-
3:52 - 3:55แทนที่จะส่งเขาทีละคนสองคน ไปฝึกที่สถาบัน
-
3:55 - 3:57ของรัฐนานสี่สัปดาห์ เราให้ฝึก 10 สัปดาห์
-
3:57 - 4:00แล้วเราก็ทดลองโมเดลการฝึกงาน โดยวิธีจับคู่
-
4:00 - 4:03พนักงานใหม่ กับพนักงานชำนาญการ
-
4:03 - 4:06ทั้งสองฝ่ายทำงานได้ดีขึ้น
-
4:06 - 4:08ถัดมา เราเพิ่มทักษะลดความรุนแรงทางการพูด
-
4:08 - 4:10เข้าไปในการฝึกที่ต่อเนื่องกัน ตามลำดับ
-
4:10 - 4:13และทำให้เป็นส่วนของการใช้กำลังที่ต่อเนื่อง
-
4:13 - 4:15มันเป็นการใช้กำลังโดยไม่ใช้กำลัง
-
4:15 - 4:17แล้วเราก็ทำสิ่งที่สุดๆ ยิ่งกว่า
-
4:17 - 4:19เราฝึกนักโทษในทักษะเดียวกันเหล่านั้น
-
4:19 - 4:22เราเปลี่ยนกลุ่มทักษะ
-
4:22 - 4:25โดยลดความรุนแรง ไม่ใช่เพียงแค่ตอบโต้ไป
-
4:25 - 4:28ข้อสาม เมื่อเราขยายขึ้น เราลองแบบชนิดใหม่
-
4:28 - 4:31แต่องค์ประกอบสำคัญ และที่เป็นโต้แย้งกันมากที่สุด
-
4:31 - 4:34ของแบบที่ออกใหม่นี้ แน่นอนครับ คือโถส้วม
-
4:34 - 4:36ไม่มีโถส้วม
-
4:36 - 4:39อาจฟังดูไม่สำคัญสำหรับท่านที่นี่ ในวันนี้
-
4:39 - 4:40แต่ในตอนนั้น มันใหญ่มาก
-
4:40 - 4:42ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องห้องขังที่ไม่มีส้วม
-
4:42 - 4:44เราทั้งหมดคิดว่า มันอันตรายและบ้าไปแล้ว
-
4:44 - 4:48แม้ชายแปดคนในห้องขัง ก็ยังมีส้วม
-
4:48 - 4:50รายละเอียดเล็กๆ นั้น เปลี่ยนวิธีที่เราทำงาน
-
4:50 - 4:52นักโทษและพนักงาน เริ่มปฏิสัมพันธ์กัน
-
4:52 - 4:55บ่อยๆ และเปิดเผยขึ้น และพัฒนามิตรไมตรีกัน
-
4:55 - 4:57เราเจอความขัดแย้งและไปแทรกแซงง่ายขึ้น
-
4:57 - 4:59ก่อนที่มันจะขยายใหญ่ขึ้น
-
4:59 - 5:02หน่วยก็สะอาด เงียบ ปลอดภัย เป็นมิตรกันมากขึ้น
-
5:02 - 5:04สิ่งนี้มีผลในการรักษาความสงบ ดีกว่า
-
5:04 - 5:08เทคนิคข่มขู่ใดๆ ที่ผมเคยเห็นจนถึงขณะนั้น
-
5:08 - 5:09การมีปฏิสัมพันธ์กันเปลี่ยนพฤติกรรม
-
5:09 - 5:11ทั้งเจ้าหน้าที่ และผู้ต้องขัง
-
5:11 - 5:15เราได้เปลี่ยนสภาพแวดล้อม และพฤติกรรม
-
5:15 - 5:17ถ้าผมไม่ได้เรียนรู้บทเรียนนี้
-
5:17 - 5:19เมื่อเขาให้ผมไปทำงานที่กองบัญชาการ
-
5:19 - 5:21ที่นั่นผมพบความลำบาก ในการเปลี่ยนแปลงระบบ
-
5:21 - 5:24ครับ การเปลี่ยนระบบต้องต่อสู้กับหลายๆ อย่าง
-
5:24 - 5:26การเมืองและนักการเมือง ร่างกฎหมายและกฎหมาย
-
5:26 - 5:29ศาลและคดีความ การเมืองภายใน
-
