< Return to Video

More on orbitals and electron configuration

  • 0:01 - 0:03
    ในวิดีโอที่ผ่านมา เราได้เรียนแล้วว่า
  • 0:03 - 0:05
    การจัดเรียนอิเล็กตรอนในอะตอม
  • 0:05 - 0:11
    ไม่ได้เป็นวงโคจรแบบดั้งเดิมง่าย ๆ ที่เคยรู้มา
  • 0:11 - 0:12
    ซึ่งเป็นแบบจำลองของบอร์
  • 0:12 - 0:14
    ..ผมจะย้ำตรงนี้เสมอนะครับ
  • 0:14 - 0:15
    เพราะผมคิดว่านี่เป็นประเด็นสำคัญ
  • 0:15 - 0:17
    ถ้านี่เป็นนิวเคลียส... มันจะเป็นจุดเล็กมาก ๆ
  • 0:17 - 0:22
    ถ้าคุณนึกถึงปริมาตรของอะตอมจริง ๆ
  • 0:22 - 0:25
    และแทนที่จะมีอิเล็กตรอนโคจรรอบ ๆ
  • 0:25 - 0:29
    แบบดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์
  • 0:29 - 0:32
    แทนที่จะโคจรรอบ ๆ...
    เราสามารถอธิบายได้โดยออร์บิทัล
  • 0:32 - 0:37
    ซึ่งเป็นฟังก์ชันของความน่าจะเป็น
  • 0:37 - 0:42
    สำหรับออร์บิทัล... ถ้านี่เป็นนิวเคลียสนะครับ
  • 0:42 - 0:45
    บริเวณใด ๆ ในพื้นที่รอบ ๆ นิวเคลียสนี้ก็คือ
  • 0:45 - 0:49
    โอกาสที่จะพบอิเล็กตรอน
  • 0:49 - 0:54
    ดังนั้น จริง ๆ แล้ว ในพื้นที่รอบ ๆ นิวเคลียส
  • 0:54 - 0:57
    มันจะบอกคุณถึงความน่าจะเป็นที่จะ
    เจออิเล็กตรอนภายในบริเวณดังกล่าว
  • 0:57 - 1:01
    และถ้าคุณมองดูอิเล็กตรอน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
    หลาย ๆ ครั้ง
  • 1:01 - 1:03
    สมมติว่า เป็นอิเล็กตรอนใน 1s ออร์บิทัล
  • 1:03 - 1:08
    ซึ่ง 1s ออร์บิทัลมีหน้าตาเป็นแบบนี้นะครับ
  • 1:08 - 1:10
    คุณอาจจะมองไม่เห็น
    แต่มันจะเป็นทรงกลมรอบ ๆ นิวเคลียส
  • 1:10 - 1:14
    และก็เป็นระดับพลังงานชั้นต่ำที่สุดที่อิเล็กตรอนเข้าไปอยู่ได้
  • 1:14 - 1:17
    ถ้าคุณมองดูอิเล็กตรอน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหลาย ๆ ครั้ง
  • 1:17 - 1:21
    สมมติว่า ดูอิเล็กตรอนของฮีเลียมนะครับ
  • 1:21 - 1:23
    ซึ่งมีอิเล็กตรอน 2 ตัว
  • 1:23 - 1:26
    ทั้งสองตัวนี้จะอยู่ใน 1s ออร์บิทัล
  • 1:26 - 1:27
    คล้าย ๆ แบบนี้
  • 1:27 - 1:29
    แต่ถ้ามองดูอิเล็กตรอน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเพียงครั้งเดียว
    อาจจะเจอมันอยู่ตรงนั้น
  • 1:29 - 1:31
    พอมองดูอีกครั้ง อาจจะเจออิเล็กตรอนดูตรงนั้น
  • 1:31 - 1:33
    แล้วก็ตรงนั้น
  • 1:33 - 1:34
    แล้วก็ตรงนั้น
  • 1:34 - 1:34
    แล้วก็ตรงนั้น
  • 1:34 - 1:36
    และถ้าเรามองดูหลาย ๆ ครั้ง
  • 1:36 - 1:38
    เราก็เจออิเล็กตรอนบ่อยกว่าในบริเวณที่ใกล้กับนิวเคลียส
  • 1:38 - 1:42
    และจะเจออิเล็กตรอนน้อยลง
    ในบริเวณที่ห่างออกไปจากนิวเคลียส
