< Return to Video

ทำไมภาพเขียนนี้จึงจับใจนัก - เจมส์ เอิร์ล และ คริสติน่า บอซสิค

  • 0:08 - 0:12
    เมื่อมองผ่าน ๆ ภาพเขียนนี้
    อาจจะไม่ได้ดูพิเศษเท่าไหร่
  • 0:12 - 0:16
    แต่จริง ๆ แล้ว นี่เป็นหนึ่งในภาพที่ได้รับ
    การวิเคราะห์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลป์
  • 0:16 - 0:20
    มันมีชื่อว่า "ลาส เมนินาส" หรือ
    "นางสนองพระโอษฐ์"
  • 0:20 - 0:24
    วาดโดย ดิเอโก้ เวลาสเกซ ในปีค.ศ.1656
  • 0:24 - 0:28
    และเป็นการวาดฉากหนึ่ง
    ของชีวิตในราชสำนักสเปน
  • 0:28 - 0:32
    เจ้าหญิงองค์น้อยที่ทรงภูษาสวยงาม
    ปฏิเสธแก้วน้ำที่นางกำนัลรับใช้ถวายให้
  • 0:32 - 0:34
    ในขณะที่คนแคระคนหนึ่งกำลังแกล้งสุนัข
  • 0:34 - 0:36
    ส่วนคนแคระคนที่สองก็ยืนอยู่ข้าง ๆ
  • 0:36 - 0:39
    ขณะที่ตัวศิลปินเองหยุดยืน
    อยู่หน้าผืนผ้าใบของเขา
  • 0:39 - 0:41
    มีอีกสองคนกระซิบกระซาบอยู่ข้างหลัง
  • 0:41 - 0:45
    ขณะที่บุคคลที่สาม
    ดูเหมือนกำลังจะเดินออกจากห้องไป
  • 0:45 - 0:48
    ทำไมเขาจะไม่ออกไปล่ะ
    ในเมื่อดูเหมือนไม่ค่อยมีอะไรเกิดขึ้นในห้อง
  • 0:48 - 0:51
    แม้กระทั่งสุนัขก็ยังดูเบื่อเลย
  • 0:51 - 0:53
    แต่ เพ่งพินิจให้ดี
  • 0:53 - 0:56
    บุคคลสองคนที่เป็นภาพสะท้อน
    ออกมาจากกระจกเงามัว ๆ ที่อยู่ข้างหลัง
  • 0:56 - 0:58
    ที่มองผาด ๆ อาจจะไม่เห็น
  • 0:58 - 1:02
    ซึ่งก็ไม่ใช่ใครนอกจาก
    พระเจ้าฟิลิปที่สี่และราชินีมารีอานา
  • 1:02 - 1:05
    ซึ่งดูเหมือนจะเปลี่ยนจากฉากธรรมดา
    เป็นเรื่องราวชีวิตในราชสำนัก
  • 1:05 - 1:08
    เป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์
  • 1:08 - 1:10
    และด้วยข้อมูลชิ้นนี้
  • 1:10 - 1:12
    เราก็เริ่มที่จะเข้าใจภาพนี้มากยิ่งขึ้น
  • 1:12 - 1:16
    และนั่นทำไมมันจึงสะกดผู้ชมมานานนับศตวรรษ
  • 1:16 - 1:19
    อย่างแรก มันมีบริบททางประวัติศาสตร์
  • 1:19 - 1:22
    ตอนที่ "ลาส เมนินาส"ถูกวาดขึ้น
    ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าฟิลิป
  • 1:22 - 1:25
    ราชอาณาจักรสเปนอยู่ในช่วงตกต่ำ
  • 1:25 - 1:28
    ทุกข์ทนกับการพ่ายแพ้จากสงครามสามสิบปี
  • 1:28 - 1:31
    อีกทั้งยังเผชิญกับความยุ่งยาก
    ทางเศรษฐกิจและการเมือง
  • 1:31 - 1:34
    กษัตริย์เองก็ประสบเคราะห์กรรมเช่นกัน
  • 1:34 - 1:40
    สูญเสียทั้งพระมเหสีองค์แรกและรัชทายาท
    เพียงพระองค์เดียว ก่อนที่จะอภิเษกสมรสใหม่
  • 1:40 - 1:45
    แต่ภาพนี้ได้บดบังความเพียรที่พระราชทาน
    เครื่องเสวยให้ราชสกุล
  • 1:45 - 1:48
    แม้ว่าทรงร่วงโรยตามพระชันษา
    ของกษัตริย์และราชินีก็ถูกซ่อนไว้
  • 1:48 - 1:50
    อยู่ในความมัวของกระจกเงา
  • 1:50 - 1:53
    สิ่งที่เรามองเห็นแน่ ๆ ตรงกลางผืนผ้าใบ
  • 1:53 - 1:56
    ที่ถูกแสงจากหน้าต่างสาดส่อง
  • 1:56 - 1:59
    คือ เจ้าหญิงน้อย มาร์การิตา เทเรซา
  • 1:59 - 2:02
    พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในช่วงเวลานั้น
  • 2:02 - 2:03
    รูปโฉมที่เปล่งประกายสมบูรณ์ของพระองค์
  • 2:03 - 2:07
    นั้นเป็นทัศนะในอุดมคติแห่งอนาคต
    ของราชอาณาจักรที่กำลังตกต่ำ
  • 2:07 - 2:11
    อย่างไรก็ตาม เจ้าหญิงองค์น้อย