5:29 - 5:31การเปลี่ยนระบบนั้นยาก และเชื่องช้า
-
5:31 - 5:33และบ่อยครั้ง มันไม่ได้นำคุณไปสู่
-
5:33 - 5:34ที่ๆ คุณต้องการจะไป
-
5:34 - 5:38ไม่ใช่เรื่องเล็ก ที่จะเปลี่ยนระบบเรือนจำ
-
5:38 - 5:41สิ่งที่ผมทำคือ ย้อนไปคิดถึงประสบการณ์ก่อนๆ
-
5:41 - 5:44และจำได้ว่าความร้อนแรงลดลง เมื่อเรามี
-
5:44 - 5:46ปฏิสัมพันธ์กับผู้กระทำผิด พฤติกรรมเปลี่ยน
-
5:46 - 5:48เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน พวกนี้ไม่ใช่การเปลี่ยนระบบใหญ่
-
5:48 - 5:50แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ
-
5:50 - 5:52แต่ก็ได้สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ขึ้นมา
-
5:52 - 5:55ถัดมาผมได้รับงานอีก เป็นผู้ควบคุมคุกเล็กๆ
-
5:55 - 5:57และในเวลาเดียวกัน ก็เรียนเอาปริญญาไปด้วย
-
5:57 - 5:59ที่เอเวอร์กรีน สเตท คอลเลจ
-
5:59 - 6:01ผมมีปฏิสัมพันธ์กับคนมากมาย ที่ไม่เหมือนผม
-
6:01 - 6:02ผู้คนที่มีแนวคิดที่ต่างกันไป
-
6:02 - 6:04และมาจากพื้นฐานต่างๆ กัน
-
6:04 - 6:07มีคนหนึ่ง เป็นนักนิเวศวิทยาป่าฝน
-
6:07 - 6:08เธอมาดูคุกเล็กๆ ของผม สิ่งที่เธอเห็น
-
6:08 - 6:10ก็คือ ห้องทดลองวิทยาศาสตร์
-
6:10 - 6:13เราพูดคุยกัน และค้นพบว่า คุกและนักโทษ
-
6:13 - 6:15สามารถช่วยวิทยาศาสตร์ให้ก้าวหน้าไปได้จริง
-
6:15 - 6:17โดยช่วยให้พวกเขาทำโครงการจนเสร็จ
-
6:17 - 6:19พวกเขาไม่สามารถทำให้เสร็จด้วยตัวเองได้
-
6:19 - 6:21เช่น การเพิ่มจำนวนสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์
-
6:21 - 6:24กบ ผีเสื้อ พืชในทุ่งที่ใกล้สูญพันธ์ุ
-
6:24 - 6:25ในเวลาเดียวกัน เราก็พบวิธี
-
6:25 - 6:27ทำให้ปฏิบัติการของเรามีผลดีขึ้น
-
6:27 - 6:29ผ่านทางการเพิ่มพลังงานจากแสงอาทิตย์
-
6:29 - 6:33การเก็บกักนํ้าฝน ทำสวนอินทรีย์ การรีไซเคิล
-
6:33 - 6:35การริเริ่มนี้ ได้นำไปสู่โครงการหลายอย่าง
-
6:35 - 6:37ที่มีผลกระทบเชิงระบบที่กว้างขวางมาก
-
6:37 - 6:40ไม่เพียงแต่ระบบของเรา ระบบอื่นๆ ของรัฐด้วย
-
6:40 - 6:42การทดลองเล็กๆ ทำให้เกิดความแตกต่างที่ใหญ่
-
6:42 - 6:45ต่อวิทยาศาสตร์ ต่อชุมชน
-
6:45 - 6:49วิธีคิดต่องานของเรา เปลี่ยนแปลงงานนั้นได้
-
6:49 - 6:52โครงการนั้นทำให้งานของผมน่าสนใจ และ
-
6:52 - 6:54น่าตื่นเต้นยิ่งขึ้น ผมและทีมงานตื่นเต้น
-
6:54 - 6:56เจ้าพนักงานก็ตื่นเต้น นักโทษก็ตื่นเต้น
-