  • 1:42 - 1:45
    ถ้าคุณออกห่างจากนิวเคลียสไปเรื่อย ๆ
  • 1:45 - 1:48
    เห็นไหมครับ.. คุณมีโอกาสที่จะเจออิเล็กตรอน
  • 1:48 - 1:55
    ที่บริเวณใกล้กับศูนย์กลางของอะตอม
    ได้มากกว่าบริเวณที่ห่างออกไป
  • 1:55 - 1:56
    แม้ว่าคุณอาจจะสังเกตเห็นอิเล็กตรอน
  • 1:56 - 1:59
    อยู่ทั่วไปตรงนั้น หรือตรงนี้
  • 1:59 - 2:00
    จริง ๆ แล้ว อิเล็กตรอนอาจจะอยู่ตรงไหนก็ได้
  • 2:00 - 2:02
    แต่ถ้าคุณสังเกตหลาย ๆ ครั้ง
  • 2:02 - 2:05
    คุณจะเห็นสิ่งที่ฟังก์ชันของความน่าจะเป็นกำลังอธิบายอยู่
  • 2:05 - 2:07
    นั่นก็คือ โอกาสที่จะเจออิเล็กตรอนบริเวณด้านนอกนี้
  • 2:07 - 2:15
    มีน้อยกว่าบริเวณด้านในนี้มาก
  • 2:15 - 2:19
    และถ้าคุณมองดูรูปออร์บิทัลเหล่านี้
  • 2:19 - 2:24
    สมมติว่า เป็นรูปคล้ายกับชั้น คล้ายกับทรงกลม
  • 2:24 - 2:26
    ..ผมจะพยายามทำให้มันดูเป็นรูป 3 มิตินะครับ
  • 2:26 - 2:28
    สมมติว่า นี่คือบริเวณด้านนอก
  • 2:28 - 2:30
    แล้วมีนิวเคลียสอยู่ข้างใน
  • 2:30 - 2:33
    ถ้าเราจะวาดเส้นกั้นเส้นหนึ่ง
  • 2:33 - 2:37
    ตรงบริเวณที่เรามีโอกาสเจออิเล็กตรอนได้ 90%
  • 2:37 - 2:39
    ผมจะมีโอกาสพบอิเล็กตรอนได้ถึง 90%
    ภายในเขตวงกลมนี้
  • 2:39 - 2:41
    ถ้าผมผ่ามันออก
  • 2:41 - 2:44
    แต่จริง ๆ แล้ว เราอาจจะเจออิเล็กตรอนด้านนอกนี้
    ได้ตลอดเวลา ..ใช่ไหมครับ?
  • 2:44 - 2:45
    เพราะมันเป็นเรื่องของความน่าจะเป็น
  • 2:45 - 2:49
    ดังนั้น เราจะมีโอกาสเจออิเล็กตรอนเสมอ
  • 2:49 - 2:52
    ถ้านี่คือออร์บิทัลที่เรากำลังพูดถึง
  • 2:52 - 2:52
    ใช่ไหมครับ?
  • 2:52 - 2:55
    และถ้าเรา...ในวิดีโอตอนที่แล้ว
  • 2:55 - 2:57
    เราบอกว่า อิเล็กตรอนจะเข้าไปอยู่ในออร์บิทัล
  • 2:57 - 3:06
    จากระดับชั้นพลังงานต่ำสุดก่อน
    แล้วไล่ไปยังระดับชั้นพลังงานที่สูงกว่า
  • 3:06 - 3:07
    คุณลองจินตนาการดูนะครับ
  • 3:07 - 3:11
    ถ้าเราเล่น Tetris (เกมต่อบล็อก)
    แต่เอ..ผมไม่ทราบว่า Tetris มีเป็นของเล่นหรือเปล่า
  • 3:11 - 3:14
    แต่ถ้าผมต่อบล็อกไปเรื่อย ๆ
    ผมจะต้องเติมบล็อกจากชั้นล่างขึ้นมา
  • 3:14 - 3:18
    ถ้านี่เป็นพื้น ผมจะใส่บล็อกแรกลงไปที่
    ระดับชั้นพลังงานต่ำที่สุดก่อน
  • 3:18 - 3:22
    แล้วผมก็จะใส่บล็อกที่ 2 ลงไป
    ที่ระดับชั้นพลังงานชั้นล่างตรงนี้
  • 3:22 - 3:28
    แต่ผมมีพื้นที่เพียงแค่นั้น
  • 3:28 - 3:31
    ดังนั้น ผมจะใส่บล็อกที่ 3 ลงไป
    ในระดับชั้นพลังงานที่สูงขึ้นถัดมา
  • 3:31 - 3:33
    ในกรณีนี้ พลังงานที่เราพูดถึงก็คือ พลังงานศักย์
  • 3:33 - 3:34
    ใช่มั้ยครับ?