    ก็ไม่ใช่จุดศูนย์กลางเพียงจุดเดียวของภาพ
  • 2:11 - 2:13
    ด้วยการใช้ทัศนมิติอย่างชาญฉลาด
  • 2:13 - 2:18
    และการวาดภาพที่มีขนาดใหญ่เท่าของจริง
    บนผืนผ้าใบขนาด 10.5 x 9 ฟุต
  • 2:18 - 2:22
    เวลาสเกซจึงพร่ามัวขอบเขต
    ระหว่างศิลปะกับเรื่องจริง
  • 2:22 - 2:26
    ด้วยการสร้างความรู้สึกของภาพสามมิติ
    ที่เราสามารถเดินเข้าไปได้
  • 2:26 - 2:30
    เส้นตรงระหว่างเพดานและผนัง
    มาบรรจบกันที่ประตูที่เปิดอยู่
  • 2:30 - 2:34
    ยิ่งเน้นให้ภาพนี้ดูราวกับเป็นห้องจริง ๆ
  • 2:34 - 2:37
    เห็นได้จากทัศนมิติของผู้ชมภาพนี้
  • 2:37 - 2:40
    ในมุมมองเช่นนี้ ผู้ชม
    และโลกความจริงคือจุดที่รวมสายตา
  • 2:40 - 2:45
    เน้นตรงราชวงศ์ทั้งสามพระองค์
    ที่ทอดพระเนตรมาที่ผู้ชมภาพ
  • 2:45 - 2:47
    แต่ก็ยังมีจุดรวมสายตาอีกจุดหนึ่งในภาพ
  • 2:47 - 2:51
    เส้นที่เกิดจากแถวดวงโคม
    นำสายตาไปสู่ผนังด้านหลัง
  • 2:51 - 2:55
    ที่มีกระจกเงาซึ่งกำลังสะท้อนภาพ
    ของกษัตริย์และราชินี
  • 2:55 - 2:57
    และตำแหน่งของมันเมื่อเทียบกับ
    จุดยืนของผู้ชม
  • 2:57 - 3:02
    นำไปสู่การตีความงานชิ้นนี้
    ที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
  • 3:02 - 3:06
    กระจกเงาอาจจะเป็นการสะท้อนภาพของกษัตริย์
    และราชินีที่กำลังยืนเป็นแบบให้วาดภาพก็ได้
  • 3:06 - 3:08
    หรือมันเป็นภาพสะท้อนของผืนผ้าใบ
  • 3:08 - 3:09
    และเราจะคิดอย่างไรกับข้อเท็จจริง
  • 3:09 - 3:13
    เวลาสเกซไม่เคยวาดภาพพระบรมฉายาลักษณ์
    ที่ถูกบอกเป็นนัยในที่นี้
  • 3:13 - 3:18
    เป็นไปได้ไหมว่าจริง ๆ แล้วภาพนี้กำลังเล่า
    เรื่องราวการสร้างสรรค์ตัวมันเองแทน
  • 3:18 - 3:20
    ด้วยการนำกระจกเงาเข้ามา
    เป็นองค์ประกอบในงานของเขา
  • 3:20 - 3:22
    เวลาสเกซได้ยกระดับของงานจิตรกรรม
  • 3:22 - 3:25
    จากการถูกมองว่าเป็นงานฝีมือธรรมดา ๆ
  • 3:25 - 3:27
    ให้เป็นการไขว่คว้าทางปัญญา
  • 3:27 - 3:29
    ด้วยศูนย์กลางที่ทรงพลังทั้งสามจุด
  • 3:29 - 3:32
    ทำให้ "ลาส เมนินาส"
    จับประเด็นความแตกต่างของโลกอุดมคติ
  • 3:32 - 3:34
    กับความเป็นจริง
  • 3:34 - 3:35
    และสะท้อนมายาโลก
  • 3:35 - 3:40
    ที่ยังคงความขัดแย้งภายในที่ไร้ข้อยุติ
    เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ซับซ้อน
  • 3:40 - 3:42
    เกินกว่ากระจกเงาใด ๆ จะทำได้
Title:
ทำไมภาพเขียนนี้จึงจับใจนัก - เจมส์ เอิร์ล และ คริสติน่า บอซสิค
Description:

ชมบทเรียนฉบับเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/why-is-this-painting-so-captivating-james-earle-and-christina-bozsik

เมื่อมองผาดๆ ภาพเขียน "ลาส เมนินาส" ("นางสนองพระโอษฐ์") อาจจะไม่ได้ดูพิเศษเท่าไหร่ แต่จริงๆแล้ว มันเป็นหนึ่งในภาพที่ได้รับการวิเคราะห์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลป์ ทำไมภาพเขียนโดยดิเอโก้ เวลาสเกซภาพนี้จึงจับใจนัก เจมส์ เอิร์ล และคริสติน่า บอซสิคมาเล่าเนื้อหาและความซับซ้อนที่อยู่เบื้องหลังงานศิลป์ชิ้นนี้ให้ฟัง

บทเรียนโดย James Earle กับ Christina Bozsik แอนนิเมชั่นโดย Zedem Media.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:53

Thai subtitles

Revisions