6:56 - 6:58พวกเขาเกิดแรงบันดาลใจ
-
6:58 - 6:59ทุกคนอยากจะเป็นส่วนหนึ่งของงาน
-
6:59 - 7:01พวกเขาเข้ามาร่วม เป็นความแตกต่าง
-
7:01 - 7:04ที่พวกเขาคิดว่า มีความหมาย และสำคัญ
-
7:04 - 7:06อย่างไรก็ตาม ผมอยากจะอธิบาย ในสิ่งที่กำลังเกิดอยู่นี้
-
7:06 - 7:07นักโทษนั้นปรับตัวเก่ง
-
7:07 - 7:09พวกเขาต้องเป็นอย่างนั้น
-
7:09 - 7:12บ่อยครั้งที่ พวกเขารู้ถึงระบบของเรามากกว่า
-
7:12 - 7:14ผู้คนที่ทำงานในระบบ
-
7:14 - 7:15และพวกเขาก็มีเหตุที่ต้องอยู่ที่นี่
-
7:15 - 7:19ผมไม่ได้มองงานของผมว่าเป็นการลงโทษ
-
7:19 - 7:20หรือให้อภัย แต่ผมคิดว่าพวกเขา
-
7:20 - 7:23มีชีวิตที่ดีและมีความหมายได้ แม้อยู่ในคุก
-
7:23 - 7:24ดังนั้น นั่นแหละคือคำถาม
-
7:24 - 7:27นักโทษจะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี
และมีความหมายได้มั้ย -
7:27 - 7:31ถ้าได้ นั่นจะทำให้มีความต่างอะไร
-
7:31 - 7:34ผมจึงเอาคำถามนั้น กลับไปยังก้นบึ้ง
-
7:34 - 7:36ที่ซึ่งผู้กระทำผิดรุนแรง ส่วนใหญ่อยู่กัน
-
7:36 - 7:38จำไว้นะครับ IMU นั้นมีไว้สำหรับลงโทษ
-
7:38 - 7:40คุณไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่นั่น
เช่น เรียนเขียนโปรแกรม -
7:40 - 7:42นั่นคือวิธีที่เราคิด
-
7:42 - 7:44แล้วเราก็เริ่มตระหนักว่า ถ้าต้องมีนักโทษคนใด
-
7:44 - 7:46ที่ต้องเขียนโปรแกรม
ก็ควรเป็นนักโทษกลุ่มนี้แหละ -
7:46 - 7:48ที่จริงแล้ว พวกเขาต้องเข้าคอร์สเรียนแบบติวเข้ม
-
7:48 - 7:51เราจึงเปลี่ยนความคิดของเราอย่างสิ้นเชิง
-
7:51 - 7:53และเริ่มมองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ
-
7:53 - 7:56สิ่งที่เราพบก็คือ เก้าอี้ชนิดใหม่
-
7:56 - 7:58แทนที่จะใช้เก้าอี้นั้นเพื่อการลงโทษ
-
7:58 - 7:59เราเอามันไปไว้ในชั้นเรียน
-
7:59 - 8:02ใช่ครับ เราไม่ลืมความรับผิดชอบในการควบคุม
-
8:02 - 8:05แต่ตอนนี้ นักโทษมีปฏิสัมพันธ์ได้
อย่างปลอดภัย -
8:05 - 8:06กับนักโทษอื่นๆ และเจ้าหน้าที่
-
8:06 - 8:08และเพราะการควบคุม ไม่เป็นปัญหาแล้ว
-
8:08 - 8:10ทุกคนสามารถมุ่งไปที่สิ่งอื่นๆได้
-
8:10 - 8:13เช่น การเรียน ผลคือพฤติกรรมเปลี่ยนไป
-
8:13 - 8:18เราเปลี่ยนความคิดของเราและเราเปลี่ยนสิ่งที่เคยทำ
และนั่นทำให้ผมมีความหวัง -
8:18 - 8:20ตอนนี้ผมบอกไม่ได้ว่าสิ่งเหล่านี้จะได้ผลหรือไม่
-
8:20 - 8:23แต่สิ่งที่ผมบอกได้คือ มันเริ่มเห็นผลแล้ว