  • 3:34 - 3:37
    นี่เป็นเพียงตัวอย่างของนิวโตเนียนฟิสิกส์
  • 3:37 - 3:39
    สำหรับอิเล็กตรอน ก็ทำนองเดียวกัน
  • 3:39 - 3:46
    เมื่อผมมีอิเล็กตรอน 2 ตัวใน 1s ออร์บิทัลแล้ว
  • 3:46 - 3:50
    เช่น การจัดเรียงอิเล็กตรอนของฮีเลียม เป็น 1s2
  • 3:50 - 3:53
    ผมจะไม่สามารถใส่อิเล็กตรอนตัวที่ 3 ลงไปตรงนั้นได้อีก
  • 3:53 - 3:55
    เพราะมันมีที่ว่างพอสำหรับอิเล็กตรอน 2 ตัวเท่านั้น
  • 3:55 - 3:57
    วิธีที่ผมคิด..ผมคิดว่า อิเล็กตรอน 2 ตัวนี้
  • 3:57 - 3:59
    จะผลักอิเล็กตรอนตัวที่ 3 ที่ผมอยากใส่ออกไป
  • 3:59 - 4:03
    ดังนั้น ผมก็ต้องไปที่ 2s ออร์บิทัลแทน
  • 4:03 - 4:06
    และถ้าผมจะวาด 2s ออร์บิทัลบนนี้
  • 4:06 - 4:08
    คล้าย ๆ แบบนี้นะครับ
  • 4:08 - 4:13
    ตรงนี้ก็จะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเจออิเล็กตรอนสูง
    ในชั้นพลังงานนี้
  • 4:13 - 4:19
    ชั้นนี้จะอยู่รอบ 1s ออร์บิทัล ใช่ไหมครับ?
  • 4:19 - 4:23
    ดังนั้น ตอนนี้ เรากำลังดูที่ลิเทียมอยู่
  • 4:23 - 4:25
    ผมมีอิเล็กตรอนเหลืออีก 1 ตัว
  • 4:25 - 4:28
    อิเล็กตรอนที่เหลืออีก 1 ตัวนี้
  • 4:28 - 4:29
    เราน่าจะเจอมันบริเวณนี้
  • 4:29 - 4:31
    แต่อย่าลืมนะครับ เราอาจจะเจอมันตรงนั้นเมื่อใดก็ได้
  • 4:31 - 4:33
    หรืออาจจะเจอตรงนั้น ...ตรงนั้น
  • 4:33 - 4:34
    แต่โอกาสที่เจออิเล็กตรอนนี้มากที่สุดคือ ตรงนี้
  • 4:34 - 4:37
    ดังนั้น เวลาคุณพูดว่า บริเวณที่เราจะเจออิเล็กตรอนได้ 90%
  • 4:37 - 4:40
    ก็เหมือนกับเส้นชั้นพลังงานที่อยู่รอบศูนย์กลางนี้
  • 4:40 - 4:42
    จำได้ไหมครับ... ถ้าเป็นรูป 3 มิติ
  • 4:42 - 4:44
    ดังนั้น นี่จะเป็นชั้นพลังงาน
  • 4:44 - 4:47
    ซึ่งเป็นรูปที่วาดไว้ตรงนี้
  • 4:47 - 4:48
    รูป 1s
  • 4:48 - 4:49
    เป็นชั้นสีแดง
  • 4:49 - 4:51
    และรูป 2s
  • 4:51 - 4:54
    ระดับพลังงานชั้นที่ 2 เป็นสีน้ำเงินอยู่รอบ ๆ
  • 4:54 - 4:56
    ซึ่งคุณจะเห็นแบบนี้
  • 4:56 - 4:59
    ในระดับพลังงานชั้นที่สูงขึ้น ..ชั้นที่สูงขึ้น
  • 4:59 - 5:02
    ระดับพลังงานชั้นที่ 7 เป็นสีแดงตรงนี้
  • 5:02 - 5:05
    ถ้าคุณมีสีน้ำเงิน สีแดง และสีน้ำเงิน
  • 5:05 - 5:08
    ..ผมคิดว่า คุณคงพอจะนึกภาพระดับชั้นพลังงานได้แล้วนะครับ
  • 5:08 - 5:12
    เราจะนึกถึงออร์บิทัลล้อมรอบแต่ละชั้น
    ไปเรื่อย ๆ
  • 5:12 - 5:14
    แต่บางครั้ง คุณอาจจะเห็นแบบนี้ครับ