-
8:23 - 8:26คุกปลอดภัยขึ้น ทั้งพนักงาน และนักโทษ
-
8:26 - 8:28และเมื่อคุกปลอดภัย
-
8:28 - 8:31เราเอาแรงไปใช้ในสิ่งที่มากกว่าการควบคุม
-
8:31 - 8:33การลดการทำผิดซํ้าซากอาจเป็นเป้าหมายสูงสุด
-
8:33 - 8:35แต่ไม่ได้เป็นเป้าหมายเดียวของเรา
-
8:35 - 8:37พูดกันตรงๆ นะครับ การป้องกันอาชญากรรม
-
8:37 - 8:39ต้องใช้แรงอีกมากมายจากคนอีกมาก
-
8:39 - 8:40และสถาบันอีกมากมายกว่านี้
-
8:40 - 8:43ถ้าเราพึ่งพาแค่เพียงคุก เพื่อลดอาชญากรรม
-
8:43 - 8:45ผมเกรงว่า เราจะไปถึงที่นั่นไม่ได้เลย
-
8:45 - 8:47แต่คุกก็สามารถทำบางอย่าง
-
8:47 - 8:49ที่เราไม่เคยคิดว่าพวกเขาจะทำได้
-
8:49 - 8:51คุกเป็นแหล่งนวัตกรรม และความยั่งยืนได้
-
8:51 - 8:52เช่น การเพิ่มจำนวนสัตว์ที่
-
8:52 - 8:56ใกล้จะสูญพันธ์ และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
-
8:56 - 8:58นักโทษเป็นนักวิทยาศาสตร์ และคนเลี้ยงผึ้ง
-
8:58 - 9:00หรือคนช่วยชีวิตสุนัขได้
-
9:00 - 9:03คุกสามารถเป็นแหล่งของงานที่มีความหมาย
-
9:03 - 9:05และโอกาสที่ดีสำหรับพนักงาน
-
9:05 - 9:07และนักโทษที่อยู่ในนั้นได้
-
9:07 - 9:09เราสามารถจำกัดและควบคุม
-
9:09 - 9:11และจัดหาสภาพแวดล้อมที่มีมนุษยธรรมให้ได้
-
9:11 - 9:14เหล่านี้ไม่ได้เป็นคุณสมบัติที่ตรงข้ามกัน
-
9:14 - 9:16เรารอไปอีก 10 ถึง 20 ปี ไม่ได้
เพื่อจะหาคำตอบว่า -
9:16 - 9:18ว่าสิ่งนี้ทำแล้วคุ้มค่าหรือไม่
-
9:18 - 9:20กลยุทธของเรา ไม่ใช่การรื้อระบบใหม่
-
9:20 - 9:22กลยุทธของเราเปลี่ยนส่วนเล็กๆ เป็นร้อยๆ
-
9:22 - 9:26ที่เกิดในหลายวันหรือเดือน แต่ไม่ใช่หลายๆ ปี
-
9:26 - 9:29เราต้องการโครงการนำร่องเล็กๆ ที่เราเรียนรู้
-
9:29 - 9:32ขณะทำงานไป โครงการนำร่องที่เปลี่ยน
ขอบเขตความเป็นไปได้ -
9:32 - 9:34เราต้องการวิธีการใหม่ๆ เพื่อ
-
9:34 - 9:36วัดผลกระทบด้านความผูกพันธ์ ปฏิสัมพันธ์
-
9:36 - 9:38กับสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย
-
9:38 - 9:40เราต้องการโอกาสในการเข้าร่วมให้มากขึ้น
-
9:40 - 9:43และการเข้ามาช่วยชุมชนของเรา
-
9:43 - 9:45ชุมชนของคุณ
-
9:45 - 9:48เรื่องจำต้องมั่นคง ใช่ครับ
ปลอดภัย ใช่ครับ -
9:48 - 9:49เราทำสิ่งนั้นได้
-
9:49 - 9:51คุกต้องจัดให้มีสิ่งแวดล้อมที่มีมนุษยธรรม
-
9:51 - 9:53ที่ๆ คนสามารถเข้ามาร่วม เข้ามามีส่วนช่วย
-