  • 5:14 - 5:17
    จากหลักการพื้นฐาน จำได้ไหมครับว่า
  • 5:17 - 5:19
    อิเล็กตรอนจะเข้าไปอยู่ในออร์บิทัล
  • 5:19 - 5:22
    จากออร์บิทัลที่มีพลังงานต่ำสุด
    ไปยังออร์บิทัลที่มีพลังงานสูงกว่า
  • 5:22 - 5:25
    ดังนั้น ออร์บิทัลแรกที่อิเล็กตรอนจะเข้าไปอยู่คือ 1s
  • 5:25 - 5:29
    นี่คือ 1s
  • 5:29 - 5:30
    เราสามารถใส่อิเล็กตรอนเข้าไปได้ 2 ตัว
  • 5:30 - 5:33
    ออร์บิทัลลำดับต่อไปที่อิเล็กตรอนจะเข้าไปอยู่คือ 2s
  • 5:33 - 5:35
    เราสามารถใส่อิเล็กตรอนเข้าไปได้อีก 2 ตัว
  • 5:35 - 5:37
    จากนั้น ลำดับต่อไป จะเริ่มน่าสนใจแล้วครับ
  • 5:37 - 5:43
    คุณสามารถใส่อิเล็กตรอนเข้าไปใน 2p ออร์บิทัล
  • 5:43 - 5:45
    ตรงนี้ครับ
  • 5:45 - 5:47
    2p ออร์บิทัล
  • 5:47 - 5:55
    เราจะสังเกตเห็นว่า p ออร์บิทัลนั้นมีย่อยลงไปเป็น z, x, y
  • 5:55 - 5:56
    หมายความว่าอะไรครับ?
  • 5:56 - 5:59
    ถ้าเรามองที่ p ออร์บิทัล ซึ่งมีรูปร่างเป็นดัมเบล (ตุ้มน้ำหนัก)
  • 5:59 - 6:01
    มันจะดูแปลกนิดหน่อย แต่ในวิดิโอตอนต่อไป
  • 6:01 - 6:05
    ผมจะแสดงให้คุณดูว่ามันคล้ายกับ
    คลื่นนิ่ง (standing wave) นะครับ
  • 6:05 - 6:07
    แต่ถ้าคุณมองดูตรงนี้ จะพบว่ามี 3 วิธี
  • 6:07 - 6:08
    ที่คุณสามารถจัดวางดัมเบล
  • 6:08 - 6:10
    แบบแรกคือวางในระนาบ z (ขึ้น และลง)
  • 6:10 - 6:12
    อีกแบบหนึ่งคือในระนาบ x (ซ้าย และขวา)
  • 6:12 - 6:15
    และแบบสุดท้ายคือระนาบ y ...แบบนี้ครับ
  • 6:15 - 6:16
    ไปข้างหน้าและมาข้างหลัง ..ใช่ไหมครับ?
  • 6:16 - 6:21
    และถ้าคุณอยากจะวาด p ออร์บิทัล
  • 6:21 - 6:23
    ซึ่งนี่คือออร์บิทัลที่เราจะใส่อิเล็กตรอนตัวต่อไป
  • 6:23 - 6:25
    ที่จริงแล้ว คุณใส่อิเล็กตรอน 1 ตัวที่นี่
  • 6:25 - 6:27
    แล้วใส่อีกตัวหนึ่งที่นี่ และอีกตัวหนึ่งที่นี่
  • 6:27 - 6:29
    แล้วก็ตัวต่อไป
  • 6:29 - 6:30
    ซึ่งเราจะพูดถึงการหมุน (spin) ในคราวหน้านะครับ
  • 6:30 - 6:33
    แต่ตรงนั้น ตรงนั้น และตรงนั้น
  • 6:33 - 6:35
    วิธีการใส่อิเล็กตรอนแบบนี้ เราเรียกว่า กฎของ Hund
  • 6:35 - 6:37
    ไม่แน่นะครับ.. ผมอาจจะทำวิดีโอเกี่ยวกับกฎของ Hund โดยเฉพาะเลย
  • 6:37 - 6:41
    แต่ไม่เกี่ยวกับวิชาเคมีที่จะเรียนกันในปีแรกนะครับ
  • 6:41 - 6:43
    ..ถ้าอิเล็กตรอนเข้าไปอยู่ในออร์บิทัลตามลำดับแบบนี้
  • 6:43 - 6:47
    ย้ำอีกครั้งนะครับ ..
    ผมอยากให้คุณเข้าใจว่ามันมีหน้าตาเป็นอย่างไร
  • 6:47 - 6:52
    ดูนะครับ
  • 6:52 - 6:56
    ถ้าคุณอยากจะมองเห็นภาพของ p ออร์บิทัล
  • 6:56 - 7:02
    สมมติว่า เรากำลังมองการจัดเรียงอิเล็กตรอนในธาตุคาร์บอน
  • 7:02 - 7:06
    การจัดเรียงอิเล็กตรอนในธาตุคาร์บอน
  • 7:06 - 7:14
    อิเล็กตรอน 2 ตัวแรกจะเข้าไปที่ 1s1, 1s2
  • 7:14 - 7:16
    เข้าไปเติมที่ 1s2
  • 7:16 - 7:25
    การจัดเรียงอิเล็กตรอนของคาร์บอน
    อิเล็กตรอนจะเข้าไปเติมที่ 1s1 ตามด้วย 1s2
  • 7:25 - 7:26
    ซึ่งก็เหมือนกับการจัดเรียงอิเล็กตรอนของฮีเลียมนั่นเอง
  • 7:26 - 7:30
    จากนั้น มันก็จะไปที่ระดับพลังงานชั้นที่ 2
  • 7:30 - 7:31
    ซึ่งก็คือ Period ที่ 2 ใช่ไหมครับ?
  • 7:31 - 7:32
    นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงเรียกตารางธาตุว่า Periodic table
  • 7:32 - 7:35
    เราจะพูดถึง Period และ Group ในตอนต่อไป
  • 7:35 - 7:36
    ..จากนั้น อิเล็กตรอนจะไปที่นี่
  • 7:36 - 7:39
    เติมที่ 2s
  • 7:39 - 7:41
    เรากำลังอยู่ใน Period ที่ 2 ตรงนี้นะครับ
  • 7:41 - 7:42
    นี่คือ Period ที่ 2
  • 7:42 - 7:46
    หนึ่ง สอง
  • 7:46 - 7:48
    ดังนั้น อิเล็กตรอนจะเข้าไปเติมที่นี่ 2 ตัว
  • 7:48 - 7:50
    เป็น 2s2
  • 7:50 - 7:53
    หลังจากนั้น ก็จะเริ่มเข้าไปเติมใน p ออร์บิทัล
  • 7:53 - 7:57
    โดยเริ่มจาก 1p ตามด้วย 2p
  • 7:57 - 8:02
    เรายังอยู่ในระดับพลังงานชั้นที่ 2 นะครับ
    ดังนั้น 2s2, 2p2
  • 8:02 - 8:07
    คำถามก็คือ..ออร์บิทัลตรงนี้มีหน้าตาเป็นอย่างไร?
  • 8:07 - 8:09
    p ออร์บิทัล?