9:53 - 9:55และเรียนรู้การมีชีวิตที่มีความหมาย
-
9:55 - 9:57เรากำลังเรียนรู้วิธีที่จะทำสิ่งนั้น
-
9:57 - 9:58นั่นคือ ทำไมผมจึงมีความหวัง
-
9:58 - 10:01เราไม่ต้องติดยึดกับแนวคิดเก่าๆ เกี่ยวกับคุก
-
10:01 - 10:03เราให้ความหมายกับสิ่งนั้น และสร้างมันได้
-
10:03 - 10:05เมื่อเราทำอย่างรอบคอบ ด้วยมนุษยธรรม
-
10:05 - 10:07คุกก็สามารถเป็นได้มากกว่าถังขยะ
-
10:07 - 10:09สำหรับใส่นโยบายสังคมที่ล้มเหลว
-
10:09 - 10:12บางที สุดท้ายเราจะสมควรกับชื่อของเรา
-
10:12 - 10:14ว่า กระทรวงปรับปรุงพฤติกรรม
(Department of Corrections) -
10:14 - 10:16ขอบคุณครับ
-
10:16 - 10:19(เสียงปรบมือ)
- Title:
- คุกสามารถช่วยนักโทษให้ใช้ชีวิตอย่างมีความหมายได้อย่างไร
- Speaker:
- แดน พาโชลเก (Dan Pacholke)
- Description:
-
ในสหรัฐอเมริกา หน่วยงานที่ดูแลคุกมักจะถูกเรียกว่า "กระทรวงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม" แต่แล้วจุดสำคัญของพวกเขา ก็คือการจำกัดและการควบคุมผู้ต้องขัง แดน พาโชลเก อธิบดีกรมราชทัณฑ์แห่งรัฐวอชิงตัน ได้แบ่งปันวิสัยทัศน์อย่างหนึ่ง เรื่องของเรือนจำที่จัดสภาพความเป็นอยู่ที่มีความเป็นมนุษยธรรม พอๆ กับโอกาสในการทำงานและการเรียนรู้ที่มีความหมาย
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 10:36
Kanawat Senanan approved Thai subtitles for How prisons can help inmates live meaningful lives | ||
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for How prisons can help inmates live meaningful lives | ||
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for How prisons can help inmates live meaningful lives | ||
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for How prisons can help inmates live meaningful lives | ||
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for How prisons can help inmates live meaningful lives | ||
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for How prisons can help inmates live meaningful lives | ||
Patarapen Manorompatrasal accepted Thai subtitles for How prisons can help inmates live meaningful lives | ||
Patarapen Manorompatrasal edited Thai subtitles for How prisons can help inmates live meaningful lives |