  • 8:09 - 8:12
    ถ้าเรามีอิเล็กตรอน 2 ตัว
  • 8:12 - 8:15
    อิเล็กตรอนตัวหนึ่งจะเข้าไปที่...สมมติว่า
  • 8:15 - 8:20
    ผมวาดแกนระนาบก่อนนะครับ
  • 8:20 - 8:24
    ถ้าผมวาดเป็นรูป 3 มิติ
  • 8:24 - 8:28
    มีแกนระนาบ
  • 8:28 - 8:31
    ถ้าผมทำการสังเกตหลาย ๆ ครั้ง และบอกว่า
  • 8:31 - 8:35
    อิเล็กตรอนตัวหนึ่งอยู่ใน p ออร์บิทัล
  • 8:35 - 8:36
    สมมติว่าเป็น pz
  • 8:36 - 8:38
    มันอาจจะอยู่ตรงนี้
  • 8:38 - 8:40
    หรือตรงนั้น ...หรือบางทีอาจจะอยู่ตรงนั้น
  • 8:40 - 8:47
    และถ้าคุณเฝ้าสังเกตอีกหลาย ๆ ครั้ง
  • 8:47 - 8:52
    คุณจะเห็นอะไรบางอย่างที่มีรูปร่างคล้ายกับดัมเบล
  • 8:52 - 8:54
    ตรงนี้นะครับ
  • 8:54 - 8:58
    จากนั้น อิเล็กตรอนอีกตัวหนึ่งอาจจะเข้าไปที่ระนาบ x
  • 8:58 - 9:00
    คุณก็ทำการสังเกตอีกหลาย ๆ ครั้ง
  • 9:00 - 9:04
    เดี๋ยวผมจะใช้สีอื่นนะครับ จะได้เห็นความแตกต่าง
  • 9:04 - 9:05
    มันจะออกมาหน้าตาเป็นแบบนี้
  • 9:05 - 9:07
    คุณทำการสังเกตหลาย ๆ ครั้ง แล้วก็บอกว่า
  • 9:07 - 9:13
    โอ้โฮ... มันยิ่งปรากฏรูปร่างคล้ายกับดัมเบลมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • 9:13 - 9:14
    แต่คุณอาจเจออิเล็กตรอนอยู่ข้างนอกนั้น
  • 9:14 - 9:14
    หรือตรงนั้น
  • 9:14 - 9:15
    หรืออาจจะเจอตรงนั้น
  • 9:15 - 9:18
    ตรงนี้..เป็นเพียงบริเวณที่มีโอกาสที่จะเจออิเล็กตรอน
    มากกว่าด้านนอกเท่านั้นเอง
  • 9:18 - 9:20
    ...เจอข้างในตรงนี้มากกว่าด้านนอกนั้นนะครับ
  • 9:20 - 9:24
    และวิธีที่ดีที่สุดที่ผมคิดว่าจะทำให้คุณเห็นภาพได้
  • 9:24 - 9:27
    ก็คือสิ่งที่เรากำลังจะทำต่อไปนี้
  • 9:27 - 9:28
    นี่เรียกว่า การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
  • 9:28 - 9:31
    และวิธีการ...มีหลายวิธีครับ
  • 9:31 - 9:32
    ซึ่งสอนกันในวิชาเคมี
  • 9:32 - 9:34
    แต่ผมอยากจะทำให้ดูแบบนี้...
  • 9:34 - 9:37
    คุณเอาตารางธาตุมาดู และบอกว่า
  • 9:37 - 9:44
    ธาตุใน Groups นี้ ..หมายถึง ธาตุในคอลัมน์นี้
  • 9:44 - 9:52
    จะมีอิเล็กตรอนเติมในชั้น s (หรือ s ออร์บิทัล)
  • 9:52 - 9:54
    คุณแค่เขียนลงไปตรงนี้
  • 9:54 - 10:00
    ส่วนธาตุที่อยู่ตรงนี้
    อิเล็กตรอนจะเข้าไปเติมที่ p ออร์บิทัล
  • 10:00 - 10:02
    ที่จริงแล้ว ผมต้องเอาฮีเลียมออกไปครับ
  • 10:02 - 10:03
    p ออร์บิทัล
  • 10:03 - 10:06
    เดี๋ยวผมเขียนให้ดูครับ
  • 10:06 - 10:08
    มี p ออร์บิทัล
  • 10:08 - 10:13
    ..อันที่จริง.. คุณควรจะเอาฮีเลียมออกไปอยู่ตรงนั้น
  • 10:13 - 10:13
    ใช่ไหมครับ?
  • 10:13 - 10:16
    ตารางธาตุ เป็นเพียงวิธีการที่จัดธาตุต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ
  • 10:16 - 10:19
    ซึ่งก็ดีครับ .. แต่ถ้าเราจะวาดภาพออร์บิทัล
  • 10:19 - 10:20
    คุณควรจะเอาฮีเลียมออกไป
  • 10:20 - 10:21
    เดี๋ยวผมจะทำให้ดูครับ..
  • 10:21 - 10:24
    ..ความมหัศจรรย์ของคอมพิวเตอร์
  • 10:24 - 10:29
    ตัดมันออกมา แล้วก็แปะมันลงตรงนั้น
  • 10:29 - 10:29
    ใช่ไหมครับ?
  • 10:29 - 10:33
    ตอนนี้ คุณได้ฮีเลียมมาแล้ว
    คุณก็จะได้ 1s และ 2s
  • 10:33 - 10:36
    ดังนั้น การจัดเรียงอิเล็กตรอนของฮีเลียมคือ
  • 10:36 - 10:38
    อ้าว..ขอโทษครับ คุณได้ 1s1 และ 1s2 ต่างหาก
  • 10:38 - 10:41
    เรากำลังอยู่ในระดับพลังงานชั้นแรก
  • 10:41 - 10:42
    ใช่ไหมครับ?
  • 10:42 - 10:51
    ถ้าการจัดเรียงอิเล็กตรอนของไฮโดรเจนเป็น 1s1
  • 10:51 - 10:58
    คุณมีอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียวในชั้น s
    ของระดับพลังงานชั้นแรก
  • 10:58 - 11:03
    การจัดเรียงอิเล็กตรอนของฮีเลียมคือ 1s2
  • 11:03 - 11:06
    และถ้าคุณเริ่มเติมอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นที่ 2
  • 11:06 - 11:12
    การจัดเรียงอิเล็กตรอนของลิเทียมก็จะเป็น 1s2
  • 11:12 - 11:14
    นี่คือบริเวณที่อิเล็กตรอน 2 ตัวแรกจะเข้าไปอยู่
  • 11:14 - 11:19
    จากนั้น ตัวที่ 3 จะเข้าไปที่ 2s1 ...ถูกต้องไหมครับ?
  • 11:19 - 11:21
    ตอนนี้ คุณคงจะเริ่มเห็นรูปแบบ
    การจัดเรียงอิเล็กตรอนแล้วนะครับ
  • 11:21 - 11:26
    ..ถ้าคุณไปที่ไนโตรเจน
  • 11:26 - 11:31
    โอเคครับ.. มันก็จะมีอิเล็กตรอน 3 ตัวใน p ออร์บิทัล
  • 11:31 - 11:36
    คุณกำลังอยู่ใน Period ที่ 2 ..ใช่ไหมครับ?
  • 11:36 - 11:40
    ดังนั้น นี่คือ 2p3
  • 11:40 - 11:41
    ..ให้ผมเขียนลงไปก่อนครับ
  • 11:41 - 11:45
    ผมจะเขียนลงไปว่า.... 2p3
  • 11:45 - 11:49
    นี่คือบริเวณที่อิเล็กตรอน 3 ตัวสุดท้ายไปอยู่..ใน p ออร์บิทัล
  • 11:49 - 11:58
    ส่วนอิเล็กตรอน 2 ตัวนี้จะไปอยู่ใน 2s2 ออร์บิทัล
  • 11:58 - 12:02
    และอิเล็กตรอน 2 ตัวแรกนี้ จะอยู่ในระดับพลังงานชั้นที่ต่ำที่สุด
  • 12:02 - 12:06
    เป็น 1s2
  • 12:06 - 12:12
    นี่คือ การจัดเรียงอิเล็กตรอนของไนโตรเจนครับ
  • 12:12 - 12:15
    และถ้าต้องการตรวจดูว่าคุณเขียนถูกต้องหรือเปล่า?
  • 12:15 - 12:17
    ให้คุณนับจำนวนอิเล็กตรอนดูครับ
  • 12:17 - 12:21
    ดังนั้น ก็จะเท่ากับ 2 + 4 + 3 = 7
  • 12:21 - 12:23
    นี่เรากำลังพูดถึงอะตอมที่เป็นกลางเท่านั้นนะครับ
  • 12:23 - 12:25
    คือมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับโปรตอน
  • 12:25 - 12:29
    เลขอะตอมคือ จำนวนโปรตอน
    ดังนั้น เราเขียนถูกต้องแล้วครับ
  • 12:29 - 12:29
    มี 7 โปรตอน
  • 12:29 - 12:32
    เอาล่ะครับ ถึงตอนนี้ เราได้เห็นการเติมอิเล็กตรอนเข้าไปใน s และ p ออร์บิทัลแล้ว
  • 12:32 - 12:34
    ซึ่งค่อนข้างจะตรงไปตรงมา
  • 12:34 - 12:40
    คราวนี้ ถ้าเราอยากจะเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนของซิลิคอน
  • 12:40 - 12:42
    ตรงนั้นครับ
  • 12:42 - 12:44
    เรากำลังอยู่ใน Period ที่ 3
  • 12:44 - 12:46
    หนึ่ง สอง สาม
  • 12:46 - 12:48
    นี่คือแถวที่ 3
  • 12:48 - 12:51
    และมี p-block อยู่ตรงนี้
  • 12:51 - 12:53
    ดังนั้น ตรงนี้เป็นแถวที่ 2 ของ p-block ..ใช่ไหมครับ?
  • 12:53 - 12:56
    หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก
  • 12:56 - 12:56
    ใช่แล้วครับ
  • 12:56 - 12:58
    เรากำลังอยู่ในแถวที่ 2 ของ p-block
  • 12:58 - 13:04
    เอาล่ะครับ เราจะมาเริ่มที่ 3p2
  • 13:04 - 13:08
    จากนั้น เรามี 3s2
  • 13:08 - 13:12
    และจากนั้น เราจะมาเติมอิเล็กตรอนใน p-block ทั้งหมดตรงนี้
  • 13:12 - 13:15
    ดังนั้น นี่คือ 2p6
  • 13:15 - 13:17
    และนี่คือ 2s2
  • 13:17 - 13:20
    และ. แน่นนอนครับ อิเล็กตรอนจะเติมเข้าไปที่ระดับพลังงานชั้นแรก
  • 13:20 - 13:21
    ก่อนที่จะเติมชั้นอื่นนะครับ
  • 13:21 - 13:22
    ดังนั้น 1s2
  • 13:22 - 13:27
    เราก็จะได้การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุซิลิคอน
  • 13:27 - 13:30
    และเราสามารถยืนยันได้โดยการนับว่า
    มีอิเล็กตรอนครบ 14 ตัวหรือไม่
  • 13:30 - 13:34
    2 + 2 = 4 จากนั้นบวก 6 เท่ากับ 10
  • 13:34 - 13:38
    10 + 2 = 12 แล้วบวกอีก 2 เท่ากับ 14
  • 13:38 - 13:40
    เราทำได้ถูกต้องแล้วครับ สำหรับซิลิคอน
  • 13:40 - 13:43
    ผมคิดว่า เวลาใกล้จะหมดแล้ว
  • 13:43 - 13:45
    ดังนั้น ในวิดีโอตอนต่อไป เราจะมาเริ่มพูดถึงว่า
  • 13:45 - 13:48
    จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอน
    ของธาตุเหล่านี้ ใน d-block
  • 13:48 - 13:50
    คุณอาจจะพอเดาได้แล้ว
  • 13:50 - 13:55
    เราจะเริ่มเติมอิเล็กตรอนใน d ออร์บิทัลตรงนี้
  • 13:55 - 13:57
    ซึ่งเป็นออร์บิทัลที่มีรูปร่างแปลกมากขึ้นไปอีก
  • 13:57 - 13:59
    และผมว่า เพื่อไม่ให้เสียเวลามากนัก
  • 13:59 - 14:03
    ให้คุณลองคิดว่า เมื่อคุณออกห่างออกไปจากนิวเคลียส
  • 14:03 - 14:08
    จะพบว่ามีพื้นที่มากขึ้นระหว่างออร์บิทัลที่มีพลังงานต่ำกว่า
  • 14:08 - 14:10
    ที่จะใส่ออร์บิทัลรูปร่างแปลก ๆ เหล่านี้ได้
  • 14:10 - 14:14
    แต่นี่เป็นสมดุลอย่างหนึ่ง
  • 14:14 - 14:16
    ผมจะพูดถึงคลื่นนิ่งคราวหน้านะครับ
  • 14:16 - 14:19
    แต่นี่เป็นสมดุลระหว่างความพยายาม
    ในการเข้าใกล้นิวเคลียสและโปรตอน
  • 14:19 - 14:21
    โปรตอน...ประจุบวกเหล่านี้
  • 14:21 - 14:23
    เนื่องจากอิเล็กตรอนมีประจุเป็นลบ ซึ่งดึงดูดกับประจุบวก
  • 14:23 - 14:28
    ซึ่งในขณะเดียวกัน มันก็จะพยายามผลักอิเล็กตรอนด้วยกัน
    ซึ่งมีประจุลบเหมือนกันด้วย
  • 14:28 - 14:30
    เอาละครับ... พบกันใหม่ในวิดิโอตอนต่อไปนะครับ
Title:
More on orbitals and electron configuration
Description:

อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับออร์บิทัล (orbitals) และเริ่มเรียนเกี่ยวกับการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม (electron configuration)

more » « less
Video Language:
English
Duration:
14:31

Thai subtitles

Revisions